ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สโมสรฟุตบอลนิวคาสเซิลยูไนเต็ด"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Thunder Production (คุย | ส่วนร่วม)
รายงานภาพรวม ฤดูกาล 2016-17
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 11: บรรทัด 11:
| manager = [[ราฟาเอล เบนีเตซ]]
| manager = [[ราฟาเอล เบนีเตซ]]
| league = [[ฟุตบอลลีกแชมเปียนชิป]]
| league = [[ฟุตบอลลีกแชมเปียนชิป]]
| season = [[พรีเมียร์ลีก ฤดูกาล 2015–16|2015–16]]
| season = [[อีเอฟแอลแชมเปียนชิป ฤดูกาล 2016–17|2016–17]]
| position = พรีเมียร์ลีก, อันดับที่ 18 (ตกชั้น)
| position = เดอะแชมเปียนชิป, อันดับที่ 1 (แชมป์–ได้เลื่อนชั้น)
| current = สโมสรฟุตบอลนิวคาสเซิลยูไนเต็ดในฤดูกาล 2015–16
| current = สโมสรฟุตบอลนิวคาสเซิลยูไนเต็ดในฤดูกาล 2015–16
| website = http://www.nufc.co.uk
| website = http://www.nufc.co.uk
บรรทัด 48: บรรทัด 48:
'''สโมสรฟุตบอลนิวคาสเซิลยูไนเต็ด''' ({{lang-en|Newcastle United Football Club}}; ตัวย่อ: NUFC) เป็นทีม[[ฟุตบอล]]อาชีพทีมหนึ่งในฟุตบอลลีก[[อังกฤษ]] ตั้งอยู่ที่เมือง[[นิวคาสเซิลอะพอนไทน์]] มีชื่อเล่นของทีมว่า "[[นกสาลิกาปากดำ|แม็กพายส์]]" ("สาลิกาดง" หรือ "กางเขนเหล็ก" ในภาษาไทย) แฟนของทีมนิวคาสเซิลยูไนเต็ด จะมีชื่อเรียกว่า "ทูนอาร์มี" ซึ่งคำว่า "ทูน" นั้นเป็น[[ภาษาอังกฤษเก่า|ภาษาแซกซัน]] คือคำว่า "ทาวน์" ที่แปลว่า "เมือง" <ref>{{cite web|url=http://tv.ohozaa.com/hourly-rerun/tpbs/2015-01-01/18/|title=สารคดีท่องโลกกว้าง: ท่องทั่วทวีป |date=1 January 2015|accessdate=2 January 2015|publisher=ไทยพีบีเอส}}</ref>
'''สโมสรฟุตบอลนิวคาสเซิลยูไนเต็ด''' ({{lang-en|Newcastle United Football Club}}; ตัวย่อ: NUFC) เป็นทีม[[ฟุตบอล]]อาชีพทีมหนึ่งในฟุตบอลลีก[[อังกฤษ]] ตั้งอยู่ที่เมือง[[นิวคาสเซิลอะพอนไทน์]] มีชื่อเล่นของทีมว่า "[[นกสาลิกาปากดำ|แม็กพายส์]]" ("สาลิกาดง" หรือ "กางเขนเหล็ก" ในภาษาไทย) แฟนของทีมนิวคาสเซิลยูไนเต็ด จะมีชื่อเรียกว่า "ทูนอาร์มี" ซึ่งคำว่า "ทูน" นั้นเป็น[[ภาษาอังกฤษเก่า|ภาษาแซกซัน]] คือคำว่า "ทาวน์" ที่แปลว่า "เมือง" <ref>{{cite web|url=http://tv.ohozaa.com/hourly-rerun/tpbs/2015-01-01/18/|title=สารคดีท่องโลกกว้าง: ท่องทั่วทวีป |date=1 January 2015|accessdate=2 January 2015|publisher=ไทยพีบีเอส}}</ref>


นิวคาสเซิลยูไนเต็ดถือว่ามีคู่แข่งในแถบภาคตะวันออกเฉียงเหนือด้วยกัน คือ [[สโมสรฟุตบอลซันเดอร์แลนด์|ซันเดอร์แลนด์]] ({{lang|en|Sunderland}}) และ [[สโมสรฟุตบอลมิดเดิลส์เบรอ|มิดเดิลส์เบรอ]] ({{lang|en|Middlesbrough}})
นิวคาสเซิลยูไนเต็ดถือว่ามีคู่แข่งในแถบภาคตะวันออกเฉียงเหนือด้วยกัน คือ [[สโมสรฟุตบอลซันเดอร์แลนด์|ซันเดอร์แลนด์]] และ [[สโมสรฟุตบอลมิดเดิลส์เบรอ|มิดเดิลส์เบรอ]]


ใน[[พรีเมียร์ลีก ฤดูกาล 2015–16|ฤดูกาล 2015–16]] นิวคาสเซิลยูไนเต็ดต้องตกชั้นลงไปเล่นใน[[เดอะแชมเปียนชิป]] หลังจากจบการเล่นนัดที่ 37 ของฤดูกาล เนื่องจากมีเพียง 34 คะแนน และอยู่ในอันดับ 18 ของตารางคะแนน ซึ่งไม่สามารถไล่ตามทันทีมที่อยู่ในอันดับ 17 คือ ซันเดอร์แลนด์ ที่มี 38 คะแนน ได้ทันแล้ว เนื่องจากเหลือการแข่งขันอีกเพียงนัดเดียว <ref>{{cite web|url=http://www.manager.co.th/sport/ViewNews.aspx?NewsID=9590000047706|title= "เบนเตเก" ฮีโร่โขกหงส์เจ๊าสิงห์ 1-1 "นิว-นอริช" ตกชั้น
ใน[[พรีเมียร์ลีก ฤดูกาล 2015–16|ฤดูกาล 2015–16]] นิวคาสเซิลยูไนเต็ดต้องตกชั้นลงไปเล่นใน[[เดอะแชมเปียนชิป]] หลังจากจบการเล่นนัดที่ 37 ของฤดูกาล เนื่องจากมีเพียง 34 คะแนน และอยู่ในอันดับ 18 ของตารางคะแนน ซึ่งไม่สามารถไล่ตามทันทีมที่อยู่ในอันดับ 17 คือ ซันเดอร์แลนด์ ที่มี 38 คะแนน ได้ทันแล้ว เนื่องจากเหลือการแข่งขันอีกเพียงนัดเดียว <ref>{{cite web|url=http://www.manager.co.th/sport/ViewNews.aspx?NewsID=9590000047706|title= "เบนเตเก" ฮีโร่โขกหงส์เจ๊าสิงห์ 1-1 "นิว-นอริช" ตกชั้น
| date = 12 May 2016|accessdate=12 May 2016|publisher=ผู้จัดการออนไลน์}}</ref>
| date = 12 May 2016|accessdate=12 May 2016|publisher=ผู้จัดการออนไลน์}}</ref>


[[อีเอฟแอลแชมเปียนชิป ฤดูกาล 2016–17|แต่เพียงฤดูกาลเดียว]] นิวคาสเซิลยูไนเต็ดก็ได้เลื่อนชั้นกลับขึ้นไปเล่นในพรีเมียร์ลีก โดยหลังจากชนะ[[เปรสตันแอนด์โฮฟอัลเบียน]]ไป 4-1 และมีคะแนนทิ้งห่างจากทีมอันดับ 3 คือ [[สโมสรฟุตบอลเรดิง|เรดิง]]ถึง 9 คะแนน และตามหลังไบรตันแอนด์โฮฟอัลเบียน 1 คะแนน และเมื่อจบฤดูกาล นิวคาสเซิลยูไนเต็ดได้แชมป์ โดยมี 94 คะแนน มากกว่าไบรตันแอนด์โฮฟอัลเบียนที่ได้เลื่อนชั้นไปก่อนแล้ว 1 คะแนน<ref>{{cite web|url=http://www.manager.co.th/Sport/ViewNews.aspx?NewsID=9600000046364&Html=1&#Opinion|title=สรุปเวทีแชมเปียนชิป "สาลิกา" แชมป์!! พร้อมอีก 4 ทีมเพลย์ออฟ|date=2017-05-08|accessdate=2017-05-08|work=ผู้จัดการออนไลน์}}</ref>
[[อีเอฟแอลแชมเปียนชิป|ในฤดูกาล 2016-17]] พวกเขาได้เลื่อนชั้นขึ้นไปเล่นในพรีเมียร์ลีก

หลังจากชนะ[[สโมสรฟุตบอลเพรสตันนอร์ทเอนด์|สโมสรฟุตบอลเปรสตัน]]ไป 4-1 และมีคะแนนทิ้งห่างจาก

ทีมอันดับ 3 [[สโมสรฟุตบอลเรดิง|เรดิง]]ถึง 9 คะแนน และตามหลัง [[สโมสรฟุตบอลไบรตันแอนด์โฮฟอัลเบียน]] 1 คะแนน


== ประวัติสโมสร ==
== ประวัติสโมสร ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 14:47, 8 พฤษภาคม 2560

สโมสรฟุตบอลนิวคาสเซิลยูไนเต็ด
Club logo
ชื่อเต็มสโมสรฟุตบอลนิวคาสเซิลยูไนเต็ด
ฉายาเดอะแม็กพาย, เดอะทูน
สาลิกาดง (ภาษาไทย)
ก่อตั้งค.ศ. 1892
สนามเซนต์เจมส์พาร์ก[1]
Ground ความจุ52,387 คน
เจ้าของไมค์ แอชลีย์
ประธานลี ชาร์นลีย์
ผู้จัดการราฟาเอล เบนีเตซ
ลีกฟุตบอลลีกแชมเปียนชิป
2016–17เดอะแชมเปียนชิป, อันดับที่ 1 (แชมป์–ได้เลื่อนชั้น)
เว็บไซต์เว็บไซต์สโมสร
สีชุดทีมเยือน
สีชุดที่สาม
ฤดูกาลปัจจุบัน

สโมสรฟุตบอลนิวคาสเซิลยูไนเต็ด (อังกฤษ: Newcastle United Football Club; ตัวย่อ: NUFC) เป็นทีมฟุตบอลอาชีพทีมหนึ่งในฟุตบอลลีกอังกฤษ ตั้งอยู่ที่เมืองนิวคาสเซิลอะพอนไทน์ มีชื่อเล่นของทีมว่า "แม็กพายส์" ("สาลิกาดง" หรือ "กางเขนเหล็ก" ในภาษาไทย) แฟนของทีมนิวคาสเซิลยูไนเต็ด จะมีชื่อเรียกว่า "ทูนอาร์มี" ซึ่งคำว่า "ทูน" นั้นเป็นภาษาแซกซัน คือคำว่า "ทาวน์" ที่แปลว่า "เมือง" [2]

นิวคาสเซิลยูไนเต็ดถือว่ามีคู่แข่งในแถบภาคตะวันออกเฉียงเหนือด้วยกัน คือ ซันเดอร์แลนด์ และ มิดเดิลส์เบรอ

ในฤดูกาล 2015–16 นิวคาสเซิลยูไนเต็ดต้องตกชั้นลงไปเล่นในเดอะแชมเปียนชิป หลังจากจบการเล่นนัดที่ 37 ของฤดูกาล เนื่องจากมีเพียง 34 คะแนน และอยู่ในอันดับ 18 ของตารางคะแนน ซึ่งไม่สามารถไล่ตามทันทีมที่อยู่ในอันดับ 17 คือ ซันเดอร์แลนด์ ที่มี 38 คะแนน ได้ทันแล้ว เนื่องจากเหลือการแข่งขันอีกเพียงนัดเดียว [3]

แต่เพียงฤดูกาลเดียว นิวคาสเซิลยูไนเต็ดก็ได้เลื่อนชั้นกลับขึ้นไปเล่นในพรีเมียร์ลีก โดยหลังจากชนะเปรสตันแอนด์โฮฟอัลเบียนไป 4-1 และมีคะแนนทิ้งห่างจากทีมอันดับ 3 คือ เรดิงถึง 9 คะแนน และตามหลังไบรตันแอนด์โฮฟอัลเบียน 1 คะแนน และเมื่อจบฤดูกาล นิวคาสเซิลยูไนเต็ดได้แชมป์ โดยมี 94 คะแนน มากกว่าไบรตันแอนด์โฮฟอัลเบียนที่ได้เลื่อนชั้นไปก่อนแล้ว 1 คะแนน[4]

ประวัติสโมสร

ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1881 ทีมคริกเก็ตสแตนลีย์ได้ตัดสินใจตั้งทีมฟุตบอลขึ้น เพื่อลงเล่นในช่วงที่ฤดูกาลแข่งขันคริกเก็ตปิดตัวลงในฤดูหนาว พวกเขาชนะเกมแรกที่ลงแข่งขันด้วยสกอร์ 5-0 โดยมีคู่แข่งเป็นทีมเอลสวิกเลเธอร์เวิร์คส์ชุดสำรอง หนึ่งปีต่อมา ทีมก็ถูกเปลี่ยนชื่อเป็นสโมสรฟุตบอลนิวคาสเซิลอีสต์เอนด์

ขณะเดียวกัน ทีมคริกเก็ตอีกทีมหนึ่งในย่านเดียวกันก็ได้เริ่มสนใจที่จะตั้งทีมฟุตบอล จนกระทั่งมีการก่อตั้งสโมสรฟุตบอลนิวคาสเซิลเวสต์เอนด์ขึ้น ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1882 โดยในช่วงแรกนั้น พวกเขาใช้สนามคริกเก็ตเดิมเป็นสนามเหย้า ก่อนที่จะย้ายไปลงเตะในเซนต์เจมส์พาร์ก

หลังจากนั้น ได้มีการจัดตั้งฟุตบอลลีกท้องถิ่นขึ้นในปี ค.ศ. 1889 การที่มีลีกอาชีพในบริเวณใกล้เคียงให้ลงเตะ ประกอบกับความสนใจในถ้วยเอฟเอคัพ ทำให้นิวคาสเซิลอีสต์เอนด์เปลี่ยนจากทีมสมัครเล่นมาเป็นทีมอาชีพในปีเดียวกันนั้นเอง แต่ทว่าทางฝั่งนิวคาสเซิลเวสต์เอนด์กลับล้มเหลวที่จะตามรอยทีมเพื่อนบ้านสู่สถานะทีมฟุตบอลอาชีพ จนกระทั่งในช่วงต้นปี ค.ศ. 1892 ผู้บริหารของนิวคาสเซิลเวสต์เอนด์ได้ตัดสินใจที่จะขอเข้าควบกิจการกับนิวคาสเซิลอีสต์เอนด์ เพื่อมิให้ทีมต้องยุบตัวลงโดยสิ้นเชิง

การควบกิจการเป็นไปด้วยดี ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1892 ชื่อ นิวคาสเซิลยูไนเต็ด ก็ถูกเลือกให้เป็นชื่อใหม่ของทีม

นิวคาสเซิลสามารถคว้าแชมป์ลีกสูงสุดของประเทศมาครองได้ถึงสามสมัยในช่วงทศวรรษ 1900s และยังเข้าชิงชนะเลิศเอฟเอคัพถึง 5 ครั้งใน 7 ฤดูกาล แต่สามารถเป็นแชมป์ได้เพียงครั้งเดียวเท่านั้นในปี ค.ศ. 1910 หลังจากเอาชนะบาร์นสลีย์ไปได้ในการเตะนัดรีเพลย์ที่กูดิสันพาร์ก

หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 1 สิ้นสุดลง พวกเขาคว้าแชมป์เอฟเอคัพได้อีกสมัยโดยการเอาชนะแอสตันวิลลาในรอบชิงชนะเลิศที่สนามเวมบลีย์ นอกจากนั้น นิวคาสเซิลยังเป็นแชมป์ลีกได้อีกหนึ่งสมัยในปี ค.ศ. 1927 อีกด้วย

ในช่วงทศวรรษ 1950s นิวคาสเซิลเป็นแชมป์เอฟเอคัพถึง 3 สมัยในช่วงเวลา 5 ปี โดยเอาชนะแบล็กพูล 2-0 ในปี ค.ศ. 1951 ชนะอาร์เซนอล 1-0 ในปี ค.ศ. 1952 และชนะแมนเชสเตอร์ ซิตี 3-1 ในปี ค.ศ. 1955 โดยทีมนิวคาสเซิลในยุคนั้น มีผู้เล่นชื่อดังอยู่หลายคนด้วยกัน เช่น แจคกี มิลเบิร์น, บ็อบบี มิทเชลล์ และ สแตน เซมัวร์

หลังจากตกชั้นลงไปเล่นในดิวิชันสองอยู่ชั่วขณะ นิวคาสเซิลที่นำโดยผู้จัดการทีม โจ ฮาร์วีย์ ก็ได้เลื่อนชั้นกลับสู่ลีกสูงสุดในปี ค.ศ. 1965 แต่ทว่าฟอร์มของพวกเขาหลังจากนั้นไม่สม่ำเสมอนัก

ทีมของฮาร์วีย์สามารถทำอันดับผ่านเข้าไปเล่นฟุตบอลถ้วยยุโรปครั้งแรกในปี ค.ศ. 1968 ก่อนจะคว้าแชมป์ถ้วยอินเตอร์-ซิตีส์ แฟร์ส คัพ (หรือถ้วยยูฟ่าคัพในปัจจุบัน) ไปครองอย่างเหนือความคาดหมายในปีถัดมา โดยสามารถเอาชนะทีมใหญ่ในยุโรปของยุคนั้นไปได้หลายราย ไม่ว่าจะเป็นสปอร์ติงลิสบอนจากโปรตุเกส, ไฟเยอโนร์ดจากเนเธอร์แลนด์ และเรอัลซาราโกซาจากสเปน และปิดท้ายด้วยการคว่ำทีมอุจเพสท์จากฮังการีในรอบชิงชนะเลิศ

นับตั้งแต่ก่อตั้งทีมมา นิวคาสเซิลมักจะมอบเสื้อหมายเลข 9 ให้แก่ผู้เล่นกองหน้าชื่อดังประจำทีม โดยประเพณีนี้ยังคงตกทอดต่อมาจนถึงปัจจุบัน สำหรับในช่วงเวลานั้น ผู้เล่นที่ได้ใส่เสื้อหมายเลข 9 มีหลายคนด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น วิน เดวีส์, ไบรอัน ร็อบสัน, บ็อบบี มอนเคอร์ หรือแฟรงค์ คลาร์ก

หลังจากประสบความสำเร็จในฟุตบอลสโมสรยุโรป ฮาร์วีย์ก็ได้ดึงตัวผู้เล่นเกมรุกชื่อดังมากมายเข้ามาร่วมทีม นับตั้งแต่ จิมมี สมิธ, โทนี กรีน และเทอร์รี ฮิบบิทท์ ไปจนถึงยอดศูนย์หน้าอย่าง มัลคอล์ม แมคโดแนลด์ เจ้าของฉายา 'ซูเปอร์แมค' ผู้เป็นหนึ่งในตำนานของสโมสร แมคโดแนลด์พานิวคาสเซิลเข้าชิงชนะเลิศถ้วยเอฟเอคัพและลีกคัพกับลิเวอร์พูลและแมนเชสเตอร์ซิตีในปี ค.ศ. 1974 และ ค.ศ. 1976 ตามลำดับ แต่พลพรรคแม็กพายส์กลับล้มเหลวในรอบชิงทั้งสองครั้ง

ในช่วงต้นทศวรรษ 1980s นิวคาสเซิลอยู่ในช่วงตกต่ำ โดยได้ตกชั้นลงไปเล่นอยู่ในดิวิชัน 2 อยู่เป็นเวลาหลายปี ก่อนที่ผู้จัดการทีมอาร์เธอร์ ค็อกซ์จะสร้างทีมขึ้นมาใหม่โดยมีเควิน คีแกน อดีตกัปตันทีมชาติอังกฤษเป็นแกนหลัก จนกระทั่งได้เลื่อนชั้นกลับสู่ลีกสูงสุด

หลังจากนั้น นิวคาสเซิลเล่นอยู่ในดิวิชัน 1 จนกระทั่งพวกเขาตกชั้นอีกครั้งในปี ค.ศ. 1989

ในปี ค.ศ. 1992 เควิน คีแกน ได้กลับคืนสู่นิวคาสเซิลอีกครั้งในฐานะผู้จัดการทีม เมื่อเขาตอบรับสัญญาระยะสั้น เข้ามาคุมทีมแทนออสซี อาร์ดิเลส ตัวคีแกนเองนั้นกล่าวว่า งานคุมทีมนิวคาสเซิลเป็นงานเดียวเท่านั้น ที่สามารถทำให้เขาหวนคืนสู่วงการฟุตบอลได้ ในขณะนั้น นิวคาสเซิลกำลังดิ้นรนหนีการตกชั้นอยู่ในดิวิชัน 2 ถึงแม้ว่าจะเพิ่งถูกซื้อกิจการโดยเซอร์ จอห์น ฮอลล์ไปไม่นานก็ตาม และในฤดูกาลนั้น นิวคาสเซิลสามารถหนีรอดพ้นการตกชั้นไปได้ โดยเปิดบ้านเอาชนะปอร์ทสมัธก่อนจะบุกไปเอาชนะเลสเตอร์ ซิตีในสองเกมสุดท้ายของฤดูกาล

ในฤดูกาลถัดมา (1992-93) ฟอร์มของนิวคาสเซิลเปลี่ยนแปลงไปจากหน้ามือเป็นหลังมือ พวกเขาเล่นฟุตบอลเกมรุกแบบตื่นตาตื่นใจ จนกระทั่งคว้าชัยชนะในเกมลีก 11 นัดแรก ก่อนที่จะก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งแชมป์ดิวิชัน 1 และเลื่อนชั้นขึ้นสู่พรีเมียร์ลีกด้วยชัยชนะเหนือกริมสบี ทาวน์ 2-0

นิวคาสเซิลประสบความสำเร็จในระดับสูงสุดภายใต้การคุมทีมของคีแกน พวกเขาจบฤดูกาล 1993-94 ที่อันดับ 3 และได้รับการตั้งฉายาโดยสื่อมวลชนอังกฤษว่าเป็น "The Entertainers"

ในปีถัดมา นิวคาสเซิลจบฤดูกาลที่อันดับ 6 หลังจากที่ช็อกแฟนบอลด้วยการขายกองหน้าจอมถล่มประตู แอนดี โคล ให้กับแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดด้วยค่าตัว 6,000,000 ปอนด์ บวกกับคีธ กิลเลสพี ปีกขวาดาวรุ่งชาวไอริช

เปิดฉากความท้าทาย

ในปี 1995-96 นิวคาสเซิลเสริมทีมครั้งใหญ่ โดยดึงตัวผู้เล่นชื่อดัง เช่น ดาวิด ชิโนลา และ เลส เฟอร์ดินานด์ มาร่วมทีม พวกเขาเกือบที่จะคว้าแชมป์พรีเมียร์ลีกได้สำเร็จ แต่ก็ทำได้เพียงตำแหน่งรองแชมป์ ทั้งที่ในช่วงคริสต์มาส พวกเขาทิ้งห่างแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดถึง 12 คะแนน และเกมที่นิวคาสเซิลพ่ายให้กับลิเวอร์พูลไป 3-4 ที่สนามแอนฟิลด์ในฤดูกาลนี้ ได้รับการโหวตให้เป็นเกมยอดเยี่ยมตลอดกาลของพรีเมียร์ลีกเลยทีเดียว

นิวคาสเซิลเข้าป้ายเป็นอันดับที่ 2 อีกครั้งในปีถัดมา แม้ว่าจะทำการเซ็นสัญญากองหน้าทีมชาติอังกฤษ แอลัน เชียเรอร์ มาร่วมทีมด้วยค่าตัวสถิติโลก 15,000,000 ปอนด์ สำหรับฤดูกาล 1996-97 นี้ เป็นที่จดจำของแฟนบอลหลายคน เนื่องจากนิวคาสเซิลได้ถล่มเอาชนะแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดไปด้วยสกอร์ถึง 5-0 เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม ค.ศ. 1996

ช่วงปัญหา

คีแกนลาออกจากตำแหน่งผู้จัดการทีมในเดือนมกราคม ค.ศ. 1997 และถูกแทนที่โดยเคนนี ดัลกลิช ซึ่งได้รับเลือกเพื่อมาช่วยแก้ปัญหาเกมรับของทีม ในช่วงครึ่งฤดูกาลหลังของปี 1997-98 ดัลกลิชพานิวคาสเซิลเข้าไปเล่นฟุตบอลยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก และพ่ายต่ออาร์เซนอลในรอบชิงชนะเลิศถ้วยเอฟเอคัพไป 0-2 หลังจากนั้น แฟนบอลก็เริ่มที่จะไม่พอใจกับสไตล์การทำทีมที่เน้นเกมรับของดัลกลิช เมื่อบวกกับผลงานที่ตกต่ำลงของทีม เป็นผลให้ดัลกลิชถูกปลดออกจากตำแหน่งในช่วงต้นฤดูกาล 1998-99

รืด คึลลิตก้าวเข้ามารับตำแหน่งผู้จัดการทีมต่อจากดัลกลิช และพาทีมเข้าชิงชนะเลิศเอฟเอคัพอีกครั้ง ก่อนจะพ่ายให้กับแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดไปในที่สุด แต่คึลลิตได้ทำการซื้อตัวผู้เล่นราคาแพงหลายคนที่ล้มเหลวอย่างสิ้นเชิงในพรีเมียร์ลีก เช่นมาร์เซลิโน กองหลังชาวสเปน และซิลวิโอ มาริช มิดฟิลด์โครเอเชีย นอกจากนี้คึลลิตยังมีปากเสียงกับผู้เล่นคนสำคัญหลายคนในทีม ทั้งหมดนี้ประกอบกับการเริ่มต้นฤดูกาล 1999-2000 ได้อย่างเลวร้าย ทำให้คึลลิตถูกกดดันให้ลาออกไป

ยุคแห่งความสำเร็จ

นิวคาสเซิลตัดสินใจแต่งตั้งเซอร์ บ็อบบี ร็อบสัน อดีตผู้จัดการทีมชาติอังกฤษเข้ามากู้สถานการณ์ของทีม ซึ่งในขณะนั้นอยู่ในโซนตกชั้น เกมเหย้าเกมแรกของนิวคาสเซิลภายใต้ร็อบสันจบลงด้วยชัยชนะ 8-0 เหนือเชฟฟิลด์ เวนส์เดย์ พร้อมทั้ง 5 ประตูจากกัปตันทีมแอลัน เชียเรอร์ ในช่วงที่ร็อบสันคุมทีม นิวคาสเซิลได้สร้างทีมขึ้นมาใหม่โดยอาศัยนักเตะดาวรุ่งเป็นแกนหลัก ผู้เล่นอย่างคีรอน ดายเออร์, เคร็ก เบลลามี่ และโลรองต์ โรแบร์ ทำให้นิวคาสเซิลกลับมาเป็นทีมระดับหัวแถวของพรีเมียร์ลีกอีกครั้ง ฟุตบอลเกมรุกอันน่าตื่นเต้นของพวกเขาทำให้นิวคาสเซิลทำผลงานได้อย่างยอดเยี่ยมในฤดูกาล 2001-02 จนได้กลับเข้าไปเล่นในรายการยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก และได้เข้าไปเล่นในรอบ 8 ทีมสุดท้ายของถ้วยเอฟเอคัพและลีกคัพ

ในฤดูกาล 2002-03 นิวคาสเซิลได้สร้างประวัติศาสตร์ เป็นทีมแรกในยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกที่แพ้ในรอบแบ่งกลุ่ม 3 เกมแรกแล้วยังสามารถผ่านเข้ารอบต่อไปได้ ก่อนจะตกรอบแบ่งกลุ่มรอบสอง หลังจากถูกจับฉลากแบ่งสายไปอยู่ในกลุ่มเดียวกับทีมยักษ์ใหญ่อย่างบาร์เซโลนา และ อินเตอร์ มิลาน ส่วนผลงานในพรีเมียร์ลีกนั้น นิวคาสเซิลก็ยังคงทำได้ดีอย่างสม่ำเสมอ จนจบฤดูกาลในอันดับที่ 3

ต่อมาในฤดูกาล 2003-04 นิวคาสเซิลตกรอบคัดเลือกยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกหลังพ่ายในการดวลจุดโทษให้กับพาร์ทิซาน เบลเกรด จนต้องตกชั้นลงไปเล่นในถ้วยยูฟ่าคัพแทน และจบฤดูกาลในอันดับที่ 5 รวมทั้งเข้าถึงรอบรองชนะเลิศถ้วยยูฟ่าคัพ แต่หลังจากนั้นทางสโมสรได้ทำการปลด เซอร์ บ็อบบี ร็อบสัน ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2004 และได้แต่งตั้งแกรม ซูเนส ขึ้นเป็นผู้จัดการทีมแทน

ช่วงที่น่าผิดหวัง

ในฤดูกาล 2004-2005 แกรม ซูเนส ได้เซ็นสัญญาไมเคิล โอเวน มาสู่ทีมโดยมีค่าตัวเป็นสถิติใหม่ของสโมสร อย่างไรก็ตามในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2006 เขาก็ถูกปลดหลังจากที่ทีมเริ่มฤดูกาล 2005-2006 ได้อย่างย่ำแย่ เกล็น โรเดอร์ ถูกเรียกเข้ามารับตำแหน่งผู้จัดการทีมชั่วคราวและเขาก็พาทีมจบฤดูกาลในอันดับที่ 7 สโมสรจึงแต่งตั้งเขาเป็นผู้จัดการทีม ขณะที่แอลัน เชียเรอร์ก็ได้ประกาศเลิกเล่นฟุตบอลหลังจากจบฤดูกาลนี้ด้วย ในช่วงปิดฤดูกาล เกล็น โรเดอร์ ได้พาทีมคว้าแชมป์ยูฟ่าอินเตอร์โตโตคัพ พร้อมกับได้สิทธ์ไปเตะในถ้วยยูฟ่าคัพในฤดูกาล 2006-2007 อีกด้วย และเมื่อสิ้นสุดฤดูกาล 2006-2007 นิวคาสเซิลจบฤดูกาลในอันดับที่ 7 และ เกล็น โรเดอร์ ลาออกจากผู้จัดการทีม สโมสรจึงได้แต่งตั้งแซม อัลลาร์ไดซ์ เป็นผู้จัดการทีมในวันที่ 15 พฤษภาคม ค.ศ. 2007 และในวันที่ 7 มิถุนายน ค.ศ. 2007 บอร์ดบริหารสโมสรก็เกิดการเปลี่ยนแปลงเมื่อ เฟรดดี้ เชฟเฟริด ผู้บริหารสโมสรในขณะนั้นได้ตัดสินใจขายสโมสรให้แก่ไมค์ แอชลีย์ เจ้าของธุรกิจขายอุปกรณ์กีฬา

ในฤดูกาล 2007-2008 แซม อัลลาร์ไดซ์ ได้เซ็นสัญญานักแตะมาสู่ทีมหลายคนเช่น เฌเรมี่, แอลัน สมิธ จาก แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด ด้วยค่าตัว 6,000,000 ปอนด์, ดาวิด โรเซนนาล, เคลาดิโอ คาซาปา, โจอี บาร์ตัน เป็นต้น แต่นักเตะที่ซื้อมากับทำผลงานได้ย่ำแย่และทำให้ทีมฟอร์มตกจนไปอยู่ท้ายตาราง รวมถึงในเกมส์ในบ้านที่แพ้ลิเวอร์พูล 3-0 ชนิดว่าไม่มีลุ้นทำให้มีเสียงโห่จากแฟนนิวคาสเซิ่ลจำนวนมากในเซนต์เจมส์พาร์ก ก่อนที่แซมจะโดนปลดออกในวันที่ 9 มกราคม ค.ศ. 2008 และแทนที่ด้วย เควิน คีแกน ที่กลับมารับตำแหน่งอีกครั้งโดยเซ็นสัญญา 3 ปี ทำให้สร้างขวัญกำลังใจให้กับนักเตะและแฟนบอลจนผลงานดีขึ้นอย่างต่อเนื่องและจบฤดูกาลด้วยอันดับ 12

ในช่วงก่อนเริ่มฤดูกาล 2008-2009 ได้เกิดวิกฤติอีกครั้งเมื่อเกิดความขัดแย้งระหว่าง เควิน คีแกน กับบอร์ดบริหารเรื่องการแทรกแทรงการซื้อขายนักเตะ และในวันที่ 4 กันยายน ค.ศ. 2008 เควิน คีแกน ได้ลาออกจากการเป็นผู้จัดการทีม สโมสรจึงได้เซ็นสัญญาให้ โจ คินเนียร์ อดีตผู้จัดการทีมวิมเบิลดันมาเป็นผู้จัดการทีมในวันที่ 26 กันยายน ค.ศ. 2008 แต่แล้วในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2009 โจ คินเนียร์ ต้องเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลด้วยโรคหัวใจ ทำให้สโมสรต้องเรียกแอลัน เชียเรอร์ อดีตศูนย์หน้าของทีมเข้ามารับหน้าที่แทนในขณะที่เหลือการแข่งขันอีก 8 นัด

การตกชั้น

นัดสุดท้ายของฤดูกาล 2008-09 นิวคาสเซิลบุกไปแพ้แอสตันวิลลา 1-0 ที่วิลลาพาร์ก ทำให้ทีมต้องตกชั้นสู่ฟุตบอลลีกแชมเปียนชิปด้วยอันดับ 18 ของตาราง หลังจากตกชั้นได้ไม่นานแอลัน เชียเรอร์ ก็หมดสัญญาคุมทีม โดยมีคริส ฮิวจ์ตัน ทำหน้าที่รักษาการแทน หลังจากนั้นทีมต้องเสียนักเตะอย่าง ไมเคิล โอเวน, มาร์ค วิดูก้า, ดาวิด เอ็ดการ์, โอบาเฟมี มาร์ตินส์, เชย์ กิฟเวน, เซบาสเตียน บาสซง, เดเมียน ดัฟฟ์ และ ฮาบิบ เบย์ ออกไป พร้อมทั้งมีข่าวว่า เควิน คีแกน อดีตผู้จัดการทีมและขวัญใจแฟนนิวคาสเซิ่ลได้เรียกร้องเงินชดเชยที่ได้ระบุในสัญญาคุมทีม 3 ปี ก่อนที่คีแกนจะลาออกจากตำแหน่งเนื่องจากโดนแทรกแซงเรื่องการบริหาร ศาลตัดสินให้นิวคาสเซิ่ลจ่ายเงินชดเชยจำนวน 2,000,000 ปอนด์ หรือ 112,000,000 บาท โดยในเหตุการณ์ครั้งนั้นคีแกนไม่พอใจที่ถูก เดนนิส ไวส์ ผู้อำนวยการแทรกแซงเรื่องการซื้อขายนักเตะโดยคีแกนไม่พอใจที่ขายเจมส์ มิลเนอร์ กองกลางทีมชาติอังกฤษให้แอสตันวิลล่า รวมถึงการซื้อชิสโก กองหน้าชาวสเปน และอิกนาซิโอ กอนซาเลซ นักเตะชาวอุรุกวัยโดยไม่ผ่านการตัดสินใจของคีแกน พร้อมกับทางสโมสรพยายามปล่อยโจอี บาร์ตัน กองกลางที่พึ่งพ้นโทษออกจากคุกออกจากทีมโดยที่ขัดแย้งกับคีแกนซึ่งพยายามรั้งตัวไว้ ขณะเดียวกัน ไมค์ แอชลีย์ เจ้าของสโมสรได้ถูกกดดันจากแฟนบอลจึงประกาศขายทีมในราคา 100,000,000 ปอนด์ ทำให้ทีมเริ่มระส่ำระส่ายมากขึ้น แต่ในช่วงก่อนเปิดฤดูกาลใหม่ นิวคาสเซิ่ลก็สามารถคว้านักเตะเสริมทัพได้โดยเป็น แดนนี ซิมป์สัน จากแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด ในสัญญายืมตัว ยืมมาร์ลอน แฮร์วูดมาจากแอสตันวิลล่า และเซ็นสัญญาคว้าตัว ปีเตอร์ โลเวนครานด์ กับ ฟาบริซ ป็องครัต มาแบบไร้ค่าตัว โดยผลงานของนิวคาสเซิ่ลในนัดเปิดฤดูกาล 2009-2010 สามารถบุกไปเสมอเวสต์บรอมวิชอัลเบียนได้ 1-1 เมื่อถึงวันที่ 27 ตุลาคม ค.ศ. 2009 ไมค์ แอชลีย์ ก็ประกาศยุติการขายสโมสรเนื่องจากไม่สามารถตกลงราคากับผู้ที่สนใจซื้อสโมสรได้ พร้อมทั้งแต่งตั้ง คริส ฮิวจ์ตัน เป็นผู้จัดการทีมอย่างเป็นทางการ

กลับสู่พรีเมียร์ลีก

ในฟุตบอลลีกแชมเปียนชิปฤดูกาล 2009-2010 นิวคาสเซิลสามารถทำผลงานได้ดีอย่างต่อเนื่องจนสามารถคว้าแชมป์มาครองได้สำเร็จและได้เลื่อนชั้นกลับสู่พรีเมียร์ลีกโดยอัตโนมัติในวันที่ 5 เมษายน ค.ศ. 2010 ทั้งที่ยังเหลือเกมแข่งขันอีกถึง 5 นัด

ในฤดูกาล 2010-2011 นิวคาสเซิลเริ่มฤดูกาลได้อย่างยอดเยี่ยม พวกเขาชนะทีมที่มีชื่อเสียงอย่าง อาร์เซนอล, แอสตันวิลล่า รวมถึง ซันเดอร์แลนด์ ทำให้ คริส ฮิวจ์ตัน เป็นที่ชื่นชอบของเหล่าแฟนบอลนิวคาสเซิล แต่หลังจากการพ่ายแพ้ต่อทีมเวสต์บรอมวิชอัลเบียนซึ่งถูกเลื่อนชั้นมาพร้อมกันด้วยสกอร์ 1-3 คริส ฮิวจ์ตัน ก็ถูกปลดออกจากตำแหน่งในวันที่ 6 ธันวาคม ค.ศ. 2010 โดยมี แอลัน พาร์ดิว เข้ามารับตำแหน่งผู้จัดการทีมคนใหม่ โดยได้สัญญาระยะยาว 5 ปีครึ่ง ในวันที่ 31 มกราคม ค.ศ. 2011 สโมสรได้ปล่อย แอนดี แคร์โรล เด็กปั้นของสโมสรให้แก่ลิเวอร์พูล ด้วยราคาสูงถึง 35,000,000 ปอนด์ และทีมก็จบฤดูกาลด้วยอันดับ 12

เดินหน้าสู่ถ้วยยุโรปอีกครั้ง

ในช่วงก่อนเริ่มฤดูกาล 2011-2012 แอลัน พาร์ดิวได้เปลี่ยนแปลงทีมครั้งใหญ่โดยการขายนักเตะอย่าง เควิน โนลัน, โจอี บาร์ตัน, และ โคเซ เอนรีเก ซานเชซ ออกจากทีม และเรียก ทิม ครูล มาเป็นผู้รักษาประตูมือ 1 แทน สตีฟ ฮาร์เปอร์ และเซ็นสัญญานักเตะรายใหม่ ๆ เข้ามาเช่น โยฮัน กาบาย, ดาวิเด ซานตอน, และ เดมบา บา ซึ่งทำให้เริ่มฤดูกาลได้อย่างยอดเยี่ยมด้วยการไม่แพ้ใครอย่างต่อเนื่องถึง 11 เกม ก่อนจะแพ้ให้กับแมนเชสเตอร์ซิตีเป็นเกมแรก และยังสามารถเอาชนะทีมแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดได้อย่างน่าประทับใจ ในช่วงเดือนมกราคม สโมสรได้เซ็นสัญญานักเตะเพิ่มอีก 2 คน คือ ปาปิส ซิสเซ และ ฮาเทม เบนอาร์กฟา ทำให้ทีมสามารถทำผลงานได้อย่างยอดเยี่ยมรวมถึงการชนะ ลิเวอร์พูล และ เชลซี ทำให้พวกเขาจบในอันดับที่ 5 ได้สิทธิ์ไปแข่งยูฟ่ายูโรปาลีกในฤดูกาลหน้า และแอลัน พาร์ดิว ยังได้รับตำแหน่งผู้จัดการทีมยอดเยี่ยมอีกด้วย

ผู้เล่น

ณ วันที่ 27 มกราคม 2016[5]

ผู้เล่นชุดปัจจุบัน

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
1 GK เนเธอร์แลนด์ ทิม ครูล
2 DF อาร์เจนตินา ฟาบีซีโอ่ โครอชชินี (กัปตันทีม)
3 DF เวลส์ พอล ดัมเม็ตต์
4 MF อังกฤษ แจ็ค โคลแบ็ค
7 MF ฝรั่งเศส มูซ่า ซิสโซโก้
8 MF เนเธอร์แลนด์ เวอร์น่อล อานีต้า
9 FW เซเนกัล ปาปิส เดมบา ซิสเซ่
10 MF เนเธอร์แลนด์ เซียม เดอยอง
11 FW ฝรั่งเศส โยฮัน กูฟฟร็อง
12 MF อังกฤษ จอนโจ เชลวีย์
15 DF อังกฤษ จามาล ลาสเซล
16 MF อังกฤษ โรแลนโด้ แอรอนส์
17 FW สเปน อาโยเซ่ เปเรซ
18 DF สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก ชานเซล เอ็มเบ็มบา
19 DF ฝรั่งเศส มาซาดิโอ ไฮดารา
20 MF ฝรั่งเศส ฟลอริยอง โตแว็ง (ปล่อยยืม Marseille )
21 GK สาธารณรัฐไอร์แลนด์ ร็อบ เอลเลียต
22 DF เนเธอร์แลนด์ ดาริล ยานมาร์ต
เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
23 MF เซเนกัล เฮนรี่ ไซเว่ย์
24 MF โกตดิวัวร์ ชีค ทีโอเต้
25 MF อังกฤษ แอนดรอส ทาวน์เซนด์
26 GK อังกฤษ คาร์ล ดาร์โลว์
28 FW โกตดิวัวร์ เซร์ดู ดุมเบียร์ (ยืมจาก Roma)
27 DF อังกฤษ สตีเฟน เทย์เลอร์
29 FW ฝรั่งเศส เอ็มมานูเอล ริวิแยร์
33 DF ออสเตรเลีย เคอร์ติส กู๊ด
35 DF อังกฤษ เลียม กิฟสัน
40 DF อังกฤษ คอลลัม วิลเลี่ยม
36 FW อังกฤษ อิวาน โทนีย์
41 GK อังกฤษ เฟรดดี วู๊ดแมน
42 DF อังกฤษ เจมี สเตอร์รี่
43 DF สวิตเซอร์แลนด์ เควิน เอ็มบาบู
45 FW เซอร์เบีย อเล็กซานดาร์ มิโตรวิช
47 MF ตุรกี แดนเนียล บาร์ลาเซอร์

อดีตผู้เล่นที่มีชื่อเสียง

ชื่อ สัญชาติ ตำแหน่ง ปี ลงสนาม ประตู
Andy Aitken  สกอตแลนด์ HB 1895–1906 349 42
Jack Carr  อังกฤษ LB 1897–1912 278 5
Matt Kingsley  อังกฤษ GK 1898–1904 189 0
Alexander Gardner  สกอตแลนด์ RW 1899–1910 314 26
Peter McWilliam  สกอตแลนด์ HB 1902–1911 242 12
Jock Rutherford  อังกฤษ RW 1902–1913 334 92
Bill Appleyard  อังกฤษ FW 1903–1908 145 88
Albert Gosnell  อังกฤษ LW 1904–1909 106 15
Andy McCombie  สกอตแลนด์ FB 1904–1910 132 0
Jimmy Lawrence  สกอตแลนด์ GK 1904–1921 496 0
Billy McCracken  ไอร์แลนด์เหนือ HB 1904–1924 432 8
Jimmy Stewart  อังกฤษ FW 1908–1913 138 51
Albert Shepherd  อังกฤษ FW 1908–1914 123 92
Frank Hudspeth  อังกฤษ CB 1910–1929 472 37
William Bradley  อังกฤษ GK 1914–1927 143 0
Stan Seymour  อังกฤษ LW 1920–1929 266 84
Billy Aitken  อังกฤษ FW 1920–1924 110 10
Charlie Spencer  อังกฤษ DF 1921–1928 175 1
Tom McDonald  สกอตแลนด์ IF 1921–1931 367 113
Hughie Gallacher  สกอตแลนด์ FW 1925–1930 174 143
Jimmy Boyd  สกอตแลนด์ RW 1925–1935 214 57
David Fairhurst  อังกฤษ FB 1929–1939 285 2
Jack Allen  อังกฤษ FW 1931–1934 90 41
Billy Cairns  อังกฤษ FW 1933–1944 90 53
Tommy Pearson  สกอตแลนด์ LW 1933–1948 212 46
William Imrie  อังกฤษ RW 1934–1938 128 24
Bobby Ancell  สกอตแลนด์ LB 1936–1944 102 1
Jackie Milburn  อังกฤษ FW 1943–1957 397 200
Ron Batty  อังกฤษ LB 1945–1958 184 1
Joe Harvey  อังกฤษ HB 1945–1953 247 12
Roy Bentley  อังกฤษ FW 1946–1948 54 25
Bobby Cowell  อังกฤษ RB 1946–1955 289 0
Frank Brennan  สกอตแลนด์ MF 1946–1956 349 3
Charlie Crowe  อังกฤษ LF 1946–1957 178 5
Tommy Walker  อังกฤษ RW 1946–1954 184 35
Jack Fairbrother  อังกฤษ GK 1947–1952 161 0
Ernie Taylor  อังกฤษ IF 1947–1951 107 19
George Hannah  อังกฤษ FW 1949–1957 175 43
Alf McMichael  ไอร์แลนด์เหนือ LB 1949–1962 433 1
Bobby Mitchell  สกอตแลนด์ FW 1949–1961 412 113
George Robledo  ชิลี FW 1949–1953 166 91
Ted Robledo  ชิลี LB 1949–1953 47 0
Bob Stokoe  อังกฤษ CB 1950–1961 261 4
Ronnie Simpson  สกอตแลนด์ GK 1951–1960 295 0
Ivor Broadis  อังกฤษ FW 1951–1955 51 18
Reg Davies  เวลส์ FW 1951–1958 171 50
Vic Keeble  อังกฤษ FW 1952–1957 121 69
Tommy Casey  ไอร์แลนด์เหนือ HB 1952–1958 116 8
Jimmy Scoular  สกอตแลนด์ RW 1953–1961 273 6
Len White  อังกฤษ FW 1953–1962 269 153
Jackie Bell  อังกฤษ RB 1956–1962 117 8
George Eastham  อังกฤษ FW 1956–1960 129 34
Gordon Hughes  อังกฤษ FW 1956–1963 133 18
Dick Keith  ไอร์แลนด์เหนือ RB 1956–1964 223 4
Ivor Allchurch  เวลส์ FW 1958–1962 154 51
Dave Hollins  เวลส์ GK 1960–1967 112 0
John McGrath  อังกฤษ CB 1960–1967 179 2
Alan Suddick  อังกฤษ FW 1962–1967 144 41
แฟรงค์ คลาร์ก  อังกฤษ LB 1962–1975 464 2
David Craig  ไอร์แลนด์เหนือ RB 1962–1978 412 12
Dave Hilley  สกอตแลนด์ IF 1962–1968 194 31
Jim Iley  อังกฤษ RB 1962–1969 249 16
Ron McGarry  อังกฤษ FW 1962–1967 132 46
บ็อบบี มอนเคอร์  สกอตแลนด์ CB 1962–1974 356 8
Pop Robson  อังกฤษ FW 1962–1971 244 97
Gordon Marshall  อังกฤษ GK 1963–1968 187 0
Ollie Burton  เวลส์ CD 1963–1972 188 6
Albert Bennett  อังกฤษ FW 1965–1969 85 22
John McNamee  สกอตแลนด์ CB 1966–1971 117 8
Iam McFaul  ไอร์แลนด์เหนือ GK 1966–1975 290 0
Wyn Davies  เวลส์ FW 1966–1971 216 53
David Elliott  อังกฤษ MF 1966–1971 90 4
Alan Foggon  อังกฤษ FW 1967–1971 61 14
Tommy Gibb  สกอตแลนด์ MF 1968–1975 199 12
จิมมี สมิธ  สกอตแลนด์ MF 1969–1975 167 13
Stewart Barrowclough  อังกฤษ RW 1970–1978 274 24
Tommy Cassidy  ไอร์แลนด์เหนือ MF 1970–1980 180 22
Irving Nattrass  อังกฤษ DM 1970–1979 304 20
John Tudor  อังกฤษ FW 1970–1977 164 53
เทอร์รี ฮิบบิทท์  อังกฤษ LF 1971–1975
1978–1981
262 14
Pat Howard (footballer)  อังกฤษ CD 1971–1977 184 7
Malcolm Macdonald  อังกฤษ FW 1971–1976 228 121
Alan Kennedy  อังกฤษ LB 1972–1978 158 9
Terry McDermott  อังกฤษ MF 1973–1974
1982–1984
160 24
Mickey Burns  อังกฤษ FW 1974–1978 184 48
Tommy Craig  สกอตแลนด์ MF 1974–1978 124 22
Geoff Nulty  อังกฤษ MF 1974–1978 101 11
David Barton  อังกฤษ CB 1975–1983 110 6
Alan Gowling  อังกฤษ FW 1975–1978 92 30
Mike Mahoney  อังกฤษ GK 1975–1979 108 0
เควิน คาร์  อังกฤษ GK 1976–1985 195 0
Steve Hardwick  อังกฤษ GK 1976–1983 101 0
Mark McGhee  สกอตแลนด์ FW 1977–1978
1989–1991
112 36
John Brownlie  สกอตแลนด์ RB 1978–1982 136 3
Mick Martin ธงของประเทศไอร์แลนด์ ไอร์แลนด์ MF 1978–1983 163 6
Alan Shoulder  อังกฤษ FW 1978–1982 117 38
Kenny Wharton  อังกฤษ FB 1978–1989 290 26
ปีเตอร์ วิธ  อังกฤษ FW 1978–1980 83 27
Steve Carney  อังกฤษ CB 1979–1985 149 1
Chris Waddle  อังกฤษ LW 1980–1985 191 52
Imre Varadi  อังกฤษ FW 1981–1983 90 42
Jeff Clarke  อังกฤษ FW 1982–1987 124 4
เควิน คีแกน  อังกฤษ FW 1982–1984 85 49
David McCreery  ไอร์แลนด์เหนือ MF 1982–1989 243 2
John Anderson ธงของประเทศไอร์แลนด์ ไอร์แลนด์ CB 1982–1991 333 15
ปีเตอร์ เบียร์ดสลีย์  อังกฤษ FW 1983–1987
1993–1997
324 119
Neil McDonald  อังกฤษ RB 1983–1988 207 29
เกล็น โรเดอร์  อังกฤษ CB 1983–1988 216 10
Martin Thomas  เวลส์ GK 1983–1988 118 0
พอล แกสคอยน์  อังกฤษ MF 1984–1988 107 25
เควิน สกอตต์  อังกฤษ CB 1986–1994 227 8
Kevin Brock  อังกฤษ MF 1988–1993 145 14
Liam O'Brien ธงของประเทศไอร์แลนด์ ไอร์แลนด์ MF 1988–1994 151 19
Bjørn Kristensen ธงของประเทศเดนมาร์ก เดนมาร์ก CB 1989–1993 90 4
Steve Howey  อังกฤษ MF 1989–2000 238 7
Mickey Quinn  อังกฤษ FW 1989–1992 110 77
Gavin Peacock  อังกฤษ MF 1990–1993 119 42
Lee Clark  อังกฤษ MF 1990–1997
2005–2006
257 27
Robbie Elliott  อังกฤษ LB 1991–1997
2001–2006
188 11
เดวิด เคลลี่ ธงของประเทศไอร์แลนด์ ไอร์แลนด์ FW 1991–1993 70 35
Pavel Srníček ธงของประเทศเช็กเกีย เช็กเกีย GK 1991–1998
2006-2007
185 0
Steve Watson  อังกฤษ RB 1991–1998 263 14
John Beresford  อังกฤษ LB 1992–1998 229 8
รอบ ลี  อังกฤษ MF 1992–2002 381 56
Barry Venison  อังกฤษ FB 1992–1995 109 1
แอนดี โคล  อังกฤษ FW 1993–1995 85 68
Philippe Albert ธงของประเทศเบลเยียม เบลเยียม CB 1993–1999 135 12
Steve Harper  อังกฤษ GK 1993– 178 0
Darren Peacock  อังกฤษ CB 1994–1998 178 4
David Ginola ธงของประเทศฝรั่งเศส ฝรั่งเศส MF 1995–1997 75 7
Keith Gillespie  ไอร์แลนด์เหนือ MF 1995–1998 146 14
Shaka Hislop ธงของประเทศตรินิแดดและโตเบโก ตรินิแดดและโตเบโก GK 1995–1998 73 0
Warren Barton  อังกฤษ RB 1995–2002 220 5
เลส เฟอร์ดินานด์  อังกฤษ FW 1995–1997 84 50
David Batty  อังกฤษ MF 1996–1998 113 4
Faustino Asprilla ธงของประเทศโคลอมเบีย โคลอมเบีย FW 1996–1998 48 12
Aaron Hughes  ไอร์แลนด์เหนือ CB 1996–2005 277 6
แอลัน เชียเรอร์  อังกฤษ FW 1996–2006 405 206
Temuri Ketsbaia ธงของประเทศจอร์เจีย จอร์เจีย MF 1997–2000 109 14
เชย์ กิฟเวน ธงของประเทศไอร์แลนด์ ไอร์แลนด์ GK 1997–2009 462 0
Nolberto Solano  เปรู MF 1998–2004
2005–2007
315 47
Andy Griffin  อังกฤษ RB 1998–2004 104 3
โชลา อเมโอบี  อังกฤษ FW 1998– 280 64
Nikos Dabizas  กรีซ CB 1998–2003 176 13
แกรี สปีด  เวลส์ MF 1998–2004 284 40
Alain Goma ธงของประเทศฝรั่งเศส ฝรั่งเศส DF 1999–2001 40 1
คีรอน ดายเออร์  อังกฤษ MF 1999–2007 251 36
Lomana LuaLua ธงของสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก FW 2000–2004 59 9
Olivier Bernard ธงของประเทศฝรั่งเศส ฝรั่งเศส LB 2000–2005
2006–2007
145 6
Clarence Acuña  ชิลี MF 2000–2003 47 6
เคร็ก เบลลามี่  เวลส์ FW 2001–2005 128 42
Laurent Robert ธงของประเทศฝรั่งเศส ฝรั่งเศส MF 2001–2005 181 32
Andrew O'Brien ธงของประเทศไอร์แลนด์ ไอร์แลนด์ CB 2001–2005 168 6
Titus Bramble  อังกฤษ CB 2002–2007 157 7
Jermaine Jenas  อังกฤษ MF 2002–2005 151 12
สตีเฟน คาร์ ธงของประเทศไอร์แลนด์ ไอร์แลนด์ DF 2004–2008 107 1
สตีเวน เทย์เลอร์  อังกฤษ DF 2003– 179 10
เจมส์ มิลเนอร์  อังกฤษ MF 2004–2008 136 11
Charles N'Zogbia ธงของประเทศฝรั่งเศส ฝรั่งเศส MF 2004–2009 157 9
นิกกี บัตต์  อังกฤษ MF 2004–2010 179 5
Celestine Babayaro  ไนจีเรีย LB 2005–2007 66 1
Amdy Faye ธงของประเทศเซเนกัล เซเนกัล MF 2005–2006 35 1
โอบาเฟมี มาร์ตินส์  ไนจีเรีย FW 2006–2009 104 38
Geremi ธงของประเทศแคเมอรูน แคเมอรูน MF 2007–2009 49 3
ไมเคิ่ล โอเว่น  อังกฤษ FW 2005–2009 79 30
ฮาบิบ เบย์ ธงของประเทศเซเนกัล เซเนกัล RB 2007–2009 52 1
José Enrique ธงของประเทศสเปน สเปน LB 2007–2011 100 1
Fabricio Coloccini ธงของประเทศอาร์เจนตินา อาร์เจนตินา DF 2008– 87 3
โฆนาส กูเตียร์เรส ธงของประเทศอาร์เจนตินา อาร์เจนตินา MF 2008– 76 5
เควิน โนแลน  อังกฤษ MF 2009–2011 83 28
แอนดี คาร์โรลล์  อังกฤษ FW 2006–2011 91 33
เดเมียน ดัฟฟ์ ธงของประเทศไอร์แลนด์ ไอร์แลนด์ MF 2006–2010 86 6
แอลัน สมิธ  อังกฤษ MF 2007– 91 0
โจอี้ บาร์ตัน  อังกฤษ MF 2007–2011 71 8


ผู้จัดการทีม

ตั้งแต่ ค.ศ. 1992 - ปัจจุบัน

ชื่อ สัญชาติ เริ่ม ถึง
เควิน คีแกน อังกฤษ 1992 1997
เคนนี ดัลกลิช สกอตแลนด์ 1997 1998
รุส กุสลิต เนเธอร์แลนด์ 1998 1999
เซอร์ บ็อบบี ร็อบสัน อังกฤษ 1999 2004
แกรม ซูเนสส์ สกอตแลนด์ 2004 2006
เกล็น โรเดอร์ อังกฤษ 2006 2007
แซม อัลลาร์ไดซ์ อังกฤษ 2007 2008
เควิน คีแกน อังกฤษ 2008 2008
โจ คินเนียร์ สาธารณรัฐไอร์แลนด์ 2008 2009
อลัน เชียเรอร์ อังกฤษ 2009 2009
คริส ฮิลตัน อังกฤษ 2009 2010
อลัน พาร์ดิว อังกฤษ 2010 2015
จอร์น คาร์เวอร์ (รักษาการ) อังกฤษ 2015 2015
สตีฟ แม็คคาเรน อังกฤษ 2015 2016
ราฟาเอล เบนิเตช สเปน 2016 ปัจจุบัน

เกียรติยศ

[6]

เกียรติยศ จำนวน ปี
ฟุตบอลลีก
ฟุตบอลลีกดิวิชันหนึ่ง แชมป์ 4 1904/05, 1906/07, 1908/09, 1926/27
เอฟเอพรีเมียร์ลีก รองแชมป์ 2 1995/96, 1996/97
ฟุตบอลลีกดิวิชันสอง แชมป์ 3 1964/65, 1983/84, 1992/93 , 2009/2010
ฟุตบอลลีกดิวิชันสอง รองแชมป์ 2 1897/98, 1947/48
นอร์เทิร์นลีก แชมป์ 3 1902/03, 1903/04, 1904/05
ฟุตบอลถ้วยภายในประเทศ
เอฟเอคัพ ชนะเลิศ 6 1910, 1924, 1932, 1951, 1952, 1955
เอฟเอคัพ รองชนะเลิศ 7 1905, 1906, 1908, 1911, 1974, 1998, 1999
ฟุตบอลลีกคัพ รองชนะเลิศ 1 1976
คอมมูนิตี้ชิลด์ ชนะเลิศ 1 1909
คอมมูนิตี้ชิลด์ รองชนะเลิศ 5 1932, 1951, 1952, 1955, 1996
เอฟเอยูธคัพ ชนะเลิศ 2 1962, 1985
ฟุตบอลถ้วยยุโรป
อินเตอร์ซิตีแฟร์สคัพ ชนะเลิศ 1 1969
ยูฟ่าอินเตอร์โตโต้คัพ ชนะเลิศ 1 2006
ยูฟ่าอินเตอร์โตโต้คัพ รองชนะเลิศ 1 2001
Anglo-Italian Cup ชนะเลิศ 1 1973
ฟุตบอลถ้วยอื่น
คีรินคัพ ชนะเลิศ 1 1983
เท็กเซโกคัพ ชนะเลิศ 2 1974, 1975
Sheriff of London Charity Shield ชนะเลิศ 1 1907
พรีเมียร์ลีกเอเชียโทรฟี่ ชนะเลิศ 1 2003

อ้างอิง

  1. "Newcastle rename St James' Park the Sports Direct Arena". BBC Sport. British Broadcasting Corporation. 9 November 2011. สืบค้นเมื่อ 4 December 2011.
  2. "สารคดีท่องโลกกว้าง: ท่องทั่วทวีป". ไทยพีบีเอส. 1 January 2015. สืบค้นเมื่อ 2 January 2015.
  3. ""เบนเตเก" ฮีโร่โขกหงส์เจ๊าสิงห์ 1-1 "นิว-นอริช" ตกชั้น". ผู้จัดการออนไลน์. 12 May 2016. สืบค้นเมื่อ 12 May 2016.
  4. "สรุปเวทีแชมเปียนชิป "สาลิกา" แชมป์!! พร้อมอีก 4 ทีมเพลย์ออฟ". ผู้จัดการออนไลน์. 2017-05-08. สืบค้นเมื่อ 2017-05-08.
  5. "2015/16 Squad Numbers Announced". Newcastle United. 31 July 2015. สืบค้นเมื่อ 31 July 2015.
  6. "Club Honours". nufc.co.uk. สืบค้นเมื่อ 2008-08-01.

แหล่งข้อมูลอื่น

เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ

เว็บไซต์ของผู้ติดตามผลงาน