ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ตระกูลภาษาอัลไต"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 46: บรรทัด 46:
* กลุ่มภาษาญี่ปุ่น-รีวกีว (Japanese-Ryukyuan) ได้แก่ [[ภาษาญี่ปุ่น]] [[ภาษาริวกิว]]
* กลุ่มภาษาญี่ปุ่น-รีวกีว (Japanese-Ryukyuan) ได้แก่ [[ภาษาญี่ปุ่น]] [[ภาษาริวกิว]]


อย่างไรก็ดีนักวิชาการบางท่านอาจจัดกลุ่มภาษาเกาหลี-ญี่ปุ่นเป็นภาษาเอกเทศ (isolated language) เนื่องจากลักษณะบางอย่างในภาษาไม่สอดคล้องกับตระกูลภาษาอัลตาอิก เช่น ''ภาษาเกาหลีในปัจจุบันไม่เคร่งครัดกฎความสอดคล้องกลมกลืนของสระ'' '''ภาษาญี่ปุ่นเป็นคำพยางค์คู่และพยางค์เปิด ไม่ปรากฏลักษณะของความสอดคล้องกลมกลืนของสระซึ่งเป็นลักษณะของตระกูลภาษาออสโตรนีเซีย ดังนั้นนักวิชาการบางคนจึงกล่าวว่า ภาษาญี่ปุ่นอาจมีตระกูลภาษาออสโตรนีเซียเป็นภาษาพื้นเดิม (substratum) ก่อนที่จะได้รับอิทธิพลจากตระกูลภาษาอัลตาอิก สาขาตุงกุส (superstratum) นอกจากนี้ภาษาทั้งสองยังได้รับอิทธิพลคำศัพท์มาจากภาษาจีนอย่างมากมาย''' รวมทั้งมีระดับภาษาที่ต่างกันเพื่อแสดงความสุภาพและสถานะของบุคคลซึ่งไม่ใช่ลักษณะของภาษาตระกูลนี้ แม้ว่าลักษณะของวากยสัมพันธ์จะเป็นแบบตระกูลภาษาอัลตาอิก และอาจมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับสาขาภาษาตุงกุสมาก่อน
อย่างไรก็ดีนักวิชาการบางท่านอาจจัดกลุ่มภาษาเกาหลี-ญี่ปุ่นเป็นภาษาเอกเทศ (isolated language) เนื่องจากลักษณะบางอย่างในภาษาไม่สอดคล้องกับตระกูลภาษาอัลตาอิก เช่น ภาษาเกาหลีในปัจจุบันไม่เคร่งครัดกฎความสอดคล้องกลมกลืนของสระ ภาษาญี่ปุ่นเป็นคำพยางค์คู่และพยางค์เปิด ไม่ปรากฏลักษณะของความสอดคล้องกลมกลืนของสระซึ่งเป็นลักษณะของตระกูลภาษาออสโตรนีเซีย
ดังนั้นนักวิชาการบางคนจึงกล่าวว่า ภาษาญี่ปุ่นอาจมีตระกูลภาษาออสโตรนีเซียเป็นภาษาพื้นเดิม (substratum) ก่อนที่จะได้รับอิทธิพลจากตระกูลภาษาอัลตาอิก สาขาตุงกุส (superstratum) นอกจากนี้ภาษาทั้งสองยังได้รับอิทธิพลคำศัพท์มาจากภาษาจีนอย่างมากมาย รวมทั้งมีระดับภาษาที่ต่างกันเพื่อแสดงความสุภาพและสถานะของบุคคลซึ่งไม่ใช่ลักษณะของภาษาตระกูลนี้ แม้ว่าลักษณะของวากยสัมพันธ์จะเป็นแบบตระกูลภาษาอัลตาอิก และอาจมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับสาขาภาษาตุงกุสมาก่อน


นอกจากนี้ความสัมพันธ์ทางเชื้อสาย (Genetic relation) ของตระกูลภาษานี้ยังไม่อาจได้รับการยืนยันเนื่องจากการขาดความคล้ายคลึงทางคำศัพท์และหน่วยเสียงระหว่างกลุ่มภาษาที่ไกลกัน จึงไม่แน่ชัดว่าเป็นภาษาที่สืบทอดมาจากภาษาอัลตาอิกดั้งเดิม ([[Proto-Altaic]]) เดียวกัน
นอกจากนี้ความสัมพันธ์ทางเชื้อสาย (Genetic relation) ของตระกูลภาษานี้ยังไม่อาจได้รับการยืนยันเนื่องจากการขาดความคล้ายคลึงทางคำศัพท์และหน่วยเสียงระหว่างกลุ่มภาษาที่ไกลกัน จึงไม่แน่ชัดว่าเป็นภาษาที่สืบทอดมาจากภาษาอัลตาอิกดั้งเดิม ([[Proto-Altaic]]) เดียวกัน

รุ่นแก้ไขเมื่อ 22:01, 25 พฤษภาคม 2560

ตระกูลภาษาอัลไต (อังกฤษ: Altaic language family) ตระกูลภาษานี้ใช้พูดกันตั้งแต่ป่าสนในไซบีเรียตะวันออกข้ามทุ่งหญ้าและทะเลทรายของเอเชียกลางไปจรดประเทศตุรกี และบางส่วนของประเทศจีน คนในแถบนี้มีลักษณะทางวัฒนธรรมแบบเลี้ยงสัตว์เร่ร่อนไปตามทุ่งหญ้าและทะเลทราย เช่น พวกเตอร์กและมองโกลบางเผ่า บางพวกก็อาศัยอยู่ตามป่าเขาและล่าสัตว์ เช่น พวกมองโกลบางพวกและพวกตุงกุส มีบางส่วนเท่านั้นที่รับวัฒนธรรมใกล้เคียงอย่างวัฒนธรรมจีนที่มีลักษณะแบบเกษตรกรรม เช่น ชาวเกาหลีและชาวญี่ปุ่นซึ่งอาจเป็นพวกตุงกุสดั้งเดิม (Proto-Tungusic) โดยอพยพมายังคาบสมุทรเกาหลีและหมู่เกาะญี่ปุ่นก่อนพวกอื่น ในปัจจุบันนี้ผู้ที่ใช้ตระกูลภาษานี้มีประมาณ 270 ล้านคนทั่วโลก

ลักษณะของภาษาในตระกูล

ภาษาต่าง ๆ ในตระกูลภาษานี้มีลักษณะที่ร่วมกันอยู่หลายประการด้วยกัน ดังนี้

  • การเรียงลำดับคำแบบ ประธาน-กรรม-กริยา (SOV)
  • ไม่ระบุเพศ พจน์ของคำ
  • มีการใช้คำปรบท (Postposition) ซึ่งทำหน้าที่แบบเดียวกันกับคำบุพบท เพียงแต่ว่าจะปรากฏอยู่ด้านหลังของคำที่จะกล่าวถึง
  • ไม่มีคำประพันธสรรพนาม (relative pronouns)
  • ไม่ปรากฏคำกิริยา “มี” แต่ใช้การเติมปัจจัย (Suffix) หรือสัมพันธการก (Genitive case) ท้ายคำเพื่อแสดงความเป็นเจ้าของแทน
  • เป็นภาษารูปคำติดต่อ (Agglutinative language) กล่าวคือ มีการเติมหน่วยคำอิสระหรืออนุภาค (Particle) ท้ายคำเพื่อแสดงหน้าที่ของคำในระบบวากยสัมพันธ์
  • มีความสอดคล้องกลมกลืนของสระ (Vowel harmony) กล่าวคือ ระบบสระในคำหนึ่งคำจะต้องเป็นสระประเภทเดียวกัน
  • ไม่มีการเติมอุปสรรคแต่ใช้ปัจจัยท้ายคำเพื่อบอกหน้าที่คำในประโยค
  • ระบบเสียงพยัญชนะไม่สลับซับซ้อนรวมทั้งเป็นคำแบบพยางค์ปิดเป็นส่วนใหญ่

สาขาย่อย

ตระกูลภาษาอัลตาอิกนี้สามารถแบ่งออกเป็นสาขาต่าง ๆ ได้ดังนี้

สาขากลุ่มภาษาเตอร์กิก (Turkic subfamily)

มีผู้พูดเป็นภาษาแม่ราว 180 ล้านคน รวมผู้ที่พูดเป็นภาษาที่สองราว 200 ล้านคน ใช้พูดในประเทศตุรกี เอเชียกลาง สาธารณรัฐยาคุต สาธารณรัฐบัชคอร์โตสถาน สาธารณรัฐตาตาร์สถาน ในประเทศรัสเซีย และ มณฑลซินเจียงอุยกูร์ในประเทศจีน กลุ่มภาษาเตอร์กิกส่วนใหญ่เป็นผู้พูดภาษาตุรกี ซึ่งคิดเป็น 40% ของผู้พูดกลุ่มภาษานี้ทั้งหมด สาขากลุ่มภาษาเตอร์กิกแบ่งออกได้เป็น

สาขากลุ่มภาษามองโกล (Mongolic subfamily)

มีผู้พูดประมาณ 10 ล้านคน ใช้มากในประเทศมองโกเลีย เขตปกครองตนเองมองโกเลียใน ดินแดนจุงกาเรียในประเทศจีน สาธารณรัฐคัลมืยคียาและสาธารณรัฐบูรยาเทียในประเทศรัสเซีย แบ่งออกได้ดังนี้

สาขากลุ่มภาษาตุงกูซิก (Tungusic subfamily)

มีผู้พูดประมาณ 80,000 คน ใช้มากในไซบีเรียตะวันออก และแถบแมนจูเรียในประเทศจีน สามารถแบ่งออกได้ดังนี้

สาขาภาษาเกาหลี-ญี่ปุ่น (Korean-Japonic subfamily)

มีผู้พูดประมาณ 180 ล้านคนในประเทศเกาหลี ญี่ปุ่นและหมู่เกาะโอกินาวา แบ่งออกได้ดังนี้

อย่างไรก็ดีนักวิชาการบางท่านอาจจัดกลุ่มภาษาเกาหลี-ญี่ปุ่นเป็นภาษาเอกเทศ (isolated language) เนื่องจากลักษณะบางอย่างในภาษาไม่สอดคล้องกับตระกูลภาษาอัลตาอิก เช่น ภาษาเกาหลีในปัจจุบันไม่เคร่งครัดกฎความสอดคล้องกลมกลืนของสระ ภาษาญี่ปุ่นเป็นคำพยางค์คู่และพยางค์เปิด ไม่ปรากฏลักษณะของความสอดคล้องกลมกลืนของสระซึ่งเป็นลักษณะของตระกูลภาษาออสโตรนีเซีย

ดังนั้นนักวิชาการบางคนจึงกล่าวว่า ภาษาญี่ปุ่นอาจมีตระกูลภาษาออสโตรนีเซียเป็นภาษาพื้นเดิม (substratum) ก่อนที่จะได้รับอิทธิพลจากตระกูลภาษาอัลตาอิก สาขาตุงกุส (superstratum) นอกจากนี้ภาษาทั้งสองยังได้รับอิทธิพลคำศัพท์มาจากภาษาจีนอย่างมากมาย รวมทั้งมีระดับภาษาที่ต่างกันเพื่อแสดงความสุภาพและสถานะของบุคคลซึ่งไม่ใช่ลักษณะของภาษาตระกูลนี้ แม้ว่าลักษณะของวากยสัมพันธ์จะเป็นแบบตระกูลภาษาอัลตาอิก และอาจมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับสาขาภาษาตุงกุสมาก่อน

นอกจากนี้ความสัมพันธ์ทางเชื้อสาย (Genetic relation) ของตระกูลภาษานี้ยังไม่อาจได้รับการยืนยันเนื่องจากการขาดความคล้ายคลึงทางคำศัพท์และหน่วยเสียงระหว่างกลุ่มภาษาที่ไกลกัน จึงไม่แน่ชัดว่าเป็นภาษาที่สืบทอดมาจากภาษาอัลตาอิกดั้งเดิม (Proto-Altaic) เดียวกัน