ผลต่างระหว่างรุ่นของ "คุยเรื่องวิกิพีเดีย:นโยบายและแนวปฏิบัติ"

ไม่รองรับเนื้อหาของหน้าในภาษาอื่น
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Sunzo (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Raja-x (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 6: บรรทัด 6:
๒.ธรรมิการักขา หมายถึง การจัดการรักษาป้องกันและคุ้มครองอันชอบธรรมและเป็นธรรม ซึ่งสามารถแยกออกได้เป็นข้อย่อย ดังนี้
๒.ธรรมิการักขา หมายถึง การจัดการรักษาป้องกันและคุ้มครองอันชอบธรรมและเป็นธรรม ซึ่งสามารถแยกออกได้เป็นข้อย่อย ดังนี้


ก.อันโตชน ได้แก่ ชนภายใน ตั้งแต่พระมเหสี โอรส ธิดา จนถึงผู้ปฏิบัติราชการในพระองค์ทั้งหมด คือ คนในปกครองส่วนตัว ตั้งแต่บุตรธิดาเป็นต้นไป ด้วยให้การบำรุงเลี้ยงอบรมสั่งสอนเป็นต้น ให้อยู่โดยเรียบร้อยสงบสุข และมีความเคารพนับถือกัน
ก.อันโตชน ได้แก่ ชนภายใน ตั้งแต่พระมเหสี โอรส ธิดา จนถึงผู้ปฏิบัติราชการใน
ทั้งหมด คือ คนในปกครองส่วนตัว ตั้งแต่บุตรธิดาเป็นต้นไป ด้วยให้การบำรุงเลี้ยงอบรมสั่งสอนเป็นต้น ให้อยู่โดยเรียบร้อยสงบสุข และมีความเคารพนับถือกัน
ข.พลกาย ได้แก่ กองทัพ คือ ปวงเสนาข้าทหาร, ข้าราชการฝ่ายทหาร
ข.พลกาย ได้แก่ กองทัพ คือ ปวงเสนาข้าทหาร, ข้าราชการฝ่ายทหาร
ค.ขัตติยะ ได้แก่ กษัตริย์ทั้งหลายผู้อยู่ในพระบรมเดชานุภาพ, เจ้าเมืองขึ้น, ปัจจุบันหมายถึงสงเคราะห์ชนชั้นปกครองและนักบริหารชั้นผู้ใหญ่ทั้งหลาย, ข้าราชการฝ่ายปกครอง
ค.ขัตติยะ ได้แก่ กษัตริย์ทั้งหลายผู้อยู่ในพระบรมเดชานุภาพ, เจ้าเมืองขึ้น, ปัจจุบันหมายถึงสงเคราะห์ชนชั้นปกครองและนักบริหารชั้นผู้ใหญ่ทั้งหลาย, ข้าราชการฝ่ายปกครอง

รุ่นแก้ไขเมื่อ 19:21, 20 กรกฎาคม 2560

จักรวรรดิวัตร ๕ จักรวรรดิวัตร ๕ หมายถึง วัตรของพระเจ้าจักรพรรดิ, พระจริยาที่พระจักรพรรดิพึงทรงบำเพ็ญสม่ำเสมอ, ธรรมเนียมการทรงบำเพ็ญพระราชกรณีย์ของพระเจ้าจักรพรรดิ, หน้าที่ของนักปกครองผู้ยิ่งใหญ่ ได้แก่

๑.ธรรมาธิปไตย หมายถึง การถือธรรมเป็นใหญ่ เคารพนับถือบูชายำเกรงธรรม ยึดธรรมเป็นหลัก เป็นธงชัย เป็นธรรมาธิปไตย

๒.ธรรมิการักขา หมายถึง การจัดการรักษาป้องกันและคุ้มครองอันชอบธรรมและเป็นธรรม ซึ่งสามารถแยกออกได้เป็นข้อย่อย ดังนี้

ก.อันโตชน ได้แก่ ชนภายใน ตั้งแต่พระมเหสี โอรส ธิดา จนถึงผู้ปฏิบัติราชการใน ทั้งหมด คือ คนในปกครองส่วนตัว ตั้งแต่บุตรธิดาเป็นต้นไป ด้วยให้การบำรุงเลี้ยงอบรมสั่งสอนเป็นต้น ให้อยู่โดยเรียบร้อยสงบสุข และมีความเคารพนับถือกัน ข.พลกาย ได้แก่ กองทัพ คือ ปวงเสนาข้าทหาร, ข้าราชการฝ่ายทหาร ค.ขัตติยะ ได้แก่ กษัตริย์ทั้งหลายผู้อยู่ในพระบรมเดชานุภาพ, เจ้าเมืองขึ้น, ปัจจุบันหมายถึงสงเคราะห์ชนชั้นปกครองและนักบริหารชั้นผู้ใหญ่ทั้งหลาย, ข้าราชการฝ่ายปกครอง ง.อนุยนต์ ได้แก่ผู้ตามเสด็จ คือ ราชบริพารทั้งหลาย, ปัจจุบันควรสงเคราะห์ข้าราชการฝ่ายพลเรือนทั้งหมด จ.พราหมณคฤหบดี ได้แก่ ชนเจ้าพิธี เจ้าตำรา พ่อค้า เจ้าไร่เจ้านา คือ ครูอาจารย์ นักวิชาการ หมอ ผู้ประกอบวิชาชีพต่างๆ และเกษตรกร ด้วยช่วยจัดหาทุนและอุปกรณ์เป็นต้น ฉ.เนคมชานบท ได้แก่ ชาวนิคมชนบท คือ ราษฎรทั้งปวงทุกท้องถิ่นตลอดถึงชายแดนทั่วไปไม่ทอดทิ้ง ช.สมณพราหมณ์ ได้แก่ พระสงฆ์และบรรพชิตผู้ทรงศีลทรงคุณธรรม ญ.มิคปักษี ได้แก่ มฤคและปักษี คือ สัตว์อันควรสงวนทั้งหลาย

๓.อธรรมการนิเสธนา หมายถึง ห้ามหรือกั้น มิให้มีการอันอธรรมเกิดขึ้นในพระราชอาณาเขต คือ จัดการป้องกัน แก้ไข มิให้มีการกระทำความผิดความชั่วร้ายเดือดร้อนเกิดขึ้นในบ้านเมือง

๔.ธนานุประทาน หมายถึง ปันทรัพย์เฉลี่ยให้แก่ชนผู้ไร้ทรัพย์ มิให้มีคนขัดสนยากไร้ในแว่นแคว้น

๕.ปริปุจฉา หมายถึง ปรึกษาสอบถามปัญหากับสมณพราหมณ์ ผู้ประพฤติดี ปฏิบัติชอบ ผู้ไม่ประมาทมัวเมา อยู่เสมอตามกาลอันควร เพื่อให้รู้ชัดการอันดีชั่ว ควรประกอบหรือไม่ เป็นไปเพื่อประโยชน์สุขหรือไม่ แล้วประพฤติปฏิบัติให้เป็นไปโดยถูกต้อง ข้อนี้ปัจจุบันสงเคราะห์นักปราชญ์นักวิชาการผู้ทรงคุณธรรมเข้าด้วย

จากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)

ตรวจสอบตัวสะกด

ควรตรวจสอบตัวสะกดให้ถูกต้องทุกครั้ง หากไม่แน่ใจ ให้เปิดพจนานุกรมใกล้มือ

ผม ว่า นโยบาย ข้อ นี้ ไม่ ควร มี ครับ, เพราะ wiki สามารถ แก้ไข ได้ ทุก เมื่อ. ถ้า มัว แต่ ตรวจสอบ ตัวสะกด ก็ ไม่ต้อง เขียน กัน พอ ดี. ดู เพิ่มเติม ที่ วิกิพีเดีย:ขอให้กล้าแก้ไขบทความ#แก้เลย ไม่ต้องกลัวผิด.

เรื่อง การ ทิ้ง ภาษาอังกฤษ เรี่ยราด นั้น ท่านอื่น เห็น ว่า อย่างไร ครับ? ผม ชอบ ทิ้ง เรี่ยราด เพราะ เน้น สะดวก, รอ ให้ คนอื่น มา แก้, แหะ แหะ :b การ ทิ้ง ไว้ จะ ทำให้ คนอื่น เห็น ได้ ชัดเจน, เห็น ปุ๊บ ก็ รู้ เลย ว่า ตรง นี้ ยัง แปล ไม่ เสร็จ, จะ ได้ รีบ เข้า มา แปล :) --Ans 13:12, 22 กันยายน 2005 (UTC)

ผมว่าจะงงนะครับ แล้วถ้ามีเยอะขึ้น ทุกคนทำเหมือนกันหมด เดี๋ยวกลายเป็นว่า เป็นวิกิพีเดียอังกฤษ ซะงั้น :P --Manop 15:45, 23 กันยายน 2005 (UTC)

--sunzo Sunzo (พูดคุย) 03:38, 2 พฤษภาคม 2560 (+07)[ตอบกลับ]

เลขไทย-อารบิก

ตัวเลขไทย ต้องแก้เป็นอารบิกหรือเปล่าครับ? -- --ธวัชชัย 11:50, 23 กันยายน 2005 (UTC)

  • เห็นควรว่าต้องแก้ครับ -- สามารถมีข้อยกเว้นได้ หากมีคำอธิบาย/เหตุผลที่ดีพอ (เช่น เป็นการยกอ้างข้อเขียนต้นฉบับ) -- แต่ถ้าเกิดไม่มีคำอธิบาย ก็ควรใช้เป็นอารบิกหมดครับ -- 172.181.79.60 20:37, 9 พฤษภาคม 2006 (UTC)
สรุปแล้วใช้ เลขอารบิก ตลอดเลยหรือครับ เพราะเห็นหลายบทความก็เป็นเลขไทย --PoSTeRWEB 16:00, 28 พฤศจิกายน 2006 (UTC)
ผมเห็นบทความส่วนมากที่เกี่ยวข้องกับพระราชวงศ์ไทยจะเป็นเลขไทย ซึ่งผมเห็นว่าสมควรแล้ว ส่วนบทความอื่น ๆ ยังไมเห็นเท่าไหร่ --ScorpianPK 16:03, 28 พฤศจิกายน 2006 (UTC)
ผมว่านะ ภาษาไทยของเราเป็นวัฒนธรรมประจำชาติที่น่าหวงแหน ควรสะกดให้ถูกต้อง ถ้าต้องทิ้งภาษาอังกฤษไว้ ก็ควรมีหมายเหตุเล็ก ๆ ไว้ก้ดี เผื่อว่ามีผู้รู้ที่สามารถช่วยเพิ่มเติมก็จะเป็นประโยชน์ไม่น้อย --19:50, 30 มกราคม 2007 (THAI) สำเริง สุดกระโทก

เนื้อหาสำคัญกว่ารูปแบบ

ใคร เห็นด้วย หรือ เห็นแย้ง อย่างไร, ขอ คำ ชี้แนะ ด้วย ครับ. --Ans 09:11, 11 ตุลาคม 2005 (UTC)

เห็นด้วยอย่างยิ่งครับ พร้อมทั้งเนื้อหาต้องถูกต้องและไม่ลำเอียง (ชอบ หรือ เกลียด)--Manop | พูดคุย 16:42, 11 ตุลาคม 2005 (UTC)
ถูกต้องที่สุดเพราะเนื้อหานั้นสามารถบอกเล่าเรื่องราวนั้น ๆ ให้เราได้ทราบ โดยผ่านรูปแบบที่สามารถเข้าใจได้อย่างกว่างขวาง ทั้งสองอย่างจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมาด้วยกัน ถ้ามีแต่รูปแบบเนื้อหาก็หดหายไปด้วยข้อบังคับ ถ้ามีแต่เนื้อหาไม่มีรูปแบบรองรับก็ทำให้เนื้อหาล้นเกินเข้าใจ ฉะนั้น จึงต้องมีเนื้อหาที่ถูกต้องตรง และมีรูปแบบที่ชัดเจนเข้าใจง่าย จะเป็นผลดีสำหรับคนรุ่นต่อไปที่จะต่อยอดเนื้อหาได้อย่างดี --19:50, 30 มกราคม 2007 (THAI) สำเริง สุดกระโทก
คุณสามารถละเลยได้ ถ้ามันเป็นอุปสรรคในการเขียนบทความของคุณ (เช่น คุณไม่อยากเสียเวลาเปิดพจนานุกรม หรือ คุณไม่มีความรู้ด้านหลักภาษาไทย เป็นต้น)

เหตุการณ์จำลอง,

  1. นาย ก. อ่านประโยคนี้แล้ว ตระหนักว่ามันผ่อนปรนได้
  2. นาย ก. อ่านคำแนะนำข้างล่าง ไปเรื่อยๆ ชักเริ่มกังวล. ไม่ต้องตรวจสอบตัวสะกดไม่ได้เหรอ?
  3. นาย ก. เหลือบไปเห็นข้อความตัวหนาๆ ด้านบนอีกครั้ง จึงได้กลับมาตระหนักอีกครั้งว่ามันผ่อนปรนได้

--Ans 08:12, 21 กุมภาพันธ์ 2007 (UTC)

วิกิพีเดียไม่มีวันสมบูรณ์ 100%

ข้อความว่า

วิกิพีเดียไม่มีวันสมบูรณ์ 100%. อย่าคาดหวังว่าวิกิพีเดียจะสมบูรณ์ 100%.

คิดว่า ไม่ค่อยเป็นนโยบายเท่าไร มีแนวโน้มทำให้คนเขียน เขียนแบบไม่ใส่ใจมากขึ้น --Manop | พูดคุย - 01:43, 4 ธันวาคม 2005 (UTC)

ผมคิดว่าข้อความดังกล่าวน่าจะเอาไว้สักที่น่ะครับ เพราะว่าคิดว่ามันน่าจะเป็นสิ่งที่ทุกคนควรจะตระหนัก จริง ๆ น่าจะเอาไปใส่ในหน้าที่อธิบายว่าวิกิพีเดียคืออะไร หรือว่า ในหน้าวิกิพีเดีย:ขอให้กล้าแก้ไขบทความ ท่านอื่น ๆ คิดว่าอย่างไรครับ --- Jittat 03:17, 4 ธันวาคม 2005 (UTC)
ไม่มีวันสมบูรณ์ กับ อย่าคาดหวังว่า ข้อความไม่ชวนตระหนักนะครับ เดี๋ยวคนจะเขียนพลอยหนีไป ฝากคุณ Jittat ลำดับข้อความใหม่ ให้เหมาะสมครับ --Manop | พูดคุย - 00:46, 5 ธันวาคม 2005 (UTC)
ได้ครับ เดี๋ยวจะลองดูนะครับ --- Jittat 01:06, 5 ธันวาคม 2005 (UTC)
มัน ก็ ชวน ตระหนัก และ เป็น ความจริง ที่ ต้อง ยอมรับ นะ ครับ ผม ว่า. ผม ว่า ไม่ควร โฆษณา ชวนเชื่อ จน เกิน ไป, เพราะ ถ้า ทำ ให้ มัน ดู สวยหรู, แล้ว มา เจอ ความจริง จะ ผิดหวัง ก็ หนี ไป อีก อยู่ ดี หนะ ครับ. --Ans 10:41, 7 ธันวาคม 2005 (UTC)
ถ้ามัน "สมบูรณ์ 100%" ก็แสดงว่าเพิ่มเติมแก้ไขอะไรไม่ได้แล้วสิครับ ? (มีอะไรที่สมบูรณ์กว่า 100% ?)
Wikipedia:Editing policy Perfection Not Required, or, The Joy of Editing
-- bact' คุย 02:09, 20 มกราคม 2006 (UTC)
To คุณ Manop: เป็น คำ แนะนำ ไง ครับ, ก็ เห็น ใน หน้า ศาลาประชาคม ก็ มี link เขียน มา ว่า "นโยบายและคำแนะนำ", ผม ก็ เลย ถือ โอกาส ใส่ คำแนะนำ เพิ่มเติม.
แล้ว ก็ จาก ที่ ว่า "เนื้อหาสำคัญกว่ารูปแบบ" มัน ก็ เหมือน บอก ว่า คุณ ไม่ต้อง "ใส่ใจ" กับ รูปแบบ ก็ ได้, ถ้า มัน ทำให้ คุณ เครียดเกินไป.
ขอ แต่ คุณ มี เจตนา ที่ ดี ที่ จะ ให้ วิกิพีเดีย เป็น แหล่ง ความรู้ ให้ กับ ผู้อ่าน ก็ เพียงพอ แล้ว (รึเปล่า หว่า? เดี๋ยว กลับ ไป คิด ต่อ ... โอ๊ย เครียด, เลิก คิด ดีกว่า, ช่าง มัน :D) --Ans 10:35, 7 ธันวาคม 2005 (UTC)
เท่าที่ผมดู คุณAns ได้ร่วมกับวิกิพีเดียมานานพอๆกับช่วงที่วิกิพีเดียเริ่ม แต่จะเน้นในทางด้านทำแม่แบบ และพูดคุยซะส่วนใหญ่ คุณAns ลองเริ่มต้นเขียนบทความซักระยะหนึ่ง หลังจากนั้นจะรู้ถึงแนวทางและปัญหาของวิกิพีเดียเหมือนที่ชาววิกิพีเดียคนอื่นได้เจอ ผมเห็นว่าเป็นการดีที่มาช่วยร่างนโยบาย แต่ถ้าไม่ได้ผ่านการเขียนมาก็จะไม่รู้กับปัญหาที่แท้จริงของงาน มีบทความหลายเรื่องในหมวดคอมพิวเตอร์ที่ กำลังต้องการความช่วยเหลือ ดูที่ได้ที่ Category:โครงซอฟต์แวร์ โดยเฉพาะพวก ลินุกซ์ ที่เป็นหัวข้อสำคัญอันหนึ่ง แต่ยังไม่มีเนื้อหานะครับ --Manop | พูดคุย - 23:36, 9 ธันวาคม 2005 (UTC)

ร่วม ร่าง/เสนอ/แปล นโยบาย/แนวปฏิบัติ

  1. กฎง่าย ๆ: 16 กฎง่าย ๆ เพื่อพ้นปัญหายุ่งยาก
  2. รายการนโยบาย: รายการนโยบาย 40 ข้อหรือประมาณนั้น ที่ใช้อยู่ในขณะนี้ พร้อมสรุปย่อ

นโยบายการแก้ไข

นโยบายการแก้ไขและใช้ได้ฟรี อันนี้สะดวก รวดเร็ว สำหรับการรับข้อมูลใหม่ๆ แต่มีปัญหาเรื่องการแก้ไขโดยเจตนาป่วน หรือเหตุใดก็ตาม มีผลให้เนื้อหาที่สมบูรณ์ หรือถูกต้องแล้ว ต้องคลาดเคลื่อนไปอีก อันนี้เป็นปัญหาที่คงจะคาดกันแล้วตั้งแต่เบื้องต้น

เท่าที่เขียน ใช้ แก้ไข และดูแลวิกิพีเดียมาพอสมควร ยังเห็นว่ามีปัญหาการแก้ไขข้อมูลที่ถูกต้องอยู่เรื่อยๆ เช่น

  • ลบเนื้อหาเกือบทั้งหมด
  • ลบวิกิต่างประเทศ
  • ลบหมวดหมู่
  • แก้ไขตัวเลย หรือข้อความบางส่วน

ฯลฯ

บทความบางชิ้นกว่าจะถูกแก้ไขคืน ก็ใช้เวลานาน ประเด็นก็คือ นี่เป็นสารานุกรม ผู้ที่เข้ามาอ่าน อาจได้ข้อมูลที่คลาดเคลื่อน

จึงอยากขอความเห็นจากผู้ใช้ทุกๆ ท่าน ว่าควรจะมีวิธีการจัดการ บริการ หรือดูแล บทความให้รัดกุม ปลอดการแก้ไขได้อย่างไรบ้าง นอกเหนือจากวิธีการที่ใช้กันอยู่แล้ว --ธวัชชัย 05:22, 24 พฤศจิกายน 2006 (UTC)

เห็นด้วยครับ มีปัญหาต้องย้อนกันหลายรอบเหมือนกัน เห็นในวิกิพีเดียอังกฤษมีวิธีป้องกันสำหรับ พวกที่ก่อกวน(โดยไม่ตั้งใจ) เช่นลบทั้งหน้า ลบวิกิต่างประเทศ โดยใช้บอตอัตโนมัติรันตลอดเวลานะครับ แต่ถ้าแก้ไขเฉพาะจุดก็ตรวจไม่ได้ แต่ก็ยังไม่รู้เหมือนกันว่าต้องเขียนโปรแกรมอย่างไร ผมเองก็เขียนโปรแกรมไม่เป็นกับเขาด้วยครับ --Manop | พูดคุย - 06:31, 24 พฤศจิกายน 2006 (UTC)

รูปแบบเชิงโครงสร้างสำคัญกว่าสิ่งที่มองเห็น

เดี๋ยวจะมีอธิบายว่า logical/physical view สำคัญต่างกันอย่างไร. --Ans 05:09, 21 กุมภาพันธ์ 2007 (UTC)