ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พิษวิทยา"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Natjava (คุย | ส่วนร่วม)
Natjava (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 73: บรรทัด 73:
1. ทางปาก <br />
1. ทางปาก <br />
2.ทางระบบทางเดินหายใจ<br />
2.ทางระบบทางเดินหายใจ<br />
3.ทางผิวหนัง<br />
3.ทางผิวหนัง<br /><br />

'''การได้รับสารพิษแบบเฉียบพลัน''' (Acute exposure) หมายถึง การได้รับสารพิษในปริมาณมากในระยะเวลาน้อยกว่า 24 ชั่วโมง ส่วนใหญ่จะเป็นการฉีดเข้าช่องท้อง ฉีดเข้าใต้ผิวหนัง การกิน หรือการทาที่ผิวหนังโดยตรง เป็นต้น<br />
'''การได้รับสารพิษแบบเฉียบพลัน''' (Acute exposure) หมายถึง การได้รับสารพิษในปริมาณมากในระยะเวลาน้อยกว่า 24 ชั่วโมง ส่วนใหญ่จะเป็นการฉีดเข้าช่องท้อง ฉีดเข้าใต้ผิวหนัง การกิน หรือการทาที่ผิวหนังโดยตรง เป็นต้น<br />
'''การได้รับสารพิษแบบกึ่งเฉียบพลัน''' (Subacute exposure) หมายถึง การได้รับสารพิษเข้าสู่ร่างกายในปริมาณน้อยติดต่อกันเป็นเวลา 1 เดือน หรือน้อยกว่า<br />
'''การได้รับสารพิษแบบกึ่งเฉียบพลัน''' (Subacute exposure) หมายถึง การได้รับสารพิษเข้าสู่ร่างกายในปริมาณน้อยติดต่อกันเป็นเวลา 1 เดือน หรือน้อยกว่า<br />

รุ่นแก้ไขเมื่อ 21:05, 10 พฤษภาคม 2560

พิษวิทยา (อังกฤษ: Toxicology มาจากคำว่า toxicos และ logos ในภาษากรีก) เป็นศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับผลของสารพิษที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาและชีววิทยาของสิ่งมีชีวิต อาการพิษ กลไกการเกิดพิษ วิธีการรักษา และการตรวจสอบความเป็นพิษของสาร

ประวัติความเป็นมาของพิษวิทยา

ประวัติความเป็นมาของวิชาพิษวิทยาโดยคร่าวๆ อาจกล่าวได้ว่ามนุษย์เริ่มรู้จักเรื่องสารพิษมาตั้งแต่สมัยโบราณกาล มนุษย์ในสมัยก่อนรู้จักสังเกตสิ่งมีชีวิตรอบตัว เช่น พืชมีพิษหรือสัตว์มีพิษ และมีการนำพิษจากสิ่งเหล่านี้มาใช้ในการฆาตกรรม ฆ่าตัวตาย หรือตัดสินโทษประหารในสมัยก่อน เช่น

 -การฆ่าตัวตายของพระนางคลีโอพัตรา (Cleopatra) โดยใช้งูพิษ 
 -การตัดสินโทษประหารโสเครติส (Socrates) ด้วยการให้ดื่มยาพิษจากต้นเฮมล็อก

ในคัมภีร์สมัยอียิปต์โบราณมีการกล่าวถึงเรื่องพิษชนิดต่างๆ ซึ่งนับว่าว่าเป็นหลักฐานที่เป็นเอกสารทางด้านพิษวิทยาที่เก่าแก่ที่สุด

          พิษวิทยาได้เริ่มต้นขึ้นอย่างจิงจังในยุคของพาราเซลซัส  (Paracelcus ชื่อเต็ม Philippus Aureolus Theophrastus Bombastus von Hoehenheim; ค.ศ. 1493 – 1541) เป็นแพทย์และนักแคมีชาวสวิสเซอร์แลนด์ ซึ่งได้รับการยกย่องให้เป็นบิดาแห่งวิชาพิษวิทยา และเป็นผู้เสนอแนวคิดที่ว่าถึง การทดลองและย้ำให้เห็นความสำคัญของการทดลอง แนวคิดที่สอง คือให้ความสำคัญกับขนาดเพราะถ้าเราได้รับขนาดของพิษในระดับที่ต่างกันพิษทีเกิดขึ้นก็จะส่งผลที่แตกต่างกัน โดยพาราเซลซัสได้กล่าวประโยคสำคัญหนึ่งไว้ ความว่า “All substances are poisons; there is none which is not a poison. The right dose differentiates poison from a remedy” แปลเป็นไทยคือ “สารเคมีทุกชนิดล้วนเป็นพิษ ไม่มีสารเคมีชนิดใดที่ไม่มีพิษ ขนาดเท่านั้นที่จะเป็นตัวแยกระหว่างความเป็นพิษกับความเป็นยา” แนวคิดหลักของพาราเซลซัสยังคงได้รับความเชื่อถือเป็นหลักการที่สำคัญของพิษวิทยามาจนถึงทุกวันนี้
         ต่อมาได้มีบุคคลที่เกี่ยวข้องกับพิษวิทยาเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆได้แก่  รามาซซินี (Bernardino Ramazzini; ค.ศ. 1633 – 1714) นายแพทย์ชาวอิตาลี ได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งอาชีวเวชศาสตร์ ในเรื่องสารพิษหลายชนิดที่พบได้จากการทำงานของคนทำงาน ในยุคปัจจุบัน นายแพทย์เพอร์ซิวาล พอตต์ (Percival Pott; ค.ศ. 1714 – 1788) ศัลยแพทย์ชาวอังกฤษ ค้นพบความสัมพันธ์ระหว่างการสัมผัสเขม่าปล่องไฟกับการเกิดโรคมะเร็งถุงอัณฑะ ซึ่งทำให้ได้ทราบว่าพิษจากสารเคมีบางอย่างก่อให้เกิดโรคมะเร็งได้  ออร์ฟิลา (Orfila ชื่อเต็ม Mathieu Joseph Bonaventure Orfila; ค.ศ. 1787 – 1853) แพทย์และนักพิษวิทยาชาวสเปน ปัจจุบัน ออร์ฟิลา ได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งวิชาพิษวิทยาสมัยใหม่ (Modern toxicology)  ใช้การวิเคราะห์ทางเคมีเพื่อหาสารพิษจากศพ   นำผลพิสูจน์นั้นมาช่วยในกระบวนการยุติธรรม วางรากฐานนิติพิษวิทยา
         เมื่อเข้าสู่ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมอุตสาหกรรม (Industrial revolution; ราว ค.ศ. 1760 – 1840) สารเคมีหลายชนิดถูกพัฒนาสังเคราะห์ขึ้นได้ในปริมาณมาก เช่น กรดซัลฟูริก (Sulfuric acid) กรดเกลือ (Hydrochloric acid) โซดาแอช (Sodium carbonate) และถูกนำมาใช้ในอุตสาหกรรม สารเคมีอินทรีย์ถูกพัฒนาขึ้นในช่วงต่อมา และในสงครามโลกครั้งที่ 1 (World war I; ค.ศ. 1914 – 1918) ก็ได้มีการนำสารเคมีอินทรีย์เหล่านี้มาใช้เป็นอาวุธเคมี ได้แก่ แก๊สฟอสจีน (Phosgene) และแก๊สมัสตาร์ด (Mustard) สารเคมีอินทรีย์อื่นๆ เช่น คลอโรฟอร์ม (Chloroform) คาร์บอนเตตราคลอไรด์ (Carbon tetrachloride) ถูกค้นพบและนำมาใช้ ในอุตสาหกรรมมากขึ้น เหตุการณ์ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 (World war II; ค.ศ. 1939 – 1945) เป็นปัจจัยกระตุ้นให้มีการพัฒนาทางเทคโนโลยี และการสังเคราะห์สารเคมีชนิดใหม่ๆ ขึ้นมามากมาย ทั้งเพื่อใช้เป็นอาวุธสงคราม เช่น กลุ่มแก๊สพิษต่อระบบประสาท (Nerve gas) และเพื่อใช้ในกระบวนการผลิตทางอุตสาหกรรมต่างๆ การสังเคราะห์สารเคมีใหม่ๆ ยังคงพัฒนาต่อไปแม้สิ้นสุดสงครามแล้ว และถูกพัฒนาจนมีจำนวนมากมายตามการพัฒนาของอุตสาหกรรม จนมาถึงปัจจุบันนี้ พิษของสารเคมีต่างๆ ต่อคน สัตว์ พืช รวมถึงการปนเปื้อนสู่สิ่งแวดล้อมก็ถูกค้นพบมากขึ้น
         ออสวาลด์ ชไมเดอเบิร์ก (Oswald Schmiedeberg; ค.ศ. 1838 – 1921) เภสัชกรชาวเยอรมัน ผู้ได้รับการยกย่องให้เป็นบิดาของวิชาเภสัชศาสตร์สมัยใหม่ ศึกษาเรื่องพิษจลนศาสตร์ และยังเป็นอาจารย์สอนเภสัชกรและนักพิษวิทยาอีกด้วย
         แบรดฟอร์ด ฮิลล์ (Austin Bradford Hill; ค.ศ. 1897 – 1991) นักระบาดวิทยาและสถิติชาวอังกฤษ เป็นอีกท่านหนึ่งที่มีส่วนช่วยในการพัฒนาความรู้ทางด้านพิษวิทยา คือการเสนอแนวคิดเรื่องหลักการหาความเป็นสาเหตุ (Causal relationship) ทางระบาดวิทยา และใช้หลักการนี้พิสูจน์ความสัมพันธ์ของมะเร็งปอดกับการสูบบุหรี่ได้ หลักการนี้ช่วยให้นักพิษวิทยาสมัยใหม่นำมาใช้ในการประเมินความเสี่ยงของสารเคมีชนิดต่างๆ
         ในปี ค.ศ. 1962 ราเชล คาร์สัน (Rachel Carson; ค.ศ. 1 907 – 1 964) นักชีววิทยาชาวสหรัฐอเมริกา ได้ตีพิมพ์หนังสือเรื่อง Silent spring ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับผลกระทบของการใช้สารปราบศัตรูพืช เช่น ดีดีที (DDT) ต่อนกและสัตว์ชนิดต่างๆ หนังสือเล่มนี้ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย และทำให้เกิดความตื่นตัวในการพิทักษ์สิ่งแวดล้อมในสังคมตามมา เกิดการจัดตั้ง หน่วยงาน Environmental Protection Agency (EPA) ขึ้นในปี ค.ศ. 1970 และมีการยกเลิกการใช้สารดีดีทีในประเทศ สหรัฐอเมริกา จนเธอถูกยกย่องให้เป็นผู้ริเริ่มด้านการเคลื่อนไหวเพื่อสิ่งแวดล้อม (Environmental movement)

กลไกการเกิดพิษ

สิ่งที่ทำให้เกิดพิษหรือสารพิษ ซึ่งอาจจะเป็นสารเคมี ยา สารพิษและยังครอบคลุมไปถึงปัจจัยทางด้านกายภาพ เช่น เสียง แสง ความร้อน เป็นต้น และยังครอบคลุมถึงปัจจัยทางด้านชีวภาพอีกด้วย สื่งที่กล่าวมานี้จะสามารถทำให้เกิดอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตได้ และในกลไกการเกิดพิษจะทำให้เราทราบเกี่ยวกับการเกาะจับของสื่งที่จะทำให้เกิดสารพิษที่ส่งผลโดยตรงกับร่างกาย หรืออวัยวะ และส่วนต่างๆของเซลล์ภายในร่างกาย ส่วนสิ่งที่ทำให้เกิดพิษอาจจะเกิดขึ้นได้ในลักษณะที่แตกต่างกันออกไป เช่น เกิดความเป็นพิษเฉียบพลัน ความเป็นพิษเรื้อรัง หรืออาจจะเกิดความเป็นพิษในลักษณะเฉพาะ เช่น การกลายพันธุ์ การเกิดมะเร็ง เป็นต้น

ประเภทของสารพิษ

ประเภทของสารพิษ สารพิษสามารถแบ่งได้เป็น9ชนิด

1.) สารพิษป้องกันกำจัดศัตรูพืช (Pesticides) หมายถึงสารพิษที่มีส่วนผสมของสารเคมีที่ออกฤทธิ์ทำลายหรือขับไล่ศัตรูพืชสัตว์ ส่วนมนุษย์เป็นตัวสร้างสารพิษที่สำคัญนั่นเอง สารพิษป้องกันและกำจัดแมลง(Insecticides) เป็นสารพิษที่ใช้ป้องกันและกำจัดแมลง หนอนของพืช สัตว์ และมนุษย์ อาจเป็นสารพิษที่อยู่ในธรรมชาติหรือเป็นสารพิษที่มนุษย์สังเคราะห์ขึ้น

สารพิษที่มนุษย์สังเคราะห์ขึ้นมี4กลุ่ม ได้แก่

1.1กลุ่มมอแกนโนคลอรีน (Organocholrine) สารพิษกลุ่มนี้มีความคงตัวสลายตัวได้ยาก บางชนิดมีพิษตกค้างเป็นสิบๆปี มีประสิทธิภาพในการกำจัดแมลง มีฤทธิ์กกประสาททำให้หน้ามืดวิงเวียนศีระษะและอาจทำให้หัวใจวายและตายได้ สารพิษจำพวกนี้ ได้แก่ ดีดีที ออลดริน ดิลดริน เอนดริน เฮปคาคลอร์ ลินแดน และอื่นๆ

1.2กลุ่มออร์แกนโนฟอสเฟต(Organophosphate) เป็นสารที่มีฟอสฟอรัส(P) เป็นองค์ประกอบสำคัญ สารพิษกลุ่มนี้สลายตัวได้ง่ายและมีพิษตกค้างในสิ่งแวดล้อมไม่นานนัก เฉลี่ยประมาณ3-15วัน จะมีพิษรุนแรง มีประสิทธิภาพในการกำจัดแมลงได้ดี สารพิษพวกนี้จะมีผลต่อระดับความดันโลหิตและระดับเอนไซม์โคลีนเอสสเตอเรส (Cholinesterase) ในเลือด หากๆด้รับสารเข้าไปจะวิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้ เป็นตะคริว สารพิษจำพวกนี้ ได้แก่ คาร์บาริล,คาร์โบฟูเรน,ไบกอน และอื่นๆ

1.3กลุ่มไบรีรอย (Pyrethroids) เป็นสารพิษที่มีในธรรมชาติและจากการสังเคราะห์ขึ้นของมนุษย์ สารพิษกลุ่มนี้ใช้ฆ่าแมลงได้ดี แต่มีทุนสูงเพราะทุนในการสังเคราะห์จะสูงกว่าการสกัดในธรรมชาติ สารพิษกลุ่มนี้มีการสลายตัวง่าย มีพิษต่อมนุษย์และสัตว์เลือดอุ่นน้อย

2.)โลหะหนัก เป็นสารพิษที่พบในธรรมชาติและที่มนุษย์สังเคราะห์ขึ้น โลหะหนักที่สำคัญ ได้แก่ -ตะกั่ว เป็นโลหะที่มนุษย์นำมาใช้ประโยชน์ต่างๆมากมาย เช่น ใช้เป็นสารผสมในน้ำมันเชื้อเพลิง ทำโลหะเจือ สีทาเหล็ก กระสุนปืน ใช้ในอุตสาหกรรมแบตเตอรี่ อุตสาหกรรมกรดซัลฟูริค เป็นต้น ตะกั่วสามารถปะปนอยู่ในอาหาร ในบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมอื่นๆได้ ตะกั่วมีพิษทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเม็ดเลือดที่มีผลกระทบต่อประสาทและทำให้เกิดอันตรายต่อไต

3.)สารระคายผิว เป็นสารที่ทำให้เกิดโรคผิวหนังอักเสบได้ ได้แก่ พวกที่ดึงน้ำออก เมื่อถูกผิวหนังจะดึงจ้ำออกผิว เกิดความร้อนให้กรดที่กัดผิวหนัง เช่น ซัลเฟอร์ไดออกไซด์,ซัลเฟอร์ไทรออกไซด์,ฟอสฟอรัสเพนทอกไซด์,แคลเซียมออกไซด์,แคลเซียมคลอไรด์ -พวกที่ละลายไขมัน ได้แก่ ตัวทำละลายที่ใช้กันทั่วๆไป เช่น อะซีโตน ,อีเทอร์,เอสเตอ,สารละลายด่าง ตัวทำละลายนี้จะละลายไขมันตามธรรมชาติและอาจละลายผิวชั้นนอกได้ด้วย -พวกที่ทำปฏิกิริยากับน้ำ น้ำจะทำให้สารหลายชนิดแตกตัวให้อิออน เช่น น้ำกับฟอสฟอรัสเพนตะคลอไรด์ ให้คลอได์อิออนและกรดไฮไฮโปโครัส เป็นต้น -พวกที่ตกตะกอนโปรตีน เช่น เกลือของโลหะต่างๆ,กรดแทนนิล,ฟอมาดีไฮด์,แอลกอฮอล์ และอื่นๆ -พวกรีดิวเซอร์ จะไปดึงออกซิเจนออกมาและส่งผลให้ผิวลอกหรือผิวชั้นนอดกหนาขึ้น เช่น ไฮโดควินโนน,ซัลไฟท์ เป็นต้น -พวกออกซิไดเซอร์ ซึ่งจะรวมกับไฮโดรเจน ปล่อยออกซิเจนออกมา เช่น คลอรีน,เฟอร์รัคคลอไรด์,กรดโครมิล,สารเปอแมงกา-เนท เป็นต้น -พวกทำให้เป็นมะเร็ง โดยไปกระตุ้นการเติบโตของชั้นผิวนอกและกลายเป็นเซลล์มะเร็ง

4.)สารที่เป็นผงหรือฝุ่นซึ่งมีอนุภาคเล็กๆ เข้าสู่ร่างกายโดยการหายใจ ตัวอย่างเช่น ผงฝุ่นของแอสเบสเตอสทำให้เกิดโรคปอดแข็ง (Asbestosis) ผงฝุ่นของซิลิเกทเป็นอันตรายต่อปอด ผงฝุ่นของโลหะต่างๆ เช่น ตะกั่ว,ปรอท,แคดเมี่ยม และอื่นๆ

5.)สารที่ไอเป็นพิษ เป็นสารเคมีที่ให้ไอพิษ หากสูดดมเข้าไปทำให้เป็นอันตรายต่อร่างกาย ได้แก่ ตัวทำละลายชนิดต่างๆ เช่น เบนซิน,คาร์บอนไดซัลไฟต์,คาร์บอนเคดตะคลอไรด์,เมทธิบแอลกอฮอล์

6.)ก๊าซพิษ มีหลายชนิดที่เป็นประโยชน์ในด้านอุตสาหกรรมทจัมีก๊าซพิษบางชนิดที่อันตรายมาก โดยส่งผลให้ร่างกายขาดออกซิเจน ทำให้ร่างกายระคายเคือง เช่น พอสจีน,ไนโตรเจนออกไซด์,คาร์บอนมอนอกไซด์

7.)สารเจือปนในอาหาร เป็นสารเคมีที่นำมาใส่เข้าไปในอาหารโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อป้องกันมิให้อาหารเสีย และเพื่อคงหรือเพิ่มคุณสมบัติทางฟิสิกส์ของอาหาร ตลอดจนเพื่อให้อาหารนั้นมีกลิ่น รส สี ที่น่ารับประทานมากยิ่งขึ้น สารเคมีเหล่านี้ บางชนิดถ้าใส่ในปริมาณมากเกินไปก็จะก่อให้เกิดเป็นพิษเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคได้ ตัวอย่าง เช่น สารไนเตรทไนไตรท์ ผงชูรส โซเดียม เบนโซเอท เป็นต้น นอกจากนี้สารเคมีบางชนิดก็เป็นสารที่เป็นพิษมีอันตรายต่อผู้บริโภคได้ ตัวอย่างเช่น สีย้อมผ้า กรดกำมะถัน บอแรกซ์ กรดซาลิโซลิก เป็นต้น

8.)สารที่สังเคราะห์โดยสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ได้แก่ สารที่สังเคราะห์จากเชื้อรา แบคทีเรีย พืช และสัตว์บางชนิด ตัวอย่างของสารพิษที่เกิดจากเชื้อรา เช่น สารพิษ Aflatoxin เกิดจากเชื้อราพวก Aspergillus flavus ที่ขึ้นอยู่ในถั่วลิสง ข้าวโพดหรืออาหารแห้งอื่นๆ หรือสารพิษ Botulinum toxin เกิดจากเชื้อแบททีเรีย Clostridium botulinum ที่ขึ้นในอาหารกระป๋องที่ผลิตไม่ได้มาตราฐานสารพิษ Trichothecene หรือ T-2 toxin เกิดจากเชื้อรา Fusarium tricinetum ที่ขึ้นในข้าวโพด เป็นต้น สำหรับพืชและสัตว์ที่สามารถสร้างสารพิษได้ เช่น เห็ดพิษ กลอย มันสำปะหลัง คางคก เหรา (สัตว์ทะเลชนิดหนึ่ง) ปลาปักเป้า เป็นต้น

9.) สารกัมมันตภาพรังสี เป็นสารที่สามารถแผ่รังสีมาจากตัวเองได้ มนุษย์ได้มำมาใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ ที่สำคัญคือในด้านการแพทย์ และการผลิตไฟฟ้า สารกัมมันตภาพรังสีนับเป็นสารที่มีพิษต่อสิ่งมีชีวิตมากที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับสารพิษชนิดอื่นๆ โดยจะทำอันตรายโดยตรง และถ่ายทอดไปสู่ลูกหลานได้อีกด้วย กัมมันตภาพรังสีที่แผ่ออกมามี 3 ชนิด คือ รังสีอัลฟา รังสีเบต้า และรังสีแกมมา สารกัมมันตภาพรังสีในธรรมชาติมีหลายตระกูล แต่ที่สำคัญที่สุด คือ ตระกูลยูเรเนียม และตระกูลทอเรียม ที่สำคัญรองลงมาคือ โปแตสเซียม -40 ยูบีเดียม – 87 สมาเรียม – 147 ลูซีเตียม – 176 และเรเดียม – 220 เป็นต้น

การเข้าสู่ร่างกายของสารพิษ

สารพิษเข้าสู่ร่างกายได้3ทาง คือ

1.ทางจมูก เป็นการเข้าสู่ร่างกายด้วยวิธีการสูดดม ละอองของสารพิษจะเข้าไปปะปนกับลมหายใจซึ่งสารพิษบางชนิดจะมีฤทธิ์กัดกร่อน ส่งผลให้เยื่อจมูกและหลอดลมอักเสบหรือสารพิษซึมผ่านเนื้อเยื่อเข้าสู่กระแสโลหิตส่งผลให้โลหิตเป็นพิษ

2.ทางปาก อาจเป็นการเข้าปากโดยบางครั้งเราไม่รู้ตัว เช่น หยิบอาหารรับประทานโดยที่ไม่ล้างมือ หรือกินผักผลไม้ที่มีสารเคมีตกค้างอยู่ หรือในบางกรณีที่ตั้งใจกินสารพิษเพื่อฆ่าตัวตาย

3.ทางผิวหนัง เป็นการสัมผัสหรือจับต้องสารพิษ ซึ่งสารพิษสามารถซึมเข้าสู่ผิวหนังได้ เมื่อเข้าไปทำปฏิกิริยากับร่างกายทำให้เกิดพิษต่อร่างกาย

    สารพิษเมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้ว ไม่ว่าจะเป็นทางใดก็ตาม หากมีความเข้มข้นจะทำปฏิกิริยา ณ จุดสัมผัสและซึมเข้าสู่ร่างกายหรือกระแสโลหิต กระแสโลหิตจะพาสารพิษไปทั่วร่างกาย ความสามารถในการแพร่เข้าสู่โลหิตจะขึ้นอยู่กับคุณสมบัติการละลายน้ำของสารพิษนั้นและสารพิษบางชนิดร่างกายสามารถขับออกทางไตได้ แต่จะส่งผลต่อทางเดินปัสสวะและกระเพาะปัสสวะ อีกทั้งยังมีสารพิษบางชนิดที่ถูกสะสมไว้ที่ตับและไขมัน

อันตรายจากสารพิษ และวิธีการป้องกัน

สารพิษ สารเคมี หรือวัตถุที่เข้าสู่ร่างกายในปริมาณที่ทำปฏิกิริยาต่อโครงสร้างและหน้าที่ของร่างกาย จนทำให้เกิดอันตรายต่อชีวิต อันตรายที่เกิดขึ้นอาจจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับชนิดและปริมาณสารพิษที่ได้รับ
สารพิษเข้าสู่ร่างกายได้ 4 วิธี คือ

1. ทางปาก
2.ทางระบบทางเดินหายใจ
3.ทางผิวหนัง

การได้รับสารพิษแบบเฉียบพลัน (Acute exposure) หมายถึง การได้รับสารพิษในปริมาณมากในระยะเวลาน้อยกว่า 24 ชั่วโมง ส่วนใหญ่จะเป็นการฉีดเข้าช่องท้อง ฉีดเข้าใต้ผิวหนัง การกิน หรือการทาที่ผิวหนังโดยตรง เป็นต้น
การได้รับสารพิษแบบกึ่งเฉียบพลัน (Subacute exposure) หมายถึง การได้รับสารพิษเข้าสู่ร่างกายในปริมาณน้อยติดต่อกันเป็นเวลา 1 เดือน หรือน้อยกว่า
การได้รับสารพิษแบบกึ่งเรื้อรัง (Subchonic exposure) หมายถึง การได้รับสารพิษเข้าสู่ร่างกายในปริมาณน้อยติดต่อกันเป็นเวลา 1-3 เดือน
การได้รับสารพิษแบบเรื้อรัง (Chonic exposure) หมายถึง การได้รับสารพิษเข้าสู่ร่างกายภายในปริมาณน้อยเป็นเวลานานเกิน 3 เดือนขึ้นไป

อ้างอิง

http://www.summacheeva.org/index_thaitox_basic.htm https://wedbre.wordpress.com/2015/02/26/%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%A9%E0%B8%96%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99-9-%E0%B8%8A/

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น