ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สางห่า"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 10: บรรทัด 10:
| subordo = [[Sauria]]
| subordo = [[Sauria]]
| familia = [[Lacertidae]]
| familia = [[Lacertidae]]
| subfamilia = [[Lacertinae]]
| genus = ''[[Takydromus]]''
| genus = ''[[Takydromus]]''
| species = '''''T. sexlineatus'''''
| species = '''''T. sexlineatus'''''
บรรทัด 23: บรรทัด 22:


==ลักษณะ==
==ลักษณะ==
มีลักษณะทั่วไปคล้ายกับจิ้งเหลนในวงศ์ [[Scincidae]] หรือจิ้งเหลนทั่วไป แต่มีขนาดลำตัวเรียวยาวเล็กกว่า มีจุดเด่น คือ ยางที่ยาวเรียวประมาณ 5 เท่าของขนาดลำตัว เกล็ดปกคลุมลำตัวด้านหลังและด้านท้องรูปร่างกลมและเรียบเป็นมัน เกล็ดเรียงซ้อนเหลื่อมกันและมีกระดูกในชั้นหนังรองรับโดยมีลักษณะจำเพาะ คือ เกล็ดแต่ละแผ่นมีกระดูกในชั้นหนังหลายชิ้น มีเพดานปากแบบทุติยภูมิเจริญขึ้นมา กระดูกหัวไหล่มีกระดูกอินเตอร์คลาวิเคิลเป็นรูปโค้งหรือไม่มีกระดูกชิ้นนี้และกระดูกไหปลาร้าเป็นรูปหักมุม หางค่อนข้างยาว หลายชนิดปล่อยหางหลุดจากลำตัวได้เหมือนเช่น จิ้งจก เพื่อเอาตัวรอดจากศัตรู โดยตำแหน่งที่ปล่อยหางอยู่ทางด้านหน้าของก้านกระดูกทางด้านข้างของก้านกระดูกทางด้านข้างของกระดูกสันหลังส่วนหาง พื้นผิวด้านบนของลิ้นเป็นตุ่มยาว ฟันที่ขากรรไกรเกาะติดกับร่องที่ขอบด้านในของกระดูกขากรรไกร กระดูกพเทอรีกอยด์มีฟัน <ref>วีรยุทธ์ เลาหะจินดา, ''วิทยาสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก'' หน้า 391 ([[พ.ศ. 2552]]) ISBN 978-616-556-016-0 </ref> ลำตัวมี[[สีน้ำตาล]]หรือ[[สีเทา]]หรือเทาอม[[เขียว]] ขาหน้าและขาหลังค่อนข้างยาว นิ้วตีนยาว นิ้วตีนทุกนิ้วมีเล็บและตัวเล็บโค้งลงทางด้านล่าง [[ตัวผู้]]ที่ข้างลำตัวมี[[จุด]][[วงกลม|กลม]][[สีขาว]]อมเขียว 10–12 จุด
มีลักษณะทั่วไปคล้ายกับจิ้งเหลนในวงศ์ [[Scincidae]] หรือจิ้งเหลนทั่วไป แต่มีขนาดลำตัวเรียวยาวเล็กกว่า มีจุดเด่น คือ ยางที่ยาวเรียวประมาณ 5 เท่าของขนาดลำตัว เกล็ดปกคลุมลำตัวด้านหลังและด้านท้องรูปร่างกลมและเรียบเป็นมัน เกล็ดเรียงซ้อนเหลื่อมกันและมีกระดูกในชั้นหนังรองรับโดยมีลักษณะจำเพาะ คือ เกล็ดแต่ละแผ่นมีกระดูกในชั้นหนังหลายชิ้น มีเพดานปากแบบทุติยภูมิเจริญขึ้นมา กระดูกหัวไหล่มีกระดูกอินเตอร์คลาวิเคิลเป็นรูปโค้งหรือไม่มีกระดูกชิ้นนี้และกระดูกไหปลาร้าเป็นรูปหักมุม หางค่อนข้างยาว หลายชนิดปล่อยหางหลุดจากลำตัวได้เหมือนเช่น จิ้งจก เพื่อเอาตัวรอดจากศัตรู โดยตำแหน่งที่ปล่อยหางอยู่ทางด้านหน้าของก้านกระดูกทางด้านข้างของก้านกระดูกทางด้านข้างของกระดูกสันหลังส่วนหาง พื้นผิวด้านบนของลิ้นเป็นตุ่มยาว ฟันที่ขากรรไกรเกาะติดกับร่องที่ขอบด้านในของกระดูกขากรรไกร กระดูกพเทอรีกอยด์มีฟัน <ref>{{cite book|author=วีรยุทธ์ เลาหะจินดา|title=''วิทยาสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก''|publisher=โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์|year=2552|isbn=978-616-556-016-0}}</ref> ลำตัวมี[[สีน้ำตาล]]หรือ[[สีเทา]]หรือเทาอม[[เขียว]] ขาหน้าและขาหลังค่อนข้างยาว นิ้วตีนยาว นิ้วตีนทุกนิ้วมีเล็บและตัวเล็บโค้งลงทางด้านล่าง [[ตัวผู้]]ที่ข้างลำตัวมี[[จุด]][[วงกลม|กลม]][[สีขาว]]อมเขียว 10–12 จุด
[[ภาพ:Takydromus sexlineatus Female Head.jpg|thumb|left|ส่วนหัวของ[[ตัวเมีย]]]]
[[ภาพ:Takydromus sexlineatus Female Head.jpg|thumb|left|ส่วนหัวของ[[ตัวเมีย]]]]
[[ภาพ:Takydromus sexlineatus W009.jpg|thumb|บนต้นไม้]]
[[ภาพ:Takydromus sexlineatus W009.jpg|thumb|บนต้นไม้]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 08:40, 9 กรกฎาคม 2560

สางห่า
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Reptilia
อันดับ: Squamata
อันดับย่อย: Sauria
วงศ์: Lacertidae
สกุล: Takydromus
สปีชีส์: T.  sexlineatus
ชื่อทวินาม
Takydromus sexlineatus
Daudin, 1802
ชนิดย่อย[2]
  • T. sexlineatus ocellatus Cuvier, 1829
  • T. sexlineatus sexlineatus Daudin, 1802
ในที่เลี้ยง

สางห่า หรือ จิ้งเหลนน้อยหางยาว (อังกฤษ: Asian longtailed grass lizard; ชื่อวิทยาศาสตร์: Takydromus sexlineatus) เป็นสัตว์เลื้อยคลานที่จัดอยู่ในอันดับ Squamata เช่นเดียวกับงูและกิ้งก่า จัดอยู่ในวงศ์จิ้งเหลนน้อยหางยาว (Lacertidae)

ลักษณะ

มีลักษณะทั่วไปคล้ายกับจิ้งเหลนในวงศ์ Scincidae หรือจิ้งเหลนทั่วไป แต่มีขนาดลำตัวเรียวยาวเล็กกว่า มีจุดเด่น คือ ยางที่ยาวเรียวประมาณ 5 เท่าของขนาดลำตัว เกล็ดปกคลุมลำตัวด้านหลังและด้านท้องรูปร่างกลมและเรียบเป็นมัน เกล็ดเรียงซ้อนเหลื่อมกันและมีกระดูกในชั้นหนังรองรับโดยมีลักษณะจำเพาะ คือ เกล็ดแต่ละแผ่นมีกระดูกในชั้นหนังหลายชิ้น มีเพดานปากแบบทุติยภูมิเจริญขึ้นมา กระดูกหัวไหล่มีกระดูกอินเตอร์คลาวิเคิลเป็นรูปโค้งหรือไม่มีกระดูกชิ้นนี้และกระดูกไหปลาร้าเป็นรูปหักมุม หางค่อนข้างยาว หลายชนิดปล่อยหางหลุดจากลำตัวได้เหมือนเช่น จิ้งจก เพื่อเอาตัวรอดจากศัตรู โดยตำแหน่งที่ปล่อยหางอยู่ทางด้านหน้าของก้านกระดูกทางด้านข้างของก้านกระดูกทางด้านข้างของกระดูกสันหลังส่วนหาง พื้นผิวด้านบนของลิ้นเป็นตุ่มยาว ฟันที่ขากรรไกรเกาะติดกับร่องที่ขอบด้านในของกระดูกขากรรไกร กระดูกพเทอรีกอยด์มีฟัน [3] ลำตัวมีสีน้ำตาลหรือสีเทาหรือเทาอมเขียว ขาหน้าและขาหลังค่อนข้างยาว นิ้วตีนยาว นิ้วตีนทุกนิ้วมีเล็บและตัวเล็บโค้งลงทางด้านล่าง ตัวผู้ที่ข้างลำตัวมีจุดกลมสีขาวอมเขียว 10–12 จุด

ส่วนหัวของตัวเมีย
บนต้นไม้

มีขนาดความยาวจากปลายปากถึงรูก้น 65 มิลลิเมตร และหางยาว 300 มิลลิเมตร พบกระจายพันธุ์อยู่ทั่วไปในทวีปเอเชียในหลายประเทศ เช่น อินเดีย, ตอนใต้ของจีน, เกาะไหหลำ, ภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ทั้งแผ่นดินใหญ่และหมู่เกาะ ในประเทศไทยพบได้ทั่วทุกภาค แม้แต่พื้นที่กรุงเทพมหานคร

พฤติกรรมการหากิน

มีพฤติกรรมหากินในเวลากลางวันตามพื้นดิน โดยกินแมลง และไส้เดือนดิน เป็นอาหาร โดยฉกกินด้วยความรวดเร็ว มักพบบริเวณที่เป็นทุ่งหญ้า รวมทั้งบนไม้พุ่มที่กระจายอยู่ในป่าโปร่ง หรือป่าเต็งรัง สามารถวิ่งไปบนต้นหญ้าได้เร็วมาก จึงพบเห็นตัวได้ยาก ในเวลากลางคืนจะเกาะพักนอนอยู่ในพุ่มหญ้า ในตอนเช้ามักจะนอนผึ่งแดด และเหวี่ยงหางไปมา

พฤติกรรมการวางไข่

ส่างหาเป็นสัตว์เลื้อยคลาน มีการปรับสภาพร่างกายที่แตกต่างไปจากสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกหลายอย่าง ซึ่งทำให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสภาพภูมิอากาศที่ร้อนและแห้งแล้งได้ ด้วยการมี ผิวหนังที่มีความแห้งหยาบกระด้างกว่าผิวหนังที่ลื่นและเมือกของสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก ซึ่งจะช่วยป้องกันการระเหยของน้ำออกจากร่างกาย และช่วยป้องกันอันตรายให้แก่ผิวหนัง รวมทั้งไม่มีต่อมเหงื่อและต่อมน้ำมันอยู่ใต้ชั้นของผิวหนัง ซึ่งช่วยทำให้ป้องกันการสูญเสียน้ำและการระเหยของน้ำได้เป็นอย่างดี มีพฤติกรรมการวางไข่บนพื้นดิน ด้วยการวางไข่ครั้งละ 2–4 ฟอง มีวิวัฒนาการให้มีการปฏิสนธิของตัวอ่อนภายในเปลือกไข่ ซึ่งเป็นการปรับตัวตามสภาพสิ่งแวดล้อม เพื่อให้มีการดำรงชีวิตให้รอดพ้นจากแหล่งน้ำ นอกจากนี้ยังมีการวิวัฒนาการของเปลือกไข่ เพื่อช่วยให้ตัวอ่อนภายในไข่มีชีวิตรอดออกมาเป็นตัว เปลือกไข่ของสัตว์เลื้อยคลานทำให้สามารถวางไข่บนพื้นดินแห้งได้ ตัวอ่อนจะเจริญเติบโตและลอยตัวอยู่ในของเหลวภายใน ที่ทำหน้าที่ห่อหุ้มเยื่อหุ้มไข่ ตัวอ่อนจึงมีของเหลวล้อมรอบเช่นเดียวกับการวางไข่ในแหล่งน้ำ นอกจากนี้ตัวอ่อนยังมีถุงอาหารที่มีเยื่ออัลเลนทอยส์ ซึ่งเป็นเยื่อสำหรับการแลกเปลี่ยนแก๊สผ่านเปลือกไข่ ที่เยื่ออัลเลนทอยส์ จะมีถุงสำหรับสะสมของเสียที่เกิดขึ้นในระหว่างการเจริญเติบโต จนเป็นตัวเต็มวัยก่อนออกจากเปลือกไข่ ซึ่งการที่สัตว์เลื้อยคลานทั้งหมดรวมไปถึงสางห่า สามารถวางไข่บนบกได้นั้น จึงเป็นผลของการวิวัฒนาการร่างกายที่ดีกว่าสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก

การป้องกันและการหลบหนีผู้ล่า

สางห่าจะมีพฤติกรรมการหลบหนีศัตรูเอาตัวรอดด้วยการสลัดหางทิ้ง เป็นพฤติกรรมหนึ่งของการเอาตัวรอดด้วยการดัดแปลงส่วนบริเวณโคนหาง ให้สามารถหลุดขาดออกจากลำตัวได้อย่างง่ายดาย โดยที่กระดูกปลายหางตอนกลางจะมีร่องตามขวาง เมื่อถูกศัตรูจับหรือตะปบได้ รอยต่อตรงร่องกระดูกจะขาดออกแล้วสลัดหางทิ้งเพื่อเป็นการดึงดูดความสนใจก่อนจะหลบหนีไป หลังจากนั้นร่างกายจะสร้างกระดูกบริเวณส่วนหางและกล้ามเนื้อขึ้นมาแทนใหม่อีกครั้ง อีกทั้งความสำเร็จในการเอาตัวรอดของสัตว์เลื้อยคลานจำพวกกิ้งก่า เกิดจากการวิวัฒนาการขากรรไกร ทำให้เกิดความคล่องตัวและการเคลื่อนไหวไปมาอีกด้วย

ความเชื่อ

สางห่า เป็นสัตว์ที่ชาวไทยที่ภาคอีสานมีความเชื่อว่ามีพิษร้ายแรง อาศัยอยู่ตามแอ่งน้ำหรือแอ่งน้ำในถ้ำ บ้างว่ามีพิษอยู่ที่เขี้ยว บ้างว่ามีพิษอยู่ที่เล็บ หรือมีพิษอยู่ที่หางที่ยาว จนเชื่อกันว่า หากใครถูกหางของสางห่าฟาดเข้าแล้วจะเกิดเป็นรอยแผลไหม้จนถึงแก่ความตายได้ หรือถูกหวาย หวายก็ไหม้ ขณะที่ทางแถบภาคกลางเชื่อว่า สางห่าเป็นงูขนาดเล็กชนิดหนึ่งที่มีขา อาศัยอยู่ตามยอดหญ้า พอหญ้าเหี่ยวเฉา ก็จะย้ายไปหาหญ้าใหม่ ขณะที่บางท้องที่เชื่อว่า สางห่าเป็นคางคกป่าชนิดหนึ่ง และมีเสียงร้องคล้ายเสียงสุนัขเห่า[4] แต่ความจริงแล้ว สางห่าไม่มีพิษ และไม่มีภัยอะไรต่อมนุษย์เลย ซึ่งจากความเชื่อนี้ ทำให้สางห่าได้ถูกอ้างอิงถึงในวรรณกรรมเรื่อง "เพชรพระอุมา" ของพนมเทียน เป็นสัตว์ประหลาดหรือธิดาของพญานาค[5]

นอกจากนี้แล้ว สางห่ายังมีชื่อเรียกอื่น ๆ อีก เช่น "งูคา", "กิ้งก่าน้อยหางยาว"[6] [7] หรือ"กระห่าง"[8]

อ้างอิง

  1. จาก IUCN (อังกฤษ)
  2. Takydromus sexlineatus DAUDIN, 1802 (อังกฤษ)
  3. วีรยุทธ์ เลาหะจินดา (2552). วิทยาสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก. โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. ISBN 978-616-556-016-0.
  4. "สางห่า มีอันตรายร้ายกาจจริงหรือ ?". ราชบัณฑิตยสถาน.
  5. "เพชรพระอุมา". เฟซบุก.
  6. สางห่า ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542
  7. "กิ้งก่าน้อยหางยาว จิ้งเหลนน้อยหางยาว งูคา สางห่า" (PDF). tistr.or.th.
  8. เจอ"กระห่าง"สัตว์หายากในป่าลึก หน้า 18, เดลินิวส์ฉบับที่ 23,035: วันอังคารที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 แรม 7 ค่ำ เดือน 11 ปีมะโรง

แหล่งข้อมูลอื่น