ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เรวัต พุทธินันทน์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
JJDPM (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
JJDPM (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 507: บรรทัด 507:


== เสียชีวิต ==
== เสียชีวิต ==
เรวัต พุทธินันทน์ ล้มป่วยด้วยโรคมะเร็งในสมอง ได้เดินทางไปรักษาตัวที่สหรัฐอเมริกาเป็นเวลาประมาณ 5 เดือน เมื่ออาการดีขึ้น หมออนุญาตให้กลับบ้านได้ หลังจากกลับประเทศไทยได้ประมาณ 2 เดือน อาการก็ทรุดลงอีก เต๋อเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลสมิติเวชเป็นเวลา 3 เดือน เรวัติ พุทธินันทน์เสียชีวิตเมื่อวันที่ [[27 ตุลาคม]] [[พ.ศ. 2539]] รวมอายุ 48 ปี มีพิธีพระราชทานเพลิงศพ เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2540<ref>[http://mcot-web.mcot.net/9ent/view.php?id=54099498be0470fea18b4574 5 กันยายน พ.ศ. 2491 เต๋อ เรวัติ]</ref>
เรวัต พุทธินันทน์ ล้มป่วยด้วยโรคมะเร็งในสมอง ได้เดินทางไปรักษาตัวที่สหรัฐอเมริกาเป็นเวลาประมาณ 5 เดือน เมื่ออาการดีขึ้น หมออนุญาตให้กลับบ้านได้ หลังจากกลับประเทศไทยได้ประมาณ 2 เดือน อาการก็ทรุดลงอีก เรวัตเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลสมิติเวชเป็นเวลา 3 เดือน เรวัต พุทธินันทน์เสียชีวิตเมื่อวันที่ [[27 ตุลาคม]] [[พ.ศ. 2539]] รวมอายุ 48 ปี มีพิธีพระราชทานเพลิงศพ เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2540 <ref>[http://mcot-web.mcot.net/9ent/view.php?id=54099498be0470fea18b4574 5 กันยายน พ.ศ. 2491 เต๋อ เรวัติ]</ref>


== คอนเสิร์ต ==
== คอนเสิร์ต ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 05:00, 17 กรกฎาคม 2560

เรวัต พุทธินันทน์
ไฟล์:Rewatgrammy.jpg
เต๋อ เรวัต ช่วงบั้นปลายชีวิต
เกิด5 กันยายน พ.ศ. 2491
กรุงเทพมหานคร, ประเทศไทย
เสียชีวิต27 ตุลาคม พ.ศ. 2539 (48 ปี)
โรงพยาบาลสมิติเวช กรุงเทพมหานคร
สัญชาติไทย ไทย
ชื่ออื่นเต๋อ เรวัติ
การศึกษาBachelor in Economics, Thammasat เศรษฐศาสตรบัณฑิต
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
อาชีพนักร้อง, นักแต่งเพลง, โปรดิวเซอร์
มีชื่อเสียงจากดิ อิมพอสซิเบิ้ล
โอเรียนเต็ล ฟังก์
ผู้ร่วมก่อตั้ง
บมจ.จีเอ็มเอ็มแกรมมี่
คู่สมรสอรุยา พุทธินันทน์ (พ.ศ. 2517 - 2539)
บุตรสุธาสินี พุทธินันทน์
สิดารัศมิ์ พุทธินันทน์

เรวัต พุทธินันทน์ (ชื่อเล่น เต๋อ ; เกิด (5 กันยายน พ.ศ. 2491-27 ตุลาคม พ.ศ. 2539) เป็นนักร้อง นักแต่งเพลง โปรดิวเซอร์ อดีตสมาชิกวงดิ อิมพอสซิเบิ้ล และวงโอเรียนเต็ล ฟังก์ อีกทั้งยังเป็นผู้ก่อตั้งบริษัท แกรมมี่ เอนเตอร์เทนเม้นท์ (หรือที่รู้จักกันดีในนามจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่) ร่วมกับ ไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม เมื่อ พ.ศ. 2526

เต๋อ เรวัต เป็นบุคคลสำคัญทางประวัติศาสตร์แห่งวงการเพลงไทย เป็นโปรดิวเซอร์ นักดนตรี นักแต่งเพลงในตำนาน เป็นผู้ปฏิวัติวงการเพลงไทยให้ไปสู่ยุคทองแห่งความเจริญรุ่งเรือง และผู้ริเริ่มความทันสมัยของดนตรีสมัยใหม่ให้กับประเทศไทย เป็นผู้บุกเบิกแนวเพลงสตริงอันทันสมัยให้กับการเพลงไทย ผู้นำแนวเพลง ร๊อค ป๊อบ แดนซ์ โมเดิร์นแจ๊ส ฟังค์ ฯลฯ เข้ามาเป็นที่นิยมในไทย เป็นผู้มีคุณูปการ มหาศาลแก่วงการเพลงไทย เป็นผู้ปลุกปั้นศิลปินให้มีชื่อเสียงและได้รับการยอมรับ เป็นบุคคลตัวอย่าง แรงบันดาลใจให้กับนักร้องนักดนตรีของเมืองไทย มาจวบจนสมัยนี้

ประวัติ

เรวัต เกิด 5 กันยายน พ.ศ. 2491 ที่กรุงเทพ เรวัตเป็นบุตรคนที่ 4 ในจำนวน 6 คน ของนาวาตรีทวีและนางอบเชย พุทธินันทน์ เริ่มการศึกษาที่โรงเรียนอนุบาลละอออุทิศ จบชั้นมัธยมศึกษาจากโรงเรียนเซนต์คาเบรียล และจบปริญญาตรีจากคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

เส้นทางดนตรี

เรวัตหัดเล่นดนตรีตั้งแต่อายุ 11 ปี โดยบิดาบังคับให้เรียนแซกโซโฟน เขากับเพื่อนๆ โรงเรียนเซนต์คาเบรียลตั้งวงดนตรี ชื่อ Dark Eyes ต่อมาเปลี่ยนชื่อวงเป็น Mosrite และเข้าประกวดในงานของสมาคมดนตรีแห่งประเทศไทย ได้รางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๑ ในปี พ.ศ. 2508 และ 2509 ขณะเรียนมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ใน พ.ศ. 2510 ได้ร่วมกับเพื่อนตั้งวง Yellow Red (เหลือง-แดง คือสีประจำมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) เพื่อนในวงคนสำคัญคือ ดนู ฮันตระกูล และจิรพรรณ อังศวานนท์

ต่อมาเรวัตได้ร่วมกับเพื่อนจากธรรมศาสตร์(Napasak Nop Manisuk) และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Chalermkiat Khor Amornsingha, Krit Jod Choktippattana) ตั้งวง The Thanks รับแสดงตามงานต่างๆ เน้นดนตรีร็อค เรวัตรับตำแหน่งร้องนำและ keyboard player (Porames Tee Vajarapana was the drummer)

เพื่อนร่วมวงคนหนึ่งคือ กฤษณ์ โชคทิพย์พัฒนา วง The Thanks มีชื่อเสียงได้เล่นสลับกับวงดิอิมพอสซิเบิ้ล ตามไนท์คลับต่างๆ

หลังเรียนจบ เรวัตได้รับการชักชวนให้ร่วมวงดิอิมพอสซิเบิ้ล และเดินทางกับวงไปแสดงที่ฮาวาย สหรัฐอเมริกาและยุโรป ในตำแหน่งนักร้องนำและเล่นคีย์บอร์ด เมื่อวงดิอิมพอสซิเบิลประกาศยุบวง เมื่อ พ.ศ. 2520 เขาตั้งวง โอเรียนเต็ลฟังก์ เล่นดนตรีฟังก์ ร่วมกับวินัย พันธุรักษ์ เล่นประจำที่โรงแรมมณเฑียร และตระเวนเปิดการแสดงในยุโรปและสหรัฐอเมริกา ในระหว่างนั้นเรวัตได้ศึกษาการเขียนเพลงและดนตรีเพิ่มเติม

ในปี พ.ศ. 2526 เรวัตร่วมกับ เพื่อนจากจุฬาฯไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม ก่อตั้งบริษัท แกรมมี่ เอนเตอร์เทนเม้นท์ เขาทำหน้าที่ดูแลด้านการผลิตเพลง ใช้เทคนิคการสร้างศิลปินแบบสากล คือขายทั้งความสามารถและภาพพจน์ ทำให้ผลงานของบริษัทประสบความสำเร็จแทบทุกชุด

เรวัตมีเอกลักษณ์ประจำตัวอีกหนึ่งอย่างคือ ชอบไว้หนวด

ผลงานดนตรี

ดิ อิมพอสซิเบิ้ล

อัลบั้มเดี่ยว

ปี ชื่ออัลบั้ม เพลง
2526 เต๋อ 1
  1. ที่แล้วก็แล้วไป
  2. ดอกฟ้ากับหมาวัด
  3. มือน้อย
  4. เจ้าสาวที่กลัวฝน
  5. เศร้า
  6. อยากรู้นัก
  7. สาวเอยจะบอกให้
  8. เพื่อนเอย
  9. หมู่บ้านในนิทาน
  10. ยิ่งสูงยิ่งหนาว
2528 เต๋อ 2
  1. ดอกไม้พลาสติก
  2. อกหักไม่ยักกะตาย
  3. มันแปลกดีนะ
  4. ชายแปลกหน้า
  5. เสี้ยวอารมณ์
  6. ณ.โลกสีขาว
  7. เมื่อรักมาเยือน
  8. เป็นเวรเป็นกรรม
  9. กำลังใจ
  10. บทเพลงเพื่อเด็ก
2529 เต๋อ 3
  1. สองเราเท่ากัน
  2. สมปองน้องสมชาย
  3. ไม่สายเกินไป
  4. เพื่อน
  5. ฝัน
  6. เมืองใหญ่เมืองนี้
  7. ปากคน
  8. ใจของเรา
  9. คงจะมีสักวัน
2530 ชอบก็บอกว่าชอบ
  1. ชอบก็บอกชอบ
  2. อย่างน้อยก็คิดดี
  3. เมืองใหญ่เมืองนี้
  4. ยิ่งสูงยิ่งหนาว
  5. ชายแปลกหน้า
  6. ดอกไม้พลาสติก
  7. เพื่อนเอย
  8. มือน้อย
  9. สองเราเท่ากัน
  10. บทเพลงเพื่อเด็ก
  11. ฝัน
  12. ที่แล้วก็แล้วไป
  13. เจ้าสาวที่กลัวฝน
  14. กำลังใจ
  15. คงจะมีสักวัน

ผลงานโปรดิวเซอร์

เรามาร้องเพลงกัน/เรวัต พุทธินันทน์ และ วงคีตกวี (2525)

  • ไม่เป็นไร
  • เรามาร้องเพลงกัน
  • ทุก ๆ คน (เป็นคนดี)
  • เธอ
  • ดนตรี คีตา (เวหาจักรวาล)
  • ทำอยู่ทำไป
  • ฮูเลเล
  • วีณาแกว่งไกว
  • ขลุ่ยผิว (กอไผ่บรรเลง)
  • ดอกไม้ไปไหน
  • ดนตรีคีตา (ภาคลาโรง)

นิยายรักจากก้อนเมฆ/พ.ญ. พันทิวา สินรัชตานันท์ (2526)

  • นิยายรักจากก้อนเมฆ
  • ชูใจ
  • หนึ่งมนต์ที่ฉันขอ
  • ต้องทำใจ
  • เปรียบดวงใจดั่งใบไม้
  • วันแรกเจอ
  • ริมถนนสายอดีต
  • แด่มดปลวก
  • บันทึกความจำ
  • ดิน ฟ้า ป่าเดียวกัน


เต๋อ 1/เรวัต พุทธินันทน์ (2526)

  • ที่แล้วก็แล้วไป
  • ดอกฟ้ากับหมาวัด
  • มือน้อย
  • เจ้าสาวที่กลัวฝน
  • เศร้า
  • อยากรู้นัก
  • สาวเอยจะบอกให้
  • เพื่อนเอย
  • หมู่บ้านในนิทาน
  • ยิ่งสูงยิ่งหนาว


นันทิดา' 27/นันทิดา แก้วบัวสาย (2527)

  • เกือบไปแล้ว
  • คอยไปบ่นไป
  • น้ำตาอุ่น ๆ
  • แมวแสนซน
  • ภาษา (ของคน)
  • รักเป็นอย่างไร
  • ดี.เจ.เสียงใส
  • ความรักสีดำ
  • ทำไม
  • ละคอนฉากสุดท้าย

ฉันเป็นฉันเอง/ฐิติมา สุตสุนทร (2527)

  • ผู้หญิงคนนี้
  • ไดอารี่สีแดง
  • ต้องคืนนี้
  • เชิ้ตแขนยาว-ไทเสีเทา
  • แตกต่างกันตรงไหน
  • รักเป็นเช่นไอติม
  • อย่าเขินเลย
  • เบื่อ
  • เหงากับเพลงเศร้า ๆ
  • เธอและฉัน

วันอาทิตย์/บาราคูดัส (2527)

  • ไก่กับไข่
  • เช้าวันอาทิตย์
  • ฟีล-ลา-เฟ้ย...ย
  • ขอโทษที
  • เตะฝุ่น
  • ภาพถ่าย
  • เด็กกับฝน
  • ก้างขวางคอ
  • บางสิ่งบางอย่าง
  • ฉันผิดเอง

ผู้ชายเฉิ่มเฉิ่ม/ทูน หิรัญทรัพย์ (2527)

  • คำหวานหวาน
  • ผู้ชายเฉิ่ม...เฉิ่ม
  • โปรดจงตัดสินใจ
  • เธอคนสุดท้าย
  • สายนัยน์ตาฝัน
  • รักเบ้อเริ่มเฮิ่ม
  • ด้วยรักและเทิดทูน
  • เก็บน้ำตาไว้เถิดคนดี
  • อยู่คนเดียว
  • หนทางแห่งรัก

คำก้อน/โซดา (2528)

  • คำก้อน
  • ไปเธค
  • กีตาร์พาฝัน
  • สาวสเก็ต
  • ปลายคลื่น
  • ฉันยังจำได้เสมอ
  • คอยรักกลับคืน
  • สิ่งที่ฉันเห็น
  • หารัก
  • เด็กซิ่ง

หนุ่มดอยเต่า/นกแล (2528)

  • หนุ่มดอยเต่า
  • มาโรงเรียน
  • ร้องไห้หาแม่
  • สุดสาคร
  • นกแล
  • กิ๋นกำหน้อย
  • เลือกเกิดไม่ได้
  • อย่าหลงผิด
  • กระต่ายน้อย
  • คืนถิ่น

เต๋อ 2/เรวัต พุทธินันทน์ (2528)

  • ดอกไม้พลาสติก
  • อกหักไม่ยักกะตาย
  • มันแปลกดีนะ
  • ชายแปลกหน้า
  • เสี้ยวอารมณ์
  • ณ โลกสีขาว
  • เมื่อรักมาเยือน
  • เป็นเวรเป็นกรรม
  • กำลังใจ
  • บทเพลงเพื่อเด็ก

ชายน้ำ/พญ.พันทิวา สินรัชตานันท์(2529)

  • ชายน้ำ
  • เด็ก...แมลง...ดอกไม้
  • ธรรมชาติแสนสวย
  • โลกนี้...เป็นพี่น้องกัน
  • ความหวังของเด็ก ๆ
  • หนูน้อยผู้บริสุทธิ์
  • ดอกหญ้าของแมลงปอ
  • ผู้หญิงกับดอกไม้
  • ชีวิตต้องสู้
  • ด้วยปีกของรัก

เรามีเรา/ฐิติมา สุตสุนทร (2529)

  • เรามีเรา
  • ตัวเก่ามั้ง
  • จดหมายร้าง
  • แข่งได้แข่งไป
  • ไม่ขายความรัก
  • เป็นเพราะโลกกลม
  • แอบฝัน
  • น้ำตาเทียน
  • กลัวไม่จริง
  • ส่งยิ้มกันนะ

หาดทราย สายลม สองเรา/ธงไชย แมคอินไตย์ (2529)

  • ฝากฟ้าทะเลฝัน (หาดทราย สายลม สองเรา)
  • ด้วยรักและผูกพัน
  • ของของนาย
  • ผ่านมา-ผ่านไป
  • เป็นยังไงกัน
  • บันทึกหน้าสุดท้าย
  • แล้วเธอก็จากไป
  • อย่าไปหาเลยเธอ
  • (จะ) บ่นไปทำไม
  • เกินเป็นตัวละคอน

อุ๊ย/นกแล (2529)

  • ลองดู
  • อุ๊ย
  • ลักเตี่ยว
  • สงกรานต์
  • ดอยเต่าอินเจแปน
  • พร้อมใจ
  • บ้านเฮา
  • อย่ากินทิ้งขว้าง
  • ลูกแม่ระมิงค์
  • ก.ไก่กินข้าว
  • บ่ถ้ากิ๊ดนัก

เต๋อ 3/เรวัต พุทธินันทน์ (2529)

  • สองเราเท่ากัน
  • สมปองน้องสมชาย
  • ไม่สายเกินไป
  • เพื่อน
  • ฝัน
  • เมืองใหญ่เมืองนี้
  • ปากคน
  • ใจของเรา
  • คงมีสักวัน

เมื่อวันฟ้าสวย/นันทิดา แก้วบัวสาย (2529)

  • แอบมอง
  • หักใจให้ลืม

สบาย สบาย/ธงไชย แมคอินไตย์ (2530)

  • สบาย สบาย
  • เหมือนเป็นคนอื่น
  • พอจะมีสิทธิ์ไหม
  • เหงา
  • วอนลม
  • ฝากลม
  • ทั้งทั้งที่เข้าใจ
  • ความหวังใหม่ (กำลังใจ 2)
  • เขายังคอย
  • วันของเรา

สิบล้อมาแล้ว !/นกแล (2530)

  • สิบล้อมาแล้ว
  • ค.ย.คำย่อ
  • อย่าลืมน้องสาว
  • มีวัวมาขาย
  • รอไปก่อน
  • สบายใจไทยแลนด์
  • หมาน้อยเอย
  • ลูกทหาร
  • เกิดเป็นเทวดา
  • เกิดเป็นคน

คนที่รู้ใจ/ฐิติมา สุตสุนทร(2530)

  • อยากให้คิดอีกครั้ง
  • คิดถึงกันบ้างไหม

ชอบก็บอกชอบ/เรวัต พุทธินันทน์ (2530)

  • ชอบก็บอกชอบ
  • อย่างน้อยก็คิดดี

รับขวัญวันใหม่/ธงไชย แมคอินไตย์ (2530)

  • ขอบใจจริง ๆ
  • ไม่รู้เหมือนกัน
  • หมั่นคอยดูแลและรักษาดวงใจ
  • ร้องเพลงกันหน่อย
  • ตามใจเธอ
  • เราจะยิ้มให้กัน
  • กลับมาอยู่กลางใจเธอ
  • ยอม
  • แต่ก็ยังรักเธอ
  • ใครจะรู้
  • คิดเอาเอง

พ.ศ. 2501/ธงไชย แมคอินไตย์ (2531)

  • ท่าฉลอม
  • คำมั่นสัญญา
  • สุริยัน-จันทรา
  • พี่ยังรักเธอไม่คลาย
  • รักเอ๋ยรักข้า
  • ชั่วนิจนิรันดร
  • ยามรัก
  • สุดที่รักเอย
  • ชั่วฟ้าดินสลาย
  • ที่รัก
  • นกขมิ้น

กีตาร์โต๊ะ/วสันต์ โชติกุล และ อีสซึ่น (2531)

  • เลยตามเลย
  • ให้เธอ
  • ห้องของฉัน
  • อาจจะพอแล้ว
  • ชีวิตกับความหวัง
  • พบกันครึ่งทาง
  • มาร์ชคนง่วงนอน
  • อยากกลับบ้าน
  • รีบทำ
  • หัวใจมันเบื่อ
  • จะเรียนรู้

ส.ค.ส./ธงไชย แมคอินไตย์ (2531)

  • คนข้างบ้าน
  • เสียงกระซิบ
  • ใจเย็น ๆ
  • นางนวล
  • ส.ค.ส.
  • หัวใจช้ำ ๆ
  • ว่าง ๆ มารักกันหน่อย
  • อยู่เพื่อใคร
  • จับมือกันไว้
  • ใต้แสงจันทร์
  • หนูอยากเป็นอะไร

เรวัต พุทธินันทน์ 2531

  • สวรรค์วันเดียว
  • ตะกายดาว

ขึ้นโต๊ะ/วสันต์ โชติกุล (2535)

  • ขึ้นโต๊ะ
  • แทนคำนั้น
  • เชิญแขก
  • ไม่มีทาง
  • สับสน
  • ช่างมันนะ
  • ฝันที่สวยงาม
  • ตกใจ
  • ทุกที ทุกที่เลย

นินจา/คริสติน่า อากีล่าร์ (2534)

  • พลิกล็อก
  • ร้อน
  • นินจา
  • เปล่าหรอกนะ
  • คุณวรพล
  • อย่าไปเสียน้ำตา
  • ขอคืน
  • ประวัติศาสตร์
  • หัวใจขอมา
  • เรื่องเก่า เล่าใหม่
  • คำถามที่ต้องตอบ


ผลงานเพลงอื่นๆ
  • รักเธอมากกว่า (รักในรอยแค้น)
  • สามหนุ่ม สามมุม (ปี 34)
  • นางฟ้าสีรุ้ง
  • คน ค้น คน
  • หลายเลี้ยวเชียวนะ
  • ความสุข ความทรงจำ ไม่มีสิ้นสุด
  • ฉันยังปอด ๆ
  • คุณหมอดู
  • เธอจ๋าเธอ
  • อะไรหนอ
  • ดอกเอื้อง
  • เพราะรักหรอกนะ
  • อย่าร้อนใจ
  • ขอเพียงฉันกับเธอ
  • เพื่อนยุ
  • สักวันต้องได้ดี (เพื่อเธอ)
  • สามหนุ่ม สามมุม (ปี 35)
  • สามหนุ่ม สามมุม (ปี 37)
ผลงานในนามอื่น
  • นกน้อย
  • นางนวล
  • หัวใจช้ำ ๆ
  • ใจเย็น ๆ
  • ไม่รู้เหมือนกัน
  • ร้องเพลงกันหน่อย
  • กลับมาอยู่กลางใจเธอ
  • แต่ก็ยังรักเธอ
  • เทวดาทำเมิน
  • พอใจ
  • รักเธอคนเดียว

อัลบั้มรวมศิลปิน

  • เรามาร้องเพลงกัน (2525) เป็นโครงการพิเศษเมื่อปี 2525 ของ เรวัต พุทธินันทน์ และ วงคีตกวี ซึ่งเป็นการรวมตัวกัน ของกลุ่มคนดนตรี บัตเตอร์ฟลาย (วงดนตรี) และโรงเรียนดนตรี ศศิลิยะ โดย เขตต์อรัญ เลิศพิพัฒน์, ดนู ฮันตระกูล, จิรพรรณ อังศวานนท์, กฤษณ์ โชคทิพย์พัฒนา, สุรสีห์ อิทธิกุล, อนุวัฒน์ สืบสุวรรณ, อัสนี โชติกุล และผู้ร่วมงานอีกมากมาย

อัลบั้มพิเศษ

Alive (พ.ศ. 2556) (ในรูปแบบ BOXSET 8 แผ่น) อัลบั้มนี้เป็นการทำงานร่วมกันระหว่าง เรวัต พุทธินันทน์ กับ ชาตรี คงสุวรรณ ที่ร่วมกันทำงานเพลงในเวอร์ชันใหม่ ดนตรีใหม่ และเสียงร้องใหม่ทั้งหมด 10 เพลง [1] รายละเอียดแผ่นแต่ละแผ่นมีดังนี้

  • แผ่นที่ 1 – 2 – 3 อัลบั้ม เต๋อ 1, เต๋อ 2, เต๋อ 3
  • แผ่นที่ 4 เพลงประกอบละคร
  • แผ่นที่ 5 อัลบั้ม เรามาร้องเพลงกัน
  • แผ่นที่ 6 DVD CONCERT “ปึ้กกก...!”
  • แผ่นที่ 7 DVD CONCERT “จากเพื่อน พี่และน้อง แด่เรวัต พุทธินันทน์”[2]
  • แผ่นที่ 8 DVD THE ORIGINAL MUSIC VIDEO [3]

อีกทั้งยังมีอัลบั้มรูปของเรวัติ พุทธินันทน์มากมายที่ใช้ชื่อว่า LIVE & LOVE PHOTO BOOK REWAT BUDDHINAN

ภาพยนตร์

น้ำพุ รับบทเป็น น้ารัญ ปี พ.ศ. 2527

เพื่อนปี 2529 (อนุสรา จันทรังษี, เพ็ญ พิสุทธิ์)

ชีวิตส่วนตัว

เรวัต สมรสกับ อรุยา สิทธิประเสริฐ เป็นเพื่อนในคณะ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อ พ.ศ. 2517 มีบุตรสาวสองคนคือ สุธาสินี และสิดารัศมิ์

เสียชีวิต

เรวัต พุทธินันทน์ ล้มป่วยด้วยโรคมะเร็งในสมอง ได้เดินทางไปรักษาตัวที่สหรัฐอเมริกาเป็นเวลาประมาณ 5 เดือน เมื่ออาการดีขึ้น หมออนุญาตให้กลับบ้านได้ หลังจากกลับประเทศไทยได้ประมาณ 2 เดือน อาการก็ทรุดลงอีก เรวัตเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลสมิติเวชเป็นเวลา 3 เดือน เรวัต พุทธินันทน์เสียชีวิตเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2539 รวมอายุ 48 ปี มีพิธีพระราชทานเพลิงศพ เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2540 [4]

คอนเสิร์ต

ชื่อคอนเสิร์ต วันที่ สถานที่
ปึ้กกกก...เต๋อ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2529 อินดอร์ สเตเดี้ยม หัวหมาก[5] [6]

วัฒนธรรมสมัยนิยม

เต๋อ เรวัติถูกนำมาเป็นที่กล่าวถึงในโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮลล์ จอห์นนี่วอล์กเกอร์ ในชุดที่ถ่ายทอดเรื่องราวเบื้องหลังความสำเร็จ [7][8]

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น