ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมขุนอิศรานุรักษ์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
แบ่งพระนามพระโอรส-ธิดา
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 38: บรรทัด 38:
สมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมขุนอิศรานุรักษ์ประสูติใน[[สมัยกรุงธนบุรี]] ประสูติเมื่อวันพุธ เดือน 4 แรม 12 ค่ำ ปีมะเส็งเบญจศก จ.ศ. 1135 ตรงกับวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2316 พระโอรสลำดับที่ 6 ใน[[สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าแก้ว กรมพระศรีสุดารักษ์|สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์]] กับ[[เงิน แซ่ตัน]] และเป็นพระเจ้าหลานเธอใน[[พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก]]
สมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมขุนอิศรานุรักษ์ประสูติใน[[สมัยกรุงธนบุรี]] ประสูติเมื่อวันพุธ เดือน 4 แรม 12 ค่ำ ปีมะเส็งเบญจศก จ.ศ. 1135 ตรงกับวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2316 พระโอรสลำดับที่ 6 ใน[[สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าแก้ว กรมพระศรีสุดารักษ์|สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์]] กับ[[เงิน แซ่ตัน]] และเป็นพระเจ้าหลานเธอใน[[พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก]]


เจ้าฟ้าเกศทรงเป็นผู้สำเร็จราชการมหาดไทยในรัชกาล[[พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย]] ทรงเป็นแม่ทัพยกไปรักษาเมือง[[พระตะบอง]] (เมื่อ พ.ศ. 2358) ทรงมีฝีพระหัตถ์ในทางช่าง เช่น ทรงจำแบบอย่างเรีอรบญวนมาดัดแปลงเป็นเรือสำหรับใช้เดินทางไกล ทรงแต่งเก๋ง แต่งแพ สร้างสวนขวา พระประธานวัดรังศรีสุธาวาษในวัดบวรนืเวศ ได้รับพระราชทานวังที่ท่าเตียน<ref name=":0">"อิศรางกูร" ที่ระลึกงานพระราชทานเพลองศพ พลเรือตรี เอกไชย อิศรางกูร ณ อยุธยา. อังคารที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2534</ref> ตั้งแต่รัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก]] และประทับเรื่อยมาจนถืงรัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว]]
เจ้าฟ้าเกศทรงเป็นผู้สำเร็จราชการมหาดไทยในรัชกาล[[พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย]] ทรงเป็นแม่ทัพยกไปรักษาเมือง[[พระตะบอง]] (เมื่อ พ.ศ. 2358) ทรงมีฝีพระหัตถ์ในทางช่าง เช่น ทรงจำแบบอย่างเรีอรบญวนมาดัดแปลงเป็นเรือสำหรับใช้เดินทางไกล ทรงแต่งเก๋ง แต่งแพ สร้างสวนขวา พระประธานวัดรังศรีสุธาวาษในวัดบวรนิเวศ ได้รับพระราชทานวังที่ท่าเตียน<ref name=":0">"อิศรางกูร" ที่ระลึกงานพระราชทานเพลองศพ พลเรือตรี เอกไชย อิศรางกูร ณ อยุธยา. อังคารที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2534</ref> ตั้งแต่รัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก]] และประทับเรื่อยมาจนถืงรัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว]]


กรมขุนอิศรานุรักษ์ ประชวรพระยอดที่พระปฤษฎางค์ ถืงแก่ทิวงคตใน[[รัชกาลที่ 3]] เมื่อวันศุกร์ เดือน 4 ขึ้น 7 ค่ำ ปีขาลโทศก จ.ศ. 1192 ตรงกับวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2373 พระชันษา 58 ปี
กรมขุนอิศรานุรักษ์ ประชวรพระยอดที่พระปฤษฎางค์ ถืงแก่ทิวงคตใน[[รัชกาลที่ 3]] เมื่อวันศุกร์ เดือน 4 ขึ้น 7 ค่ำ ปีขาลโทศก จ.ศ. 1192 ตรงกับวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2373 พระชันษา 58 ปี

รุ่นแก้ไขเมื่อ 14:41, 13 พฤษภาคม 2560

สมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมขุนอิศรานุรักษ์
สมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ กรมขุนอิศรานุรักษ์
ประสูติ10 มีนาคม พ.ศ. 2316
สิ้นพระชนม์18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2373 (56 ปี)
พระชายาคุณปัญจปาปี
พระบุตร82 องค์
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาเงิน แซ่ตัน
พระมารดาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าแก้ว กรมพระศรีสุดารักษ์

สมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมขุนอิศรานุรักษ์[1] (9 มีนาคม พ.ศ. 2316 – 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2373) หรือพระนามเดิมว่า เกศ พระโอรสในสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ กับเงิน แซ่ตัน เป็นต้นราชสกุลอิศรางกูร ณ อยุธยา[2][3]

พระประวัติ

สมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมขุนอิศรานุรักษ์ประสูติในสมัยกรุงธนบุรี ประสูติเมื่อวันพุธ เดือน 4 แรม 12 ค่ำ ปีมะเส็งเบญจศก จ.ศ. 1135 ตรงกับวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2316 พระโอรสลำดับที่ 6 ในสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ กับเงิน แซ่ตัน และเป็นพระเจ้าหลานเธอในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก

เจ้าฟ้าเกศทรงเป็นผู้สำเร็จราชการมหาดไทยในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงเป็นแม่ทัพยกไปรักษาเมืองพระตะบอง (เมื่อ พ.ศ. 2358) ทรงมีฝีพระหัตถ์ในทางช่าง เช่น ทรงจำแบบอย่างเรีอรบญวนมาดัดแปลงเป็นเรือสำหรับใช้เดินทางไกล ทรงแต่งเก๋ง แต่งแพ สร้างสวนขวา พระประธานวัดรังศรีสุธาวาษในวัดบวรนิเวศ ได้รับพระราชทานวังที่ท่าเตียน[4] ตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก และประทับเรื่อยมาจนถืงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

กรมขุนอิศรานุรักษ์ ประชวรพระยอดที่พระปฤษฎางค์ ถืงแก่ทิวงคตในรัชกาลที่ 3 เมื่อวันศุกร์ เดือน 4 ขึ้น 7 ค่ำ ปีขาลโทศก จ.ศ. 1192 ตรงกับวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2373 พระชันษา 58 ปี

พระโอรส-ธิดา

กรมขุนอิศรานุรักษ์ทรงเป็นต้นราชสกุลอิศรางกูร ณ อยุธยา เสกสมรสกับสมเด็จเจ้าฟ้าหญิงปัญจปาปี หรือ คุณปัญจปาปี พระราชธิดาพระองค์ที่ 13 ในสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชกับกรมบริจาภักดีศรีสุดารักษ์ มีพระโอรสธิดา 5 พระองค์ คือ หม่อมเจ้าใหญ่ หม่อมเจ้ากลาง หม่อมเจ้าหญิงศรีฟ้า หม่อมเจ้าสุนทรา หม่อมเจ้าหญิงรสสุคนธ์ นอกจากนี้ยังมีหม่อมท่านอื่น ๆ อีกจำนวนมาก รวมมีพระโอรส-ธิดาทั้งสิ้น 82 องค์[5] ได้แก่[4]

พระโอรส
พระธิดา

อ้างอิง

  1. "ราชสกุลวงศ์" (PDF). กรมศิลปากร, สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์. สืบค้นเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. เล็ก พงษ์สมัครไทย. พระญาติ ราชสกุลกรุงรัตนโกสินทร์. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์ข้าวฟ่าง, พ.ศ. 2549. 160 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 974-9687-35-3
  3. ธำรงศักดิ์ อายุวัฒนะ. ราชสกุลจักรีวงศ์ และราชสกุลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์บรรณกิจ, พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2544. 490 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 974-222-648-2
  4. 4.0 4.1 "อิศรางกูร" ที่ระลึกงานพระราชทานเพลองศพ พลเรือตรี เอกไชย อิศรางกูร ณ อยุธยา. อังคารที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2534
  5. สมประสงค์ ทรัพย์พาลี. สายใยในราชวงศ์จักรี. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560, หน้า 15