ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ปลาบู่ทอง"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Yamanosi (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 51: บรรทัด 51:
|-
|-
! ปี || '''พ.ศ. 2508''' || '''พ.ศ. 2510''' || '''พ.ศ. 2522''' || '''พ.ศ. 2527''' || colspan="2"| '''พ.ศ. 2537''' || '''พ.ศ. 2543''' || '''พ.ศ. 2552'''
! ปี || '''พ.ศ. 2508''' || '''พ.ศ. 2510''' || '''พ.ศ. 2522''' || '''พ.ศ. 2527''' || colspan="2"| '''พ.ศ. 2537''' || '''พ.ศ. 2543''' || '''พ.ศ. 2552'''
!พ.ศ. 2561 
!
!
!
|-
|-
| รูปแบบ || ภาพยนตร์ 16 มม. || ภาพยนตร์ทีวี [[ช่อง 7]] || colspan="2"| <center>ภาพยนตร์ 35 มม.</center> || ละคร [[ช่อง 7]] || ภาพยนตร์ 35 มม. || การ์ตูน [[ช่อง 3]] || ละคร [[ช่อง 7]]
| รูปแบบ || ภาพยนตร์ 16 มม. || ภาพยนตร์ทีวี [[ช่อง 7]] || colspan="2"| <center>ภาพยนตร์ 35 มม.</center> || ละคร [[ช่อง 7]] || ภาพยนตร์ 35 มม. || การ์ตูน [[ช่อง 3]] || ละคร [[ช่อง 7]]
|
|
|
|
|-
|-
| ผู้สร้าง || เทพกรภาพยนตร์ || [[ดาราวิดีโอ|ดาราฟิล์ม]] || ศิริมงคลโปรดัคชั่น || วิษณุภาพยนตร์ || [[สามเศียร]] || กรุ๊ฟโฟร์ || [[บรอดคาซท์ ไทย เทเลวิชั่น|บรอดคาซท์]] || [[สามเศียร]]
| ผู้สร้าง || เทพกรภาพยนตร์ || [[ดาราวิดีโอ|ดาราฟิล์ม]] || ศิริมงคลโปรดัคชั่น || วิษณุภาพยนตร์ || [[สามเศียร]] || กรุ๊ฟโฟร์ || [[บรอดคาซท์ ไทย เทเลวิชั่น|บรอดคาซท์]] || [[สามเศียร]]
|[[สามเศียร]]
|
|
|
|-
|-
| ผู้กำกับ || [[เนรมิต]] || [[ไพรัช สังวริบุตร]] || ชิต ไทรทอง || วิเชียร วีระโชติ || <small>สยม สังวริบุตร<br>สมชาย สังข์สวัสดิ์</small> || <small>สิทธิชัย พัฒนดำเกิง</small> || <small>พี่นัส พี่เปี๊ยก<br>และพรรคพวก</small> || คูณฉกาจ วรสิทธิ์
| ผู้กำกับ || [[เนรมิต]] || [[ไพรัช สังวริบุตร]] || ชิต ไทรทอง || วิเชียร วีระโชติ || <small>สยม สังวริบุตร<br>สมชาย สังข์สวัสดิ์</small> || <small>สิทธิชัย พัฒนดำเกิง</small> || <small>พี่นัส พี่เปี๊ยก<br>และพรรคพวก</small> || คูณฉกาจ วรสิทธิ์
|
|
|
|
|-
|-
| เอื้อยกับอ้าย || [[ภาวนา ชนะจิต]] || [[เยาวเรศ นิศากร]]|| [[ลลนา สุลาวัลย์]] || เพ็ญยุพา มณีเนตร || [[อัจฉรา ทองเทพ]] || นวพร อินทรวิมล || นัยนา ทิพย์ศรี || [[พีชญา วัฒนามนตรี]]
| เอื้อยกับอ้าย || [[ภาวนา ชนะจิต]] || [[เยาวเรศ นิศากร]]|| [[ลลนา สุลาวัลย์]] || เพ็ญยุพา มณีเนตร || [[อัจฉรา ทองเทพ]] || นวพร อินทรวิมล || นัยนา ทิพย์ศรี || [[พีชญา วัฒนามนตรี]]
|[[ธมลพรรณ์ ภานุชิตพุทธิวงศ์]]
|
|
|
|-
|-
| พระเจ้าพรหมทัต || [[ไชยา สุริยัน]] || พัลลภ พรพิษณุ || ปฐมพงษ์ สิงหะ || [[สุริยา ชินพันธุ์]] || ปริญญา ปุ่นสกุล || เกรียง ไกรมาก || [[สุภาพ ไชยวิสุทธิกุล]] || วสุ ประทุมรัตน์วัฒนา
| พระเจ้าพรหมทัต || [[ไชยา สุริยัน]] || พัลลภ พรพิษณุ || ปฐมพงษ์ สิงหะ || [[สุริยา ชินพันธุ์]] || ปริญญา ปุ่นสกุล || เกรียง ไกรมาก || [[สุภาพ ไชยวิสุทธิกุล]] || วสุ ประทุมรัตน์วัฒนา
|พบศิลป์ โตสกุล
|
|
|
|-
|-
| เศรษฐีทารก (พ่อ) || <small>[[สมควร กระจ่างศาสตร์]]</small> || สุวิน สว่างรัตน์ || <small>[[สมควร กระจ่างศาสตร์]]</small> || [[สมภพ เบญจาธิกุล]] || ชาตรี พิณโณ || [[สรพงษ์ ชาตรี]] || ธงชัย ชาญชำนิ || [[อัมรินทร์ สิมะโรจน์]]
| เศรษฐีทารก (พ่อ) || <small>[[สมควร กระจ่างศาสตร์]]</small> || สุวิน สว่างรัตน์ || <small>[[สมควร กระจ่างศาสตร์]]</small> || [[สมภพ เบญจาธิกุล]] || ชาตรี พิณโณ || [[สรพงษ์ ชาตรี]] || ธงชัย ชาญชำนิ || [[อัมรินทร์ สิมะโรจน์]]
|
|
|
|
|-
|-
| ขนิษฐา (แม่เอื้อย) || <small>[[วิไลวรรณ วัฒนพานิช]]</small> || [[น้ำเงิน บุญหนัก]] || <small>[[รัตนาภรณ์ อินทรกำแหง]]</small> || อัมพวัน ศรีวิไล || [[ปัทมา ปานทอง]] || ขวัญภิรมย์ หลิน || จุฑามาศ ชวนเจริญ || [[ทราย เจริญปุระ]]
| ขนิษฐา (แม่เอื้อย) || <small>[[วิไลวรรณ วัฒนพานิช]]</small> || [[น้ำเงิน บุญหนัก]] || <small>[[รัตนาภรณ์ อินทรกำแหง]]</small> || อัมพวัน ศรีวิไล || [[ปัทมา ปานทอง]] || ขวัญภิรมย์ หลิน || จุฑามาศ ชวนเจริญ || [[ทราย เจริญปุระ]]
|
|
|
|
|-
|-
| ขนิษฐี (แม่อ้าย) || [[ปรียา รุ่งเรือง]] || [[ศิรินทิพย์ ศิริวรรณ]] || [[อรสา พรหมประทาน]] || [[พิศมัย วิไลศักดิ์]] || [[อรุโณทัย จิตตรีขันธ์|อรุโณทัย นฤนาท]] || ปาลีรัฐ ศศิธร || นัยนา ทิพย์ศรี || [[น้ำทิพย์ เสียมทอง]]
| ขนิษฐี (แม่อ้าย) || [[ปรียา รุ่งเรือง]] || [[ศิรินทิพย์ ศิริวรรณ]] || [[อรสา พรหมประทาน]] || [[พิศมัย วิไลศักดิ์]] || [[อรุโณทัย จิตตรีขันธ์|อรุโณทัย นฤนาท]] || ปาลีรัฐ ศศิธร || นัยนา ทิพย์ศรี || [[น้ำทิพย์ เสียมทอง]]
|
|
|
|
|}
|}



รุ่นแก้ไขเมื่อ 20:37, 29 ตุลาคม 2560

ปลาบู่ทอง เป็นนิทานพื้นบ้านทางภาคกลางของไทย ที่เล่าโดยผ่านวิธีมุขปาฐะ, ร้อยแก้ว, ร้อยกลอง มีเนื้อหาเกี่ยวกับเด็กสาวชาวบ้านผู้มีใจเมตตาได้แต่งงานกับกษัตริย์ เคยเป็นภาพยนตร์และละครโทรทัศน์มาแล้วหลายครั้ง โดยเชื่อว่ามีที่มาจากชนชาติจ้วง-ลาว-ไท ในภาคใต้ของจีน เล่าถ่ายทอดกันมาแต่ดึกดำบรรพ์ และในชนพื้นเมืองในหลายชาติของภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ เช่น ลาว, เขมร, พม่า ก็มีเรื่องราวทำนองคล้ายกันนี้ แต่เรียกชื่อต่างออกไป และคล้ายคลึงกับนิทานพื้นบ้านของยุโรป คือ ซินเดอเรลลา[1]

ในปี พ.ศ. 2555 ปลาบู่ทองได้ถูกขึ้นทะเบียนให้เป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของไทย โดยกระทรวงวัฒนธรรม[2]

เนื้อเรื่อง

เรื่องปลาบู่ทองเริ่มขึ้นโดยเศรษฐีทารก (อ่านว่า ทา-ระ-กะ) ผู้มีอาชีพจับปลามีภรรยา 2 คน คนแรกชื่อขนิษฐา มีลูกสาวชื่อ เอื้อย ส่วนคนที่สองชื่อ ขนิษฐี มีลูกสาวชื่อ อ้าย และ อี่

วันหนึ่งเศรษฐีทารกพาขนิษฐาไปจับปลาในคลอง ไม่ว่าจะเหวี่ยงแหไปกี่ครั้งก็ได้มาเพียงปลาบู่ทองที่ตั้งท้องตัวเดียวเท่านั้น จนกระทั่งพลบค่ำเศรษฐีก็ตัดสินใจที่จะเอาปลาบู่ทองที่จับได้เพียงตัวเดียวกลับบ้าน ทว่าขนิษฐาผู้เป็นภรรยาเกิดความสงสารปลาบู่ ขอให้เศรษฐีปล่อยปลาไป เศรษฐีทารกเกิดบันดาลโทสะจึงฟาดนางขนิษฐาจนตายและทิ้งศพลงคลอง

เมื่อกลับถึงบ้านเอื้อยก็ถามหาแม่ เศรษฐีจึงตอบไปว่าแม่ของเอื้อยได้หนีตามผู้ชายไป และจะไม่กลับมาบ้านอีกแล้ว นับตั้งแต่วันนั้นขนิษฐีผู้เป็นแม่เลี้ยงของเอื้อย และอี่กับอ้ายน้องสาวทั้งสองก็กลั่นแกล้งใช้งานเอื้อยเป็นประจำโดยที่เศรษฐีทารกไม่รับรู้และไม่สนใจ

เอื้อยคิดถึงแม่มากจึงมักไปนั่งร้องไห้อยู่ริมท่าน้ำ และได้พบกับปลาบู่ทองซึ่งเป็นนางขนิษฐากลับชาติมาเกิด เมื่อเอื้อยรู้ว่าปลาบู่ทองเป็นแม่ก็ได้นำข้าวสวยมาโปรยให้ปลาบู่ทองกิน และมาปรับทุกข์ให้ปลาบู่ทองฟังทุกวัน

นางขนิษฐีและลูกสาวเห็นเอื้อยมีความสุขขึ้น เมื่อถูกกลั่นแกล้งก็อดทนไม่ปริปากบ่นจึงสืบจนพบว่านางขนิษฐาได้มาเกิดเป็นปลาบู่ทอง และได้พบกับเอื้อยทุกวัน ดังนั้นเมื่อเอื้อยกำลังทำงานนางขนิษฐีก็จับปลาบู่ทองมาทำอาหารและขอดเกล็ดทิ้งไว้ในครัว

เอื้อยได้พบเกล็ดปลาบู่ทองก็เศร้าใจเป็นอย่างมาก นำเกล็ดไปฝังดินและอธิษฐานขอให้แม่มาเกิดเป็นต้นมะเขือ เอื้อยมารดน้ำให้ต้นมะเขือทุกวันจนงอกงาม เมื่อขนิษฐีทราบเรื่องเข้าก็โค่นต้นมะเขือ และนำลูกมะเขือไปจิ้มน้ำพริกกิน

เอื้อยเก็บเมล็ดมะเขือที่เหลือไปฝังดินและอธิษฐานให้แม่ไปเกิดเป็นต้นโพธิ์เงินโพธิ์ทองในป่า และไม่ให้ผู้ใดสามารถโค่น ทำลาย หรือเคลื่อนย้ายต้นโพธิ์เงินโพธิ์ทองได้

วันหนึ่งพระเจ้าพรหมทัตเสด็จประพาสป่าได้พบกับต้นโพธิ์เงินโพธิ์ทอง โปรดให้นำเข้าไปปลูกในวัง แต่ไม่มีผู้ใดสามารถเคลื่อนย้ายต้นโพธิ์เงินโพธิ์ทองได้ พระเจ้าพรหมทัตจึงประกาศว่าผู้ใดที่เคลื่อนย้ายต้นโพธิ์เงินโพธิ์ทองได้จะให้รางวัลอย่างงาม

ขนิษฐีและอ้ายกับอี่เข้าร่วมลองถอนต้นโพธิ์เงินโพธิ์ทองด้วยแต่ไม่สำเร็จ เอื้อยขอลองบ้างและอธิษฐานจิตบอกแม่ว่าขอย้ายแม่เข้าไปปลูกในวัง เอื้อยจึงถอนต้นโพธิ์เงินโพธิ์ทองได้สำเร็จ

พระเจ้าพรหมทัตถูกชะตาเอื้อยจึงชวนเข้าไปอยู่ในวังและแต่งตั้งให้เอื้อยเป็นพระมเหสี ฝ่ายขนิษฐีและลูกสาวอิจฉาเอื้อยจึงส่งจดหมายไปบอกเอื้อยว่าเศรษฐีทารกป่วยหนักขอให้เอื้อยกลับมาเยี่ยมที่บ้าน

เมื่อเอื้อยกลับมาบ้าน นางขนิษฐีก็ได้แกล้งนำกระทะน้ำเดือดไปวางไว้ใต้ไม้กระดานเรือน และทำกระดานกลไว้ เมื่อเอื้อยเหยียบกระดานกลก็ตกลงในหม้าน้ำเดือดจนถึงแก่ความตาย ขนิษฐีให้อ้ายปลอมตัวเป็นเอื้อยและเดินทางกลับไปยังวังของพระเจ้าพรหมทัต

เอื้อยได้ไปเกิดใหม่เป็นนกแขกเต้า เมื่อเกิดใหม่แล้วก็บินกลับเข้าไปในพระราชวัง พระเจ้าพรหมทัตเห็นนกแขกเต้าแสนรู้ ไม่รู้ว่าเป็นเอื้อยกลับชาติมาเกิดก็เลี้ยงไว้ใกล้ตัว อ้ายเห็นดังนั้นก็ไม่พอใจ สั่งคนครัวให้นำนกแขกเต้าไปถอนขนและต้มกิน

แม่ครัวถอนขนนกแขกเต้าและวางทิ้งไว้บนโต๊ะ นกแขกเต้าจึงกระเสือกกระสนหลบหนีเข้าไปอยู่ในรูหนู มีหนูช่วยดูและจนขนขึ้นเป็นปกติ แล้วเอื้อยก็บินเข้าป่าไปจนเจอกับพระฤๅษี

พระฤๅษีตรวจดูด้วยญานพบว่านกแขกเต้าคือเอื้อยกลับชาติมาเกิดจึงเสกให้เป็นคนตามเดิม และวาดรูปเด็กเสกให้มีชีวิตเพื่อให้เป็นลูกของเอื้อย เมื่อเด็กนั้นโตขึ้นก็ขอเอื้อยเดินทางไปหาบิดา เอื้อยจึงเล่าเรื่องทั้งหมดให้บุตรชายฟังร้อยพวงมาลัยเพื่อให้บุตรชายนำไปให้พระเจ้าพรหมทัต

เมื่อพระเจ้าพรหมทัตได้พบกับบุตรชายของเอื้อยและพวงมาลัย ก็ขอให้เด็กชายเล่าเรื่องทั้งหมดให้ฟังว่าได้มาลัยมาอย่างไร เด็กชายก็เล่าตามที่เอื้อยเล่าให้ฟัง เมื่อทราบเรื่องทั้งหมดแล้วพระเจ้าพรหมทัตก็สั่งประหารชีวิตอ้าย อี่ และขนิษฐี และไปรับเอื้อยเพื่อให้กลับมาครองบัลลังก์ร่วมกันอีกครั้ง [2]

การดัดแปลง

ปลาบู่ทองถูกนำมาสร้างครั้งแรกเป็นภาพยนตร์ 16 มม. สร้างโดย เทพกรภาพยนตร์ โดย กิติมา เศรษฐภักดี เป็นผู้อำนวยการสร้าง กำกับโดย อำนวย กลัสนิมิ (ครูเนรมิต) ออกฉายครั้งแรกวันที่ 20 สิงหาคม 2508 ที่โรงหนังเฉลิมบุรี ต่อมาปลาบู่ทองถูกนำมาทำเป็นภาพยนตร์โทรทัศน์จักรๆวงศ์ๆครั้งแรกทาง สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 ในปี พ.ศ. 2510 เป็นภาพยนตร์โทรทัศน์เรื่องแรกของ ดาราฟิล์ม กำกับโดย ไพรัช สังวริบุตร บทโดย ประสม สง่าเนตร มีเพลงนำเรื่องขับร้องโดย เพ็ญศรี พุ่มชูศรี ต่อมาในปี พ.ศ. 2515 นำมาเป็นภาพยนตร์ 35 มม. ออกฉายในชื่อเรื่อง "แม่ปลาบู่" โดย วนิชศิลปภาพยนตร์ ของ อนันต์ ชลวนิช ออกฉายวันที่ 14 พฤศจิกายน 2515 โดยฉายที่โรงภาพยนตร์นิวบรอดเวย์

ปลาบู่ทองถูกนำมาทำเป็นภาพยนตร์อีก 3 ครั้ง

  • ในปี พ.ศ. 2522 กำกับโดย ชิต ไทรทอง สร้างโดย ศิริมงคลโปรดัคชั่น อำนวยการสร้างโดย ชาญชัย เนตรขำคม เข้าฉายเมื่อ 7 กรกฎาคม
  • ในปี พ.ศ. 2527 กำกับโดย วิเชียร วีระโชติ อำนวยการสร้างโดย วิษณุ นาคสู่สุข สร้างโดย วิษณุภาพยนตร์
  • ในปี พ.ศ. 2537 สร้างโดย กรุ๊ฟโฟร์ โปรดักชั่น กำกับโดย สิทธิชัย พัฒนดำเกิง บทภาพยนตร์โดย อาทิตย์ เข้าฉาย 8 พฤศจิกายน

และถูกนำมาทำเป็นละครโทรทัศน์จักรๆวงศ์ๆทาง สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 อีก 2 ครั้ง ในปี พ.ศ. 2537 สร้างโดย บริษัท สามเศียร จำกัด และ บริษัท ดาราวีดีโอ จำกัด กำกับโดย สยม สังวริบุตร และ สมชาย สังข์สวัสดิ์ บทโทรทัศน์โดย รัมภา ภิรมย์ภักดี (ภาวิต) และ ลุลินารถ สุนทรพฤกษ์ และในปี พ.ศ. 2552 สร้างโดย บริษัท สามเศียร จำกัด กำกับโดย คูณฉกาจ วรสิทธิ์ บทโทรทัศน์โดย รัมภา ภิรมย์ภักดี (พิกุลแก้ว) ออกอากาศ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2552 ถึง 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ปี พ.ศ. 2508 พ.ศ. 2510 พ.ศ. 2522 พ.ศ. 2527 พ.ศ. 2537 พ.ศ. 2543 พ.ศ. 2552
รูปแบบ ภาพยนตร์ 16 มม. ภาพยนตร์ทีวี ช่อง 7
ภาพยนตร์ 35 มม.
ละคร ช่อง 7 ภาพยนตร์ 35 มม. การ์ตูน ช่อง 3 ละคร ช่อง 7
ผู้สร้าง เทพกรภาพยนตร์ ดาราฟิล์ม ศิริมงคลโปรดัคชั่น วิษณุภาพยนตร์ สามเศียร กรุ๊ฟโฟร์ บรอดคาซท์ สามเศียร
ผู้กำกับ เนรมิต ไพรัช สังวริบุตร ชิต ไทรทอง วิเชียร วีระโชติ สยม สังวริบุตร
สมชาย สังข์สวัสดิ์
สิทธิชัย พัฒนดำเกิง พี่นัส พี่เปี๊ยก
และพรรคพวก
คูณฉกาจ วรสิทธิ์
เอื้อยกับอ้าย ภาวนา ชนะจิต เยาวเรศ นิศากร ลลนา สุลาวัลย์ เพ็ญยุพา มณีเนตร อัจฉรา ทองเทพ นวพร อินทรวิมล นัยนา ทิพย์ศรี พีชญา วัฒนามนตรี
พระเจ้าพรหมทัต ไชยา สุริยัน พัลลภ พรพิษณุ ปฐมพงษ์ สิงหะ สุริยา ชินพันธุ์ ปริญญา ปุ่นสกุล เกรียง ไกรมาก สุภาพ ไชยวิสุทธิกุล วสุ ประทุมรัตน์วัฒนา
เศรษฐีทารก (พ่อ) สมควร กระจ่างศาสตร์ สุวิน สว่างรัตน์ สมควร กระจ่างศาสตร์ สมภพ เบญจาธิกุล ชาตรี พิณโณ สรพงษ์ ชาตรี ธงชัย ชาญชำนิ อัมรินทร์ สิมะโรจน์
ขนิษฐา (แม่เอื้อย) วิไลวรรณ วัฒนพานิช น้ำเงิน บุญหนัก รัตนาภรณ์ อินทรกำแหง อัมพวัน ศรีวิไล ปัทมา ปานทอง ขวัญภิรมย์ หลิน จุฑามาศ ชวนเจริญ ทราย เจริญปุระ
ขนิษฐี (แม่อ้าย) ปรียา รุ่งเรือง ศิรินทิพย์ ศิริวรรณ อรสา พรหมประทาน พิศมัย วิไลศักดิ์ อรุโณทัย นฤนาท ปาลีรัฐ ศศิธร นัยนา ทิพย์ศรี น้ำทิพย์ เสียมทอง

อ้างอิง

  1. "อัศจรรย์รักข้ามขอบฟ้า จากมะเมียะถึง ซินเดอเรลล่า". กรุงเทพธุรกิจ. 14 July 2013. สืบค้นเมื่อ 18 June 2016.
  2. 2.0 2.1 "ปลาบู่ทอง". กระทรวงวัฒนธรรม. สืบค้นเมื่อ 18 June 2016.