ผลต่างระหว่างรุ่นของ "รัฐบาลเอโดะ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 31: บรรทัด 31:
| flag_s2 =
| flag_s2 =
|image_flag = Flag of the Tokugawa Shogunate.svg{{!}}border
|image_flag = Flag of the Tokugawa Shogunate.svg{{!}}border
| flag =
| flag_type = ธง
| flag_type =
| image_coat = Tokugawa_family_crest.svg
| image_coat = Tokugawa_family_crest.svg
| symbol_type = ''มะรุนิ มิสึ อะโอะอิ'' มีใบดอกฮอลลี่ฮ็อคสามใบ<br>เป็นตราประจำ[[ตระกูลโทะกุงะวะ]]
| symbol = มง
| symbol_type = ''มะรุนิ มิสึ อะโอะอิ'' มีใบดอกฮอลลี่ฮ็อคสามใบ<br>เป็นตราประจำตระกูลโทะกุงะวะ
| image_map =
| image_map =
| national_anthem =
| national_anthem =
บรรทัด 68: บรรทัด 66:
| stat_year1 =
| stat_year1 =
| currency = [[มง]] (文, mon)
| currency = [[มง]] (文, mon)
| today = ประเทศ[[ญี่ปุ่น]]
| today = [[ประเทศญี่ปุ่น]]
| footnotes =
| footnotes =
}}
}}


'''รัฐบาลโชกุนโทะกุงะวะ''' ({{ญี่ปุ่น|徳川幕府|Tokugawa bakufu}}) หรือ '''รัฐบาลเอะโดะ''' ({{ญี่ปุ่น|江戸幕府|Edo bakufu}}) เป็นระบบการปกครองแบบ[[ศักดินา]] สถาปนาโดย[[โทะกุงะวะ อิเอะยะสุ]] (徳川家康 ''Tokugawa Ieyasu'') มีผู้ปกครองสูงสุดเป็น[[โชกุน]] (将軍 ''shōgun'') ซึ่งต้องมาจาก[[ตระกูลโทะกุงะวะ]] (徳川氏 ''Tokugawa-shi'') เท่านั้น ในสมัยที่ประเทศ[[ญี่ปุ่น]]ถูกปกครองโดยรัฐบาล[[โชกุน]]นั้น จะเรียกว่า[[ยุคเอะโดะ]] (江戸時代 ''edo-jidai'') ตามชื่อเมือง[[เอะโดะ]] ซึ่งรัฐบาลโชกุนสถาปนาให้เป็นเมืองหลวงแห่งใหม่ ปัจจุบัน คือกรุง[[โตเกียว]] (東京 ''Tōkyō'') มี[[ปราสาทเอะโดะ]] (江戸城 ''Edo-jō'') เป็นศูนย์กลางการปกครองตั้งแต่ [[ค.ศ. 1603]] - [[ค.ศ. 1868|1868]] จนกระทั่งถูก[[สมเด็จพระจักรพรรดิเมจิ]] (明治天皇 ''Meiji-tennō'') ล้มล้างไปใน[[การปฏิรูปสมัยเมจิ]] (明治維新 ''Meiji Ishin'')
'''รัฐบาลโชกุนโทะกุงะวะ''' ({{ญี่ปุ่น|徳川幕府|Tokugawa bakufu}}) หรือ '''รัฐบาลเอะโดะ''' ({{ญี่ปุ่น|江戸幕府|Edo bakufu}}) เป็นระบบการปกครองแบบ[[ศักดินา]] สถาปนาโดย[[โทะกุงะวะ อิเอะยะสุ]] (徳川家康 ''Tokugawa Ieyasu'') มีผู้ปกครองสูงสุดเป็น[[โชกุน]] (将軍 ''shōgun'') ซึ่งต้องมาจาก[[ตระกูลโทะกุงะวะ]] (徳川氏 ''Tokugawa-shi'') เท่านั้น ในสมัยที่[[ประเทศญี่ปุ่น]]ถูกปกครองโดยรัฐบาล[[โชกุน]]นั้น จะเรียกว่า[[ยุคเอะโดะ]] (江戸時代 ''edo-jidai'') ตามชื่อเมือง[[เอะโดะ]] ซึ่งรัฐบาลโชกุนสถาปนาให้เป็นเมืองหลวงแห่งใหม่ ปัจจุบัน คือกรุง[[โตเกียว]] (東京 ''Tōkyō'') มี[[ปราสาทเอะโดะ]] (江戸城 ''Edo-jō'') เป็นศูนย์กลางการปกครองตั้งแต่ [[ค.ศ. 1603]] - [[ค.ศ. 1868|1868]] จนกระทั่งถูก[[สมเด็จพระจักรพรรดิเมจิ]] (明治天皇 ''Meiji-tennō'') ล้มล้างไปใน[[การปฏิรูปสมัยเมจิ]] (明治維新 ''Meiji Ishin'')


หลังจาก[[ยุคเซงโงะกุ]] (戦国時代 ''Sengoku-jidai'') หรือยุคไฟสงคราม [[โอดะ โนะบุนะงะ]] (織田 信長 ''Oda Nobunaga'') และ[[โทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิ]] (豊臣 秀吉 ''Toyotomi Hideyoshi'') ได้ร่วมกันรวมอำนาจสู่ศูนย์กลาง และตั้งเป็นรัฐบาลกลางขึ้นอีกครั้งใน[[ยุคอะซึจิ โมะโมะยะมะ]] (あづちももやまじだい ''Azuchi momoyama jidai'') ซึ่งเป็นยุคสั้นๆ ก่อน[[ยุคเอะโดะ]] ต่อมา หลังจาก[[ยุทธการเซะกิงะฮะระ]] (関ヶ原の戦い ''Sekigahara no Tatakai'') ซึ่งเป็นการรบครั้งใหญ่ใน[[ค.ศ. 1600]] การปกครองและอำนาจทั้งหมด ได้ตกอยู่ในมือของ[[โทะกุงะวะ อิเอะยะสุ]]โดยเบ็ดเสร็จ และสถาปนาตนเองเป็น[[โชกุน]]ในปี [[ค.ศ. 1603]] ซึ่งเป็นไปตามประเพณีโบราณ ที่ผู้เป็นโชกุนจะต้องสืบเชื้อสายจากต้น[[ตระกูลมินะโมะโตะ]] (源 ''Minamoto'')
หลังจาก[[ยุคเซงโงะกุ]] (戦国時代 ''Sengoku-jidai'') หรือยุคไฟสงคราม [[โอดะ โนะบุนะงะ]] (織田 信長 ''Oda Nobunaga'') และ[[โทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิ]] (豊臣 秀吉 ''Toyotomi Hideyoshi'') ได้ร่วมกันรวมอำนาจสู่ศูนย์กลาง และตั้งเป็นรัฐบาลกลางขึ้นอีกครั้งใน[[ยุคอะซึจิ โมะโมะยะมะ]] (あづちももやまじだい ''Azuchi momoyama jidai'') ซึ่งเป็นยุคสั้นๆ ก่อน[[ยุคเอะโดะ]] ต่อมา หลังจาก[[ยุทธการเซะกิงะฮะระ]] (関ヶ原の戦い ''Sekigahara no Tatakai'') ซึ่งเป็นการรบครั้งใหญ่ใน[[ค.ศ. 1600]] การปกครองและอำนาจทั้งหมด ได้ตกอยู่ในมือของ[[โทะกุงะวะ อิเอะยะสุ]]โดยเบ็ดเสร็จ และสถาปนาตนเองเป็น[[โชกุน]]ในปี [[ค.ศ. 1603]] ซึ่งเป็นไปตามประเพณีโบราณ ที่ผู้เป็นโชกุนจะต้องสืบเชื้อสายจากต้น[[ตระกูลมินะโมะโตะ]] (源 ''Minamoto'')

รุ่นแก้ไขเมื่อ 16:22, 18 กันยายน 2560

รัฐบาลโชกุนโทะกุงะวะ

徳川幕府
โทะกุงะวะ บะกุฟุ
ค.ศ. 16031868
ธงชาติรัฐบาลโชกุนโทะกุงะวะ
ธง
มะรุนิ มิสึ อะโอะอิ มีใบดอกฮอลลี่ฮ็อคสามใบ เป็นตราประจำตระกูลโทะกุงะวะของรัฐบาลโชกุนโทะกุงะวะ
มะรุนิ มิสึ อะโอะอิ มีใบดอกฮอลลี่ฮ็อคสามใบ
เป็นตราประจำตระกูลโทะกุงะวะ
สถานะรัฐบาลสำเร็จราชการโดยโชกุน
เมืองหลวงเอะโดะ
ภาษาทั่วไปภาษาญี่ปุ่น
ศาสนา
ลัทธิขงจื้อ, ลัทธิชินโต, ศาสนาพุทธ
การปกครองรัฐบาลสำเร็จราชการโดยโชกุน
โชกุน 
โทะกุงะวะ อิเอะยะซุ (คนแรก)
โทะกุงะวะ โยะชิโนะบุ (สุดท้าย)
ประวัติศาสตร์ 
• สถาปนาเมืองเอะโดะเป็นเมืองหลวง
ค.ศ. 1603 ค.ศ. 1603
• การปฏิรูปเมจิ
ค.ศ. 1868 1868
สกุลเงินมง (文, mon)
ก่อนหน้า
ถัดไป
ยุคอะซึจิ-โมะโมะยะมะ
ตระกูลโทะกุงะวะ
จักรวรรดิญี่ปุ่น
สาธารณรัฐเอะโสะ
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของประเทศญี่ปุ่น

รัฐบาลโชกุนโทะกุงะวะ (ญี่ปุ่น: 徳川幕府โรมาจิTokugawa bakufu) หรือ รัฐบาลเอะโดะ (ญี่ปุ่น: 江戸幕府โรมาจิEdo bakufu) เป็นระบบการปกครองแบบศักดินา สถาปนาโดยโทะกุงะวะ อิเอะยะสุ (徳川家康 Tokugawa Ieyasu) มีผู้ปกครองสูงสุดเป็นโชกุน (将軍 shōgun) ซึ่งต้องมาจากตระกูลโทะกุงะวะ (徳川氏 Tokugawa-shi) เท่านั้น ในสมัยที่ประเทศญี่ปุ่นถูกปกครองโดยรัฐบาลโชกุนนั้น จะเรียกว่ายุคเอะโดะ (江戸時代 edo-jidai) ตามชื่อเมืองเอะโดะ ซึ่งรัฐบาลโชกุนสถาปนาให้เป็นเมืองหลวงแห่งใหม่ ปัจจุบัน คือกรุงโตเกียว (東京 Tōkyō) มีปราสาทเอะโดะ (江戸城 Edo-jō) เป็นศูนย์กลางการปกครองตั้งแต่ ค.ศ. 1603 - 1868 จนกระทั่งถูกสมเด็จพระจักรพรรดิเมจิ (明治天皇 Meiji-tennō) ล้มล้างไปในการปฏิรูปสมัยเมจิ (明治維新 Meiji Ishin)

หลังจากยุคเซงโงะกุ (戦国時代 Sengoku-jidai) หรือยุคไฟสงคราม โอดะ โนะบุนะงะ (織田 信長 Oda Nobunaga) และโทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิ (豊臣 秀吉 Toyotomi Hideyoshi) ได้ร่วมกันรวมอำนาจสู่ศูนย์กลาง และตั้งเป็นรัฐบาลกลางขึ้นอีกครั้งในยุคอะซึจิ โมะโมะยะมะ (あづちももやまじだい Azuchi momoyama jidai) ซึ่งเป็นยุคสั้นๆ ก่อนยุคเอะโดะ ต่อมา หลังจากยุทธการเซะกิงะฮะระ (関ヶ原の戦い Sekigahara no Tatakai) ซึ่งเป็นการรบครั้งใหญ่ในค.ศ. 1600 การปกครองและอำนาจทั้งหมด ได้ตกอยู่ในมือของโทะกุงะวะ อิเอะยะสุโดยเบ็ดเสร็จ และสถาปนาตนเองเป็นโชกุนในปี ค.ศ. 1603 ซึ่งเป็นไปตามประเพณีโบราณ ที่ผู้เป็นโชกุนจะต้องสืบเชื้อสายจากต้นตระกูลมินะโมะโตะ (源 Minamoto)

ในยุคของโทะกุงะวะ ต่างจากยุคโชกุนก่อนๆ คือมีการนำระบบชนชั้นที่เริ่มใช้โดยโทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิ มาใช้อีกครั้งอย่างเข้มงวด โดยชนชั้นนักรบ หรือซามูไร (侍 Samurai) อยู่บนสุด ตามด้วยชาวนา ช่างฝีมือ และพ่อค้า การใช้ระบบชนชั้นอย่างเข้มงวดและไม่ยืดหยุ่นได้ทำให้เกิดจลาจลมาตลอดสมัย ภาษีที่เรียกเก็บจากชนชั้นชาวนานั้น อยู่ในอัตราคงที่โดยไม่คำนึงถึงอัตราเงินเฟ้อหรือการเปลี่ยนแปลงอื่นๆของค่าเงิน ส่งผลให้รายได้ภาษีที่เรียกเก็บจากชนชั้นซามูไร ผู้เป็นเจ้าของที่ดินมีมูลค่าลดลงเรื่อยๆตลอดยุค ซึ่งสาเหตุนี้ ก่อให้เกิดการเผชิญหน้าระหว่างซามูไรผู้ทรงเกียรติแต่ฐานะทางการเงินต่ำลงเรื่อยๆจากการจ่ายภาษี กับชาวนาผู้มีอันจะกิน เกิดเป็นการปะทะกันหลายต่อหลายครั้งที่เริ่มจากเหตุการณ์เล็กๆรุกลามเป็นเหตุการณ์วุ่นวาย อย่างไรก็ตาม ไม่มีสิ่งใดเปลี่ยนแปลงระบบสังคมยุคเอะโดะได้ ตราบจนการเข้ามาของชาวตะวันตก

เมื่อปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 กลุ่มไดเมียวผู้มีอำนาจ เช่น ตระกูลชิมะสึ (島津氏 Shimazu-shi) ได้ร่วมมือกับสมเด็จพระจักรพรรดิและพระบรมวงศานุวงศ์ ซึ่งในสมัยเอะโดะเคยทรงเพียงศักดิ์แต่ไร้อำนาจ เพื่อโค่นล้มระบอบโชกุนในโดยสงครามโบะชิน (戊辰戦争 Boshin Sensō) ส่งผลให้เกิดการปฏิรูปเมจิโดยสมเด็จพระจักรพรรดิเมจิ รัฐบาลโชกุนโทะกุงะวะถูกล้มล้างโดยสมบูรณ์ในค.ศ. 1868 โดยมีโทะกุงะวะ โยะชิโนะบุ (徳川 慶喜 Tokugawa Yoshinobu) เป็นโชกุนคนที่ 15 และเป็นโชกุนคนสุดท้ายของญี่ปุ่น จากนั้น ญี่ปุ่นก็เข้าสู่ยุคเมจิ (明治時代 Meiji-jidai)อันมีการฟื้นฟูราชวงศ์มายังเมืองเอะโดะ และเปลี่ยนชื่อเป็นกรุงโตเกียวดังเช่นปัจจุบัน

การปกครอง

การปกครองของรัฐบาลโชกุนเอะโดะนั้นเรียกว่า บะกุฮัง เทเซ (ญี่ปุ่น: 幕藩体制โรมาจิBakuhan teisei) คือระบอบที่ประกอบไปด้วย บะกุฟุ (ญี่ปุ่น: 幕府โรมาจิBakufu) อันเป็นการปกครองส่วนกลาง และฮัง (ญี่ปุ่น: โรมาจิhan) ซึ่งเป็นการปกครองส่วนภูมิภาค มีลักษณะการปกครองตามแบบระบอบศักดินาสวามิภักดิ์ (Feudalism) คือการที่รัฐบาลส่วนกลางแบ่งสรรปันส่วนที่ดินให้แก่ขุนนางไปปกครอง โดยที่ขุนนางเหล่านั้นมีอำนาจเหนือประชาชนและทรัพยากรในแคว้นของตนเอง โดยที่จะต้องให้กองกำลังทหารแก่รัฐบาลกลางเมื่อร้องขอเป็นการตอบแทน

บะกุฟุ

บะกุฟุ แปลว่า "ทำเนียบรัฐบาล" หมายถึงระบอบการปกครองที่นำโดยโชกุน โชกุน หรือชื่อตำแหน่งทางการว่า เซอิไทโชกุน (ญี่ปุ่น: 征夷大将軍โรมาจิSeii Taishōgun) เป็นตำแหน่งที่แต่งตั้งโดยองค์พระจักรพรรดิที่เมืองเกียวโต มอบให้แก่ตระกูลผู้นำซะมุไรที่สืบเชื้อสายมาจากตระกูลมินะโมะโตะโบราณ ซึ่งในสมัยเอะโดะนั้นก็คือตระกูลโทะกุงะวะ ตำแหน่งโชกุนนั้นเป็นตำแหน่งที่สืบทอดภายในตระกูลโทะกุงะวะ ในทางทฤษฏีโชกุนมีหน้าที่รับใช้ราชสำนักเกียวโตในฐานะประมุขของชนชั้นซะมุไรทั้งมวลในญี่ปุ่น แต่ในทางปฏิบัตินั้นโชกุนคือผู้ปกครองมีอำนาจเหนือประเทศญี่ปุ่นที่แท้จริง

ใต้ต่อโชกุนลงมาคือสภาขุนนางทำหน้าที่เป็นผู้ให้คำชี้แนะแก่โชกุน ประกอบด้วย

  • โรจู (ญี่ปุ่น: 老中โรมาจิRōjū) เป็นตำแหน่งขุนนางอาวุโสที่สูงที่สุดรองจากโชกุน ในสมัยของโชกุน โทะกุงะวะ อิเอะยะซุ และโทะกุงะวะ ฮิเดะตะดะ มีโรจูจำนวนสองท่าน และในสมัยของโชกุนโทะกุงะวะ อิเอะมิสึ เพิ่มโรจูป็นห้าท่าน เป็นกลุ่มขุนนางอาวุโสที่มีอิทธิพลอย่างมากต่อโชกุน และเป็นผู้กำหนดนโยบาลหลักของบะกุฟุในขณะนั้น เป็นสื่อกลางระหว่างไดเมียวแคว้นต่างๆกับโชกุน ตำแหน่งนี้เสื่อมอำนาจลงในสมัยของโชกุนโทะกุงะวะ อิเอะสึนะเป็นต้นมา เนื่องจากการแข่งขันอำนาจกับโซะบะโยะนิง
  • ไทโร (ญี่ปุ่น: 大老โรมาจิTairō) เป็นตำแหน่งขุนนางอาวุโสที่มีอำนาจเหนือโรจู ตำแหน่งนี้ถือกำเนิดขึ้นครั้งแรกในค.ศ. 1636 อย่างไรก็ตาม ตำแหน่งนี้ไม่ได้มีอยู่ตลอดเวลา เป็นการแต่งตั้งในกรณีพิเศษ และต่อมาภายหลังกลายเป็นเพียงตำแหน่งทางพิธีการ
  • วะกะโดะชิโยะริ (ญี่ปุ่น: 若年寄โรมาจิWakadoshiyori) ตำแหน่งขุนนางอายุน้อย ทำหน้าที่เป็นข้ารับใช้ส่วนตัวของโชกุน เป็นสื่อกลางระหว่างบะกุฟุกับพ่อค้า ช่างฝีมือ และสามัญชน

โชกุนโทะกุงะวะ อิเอะสึนะมีนโยบายลดทอนอำนาจของขุนนางอาวุโสในบะกุฟุ โดยการดึงเอากลุ่มขุนนางอายุน้อยที่เป็นคนสนิทของตนเรียกว่า โซะบะโยะนิง (ญี่ปุ่น: 側用人โรมาจิSobayōnin) เข้ามามีอำนาจในบะกุฟุ เป็นผู้กำหนดนโยบายหลักของประเทศแทนที่โรจู นับแต่นั้นมารัฐบาลโชกุนเอะโดะจึงตกอยู่ภายใต้อำนาจของคนสนิทของโชกุน

  • บุเกียว (ญี่ปุ่น: 奉行โรมาจิBugyō) เป็นหน่วยงานที่ดูแลเฉพาะเรื่อง หรือปกครองเมืองที่ขึ้นตรงต่อบะกุฟุ เช่น เอะโดะ-มะจิ-บุเกียว ปกครองเมืองเอะโดะ คันโจ-บุเกียว ดูแลเรื่องการเงินของประเทศ เกียวโต-โชชิได เป็นผู้แทนของบะกุฟุในเมืองเกียวโต

ฮังและไดเมียว

ฮัง คือ แคว้นหรือหน่วยของที่ดินที่บะกุฟุมอบหมายให้ขุนนางซะมุไรที่เรียกว่า ไดเมียว ไปปกครอง โดยที่ไดเมียวเหล่านั้นไม่ได้รับเบี้ยหวัดจากรัฐบาลส่วนกลางแต่มีสิทธิ์อย่างเต็มที่ในทรัพยากรและผลผลิตที่เก็บเกี่ยวได้ภายในฮังของตน ในสมัยเอะโดะฮังและไดเมียวมีสามประเภทได้แก่

ในค.ศ. 1635 โชกุนโทะกุงะวะ อิเอะมิสึ ต้องการที่จะลดอำนาจของไดเมียวโทะซะมะ จึงออกนโยบายซังคิง โคไต (ญี่ปุ่น: 参勤交代โรมาจิSankin kōtai) ให้ไดเมียวทุกแคว้นสร้างคฤหาสน์ภายในเมืองเอะโดะ แล้วพำนักอยู่ในเมืองเอะโดะเป็นเวลาหนึ่งปี สลับกับกลับไปพำนักที่แคว้นของตนอีกหนึ่งปี หมุนเวียนไปเรื่อย โดยที่ภรรยาเอกและทายาทของไดเมียวจะต้องอยู่ในเมืองเอะโดะตลอด การเดินทางไปยังเมืองเอะโดะและกลับไปยังแคว้นของตนนั้นเป็นการสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายอย่างมาก สำหรับไดเมียวโทะซะมะซึ่งมักจะอยู่ห่างไกลจากเอะโดะ เป็นการตัดกำลังและลดอำนาจ

รายนามโชกุนโทะกุงะวะ

อันดับ ชื่อ ช่วงเวลามีชีวิต
ช่วงเวลาดำรงตำแหน่ง
1 โทะกุงะวะ อิเอะยะซุ พ.ศ. 2086 - 2159
พ.ศ. 2146 - 2148
2 โทะกุงะวะ ฮิเดะทะดะ พ.ศ. 2122 - 2175
พ.ศ. 2148 - 2166
3 โทะกุงะวะ อิเอะมิสึ พ.ศ. 2147 - 2194
พ.ศ. 2166 - 2194
4 โทะกุงะวะ อิเอะสึนะ พ.ศ. 2184 - 2223
พ.ศ. 2194 - 2223
5 โทะกุงะวะ สึนะโยะชิ พ.ศ. 2189 - 2252
พ.ศ. 2223 - 2252
6 โทะกุงะวะ อิเอะโนะบุ พ.ศ. 2205 - 2255
พ.ศ. 2252 - 2255
7 โทะกุงะวะ อิเอะสึงุ พ.ศ. 2252 - 2259
พ.ศ. 2256 - 2259
8 โทะกุงะวะ โยะชิมุเนะ พ.ศ. 2227 - 2294
พ.ศ. 2259 - 2288
9 โทะกุงะวะ อิเอะชิเงะ พ.ศ. 2254 - 2304
พ.ศ. 2288 - 2303
10 โทะกุงะวะ อิเอะฮะรุ พ.ศ. 2280 - 2329
พ.ศ. 2303 - 2329
11 โทะกุงะวะ อิเอะนะริ พ.ศ. 2316 - 2384
พ.ศ. 2330 - 2380
12 โทะกุงะวะ อิเอะโยะชิ พ.ศ. 2336 - 2396
พ.ศ. 2380 - 2396
13 โทะกุงะวะ อิเอะซะดะ พ.ศ. 2367 - 2401
พ.ศ. 2396 - 2401
14 โทะกุงะวะ อิเอะโมะจิ พ.ศ. 2389 - 2409
พ.ศ. 2401 - 2409
15 โทะกุงะวะ โยะชิโนะบุ พ.ศ. 2380 - 2456
พ.ศ. 2409 - 2410