ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โตเกียว"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 75: บรรทัด 75:
|footnotes =
|footnotes =
}}
}}
[[ไฟล์:Tokyo Tower 20060211.JPG|thumb|left|120px|[[โตเกียวทาวเวอร์]]]]
[[ไฟล์:Tokyo Tower 20060211.JPG|thumb|left|90px|[[โตเกียวทาวเวอร์]]]]
[[ไฟล์:Tokyo Sky Tree 2012.JPG|thumb|left|120px|[[โตเกียวสกายทรี|โตเกียวทาวเวอร์แห่งใหม่]]]]
[[ไฟล์:Tokyo Sky Tree 2012.JPG|thumb|left|90px|[[โตเกียวสกายทรี|โตเกียวทาวเวอร์แห่งใหม่]]]]
'''โตเกียว''' ({{nhg|東京|โทเกียว}}<!--; {{เสียง|Ja-Tokyo.ogg|help=no}}-->) หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า '''มหานครโตเกียว''' ({{nhg2|東京都|โทเกียว-โตะ}}; Tokyo Metropolis) หรือเรียก '''เอะโดะ''' เป็น [[เมืองหลวง]] ของ [[ประเทศญี่ปุ่น]] มีระบบ[[การปกครองแบบพิเศษ]]ซึ่งรวมการปกครองในรูปแบบ [[จังหวัดของญี่ปุ่น|จังหวัด]] และ [[เมืองของญี่ปุ่น|เมือง]] ไว้ด้วยกัน ทั้งนี้ [[เขตอภิมหานครโตเกียว]] จัดว่าเป็นเขตเมืองที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยรวมเขตปริมณฑลแล้วมีประชากรอาศัยอยู่ราว 35,237,000 คน <ref>http://esa.un.org/unup/</ref>) เฉพาะในตัวเมืองโตเกียว [[แขวงพิเศษของโตเกียว|23 แขวงการปกครองพิเศษ]] มีประชากรในเขตเมืองประมาณ 12 ล้านคน <ref>[http://www.nationsonline.org/oneworld/bigcities.htm รายชื่อเมืองที่มีประชากรสูงที่สุดในโลก] {{en icon}}</ref> ถือเป็นเมืองที่มีประชากรมากที่สุดในโลกเมืองหนึ่ง จำนวนประชากรทั้งหมดของโตเกียว มีทั้งหมดกว่า 35 ล้านคน โตเกียวตั้งอยู่บริเวณภูมิภาค [[คันโต]] ของญี่ปุ่น คำว่า "โตเกียว" หมายถึง "นครหลวงตะวันออก" ในโตเกียวยังเป็นที่ตั้งของ [[พระราชวังหลวงโตเกียว|พระราชวังหลวง]] ของ [[จักรพรรดิญี่ปุ่น|สมเด็จพระจักรพรรดิ]]
'''โตเกียว''' ({{nhg|東京|โทเกียว}}<!--; {{เสียง|Ja-Tokyo.ogg|help=no}}-->) หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า '''มหานครโตเกียว''' ({{nhg2|東京都|โทเกียว-โตะ}}; Tokyo Metropolis) หรือเรียก '''เอะโดะ''' เป็น [[เมืองหลวง]] ของ [[ประเทศญี่ปุ่น]] มีระบบ[[การปกครองแบบพิเศษ]]ซึ่งรวมการปกครองในรูปแบบ [[จังหวัดของญี่ปุ่น|จังหวัด]] และ [[เมืองของญี่ปุ่น|เมือง]] ไว้ด้วยกัน ทั้งนี้ [[เขตอภิมหานครโตเกียว]] จัดว่าเป็นเขตเมืองที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยรวมเขตปริมณฑลแล้วมีประชากรอาศัยอยู่ราว 35,237,000 คน <ref>http://esa.un.org/unup/</ref>) เฉพาะในตัวเมืองโตเกียว [[แขวงพิเศษของโตเกียว|23 แขวงการปกครองพิเศษ]] มีประชากรในเขตเมืองประมาณ 12 ล้านคน <ref>[http://www.nationsonline.org/oneworld/bigcities.htm รายชื่อเมืองที่มีประชากรสูงที่สุดในโลก] {{en icon}}</ref> ถือเป็นเมืองที่มีประชากรมากที่สุดในโลกเมืองหนึ่ง จำนวนประชากรทั้งหมดของโตเกียว มีทั้งหมดกว่า 35 ล้านคน โตเกียวตั้งอยู่บริเวณภูมิภาค [[คันโต]] ของญี่ปุ่น คำว่า "โตเกียว" หมายถึง "นครหลวงตะวันออก" ในโตเกียวยังเป็นที่ตั้งของ [[พระราชวังหลวงโตเกียว|พระราชวังหลวง]] ของ [[จักรพรรดิญี่ปุ่น|สมเด็จพระจักรพรรดิ]]


บรรทัด 123: บรรทัด 123:
ตาม [[การแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิปเปน]] โตเกียวอยู่ในเขตภูมิอากาศชุ่มชื้นกึ่งเขตร้อน (Cfa) <ref>{{cite web|url=http://www.hydrol-earth-syst-sci.net/11/1633/2007/hess-11-1633-2007.pdf|title=Updated world map of the Köppen-Geiger climate classification|author=M. C. Peel, B. L. Finlayson, and T. A. McMahon|publisher=Hydrology and Earth System Sciences|date=2007}}</ref> และตามการแบ่งเขตภูมิอากาศใน [[ประเทศญี่ปุ่น]] โตเกียวอยู่ในเขตภูมิอากาศชายฝั่ง [[มหาสมุทรแปซิฟิก]] ซึ่งมีลักษณะเด่นคือมีความแตกต่างระหว่างฤดูชัดเจน อากาศเปลี่ยนแปลงง่ายในแต่ละวัน ฤดูร้อนมีอุณหภูมิสูงและฝนตกมาก ฤดูหนาวมีวันที่แดดออกและอากาศแห้ง
ตาม [[การแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิปเปน]] โตเกียวอยู่ในเขตภูมิอากาศชุ่มชื้นกึ่งเขตร้อน (Cfa) <ref>{{cite web|url=http://www.hydrol-earth-syst-sci.net/11/1633/2007/hess-11-1633-2007.pdf|title=Updated world map of the Köppen-Geiger climate classification|author=M. C. Peel, B. L. Finlayson, and T. A. McMahon|publisher=Hydrology and Earth System Sciences|date=2007}}</ref> และตามการแบ่งเขตภูมิอากาศใน [[ประเทศญี่ปุ่น]] โตเกียวอยู่ในเขตภูมิอากาศชายฝั่ง [[มหาสมุทรแปซิฟิก]] ซึ่งมีลักษณะเด่นคือมีความแตกต่างระหว่างฤดูชัดเจน อากาศเปลี่ยนแปลงง่ายในแต่ละวัน ฤดูร้อนมีอุณหภูมิสูงและฝนตกมาก ฤดูหนาวมีวันที่แดดออกและอากาศแห้ง


โตเกียวเป็นตัวอย่างของ [[ปรากฏการณ์เกาะความร้อน]] ซึ่งเป็นผลจากการปล่อยความร้อนโดยวิธีต่างๆ เช่นไอร้อนจากเครื่องปรับอากาศหรือรถยนต์ และการพัฒนาตัวเมืองทำให้มีพื้นที่สีเขียวน้อยลง <ref>{{cite web|url=http://www.env.go.jp/en/air/heat/heatisland.pdf|title=Outline of the Policy Framework to Reduce Urban Heat Island Effects|author=Inter-Ministry Coordination Committee to Mitigate Urban Heat Island|date=2004-03}}</ref>
โตเกียวเป็นตัวอย่างของ [[ปรากฏการณ์เกาะความร้อน]] ซึ่งเป็นผลจากการปล่อยความร้อนโดยวิธีต่างๆ เช่นไอร้อนจาก[[เครื่องปรับอากาศ]]หรือ[[รถยนต์]] และการพัฒนาตัวเมืองทำให้มีพื้นที่สีเขียวน้อยลง <ref>{{cite web|url=http://www.env.go.jp/en/air/heat/heatisland.pdf|title=Outline of the Policy Framework to Reduce Urban Heat Island Effects|author=Inter-Ministry Coordination Committee to Mitigate Urban Heat Island|date=2004-03}}</ref>


== เขตการปกครอง ==
== เขตการปกครอง ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 17:55, 18 กันยายน 2560

โตเกียว

東京
東京都 • มหานครโตเกียว
จากบนซ้าย: ชินจุกุ, โตเกียวทาวเวอร์, สะพานสายรุ้ง, ชิบุยะ, อาคารสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
ตราอย่างเป็นทางการของโตเกียว
ตรา
โลโกอย่างเป็นทางการของโตเกียว
สัญลักษณ์
เพลง: [Tokyo Metropolitan Song] ข้อผิดพลาด: {{Lang-xx}}: ข้อความมีมาร์กอัปตัวเอียง (ช่วยเหลือ)โรมาจิ東京都歌ทับศัพท์: โทเกียว โทะกะ[1]
ที่ตั้งของโตเกียวในญี่ปุ่น
ที่ตั้งของโตเกียวในญี่ปุ่น
ภาพถ่ายดาวเทียม 23 แขวงพิเศษของโตเกียว จากยาน Landsat 7 ของนาซา
ภาพถ่ายดาวเทียม 23 แขวงพิเศษของโตเกียว จากยาน Landsat 7 ของนาซา
โตเกียวตั้งอยู่ในประเทศญี่ปุ่น
โตเกียว
โตเกียว
ที่ตั้งของโตเกียวในญี่ปุ่น
พิกัด: 35°41′22.22″N 139°41′30.12″E / 35.6895056°N 139.6917000°E / 35.6895056; 139.6917000พิกัดภูมิศาสตร์: 35°41′22.22″N 139°41′30.12″E / 35.6895056°N 139.6917000°E / 35.6895056; 139.6917000
ประเทศญี่ปุ่น
ภูมิภาคคันโต
เกาะฮนชู
การบริหาร23 แขวงพิเศษ, 26 เมือง, 1 อำเภอ และ 4 กิ่งจังหวัด
การปกครอง
 • ประเภทจังหวัด
 • ผู้ว่ายูริโกะ โคอิเกะ[2]
 • ศูนย์กลางชินจุกุ
พื้นที่(อันดับที่ 45)
 • มหานคร13,572 ตร.กม. (5,240 ตร.ไมล์)
 • เขตเมือง2,187.66 ตร.กม. (844.66 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (ส.ค. 2014)[3][4]
 • มหานคร37,126,000 คน
 • ความหนาแน่น2,700 คน/ตร.กม. (7,100 คน/ตร.ไมล์)
 • เขตเมือง13,370,198 คน
 • ความหนาแน่นเขตเมือง6,100 คน/ตร.กม. (16,000 คน/ตร.ไมล์)
 1st
เดมะนิมโทเกียวอิเตะ
เขตเวลาUTC+9 (เวลามาตรฐานญี่ปุ่น)
ISO 3166-2JP-13
ดอกไม้Somei-Yoshino cherry blossom
ต้นไม้แปะก๊วย
นกนกนางนวลหัวดำ
เว็บไซต์www.metro.tokyo.jp
โตเกียวทาวเวอร์
โตเกียวทาวเวอร์แห่งใหม่

โตเกียว (ญี่ปุ่น: 東京โรมาจิโทเกียว) หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า มหานครโตเกียว (東京都; Tokyo Metropolis) หรือเรียก เอะโดะ เป็น เมืองหลวง ของ ประเทศญี่ปุ่น มีระบบการปกครองแบบพิเศษซึ่งรวมการปกครองในรูปแบบ จังหวัด และ เมือง ไว้ด้วยกัน ทั้งนี้ เขตอภิมหานครโตเกียว จัดว่าเป็นเขตเมืองที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยรวมเขตปริมณฑลแล้วมีประชากรอาศัยอยู่ราว 35,237,000 คน [5]) เฉพาะในตัวเมืองโตเกียว 23 แขวงการปกครองพิเศษ มีประชากรในเขตเมืองประมาณ 12 ล้านคน [6] ถือเป็นเมืองที่มีประชากรมากที่สุดในโลกเมืองหนึ่ง จำนวนประชากรทั้งหมดของโตเกียว มีทั้งหมดกว่า 35 ล้านคน โตเกียวตั้งอยู่บริเวณภูมิภาค คันโต ของญี่ปุ่น คำว่า "โตเกียว" หมายถึง "นครหลวงตะวันออก" ในโตเกียวยังเป็นที่ตั้งของ พระราชวังหลวง ของ สมเด็จพระจักรพรรดิ

กรุงโตเกียวเคยเป็นเจ้าภาพการแข่งขันกีฬา โอลิมปิกปี 1964 และจะเป็นเจ้าภาพครั้งที่ 2 ในปี 2020 ระหว่างวันที่ 24 กรกฎาคม9 สิงหาคม พ.ศ. 2563

ชื่อเมือง

โตเกียวเคยเรียกว่า เอะโดะ แปลว่า ปากน้ำ [7] เมื่อกลายเป็นเมืองหลวงของญี่ปุ่นในปี 1868 ก็เปลี่ยนชื่อเป็นโตเกียว แปลว่า เมืองหลวงทางตะวันออก (โท 東 ตะวันออก, เกียว 京 เมืองหลวง)[7] ในตอนต้น ยุคเมจิ บางครั้งเรียกโตเกียวว่า โตเก ซึ่งเป็นวิธีอ่านอีกแบบของตัวคันจิ แต่ปัจจุบันเลิกใช้แล้ว [8] นอกจากนี้โตเกียวยังมีอีกความหมายหนึ่ง ซึ่งหมายถึงขนมที่ดังเป็นอย่างมากในเมืองไทย เนื่องจากชื่อมีความเหมือนขนมเมืองหลวงอย่างปักกิ่งอีกด้วย

ประวัติศาสตร์

พระราชวังหลวง ที่ประทับของ พระจักรพรรดิ
โตเกียว ใน ค.ศ. 1933

โตเกียวแต่เดิมเป็นหมู่บ้านประมงเล็กๆ ที่ชื่อเอะโดะ ต่อมาใน ค.ศ. 1457 ปราสาทเอะโดะ ได้ถูกสร้างขึ้น และต่อมาในปีทศวรรษที่ 1590 เป็นยุคที่ โทะกุงะวะ อิเอะยะซุ ได้เริ่มปราบหัวเมืองต่างๆ ซึ่งภายหลังจากปราบหัวเมืองต่างๆ ลงได้อย่างราบคาบแล้ว ใน ค.ศ. 1603 เขาได้สถาปนา รัฐบาลโชกุน ขึ้นปกครองประเทศ โดยมีเอะโดะเป็นที่ตั้งของ "บะกุฟุ" (แปลตรงตัว: ค่ายทหาร, พฤตินัย: ทำเนียบรัฐบาล) และสถาปนาตนขึ้นเป็น โชกุน เมืองเอะโดะจึงได้กลายเป็นศูนย์กลางของรัฐบาลทหารของเขาซึ่งมีอำนาจปกครองทั้งประเทศ ในช่วงเวลาต่อมาใน ยุคเอะโดะ เมืองเอะโดะก็ขยายตัวขึ้นจนกลายเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดเมืองหนึ่งในโลก โดยมีประชากรมากกว่า 1 ล้านคนใน คริสต์ศตวรรษที่ 18 [9] และเป็นที่ยอมรับว่าเป็นเมืองหลวงของญี่ปุ่น [10] แม้ว่าองค์จักรพรรดิประทับอยู่ในนครหลวง เฮอังเกียว (เคียวโตะ)

หลังจากนั้นประมาณ 263 ปี ระบอบปกครองภายใต้โชกุนถูกล้มล้างโดย การปฏิรูปเมจิ อำนาจการปกครองจึงกลับคืนมาสู่ จักรพรรดิ อีกครั้ง ใน ค.ศ. 1869 จักรพรรดิเมจิ ทรงย้ายเมืองหลวงมาที่เอะโดะและเปลี่ยนชื่อเมืองเป็นโตเกียว โตเกียวจึงกลายเป็นศูนย์กลางทางการปกครองและวัฒนธรรมของประเทศ [11] และการที่จักรพรรดิทรงย้ายมาประทับจึงทำให้โตเกียวกลายเป็นเมืองหลวงอย่างเต็มตัวและปราสาทเอะโดะเปลี่ยนเป็น พระราชวังหลวง

ใน ยุคเมจิ โตเกียวมีการพัฒนาโดยได้รับอิทธิพลจากตะวันตก เช่น การเปิดบริการ โทรเลข ระหว่างโตเกียวกับ โยะโกะฮะมะ ในปี 1869 และการเปิดบริการรถไฟสายแรกระหว่าง ชิมบะชิ และ โยะโกะฮะมะ ในปี 1872 [11]

ภูมิศาสตร์

หมู่เกาะโอะงะซะวะระซึ่งมีจุดที่ใต้สุดและตะวันออกสุดของญี่ปุ่น

กรุงโตเกียวตั้งอยู่ในที่ราบ คันโต ติดกับ อ่าวโตเกียว มีขนาดประมาณ 90 กม. จากตะวันออกถึงตะวันตก และ 25 กม. จากเหนือถึงใต้ ทิศตะวันออกติดกับ จังหวัดชิบะ ทิศตะวันตกติดกับ จังหวัดยะมะนะชิ ทิศใต้ติดกับ จังหวัดคะนะกะวะ และทิศเหนือติดกับ จังหวัดไซตะมะ เขตการปกครองของโตเกียวนั้นรวมไปถึง หมู่เกาะอิซุ และ หมู่เกาะโอะงะซะวะระ ด้วย จึงทำให้โตเกียวมีจุดที่อยู่ใต้สุด (โอะกิโนะโทะริชิมะ) และตะวันออกสุด (มินะมิโทะริชิมะ) ของญี่ปุ่นอยู่ในพื้นที่ด้วย

ทางตะวันออกของโตเกียวเป็น ที่ราบตะกอนน้ำพา เช่นบริเวณปาก แม่น้ำซุมิดะ แม่น้ำเอะโดะ พื้นดินค่อนข้างอ่อนจึงทำให้เกิดการทรุดตัวของพื้นดิน [12] อ่าวโตเกียวถูกถมที่เพื่อสร้างพื้นที่ใช้สอยตั้งแต่ ยุคเอะโดะ [13] และเริ่มมีการถมที่เพื่อสร้างสถานที่กำจัดขยะตั้งแต่ปี 1927 [14] ปัจจุบันพื้นที่ประมาณร้อยละ 20 ของอ่าวโตเกียวกลายเป็นพื้นที่ถูกถม [15] ในแขวงนิชิตะมะทางตะวันตกเป็นที่สูง โดยมีเขาคุโมะโตะริ ซึ่งมีความสูง 2,017 ม. เป็นจุดที่สูงที่สุดในโตเกียว โตเกียวตั้งอยู่บนรอยเลื่อนที่มีพลังซึ่งอยู่ใกล้ผิวโลกมาก จึงมีการคาดการณ์ว่าอาจจะเกิดแผ่นดินไหวรุนแรงขึ้น [16]

ทั้ง หมู่เกาะอิซุ และหมู่เกาะ โอะงะซะวะระ เป็นหมู่เกาะภูเขาไฟ หมู่เกาะอิซุมีภูเขาไฟที่ยังมีพลังอยู่จำนวนมาก เช่นในภูเขาไฟโอะยะมะบน เกาะมิยะเกะ ที่ระเบิดในปี 2000 [17] ส่วนหมู่เกาะโอะงะซะวะระนั้นอยู่ห่างจากแผ่นดินใหญ่มากและมีสัตว์ท้องถิ่นหลายชนิด จนบางครั้งถูกเรียกว่า หมู่เกาะกาลาปาโกส แห่งตะวันออก [18]

ตาม การแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิปเปน โตเกียวอยู่ในเขตภูมิอากาศชุ่มชื้นกึ่งเขตร้อน (Cfa) [19] และตามการแบ่งเขตภูมิอากาศใน ประเทศญี่ปุ่น โตเกียวอยู่ในเขตภูมิอากาศชายฝั่ง มหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งมีลักษณะเด่นคือมีความแตกต่างระหว่างฤดูชัดเจน อากาศเปลี่ยนแปลงง่ายในแต่ละวัน ฤดูร้อนมีอุณหภูมิสูงและฝนตกมาก ฤดูหนาวมีวันที่แดดออกและอากาศแห้ง

โตเกียวเป็นตัวอย่างของ ปรากฏการณ์เกาะความร้อน ซึ่งเป็นผลจากการปล่อยความร้อนโดยวิธีต่างๆ เช่นไอร้อนจากเครื่องปรับอากาศหรือรถยนต์ และการพัฒนาตัวเมืองทำให้มีพื้นที่สีเขียวน้อยลง [20]

เขตการปกครอง

แขวงพิเศษ

แผนที่แสดงที่ตั้งของ 23 แขวงพิเศษ

โตเกียวมี 23 แขวงการปกครองพิเศษ "(特別区 โทะกุเบะสึ-กุ)" คือ

โตเกียวตะวันตก

นอกเหนือแขวงพิเศษซึ่งจัดว่าเป็นตัวเมืองของจังหวัดโตเกียวแล้ว ทางพื้นที่ฝั่งตะวันตกของ 23 แขวงพิเศษยังเป็นที่ตั้งของ ฝั่ง โตเกียวตะวันตก หรือที่ชาวญี่ปุ่นมักเรียกว่า "ฝั่งทะมะ" "(多摩地域 ทะมะ-ชิกิ)" ซึ่งประกอบด้วยเมือง 26 เมือง

เมือง
ที่ตั้งของแต่ละเมืองใน โตเกียวตะวันตก

26 เมืองในโตเกียวตะวันตก:

อำเภอนิชิตะมะ

ทางตะวันตกที่สุดของจังหวัดโตเกียวนั้นเป็นที่ตั้งของอำเภอขนาดใหญ่ชื่อนิชิตะมะ "(西多摩郡 นิชิตะมะ-กุง)" เป็นพื้นที่ๆ มีภูมิประเทศแบบภูเขา ซึ่งอำเภอนิชิตะมะนี้เองเป็นที่ตั้งของภูเขาที่สูงที่สุดในโตเกียว คือ เขาคุโมะโตะริ ซึ่งมีความสูงกว่า 2,017 เมตร และยังมี ทะเลสาบโอะกุตะมะ ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างรอยต่อกับ จังหวัดยะมะนะชิ อีกด้วย

เกาะ

เกาะฮะชิโจะ-จิมะ ในหมู่เกาะอิซุ

นอกชายฝั่งออกไปนั้น โตเกียวมีหมู่เกาะมากมาย แต่เนื่องจากระยะทางที่ห่างไกลมากจากสำนักงานกรุงโตเกียว ดังนั้นทางรัฐบาลจึงได้ตั้งสำนักงานท้องถื่นขึ้นบนเกาะนั้นเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชน โดยมีหมู่เกาะที่เป็นที่รู้จักอยู่ คือ

หมู่เกาะอิซุ เป็นหมู่เกาะภูเขาไฟ และยังเป็นส่วนหนึ่งของ อุทยานแห่งชาติฟุจิ-ฮะโกะเนะ-อิซุ ซึ่งหมู่เกาะอิซุนี้เป็นที่ตั้งของ 3 กิ่งจังหวัด

หมู่เกาะ โอะงะซะวะระ จากเหนือจรดใต้ประกอบไปด้วย เกาะชิชิ, ตำบลนิโอะชิมะ, เกาะฮะฮะ, เกาะคิตะอิโวะ, และเกาะมินะมิอิโวะ ซึ่งโองะซะวะระ ยังบริหารเกาะเล็กๆ ที่ห่างไกลอีกสองเกาะคือ มินะมิโทะริชิมะ ดินแดนส่วนตะวันออกที่สุดของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากโตเกียวกว่า 1,850 กม. และโอะนิโกะโทะริชิมะ เกาะที่อยู่ใต้สุดของประเทศญี่ปุ่น แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ประชาชนท้องถิ่นแท้ๆ จะพบเฉพาะบนเกาะชิชิและเกาะฮะฮะเท่านั้น

ภูมิอากาศ

โตเกียวตะวันออก
ข้อมูลภูมิอากาศของ23 แขวงพิเศษของโตเกียว[21] (ค.ศ. 1981–2017)
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F) 22.6
(72.7)
24.9
(76.8)
25.3
(77.5)
29.2
(84.6)
32.2
(90)
36.2
(97.2)
39.5
(103.1)
39.1
(102.4)
38.1
(100.6)
32.6
(90.7)
27.3
(81.1)
24.8
(76.6)
39.5
(103.1)
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 9.6
(49.3)
10.4
(50.7)
13.6
(56.5)
19.0
(66.2)
22.9
(73.2)
25.5
(77.9)
29.2
(84.6)
30.8
(87.4)
26.9
(80.4)
21.5
(70.7)
16.3
(61.3)
11.9
(53.4)
19.8
(67.6)
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) 5.2
(41.4)
5.7
(42.3)
8.7
(47.7)
13.9
(57)
18.2
(64.8)
21.4
(70.5)
25.0
(77)
26.4
(79.5)
22.8
(73)
17.5
(63.5)
12.1
(53.8)
7.6
(45.7)
15.4
(59.7)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) 0.9
(33.6)
1.7
(35.1)
4.4
(39.9)
9.4
(48.9)
14.0
(57.2)
18.0
(64.4)
21.8
(71.2)
23.0
(73.4)
19.7
(67.5)
14.2
(57.6)
8.3
(46.9)
3.5
(38.3)
11.6
(52.9)
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F) -9.2
(15.4)
-7.9
(17.8)
-5.6
(21.9)
-3.1
(26.4)
2.2
(36)
8.5
(47.3)
13.0
(55.4)
15.4
(59.7)
10.5
(50.9)
-0.5
(31.1)
-3.1
(26.4)
-6.8
(19.8)
−9.3
(15.3)
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) 52.3
(2.059)
56.1
(2.209)
117.5
(4.626)
124.5
(4.902)
137.8
(5.425)
167.7
(6.602)
153.5
(6.043)
168.2
(6.622)
209.9
(8.264)
197.8
(7.787)
92.5
(3.642)
51.0
(2.008)
1,528.8
(60.189)
ปริมาณหิมะ ซม (นิ้ว) 5
(2)
5
(2)
1
(0.4)
0
(0)
0
(0)
0
(0)
0
(0)
0
(0)
0
(0)
0
(0)
0
(0)
0
(0)
11
(4.3)
ความชื้นร้อยละ 52 53 56 62 69 75 77 73 75 68 65 56 62
วันที่มีหยาดน้ำฟ้าโดยเฉลี่ย (≥ 0.5 mm) 5.3 6.2 11.0 11.0 11.4 12.7 11.8 9.0 12.2 10.8 7.6 4.9 114.0
วันที่มีหิมะตกโดยเฉลี่ย 2.8 3.7 2.2 0.2 0.0 0.0 0.0 0.0 0.0 0.0 0.0 0.8 9.7
จำนวนชั่วโมงที่มีแดด 184.5 165.8 163.1 176.9 167.8 125.4 146.4 169.0 120.9 131.0 147.9 178.0 1,876.7
แหล่งที่มา: สำนักอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (รายงาน ค.ศ. 1872–ปัจจุบัน)[22][23][24]
โตเกียวตะวันตก
ข้อมูลภูมิอากาศของโตเกียวตะวันตก (ค.ศ. 1981–2017)
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 6.7
(44.1)
7.1
(44.8)
10.3
(50.5)
16.3
(61.3)
20.5
(68.9)
23.0
(73.4)
26.8
(80.2)
28.2
(82.8)
23.9
(75)
18.4
(65.1)
13.8
(56.8)
9.3
(48.7)
17.1
(62.8)
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) 1.3
(34.3)
1.8
(35.2)
5.0
(41)
10.6
(51.1)
15.1
(59.2)
18.5
(65.3)
22.0
(71.6)
23.2
(73.8)
19.5
(67.1)
13.8
(56.8)
8.5
(47.3)
3.8
(38.8)
11.9
(53.4)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) −2.7
(27.1)
−2.3
(27.9)
0.6
(33.1)
5.6
(42.1)
10.5
(50.9)
14.8
(58.6)
18.7
(65.7)
19.7
(67.5)
16.3
(61.3)
10.3
(50.5)
4.6
(40.3)
−0.1
(31.8)
8.1
(46.6)
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) 44.1
(1.736)
50.0
(1.969)
92.5
(3.642)
109.6
(4.315)
120.3
(4.736)
155.7
(6.13)
195.4
(7.693)
280.6
(11.047)
271.3
(10.681)
172.4
(6.787)
76.7
(3.02)
39.9
(1.571)
1,623.5
(63.917)
จำนวนชั่วโมงที่มีแดด 147.1 127.7 132.2 161.8 154.9 109.8 127.6 148.3 99.1 94.5 122.1 145.6 1,570.7
แหล่งที่มา: สำนักอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น[25]

เศรษฐกิจ

ธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่น
ตลาดหลักทรัพย์โตเกียว

โตเกียวเป็น 1 ใน 3 ศูนย์กลางทางการเงินของโลกร่วมกับ นครนิวยอร์ก และ ลอนดอน โตเกียวเป็นเขตเมืองที่มีเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในโลก จากการสำรวจพบว่าใน เขตอภิมหานครโตเกียว ซึ่งมีประชากรประมาณ 35.2 ล้านคน มี GDP รวม 1.191 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2005 (เทียบด้วย ความเท่าเทียมกันของอำนาจซื้อ) ทำให้โตเกียวเป็นเขตเมืองที่มี GDP สูงที่สุดในโลก [26] ในปี 2008 มีบริษัท 47 แห่งในรายชื่อ Fortune Global 500 ที่มีฐานอยู่ในโตเกียว ซึ่งมากเป็นเกือบ 2 เท่าของเมืองอันดับ 2 [27]

โตเกียวเป็น 1 ในศูนย์กลางหลักทางการเงินระหว่างประเทศ [28] และมีสำนักงานใหญ่ของ วาณิชธนกิจ และ บริษัทประกันภัย ที่ใหญ่ที่สุดในโลกหลายแห่ง ในระหว่างการพัฒนาทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่นหลัง สงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งเป็นการพัฒนาภายใต้การควบคุมจากทางการ บริษัทใหญ่ๆ หลายแห่งย้ายสำนักงานใหญ่จากเมืองต่างๆ เช่น โอซะกะ (ซึ่งเป็นเมืองหลวงทางการค้าในอดีต) มายังโตเกียว โดยหวังว่าจะได้ประโยชน์จากการที่ติดต่อรัฐบาลได้สะดวกขึ้น แต่แนวโน้มนี้ก็ชะลอตัวลงเมื่อประชากรเพิ่มขึ้นและทำให้ค่าครองชีพสูงตามขึ้นไปด้วย

ตลาดหลักทรัพย์โตเกียว เป็นตลาดหลักทรัพย์ที่ใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่นและใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก โดยมูลค่าการซื้อขายในตลาดใหญ่เป็นอันดับ 4 ในปี 2003 โตเกียวมีพื้นที่เพื่อการเกษตรกรรมถึง 8.46 ตร.กม. [29] ตาม ข้อมูลของกระทรวงเกษตรป่าไม้และประมงญี่ปุ่น การเกษตรกรรมมีมากในพื้นที่โตเกียวตะวันตก โดยสินค้าที่เน่าเปื่อยง่ายเช่นผัก, ผลไม้ และดอกไม้สามารถขนส่งอย่างสะดวกและรวดเร็วไปยังตลาดในแขวงพิเศษของจังหวัด โดยมี "โคะมะสึนะ" หรือผักโขมเป็นผักเศรษฐกิจ

การคมนาคม

เครือข่ายรถไฟฟ้าในโตเกียว

โตเกียวซึ่งเป็นศูนย์กลางของ ภูมิภาคคันโต ตอนใต้ เป็นศูนย์กลางการคมนาคมภายในประเทศและระหว่างประเทศที่ใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่น ทั้งทางรถไฟ รถยนต์ และทางอากาศ การขนส่งมวลชนภายในโตเกียวที่สำคัญคือรถไฟและรถใต้ดินที่มีเครือข่ายกว้างใหญ่และมีระบบการขนส่งที่มีประสิทธิภาพ

ภายในโตเกียวมี ท่าอากาศยานนานาชาติฮะเนะดะ (โตเกียว) ซึ่งให้บริการเที่ยวบินในประเทศเป็นส่วนใหญ่และเป็นสนามบินที่มีจำนวนผู้ใช้บริการมากที่สุดใน เอเชีย [30] ท่าอากาศยานนานาชาติหลักคือ ท่าอากาศยานนานาชาตินะริตะ ซึ่งอยู่ใน จังหวัดชิบะ เกาะต่างๆ ใน หมู่เกาะอิซุ ก็มีสนามบินของตนเอง เช่น ท่าอากาศยานฮะชิโจจิมะ ท่าอากาศยานมิยะเกะจิมะ ท่าอากาศยานโอชิมะ และมีเที่ยวบินมายังสนามบินฮะเนะดะ แต่หมู่เกาะโอะงะซะวะระยังไม่มีสนามบิน เพราะมีข้อโต้แย้งว่าไม่ควรสร้างสนามบินเพราะจะเป็นภัยคุกคามต่อธรรมชาติของเกาะ [31]

นอกจากนี้ รถไฟ ยังเป็น การคมนาคม หลักในโตเกียว ซึ่งมีเครือข่ายทางรถไฟในเมืองขนาดใหญ่ที่สุดในโลก โดย บริษัทรถไฟญี่ปุ่นตะวันออก เป็นผู้ให้บริการรถไฟที่ใหญ่ที่สุด ซึ่งรวมถึงรถไฟ สายยะมะโนะเตะ ซึ่งวิ่งเป็นวงผ่านสถานีที่สำคัญของโตเกียวเช่น สถานีโตเกียว และ ชินจูกุ รถไฟฟ้าใต้ดินให้บริการโดย โตเกียวเมโทร และ สำนักขนส่งมหานครโตเกียว (โทเอ)

ประชากร

ประชากรของโตเกียว[3]
ตามพื้นที่1

จังหวัด
แขวงพิเศษ
โตเกียวตะวันตก
เกาะ

12.79 ล้าน
8.653 ล้าน
4.109 ล้าน
28,000

ตามวัย²

เยาวชน (อายุ 0-14)
ทำงาน (อายุ 15-64)
เกษียณ (อายุ 65+)

1.461 ล้าน (11.8%)
8.546 ล้าน (69.3%)
2.332 ล้าน (18.9%)

ตามช่วงเวลา³

กลางวัน
กลางคืน

14.978 ล้าน
12.416 ล้าน

ตามสัญชาติ

ต่างชาติ

364,6534

1 ณ วันที่ 1 ตุลาคม 2007.

² ณ วันที่ 1 มกราคม 2007.

³ การสำรวจสำมะโนประชากร ปี 2005

4 ณ วันที่ 1 มกราคม 2006

ผู้พำนักที่ขึ้นทะเบียนแบ่งตามสัญชาติ (ค.ศ. 2012)[32]
สัญญาติ จำนวน
 จีน 161,169
 เกาหลีเหนือ และ  เกาหลีใต้ 99,880
 ฟิลิปปินส์ 27,929
 สหรัฐ 15,901
 อินเดีย 8,313
 เนปาล 8,669
 ไทย 6,906
 สหราชอาณาจักร 5,522
 พม่า 4,781
 ฝรั่งเศส 4,635

โตเกียวมีประชากรทั้งหมดประมาณ 12.79 ล้านคนในเดือนตุลาคม 2007 ซึ่งในจำนวนนั้น 8.65 ล้านคนอาศัยอยู่บริเวณ 23 แขวงการปกครองพิเศษในโตเกียว ในเวลากลางวันมีประชากรเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 2.5 ล้านคนเนื่องจากมีประชากรจากเมืองใกล้เคียงเดินทางเข้ามาเพื่อทำงานหรือศึกษาเล่าเรียน[33] ปรากฏการณ์นี้จะเป็นได้ชัดในแขวงชิโยะดะ, แขวงชูโอ และแขวงมินะโตะ ซึ่งมีประชากรมากกว่า 2 ล้านคนในเวลากลางวัน แต่น้อยกว่า 3 แสนคนในเวลากลางคืน

ในปี 2005 ชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในโตเกียวมากที่สุด 5 เชื้อชาติได้แก่ จีน (123,611 คน) เกาหลี (106,697 คน) ฟิลิปปินส์ (31,077 คน) อเมริกัน (18,848 คน) และ อังกฤษ (7,696 คน)[34]

การศึกษา

โตเกียวมีมหาวิทยาลัยและวิทยาลัยหลายแห่ง ซึ่งรวมทั้งมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงที่สุดในญี่ปุ่นและมีชื่อเสียงในระดับโลก เช่นมหาวิทยาลัยโตเกียว สถาบันเทคโนโลยีโตเกียว มหาวิทยาลัยวาเซดะ มหาวิทยาลัยนครโตเกียว มหาวิทยาลัยโชวะ มหาวิทยาลัยฮิโตะสึบาชิ มหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์แห่งโตเกียว มหาวิทยาลัยเคโอ เป็นต้น[35][36]

ในแต่ละแขตมีโรงเรียนประถม และโรงเรียนมัธยมต้น ซึ่งเป็นการศึกษาภาคบังคับ โรงเรียนมัธยมปลายของรัฐบริหารโดยคณะกรรมการการศึกษาของมหานครโตเกียว นอกจากนี้ยังมีโรงเรียนเอกชนที่เปิดสอนตั้งแต่อนุบาลจนถึงมัธยมปลายหลายแห่ง[37]

เมืองพี่น้อง

โตเกียวมีเมืองพี่น้อง 11 แห่ง[38]

เมือง ค.ศ.
สหรัฐ นิวยอร์ก 1960
จีน ปักกิ่ง 1979
ฝรั่งเศส ปารีส 1982
ออสเตรเลีย ซิดนีย์ 1984
เกาหลีใต้ โซล 1988
อินโดนีเซีย จาการ์ตา 1989
บราซิล เซาเปาโล 1990
อียิปต์ ไคโร 1990
รัสเซีย มอสโก 1991
เยอรมนี เบอร์ลิน 1994
อิตาลี โรม 1996

อ้างอิง

  1. "東京都歌・市歌". Tokyo Metropolitan Government. สืบค้นเมื่อ September 17, 2011.
  2. อ่านข่าวต่อได้ที่: http://www.thairath.co.th/content/678498
  3. 3.0 3.1 "Population of Tokyo". Tokyo Metropolitan Government. สืบค้นเมื่อ 2009-01-01.
  4. "大都市圏・都市圏の人口". Ministry of Internal Affairs and Communications. สืบค้นเมื่อ 2005. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. http://esa.un.org/unup/
  6. รายชื่อเมืองที่มีประชากรสูงที่สุดในโลก (อังกฤษ)
  7. 7.0 7.1 Room, Adrian. Placenames of the World. McFarland & Company (1996), p360. ISBN 0-7864-1814-1.
  8. "明治東京異聞~トウケイかトウキョウか~東京の読み方" Tokyo Metropolitan Archives (2008). Retrieved on 4 December 2008. (ญี่ปุ่น)
  9. McClain, James (1994). Edo and Paris: Urban Life and the State in the Early Modern Era. Cornell University Press. p. 13. ISBN 080148183X.
  10. Sorensen, Andre (2004). The Making of Urban Japan: Cities and Planning from Edo to the Twenty First Century. RoutledgeCurzon. p. 16. ISBN 0415354226.
  11. 11.0 11.1 "History of Tokyo". Tokyo Metropolitan Government. สืบค้นเมื่อ 2008-12-06.
  12. Soki Yamamoto. "Case History No. 9.4. Tokyo, Japan" (PDF). UNESCO. Guidebook to studies of land subsidence due to ground-water withdrawal
  13. Takeshi Endoh. "Historical Review of Reclamation Works in the Tokyo Bay Area" (PDF). Journal of Geography.
  14. Hidenori Yokoyama. "Disposing of waste in Tokyo Port" (PDF). Japan Society of Civil Engineers.
  15. Anne K. Petry. "Geography of Japan". Stanford University.
  16. Stefan Lovgren (2005-07-14). "Earthquake Fault Under Tokyo Closer Than Expected, Study Finds". National Geographic. สืบค้นเมื่อ 2008-12-04.
  17. "The eruption of Miyake island". JAXA. {{cite web}}: Cite ไม่รู้จักพารามิเตอร์ว่างเปล่า : |1= (help)
  18. Makoto Miyazaki. "Wildlife thrives in 'Oriental Galapagos'". Daily Yomiuri Online. สืบค้นเมื่อ 2008-12-04.
  19. M. C. Peel, B. L. Finlayson, and T. A. McMahon (2007). "Updated world map of the Köppen-Geiger climate classification" (PDF). Hydrology and Earth System Sciences.{{cite web}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  20. Inter-Ministry Coordination Committee to Mitigate Urban Heat Island (2004-03). "Outline of the Policy Framework to Reduce Urban Heat Island Effects" (PDF). {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  21. The JMA Tokyo, Tokyo (東京都 東京) station is at 35°41.4′N 139°45.6′E, JMA: 気象統計情報>過去の気象データ検索>都道府県の選択>地点の選択
  22. 気象庁 / 平年値(年・月ごとの値) (ภาษาJapanese). สำนักอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น. สืบค้นเมื่อ December 16, 2014.{{cite web}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  23. 気象庁 / 平年値(年・月ごとの値) (ภาษาJapanese). Japan Meteorological Agency. สืบค้นเมื่อ December 16, 2014.{{cite web}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  24. 観測史上1~10位の値( 年間を通じての値) (ภาษาJapanese). สำนักอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น. สืบค้นเมื่อ December 16, 2014.{{cite web}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  25. "気象庁 / 気象統計情報 / 過去の気象データ検索 / 平年値(年・月ごとの値)". สำนักอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น. สืบค้นเมื่อ June 24, 2013.
  26. PriceWaterhouseCoopers, "UK Economic Outlook, March 2007", page 5. ""Table 1.2 – Top 30 urban agglomeration GDP rankings in 2005 and illustrative projections to 2020 (using UN definitions and population estimates)"" (PDF). สืบค้นเมื่อ 2007-03-09.
  27. "Global 500 Our annual ranking of the world's largest corporationns". CNNMoney.com. สืบค้นเมื่อ 2008-12-04.
  28. "Financial Centres, All shapes and sizes". The Economist. สืบค้นเมื่อ 2007-10-14.
  29. Horticulture Statistics Team, Production Statistics Division, Statistics and Information Department, Ministry of Agriculture, Forestry and Fisheries (July 15, 2003). "Statistics on Cultivated Land Area" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-06-24. สืบค้นเมื่อ 2008-10-18.{{cite web}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  30. "Airports welcome record 4.8 billion passengers in 2007". Airports Council International. 2007.
  31. Rika Nemoto (2008-09-02). "Runways clearing for Ogasawara airport talks". The Asahi Shimbun. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-09-15.
  32. "Tokyo Statistical Yearbook 2012, Population: 2-4 Foreign Residents by District and Nationality (Year-End Data 2008-2012)" (Excel 97). Bureau of General Affairs, Tokyo Metropolitan Government. สืบค้นเมื่อ January 27, 2015.
  33. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ metropop
  34. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ foreigners
  35. "The Times Higher Education - QS World University Rankings 2008". Quacquarelli Symonds. สืบค้นเมื่อ 2008-11-11.
  36. "The World University Rankings 2008".
  37. "東京都高等学校一覧". Japanese Wikipedia (ภาษาJapanese). สืบค้นเมื่อ 2007-10-19.{{cite web}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  38. "Sister Cities (States) of Tokyo - Tokyo Metropolitan Government". สืบค้นเมื่อ 2008-09-16.

แหล่งข้อมูลอื่น

ก่อนหน้า โตเกียว ถัดไป
เฮอังเกียว (เคียวโตะ)
นครหลวงของญี่ปุ่น
(ตั้งแต่ พ.ศ. 2411)
ปัจจุบัน