ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สงครามอังกฤษ–พม่าครั้งที่สาม"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
{{Infobox Military Conflict
{{Infobox Military Conflict
| conflict = สงครามพม่า-อังกฤษ ครั้งที่สาม
| conflict = สงครามพม่า-อังกฤษ ครั้งที่สาม
| partof = [[สงครามพม่า-อังกฤษ]]
| partof = สงครามพม่า-อังกฤษ
| image = [[ไฟล์:Third anglo-burmese war.jpg|300px]]
| image = [[ไฟล์:Third anglo-burmese war.jpg|300px]]
| caption = กองทัพพม่า ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2428
| caption = กองทัพพม่า ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2428
บรรทัด 16: บรรทัด 16:
| combatant2 = [[ไฟล์:Flag of the Alaungpaya Dynasty of Myanmar.svg|border|25px]] [[ราชวงศ์คองบอง]]
| combatant2 = [[ไฟล์:Flag of the Alaungpaya Dynasty of Myanmar.svg|border|25px]] [[ราชวงศ์คองบอง]]
| combatant3 =
| combatant3 =
| commander1 = [[แฮร์รี เพรนเดอร์แกสต์]]
| commander1 = แฮร์รี เพรนเดอร์แกสต์
| commander2 = [[พระเจ้าธีบอ]]
| commander2 = [[พระเจ้าธีบอ]]
| commander3 =
| commander3 =

รุ่นแก้ไขเมื่อ 19:05, 30 เมษายน 2560

สงครามพม่า-อังกฤษ ครั้งที่สาม
ส่วนหนึ่งของ สงครามพม่า-อังกฤษ

กองทัพพม่า ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2428
วันที่7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2428 - 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2428
สถานที่
ผล

อังกฤษได้รับชัยชนะ

คู่สงคราม

สหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์ จักรวรรดิบริติช

ราชวงศ์คองบอง
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
แฮร์รี เพรนเดอร์แกสต์ พระเจ้าธีบอ

สงครามพม่า-อังกฤษครั้งที่สาม เป็นสงครามครั้งสุดท้ายระหว่างอังกฤษกับพม่าในสมัยราชวงศ์คองบองซึ่งสิ้นสุดลงโดยอังกฤษผนวกพม่าทั้งหมดเข้าเป็นส่วนหนึ่งของบริติชอินเดีย

มูลเหตุแห่งสงคราม

ความสัมพันธ์ระหว่างพม่ากับอังกฤษในช่วง 10 ปีแรกของการครองราชย์ของพระเจ้ามินดงเป็นไปอย่างราบรื่น พระเจ้ามินดงพยายามปรับปรุงประเทศให้เข้มแข็งแบบตะวันตกและไม่ซ้ำเติมอังกฤษเมื่ออังฤษต้องทำสงครามที่อื่นและยอมให้อังกฤษใช้แม่น้ำอิรวดีได้ ความขัดแย้งระหว่างพม่ากับอังกฤษเกิดขึ้นในเวลาต่อมาเมื่อพระเจ้ามินดงพยายามดำเนินนโยบายต่างประเทศอย่างเป็นอิสระ พยายามติดต่อกับชาติตะวันตกอื่นๆโดยเฉพาะฝรั่งเศสนอกจากนั้น พม่ายังไม่พอใจอังกฤษที่ไม่สนับสนุนอาวุธในการปราบกบฏครั้งใหญ่ในราชสำนักเมื่อ พ.ศ. 2409 และอังกฤษยังสนับสนุนกบฏกะเหรี่ยงใน พ.ศ. 2410

เมื่อพระเจ้าธีบอโอรสของพระเจ้ามินดงขึ้นครองราชย์เมื่อ พ.ศ. 2421 รัฐบาลของพม่าอ่อนแอมาก มีการฆ่าล้างพระราชวงศ์ครั้งใหญ่ในตอนต้นรัชกาล แต่เนื่องจากอังกฤษติดสงครามกับอัฟกานิสถาน และไม่มีผู้ที่เหมาะสมจะสถาปนาให้เป็นกษัตริย์พม่าแทน นอกจากนั้น พระเจ้าธีบอส่งทูตไปฝรั่งเศสและยินยอมให้ฝรั่งเศสเข้ามาทำสัมปทานป่าไม้และจัดตั้งธนาคาร ทำให้อังกฤษรู้สึกว่าเสียผลประโยชน์ จึงตัดสินใจจะผนวกพม่าทั้งหมด

การสู้รบ

ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2428 เกิดชนวนที่จะทำสงครามขึ้น กล่าวคือทางการพม่าเรียกค่าปรับจากบริษัทบอมเบย์เบอร์มาเทรดดิงเป็นเงินจำนวน 2.3 ล้านรูปี อังกฤษจึงตัดสินใจยื่นคำขาดต่อพม่าในวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2428 โดยให้พม่าลดค่าปรับ ให้ความสะดวกแกอังกฤษในการค้าขายกับจีนและให้อังกฤษควบคุมนโยบายต่างประเทศของพม่า พม่าปฏิเสธมาในวันที่ 9 พฤศจิกายน กองทัพอังกฤษจึงเคลื่อนทัพออกจากย่างกุ้งไปยังพม่าเหนือในวันที่ 14 พฤศจิกายน พม่าได้เตรียมการรบกับอังกฤษโดยใช้แผนตั้งรับ มีเหล่ธินอัตวินหวุ่นเป็นผู้บัญชาการ พม่าพยามปิดแม่น้ำอิระวดีที่นยองบินหม่อว์ใกล้กับชายแดนพม่าตอนล่างแต่ไม่ทันการณ์ กองทัพอังกฤษเคลื่อนพลมาตามแม่น้ำโดยมีการต่อต้านน้อยมาก การปะทะที่ดุเดือดเกิดที่ป้อมมินหล่า ซึ่งอังกฤษเป็นฝ่ายชนะเมื่อ 24 พฤศจิกายน ในที่สุดกินหวุ่นมินจีจึงเสนอให้เจรจากับอังกฤษ การเจรจาเกิดขึ้นในวันที่ 26 พฤศจิกายน อังกฤษต้องการให้พม่ายอมจำนนโดยไม่มีเงื่อนไข เสนาบดีแห่งราชสำนักมัณฑะเลย์จึงยอมแพ้ในวันที่ 27 พฤศจิกายน[1]

หลังจากยอมแพ้ต่ออังกฤษ พระเจ้าธีบอและพระนางศุภยาลัตทั้งสองพระองค์เสด็จลงเรือไปยังย่างกุ้งและถูกเนรเทศไปอินเดีย ข้าหลวงอังกฤษประจำอินเดียประกาศผนวกพม่าเหนืออย่างเป็นทางการเมื่อ 1 มกราคม พ.ศ. 2428 และในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ได้ประกาศให้พม่าเป็นมณฑลหนึ่งของอินเดีย การสงครามครั้งนี้ใช้เวลาเพียง 14 วัน แต่หลังจากนั้น ได้เกิดกองโจรต่อต้านอังกฤษในพม่า ซึ่งต้องปราบปรามไปจนถึง พ.ศ. 2433

อ้างอิง

  • วิไลเลขา ถาวรธนสาร. สงครามอังกฤษ-พม่าครั้งที่สาม ใน สารานุกรมประวัติศาสตร์สากลสมัยใหม่: เอเชีย เล่ม 1 อักษร A-B ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กทม.ราชบัณฑิตยสถาน. 2539. หน้า 166 - 170
  1. นินิเมียนต์. พม่ากับการต่อต้านจักรวรรดินิยมอังกฤษ ค.ศ. 1885 – 1893 แปลโดย ฉลอง สุนทราวาณิชย์. กทม. มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์. 2543

แหล่งข้อมูลอื่น

ดูเพิ่ม