ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สงครามกรุงทรอย"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Thucydides49 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Thucydides49 (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 18: บรรทัด 18:
เทวดาทุกตนได้รับเชิญไปงานอภิเสกสมรสของ เพเลอัส กับ เธทีส และต่างก็นำของขวัญไปมากมาย<ref>Photius, ''Myrobiblion'' 190.</ref> เว้นก็แต่ ''[[เอริส]]'' เทพีแห่งความวิวาทขัดแย้ง ซึ่งไม่ได้ถูกรับเชิญและห้ามเข้ามาในงานตามคำสั่งของซุส<ref>P.Oxy. 56, 3829 (L. Koppel, 1989)</ref> เอริสโกรธและรู้สึกเสียหน้า จึงโยน[[แอปเปิ้ลทองคำ]] (το μήλον της έριδος) อันเป็นของขวัญที่ตนนำมาเข้าไปในงาน โดยสลักคำว่า ''καλλίστῃ'' หรือ "แด่ผู้ที่งามที่สุด"<ref>Apollodorus ''Epitome'' E.3.2</ref> ไว้บนแอปเปิ้ล ฯ สามเทวีแห่งโอลิมปัส ได้แก่ [[เฮรา]], [[อะธีนา]], และ [[แอโฟรไดที]] ต่างอ้างกรรมสิทธิ์ในผลแอปเปิ้ล และโต้เถียงกันอย่างเผ็ดร้อน แต่ก็ไม่มีเทพเจ้าองค์ใดยอมออกความเห็นตัดสินว่าเทพีองค์ไหนมีความงามเหนือกว่าคู่แข่ง ในที่สุดมหาเทพซุสจึงมีบัญชาให้เทพ[[เฮอร์มีส]]นำเทวีสวรรค์ทั้งสามไปหา[[ปารีส (ทรอย)|ปารีสเจ้าชายแห่งทรอย]] ปารีสนั้นไม่ทราบถึงชาติกำเนิดของตน เพราะถูกเลี้ยงมาอย่างเด็กเลี้ยงแกะบนภูเขาไอด้า<ref>Pausanias, 15.9.5.</ref> เนื่องจากมีคำนายว่าเด็กคนนี้จะนำความล่มสลายมาสู่กรุงทรอย<ref>Euripides ''Andromache'' 298; Div. i. 21; Apollodorus, ''Library'' 3.12.5.</ref> วันหนึ่งหลังจากชำระกายด้วยน้ำพุบนเขาไอด้าเสร็จ เทพธิดาทั้งสามก็ปรากฎต่อปารีสด้วยสรีระอันเปลือยปล่าว กระนั้นปารีสก็ยังไม่สามารถตัดสินได้ เหล่าเทวีจึงต้องใช้วิธีติดสินบน อะธีนาเสนอจะทำให้ปารีสเป็นผู้มีปัญญาหยั่งรู้ และมีทักษะเหนือผู้อื่นในการสู้รบ, เฮราเสนออำนาจทางการเมือง และสิทธิปกครองทั้งเอเชีย, ส่วนเทพธิดาแอโฟรไดทีเสนอให้ความรักของสตรีที่งามที่สุดในโลก(ซึ่งหมายถึง[[เฮเลนแห่งทรอย|เฮเลนแห่งสปาร์ตา]])แก่ปารีส ปารีสตกลงมอบแอปเปิ้ลทองคำให้แก่แอโฟรไดที หลังจากนั้นปารีสก็ออกผจญภัยจนกลับมาสู่กรุงทรอย
เทวดาทุกตนได้รับเชิญไปงานอภิเสกสมรสของ เพเลอัส กับ เธทีส และต่างก็นำของขวัญไปมากมาย<ref>Photius, ''Myrobiblion'' 190.</ref> เว้นก็แต่ ''[[เอริส]]'' เทพีแห่งความวิวาทขัดแย้ง ซึ่งไม่ได้ถูกรับเชิญและห้ามเข้ามาในงานตามคำสั่งของซุส<ref>P.Oxy. 56, 3829 (L. Koppel, 1989)</ref> เอริสโกรธและรู้สึกเสียหน้า จึงโยน[[แอปเปิ้ลทองคำ]] (το μήλον της έριδος) อันเป็นของขวัญที่ตนนำมาเข้าไปในงาน โดยสลักคำว่า ''καλλίστῃ'' หรือ "แด่ผู้ที่งามที่สุด"<ref>Apollodorus ''Epitome'' E.3.2</ref> ไว้บนแอปเปิ้ล ฯ สามเทวีแห่งโอลิมปัส ได้แก่ [[เฮรา]], [[อะธีนา]], และ [[แอโฟรไดที]] ต่างอ้างกรรมสิทธิ์ในผลแอปเปิ้ล และโต้เถียงกันอย่างเผ็ดร้อน แต่ก็ไม่มีเทพเจ้าองค์ใดยอมออกความเห็นตัดสินว่าเทพีองค์ไหนมีความงามเหนือกว่าคู่แข่ง ในที่สุดมหาเทพซุสจึงมีบัญชาให้เทพ[[เฮอร์มีส]]นำเทวีสวรรค์ทั้งสามไปหา[[ปารีส (ทรอย)|ปารีสเจ้าชายแห่งทรอย]] ปารีสนั้นไม่ทราบถึงชาติกำเนิดของตน เพราะถูกเลี้ยงมาอย่างเด็กเลี้ยงแกะบนภูเขาไอด้า<ref>Pausanias, 15.9.5.</ref> เนื่องจากมีคำนายว่าเด็กคนนี้จะนำความล่มสลายมาสู่กรุงทรอย<ref>Euripides ''Andromache'' 298; Div. i. 21; Apollodorus, ''Library'' 3.12.5.</ref> วันหนึ่งหลังจากชำระกายด้วยน้ำพุบนเขาไอด้าเสร็จ เทพธิดาทั้งสามก็ปรากฎต่อปารีสด้วยสรีระอันเปลือยปล่าว กระนั้นปารีสก็ยังไม่สามารถตัดสินได้ เหล่าเทวีจึงต้องใช้วิธีติดสินบน อะธีนาเสนอจะทำให้ปารีสเป็นผู้มีปัญญาหยั่งรู้ และมีทักษะเหนือผู้อื่นในการสู้รบ, เฮราเสนออำนาจทางการเมือง และสิทธิปกครองทั้งเอเชีย, ส่วนเทพธิดาแอโฟรไดทีเสนอให้ความรักของสตรีที่งามที่สุดในโลก(ซึ่งหมายถึง[[เฮเลนแห่งทรอย|เฮเลนแห่งสปาร์ตา]])แก่ปารีส ปารีสตกลงมอบแอปเปิ้ลทองคำให้แก่แอโฟรไดที หลังจากนั้นปารีสก็ออกผจญภัยจนกลับมาสู่กรุงทรอย
[[File:Hydria Achilles weapons Louvre E869.jpg|thumb|left|เธทิสมอบอาวุธที่ตีขึ้นโดยเฮฟาเอสตัสแก่อะคิลีสบุตรชายของตน ([[เครื่องดินเผารูปวาดดำ]] [[ไฮเดรีย]], 575–550 ก่อนคริสต์ศักราช)]]
[[File:Hydria Achilles weapons Louvre E869.jpg|thumb|left|เธทิสมอบอาวุธที่ตีขึ้นโดยเฮฟาเอสตัสแก่อะคิลีสบุตรชายของตน ([[เครื่องดินเผารูปเขียนสีดำ]] [[ไฮเดรีย]], 575–550 ก่อนคริสต์ศักราช)]]


== อ้างอิง ==
== อ้างอิง ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 12:11, 10 พฤศจิกายน 2560

"การเผากรุงทรอย" (1759/62) โดย Johann Georg Trautmann

สงครามกรุงทรอย (อังกฤษ: Trojan War) เป็นสงครามระหว่างชาวอะคีอันส์ (ชาวกรีก) กับกรุงทรอย หลังปารีสแห่งทรอยชิงเฮเลนมาจากพระสวามี พระเจ้าเมเนเลอัสแห่งสปาร์ตา สงครามดังกล่าวเป็นหนึ่งในเหตุการณ์สำคัญที่สุดในเทพปกรณัมกรีก และมีการบอกเล่าผ่านงานวรรณกรรมกรีกหลายชิ้น ที่โดดเด่นที่สุด คือ อีเลียดและโอดิสซีย์ของโฮเมอร์ อีเลียดเกี่ยวข้องกับการล้อมกรุงทรอยปีสุดท้าย ส่วนโอดิสซีย์อธิบายการเดินทางกลับบ้านของโอดิสเซียส ส่วนอื่นของสงครามมีการอธิบายในโคลงวัฏจักรมหากาพย์ (Epic Cycle) ได้แก่ ไซเพรีย, เอธิออพิส, อีเลียดน้อย, อีลิอูเพอร์ซิส, นอสตอย, และ เทเลโกนี ซึ่งปัจจุบันเหลือรอดมาเพียงบางส่วน ฯ การศึกแห่งกรุงทรอยเป็นแหล่งวัตถุดิบสำคัญที่ กวีและนักประพันธ์โศกนาฏกรรมกรีก เช่น เอสคิลัส (Aeschylus) โซโฟคลีส (Sophocles) และ ยูริพีดีส (Euripides) นำมาใช้ประพันธ์บทละคร นอกจากนี้กวีชาวโรมัน โดยเฉพาะเวอร์จิลและโอวิด ก็ดึงเอาเหตุการณ์จากสงครามทรอยมาเป็นพื้นเรื่อง หรือเนื้อหาส่วนหนึ่งในงานประพันธ์ของตนเช่นกัน

สงครามกำเนิดจากการวิวาทระหว่างเทพีอธีนา เฮราและแอโฟรไดที หลังอีริส เทพีแห่งการวิวาทและความบาดหมาง ให้ผลแอปเปิลสีทอง ซึ่งบางครั้งรู้จักกันในนาม "แอปเปิลแห่งความบาดหมาง" แก่ "ผู้ที่งามที่สุด" ซูสส่งเทพีทั้งสามไปหาปารีส ผู้ตัดสินว่าแอโฟรไดที "ผู้งามที่สุด" ควรได้รับแอปเปิลไป เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยน แอโฟรไดทีเสกให้เฮเลน หญิงงามที่สุดในโลกและมเหสีของพระเจ้าเมเนเลอัส ตกหลุมรักปารีส และปารีสได้นำพระนางไปยังกรุงทรอย อกาเมมนอน พระเจ้ากรุงไมซีนี และพระเชษฐาของพระเจ้าเมเนเลอัส พระสวามีของเฮเลน นำกองทัพชาวอะคีอันส์ไปยังกรุงทรอยและล้อมกรุงไว้สิบปี หลังสิ้นวีรบุรุษไปมากมาย รวมทั้งอคิลลีสและอาแจ็กซ์ของฝ่ายอะคีอันส์ และเฮกเตอร์และปารีสของฝ่ายทรอย กรุงทรอยก็เสียด้วยอุบายม้าโทรจัน ฝ่ายอะคีอันส์สังหารชาวกรุงทรอย (ยกเว้นหญิงและเด็กบางส่วนที่ไว้ชีวิตหรือขายเป็นทาส) และทำลายวิหาร ทำให้เทพเจ้าพิโรธ ชาวอะคีอะนส์ส่วนน้อยที่กลับถึงบ้านอย่างปลอดภัยและหลายคนตั้งนิคมในชายฝั่งอันห่างไกล ภายหลังชาวโรมันสืบเชื้อสายของพวกตนไปถึงเอเนียส หนึ่งในชาวกรุงทรอย ผู้กล่าวกันว่านำชาวกรุงทรอยที่เหลือรอดไปยังประเทศอิตาลีในปัจจุบัน

ชาวกรีกโบราณคาดว่าสงครามกรุงทรอยเป็นเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ซึ่งเกิดขึ้นในศตวรรษที่ 13 หรือ 12 ก่อนคริสตกาล และเชื่อว่ากรุงทรอยตั้งอยู่ในประเทศตุรกีปัจจุบัน ใกล้กับช่องแคบดาร์ดาเนลส์ เมื่อล่วงมาถึงสมัยใหม่ คนส่วนใหญ่เชื่อว่าทั้งสงครามและกรุงทรอยเป็นนิยาย อย่างไรก็ดี ในปี 1868 นักโบราณคดีชาวเยอรมัน ไฮน์ริช ชไลมันน์พบกับแฟรงก์ คัลเวิร์ท ผู้โน้มน้าวชไลมันน์ว่า กรุงทรอยอยู่ที่ฮิสซาร์ริค และชไลมันน์เข้าควบคุมการขุดค้นของคัลเวิร์ทบนทรัพย์สินซึ่งเป็นของคัลเวิร์ท[1] คำถามที่ว่ามีความเป็นจริงทางประวัติศาสตร์ใดอยู่เบื้องหลังสงครามกรุงทรอยหรือไม่นั้นยังไม่มีคำตอบ นักวิชาการจำนวนมากเชื่อว่านิยายดังกล่าวมีแก่นความจริงทางประวัติศาสตร์ แม้อาจหมายความว่า เรื่องเล่าของโฮเมอร์เป็นการผสมนิทการล้อมและการออกเดินทางต่าง ๆ ของชาวกรีกไมซีเนียนระหว่างยุคสัมฤทธิ์ก็ตาม ผู้ที่เชื่อว่าเรื่องเล่าสงครามกรุงทรอยมาจากความขัดแย้งในประวัติศาสตร์อย่างเฉพาะมักระบุเวลาไว้ว่าอยู่ในศตวรรษที่ 12 หรือ 11 ก่อนคริสตกาล ซึ่งค่อนข้างสอดคล้องกับหลักฐานทางโบราณคดีของการเผาทำลายทรอย 7เอ[2]

ต้นเหตุของสงคราม

พระประสงค์ของซุส

การตัดสินของปารีส

การตัดสินของปารีส (1904) โดย เอริเก้ ซิโมเน

มหาเทพซุสทรงทราบคำทำนายจากเทพีเธมิส (Themis) หรือ โพรมีเทียสซึ่งได้รับการปลดปล่อยจากการจองจำในเทือกเขาคอเคซัสโดยเฮราคลีส ว่าพระองค์จะถูกโค่นลงโดยโอรสของตนเอง เหมือนอย่างที่พระองค์เคยปราบโครนัสพระบิดาของตนมาแล้ว ยังมีอีกคำทำนายหนึ่งว่านางอัปสรทะเล เธทิส ซึ่งพระองค์ตกหลุมรักเข้า จะให้กำเนิดบุตรที่เก่งกล้ากว่าบิดา[3] ด้วยเหตุนี้เธทีสจึงถูกส่งไปเป็นชายาของกษัตริย์มนุษย์ชื่อ เพเลอัส บุตรแห่งไออาคอสตามคำสั่งของมเหสีเฮราผู้เลี้ยงดูเธทิสมา[4]

เทวดาทุกตนได้รับเชิญไปงานอภิเสกสมรสของ เพเลอัส กับ เธทีส และต่างก็นำของขวัญไปมากมาย[5] เว้นก็แต่ เอริส เทพีแห่งความวิวาทขัดแย้ง ซึ่งไม่ได้ถูกรับเชิญและห้ามเข้ามาในงานตามคำสั่งของซุส[6] เอริสโกรธและรู้สึกเสียหน้า จึงโยนแอปเปิ้ลทองคำ (το μήλον της έριδος) อันเป็นของขวัญที่ตนนำมาเข้าไปในงาน โดยสลักคำว่า καλλίστῃ หรือ "แด่ผู้ที่งามที่สุด"[7] ไว้บนแอปเปิ้ล ฯ สามเทวีแห่งโอลิมปัส ได้แก่ เฮรา, อะธีนา, และ แอโฟรไดที ต่างอ้างกรรมสิทธิ์ในผลแอปเปิ้ล และโต้เถียงกันอย่างเผ็ดร้อน แต่ก็ไม่มีเทพเจ้าองค์ใดยอมออกความเห็นตัดสินว่าเทพีองค์ไหนมีความงามเหนือกว่าคู่แข่ง ในที่สุดมหาเทพซุสจึงมีบัญชาให้เทพเฮอร์มีสนำเทวีสวรรค์ทั้งสามไปหาปารีสเจ้าชายแห่งทรอย ปารีสนั้นไม่ทราบถึงชาติกำเนิดของตน เพราะถูกเลี้ยงมาอย่างเด็กเลี้ยงแกะบนภูเขาไอด้า[8] เนื่องจากมีคำนายว่าเด็กคนนี้จะนำความล่มสลายมาสู่กรุงทรอย[9] วันหนึ่งหลังจากชำระกายด้วยน้ำพุบนเขาไอด้าเสร็จ เทพธิดาทั้งสามก็ปรากฎต่อปารีสด้วยสรีระอันเปลือยปล่าว กระนั้นปารีสก็ยังไม่สามารถตัดสินได้ เหล่าเทวีจึงต้องใช้วิธีติดสินบน อะธีนาเสนอจะทำให้ปารีสเป็นผู้มีปัญญาหยั่งรู้ และมีทักษะเหนือผู้อื่นในการสู้รบ, เฮราเสนออำนาจทางการเมือง และสิทธิปกครองทั้งเอเชีย, ส่วนเทพธิดาแอโฟรไดทีเสนอให้ความรักของสตรีที่งามที่สุดในโลก(ซึ่งหมายถึงเฮเลนแห่งสปาร์ตา)แก่ปารีส ปารีสตกลงมอบแอปเปิ้ลทองคำให้แก่แอโฟรไดที หลังจากนั้นปารีสก็ออกผจญภัยจนกลับมาสู่กรุงทรอย

เธทิสมอบอาวุธที่ตีขึ้นโดยเฮฟาเอสตัสแก่อะคิลีสบุตรชายของตน (เครื่องดินเผารูปเขียนสีดำ ไฮเดรีย, 575–550 ก่อนคริสต์ศักราช)

อ้างอิง

  1. Bryce, Trevor (2005). The Trojans and their neighbours. Taylor & Francis. p. 37. ISBN 978-0-415-34959-8.
  2. Wood (1985: 116–118)
  3. Scholiast on Homer’s Iliad; Hyginus, Fabulae 54; Ovid, Metamorphoses 11.217.
  4. Hesiod, Catalogue of Women fr. 57; Cypria fr. 4.
  5. Photius, Myrobiblion 190.
  6. P.Oxy. 56, 3829 (L. Koppel, 1989)
  7. Apollodorus Epitome E.3.2
  8. Pausanias, 15.9.5.
  9. Euripides Andromache 298; Div. i. 21; Apollodorus, Library 3.12.5.

แหล่งข้อมูลอื่น