ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ยุทธการที่เตียงปัน"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 18: บรรทัด 18:


{{ศึกผาแดง}}
{{ศึกผาแดง}}
[[ภาพ:Zhang Fei on the Long Sloped Bridge Turning Away One Million Wei Troops with a Powerful Stare LACMA M.84.31.42a-c.jpg|thumb|300px|[[ภาพอุกิโยะ]]ของญี่ปุ่น แสดงให้เห็นถึงเตียวหุย ดักรอโจโฉที่สะพานเตียงปันเกี้ยว]]


'''ศึกสะพานเตียงปันเกี้ยว''' ({{lang-en|Battle of Changban}} ; {{Zh-all|c=長坂之戰|p=Chángbǎn zhī zhàn}}) เป็นหนึ่งใน[[สงครามสามก๊ก]] เป็น[[สงคราม]]ครั้งยิ่งใหญ่อีกครั้งของ [[เล่าปี่]] และ [[โจโฉ]] เป็นจุดเริ่มต้นของ[[ศึกผาแดง]]อันลือลั่นในเวลาต่อมา
'''ศึกสะพานเตียงปันเกี้ยว''' ({{lang-en|Battle of Changban}} ; {{Zh-all|c=長坂之戰|p=Chángbǎn zhī zhàn}}) เป็นหนึ่งใน[[สงครามสามก๊ก]] เป็น[[สงคราม]]ครั้งยิ่งใหญ่อีกครั้งของ [[เล่าปี่]] และ [[โจโฉ]] เป็นจุดเริ่มต้นของ[[ศึกผาแดง]]อันลือลั่นในเวลาต่อมา

รุ่นแก้ไขเมื่อ 15:57, 11 กรกฎาคม 2560

ศึกสะพานเตียงปันเกี้ยว

ภาพวาดจูล่งฝ่าทัพรับอาเต๊าที่ระเบียงยาวภายในพระราชวังฤดูร้อน ที่กรุงปักกิ่ง
วันที่ตุลาคม ค.ศ. 208
สถานที่
ผล โจโฉเป็นฝ่ายชนะ เล่าปี่ต้องอพยพหลบหนี
คู่สงคราม
โจโฉ เล่าปี่
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
โจโฉ เล่าปี่
กำลัง

ทหารม้า 5,000 คน

ทหารราบ 80,000นาย
ทหารราบ 5,000-40,000 คน
ประชาชนหลายแสนคน
ภาพอุกิโยะของญี่ปุ่น แสดงให้เห็นถึงเตียวหุย ดักรอโจโฉที่สะพานเตียงปันเกี้ยว

ศึกสะพานเตียงปันเกี้ยว (อังกฤษ: Battle of Changban ; จีน: 長坂之戰; พินอิน: Chángbǎn zhī zhàn) เป็นหนึ่งในสงครามสามก๊ก เป็นสงครามครั้งยิ่งใหญ่อีกครั้งของ เล่าปี่ และ โจโฉ เป็นจุดเริ่มต้นของศึกผาแดงอันลือลั่นในเวลาต่อมา

จุดเกิดของศึกสงคราม

ศึกสะพานเตียงปันเกี้ยวเกิดขึ้นภายหลังจาก เล่าเปียว เจ้าเมืองเกงจิ๋วเสียชีวิตโจโฉเตรียมกำลังทหารหวังยึดครองเกงจิ๋ว ขงเบ้ง ที่ปรึกษาของเล่าปี่จึงแนะนำให้เล่าปี่อพยพจากเมืองซินเอี๋ยไปยังเมืองอ้วนเซียเพื่อป้องกันการรุกรานของโจโฉแต่ถูกกลอุบายของขงเบ้งให้จูล่งลอบเผาเมืองซินเอี๋ยจนแตกทัพ

แต่ระหว่างอพยพ ราษฎรที่ติดตามเล่าปี่ไปนั้นมีจำนวนมาก รวมไปถึงครอบครัวของเล่าปี่ด้วย ทำให้ต้องล่าช้า โดยกองทัพของโจโฉไล่ตามหลังตามมาติด ๆ ในส่วนของเล่าปี่นั้นล่วงหน้า่ไปก่อน โดยที่อาเต๊า บุตรชายเพียงคนเดียวของเล่าปี่ในขณะนั้นที่เกิดกับนางกำฮูหยิน ซึ่งยังเป็นเพียงทารกอยู่ และอยู่ในการดูแลของนางบิฮูหยิน ภรรยาอีกคนของเล่าปี่ซึ่งเป็นน้องสาวของบิต๊ก หนึ่งในที่ปรึกษาของเล่าปี่ ติดอยู่ด้านหลัง สุ่มเสี่ยงอย่างมากที่จะเสียทีแก่กองทัพโจโฉ จูล่งจึงขออาสาไปตามตัวกลับมา โดยจูล่งควบม้าขาวและใช้ทวนยาวซึ่งเป็นอาวุธคู่กายสังหารทหารจำนวนมากของโจโฉอย่างกล้าหาญ จูล่งควบม้าวิ่งเข้าออกระหว่างขบวนแถวหน้ากับแถวหลังรวมทั้งสิ้น 8 รอบ เป็นเวลาติดต่อกันนานถึง 12 ชั่วโมง ตั้งแต่เวลา 03:00 น. จนถึงเวลา 15:00 น. ของวันรุ่งขึ้น จนในที่สุดก็สามารถหาตัวอาเต๊าพบ แม้นางกำฮูหยินจะถึงแก่กรรมไป แต่นางบิฮูหยินก็ถูกอาวุธของข้าศึกจนขาบาดเจ็บไม่อาจขึ้นหลังม้าไปได้ นางได้ฝากให้จูล่งดูแลอาเต๊าให้ดี ส่วนตัวนางนั้นได้กระโดดฆ่าตัวตายในบ่อน้ำเพื่อไม่ให้เป็นภาระแก่จูล่ง จูล่งได้ทะลายซากกำแพงเก่าปิดปากบ่อไว้ และเมื่อควบม้าวิ่งออกมาแล้ว พบกับกองทัพจำนวนนับแสนของโจโฉ แม้จะกลุ้มรุมเข้าสู้กับจูล่งแล้ว ก็ไม่มีใครสามารถทำอะไรจูล่งได้ โจโฉซึ่งมองดูอยู่บนเนิน ถึงกับออกปากถามว่า ทหารในเกราะขาวผู้นั้นเป็นใคร ? เมื่อได้คำตอบว่าชื่อ จูล่ง จึงได้ออกคำสั่งว่า ห้ามจับตาย ให้จับเป็นเท่านั้น และเอ่ยปากชมเชยว่า เก่งกล้าสมเป็นทหารเสืออย่างแท้จริง[1] แต่จูล่งก็สามารถเอาตัวรอดออกมาได้พร้อมกับอาเต๊าที่รอดปลอดภัยไปหาเล่าปี่ โดยที่เตียวหุย ขุนพลคนสำคัญอีกคนหนึ่งของเล่าปี่ ดักรออยู่ที่สะพานเตียงปันเกี้ยว เตียวหุยรู้ตัวว่ามีกำลังพลน้อยกว่า จึงได้ใช้อุบายให้ผูกกิ่งไม้กับหางม้าและให้ม้าวิ่งลากไปมาให้ฝุ่นคลุ้งเพื่อตบตาโจโฉ เมื่อโจโฉมาถึงก็ไม่กล้าสั่งให้ทหารบุกตะลุยเข้าไป ด้วยกลัวเป็นกลลวง

เหตุการณ์นี้ครั้งนี้ถือเป็น วีรกรรมครั้งสำคัญที่เลื่องชื่อที่สุดครั้งหนึ่งของจูล่ง ซึ่งต่อมาได้รับการสถาปนาเป็นหนึ่งห้าทหารเสือ แห่งจ๊กก๊ก ภายหลังเล่าปี่ขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดิที่เสฉวน ซึ่งเหตุการณ์ในครีังนี้ ในสามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) เรียกว่า "จูล่งฝ่าทัพรับอาเต๊า"[2]

สถานที่เกิดเหตุ

เตียงบันโบ๋ หรือเตียงปันเกี้ยว (ตามสำเนียงฮกเกี้ยน) หรือ ฉางปันโบ๋ (ตามสำเนียงจีนกลาง) คือเนินเขาทางตะวันออกเฉียงเหนือของเมืองซงหยง หรือเซียงหยาง มณฑลหูเป่ย บ้างก็ถูกเรียกว่า เตียงปัน หรือ ตงบันโบ๋

เตียงบันโบ๋ ปัจจุบันตั้งอยู่ทางตอนใต้ของเขตกัวเต๋า เขตการปกครองหนึ่งของเมืองจิ้งเหมิน มณฑลหูเป่ย อยู่ห่างไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือจากเกงจิ๋ว หรือเมืองจิ้งโจวราว 86 กิโลเมตร ปัจจุบันในสวนสาธารณะประจำเมืองมีภาพวาดการสู้รบของเหตุการณ์นี้ และอนุสาวรีย์จูล่งขี่ม้าอยู่ใจกลางเมือง[1]

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 "Spirit of Asia : เดินบนแผ่นดินสามก๊ก ตอนที่ 2 (17 ม.ค. 59)". ไทยพีบีเอส. 2016-01-17. สืบค้นเมื่อ 2017-07-11.
  2. ครูไทยประกายเพชร (2010-01-12). "สามก๊ก ตอนจูล่งฝ่าทัพรับอาเต๊า". ทรูปลูกปัญญา. สืบค้นเมื่อ 2017-07-11.