ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การรุกรานรัสเซียโดยฝรั่งเศส"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Setawut (คุย | ส่วนร่วม)
Отечественная война ใช้แบบเดี่ยวกับ แนวรบด้านตะวันออก
บรรทัด 32: บรรทัด 32:
}}
}}


'''การรุกรานรัสเซียของฝรั่งเศส''' ({{lang-en|French invasion of Russia}}) หรือในรัสเซียรู้จักกันในชื่อ '''สงครามปิตุภูมิปี 1812''' ({{lang-ru|''Отечественная война 1812 года''}}) หรือในฝรั่งเศสรู้จักกันในชื่อ '''ปฏิบัติการรัสเซีย''' ({{lang-fr|''Campagne de Russie''}}) เริ่มต้นขึ้นในวันที่ 24 มิถุนายน ค.ศ. 1812 เมื่อ[[กองทัพใหญ่]]ของ[[จักรพรรดินโปเลียนที่ 1]] ทำการข้าม[[แม่น้ำเนมัน]]เพื่อหวังเข้าต่อสู้และพิชิตทัพรัสเซีย ซึ่งนโปเลียนหวังที่จะบังคับให้ [[ซาร์]] [[อเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งรัสเซีย]] ยุติการติดต่อค้าขายกับพวกพ่อค้าอังกฤษ ซึ่งนโปเลียนหวังใช้เป็นข้อกดดันทางอ้อมให้อังกฤษสูญเสียรายได้จนต้องขอเข้าสู่กระบวนการสันติภาพกับฝรั่งเศส{{sfn|Caulaincourt|2005|p=9}} และปฏิบัติการนี้ก็ยังมีเป้าหมายเพื่อแย่งชิงโปแลนด์มาจากรัสเซีย
'''การรุกรานรัสเซียของฝรั่งเศส''' ({{lang-en|French invasion of Russia}}) หรือในรัสเซียรู้จักกันในชื่อ '''สงครามของผู้รักชาติปี 1812''' ({{lang-ru|''Отечественная война 1812 года''}}) หรือในฝรั่งเศสรู้จักกันในชื่อ '''ปฏิบัติการรัสเซีย''' ({{lang-fr|''Campagne de Russie''}}) เริ่มต้นขึ้นในวันที่ 24 มิถุนายน ค.ศ. 1812 เมื่อ[[กองทัพใหญ่]]ของ[[จักรพรรดินโปเลียนที่ 1]] ทำการข้าม[[แม่น้ำเนมัน]]เพื่อหวังเข้าต่อสู้และพิชิตทัพรัสเซีย ซึ่งนโปเลียนหวังที่จะบังคับให้ [[ซาร์]] [[อเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งรัสเซีย]] ยุติการติดต่อค้าขายกับพวกพ่อค้าอังกฤษ ซึ่งนโปเลียนหวังใช้เป็นข้อกดดันทางอ้อมให้อังกฤษสูญเสียรายได้จนต้องขอเข้าสู่กระบวนการสันติภาพกับฝรั่งเศส{{sfn|Caulaincourt|2005|p=9}} และปฏิบัติการนี้ก็ยังมีเป้าหมายเพื่อแย่งชิงโปแลนด์มาจากรัสเซีย


== เหตุการณ์ ==
== เหตุการณ์ ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 20:51, 13 กรกฎาคม 2560

การรุกรานฝรั่งเศสของรัสเซีย
ส่วนหนึ่งของ สงครามนโปเลียน

ตามเข็มฯจากบนซ้าย: 1) ยุทธการที่โบโรจีโน, 2) เพลิงไหม้ในมอสโก, 3) มีแชล แน ในยุทธการเคานัส, 4) การถอนกำลัง
วันที่24 มิถุนายน  – 14 ธันวาคม 1812
(5 เดือน 2 สัปดาห์ 6 วัน)
สถานที่
ผล ชัยชนะของรัสเซีย[1]
กองทัพใหญ่ของนโปเลียนล่มสลาย
เริ่มสงครามสัมพันธมิตรครั้งที่หก
คู่สงคราม

ฝรั่งเศส จักรวรรดิฝรั่งเศส

พันธมิตร:
จักรวรรดิออสเตรีย จักรวรรดิออสเตรีย
ราชอาณาจักรปรัสเซีย ราชอาณาจักรปรัสเซีย
เดนมาร์ก เดนมาร์ก–นอร์เวย์
จักรวรรดิรัสเซีย จักรวรรดิรัสเซีย
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
ฝรั่งเศส นโปเลียนที่ 1
ฝรั่งเศส หลุยส์-อาแล็กซ็องดร์ แบร์ตีเย
ฝรั่งเศส หลุยส์-นีกอลา ดาวู
ฝรั่งเศส มีแชล แน
ฝรั่งเศส ฌัก แม็กโดนัลด์
ฝรั่งเศส นีกอลา อูดีโน
เจโรม โบนาปาร์ต
ยูเซฟ ปอเนียตอฟสกี
ฌออากีม มูว์รา
ราชอาณาจักรอิตาลี (นโปเลียน) เออแฌน เดอ โบอาร์แน
จักรวรรดิออสเตรีย เจ้าชายคาร์ล ฟิลิป
ราชอาณาจักรปรัสเซีย โยฮันน์ ยอร์ก
ราชอาณาจักรปรัสเซีย ยูลิอุส ฟอน กราแวร์ต
เดนมาร์ก โยฮันน์ เอวัลด์[2][3]
จักรวรรดิรัสเซีย อเล็กซานเดอร์ที่ 1
จักรวรรดิรัสเซีย มีฮาอิล คูตูซอฟ
จักรวรรดิรัสเซีย ไมเคิล บาร์เคลย์
จักรวรรดิรัสเซีย ปีย็อตร์ บากราชัน 
จักรวรรดิรัสเซีย เจ้าชายวิตเก็นสตีน
จักรวรรดิรัสเซีย อเล็กซานเดอร์ ตอร์มาซอฟ
จักรวรรดิรัสเซีย ปาเวล ชีชากอฟ
กำลัง
กองทัพใหญ่:
~685,000 นาย[4]
กองทัพจักรวรรดิรัสเซีย:
มากที่สุด ~900,000 นาย[4]
ความสูญเสีย
เสียชีวิต: ~400,000 นาย[5][6]
เหลือรอด: 120,000 นาย (ในจำนวนนี้เป็นทหารฝรั่งเศส 35,000 นาย)
เสียชีวิต: 210,000 นาย[7]

การรุกรานรัสเซียของฝรั่งเศส (อังกฤษ: French invasion of Russia) หรือในรัสเซียรู้จักกันในชื่อ สงครามของผู้รักชาติปี 1812 ([Отечественная война 1812 года] ข้อผิดพลาด: {{Lang-xx}}: ข้อความมีมาร์กอัปตัวเอียง (ช่วยเหลือ)) หรือในฝรั่งเศสรู้จักกันในชื่อ ปฏิบัติการรัสเซีย ([Campagne de Russie] ข้อผิดพลาด: {{Lang-xx}}: ข้อความมีมาร์กอัปตัวเอียง (ช่วยเหลือ)) เริ่มต้นขึ้นในวันที่ 24 มิถุนายน ค.ศ. 1812 เมื่อกองทัพใหญ่ของจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ทำการข้ามแม่น้ำเนมันเพื่อหวังเข้าต่อสู้และพิชิตทัพรัสเซีย ซึ่งนโปเลียนหวังที่จะบังคับให้ ซาร์ อเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งรัสเซีย ยุติการติดต่อค้าขายกับพวกพ่อค้าอังกฤษ ซึ่งนโปเลียนหวังใช้เป็นข้อกดดันทางอ้อมให้อังกฤษสูญเสียรายได้จนต้องขอเข้าสู่กระบวนการสันติภาพกับฝรั่งเศส[8] และปฏิบัติการนี้ก็ยังมีเป้าหมายเพื่อแย่งชิงโปแลนด์มาจากรัสเซีย

เหตุการณ์

บุกรัสเซีย

กองทัพใหญ่เป็นมหากองทัพที่มีทหารมากถึง 680,000 นาย (เป็นทหารฝรั่งเศสราว 300,000) นโปเลียนเคลื่อนพลเข้าไปทางตะวันตกของรัสเซียอย่างรวดเร็วโดย และพยายามให้กองทัพรัสเซียเข้าปะทะ การปะทะเล็กหลายครั้งรวมถึงศึกใหญ่ที่สโมเลนสค์ในสิงหาคมนั้น นโปเลียนเป็นฝ่ายชนะอยู่เสมอ แม้จะรุกคืบได้เสมอแต่ก็ไม่เป็นที่พอใจของนโปเลียน เนื่องจากกองทัพรัสเซียได้หลีกเลี่ยงการต่อสู้ตลอดและถอยลึกเข้าไปในแผ่นดินรัสเซีย ทิ้งเมืองสโมเลนสค์ไว้ในกองเพลิง ทำให้แผนการที่จะทำลายกองทัพรัสเซียที่สโมเลนสค์นั้นต้องเป็นหมันไป และนำทัพไล่ตามกองทัพรัสเซีย[9]

ในระหว่างที่ทัพรัสเซียล่าถอยลึกเข้าไปในแผ่นดิน แม่ทัพรัสเซียก็สั่งให้พวกคอสแซคเผาทำลายหมู่บ้าน, เมือง และทุ่งข้าวโพดระหว่างทางผ่านให้สิ้น[8] เพื่อหวังไม่ให้กองทัพนโปเลียนมาใช้ประโยชน์ได้ กลยุทธ Scorched earth ของฝ่ายรัสเซียนี้ สร้างความความยุ่งยากและความตะลึงแก่กองทัพนโปเลียนเป็นอันมากว่ารัสเซียจะสามารถทำร้ายแผ่นดินและราษฏรของตนเองเพียงเพื่อสกัดกั้นทัพข้าศึก ซึ่งยากที่แม่ทัพฝรั่งเศสจะเอาอย่างได้[10] ด้วยเหตุฉะนี้ กองทัพนโปเลียนจึงจำต้องพึ่งแต่กองสนับสนุนทางเสบียง ซึ่งเสบียงที่ขนส่งมากก็ไม่พอเลี้ยงหองทัพมหึมาทั้งกองทัพ ความขาดแคลนเสบียงบังคับให้ทหารจำต้องออกจากค่ายในเวลากลางคืนเพื่อหาอาหาร ซึ่งบ่อยครั้งที่ทหารเหล่านี้ต้องถูกจับหรือถูกฆ่าตายโดยพวกคอสแซค

กองทัพรัสเซียใช้เวลาราวสามเดือนในการถอยทัพลึกเข้าไปในแผ่นดิน การสูญเสียดินแดนจำนวนมากแก่นโปเลียนเริ่มทำให้ขุนนางรัสเซียกลัดกลุ้ม พวกขุนนางจึงรวมตัวกดดันซาร์อเล็กซานเดอร์ที่ 1 ให้ปลดจอมพล ไมเคิล บาร์เคลย์ ผู้บัญชาการกองทัพจักรวรรดิรัสเซียเชื้อสายสก็อตแลนด์ลงจากตำแหน่ง ในที่สุดพระองค์ก็ยินยอมแต่งตั้งทหารเก่าแก่ จอมพล มีฮาอิล คูตูซอฟ ขึ้นมาเป็นผู้บัญชาการกองทัพแทนอย่างไม่ค่อยยินดีพระทัยนัก กระบวนการถ่ายโอนตำแหน่งนี้กินเวลากว่าสองสัปดาห์

วันที่ 7 กันยายน กองทัพนโปเลียนก็เผชิญหน้ากับกองทัพรัสเซียที่ขุดดินซุ่มอยู่เชิงเขาก่อนถึงหมู่บ้านเล็กๆที่ชื่อโบโรจีโน ราว 110 กิโลเมตรทางตะวันตกของมอสโก การปะทะในวันนั้นถือเป็นการปะทะที่นองเลือดที่สุดในวันเดียวของสงครามนโปเลียน ซึ่งมีทหารเสียชีวิตกว่ากว่า 70,000 นาย แม้ว่าฝ่ายนโปเลียนจะได้รับชัยชนะในเชิงยุทธวิธี แต่ก็ต้องเสียนายพลไปถึง 49 นายและทหารอีกหลายหมื่น กองทัพรัสเซียที่เหลือรอดสามารถหนีไปได้ในวันต่อมา[11]

ยึดมอสโก

หนึ่งสัปดาห์ต่อมาในวันที่ 14 กันยายน นโปเลียนกรีฑาทัพถึงมอสโก ซึ่งสร้างความงุนงงแก่เหล่าทหารมากที่เมืองทั้งเมืองเป็นเมืองร้างที่แทบไร้ผู้คน เนื่องจากรัสเซียได้อพยพผู้คนเกือบทั้งหมดออกไปก่อนหน้าแล้ว จุดยุทธศาสตร์ในมอสโกจำนวนมากก็ได้ถูกเผาตามคำสั่งของนายกเทศมนตรี นโปเลียนตัดสินใจปักหลักในมอสโกเพื่อรอให้รัสเซียประกาศยอมแพ้ แต่การเสียมอสโกซึ่งเป็นเมืองหลวงแห่งที่สองก็ไม่ทำให้ซาร์แห่งรัสเซียยอมจำนน อย่างไรก็ตามทั้งสองฝ่ายต่างตระหนักดีถึงความโหดร้ายของหน้าหนาวในรัสเซีย เช่นนั้นแล้วก่อนที่จะเข้าสู่ฤดูหนาวอย่างเต็มตัว นโปเลียนจึงจำเป็นต้องพิชิตรัสเซียให้เร็วที่สุด นโปเลียนรออยู่ในมอสโกหนึ่งเดือนเศษก็ยกทัพไปตะวันตกเฉียงใต้ยังเมืองคาลูกา ซึ่งจอมพลคูตูซอฟแห่งรัสเซียตั้งค่ายทัพหลวงอยู่ที่นั่น

นโปเลียนถอนทัพ

กองทัพนโปเลียนต้องเผชิญสภาพอากาศเลวร้ายระหว่างถอนทัพ

การเคลื่อนพลของนโปเลียนไปยังคาลูกาถูกจับตาโดยหน่วยสอดแนมของรัสเซีย นโปเลียนได้ปะทะกับรัสเซียอีกครั้งที่มาโลยาโรสลาเวตในวันที่ 24 ตุลาคม แม้ว่าจะได้รับชัยชนะ แต่นโปเลียนก็เลิกล้มที่จะไปยังคาลูกาเนื่องจากเริ่มเข้าฤดูหนาวและตัดสินใจถอนทัพออกจากรัสเซีย ซึ่งระหว่างที่ถอนกำลัง กองทัพนโปเลียนก็ต้องเผชิญกับความหฤโหดของหน้าหนาวในรัสเซีย ทั้งการขาดที่พักและเสบียงทั้งของทหารและม้า (ผลจากยุทธวิธี Scorched earth ของรัสเซีย), ความขาดแคลนเสื้อกันหนาว, ภาวะตัวเย็นเกิน, ภาวะเหน็ดเหนื่อย ทำให้กองทัพนโปเลียนด้อยศักยภาพลง นี่จึงเป็นโอกาสทองของรัสเซีย รัสเซียได้ทีจึงยกทัพคอยตามตีอยู่เนืองๆ ในวันที่กองทัพนโปเลียนข้ามแม่น้ำเบเรซีนาในเดือนพฤศจิกายน มีทหารที่พร้อมรบเหลือเพียง 27,000 นาย กองทัพใหญ่ได้สูญเสียกำลังพลในปฏิบัติการนี้ถึง 380,000 นายและตกเป็นเชลยอีกกว่า 100,000 นาย[12] ปฏิบัติการครั้งนี้สิ้นสุดลงเมื่อข้าศึกนายสุดท้ายออกจากแผ่นดินรัสเซียในวันที่ 12 ธันวาคม ค.ศ. 1812

อ้างอิง

  1. von Clausewitz, Carl (1996). The Russian campaign of 1812. Transaction Publishers. Introduction by Gérard Chaliand, VII. ISBN 1-4128-0599-6
  2. Christian Wilhelm von Faber du Faur, Campagne de Russie 1812: d'après le journal illustré d'un témoin oculaire, éditions Flammarion, 1812, 319 pages, p.313.
  3. Eugène Labaume, Relation circonstanciée de la Campagne de Russie en 1812, éditions Panckoucke-Magimel, 1815, p.453-454.
  4. 4.0 4.1 Riehn 1991, p. 50.
  5. Zamoyski 2005, p. 536 — note this includes deaths of prisoners during captivity.
  6. The Wordsworth Pocket Encyclopedia, p. 17, Hertfordshire 1993.
  7. Bogdanovich, "History of Patriotic War 1812", Spt., 1859–1860, Appendix, pp. 492–503.
  8. 8.0 8.1 Caulaincourt 2005, p. 9.
  9. Caulaincourt 2005, p. 77, "Before a month is out we shall be in Moscow. In six weeks we shall have peace.".
  10. Caulaincourt 2005, p. 85, "Everyone was taken aback, the Emperor as well as his men – though he affected to turn the novel method of warfare into a matter of ridicule.".
  11. Riehn 1991, p. 236.
  12. The Wordsworth Pocket Encyclopedia, page 17, Hertfordshire 1993