ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ทิวซิดิดีส"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Thucydides49 (คุย | ส่วนร่วม)
Thucydides49 (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 114: บรรทัด 114:
* {{cite book | author=Russett, Bruce | title=Grasping the Democratic Peace | publisher=Princeton University Press | year=1993 | isbn=0-691-03346-3 }}
* {{cite book | author=Russett, Bruce | title=Grasping the Democratic Peace | publisher=Princeton University Press | year=1993 | isbn=0-691-03346-3 }}
* {{cite book|last=de Ste Croix|first=Geoffrey Ernest Maurice|title=''The origins of the Peloponnesian War''|year=1972|publisher=London: Duckworth}}.
* {{cite book|last=de Ste Croix|first=Geoffrey Ernest Maurice|title=''The origins of the Peloponnesian War''|year=1972|publisher=London: Duckworth}}.
* Strassler, Robert B, ed. ''The Landmark Thucydides: A Comprehensive Guide to the Peloponnesian War''. New York: Free Press (1996). {{ISBN|0-684-82815-4}}.
* {{cite book|last=Strassler|first=Robert B, ed.|title=''The Landmark Thucydides: A Comprehensive Guide to the Peloponnesian War''|publisher=New York: Free Press|year=1996|ISBN=0-684-82815-4}}.
* {{cite book|last=Strauss|first=Leo|title=''The City and Man''|publisher=Chicago: Rand McNally|year=1964}}
* {{cite book|last=Strauss|first=Leo|title=''The City and Man''|publisher=Chicago: Rand McNally|year=1964}}
* {{cite book|last=Thucydides|title=The Peloponnesian War, Norton Critical Edition|others=Walter Blanco(trans.)|year=1998|publisher=Norton & Company|isbn=0-3939-7167-8}}
* {{cite book|last=Thucydides|title=The Peloponnesian War, Norton Critical Edition|others=Walter Blanco(trans.)|year=1998|publisher=Norton & Company|isbn=0-3939-7167-8}}

รุ่นแก้ไขเมื่อ 23:40, 15 กันยายน 2560

ทิวซิดิดีส (Thucydides)
Θουκυδίδης
Bust of Thucydides
รูปปั้นพลาสเตอร์ครึ่งตัวของทิวซิดิดีส ของโรมันทำขึ้นใหม่จากงานต้นแบบ (ราวช่วง ศตวรรษที่ 4 ก่อนคริสตกาล) (อยู่ที่ พิพิฒภัณฑ์พุชกิน, มอสโคว)
เกิดราว 460 ปีก่อนคริสตกาล
ฮาลิมุส (ปัจจุบัน อาลิมอส)
เสียชีวิตราว 400 ปีก่อนคริสตกาล (อายุขัยราว 60 ปี)
เอเธนส์
อาชีพนักประวัติศาสตร์, นักการทหาร (ยศนายพล)
ผลงานเด่นประวัติศาสตร์ของสงครามเพโลพอนนีเซียน
ญาติโอโลรอส (บิดา)


ทิวซิดิดีส (อังกฤษ: Thucydides; กรีกโบราณ: Θουκυδίδης, ธู-คู-ดิ-แดส; ช่วง 460 – 395 ปีก่อนคริสต์ศักราช) เป็นนักประวัติศาสตร์ชาวกรีก และเป็นผู้เขียนเรื่องประวัติศาสตร์ของสงครามเพโลพอนนีเซียน (History of the Peloponnesian War) ซึ่งบรรยายถึงเหตุการณ์ และชนวนสาเหตุของมหาสงครามเพโลพอนนีเซียน ซึ่งเป็นความขัดแย้งทางทหารระหว่างสปาร์ตากับเอเธนส์ในช่วงระหว่าง ปี 500 ถึง 411 ก่อนคริสต์ศักราช ตัวทิวซีดิดีสเองก็มีความเกี่ยวข้องกับสงครามนี้ในฐานะนักการทหารระดับแม่ทัพของเอเธนส์ และเคยนำทัพเอเธนส์รบในต่างแดนหลายครั้ง แต่ความล้มเหลวในสมรภูมิที่แอมฟิโปลิส ทำให้ท่านถูกเนรเทศตามกฎหมายของเอเธนส์ ทิวซิดิดีสได้รับการขนานนามว่าเป็นบิดาแห่งประวัติศาสตร์เชิงวิทยาศาสตร์ เนื่องจากมาตรฐานที่เข้มงวดในเรื่องของการรวบรวมพยานหลักฐาน และการวิเคราะห์ในด้านเหตุและผล โดยปราศจากการอ้างอิงถึงความเกี่ยวข้อง หรือการแทรกแทรงจากเทพเจ้า ซึ่งจะพบได้จากสรุปใจความสำคัญในบทคำนำในงานเขียนของท่าน

นอกจากนั้นแล้วทิวซิดิดีสก็ยังได้รับสมญานามว่า เป็นบิดาแห่งสำนักความคิดสัจนิยมทางการเมือง ซึ่งมองเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างชาติว่า เป็นเรื่องที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของอำนาจมากกว่าความชอบธรรม งานเขียนสำคัญจากยุคสมัยกรีกโบราณของท่าน ยังคงได้รับการศึกษาอย่างแพร่หลายในสถาบันวิชาการทหารบกชั้นสูง และบทสนทนาโบราณระหว่างทหารเอเธนส์กับผู้ปกครองชาวเมเลียน (The Melian Dialogue) ที่บันทึกไว้ในหนังสือประวัติศาสตร์ของสงครามเพโลพอนนีเซียน ก็ยังทรงอิทธิพลต่องานเขียนในด้านทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมาจนปัจจุบัน

โดยทั่วไปแล้วทิวซิดิดีสแสดงความสนใจในเรื่องการพัฒนาของและความเข้าใจธรรมชาติของมนุษย์เพื่ออธิบายถึงพฤติกรรมในวิกฤตการณ์ดังเช่น การเกิดโรคระบาด การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ (ดังเช่นกรณีของชาวเมเลียน) และสงครามกลางเมือง

ชีวิต

แม้ว่าจะมีชื่อเสียงในด้านของนักประวัติศาสตร์ แต่นักประวัติศาสตร์สมัยใหม่มีความรู้เพียงเล็กน้อยเกี่ยวกับชีวิตของทิวซิดิดีส ข้อมูลที่น่าเชื่อถือได้มากที่สุดมาจากงานเขียนเรื่องประวัติศาสตร์ของสงครามเพโลพอนนีซัสซึ่งได้บอกถึงสัญชาติ พื้นเพ และภูมิลำเนาของเขานั่นเอง ทิวซิดิดีสบอกให้เรารู้ถึงการต่อสู้ของตนเองในสงคราม การติดโรคระบาด และถูกเนรเทศโดยระบบประชาธิปไตย หลักฐานจากยุคสมัยกรีกโบราณ ทิวซิดิดีสระบุว่าตนเองเป็นชาวเอเธนส์ บิดาชื่อโอโลรัสและมาจากเขตปกครองชาวเอเธนส์แห่งฮาลิมัส ทิวซิดิดีสรอดชีวิตจากโรคระบาดในเอเธนส์ซึ่งได้คร่าชีวิตชาวเพริคลีส และชาวเอเธนส์อื่น ๆ อีกไปเป็นจำนวนมากมาย ทิวซิดิดีสบันทึกด้วยว่าเป็นเจ้าของเหมืองทองที่ Scapte Hyle (ตามตัวอักษร “Dug Woodland”) บริเวณเขตชายฝั่งทะเลของเมืองเทรซ ซึ่งตั้งอยู่ตรงข้ามกับเกาะ Thasos

เพราะอิทธิพลงานเขียนของเขาในเขตปกครองชาวเทรซ ทิวซิดิดีสจึงได้รับการส่งตัวไปเป็นเสนาธิการทหาร ณ Thasos ปีก่อนคริสต์ศักราช 424 ปี ในช่วงระหว่างฤดูหนาวก่อนคริสต์ศักราช 424 – 423 ปี Brasidas เสนาธิการทหารของสปาร์ตัน บุกโจมตีเมืองแอมฟิโพลิสโดยใช้เวลาแล่นเรือมาทางทิศตะวันตกเพียงครึ่งวันจาก Thasos บริเวณชายฝั่งเทรซ Eucles ผู้บัญชาการทหารฝ่ายเอเธนส์แห่งแอมฟิโพลิสจึงของความช่วยเหลือจากทิวซิดิดีสBrasidas ตระหนักถึงการปรากฏตัวของทิวซิดิดีสที่ Thasos รวมถึงอิทธิพลของเขาต่อพลเมืองแอมฟิโพลิสและเกรงต่อความช่วยเหลือทางทะเลที่กำลังจะมาถึง จึงเสนอเงื่อนไขที่ชาญฉลาดพอสมควรต่อชาวแอมฟิโพลิสเพื่อให้ยอมจำนนซึ่งชาวเมืองก็ยอมรับเงื่อนไขนั้น ดั้งนั้นเมื่อทิวซิดิดีสเดินทางมาถึงแอมฟิโพลิสก็อยู่ภายใต้การปกครองของสปาร์ตันไปแล้ว (ดูจากยุทธการที่แอมฟิโพลิส) แอมฟิโพลิสเป็นจุดยุทธศาสตร์จุดใหญ่ที่สำคัญและข่าวการพ่ายแพ้ก็นำมาซึ่งความหวาดหวั่นอย่างใหญ่หลวงสู่เอเธนส์ทิวซิดิดีสจึงถูกกล่าวหา ถึงแม้จะยืนยันว่าข้อกล่าวหาดังกล่าวไม่ใช่ความผิดของเขา และเพราะไม่สามารถไปถึงแอมฟิโพลิสตามเวลาโดยไม่มีเหตุผลที่ดีเพียงพอ เพราะความล้มเหลวของเขาที่ไม่สามารถรักษาแอมฟิโพลิสไว้ได้ ทิวซิดิดีสจึงถูกเนรเทศ

"เป็นชะตากรรมของฉันด้วยที่ต้องถูกเนรเทศจากประเทศของตัวเองนานถึง 20 ปี หลังจากที่ได้ปกครองแอมฟิโพลิสและการมีอยู่ ณ ปัจจุบันของเมืองทั้ง 2 และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ชาวเพโลพอนนีซัสอันเป็นสาเหตุที่ทำให้ฉันถูกเนรเทศ ฉันจึงมีเวลาว่างเพื่อสังเกตเรื่องราวได้อย่างค่อนข้างเป็นพิเศษ"

การใช้สถานะผู้ถูกเนรเทศจากเอเธนส์ท่องเที่ยวอย่างอิสระระหว่างประเทศพันธมิตรของ Peloponnesian ทำให้เขาสามารถมองเห็นภาพของสงครามจากมุมกว้างทั้ง 2 ฝ่าย ระหว่างช่วงเวลานี้ทิวซิดิดีสดำเนินการค้นคว้าที่สำคัญเพื่อประวัติศาสตร์ของตัวเขาเอง มีการอ้างว่าเขาดำเนินแผนที่เขาคิดว่ามันจะเป็นหนึ่งในแผนที่ดีที่สุดในการต่อต้านสงครามระหว่างกรีกในแง่ของโอกาส

ทั้งหมดนี้เป็นสิ่งที่ทิวซิดิดีสเขียนเกี่ยวกับชีวิตของเขาเองแต่มีข้อเท็จจริงเพียงเล็กน้อยที่สามารถพบได้จากหลักฐานร่วมสมัยที่น่าเชื่อถือได้ เฮโรโดทัสได้เขียนถึงบิดาของทิวซิดิดีสว่าชื่อ Oloros และได้มีการติดต่อกับเมืองเทรซและเชื้อพระวงศ์ชาวเทรซ ทิวซิดิดีสเองก็น่าจะมีโอกาสได้ติดต่อผ่านทางครอบครัวกับรัฐบุรุษชาวเอเธนส์และผู้บัญชาการทหาร Miltiades รวมถึง Cimon ลูกชายของเขา ซึ่งเป็นผู้นำของชนชั้นขุนนางเก่าที่ถูกแทนที่โดยกลุ่มผู้สนับสนุนการปกครองแบบประชาธิปไตยหัวรุนแรง ชื่อของตาของ Cimon ก็คือ Oloros เช่นกัน ทำให้ความเกี่ยวข้องเป็นไปได้อย่างมาก นอกจากนั้นทิวซิดิดีสมีชีวิตอยู่ก่อนนักประวัติศาสตร์และยังได้ติดต่อกับเมืองเทรซทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างพวกเขาแน่นแฟ้นด้วย ในตอนท้าย เฮโรโดทัสยังได้ยืนยันความเกี่ยวข้องของครอบครัวทิวซิดิดีสกับเหมืองแร่ที่ Scapte Hyle

จากการรวบรวมหลักฐานไม่สมบูรณ์ที่สามารถหาได้ ดูเหมือนว่าครอบครัวของเขาเป็นเจ้าของที่ดินขนาดใหญ่ในเมืองเทรซส่วนหนึ่งเป็นเหมืองทอง ซึ่งทำรายได้เป็นกอบเป็นกำให้แก่ครอบครัวและความมั่งคั่งอย่างถาวร การรักษาความปลอดภัยและความเจริญรุ่งเรืองอย่างต่อเนื่องของที่ดินจำนวนมากมายจึงทำให้ต้องมีข้อตกลงอย่างเป็นทางการกับกษัตริย์หรือเจ้าเมืองผู้ปกครอง ซึ่งอธิบายได้อย่างชัดเจนถึงการยอมรับนามของเชื้อพระวงศ์ชาวเทรซ Oloros เข้ามาในครอบครัว ครั้งนั้นเมื่อถูกเนรเทศทิวซิดิดีสสร้างหมู่บ้านถาวรขึ้นบนที่ดินและมีรายได้อย่างงดงามจากเหมืองทอง เขาได้อุทิศตัวเองให้กับการเขียนเรื่องราวทางประวัติศาสตร์อย่างเต็มที่รวมถึงการค้นคว้าซึ่งประกอบด้วยการเดินทางเพื่อค้นหาหาข้อเท็จจริงมากมาย จุดสำคัญคือหลังจากเขาเกษียณแล้วในเวลาดังกล่าว และมีการติดต่อที่ดีกับแหล่งข้อมูลซึ่งเป็นรัฐบุรุษคนสำคัญผู้ซึ่งเกษียณจากแวดวงการเมืองและการทหารแล้วในช่วงเวลานั้นทิวซิดิดีสได้จัดตั้งกองทุนโครงการทางวิทยาศาสตร์ของตัวเองขึ้น

แหล่งข้อมูลในภายหลัง

หลักฐานที่เหลืออยู่เกี่ยวกับชีวิตของทิวซิดิดีส มาจากหลักฐานในยุคโบราณต่อมาซึ่งค่อนข้างน่าเชื่อถือน้อยกว่า จากข้อมูลของ Pausanias นักภูมิศาสตร์ชาวกรีก กล่าวว่าบุคคลที่ชื่อ Oenobius สามารถอนุญาตให้ Thucydedes กลับเอเธนส์ได้ตามกฎหมาย สันนิษฐานว่าอยู่ในช่วงเวลาสั้น ๆ หลังจากที่แอมฟิโพลิสยอมจำนนและจุดสิ้นสุดของสงครามในช่วงก่อนคริสต์ศักราช 404 ปี Pausanias ยังระบุว่า ทิวซิดิดีสถูกฆาตกรรมระหว่างเดินทางกลับเอเธนส์ ยังมีข้อสงสัยอีกมากในบันทึกนี้ ดูจากหลักฐานที่กล่าวว่าทิวซิดิดีสมีชีวิตอยู่ในช่วตอนปลายก่อนคริสต์ศักราช 397 ปี Plutarch ผู้พิพากษาและทูตชาวกรีก ยืนยันว่า ทิวซิดิดีสยังมีชีวิตอยู่เมื่อกลับสู่เอเธนส์และอาศัยอยู่ในห้องใต้ดินของครอบครัว Cimon

การบรรยายประวัติศาสตร์ของทิวซิดิดีสจบลงอย่างห้วน ๆ โดยหยุดอยู่ที่ช่วงกลางของปีที่ 411 ก่อนคริสต์ศักราช ซึ่งมักเข้าใจกันว่าท่านตายขณะกำลังเขียนหนังสือ

การศึกษา

แม้ว่าจะไม่มีหลักฐานพิสูจน์แน่ชัด แต่ศิลปะการใช้คำในงานเขียนของทิวซิดิดีสบอกได้ว่าอย่างน้อยเขาก็คุ้นเคยกับคำสอนของพวกครูสอนปรัชญาโซฟิสต์ส และนักบันทึกการเดินทางผู้ซึ่งเดินทางมาเอเธนส์และเมืองอื่น ๆ ของกรีก นอกจากนี้ ยังมีข้อสันนิษฐานว่า การที่ทิวซิดิดีสเน้นอย่างเข้มงวดในเรื่องของเหตุและผล และมีความพิถีพิถันที่น่าเลื่อมใสอย่างเด่นชัด ในเรื่องการชั่งน้ำหนักข้อเท็จจริงตามธรรมชาติต่อการแยกปัจจัยอื่น ๆ แสดงให้เห็นว่างานเขียนที่เคร่งครัดของเขาได้รับอิทธิพลมาจากวิธีการและแนวคิดของนักเขียนด้านการแพทย์ เช่น ฮิปโปเครตีสแห่งเกาะคอส

บุคลิก

ทิวซิดิดีส ยกย่องชื่นชม เพริคลีส และยอมรับพลังดึงดูดแห่งบุคลิกภาพที่เพริคลีสใช้ความคุมชาวเอเธนส์ แต่ท่านแสดงออกอย่างชัดเจนถึงความรังเกียจ ที่มีต่อพวกนักปลุกระดมทางการเมืองที่คอยติดตามเพริคลิส ทิวซิดิดีสไม่เห็นด้วยกับทั้งม็อบฝูงชนในระบอบประชาธิปไตย และแนวคิดประชาธิปไตยแบบเปิดกว้างอย่างที่เพริคลีสสนับสนุน เพียงแต่ท่านเห็นว่าระบอบประชาธิปไตยเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ หากว่าประเทศมีผู้นำที่ดีและมีความสามารถอย่างเพริคลีส[1] อย่างไรก็ดี ทิวซิดิดีส เขียนบรรยายเหตุการณ์ทางการเมืองที่เกิดขึ้นอย่างเป็นภาวะวิสัย ท่านพูดถึงความล้มเหลวของตัวท่านเองในฐานะแม่ทัพในสมภูมิแอมฟิโพลิส แต่บางทีท่านก็อดไม่ได้ที่จะตำหนินักการเมืองที่คอยปลุกปั่นประชาชน เช่น คลีออน[2] [3] เนื่องมาจากว่าคลีออนเป็นศัตรูทางการเมืองของท่าน และตัวท่านเองไม่ค่อยศรัทธาระบอบประชาธิปไตยนัก

ประวัติศาสตร์ของสงครามเพโลพอนนีเซียน

ปรัชญาความคิด

ทิวซิดิดีส ได้รับความเคารพโดยทั่วไปว่าเป็นหนึ่งในนักประวัติศาสตร์ที่แท้จริงคนแรกๆของโลก เช่นเดียวกับรุ่นก่อนหน้าเขา เฮโรโดตัส (นิยมเรียกว่า บิดาแห่งประวัติศาสตร์) ทิวซิดิดีสให้ความสำคัญอย่างสูงต่อการพิสูจน์หลักฐานอย่างละเอียด และการบันทึกคำบอกเล่าของผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์ รวมถึงคำบรรยายเหตุการณ์ที่ตัวเขาได้มีส่วนร่วมอย่างตรงไปตรงมาที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เขายังใช้ความอุตสาหะในการทบทวนและตรวจดูความถูกต้องจากบันทึกในเอกสาร และตามคำบอกเล่าของผู้ที่มีส่วนร่วมในเหตุการณ์จริง ที่สำคัญที่สุดคือ ทิวซิดิดีสเป็นนักประวัติศาสตร์คนแรกที่ไม่ปักใจเชื่อ หรือพอใจอ้างอิงคำบอกกล่าวของกวี โดยไม่คิดวิเคราะห์ด้วยหลักฐานเสียก่อน งานเขียนของเขาจึงไม่ได้อิงกับตำนานหรือเทพนิยายอย่างสมัยนิยม หรือแม้แต่ตามอย่างข้อเขียนในปรัชญาของเพลโต (ซึ่งเป็นนักเขียนสมัยหลังทิวซิดิดีส) ซึ่งพึ่งพาเทพปรกณัมอย่างมากในการตั้งของสัณนิษฐาน นอกจากนี้ทิวซิดิดีสยังไม่ให้ความสำคัญกับอำนาจของเทพยดาและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่จะมายุ่งเกี่ยว หรือบงการความเป็นไปของมนุษย์ ต่างจากเฮโรโดตัสที่มักโทษความหยิ่งยโสโง่เขลาของมนุษย์ว่า เป็นเหตุให้พระเป็นเจ้ามาลงโทษ

วิธีวิทยาทางประวัติศาสตร์

งานเขียนทางประวัติศาสตร์ของทิวซิดิดีส ได้แก่ ประวัติศาสตร์ของสงครามเพโลพอนนีเซียน รับการแยกออกเป็นหนังสือจำนวน 8 เล่มหลังจากที่เขาเสียชีวิต งานชิ้นนี้เป็นความทุ่มเททางประวัติศาสตร์ของเขาที่จะบันทึกเรื่องราวทางประวัติศาสตร์การเมืองและการสู้รบ ของมหาสงคราม 27 ปี ระหว่างนครเอเธนส์และพันธมิตร กับฝ่ายสปาร์ต้า เนื้อหาของบันทึกหยุดลงใกล้กับช่วงสิ้นสุดปีที่ 21 ของสงคราม และไม่ได้บรรยายไปถึงเหตุการณ์ในตอนท้ายของสงคราม (ส่วนที่เหลือของสงครามได้รับการบรรยายต่อจนจบในงานเขียนของ เซโนฟอน (Xenophone) นักการทหาร และนักประวัติศาสตร์ชาวกรีก) มีเพียงข้อมูลที่ถูกร่างอย่างคร่าวๆ ระบุว่าการเสียชีวิตของทิวซิดิเดสเกิดขึ้นแบบไม่มีใครคาดหมาย และเป็นไปได้ว่าอาจจะเกิดขึ้นอย่างกะทันหันหรือถูกทำร้าย ทิวซิดิดีสเชื่อว่ามหาสงครามเพโลพอนนีซ ในตอนปลาย ศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสตกาล เป็นเหตุการณ์สำคัญในระดับที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนในประวัติศาสตร์โลก ไม่ว่าในบันทึกของชาวกรีกเอง หรือของชาติอื่น เขาจึงตั้งใจอุทิศบันทึกเหตุการณ์นี้ไว้แก่โลกเพื่อให้เป็นประโยชน์ดั่งเช่น “สมบัติแก่อนุชนไปชั่วกาลสมัย"

ความแตกต่างหลัก ๆ ข้อหนึ่งระหว่างงานเขียนประวัติศาสตร์ของทิวซิดิดีสและงานเขียนประวัติศาสตร์รุ่นใหม่ก็คือ งานเขียนของทิวซิดิดีสจะประกอบด้วยคำพูดสนทนา และคำแถลงแบบเป็นทางการ หรือรวมเอาคำให้การที่มีความยาวพอสมควรไว้ ซึ่งตัวทิวซิดิดีสเองยอมรับว่าบทสนทนาพวกนี้เป็นเนื้อหาที่ไม่ได้ตรงกับคำพูดจริงๆทั้งหมด แต่เป็นการ"บูรณะ" (reconstruct) ขึ้นใหม่ตามคำให้การของผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์ หรือความจำของตัวเขาเอง โดยนักประวัติศาสตร์ปัจจุบันเชื่อว่าทิวซิดิดีสใส่ความเห็นของตนลงไปด้วยในคำพูดเหล่านั้น หรือตามความเข้าใจและการตีความของเขาเองต่อเนื้อหาของสิ่งที่พูดว่าควรเป็นอย่างไร อย่างไรก็ดีนี่เป็นวิธีที่ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ในสมัยนั้น ที่จะรักษาความทรงจำเกี่ยวกับสิ่งที่เคยพูดไว้ได้ เพราะหากทิวซิดิดีสไม่ทำเช่นนั้น เนื้อหาของบทสนทนาทางประวัติศาสตร์คงจะไม่เหลือรอดอยู่เลย ซึ่งไม่เหมือนกับกรณีของยุคสมัยใหม่ที่ทีเทคโนโลยีที่สามารถบันทึกและเก็บรักษาเอกสารคำให้การจำนวนมากๆ ดังนั้นทิวซิดิดีสจึงไม่แค่เพียง “เขียนตามหลักฐาน” แต่เป็นการช่วยไม่ให้แหล่งข้อมูลบอกเล่าด้วยปากถูกลืมเลือนไปโดยสิ้นเชิงด้วย ตัวอย่างที่สำคัญที่สุดชิ้นนึงของบันทึกคำบอกเล่าที่ทิวซิดิสรักษาไว้ ได้แก่ คำสุทรพจน์ไว้อาลัยผู้ตายในสงครามของเพริคลีส หรือ สุนทรพจน์ไว้อาลัยของเพริคลีส (Pericles' funeral oration) ซึ่งเป็นตำอธิบายและเชิดชูคุณค่าทางศีลธรรมของสังคมประชาธิปไตย จากปากของเพริคลีส ผู้เป็นรัฐบุรุษและผู้นำของชาวเอเธนส์ และถือเป็นงานวรรณกรรมเกี่ยวกับประชาธิปไตยที่สำคัญที่สุดชิ้นหนึ่งมาจนถึงปัจจุบัน ส่วนนึงของข้อความนั้นเป็นภาษิตว่า:

โลกทั้งใบคือสุสานของมนุษย์ผู้ลือนาม บุรุษพวกนี้มิได้เพียงแค่ถูกระลึกถึง โดยแนวเสาหินหรือเพียงคำไว้อาลัยในแผ่นดินของตนเอง แต่ยังถูกจดจำในต่างแดน ในความทรงจำที่มิใช่เพียงบันทึกบนแผ่นศิลา หากเป็นในหัวใจและความนึกคิดของผู้คนแม้จะอยู่ต่างถิ่น

— สุนทรพจน์ไว้อาลัยของเพริคลีสต่อชาวเอเธนส์[4]

บุกเบิกแนวคิดสัจนิยมทางประวัติศาสตร์

ความถูกผิดชอบธรรม (δίκαιος) ตามความเข้าใจของนรชนในโลกนี้ เป็นเรื่องที่เคารพปฏิบัติก็แต่ระหว่างฝ่ายที่ถูกผูกมัดด้วยธรรมเนียมนั้นเหมือนๆกัน แต่ผู้แข็งแกร่งย่อมทำได้ตามที่ตนสามารถ ในขณะที่ผู้อ่อนแอมีแต่ต้องทนรับ

— บทสนทนาระหว่างผู้ถือสารของจักรวรรดิเอเธนส์และผู้ปกครองนครเมลอส[5]

ทิวซิดิดีสพิจารณาว่าการเมืองเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับคำถามทางจริยธรรมเสมอไป ท่านตั้งคำถามว่าความยุติธรรมและจารีตประเพณีจะมีบทบาทอย่างไร ต่อความสัมพันธ์ระหว่างรัฐซึ่งมีอำนาจเป็นปัจจัยสำคัญ? นักสัจจะนิยมมักจะตั้งแง่กับการนำประเด็นทางศีลธรรมมาเกี่ยวข้องกับการเมืองระหว่างประเทศ และบางคนก็เถียงว่าไม่มีพื้นที่ให้กับคำถามทางศีลธรรมในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ หรือมิฉะนั้นก็อ้างว่ารัฐอธิปไตยย่อมมี "ศีลธรรมของตนเอง" ที่แตกต่างไปจากศีลธรรมตามจารีตประเพณี ด้วยเหตุนี้นักสัจจะนิยมจึงมองธรรมชาติของมนุษย์ว่ามีความเห็นแก่ตัว และมักคล้อยไปทางความหลงมัวเมาในอำนาจ จนมักจะเอาประโยชน์ส่วนตัวมาอยู่เหนือหลักเกณฑ์ทางศีลธรรมอยู่ตลอดเวลา

ด้วยสาเหตุนี้นักสัจจะนิยมจึงคิดว่าสถานการณ์การเมืองระหว่างประเทศ - ซึ่งไม่มีกลไกถาวรจะมาสร้างและบังคับใช้กฎเกณฑ์ทางจารีต หรือศีลธรรม - เป็นพื้นที่ที่แต่ละรัฐต้องรับผิดชอบความอยู่รอดของตัวเอง และมีอิสระเสรีเต็มที่ที่จะกำหนดผลประโยชน์ และแสวงหาอำนาจ หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งว่าเป็นพื้นที่อนาธิปไตย (anarchy) ที่อำนาจมีบทบาทสำคัญที่สุดที่จะกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐ แนวคิดนี้ได้รับการสนับสนุนโดยบทสนทนาเมเลียน (Melian Dialogue)ระหว่างคณะทูตชาวเอเธนส์ และผู้ปกครองของนครเมลอส โดยขณะที่ฝ่ายเมลอสพยายามป้องกันความเป็นอิสรภาพของตนโดยอ้างหลักความยุติธรรม และความชอบธรรม[6] ผู้ถือสารจากเอเธนส์กลับเตือนให้ผู้ปกครองของเมลอสตระหนักถือแสนยานุภาพทางการทหารที่เหนือกว่าของเอเธนส์ ที่สามารถจะทำให้เมลอสพินาศได้ทุกเมื่อ[7]

แนวคิดสัจจะนิยมอธิบายว่า ประเทศทั้งหลายย่อมพยายามทำการทุกอย่างเพิ่มพูนอำนาจของตน และจะกระทำการใดๆเพื่อคาน หรือยับยั้งอำนาจของรัฐอื่นที่อยู่ในข่ายที่อาจเป็นภัยก้าวร้าวต่อความมั่นคงของรัฐตน ด้วยเหตุนี้สงครามจึงอาจเกิดขึ้นได้ เมื่อประเทศที่เคยทรงอำนาจมาก่อนเห็นว่ารัฐอีกรัฐหนึ่งกำลังขยายอำนาจคุกคามความมั่นคงของตนมากขึ้นเรื่อยๆ และไม่มีวิธีการอื่นที่จะหยุดการเพิ่มพูนทางอำนาจของรัฐที่ตนเห็นว่าเป็นปรปักษ์ได้ จากเหตุผลดังกล่าวทิวซิดิดีสจึงระบุว่าสาเหตุของสงครามเพโลพอนนีเซียน เกิดจากการถ่ายเทอำนาจระหว่างสองขั้วอำนาจหลักของนครรัฐกรีก คือ ฝ่ายสันนิบาตดีเลียนภายใต้การนำของเอเธนส์ฝ่ายหนึ่ง และฝ่ายสันนิบาตเพโลพอนนีเซียนที่อยู่ภายใต้แสนยานุภาพทางทหารของสปาร์ตา (ซึ่งเป็นผู้นำทางการสงครามในภูมิภาคนี้มาแต่โบราณ) อีกฝ่ายหนึ่ง หรือพูดอีกอย่างคือ ทิวซิดิดีสเชื่อว่าการขยายอำนาจของเอเธนส์จนขึ้มมาเป็นจักรวรรดิ์ทางทะเล ทำให้ฝ่ายสปาร์ตาตัดสินใจเข้าสู่สงครามกับเอเธนส์[8]

การวิเคราะห์และตีความของนักวิชาการ

อย่างไรก็ดีหากพิจารณาจากบันทึกมหาสงครามเพโลพอนนีเซียนทั้งเล่มของท่าน จะเห็นได้ว่าทิวซิดิดีส ไม่ได้เป็นนักสัจจะนิยมสายแข็ง แต่ท่านกลับมุ่งแสดงให้ผู้อ่านเห็นว่า อำนาจย่อมนำไปสู่ความกระสันที่จะแสวงหาอำนาจเพิ่มขึ้นอย่างไม่มีที่สิ้นสุด หากไม่ถูกบั่นทอนโดยสำนึกของความยุติธรรม และความมัวเมาในอำนาจและความมั่งคั่งของจักรมรรดิอาจกลายเป็นเครื่องมือของนักการเมืองที่จะเอามาใช้เพื่อหาเสียงเข้าสู่อำนาจ จนประเทศชาติถูกนำพาไปสู่หายนะ ซึ่งนี่เป็นชะตากรรมแบบเดียวกับที่เอเธนส์เผชิญในที่สุด เพราะชาวเอเธนส์ถูกชักนำโดยผลประโยชน์แต่ถ่ายเดียว และไม่ใส่ใจที่จะคิดถึงความชอบธรรมทางจารีตประเพณีในการกระทำของตน พวกเขาจึงประเมินกำลังตัวเองสูงเกินไป และในที่สุดความกระหายอำนาจนั้นจึงนำไปสู่การแพ้สงคราม ดังนี้จะเห็นได้ว่าทิวซิดิดีวก็เอาภาพรวมของประวัติศาสตร์ มาอธิบายการล่มสลายของจักรวรดิเอเธนส์ว่าเกิดจากการตัดสินใจที่ผิดพลาดต่อๆกันมาเป็นอนุกรม เพราะถูกชักจูงโดยความโลภและขาดสติ ซึ่งเป็นแนวคิดที่คล้ายกับโศกนาฏกรรมกรีก ด้วยเหตุนี้นักวิชาการสมัยใหม่จึงเริ่มแคลงใจที่จะจัดให้ ทิวซิดิดีส เป็นบิดาของสัจนิยมการเมือง (real politik) เหมือนอย่างในอดีต

นักปรัชญาการเมือง ลีโอ สเตราส์ (ในหนังสือ The City and Man) เห็นว่าทิวซิดิดีสมีความรู้สึกขัดแย้งต่อวัฒนธรรมของชาวเอเธนส์ กล่าวคือในขณะที่สติปัญญาของตัวท่านเองเป็นผลผลิตของประชาธิปไตยแบบเพริคลีส ซึ่งให้เสรีภาพแก่ความล้าคิดกล้าทำ ความกล้าเสี่ยงภัย และจิตวิญญาณที่ใฝ่ค้นหาคำตอบของปัจเจกบุคคล แต่เสรีภาพดังกล่าวในที่สุดก็ส่งเสริมความทะเยอทะยานทางการเมืองอย่างไม่มีที่สิ้นสุด จนนำไปสู่ลัทธิจักรวรรดินิยม และความยุ่งเหยิงในประเทศ

นักวิชาการด้านกรีกโบราณ จาเคอลีน เดอ รอมิยี (Jacqueline de Romilly) เป็นคนแรกที่ชี้ให้เห็นว่า ปัญหาในทางจริยศาสตร์เกี่ยวกับลัทธิจักรวรรดินิยมของเอเธนส์ เป็นหนึ่งในประเด็นที่ทิวซิดิดีสเพ่งความสนใจมากที่สุด และเธอชี้ว่าท่านวางงานเขียนประวัติศาสตร์ของตนไว้ ในบริบทของความคิดแบบกรีกเกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางการเมืองระหว่างประเทศ การวิเคราะห์ของเธอกระตุ้นให้นักวิชาการหลายคน หันมาตั้งคำถามเกี่ยวกับมุมมองของทิวซิดิดีส ที่มีต่อ Realpolitik หรือแนวคิดสัจนิยมการเมือง จนระยะหลังมานี้ ความเชื่อว่าตัวทิวซิดิดีสเป็น "บิดาของสำนักความคิดสัจนิยมการเมือง" ถูกสั่นคลอนอย่างต่อเนื่อง นักวิชาการบางท่านรวมทั้ง ริชาร์ด เน็ด เลอโบ (Richard Ned Lebow) เห็นว่างานเขียนของทิวซิดิดีส อาศัยและอ้างอิงแนวคิดในบทกวีมหากาพย์ และโศกนาฏกรรมในวรรณกรรมกรีกอย่างมาก จนถึงขนาดว่าจะยกให้ท่านเป็น "นักประพันธ์โศกนาฏกรรมคนสุดท้าย"[9] ก็ไม่ผิดนัก ในมุมมองนี้ พฤติกรรมที่ไร้ศีลธรรม และอัปยศ หรือ ฮิวบริส (ὕβρις) ของชาวเอเธนส์ จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้พวกเขาต้องพบกับความหายนะ

แหล่งข้อมูลอื่นและอ้างอิง

บรรณานุกรม

  • Cochrane, Charles Norris (1929). Thucydides and the Science of History. Oxford University Press..
  • Connor, W. Robert (1984). Thucydides. Princeton University Press. ISBN 0-691-03569-5.
  • Dewald, Carolyn (2006). Thucydides' War Narrative: A Structural Study. Berkeley: University of California Press. ISBN 0-520-24127-4..
  • Finley, John Huston, Jr. (1947). Thucydides. Cambridge, Massachusetts: Harvard University Press..
  • Forde, Steven (1989). The ambition to rule : Alcibiades and the politics of imperialism in Thucydides. Ithaca : Cornell University Press. ISBN 0-8014-2138-1..
  • Hanson, Victor Davis (2005). A War Like No Other: How the Athenians and Spartans Fought the Peloponnesian War. New York: Random House. ISBN 1-4000-6095-8..
  • Hornblower, Simon (1991). A Commentary on Thucydides, vol.1. Oxford: Clarendon. ISBN 0-19-815099-7..
  • Hornblower, Simon (1996). A Commentary on Thucydides, vol.2. Oxford: Clarendon. ISBN 0-19-927625-0..
  • Hornblower, Simon (1987). Thucydides. London: Duckworth. ISBN 0-7156-2156-4..
  • Kagan, Donald (1974). The Archidamian War. Ithaca: Cornell University Press. ISBN 0-8014-0889-X.
  • Kagan, Donald (1989). The Outbreak of the Peloponnesian War. Ithaca: Cornell University Press. ISBN 0-8014-9556-3.
  • Kagan, Donald (2003). The Peloponnesian War. Viking Penguin (Penguin Group). ISBN 0-670-03211-5.
  • Korab-Karpowicz, W. Julian. "Stanford Encyclopedia of Philosophy". Standford University. สืบค้นเมื่อ 2017-06-07. {{cite news}}: |chapter= ถูกละเว้น (help)
  • Luce, T.J. (1997). The Greek Historians. London: Routledge. ISBN 0-415-10593-5..
  • Luginbill, R.D. (1999). Thucydides on War and National Character. Boulder: Westview. ISBN 0-8133-3644-9..
  • Momigliano, Arnaldo, The Classical Foundations of Modern Historiography. Sather Classical Lectures, 54 Berkeley: University of California Press (1990).
  • Meyer, Eduard, Kleine Schriften (1910), (Zur Theorie und Methodik der Geschichte).
  • Orwin, Clifford, The Humanity of Thucydides. Princeton: Princeton University Press (1994). ISBN 0-691-03449-4.
  • Podoksik, Efraim (2005). "History of Political Thought 26(1)". p. 21–42. {{cite news}}: |chapter= ถูกละเว้น (help).
  • De Romilly, Jacqueline (1963). Thucydides and Athenian Imperialism. Oxford: Basil Blackwell. ISBN 0-88143-072-2..
  • Rood, Tim (1998). Thucydides: Narrative and Explanation. Oxford: Oxford University Press. ISBN 0-19-927585-8..
  • Russett, Bruce (1993). Grasping the Democratic Peace. Princeton University Press. ISBN 0-691-03346-3.
  • de Ste Croix, Geoffrey Ernest Maurice (1972). The origins of the Peloponnesian War. London: Duckworth..
  • Strassler, Robert B, ed. (1996). The Landmark Thucydides: A Comprehensive Guide to the Peloponnesian War. New York: Free Press. ISBN 0-684-82815-4. {{cite book}}: |first= มีชื่อเรียกทั่วไป (help).
  • Strauss, Leo (1964). The City and Man. Chicago: Rand McNally.
  • Thucydides (1998). The Peloponnesian War, Norton Critical Edition. Walter Blanco(trans.). Norton & Company. ISBN 0-3939-7167-8.
  • Zagorin, Perez (2005). Thucydides: an Introduction for the Common Reader. Princeton University Press. ISBN 069113880X.
  1. Thucydides, 2.65
  2. Thucydides, 3.36
  3. Thucydides, 4.27
  4. Thucydides, 2.43
  5. Thucydides, 5.89
  6. Thucydides, 5.90
  7. Thucydides, 5.101
  8. Thucydides, 1.23
  9. Richard Ned Lebow, The Tragic vision of Politics (Cambridge University Press, 2003), p. 20.