ผลต่างระหว่างรุ่นของ "คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Narutzy (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Narutzy (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 20: บรรทัด 20:


== สมาชิก ==
== สมาชิก ==
คณะมนตรีนี้ประกอบด้วยสมาชิกถาวร (Permanent members) 5 ประเทศ คือ [[ประเทศจีน|จีน]] [[ประเทศฝรั่งเศส|ฝรั่งเศส]] [[ประเทศรัสเซีย|รัสเซีย]] [[สหราชอาณาจักร]] และ[[สหรัฐ]] และสมาชิกไม่ถาวร (Non-permanent members) 10 ประเทศ ซึ่งมาจากการเลือกตั้ง โดยมีวาระการดำรงตำแหน่ง 2 ปี และไม่สามารถลงสมัครรับเลือกตั้งซ้ำได้ในทันทีเมื่อหมดวาระ
คณะมนตรีนี้ประกอบด้วยสมาชิกถาวร (Permanent members) 5 ประเทศ คือ [[ประเทศจีน|จีน]] [[ประเทศฝรั่งเศส|ฝรั่งเศส]] [[ประเทศรัสเซีย|รัสเซีย]] [[สหราชอาณาจักร]] และ[[สหรัฐอเมริกา]] และสมาชิกไม่ถาวร (Non-permanent members) 10 ประเทศ ซึ่งมาจากการเลือกตั้ง โดยมีวาระการดำรงตำแหน่ง 2 ปี และไม่สามารถลงสมัครรับเลือกตั้งซ้ำได้ในทันทีเมื่อหมดวาระ


สมาชิกไม่ถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติใน [[พ.ศ. 2558]] ได้แก่ ชาด ไนจีเรีย แองโกลา จอร์แดน มาเลเซีย ชิลี เวเนซุเอล่า นิวซีแลนด์ สเปน และลิทัวเนีย<ref>[http://www.un.org/en/sc/members/ สมาชิกของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติในปี ค.ศ. 2015] {{en icon}}</ref> ในส่วนของ[[ประเทศไทย]]นั้นเคยได้รับเลือกให้เป็นสมาชิกของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติเมื่อ [[พ.ศ. 2528]] - [[พ.ศ. 2529|2529]]<ref>[http://www.un.org/sc/members.asp สมาชิกของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ] {{en icon}}</ref>
สมาชิกไม่ถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติใน [[พ.ศ. 2558]] ได้แก่ ชาด ไนจีเรีย แองโกลา จอร์แดน มาเลเซีย ชิลี เวเนซุเอล่า นิวซีแลนด์ สเปน และลิทัวเนีย<ref>[http://www.un.org/en/sc/members/ สมาชิกของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติในปี ค.ศ. 2015] {{en icon}}</ref> ในส่วนของ[[ประเทศไทย]]นั้นเคยได้รับเลือกให้เป็นสมาชิกของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติเมื่อ [[พ.ศ. 2528]] - [[พ.ศ. 2529|2529]]<ref>[http://www.un.org/sc/members.asp สมาชิกของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ] {{en icon}}</ref>
บรรทัด 49: บรรทัด 49:
|-
|-
|อเมริกัน
|อเมริกัน
|{{flagicon|USA}} [[สหรัฐ]] (1946–ปัจจุบัน)
|{{flagicon|USA}} [[สหรัฐอเมริกา]] (1946–ปัจจุบัน)
|—
|—
|}
|}

รุ่นแก้ไขเมื่อ 17:41, 26 พฤษภาคม 2560


คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ
ห้องประชุมคณะมนตรีความมั่นคงในนครนิวยอร์ก
ประเภทเสาหลัก
หัวหน้าประธานคณะมนตรี
จัดตั้งพ.ศ. 2488
เว็บไซต์un.org/en/sc/
ต้นสังกัดสหประชาชาติ
โครงสร้าง

  กลุ่มแอฟริกัน
  กลุ่มเอเชีย-แปซิฟิก
  กลุ่มยุโรปตะวันออก
  กลุ่มละตินอเมริกาและแคริบเบียน
  ยุโรปตะวันตกและกลุ่มอื่นๆ

คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (อังกฤษ: United Nations Security Council; UNSC) เป็นหนึ่งใน 6 เสาหลักของสหประชาชาติ และเป็นองค์กรในสหประชาชาติที่มีอิทธิพลรองลงมาจากสมัชชาใหญ่ เป็นองค์กรที่มีอำนาจในการเรียกระดมพลจากรัฐสมาชิกในสหประชาชาติเพื่อจัดตั้งเป็นกองกำลังรักษาสันติภาพเข้าไปปฏิบัติหน้าที่รักษาสันติภาพในประเทศและสงครามต่างๆ และยังมีอำนาจในการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจต่อประเทศต่างๆ

สมาชิก

คณะมนตรีนี้ประกอบด้วยสมาชิกถาวร (Permanent members) 5 ประเทศ คือ จีน ฝรั่งเศส รัสเซีย สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา และสมาชิกไม่ถาวร (Non-permanent members) 10 ประเทศ ซึ่งมาจากการเลือกตั้ง โดยมีวาระการดำรงตำแหน่ง 2 ปี และไม่สามารถลงสมัครรับเลือกตั้งซ้ำได้ในทันทีเมื่อหมดวาระ

สมาชิกไม่ถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติใน พ.ศ. 2558 ได้แก่ ชาด ไนจีเรีย แองโกลา จอร์แดน มาเลเซีย ชิลี เวเนซุเอล่า นิวซีแลนด์ สเปน และลิทัวเนีย[1] ในส่วนของประเทศไทยนั้นเคยได้รับเลือกให้เป็นสมาชิกของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติเมื่อ พ.ศ. 2528 - 2529[2]

สมาชิกถาวร

ประเทศสมาชิกถาวร
ชนชาติ รัฐผู้แทนในปัจจุบัน รัฐผู้แทนในอดีต
จีน จีน สาธารณรัฐประชาชนจีน (1971–ปัจจุบัน) สาธารณรัฐจีน สาธารณรัฐจีน (1946–1971)
ฝรั่งเศส ฝรั่งเศส สาธารณรัฐฝรั่งเศส (1958–ปัจจุบัน) ฝรั่งเศส สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 4 (1946–1958)
รัสเซีย รัสเซีย สหพันธรัฐรัสเซีย (1992–ปัจจุบัน) สหภาพโซเวียต สหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต (1946–1991)
บริติช สหราชอาณาจักร สหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ (1946–ปัจจุบัน)
อเมริกัน สหรัฐ สหรัฐอเมริกา (1946–ปัจจุบัน)

สมาชิกไม่ถาวร

การเลือกตั้งสมาชิกไม่ถาวรของ UNSC จะแบ่งตามกลุ่มภูมิภาค 5 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มเอเชียและหมู่เกาะแปซิฟิก กลุ่มแอฟริกา กลุ่มลาตินอเมริกาและแคริบเบียน (GRULAC) กลุ่มยุโรปตะวันออก (EES) และ กลุ่มยุโรปตะวันตกและประเทศอื่น (WEOG) โดยกลุ่มเอเชีย-แปซิฟิกได้รับการจัดสรรที่นั่ง 2 ที่ กลุ่มแอฟริกา 3 ที่ กลุ่ม GRULAC 2 ที่ กลุ่มยุโรปตะวันออก 1 ที่ และกลุ่ม WEOG 2 ที่

โดยการเลือกตั้งสมาชิกไม่ถาวร UNSC จะมีขึ้นในช่วงสมัยการประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ ซึ่งมีการประชุมหลักๆ ในช่วงเดือนกันยายน ถึงธันวาคมของทุกปี โดยประเทศที่จะได้รับการเลือกตั้งจะต้องได้รับเสียงสนับสนุนอย่างน้อย 2 ใน 3 ของสมาชิกที่เข้าร่วมการประชุม UNGA โดยเป็น การลงคะแนนลับ ทั้งนี้ สมาชิก UNSC ที่ได้รับการเลือกตั้งใหม่ จะเข้ารับตำแหน่งในวันที่ 1 มกราคม ของปีถัดไป

วาระ กลุ่มแอฟริกา กลุ่มเอเชีย-แปซิฟิก ละตินอเมริกาและแคริบเบียน ยุโรปตะวันตกและอื่นๆ กลุ่มยุโรปตะวันออก
2016  อียิปต์  เซเนกัล  ญี่ปุ่น  อุรุกวัย  ยูเครน
2017  เอธิโอเปีย  คาซัคสถาน  โบลิเวีย  สวีเดน  อิตาลี [3]
2018  เนเธอร์แลนด์ [4]

ประเทศที่สมัครเป็นสมาชิกถาวร

กลุ่มจี4ซึ่งประกอบด้วย บราซิล, อินเดีย, เยอรมนี และ ญี่ปุ่น
ประเทศสมาชิกภายใต้ฉันทามติร่วม

กลุ่มจี4 ได้เสนอให้มีการเพิ่มจำนวนสมาชิกคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติจากปัจจุบัน 15 ประเทศ เป็น 25 ประเทศ โดยให้เพิ่มสมาชิกถาวรหกประเทศ และสมาชิกไม่ถาวรสี่ประเทศ รวมทั้งจากเอเชีย แอฟริกา และละตินอเมริกา ซึ่งทางด้านสหราชอาณาจักรและฝรั่งเศสได้ให้การสนับสนุนข้อเสนอของกลุ่มจี4 ส่วนด้านสหรัฐอเมริกาก็เห็นด้วยกับการเพิ่มจำนวนสมาชิกทั้งประเภทถาวรและไม่ถาวรในปริมาณจำกัด และต้องการให้มีการคัดเลือกสมาชิกถาวรใหม่โดยพิจารณาจากการเข้ามีส่วนร่วมในการรักษา สันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ และทางด้านรัสเซียและจีนก็ได้แสดงการสนับสนุนการเพิ่มจำนวนสมาชิกในคณะมนตรีความมั่นคง แต่ต้องการให้เพิ่มจำนวนเพียงจำกัดและอย่างค่อยเป็นค่อยไป และขึ้นอยู่กับความเห็นชอบในวงกว้างที่สุดในหมู่บรรดาสมาชิกสหประชาชาติ

การลงคะแนนเสียง

ข้อ 27 ของกฎบัตรสหประชาชาติกำหนดวิธีการลงคะแนนเสียงข้อมติ คือ แต่ละประเทศสมาชิกฯ มีคะแนนเสียงหนึ่งคะแนนเท่ากัน โดยคำวินิจฉัยของ UNSC ในทุกเรื่องจะต้องกระทำด้วยคะแนนเสียงเห็นชอบของสมาชิกอย่างน้อย 9 ประเทศ โดยต้องรวมคะแนนเสียงเห็นพ้องของประเทศสมาชิกถาวรทั้ง 5 ประเทศ ด้วย (เป็นที่มาของคำว่า “สิทธิยับยั้ง” (veto) อย่างไรก็ดี ไม่มีคำว่า veto ปรากฏในกฎบัตรฯ) ยกเว้นในกรณีพิจารณาความ (procedural matters) ต้องการเสียงเห็นชอบจากสมาชิกประเภทใดก็ได้จำนวนอย่างน้อย 9 ประเทศ

บทบาทและหน้าที่

  1. ธำรงรักษาสันติภาพ และความมั่นคงระหว่างประเทศตามวัตถุประสงค์และหลักการของสหประชาชาติ
  2. สอบสวนเกี่ยวกับกรณีพิพาทหรือสถานการณ์ใด ๆ ซึ่งอาจนำไปสู่การกระทบกระทั่งระหว่างประเทศ
  3. เสนอแนะวิธีที่จะใช้กรณีพิพาทเช่นว่านั้น หรือ เงื่อนไขที่ให้มีการตกลงปรองดองกัน
  4. วางแผนเพื่อสถาปนาระบบการควบคุมกำลังอาวุธ
  5. ค้นหาและวินิจฉัยว่ามีภัยคุกคามต่อสันติภาพ หรือ เป็นการกระทำที่รุกรานหรือไม่ แล้วเสนอแนะว่าควรจะปฏิบัติอย่างไร
  6. เรียกร้องให้สมาชิกประเทศทำการลงโทษในทางเศรษฐกิจ และใช้มาตรการอื่น ๆ ที่ไม่ถึงขั้นทำสงคราม เพื่อป้องกันมิให้เกิดหรือหยุดยั้งการรุกราน
  7. ดำเนินการทางทหารตอบโต้ฝ่ายที่รุกราน
  8. เสนอให้รับประเทศสมาชิกใหม่ รวมทั้งเงื่อนไขหรือกฎเกณฑ์ ในการที่จะเข้าเป็นภาคีตามกฎหมายของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ
  9. ทำหน้าที่ให้ภาวะทรัสตีของสหประชาชาติ ในเขตที่ถือว่ามีความสำคัญทางยุทธศาสตร์
  10. เสนอแนะให้สมัชชาสหประชาชาติ แต่งตั้งตัวเลขาธิการและร่วมกับสมัชชาในการเลือกตั้งผู้พิพากษาศาลโลก
  11. ส่งรายงานประจำปีและรายงานพิเศษต่อสมัชชาสหประชาชาติบรรดาประเทศสมาชิกของสหประชาชาติ ต่างตกลงยินยอมที่จะปฏิบัติตามข้อมติใด ๆ ของคณะมนตรีความมั่นคง ทั้งยังรับรองที่จะจัดกำลังกองทัพของตนให้แก่คณะมนตรีความมั่นคงหากขอร้อง รวมทั้งความช่วยเหลือและและอุปกรณ์อื่น ๆ ที่จำเป็นต่อการธำรงรักษาไว้ซึ่งสันติภาพ และความมั่นคงระหว่างประเทศ

อ้างอิง

  1. สมาชิกของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติในปี ค.ศ. 2015 (อังกฤษ)
  2. สมาชิกของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (อังกฤษ)
  3. "General Assembly Elects 4 New Non-permanent Members to Security Council, as Western and Others Group Fails to Fill Final Vacancy". United Nations. สืบค้นเมื่อ 9 August 2016.
  4. "Elected to Security Council in Single Round of General Assembly Voting, Italy Says It Will Cede Non-Permanent Seat to Netherlands after 1 Year". United Nations. สืบค้นเมื่อ 9 August 2016.

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น