ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วิสุทธิ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Bpitk (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Bpitk (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 13: บรรทัด 13:
*'''ญาณทัสสนวิสุทธิ''' ความหมดจดแห่งญาณทัสสนะ คือ ความรู้ใน[[มรรค|อริยมรรค]] หรือมรรคญาณ ความเป็น[[อริยบุคคล]]ย่อมเกิดขึ้นในวิสุทธิ์ข้อนี้ เป็นอันบรรลุผลที่หมายสูงสุดแห่งวิสุทธิ หรือไตรสิกขา หรือการปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนาทั้งสิ้น
*'''ญาณทัสสนวิสุทธิ''' ความหมดจดแห่งญาณทัสสนะ คือ ความรู้ใน[[มรรค|อริยมรรค]] หรือมรรคญาณ ความเป็น[[อริยบุคคล]]ย่อมเกิดขึ้นในวิสุทธิ์ข้อนี้ เป็นอันบรรลุผลที่หมายสูงสุดแห่งวิสุทธิ หรือไตรสิกขา หรือการปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนาทั้งสิ้น
==วิสุทธิ ๗ กับ วิปัสสนาญาณ==
==วิสุทธิ ๗ กับ วิปัสสนาญาณ==
วิสุทธิ ๗ เป็นปัจจัยส่งต่อกันขึ้นไปเพื่อบรรลุนิพพาน ดังบรรยายในรถวินีตสูตร(พระสูตรหนึ่งใน[[พระไตรปิฎก]])เปรียบวิสุทธิ ๗ กับรถเจ็ดผลัดส่งต่อกันให้บุคคลถึงที่หมาย<br>
วิสุทธิ ๗ เป็นปัจจัยส่งต่อกันขึ้นไปเพื่อบรรลุนิพพาน ดังบรรยายในรถวินีตสูตร(พระสูตรหนึ่งใน[[พระไตรปิฎก]])เปรียบวิสุทธิ ๗ กับรถเจ็ดผลัด ส่งต่อกันให้บุคคลถึงที่หมาย สามารถเปรียบเทียบ [[ไตรสิกขา]],วิสุทธิ ๗,[[ญาณ]] ๑๖ ,[[ปาริสุทธิศิล]] ๔ และ[[สมาธิ]]ได้ดังนี้
สามารถเปรียบเทียบ [[ไตรสิกขา]],วิสุทธิ ๗,[[ญาณ]] ๑๖ ,[[ปาริสุทธิศิล]] ๔ และ[[สมาธิ]]ได้ดังนี้
*อธิศีลสิกขา
*อธิศีลสิกขา
'''ศีลวิสุทธิ'''
'''ศีลวิสุทธิ'''

รุ่นแก้ไขเมื่อ 14:04, 28 สิงหาคม 2550


วิสุทธิ หมายถึง ความบริสุทธิ์ ความหมดจด
วิสุทธิ ๗ ในทางพระพุทธศาสนา หมายถึง ความบริสุทธิ์ที่สูงขึ้นไปเป็นขั้นๆ การชำระสัตว์ให้บริสุทธิ์ด้วยการบำเพ็ญไตรสิกขา ให้บริบูรณ์เป็นขั้นๆ ไปโดยลำดับ จนบรรลุจุดมุ่งหมายคือนิพพาน มี ๗ ขั้น คือ

  1. ปาฏิโมกขสังวรศีล ศีลคือความสำรวมในพระปาฏิโมกข์ เว้นจากข้อห้าม ทำตามข้ออนุญาต ประพฤติเคร่งครัดในสิกขาบททั้งหลาย
  2. อินทรียสังวรศีล ศีลคือความสำรวมอินทรีย์ ระวังไม่ให้บาปอกุศลธรรมครอบงำ เมื่อรับรู้อินทรีย์ทั้งหก
  3. อาชีวปาริสุทธิศีล ศีลคือความบริสุทธิ์แห่งอาชีวะ เลี้ยงชีวิตในทางที่ชอบ
  4. ปัจจัยสันนิสิตศีล ศีลที่เกี่ยวกับปัจจัยสี่ คือ การพิจารณาใช้สอยปัจจัยสี่ ให้เป็นไปตามความหมายและประโยชน์ของสิ่งนั้น ไม่บริโภคด้วยตัณหา
  • จิตตวิสุทธิ ความหมดจดแห่งจิต คือ ฝึกอบรมจิตจนบังเกิดสมาธิ พอเป็นบาทฐานแห่งวิปัสสนา
  • ทิฏฐิวิสุทธิ ความหมดจดแห่งทิฏฐิ คือ ความรู้เข้าใจ มองเห็นนามรูปตามสภาวะที่เป็นจริง เป็นเหตุข่มความเข้าใจผิดว่าเป็นสัตว์บุคคลเสียได้ เริ่มดำรงในภูมิแห่งความไม่หลงผิด
  • กังขาวิตรณวิสุทธิ ความหมดจดแห่งญาณเป็นเครื่องข้ามพ้นความสงสัย ความบริสุทธิ์ขั้นที่ทำให้กำจัดความสงสัยได้ คือ กำหนดรู้ปัจจัยแห่งนามรูปได้แล้วจึงสิ้นสงสัย
  • มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ ความหมดจดแห่งญาณเป็นเครื่องรู้เห็นว่าทางหรือมิใช่ทาง
  • ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ ความหมดจดแห่งญาณอันรู้เห็นทางดำเนิน (วิปัสสนาญาณ ๙)
  • ญาณทัสสนวิสุทธิ ความหมดจดแห่งญาณทัสสนะ คือ ความรู้ในอริยมรรค หรือมรรคญาณ ความเป็นอริยบุคคลย่อมเกิดขึ้นในวิสุทธิ์ข้อนี้ เป็นอันบรรลุผลที่หมายสูงสุดแห่งวิสุทธิ หรือไตรสิกขา หรือการปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนาทั้งสิ้น

วิสุทธิ ๗ กับ วิปัสสนาญาณ

วิสุทธิ ๗ เป็นปัจจัยส่งต่อกันขึ้นไปเพื่อบรรลุนิพพาน ดังบรรยายในรถวินีตสูตร(พระสูตรหนึ่งในพระไตรปิฎก)เปรียบวิสุทธิ ๗ กับรถเจ็ดผลัด ส่งต่อกันให้บุคคลถึงที่หมาย สามารถเปรียบเทียบ ไตรสิกขา,วิสุทธิ ๗,ญาณ ๑๖ ,ปาริสุทธิศิล ๔ และสมาธิได้ดังนี้

  • อธิศีลสิกขา

ศีลวิสุทธิ

๑.ปาฏิโมกขสังวรศีล
๒.อินทรียสังวรศีล
๓.อาชีวปาริสุทธิศีล
๔.ปัจจัยสันนิสิตศีล
  • อธิจิตตสิกขา

จิตตวิสุทธิ

-อุปจารสมาธิ
-อัปปนาสมาธิ ในฌานสมาบัติ
  • อธิปัญญาสิกขา

ทิฏฐิวิสุทธิ

๑.นามรูปปริจเฉทญาณ

กังขาวิตรณวิสุทธิ

๒.นามรูปปัจจัยปริคคหญาณ

มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ

๓.สัมมสนญาณ
๔.อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ ที่ยังเป็นวิปัสสนาญาณอย่างอ่อน (ตรุณอุทยัพพยญาณ)

ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ

๔.อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ ที่เจริญขึ้น (พลวอุทยัพพยญาณ)
๕.ภังคานุปัสสนาญาณ
๖.ภยตูปัฏฐานญาณ
๗.ทีนวานุปัสสนาญาณ
๘.นิพพิทานุปัสสนาญาณ
๙.มุจจิตุกัมยตาญาณ
๑๐.ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ
๑๑.สังขารุเบกขาญาณ
๑๒.สัจจานุโลมิกญาณ
๑๓.โคตรภูญาณ

ญาณทัสสนวิสุทธิ

๑๔.มัคคญาณ
๑๕.ผลญาณ
๑๖.ปัจจเวกขณญาณ

อ้างอิง

ดูเพิ่ม