ผลต่างระหว่างรุ่นของ "แผนกฉุกเฉิน"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 4: บรรทัด 4:


แผนกฉุกเฉินของโรงพยาบาลส่วนใหญ่เปิดทำการ 24 ชั่วโมงต่อวัน แม้ระดับเจ้าหน้าที่อาจแตกต่างกันเพื่อพยายามสะท้อนปริมาณผู้ป่วย
แผนกฉุกเฉินของโรงพยาบาลส่วนใหญ่เปิดทำการ 24 ชั่วโมงต่อวัน แม้ระดับเจ้าหน้าที่อาจแตกต่างกันเพื่อพยายามสะท้อนปริมาณผู้ป่วย

== การใช้แบบไม่ฉุกเฉิน ==
ในสหรัฐและอีกหลายประเทศ โรงพยาบาลเริ่มสร้างพื้นที่รองรับผู้ป่วยบาดเจ็บเล็กน้อยในห้องฉุกเฉิน พื้นที่เหล่านี้โดยทั่วไปเรียก หน่วย "ร่องด่วน" (Fast Track) หรือ "บริบาลเล็กน้อย" (Minor Care) ซึ่งไว้สำหรับผู้ป่วยบาดเจ็บที่ไม่อันตรายแก่ชีวิต การใช้หน่วยดังกล่าวในห้องฉุกเฉินได้แสดงว่าพัฒนาการไหลของผู้ป่วยผ่านแผนกและลดเวลารออย่างสำคัญ คลินิกบริบาลเร่งด่วน (Urgent care clinic) เป็นอีกทางหนึ่ง ซึ่งผู้ป่วยสามารถไปเพื่อรับการบริบาลทันทีสำหรับภาวะที่ไม่อันตรายแก่ชีวิต เพื่อลดภาระแก่ทรัพยากรห้องฉุกเฉินที่จำกัด American Medical Response จัดทำรายการตรวจสอบให้ EMT ระบุตัวผู้ป่วยได้รับสารพิษให้สามารถส่งตัวไปยังศูนย์บำบัดแทนอย่างปลอดภัย


[[หมวดหมู่:โรงพยาบาล]]
[[หมวดหมู่:โรงพยาบาล]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 23:32, 28 กรกฎาคม 2560

แผนกฉุกเฉิน (อังกฤษ: emergency department) หรือเรียก แผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน (อังกฤษ: accident & emergency department), ห้องฉุกเฉิน (อังกฤษ: emergency room), หอผู้ป่วยฉุกเฉิน (อังกฤษ: emergency ward) หรือแผนกอุบัติเหตุ (อังกฤษ: casualty department) เป็นสถานบริการทางการแพทย์ที่มีความชำนาญพิเศษด้านเวชศาสตร์ฉุกเฉิน หมายถึง การบริบาลแบบฉับพลันซึ่งผู้ป่วยที่มาโดยมิได้นัดล่วงหน้า ผู้ป่วยอาจเดินทางมาเองหรือโดยรถพยาบาล ปกติแผนกฉุกเฉินตั้งอยู่ในโรงพยาบาลหรือศูนย์บริการปฐมภูมิ

เนื่องจากผู้ป่วยมาโดยมิได้วางแผน แผนกฉุกเฉินจึงต้องจัดการรักษาเบื้องต้นแก่การเจ็บป่วยและการบาดเจ็บหลากหลายสาขา ซึ่งบางอย่างอาจเป็นอันตรายแก่ชีวิตและต้องการความใส่ใจทันที ในบางประเทศ แผนกฉุกเฉินเป็นจุดเข้าสำคัญแก่ผู้ที่หมดทางเข้าถึงเวชบริบาลทางอื่น

แผนกฉุกเฉินของโรงพยาบาลส่วนใหญ่เปิดทำการ 24 ชั่วโมงต่อวัน แม้ระดับเจ้าหน้าที่อาจแตกต่างกันเพื่อพยายามสะท้อนปริมาณผู้ป่วย

การใช้แบบไม่ฉุกเฉิน

ในสหรัฐและอีกหลายประเทศ โรงพยาบาลเริ่มสร้างพื้นที่รองรับผู้ป่วยบาดเจ็บเล็กน้อยในห้องฉุกเฉิน พื้นที่เหล่านี้โดยทั่วไปเรียก หน่วย "ร่องด่วน" (Fast Track) หรือ "บริบาลเล็กน้อย" (Minor Care) ซึ่งไว้สำหรับผู้ป่วยบาดเจ็บที่ไม่อันตรายแก่ชีวิต การใช้หน่วยดังกล่าวในห้องฉุกเฉินได้แสดงว่าพัฒนาการไหลของผู้ป่วยผ่านแผนกและลดเวลารออย่างสำคัญ คลินิกบริบาลเร่งด่วน (Urgent care clinic) เป็นอีกทางหนึ่ง ซึ่งผู้ป่วยสามารถไปเพื่อรับการบริบาลทันทีสำหรับภาวะที่ไม่อันตรายแก่ชีวิต เพื่อลดภาระแก่ทรัพยากรห้องฉุกเฉินที่จำกัด American Medical Response จัดทำรายการตรวจสอบให้ EMT ระบุตัวผู้ป่วยได้รับสารพิษให้สามารถส่งตัวไปยังศูนย์บำบัดแทนอย่างปลอดภัย