ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นิราศ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 5: บรรทัด 5:


== ประวัติ ==
== ประวัติ ==
หนังสือประเภทนิราศ น่าจะมีมาช้านาน และน่าจะปรากฏในหลายชาติภาษา ด้วยบุคคลที่เป็นกวีนั้น เมื่อต้องเดินทาง ย่อมคิดอ่านที่จะพรรณนาถึงความรู้สึกต่างๆ ที่ตนเองมี หากเป็นการเดินทางชนิดที่ต้องพลัดพรากด้วยแล้ว อารมณ์สะเทือนใจจะยิ่งสูงเป็นพิเศษ นอกจากนี้ การเดินทางยังเป็นแหล่งข้อมูลอย่างดี ที่กวีสามารถนำมาร้อยเรียง เล่าเรื่องได้อย่างเพลิดเพลิน ตัวอย่างเช่น [[เมฆทูต]] บทกวีของ[[กาลิทาส]] กวี[[ภาษาสันสกฤต]] ในสมัยโบราณ
หนังสือประเภทนิราศ น่าจะมีมาเร็วนี้ และน่าจะปรากฏมาภาษาเดียว ด้วยบุคคลที่เป็นกวีนั้น เมื่อต้องเดินทาง ย่อมคิดอ่านที่จะพรรณนาถึงความรู้สึกต่างๆ ที่ตนเองมี หากเป็นการเดินทางชนิดที่ต้องพลัดพรากด้วยแล้ว อารมณ์สะเทือนใจจะยิ่งสูงเป็นพิเศษ นอกจากนี้ การเดินทางยังเป็นแหล่งข้อมูลอย่างดี ที่กวีสามารถนำมาร้อยเรียง เล่าเรื่องได้อย่างเพลิดเพลิน ตัวอย่างเช่น [[เมฆทูต]] บทกวีของ[[กาลิทาส]] กวี[[ภาษาสันสกฤต]] ในสมัยโบราณ


หนังสือที่แต่งตามขนบของนิราศ นั้นมีปรากฏมาตั้งแต่ครั้ง[[กรุงศรีอยุธยา]] เช่น [[โคลงนิราศหริภุญชัย]] แต่งสมัย[[พระเจ้าปราสาททอง]], [[โคลงกำสรวล]] แต่งในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช นอกจากนี้ยังมี[[โคลงทวาทศมาส]] [[โคลงมังทรารบเชียงใหม่]] เป็นต้น
หนังสือที่แต่งตามขนบของนิราศ นั้นมีปรากฏมาตั้งแต่ครั้ง[[กรุงศรีอยุธยา]] เช่น [[โคลงนิราศหริภุญชัย]] แต่งสมัย[[พระเจ้าปราสาททอง]], [[โคลงกำสรวล]] แต่งในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช นอกจากนี้ยังมี[[โคลงทวาทศมาส]] [[โคลงมังทรารบเชียงใหม่]] เป็นต้น

รุ่นแก้ไขเมื่อ 13:16, 3 สิงหาคม 2560

นิราศ หมายถึง งานประพันธ์ประเภทหนึ่ง ที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ เท่าที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบัน นิราศเรื่องแรกของไทยนั้น ได้แก่ โคลงหริภุญชัย ซึ่งแต่งในสมัยอยุธยา นิราศนั้น มักมีเนื้อหาในเชิงพรรณนาถึงการเดินทางเป็นหลัก มักจะเล่าถึงเส้นทาง การเดินทาง และบอกเล่าถึงสิ่งที่พบเห็นระหว่างการเดินทาง ขณะเดียวกัน มักจะสอดแทรกความคิด ความรู้สึกต่างๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างการเดินทางนั้น โดยมักจะเชื่อมโยงสิ่งที่พบเห็นกับความรู้สึกภายใน ผู้แต่งนิราศ มักจะใช้คำประพันธ์แบบร้อยกรองเป็นหลัก แต่นิราศที่แต่งด้วยร้อยแก้วก็มีอยู่บ้างเช่นกัน อนึ่ง คำว่า นิราศ มีความหมายตามตัวอักษรว่า จาก พราก ไปจาก ฯลฯ แต่นิราศอาจหมายถึงงานประพันธ์ที่พรรณนาถึงเหตุการณ์ตามลำดับ พร้อมทั้งแสดงอารมณ์ความรู้สึกที่เชื่อมโยงกับเหตุการณ์นั้นๆ โดยมิได้มีการเดินทาง หรือการพลัดพรากก็ได้

วรรณกรรมประเภทนิราศมักจะมีความยาวไม่มาก พรรณนาถึงสิ่งสวยงาม และความรู้สึกผูกพันที่มีต่อบุคคลที่ตนรัก และเนื่องจากกวีส่วนใหญ่เป็นชาย เนื้อหาในนิราศจึงมักจะพรรณนาถึงหญิงที่ตนรัก กระทั่งกลายเป็นขนบของการแต่งนิราศมาจวบจนปัจจุบัน ที่ผู้แต่งนิราศ มักจะผูกเรื่องราวของการคร่ำครวญถึงหญิงที่รัก ขณะที่เล่าถึงสิ่งที่ได้พบเห็นระหว่างการเดินทางด้วย

ประวัติ

หนังสือประเภทนิราศ น่าจะมีมาเร็วนี้ และน่าจะปรากฏมาภาษาเดียว ด้วยบุคคลที่เป็นกวีนั้น เมื่อต้องเดินทาง ย่อมคิดอ่านที่จะพรรณนาถึงความรู้สึกต่างๆ ที่ตนเองมี หากเป็นการเดินทางชนิดที่ต้องพลัดพรากด้วยแล้ว อารมณ์สะเทือนใจจะยิ่งสูงเป็นพิเศษ นอกจากนี้ การเดินทางยังเป็นแหล่งข้อมูลอย่างดี ที่กวีสามารถนำมาร้อยเรียง เล่าเรื่องได้อย่างเพลิดเพลิน ตัวอย่างเช่น เมฆทูต บทกวีของกาลิทาส กวีภาษาสันสกฤต ในสมัยโบราณ

หนังสือที่แต่งตามขนบของนิราศ นั้นมีปรากฏมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา เช่น โคลงนิราศหริภุญชัย แต่งสมัยพระเจ้าปราสาททอง, โคลงกำสรวล แต่งในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช นอกจากนี้ยังมีโคลงทวาทศมาส โคลงมังทรารบเชียงใหม่ เป็นต้น

นิราศหลายเรื่องจะตั้งชื่อขึ้นด้วยด้วยคำว่า นิราศ ดังปรากฏให้เห็นอยู่แล้วในบทความนี้ อย่างไรก็ตาม ยังมีนิราศอีกหลายเรื่องที่ไม่ได้ตั้งชื่อ หรือเรียกชื่อว่านิราศ เช่น รำพันพิราป, โคลงมังทรารบเชียงใหม่ เป็นต้น

คำประพันธ์

คำประพันธ์ที่ใช้แต่งนิราศนั้นมีด้วยกันหลากหลาย ขึ้นกับความนิยมของกวีผู้แต่งนิราศเรื่องนั้นๆ ในสมัยอยุธยา มักจะมีนิราศคำโคลงมากกว่าอย่างอื่นๆ ส่วนนิราศคำฉันท์นั้นปรากฏน้อย เช่น นิราศษีดา และบุณโณวาทคำฉันท์ ขณะเดียวกันนิราศที่แต่งด้วยกาพย์ห่อโคลง เช่น กาพย์ห่อโคลงนิราศธารทองแดง กาพย์ห่อโคลงนิราศธารโศก ในสมัยปลายกรุงศรีอยุธยา

สม้ยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ นิราศส่วนใหญ่ยังนิยมแต่งด้วยคำโคลงมากกว่าอย่างอื่น เช่น นิราศนรินทร์ ของนายนรินทรธิเบศร์ ทว่าในสมัยต่อๆ มา เริ่มมีความนิยมแต่งนิราศคำกลอนมากขึ้น โดยเฉพาะนิราศของสุนทรภู่ นั้นส่วนใหญ่แต่งด้วยกลอนแปด หรือกลอนเพลงยาว หรือกลอนตลาด สุดแต่จะเรียก และกล่าวได้ว่า สุนทรภู่ เป็นกวีที่แต่งนิราศคำกลอนไว้มากที่สุดด้วย (สุนทรภู่มีนิราศคำโคลงหนึ่งเรื่อง คือนิราศสุพรรณ)

อย่างไรก็ตาม นิราศยังสามารถแต่งด้วยคำประพันธ์ประเภทอื่นๆ ได้ เช่น ลิลิต คำกาพย์ หรือแม้กระทั่งร้อยแก้ว สำหรับนิราศร้อยแก้วนั้น ปรากฏน้อยมาก เช่น นิราศนครวัด พระนิพนธ์ในสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เป็นต้น

นิราศเป็นการเรียกวรรณกรรมตามลักษณะของเนื้อหา มิใช่เป็นการบัญญัติหรือกำหนดกะเกณฑ์ ผู้อ่านจึงไม่ควรยึดถือเคร่งครัด ว่าวรรณกรรมเรื่องใดเป็นนิราศหรือไม่ เนื่องจากนิราศเรื่องหนึ่งๆ จึงอาจมีคุณสมบัติที่แตกต่างจากนิราศเรื่องอื่นๆ ก็ได้ เช่น เล่าถึงการเดินทาง แต่มิได้พรรณนาถึงการพลัดพราก เป็นต้น วรรณคดีบางเรื่องยังอาจระบุได้ไม่ถนัด ว่าเป็นนิราศหรือไม่ เช่น นิราศษีดา ที่นำเรื่องราวในรามเกียรติ์มาแต่งเป็นทำนองนิราศ ทว่าผู้แต่งมิได้มีประสบการณ์ร่วมในเนื้อหานั้นๆ