ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วัดราชสิทธารามราชวรวิหาร"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
Tonx (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 86: บรรทัด 86:
| 18 || [[พระธรรมสิริชัย (บุญเลิศ โฆสโก)|พระราชสังวรวิสุทธิ์ (บุญเลิศ โฆสโก)]] || พ.ศ. 2514 || พ.ศ. 2525
| 18 || [[พระธรรมสิริชัย (บุญเลิศ โฆสโก)|พระราชสังวรวิสุทธิ์ (บุญเลิศ โฆสโก)]] || พ.ศ. 2514 || พ.ศ. 2525
|-
|-
| 19 || [[พระธรรมรัตนวิสุทธิ์ (พลายงาม จนฺทสุวณฺโณ)]] || พ.ศ. 2525 || ปัจจุบัน
| 19 || [[พระธรรมรัตนวิสุทธิ์ (พลายงาม จนฺทสุวณฺโณ)]] || พ.ศ. 2525 || พ.ศ. 2560
|-
| 20 || พระราชวิสุทธิโสภณ (ไชยวัฒน์ ชยวฑฺโฒ) || พ.ศ. 2560 || รักษาการ
|}
|}



รุ่นแก้ไขเมื่อ 17:55, 26 มิถุนายน 2560

วัดราชสิทธารามราชวรวิหาร
แผนที่
ชื่อสามัญวัดพลับ
ที่ตั้งซอยอิสรภาพ 23 ถนนอิสรภาพ แขวงวัดท่าพระ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร
ประเภทพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดราชวรวิหาร
นิกายเถรวาท มหานิกาย
พระประธานพระพุทธจุฬารักษ์
เจ้าอาวาสพระธรรมรัตนวิสุทธิ์ (พลายงาม จนฺทสุวณฺโณ)
เว็บไซต์http://www.somdechsuk.org/
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

วัดราชสิทธาราม เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดราชวรวิหาร[1] เดิมเรียกว่า วัดพลับ ตั้งอยู่ริมคลองวัดราชสิทธารามและคลองวัดสังข์กระจาย ซอยอิสรภาพ 23 (วัดราชสิทธาราม) ถนนอิสรภาพ แขวงวัดท่าพระ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร 10600[2]

พื้นที่

วัดราชสิทธารามมีเนื้อที่ 75 ไร่ ด้านตะวันออกยาว 7 เส้น ติดกับคลองวัด ด้านตะวันตกยาว 6 เส้นเศษ ด้านเหนือยาว 7 เส้น ด้านใต้ยาว 7 เส้น[2]

ประวัติ

วัดพลับ เป็นวัดเก่าแก่มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เริ่มมีความสำคัญขึ้นมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดให้สร้างวัดใหม่อีกแห่งขึ้นติดกับวัดพลับ แล้วโปรดให้รวมเป็นวัดเดียวกัน[3] เพื่อให้เป็นที่จำพรรษาของพระญาณสังวรเถร (สุก) พระราชาคณะฝ่ายวิปัสสนาธุระที่ทรงเคารพเลื่อมใส[4] และโปรดให้พระบรมวงศานุวงศ์มาศึกษากรรมฐานกับพระญาณสังวรเถร ทำให้วัดราชสิทธารามเป็นสำนักปฏิบัติธรรมที่สำคัญมาแต่ครั้งนั้น[5] แม้ต่อมาพระญาณสังวรเถรจะได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช ย้ายไปประทับ ณ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร ศิษย์ของพระองค์ยังคงสืบทอดกรรมฐานต่อมา

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้บูรณะและสร้างเสนาสนะเพิ่มเติม เช่น พระเจดีย์ พระวิหาร ศาลาการเปรียญ และตำหนักเก๋งจีน และพระราชทานนามใหม่ว่าวัดราชสิทธารามตั้งแต่ปี พ.ศ. 2374 โดยเฉพาะพระเจดีย์นั้นต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้บูรณะและพระราชทานนามว่า พระสิริจุมภฏะเจดีย์[6]

ลำดับเจ้าอาวาส

ในสมัยรัตนโกสินทร์ วัดราชสิทธารามมีเจ้าอาวาสตามลำดับ ดังนี้[7]

ลำดับที่ รายนาม เริ่มวาระ สิ้นสุดวาระ
1 สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (สุก ญาณสังวร) พ.ศ. 2365
2 พระพรหมมุนี (ชิต) พ.ศ. 2365 พ.ศ. 2368
3 พระเทพโมลี (กลิ่น) พ.ศ. 2368 พ.ศ. 2369
4 พระปิฎกโกศลเถร (แก้ว) พ.ศ. 2370 พ.ศ. 237?
5 พระญาณสังวร (ด้วง) พ.ศ. 2368 พ.ศ. 2379
6 พระญาณโกศลเถร (รุ่ง) พ.ศ. 2386 พ.ศ. 2395
7 พระญาณสังวร (บุญ) พ.ศ. 2395 พ.ศ. 2397
8 พระโยคาภิรัตเถร (มี) พ.ศ. 2397 พ.ศ. 2402
9 พระอมรเมธาจารย์ (ทัด) พ.ศ. 2402 พ.ศ. 2403
10 พระสังวรานุวงศ์เถร (เมฆ) พ.ศ. 2403 พ.ศ. 2429
11 พระสุธรรมธีรคุณ (เกิด) พ.ศ. 2429 พ.ศ. 2429
12 พระอมรเมธาจารย์ (เกษ) พ.ศ. 2429 พ.ศ. 2429
13 พระสังวรานุวงศ์เถร (ชุ่ม) พ.ศ. 2458 พ.ศ. 2470
14 พระสังวรานุวงศ์เถร (เอี่ยม) พ.ศ. 2430 พ.ศ. 2456
15 พระมงคลเทพมุนี (เอี่ยม) พ.ศ. 2457 พ.ศ. 2466
16 พระสังวรานุวงศ์เถร (สอน) พ.ศ. 2475 พ.ศ. 2500
17 พระราชวิสุทธิญาณ (อยู่) พ.ศ. 2504 พ.ศ. 2512
18 พระราชสังวรวิสุทธิ์ (บุญเลิศ โฆสโก) พ.ศ. 2514 พ.ศ. 2525
19 พระธรรมรัตนวิสุทธิ์ (พลายงาม จนฺทสุวณฺโณ) พ.ศ. 2525 พ.ศ. 2560
20 พระราชวิสุทธิโสภณ (ไชยวัฒน์ ชยวฑฺโฒ) พ.ศ. 2560 รักษาการ

อ้างอิง

เชิงอรรถ
  1. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกระทรวงธรรมการ แผนกกรมสังฆการี เรื่อง จัดระเบียบพระอารามหลวง, เล่ม 32, ตอน 0 ก, 3 ตุลาคม 2458, หน้า 290
  2. 2.0 2.1 ประวัติวัดราชสิทธาราม ราชวรวิหาร, หน้า 1
  3. "ประวัติวัดราชสิทธาราม ราชวรวิหาร". วัดราชสิทธาราม. 30 มกราคม 2554. สืบค้นเมื่อ 10 เมษายน 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. ประวัติวัดราชสิทธาราม ราชวรวิหาร, หน้า 2
  5. ประวัติวัดราชสิทธาราม ราชวรวิหาร, หน้า 3
  6. ประวัติวัดราชสิทธาราม ราชวรวิหาร, หน้า 6
  7. "ทำเนียบอดีตเจ้าอาวาสวัดราชสิทธาราม". วัดราชสิทธาราม. 30 มกราคม 2554. สืบค้นเมื่อ 10 เมษายน 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
บรรณานุกรม
  • พระมหาสมคิด สุรเตโช. ประวัติวัดราชสิทธาราม ราชวรวิหาร. กรุงเทพฯ : ธรรมเมธี-สหายพัฒนาการพิมพ์, 2548.