ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เสือไฟ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 32: บรรทัด 32:
มีการกระจายพันธุ์อย่างกว้างขวาง ตั้งแต่ [[เอเชียตะวันออก]], ภาคเหนือของ[[เอเชียใต้]] จนถึง[[เอเชียตะวันออกเฉียงใต้]] คือ ภาคใต้และภาคตะวันออกของ[[จีน]], [[เนปาล]], [[ภูฏาน]], [[พม่า]], [[ไทย]], [[ลาว]], [[กัมพูชา]], [[เวียดนาม]], [[มาเลเซีย]]และ[[เกาะสุมาตรา]]<ref name="nowell96">{{cite book |author= Nowell, K., Jackson, P. |year= 1996 |title= 'Wild Cats: status survey and conservation action plan |publisher=IUCN/SSC Cat Specialist Group, Gland, Switzerland |url=http://www.catsg.org/catsgportal/cat-website/catfolk/temmin01.htm}} </ref>
มีการกระจายพันธุ์อย่างกว้างขวาง ตั้งแต่ [[เอเชียตะวันออก]], ภาคเหนือของ[[เอเชียใต้]] จนถึง[[เอเชียตะวันออกเฉียงใต้]] คือ ภาคใต้และภาคตะวันออกของ[[จีน]], [[เนปาล]], [[ภูฏาน]], [[พม่า]], [[ไทย]], [[ลาว]], [[กัมพูชา]], [[เวียดนาม]], [[มาเลเซีย]]และ[[เกาะสุมาตรา]]<ref name="nowell96">{{cite book |author= Nowell, K., Jackson, P. |year= 1996 |title= 'Wild Cats: status survey and conservation action plan |publisher=IUCN/SSC Cat Specialist Group, Gland, Switzerland |url=http://www.catsg.org/catsgportal/cat-website/catfolk/temmin01.htm}} </ref>


เสือไฟ สามารถปรับตัวให้อยู่ในป่าได้ทุกสภาพ เช่น [[ป่าดิบ|ป่าดิบแล้ง]], [[ป่าดิบชื้น]], [[ป่าเบญจพรรณ]] สามารถปีนต้นไม้ได้อย่างคล่องแคล่ว แต่จะล่าเหยื่อบนพื้นดินมากกว่าล่าบน[[ต้นไม้]] และยังพบได้ถึงระดับถึงความสูงกว่า 3,000 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลใน[[เทือกเขาหิมาลัย]]<ref>Baral H.S. and Shah K.B. (2008) ''Wild Mammals of Nepal.'' Himalayan Nature, Kathmandu.</ref> เมื่อเวลาเดินจะยกหางขึ้นเหมือน[[แมวบ้าน]] อาหารของเสือไฟมักเป็น[[สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม]]ขนาดเล็ก เช่น [[หนู]], [[กระต่าย]], ลูก[[เก้ง]]และนกเล็ก ๆ ที่หากินตามพื้นดิน ในบางครั้งอาจล่าเหยื่อที่มีขนาดใหญ่กว่าตัวได้ [[หมูป่า]]ขนาดเล็กและลูก[[กวางป่า]]ได้ด้วย รวมถึงล่า[[ปศุสัตว์]]ที่มนุษย์เลี้ยงได้ด้วย<ref>{{cite web|url=http://www.dailynews.co.th/Content/regional/282280/%E0%B8%95%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B9%84%E0%B8%9F%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B8%81%E0%B8%8A%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B8%82%E0%B8%A2%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B9%83%E0%B8%88%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B9|title=ตื่นเสือไฟบุกชุมชนขย้ำกินหัวใจหมู|date=20 November 2014|accessdate=21 November 2014|publisher=เดลินิวส์}}</ref> มักอาศัยตามลำพัง ยกเว้นช่วงฤดูผสมพันธุ์หรือมีลูกอ่อนที่พบเห็นว่าอยู่ด้วยกัน 2–3 ตัว ใช้เวลาตั้งท้องนาน 95 วัน ออกลูกครั้งละ 1–2 ตัว ตามโพรงไม้ที่มีความปลอดภัย ปกติเสือไฟจะล่าเหยื่อเพียงลำพัง แต่ถ้าเหยื่อมีขนาดใหญ่ ก็อาจล่าเป็นคู่ได้<ref name="ช่อง 7"/>
เสือไฟ สามารถปรับตัวให้อยู่ในป่าได้ทุกสภาพ เช่น [[ป่าดิบ|ป่าดิบแล้ง]], [[ป่าดิบชื้น]], [[ป่าเบญจพรรณ]] สามารถปีนต้นไม้ได้อย่างคล่องแคล่ว แต่จะล่าเหยื่อบนพื้นดินมากกว่าล่าบน[[ต้นไม้]] และยังพบได้ถึงระดับถึงความสูงกว่า 3,000 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลใน[[เทือกเขาหิมาลัย]]<ref>Baral H.S. and Shah K.B. (2008) ''Wild Mammals of Nepal.'' Himalayan Nature, Kathmandu.</ref> เมื่อเวลาเดินจะยกหางขึ้นเหมือน[[แมวบ้าน]] อาหารของเสือไฟมักเป็น[[สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม]]ขนาดเล็ก เช่น [[หนู]], [[กระต่าย]], ลูก[[เก้ง]]และนกเล็ก ๆ ที่หากินตามพื้นดิน ในบางครั้งอาจล่าเหยื่อที่มีขนาดใหญ่กว่าตัวได้ [[หมูป่า]]ขนาดเล็กและลูก[[กวางป่า]]ได้ด้วย รวมถึงล่า[[ปศุสัตว์]]ที่มนุษย์เลี้ยงได้ด้วย<ref>{{cite web|url=http://www.dailynews.co.th/Content/regional/282280/%E0%B8%95%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B9%84%E0%B8%9F%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B8%81%E0%B8%8A%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B8%82%E0%B8%A2%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B9%83%E0%B8%88%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B9|title=ตื่นเสือไฟบุกชุมชนขย้ำกินหัวใจหมู|date=20 November 2014|accessdate=21 November 2014|publisher=เดลินิวส์}}</ref> ในต้นปี [[พ.ศ. 2558]] ที่[[อำเภอห้วยยอด]] [[จังหวัดตรัง]]เคยปรากฏข่าวว่าเสือไฟโจมตี[[ช้างเอเชีย|ช้าง]]พังที่ชาวบ้านเลี้ยงไว้จนล้ม<ref name=ช้าง>{{cite web|work=กรุงเทพธุรกิจ|url=http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/626756|title=เสือไฟกัดช้างตาย|date=2015-01-08|accessdate=2017-07-09}}</ref> มักอาศัยตามลำพัง ยกเว้นช่วงฤดูผสมพันธุ์หรือมีลูกอ่อนที่พบเห็นว่าอยู่ด้วยกัน 2–3 ตัว ใช้เวลาตั้งท้องนาน 95 วัน ออกลูกครั้งละ 1–2 ตัว ตามโพรงไม้ที่มีความปลอดภัย ปกติเสือไฟจะล่าเหยื่อเพียงลำพัง แต่ถ้าเหยื่อมีขนาดใหญ่ ก็อาจล่าเป็นคู่ได้<ref name="ช่อง 7"/>


==ชนิดย่อย==
==ชนิดย่อย==
บรรทัด 44: บรรทัด 44:


นอกจากนี้แล้ว ยังมีความเชื่ออีกว่าเสือไฟเป็นตัวการที่ก่อให้เกิด[[ไฟป่า]] ดอยหรือป่าผืนใดที่เสือไฟปรากฏ ไม่ช้าจะเกิดไฟป่า<ref>หน้า ๐๗๒, ''คืนสุขวัยเยาว์ ผืนป่าตะวันตก'' โดย ธเนศ งามสม. อ.ส.ท. พฤศจิกายน ๒๕๕๗: ปีที่ ๕๕ ฉบับที่ ๔</ref>
นอกจากนี้แล้ว ยังมีความเชื่ออีกว่าเสือไฟเป็นตัวการที่ก่อให้เกิด[[ไฟป่า]] ดอยหรือป่าผืนใดที่เสือไฟปรากฏ ไม่ช้าจะเกิดไฟป่า<ref>หน้า ๐๗๒, ''คืนสุขวัยเยาว์ ผืนป่าตะวันตก'' โดย ธเนศ งามสม. อ.ส.ท. พฤศจิกายน ๒๕๕๗: ปีที่ ๕๕ ฉบับที่ ๔</ref>

ใน[[ภาษาใต้]] เสือไฟถูกเรียกว่า "คางคูด" เชื่อกันว่าเป็นสัตว์ดุร้าย มักใช้เป็นคำขู่หลอกให้เด็ก ๆ กลัว โดยคางคูดนี้เป็นชื่อโดยรวม ๆ ของสัตว์กินเนื้อขนาดเล็กที่ปรากฏตัวในเวลากลางคืน ร่วมกับ[[เสือดำ]], [[มูสัง]] หรือ[[ชะมด]]<ref>{{cite web|url=http://siamensis.org/node/34944|work=สยามเอนซิส|title=คางคูด คืออะไรครับ|date=2012-01-07|author= Lhong |accessdate=2017-07-09}}</ref><ref name=ช้าง/>


ที่จีน เสือไฟถูกมองว่าเป็น[[เสือดาว]]ชนิดหนึ่ง มีชื่อเรียกว่า "แมวหิน" หรือ "เสือดาวเหลือง" ในตัวที่มีขนสีดำหรือเข้มเรียกว่า "เสือดาวดำ" และตัวที่ปรากฏลายจุดเรียกว่า "เสือดาวงา"<ref name=WCoW/>
ที่จีน เสือไฟถูกมองว่าเป็น[[เสือดาว]]ชนิดหนึ่ง มีชื่อเรียกว่า "แมวหิน" หรือ "เสือดาวเหลือง" ในตัวที่มีขนสีดำหรือเข้มเรียกว่า "เสือดาวดำ" และตัวที่ปรากฏลายจุดเรียกว่า "เสือดาวงา"<ref name=WCoW/>

รุ่นแก้ไขเมื่อ 06:25, 9 กรกฎาคม 2560

เสือไฟ
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Mammalia
อันดับ: Carnivora
วงศ์: Felidae
สกุล: Pardofelis
สปีชีส์: P.  temminckii
ชื่อทวินาม
Pardofelis temminckii
(Vigors & Horsfield, 1827)
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์
ชื่อพ้อง
  • Catopuma temminckii (Vigors & Horsfield, 1827)
  • Felis temminckii Vigors & Horsfield, 1827

เสือไฟ (อังกฤษ: Asian golden cat; ชื่อวิทยาศาสตร์: Pardofelis temminckii หรือ Catopuma temminckii) เป็นแมวป่าขนาดกลาง มีขนาดเล็กกว่าเสือลายเมฆ แต่ใหญ่กว่าแมวลายหินอ่อน

ลักษณะและพฤติกรรม

มีสีขนหลากหลาย คือ สีน้ำตาลแดง น้ำตาลอมเทา ตลอดจนสีส้ม สีขนบริเวณใบหน้าจะเข้มกว่าลำตัว มีลักษณะเด่นคือ มีแถบขนสีขาวบนใบหน้า เหนือตาและแก้ม หางยาวปลายหางด้านล่างมีสีขาวตลอด ท้องและใต้หางมีสีขาว มีความยาวลำตัวและหัว 76–105 เซนติเมตร ความยาวหาง 43–60 เซนติเมตร น้ำหนักตั้งแต่ 12–33 กิโลกรัม[2]

ขนของเสือไฟมีตั้งแต่สีแดงถึงน้ำตาลทอง น้ำตาลเข้มถึงสีน้ำตาลเหลือง เทาถึงดำ รูปแบบของขนขึ้นอยู่กับความแตกต่างของสีด้วย ขนอาจเป็นจุดหรือลาย สีเส้นขาวดำที่แก้มและพาดขึ้นไปส่วนบนของหัว หูมีสีดำออกเทาบริเวณตรงกลาง[2] พบเสือไฟลายคล้ายเสือดาวในประเทศจีน ซึ่งเป็นลักษณะด้อยของเสือไฟ[3] และบางตัวอาจพบเป็นสีดำทั้งตัว[4]

ภาพวาดกะโหลกของเสือไฟ (ล่าง) และ เสือปลา (บน), ใน The Fauna of British India, including Ceylon and Burma[5]

มีการกระจายพันธุ์อย่างกว้างขวาง ตั้งแต่ เอเชียตะวันออก, ภาคเหนือของเอเชียใต้ จนถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือ ภาคใต้และภาคตะวันออกของจีน, เนปาล, ภูฏาน, พม่า, ไทย, ลาว, กัมพูชา, เวียดนาม, มาเลเซียและเกาะสุมาตรา[6]

เสือไฟ สามารถปรับตัวให้อยู่ในป่าได้ทุกสภาพ เช่น ป่าดิบแล้ง, ป่าดิบชื้น, ป่าเบญจพรรณ สามารถปีนต้นไม้ได้อย่างคล่องแคล่ว แต่จะล่าเหยื่อบนพื้นดินมากกว่าล่าบนต้นไม้ และยังพบได้ถึงระดับถึงความสูงกว่า 3,000 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลในเทือกเขาหิมาลัย[7] เมื่อเวลาเดินจะยกหางขึ้นเหมือนแมวบ้าน อาหารของเสือไฟมักเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็ก เช่น หนู, กระต่าย, ลูกเก้งและนกเล็ก ๆ ที่หากินตามพื้นดิน ในบางครั้งอาจล่าเหยื่อที่มีขนาดใหญ่กว่าตัวได้ หมูป่าขนาดเล็กและลูกกวางป่าได้ด้วย รวมถึงล่าปศุสัตว์ที่มนุษย์เลี้ยงได้ด้วย[8] ในต้นปี พ.ศ. 2558 ที่อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรังเคยปรากฏข่าวว่าเสือไฟโจมตีช้างพังที่ชาวบ้านเลี้ยงไว้จนล้ม[9] มักอาศัยตามลำพัง ยกเว้นช่วงฤดูผสมพันธุ์หรือมีลูกอ่อนที่พบเห็นว่าอยู่ด้วยกัน 2–3 ตัว ใช้เวลาตั้งท้องนาน 95 วัน ออกลูกครั้งละ 1–2 ตัว ตามโพรงไม้ที่มีความปลอดภัย ปกติเสือไฟจะล่าเหยื่อเพียงลำพัง แต่ถ้าเหยื่อมีขนาดใหญ่ ก็อาจล่าเป็นคู่ได้[4]

ชนิดย่อย

มีด้วยกัน 3 ชนิดย่อย:[10]

ความเชื่อ

เสือไฟ เป็นสัตว์ที่ชาวล้านนาเชื่อว่าเป็นพญาเสือ แม้เสือที่มีขนาดใหญ่กว่ายังกลัว ขน หรือ เล็บ หรือ เขี้ยว เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์สามารถป้องกันอันตราย หรือภูตผีปีศาจได้ ซึ่งความเชื่อเรื่อง เขี้ยวเสือไฟ นี้ ได้ถูก มาลา คำจันทร์ นำไปแต่งเป็นนวนิยาย ชื่อ เขี้ยวเสือไฟ ได้รับรางวัลหนังสือดีเด่นประเภทบันเทิงคดีสำหรับเด็กก่อนวัยรุ่น จากคณะกรรมการพัฒนาหนังสือแห่งชาติ ประจำปี พ.ศ. 2532 และรางวัล IBBY (International Board of Book for Young People) ประจำปี ค.ศ. 1990 ซึ่งในปี พ.ศ. 2544 ได้ถูกนำมาสร้างเป็นละครโทรทัศน์ทางช่อง 9 นำแสดงและร้องเพลงประกอบละคร โดย แอ๊ด คาราบาว[11]

นอกจากนี้แล้ว ยังมีความเชื่ออีกว่าเสือไฟเป็นตัวการที่ก่อให้เกิดไฟป่า ดอยหรือป่าผืนใดที่เสือไฟปรากฏ ไม่ช้าจะเกิดไฟป่า[12]

ในภาษาใต้ เสือไฟถูกเรียกว่า "คางคูด" เชื่อกันว่าเป็นสัตว์ดุร้าย มักใช้เป็นคำขู่หลอกให้เด็ก ๆ กลัว โดยคางคูดนี้เป็นชื่อโดยรวม ๆ ของสัตว์กินเนื้อขนาดเล็กที่ปรากฏตัวในเวลากลางคืน ร่วมกับเสือดำ, มูสัง หรือชะมด[13][9]

ที่จีน เสือไฟถูกมองว่าเป็นเสือดาวชนิดหนึ่ง มีชื่อเรียกว่า "แมวหิน" หรือ "เสือดาวเหลือง" ในตัวที่มีขนสีดำหรือเข้มเรียกว่า "เสือดาวดำ" และตัวที่ปรากฏลายจุดเรียกว่า "เสือดาวงา"[2]

อ้างอิง

  1. Sanderson, J., Mukherjee, S., Wilting, A., Sunarto, S., Hearn, A., Ross, J., Khan, J.A. (2008). "Pardofelis temminckii". IUCN Red List of Threatened Species. Version 2011.2.{{cite web}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  2. 2.0 2.1 2.2 Sunquist, Mel; Sunquist, Fiona (2002). Wild cats of the World. Chicago: University of Chicago Press. pp. 52–56. ISBN 0-226-77999-8.
  3. Allen, G.M. (1938) The mammals of China and Mongolia. New York: American Museum of Natural History.
  4. 4.0 4.1 ข่าวภาคเที่ยง, ช่อง 7: พฤหัสบดี 11 ตุลาคม พ.ศ. 2555
  5. Pocock, R.I. (1939) The Fauna of British India, including Ceylon and Burma. Mammalia. – Volume 1. Taylor and Francis, Ltd., London. Pp 259–264
  6. Nowell, K., Jackson, P. (1996). 'Wild Cats: status survey and conservation action plan. IUCN/SSC Cat Specialist Group, Gland, Switzerland.{{cite book}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  7. Baral H.S. and Shah K.B. (2008) Wild Mammals of Nepal. Himalayan Nature, Kathmandu.
  8. "ตื่นเสือไฟบุกชุมชนขย้ำกินหัวใจหมู". เดลินิวส์. 20 November 2014. สืบค้นเมื่อ 21 November 2014.
  9. 9.0 9.1 "เสือไฟกัดช้างตาย". กรุงเทพธุรกิจ. 2015-01-08. สืบค้นเมื่อ 2017-07-09.
  10. Grubb, Peter (16 November 2005). Wilson, Don E., and Reeder, DeeAnn M., eds. ed. Mammal Species of the World (3rd ed.). Baltimore: Johns Hopkins University Press, 2 vols. (2142 pp.). ISBN 978-0-8018-8221-0. OCLC 62265494.
  11. นวนิยายเขี้ยวเสือไฟ โดย มาลา คำจันทร์ ISBN 974-315-584-8
  12. หน้า ๐๗๒, คืนสุขวัยเยาว์ ผืนป่าตะวันตก โดย ธเนศ งามสม. อ.ส.ท. พฤศจิกายน ๒๕๕๗: ปีที่ ๕๕ ฉบับที่ ๔
  13. Lhong (2012-01-07). "คางคูด คืออะไรครับ". สยามเอนซิส. สืบค้นเมื่อ 2017-07-09.

แหล่งข้อมูลอื่น

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Pardofelis temminckii ที่วิกิสปีชีส์