ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สมบูรณาญาสิทธิราชย์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Pond1991 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Thucydides49 (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 15: บรรทัด 15:
== ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ของไทย ==
== ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ของไทย ==
[[ประเทศไทย]]เคยปกครองด้วยระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ พระมหากษัตริย์มีอำนาจสิทธิ์เด็ดขาดในการปกครองแผ่นดิน ดังคำกล่าวที่ว่า
[[ประเทศไทย]]เคยปกครองด้วยระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ พระมหากษัตริย์มีอำนาจสิทธิ์เด็ดขาดในการปกครองแผ่นดิน ดังคำกล่าวที่ว่า
''"พระบรมราชานุภาพของพระเจ้าแผ่นดิน กรุงสยามนี้ไม่ได้ปรากฏในกฎหมายอันหนึ่งอันใด ด้วยเหตุที่ถือว่าเป็นที่ล้นพ้น ไม่มีข้อสั่งอันใดจะเป็นผู้บังคับขัดขวางได้"''<ref name="amorn" />
''"พระบรมราชานุภาพของพระเจ้าแผ่นดินกรุงสยามนี้ ไม่ได้ปรากฏในกฎหมายอันหนึ่งอันใด ด้วยเหตุที่ถือว่าเป็นที่ล้นพ้น ไม่มีข้อสั่งอันใดจะเป็นผู้บังคับขัดขวางได้"''<ref name="amorn" />


ในทัศนะของ [[นครินทร์ เมฆไตรรัตน์]] อดีตคณบดีคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เห็นว่าระบอบสมบูรณาสิทธิราชย์ของไทยนั้น ไม่ได้เป็นระบอบที่มีมาแต่สมัยโบราณ แต่เพิ่งมีมาในสมัย[[รัชกาลที่ 5]] เนื่องจากในรัชกาลนี้ พระองค์ทรงรวบอำนาจจากเหล่าขุนนาง ข้าราชการ ที่เคยมีอำนาจและบทบาทมากก่อนหน้านั้น มาไว้ที่ศูนย์กลางการปกครอง คือ ตัวพระองค์ และพระประยูรญาติ ทำให้พระมหากษัตริย์ทรงดำรงสถานะเป็นทั้งประมุขของรัฐและประมุขของฝ่ายบริหารอย่างแท้จริง เท่ากับว่าระบอบสมบูรณาสิทธิราชย์ของไทยมีเพียง 3 รัชกาลเท่านั้น คือ รัชกาลที่ 5, [[รัชกาลที่ 6]] และรัชกาลที่ 7<ref>หน้า 110, ''รศ.นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ เหตุแห่งการปฏิวัติสยาม ๒๔๗๕''. สัมภาษณ์. นิตยสารสารคดี "๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕" ฉบับที่ ๑๗๒: มิถุนายน ๒๕๔๒</ref>
ในทัศนะของ [[นครินทร์ เมฆไตรรัตน์]] อดีตคณบดีคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เห็นว่าระบอบสมบูรณาสิทธิราชย์ของไทยนั้น ไม่ได้เป็นระบอบที่มีมาแต่สมัยโบราณ แต่เพิ่งมีมาในสมัย[[รัชกาลที่ 5]] เนื่องจากในรัชกาลนี้ พระองค์ทรงรวบอำนาจจากเหล่าขุนนาง ข้าราชการ ที่เคยมีอำนาจและบทบาทมากก่อนหน้านั้น มาไว้ที่ศูนย์กลางการปกครอง คือ ตัวพระองค์ และพระประยูรญาติ ทำให้พระมหากษัตริย์ทรงดำรงสถานะเป็นทั้งประมุขของรัฐและประมุขของฝ่ายบริหารอย่างแท้จริง เท่ากับว่าระบอบสมบูรณาสิทธิราชย์ของไทยมีเพียง 3 รัชกาลเท่านั้น คือ รัชกาลที่ 5, [[รัชกาลที่ 6]] และรัชกาลที่ 7<ref>หน้า 110, ''รศ.นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ เหตุแห่งการปฏิวัติสยาม ๒๔๗๕''. สัมภาษณ์. นิตยสารสารคดี "๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕" ฉบับที่ ๑๗๒: มิถุนายน ๒๕๔๒</ref>

รุ่นแก้ไขเมื่อ 03:42, 2 พฤศจิกายน 2560

แม่แบบ:การปกครองทั่วโลก

สมบูรณาญาสิทธิราชย์ (อังกฤษ: Absolute Monarchy) คือ ระบอบการปกครองที่มีกษัตริย์เป็นผู้ปกครองและมีสิทธิ์ขาดในการบริหารประเทศ ในระบอบการปกครองนี้ กษัตริย์ก็คือกฎหมาย กล่าวคือ ที่มาของกฎหมายทั้งปวงอยู่ที่กษัตริย์ คำสั่ง ความต้องการต่าง ๆ ล้วนมีผลเป็นกฎหมาย[1] กษัตริย์มีอำนาจในการปกครองแผ่นดินและพลเมืองโดยอิสระ โดยไม่มีกฎหมายหรือองค์กรตามกฎหมายใด ๆ จะห้ามปรามได้ แม้องค์กรทางศาสนาอาจทัดทานกษัตริย์จากการกระทำบางอย่างและองค์รัฏฐาธิปัตย์ (กษัตริย์) นั้นจะถูกคาดหวังว่าจะปฏิบัติตามธรรมเนียม แต่ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์นั้น ไม่มีรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายใด ๆ ที่จะอยู่เหนือกว่าคำชี้ขาดของรัฏฐาธิปัตย์ ตามทฤษฎีพลเมืองนั้น ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มอบความไว้วางใจทั้งหมดให้กับพระเจ้าแผ่นดินที่ดีพร้อมทางสายเลือดและได้รับการเลี้ยงดูฝึกฝนมาอย่างดีตั้งแต่เกิด[ต้องการอ้างอิง]

ในทางทฤษฎี กษัตริย์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์จะมีอำนาจทั้งหมดเหนือประชาชนและแผ่นดิน รวมทั้งเหนืออภิชนและบางครั้งก็เหนือคณะสงฆ์ด้วย ส่วนในทางปฏิบัติ กษัตริย์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มักจะถูกจำกัดอำนาจ โดยทั่วไปโดยกลุ่มที่กล่าวมาหรือกลุ่มอื่น

กษัตริย์บางพระองค์ (เช่นจักรวรรดิเยอรมนี ค.ศ. 1871–1918) มีรัฐสภาที่ไม่มีอำนาจหรือเป็นเพียงสัญลักษณ์ และมีองค์กรบริหารอื่น ๆ ที่กษัตริย์สามารถเปลี่ยนแปลงหรือยุบเลิกได้ตามต้องการ แม้จะมีผลเท่ากับระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ แต่โดยทางเทคนิคที่เป็นไปได้แล้ว นี่คือราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ (constitutional monarchy) เนื่องจากการมีอยู่ของรัฐธรรมนูญและกฎหมายพื้นฐานของประเทศ[ต้องการอ้างอิง]

ประเทศที่ใช้ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในปัจจุบันคือ ซาอุดีอาระเบีย บรูไน โอมาน สวาซิแลนด์ กาตาร์ รวมทั้ง นครรัฐวาติกัน ด้วย[ต้องการอ้างอิง]

ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ของไทย

ประเทศไทยเคยปกครองด้วยระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ พระมหากษัตริย์มีอำนาจสิทธิ์เด็ดขาดในการปกครองแผ่นดิน ดังคำกล่าวที่ว่า "พระบรมราชานุภาพของพระเจ้าแผ่นดินกรุงสยามนี้ ไม่ได้ปรากฏในกฎหมายอันหนึ่งอันใด ด้วยเหตุที่ถือว่าเป็นที่ล้นพ้น ไม่มีข้อสั่งอันใดจะเป็นผู้บังคับขัดขวางได้"[1]

ในทัศนะของ นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ อดีตคณบดีคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เห็นว่าระบอบสมบูรณาสิทธิราชย์ของไทยนั้น ไม่ได้เป็นระบอบที่มีมาแต่สมัยโบราณ แต่เพิ่งมีมาในสมัยรัชกาลที่ 5 เนื่องจากในรัชกาลนี้ พระองค์ทรงรวบอำนาจจากเหล่าขุนนาง ข้าราชการ ที่เคยมีอำนาจและบทบาทมากก่อนหน้านั้น มาไว้ที่ศูนย์กลางการปกครอง คือ ตัวพระองค์ และพระประยูรญาติ ทำให้พระมหากษัตริย์ทรงดำรงสถานะเป็นทั้งประมุขของรัฐและประมุขของฝ่ายบริหารอย่างแท้จริง เท่ากับว่าระบอบสมบูรณาสิทธิราชย์ของไทยมีเพียง 3 รัชกาลเท่านั้น คือ รัชกาลที่ 5, รัชกาลที่ 6 และรัชกาลที่ 7[2]

การสิ้นสุดระบอบ

เมื่อมีการปฏิวัติยึดอำนาจจากรัชกาลที่ 7 และเปลี่ยนแปลงการปกครองจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตยในวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 แล้ว ในทางนิตินัย พระราชอำนาจที่เคยมีมาอย่างล้นพ้นมิได้ถูกจำกัดลงให้อยู่ในกรอบของรัฐธรรมนูญ เรียกขานกันต่อมาว่า " ราชาธิปไตย " ผู้ให้คำๆ จำกัดความโดย พลตำรวจเอก วิศิษฐ์ เดชกุญชร[1]

คำศัพท์

"สมบูรณาญาสิทธิราชย์" บัญญัติจากภาษาอังกฤษว่า "absolute monarchy"[ต้องการอ้างอิง] มีความหมายตรงตัวว่า ความเป็นกษัตริย์ซึ่งมีอาญาสิทธิ์ (อำนาจเด็ดขาด) โดยสมบูรณ์

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 1.2 อมร รักษาสัตย์, พระราชอำนาจตามกฎหมาย
  2. หน้า 110, รศ.นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ เหตุแห่งการปฏิวัติสยาม ๒๔๗๕. สัมภาษณ์. นิตยสารสารคดี "๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕" ฉบับที่ ๑๗๒: มิถุนายน ๒๕๔๒

ดูเพิ่ม