ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เก้าอี้ขาวในห้องแดง"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Thaidramatv (คุย | ส่วนร่วม)
Thaidramatv (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 55: บรรทัด 55:
| - || || || || [[วิวัฒน์ ผสมทรัพย์]]
| - || || || || [[วิวัฒน์ ผสมทรัพย์]]
|-
|-
| - || || || || [[กฤษย์ อัทธเสรี]]
| - || || || || [[กฤตย์ อัทธเสรี]]
|-
|-
| - || || || || [[คมกฤช ยุตติยงค์]]
| - || || || || [[คมกฤช ยุตติยงค์]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 17:18, 6 มิถุนายน 2560

หนังสือ เก้าอี้ขาวในห้องแดง

นวนิยายที่มีชื่อเสียงที่สุดเรื่องหนึ่งของ สุวรรณี สุคนธา ตีพิมพ์ครั้งแรกในนิตยสาร ลลนา ฉบับปฐมฤกษ์ ได้รับการตีพิมพ์รวมเล่มครั้งที่ 1 เมื่อปีพ.ศ. 2518 โดยสำนักพิมพ์คลังวิทยา พิมพ์ครั้งที่ 2 เมื่อพ.ศ. 2540 และครั้งที่ 3 พ.ศ. 2542 โดยนวนิยายเรื่องนี้ได้ถูกนำไปสร้างเป็นละครทางโทรทัศน์ด้วยกัน 2 ครั้ง


สาระของหนังสือ

เรื่องราวรักสามเส้าของสามเพื่อนรัก ละเวง บูรพา และ สาวิตรี มีการสอดแทรกเนื้อหาของการดำเนินชีวิต ความเติบโตทางด้านอารมณ์ตามวัยของตัวละครแต่ละตัวอย่างละเอียดอ่อน โดยมี ตะวันฉาย/ อินทร /จิตดี สามชายหนุ่มที่เข้ามามีส่วนเกี่ยวพันกับชีวิตละเวงต่างวาระกัน แต่มีเพียง อินทร เท่านั้น ที่เปรียบเสมือนคนที่เป็นดั่งคนช่วยพยุงวันเวลาที่ละเวงเหนื่อยล้า พบกับความสูญเสียและเสียใจ ทั้งการจากไปของตะวันฉาย และความรักระหว่าง บูรพา กับ สาวิตรี แม้ว่าในเริ่มแรก ละเวงจะมองอินทร เป็นคนที่ปากร้ายและดูเย็นชา แต่ความนิ่งงันและสายตาที่อ่อนโยนของเขา กลับกุมหัวใจเธอได้

ละคร เก้าอี้ขาวในห้องแดง

รายชื่อนักแสดงในครั้งต่างๆ

ปี พ.ศ. 2527 พ.ศ. 2542 พ.ศ. 2566 พ.ศ. 2561
สถานีออกอากาศ ช่อง 3 ช่อง 3 มีเดีย แชนแนล ช่อง 7
ผู้จัดละคร มยุรฉัตร เหมือนประสิทธิเวช เมคเกอร์ กรุ๊ป มีเดีย สตูดิโอ พลเดชโจ๊กเกอร์
ผู้กำกับการแสดง เริงศิริ ลิมอักษร ชนะ คราประยูร ราเมศ เรืองประทุม เขมิศรา พลเดช
ศนันธฉัตร ธนพัฒน์พิศาล
บทโทรทัศน์ ฉัตรลดา นรอินทร์ Ai Baa พิง ลำพระเพลิง
เพลงประกอบละคร เพียงความทรงจำ ขับร้อง
โดย ชัยรัตน์ เทียบเทียม
เพียงความทรงจำ และ เพื่อน
ขับร้องโดย ศิลปินกลุ่มพอง พอง
เพียงความทรงจำ ขับร้อง
โดย เคลียร์ (วงดนตรี)
วันเวลาออกอากาศ จันทร์-อาทิตย์ 21.00 น. จันทร์-อังคาร 20.20 น. ศุกร์-อาทิตย์ 18.30 น. ศุกร์-อาทิตย์ 20.50 น.
อินทร นพพล โกมารชุน พล ตัณฑเสถียร จีรภัทร สาทอง ชานน สันตินธรกุล
ละเวง มยุรา ธนะบุตร สิริยากร พุกกะเวส ธนพร ปุกกูล อาทิตยา เครก
บูรพา ศรัณยู วงษ์กระจ่าง นิธิ สมุทรโคจร เปรมวิชช์ ธาดาไชโยสิทธิ์ ธาวิน เยาวพลกุล
สาวิตรี อุทุมพร ศิลาพันธ์ คลาวเดีย จักรพันธุ์ ภวิตา บุญทรัพย์ นฤภรกมล ฉายแสง
ตะวันฉาย ยุรนันท์ ภมรมนตรี บัณฑิต สาวแก้ว แกล้วกล้า ธนาวุฒิวร วงศ์รวี นทีธร
จิตดี ชลิต เฟื่องอารมย์ ภาณุเดช วัฒนสุชาติ สุรวุฑ ไหมกัน กฤษณภูมิ พิบูลสงคราม
- วิชัย จงประสิทธิ์พร
- จีระศักดิ์ ปิ่นสุวรรณ
- สุเชาว์ พงษ์วิไล
- วิวัฒน์ ผสมทรัพย์
- กฤตย์ อัทธเสรี
- คมกฤช ยุตติยงค์
- ภัสสร บุณยเกียรติ
- อรสา อิศรางกูร ณ อยุธยา
- สุเทพ ประยูรพิทักษ์
- สมพร ปรีดามาโนช

เนื้อหาละคร :

เมื่อละเวงต้องสูญเสียพ่อและแม่ไปอย่างกะทันหันหลังจากที่เรียนจบมหาวิทยาลัย เธอจึงต้องเปลี่ยนเป้าหมายจากการเรียนต่อในระดับที่สูงขึ้นเป็นหางานทำ โดยได้สมัครงานเป็นมัฑณากรของบริษัทรับตกแต่งบ้านแห่งหนึ่ง ด้วยความที่เป็นคนที่มีความเชื่อมันใจตัวเองสูง อีกทั้งยังมีเพื่อนที่รักมากอีก 2 คน คือ บูรพา และ สาวิตรี คอยให้กำลังใจอยู่เสมอ เธอจึงไม่ยอมแพ้อะไรง่ายๆ

บูรพา เด็กหนุ่มผู้มีความเป็นศิลปินอย่างเต็มเปี่ยม แอบรักละเวงอย่างเงียบๆ โดยที่ไม่รู้ว่าสาวิตรีเองก็แอบรักเขาเช่นกัน แต่ละเวงกลับมีใจให้กับ ตะวันฉาย หนุ่มรุ่นน้องลูกครึ่งผู้ร่ำรวยและออกจะกะล่อนเจ้าชู้ ด้วยความรักที่ไม่สมประสงค์ของเพื่อนทั้ง 3 นี่เอง ได้ก่อให้เกิดโศกนาฏกรรมแห่งความรักที่เกือบจะทำลายความสัมพันธ์ของเพื่อนที่มีมายาวนาน

บูรพาบอบช้ำจากความรักที่ไม่สมปรารถนา สาวิตรีได้แต่อยู่ข้างๆ คอยปลอบใจและเฝ้าดูแล ทั้งคู่เผลอไผลไปด้วยกันจนสาวิตรีตั้งท้อง บูรพายินดีรับผิดชอบในสิ่งที่กระทำ ถึงแม้สาวิตรีจะสมปรารถนาที่ได้ครองคู่กับชายที่ตนรัก แต่ด้วยความแตกต่างทางด้านความคิด ไม่นานทั้งคู่ก็ต้องแยกทางกัน ละเวงถึงแม้จะรักตะวันฉาย แต่ก็ไม่อาจตัดสินใจใช้ชีวิตร่วมกันได้ จนในที่สุดตะวันฉายก็มีอันต้องจบชีวิตลงด้วยอุบัติเหตุทางรถยนต์

ชีวิตของเพื่อนรักทั้งสาม ได้ก้าวผ่านจุดของวัยอ่อนใส เข้าสู่ความเป็นผู้ใหญ่ เรียนรู้ถึงการใช้ชีวิตในสังคม ความหลอกลวง ความสูญเสีย ความเจ็บปวดจากความรัก ในที่สุดละเวงก็ได้พบกับที่พักพิงอันเป็นรักแท้กับอินทร แม้ทั้งคู่รู้สึกไม่ค่อยถูกชะตากันแต่แรก

อ้างอิง

  • นิตยสารลลนา ฉบับที่ 400 ปักษ์แรก กันยายน 2532
  • ชีวิตหนุ่มสาวเก้าอี้ขาวในห้องแดง. โดย ข่าวสด วัน อาทิตย์ ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2551
  • Thai Film Foundation