ผลต่างระหว่างรุ่นของ "รัฐสวัสดิการ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
D.Waraporn (คุย | ส่วนร่วม)
D.Waraporn (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 17: บรรทัด 17:


==รูปแบบ==
==รูปแบบ==
=== รัฐสวัสดิการ ===
# รัฐสวัสดิการแบบ[http://สังคมนิยมประชาธิปไตย สังคมนิยมประชาธิปไตย]
# รัฐสวัสดิการแบบ[http://สังคมนิยมประชาธิปไตย สังคมนิยมประชาธิปไตย]
# รัฐสวัสดิการแบบ[[เสรีนิยม]]
# รัฐสวัสดิการแบบ[[เสรีนิยม]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 12:36, 28 เมษายน 2560

ความเป็นมา

สังคมในอดีต มนุษย์มีการใช้ชีวิตและความเป็นอยู่อย่างเรียบง่าย เพียงแค่มีสิ่งจำเป็นขั้นพื้นฐานอย่างน้อย 4 ประการ มนุษย์ก็สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยตนเอง โดยไม่ต้องพึ่งพารัฐ ฉะนั้นหน้าที่ของรัฐในอดีตจึงเน้นไปที่การดูแลรักษาความสงบเรียบร้อยและปกป้องประเทศเป็นส่วนใหญ่

แต่เมื่อเวลาผ่านไปเศรษฐกิจและสังคมมีวิวัฒนาการเปลี่ยนแปลงไปสู่สังคมสมัยใหม่ที่เป็นสังคมเมืองและอุตสาหกรรม จากที่อดีตมนุษย์มีความเป็นอยู่อย่างเรียบง่ายแต่เมื่อสังคมเปลี่ยนไปจึงทำให้มนุษย์มีความต้องการสิ่งเป็นพื้นฐานมากขึ้นไปตามสภาพของสังคมและเศรษฐกิจ ในขณะที่การหารายได้เพื่อที่จะนำมาจัดหาสิ่งจำเป็นพื้นฐานที่ต้องการก็ประสบปัญหา ทำให้เกิดความกดดันในการแข่งขันทางเศรษฐกิจ จึงทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางสังคม เนื่องจากคนรวยที่โอกาสหรือคามสามารถมากกว่าก็จะสามารถจัดหาสิ่งจำเป็นพื้นฐานของตนเองได้ ในขณะที่คนจนมีโอกาสหรือความสามารถน้อยกว่าก็จะไม่สามารถได้สิ่งที่จำเป็นพื้นฐานนั้น

ดังนั้นรัฐจึงได้เข้ามามีบทบาทในการให้สวัสดิการหรือสิ่งที่จำเป็นพื้นฐานแก่ทุกคน เพื่อให้เกิดความเท่าเทียมกันของคนในสังคม และเพื่อไม่ให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางสังคม ซึ่งสวัสดิการที่รัฐจัดให้นั้นจะครอบคลุมทุกสาขาของสวัสดิการสังคม ซึ่งหลายคนเรียกระบบนี้ว่า รัฐสวัสดิการ[1]

นิยาม

รัฐสวัสดิการ (อังกฤษ: welfare state) คือ มโนทัศน์การปกครองซึ่งรัฐมีบทบาทสำคัญในการคุ้มครองและส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีทางเศรษฐกิจและสังคมของพลเมือง โดยอาศัยหลักความเสมอภาคของโอกาส การกระจายความมั่งคั่งอย่างชอบธรรม และความรับผิดชอบต่อสาธารณะแก่ผู้ไม่สามารถจัดหาขั้นต่ำสำหรับชีวิตที่ดีได้ กลุ่มประเทศนอร์ดิก เช่น ไอซ์แลนด์ สวีเดน นอร์เวย์ เดนมาร์กและฟินแลนด์ รวมอยู่ในรัฐสวัสดิการสมัยใหม่[2]

รัฐสวัสดิการเกี่ยวข้องกับการถ่ายโอนเงินทุนจากรัฐสู่บริการที่จัดให้ (เช่น สาธารณสุข การศึกษา) ตลอดจนสู่ปัจเจกบุคคลโดยตรง ("ผลประโยชน์") รัฐสวัสดิการจัดหาเงินทุนจากการเก็บภาษีแบบแบ่งความมั่งคั่ง (redistributionist taxation) และมักเรียกว่าเป็น "เศรษฐกิจแบบผสม" ประเภทหนึ่ง[3] การเก็บภาษีดังกล่าวปกติรวมการเก็บภาษีเงินได้จากผู้มีรายได้สูงมากกว่าผู้มีรายได้ต่ำ เรียก ภาษีอัตราก้าวหน้า ซึ่งช่วยลดช่องว่างรายได้ระหว่างคนรวยและคนจน[4][5][6]

บทบาท

  • รัฐต้องมีหลักประกันความเท่าเทียมกันในเรื่องของรายได้ขั้นต่ำ ไม่ว่าจะเป็นของแต่ละบุคคล และครอบครัว อีกทั้งรัฐจะต้องสนับสนุนให้มีการกระจายผลผลิตจากการทำงาน
  • รัฐต้องจัดหาความมั่นคงทางสังคมให้แก่บุคคลในกรณีต่างๆ เช่น การเจ็บป่วย การชราภาพ การว่างงาน เป็นต้น
  • รัฐต้องให้สิทธิแก่พลเมืองอย่างเท่าเทียมกัน ในการที่จะได้รับการบริการทางสังคมอย่างทั่วถึงและสม่ำเสมอด้วยมาตรฐานที่ดี[7][8]

รูปแบบ

รัฐสวัสดิการ

  1. รัฐสวัสดิการแบบสังคมนิยมประชาธิปไตย
  2. รัฐสวัสดิการแบบเสรีนิยม
  3. รัฐสวัสดิการแบบอนุรักษ์นิยม
  • รัฐสวัสดิการแบบสังคมนิยมประชาธิปไตย

แบบสังคมนิยมประชาธิปไตยจะมีฐานมั่นคงอยู่ในประเทศแถบยุโรปเหนือ อย่าง สวีเดน นอร์เวย์ เดนมาร์ก เป็นต้น รวมถึงประเทศเนเธอร์แลนด์ เป็นการสร้างแนวทางที่ประสานประโยชน์ร่วมกันโดยผ่านการเจรจาต่อรองระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง นอกจากนั้นจะเป็นรัฐสวัสดิการที่หยิบยื่นให้ทั้งความรู้สึกที่มั่นคงทางด้านเศรษฐกิจต่อผู้ที่ต้องการความ ช่วยเหลือ รวมไปถึงการสร้างมาตรฐานที่มั่นคงให้กับคนทั่ว ๆ ไปในสังคมด้วย

  • รัฐสวัสดิการแบบเสรีนิยม

แบบเสรีนิยมนั้น จะค่อนข้างได้รับการยอมรับในแถบประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษ และนโยบายสวัสดิการที่ใช้ก็มักเป็นเพียงการสร้างความรู้สึกมั่นคงพื้นฐานของการมีชีวิตอยู่ในสังคม และจำกัดอยู่เฉพาะในกลุ่มบุคคลที่ถูกพิจารณาและไตร่ตรองแล้วว่ามีความจำเป็นที่ต้องการได้รับความช่วยเหลือจริงเท่านั้น หน่วยราชการจะทุ่มเทความช่วยเหลือไปยังคนงานและคนระดับล่างในสังคม ขณะเดียวกันก็เปิดโอกาสให้คนชั้นกลางและคนชั้นสูงได้มีโอกาสตักตวงและเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ได้อย่างเต็มที่จากตลาดแรงงาน

  • รัฐสวัสดิการแบบอนุรักษ์นิยม

แบบอนุรักษ์นิยมนั้นจะมีอิทธิพลอยู่ในทวีปยุโรปตอนกลาง ที่โบสถ์และมูลนิธิการกุศลเข้ามาช่วยดูแลเรื่องรักษาพยาบาล และการประกันสังคมช่วยให้เกิดความรู้สึกมั่นคงทางเศรษฐกิจต่อกลุ่มอาชีพต่าง ๆ ในสังคม แต่รูปแบบลักษณะนี้จะไม่ปฏิเสธการมีช่องว่างระหว่างชนชั้นในสังคม ยึดมั่นต่อค่านิยมเก่าๆ ในครอบครัวที่ตกทอดกันมา รวมทั้งยอมรับอิทธิพลที่มีของศาสนจักร[9][10][11]

ตัวอย่างการดำเนินงานรัฐสวัสดิการในต่างประเทศ

มีหลายประเทศที่ได้มีการนำระบบรัฐสวัสดิการมาใช้ ส่วนใหญ่มักพบในประเทศที่พัฒนาแล้ว ซึ่งประเทศเหล่านี้จะมีฐานะทางการเงินที่เข้มแข็งและมีการจัดเก็บภาษีในอัตราที่สูง ได้แก่ประเทศในแถบสแกนดิเนเวีย เช่น สวีเดน นอร์เวย์ เดนมาร์ก ฟินแลนด์ เป็นต้น และประเทศในแถบยุโรป เช่น เยอรมนี อังกฤษ เป็นต้น แต่ประเทศผู้กล่าวถึงในฐานะประเทศที่ประสบความสำเร็จในการดำเนินงานรัฐสวัสดิการมากที่สุด จนมีหลายประเทศนำไปเป็นแบบจำลองของรัฐสวัสดิการ คือ ประเทศสวีเดน

ประเทศสวีเดน เป็นประเทศที่ถูกกล่าวถึงในฐานะประเทศที่ประสบความสำเร็จในการเป็นรัฐสวัสดิการมากที่สุด โดยสามารถบรรลุตามวัตถุเป้าหมายทางเศรษฐกิจและสังคมในเรื่องความเท่าเทียมและความมีประสิทธิภาพควบคู่กันไปพร้อมกัน อย่างไรก็ตาม การนำแบบจำลองรัฐสวัสดิการสวีเดนไปเป็นต้นแบบในแต่ละประเทศก็ยังมีข้อจำกัดที่จะต้องคำนึงถึง เนื่องจากประเทศสวีเดนมีโครงสร้างทางเศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรม เฉพาะเป็นเอกลักษณ์ที่แตกต่างจากประเทศอื่นๆ ซึ่งนั่นเป็นปัจจัยที่ผลักดันให้รัฐสวัสดิการประสบผลสำเร็จ โดยผู้ริเริ่มระบบรัฐสวัสดิการสมัยใหม่ในประเทศสวีเดนคือ Alva Myrdal ซึ่งรัฐสวัสดิการนี้จะคุ้มครองตั้งแต่เกิดจนตาย ในช่วงทศวรรษ 1930 กล่าวว่า ปัจจัยที่สนับสนุนให้สวีเดนประสบความสำเร็จในการนำระบบรัฐสวัสดิการมาในประเทศ ได้แก่

  1. ประชากรในประเทศสวีเดนมีน้อยและมีความเหมือนกัน เนื่องจากสวีเดนไม่เคยอยู่ในยุคของระบบศักดินา และรัฐบาลก็จะถูกนำเสนอในลักษณะของการมีชื่อเสียง และเป็นที่นิยม ดังนั้นประชากรจึงมีความเชื่อและศรัทธาให้ผู้อื่นและรัฐบาลในระดับสูง ประชาชนหรือชาวนาเจ้าของที่ดินจึงคุ้นเคยกับเจ้าหน้าที่หรืออำนาจของรัฐ และคิดว่ารัฐบาลเป็นส่วนหนึ่งของประชาชน
  2. ข้าราชการมีประสิทธิภาพ และไม่มีการฉ้อราษฎร์บังหลวง ( Corruption )
  3. ชาวโปรแตสแตนท์ในสวีเดน ยึดมั่นในจริยธรรมและการเผยแพร่จริยธรรมอย่างมาก ทำให้คนสวีเดนต้องปฏิบัติตามหลักจริยธรรม โดยต้องขยันทำงานหนักแม้ว่าภาษีเพิ่มขึ้น
  4. การทำงานของคนสวีเดนมีประสิทธิผลมาก เนื่องจากประชากรได้รับการศึกษาที่ดี และมีการส่งออกที่เข้มแข็ง

รัฐสวัสดิการในประเทศสวีเดนเป็นรูปแบบที่แตกต่างออกไปจากรัฐสวัสดิการในระบบเศรษฐกิจแบบผสมทั่วไป ซึ่งแพร่หลายในประเทศอุตสาหกรรม โดยรัฐสวัสดิการประเทศสวีเดนจัดว่าเป็น “ทางสายกลาง” ระหว่างระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม ( Capitalist Economy ) และระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม ( Socialist Economy ) ซึ่งผู้สนับสนุนแนวคิดนี้ประเมินว่าเป็นวิธีหนึ่งในการบรรลุเป้าหมายเรื่องความเท่าเทียมกันในสังคมในระดับสูงที่สุดในโลกโดยที่ไม่ทำให้ผู้ประกอบการรู้สึกอึดอัด[12]

ความเป็นมาของรัฐสวัสดิการในประเทศสวีเดน

ระบบรัฐสวัสดิการของประเทศสวีเดนพัฒนาอย่างช้า ๆ แต่เป็นไปอย่างต่อเนื่องและฝังแน่นในระบบเศรษฐกิจประเทศสวีเดนตลอดช่วงศตวรรษที่ 20 โดยมีพรรคสังคมนิยมประชาธิปไตย (Social Democratic Party) และสหภาพการค้า (Trade Union) เป็นผู้นำในการพัฒนาประเทศ อย่างไรก็ตามรัฐสวัสดิการได้รับการคัดค้านจากกลุ่มธุรกิจ กลุ่มอนุรักษ์นิยม และกลุ่มเสรีนิยมซึ่งไม่เห็นด้วยกับระบบนี้ ในระยะแรก แต่ต่อมาฝ่ายคัดค้านก็ยอมรับระบบรัฐสวัสดิการ และหันกลับมาสนับสนุนการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องในการปฏิรูประบบรัฐสวัสดิการในที่สุด

โดยจุดเริ่มต้นของการจัดรัฐสวัสดิการในประเทศสวีเดนเริ่มขึ้นในช่วงทศวรรษที่ 1840 โดยสวีเดนได้ออก “กฎหมายขจัดความยากจน” (Poor Relief Laws) มาบังคับใช้ ต่อมาในปี ค.ศ. 1913 รัฐบาลพรรคเสรีนิยมด้วยการสนับสนุนของประชาชนเริ่มขยายขอบข่ายของสิทธิประโยชน์ทางสังคม โดยออก “กฎหมายบำนาญแห่งชาติ” (National Pension Act) มาบังคับใช้เพื่อจัดความมั่นคงทางสังคมให้แก่ผู้สูงอายุ ในปี ค.ศ. 1918 รัฐบาลผสมระหว่างพรรคเสรีนิยมและพรรคสังคมนิยมประชาธิปไตยได้ออกกฎหมายความยากจนใหม่ (New Poor Law) เพื่อช่วยเหลือคนที่มีความจำเป็นผ่านรัฐบาลท้องถิ่นในขณะที่รัฐบาลกลางเป็นฝ่ายสนับสนุนการบริหารงานเท่านั้น กฎหมายดังกล่าวยังคงมีผลต่อระบบความช่วยเหลือทางสังคมหรือระบบสงเคราะห์ (Social Assistance) ในประเทศสวีเดน ต่อมาอีก 40 ปี

ประเทศสวีเดนเริ่มเข้าสู่การเป็นรัฐสวัสดิการสมัยใหม่ในช่วงปี ค.ศ. 1932 หลังจากพรรคสังคมนิยมประชาธิปไตยเริ่มเรืองอำนาจ และเข้ามาบริหารประเทศอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานถึง 65 ปี ในช่วงระยะเวลา 74 ปี ที่ผ่านมา พรรคสังคมนิยมประชาธิปไตยซึ่งเป็นพรรคของคนชั้นกลางได้สร้างระบบความมั่นคงทางสังคมที่ให้สิทธิประโยชน์อย่างครอบคลุม ได้แก่ บำนาญชราภาพ สิทธิประโยชน์กรณีว่างงาน สิทธิประโยชน์สำหรับเด็กกำพร้า สิทธิประโยชน์กรณีเจ็บป่วย ให้แก่คนงานที่ได้รับค่าจ้างในอัตราที่สูง ซึ่งสิทธิประโยชน์ส่วนใหญ่จะเป็นสัดส่วนกับจำนวนเงินที่จ่าย ดังนั้นจึงทำให้คนชั้นกลางที่มีฐานะให้ความสนใจสนับสนุนระบบความมั่นคงทางสังคมดังกล่าว

ระบบรัฐสวัสดิการในประเทศสวีเดน ได้พัฒนาอย่างต่อเนื่องระหว่างทศวรรษที่ 1950-1960 ในช่วงเวลานั้น ประเทศสวีเดนเป็นประเทศที่ร่ำรวยที่สุดเป็นอันดับที่ 2 ของโลกด้วยอัตรา การว่างงานเป็นศูนย์ และรัฐสวัสดิการได้ถึงจุดที่รุ่งเรืองที่สุดในทศวรรษที่ 1970 ให้ความคุ้มครองทุกคนอย่างถ้วนหน้า ตั้งแต่การดูแลเด็กไปจนกระทั่งการให้บำนาญสำหรับผู้สูงอายุ ซึ่งตามสถิติของ OECD ในปี ค.ศ. 1970 สวีเดนเป็นประเทศที่มีรายได้ต่อหัวสูงที่สุดเป็นอันดับ 4 ของโลก

ในช่วงทศวรรษที่ 1990 แบบจำลองรัฐสวัสดิการของสวีเดนเริ่มมีปัญหาอันเนื่องมาจากวิกฤตการณ์อุตสาหกรรมหนักเป็นผลให้การระดมทุนทางสังคมลดลง ภาวะเศรษฐกิจถดถอยนี้ทำให้สวีเดนตกอยู่ในสถานการณ์ที่ลำบาก และก่อให้เกิดปัญหาสังคมในหลายๆ ปีต่อมา

ในปี ค.ศ. 2006 ประเทศสวีเดนมีการเลือกตั้งครั้งใหม่ซึ่งประเทศสวีเดนยังคงแยกเป็นกลุ่มฝ่ายซ้ายและกลุ่มฝ่ายขวา อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าจะเป็นรัฐบาลผสมโดยมีพรรคฝ่ายขวาเป็นเสียงข้างมาก แนวโน้มของรัฐบาลก็ยังคงรักษาพื้นฐานของรัฐสวัสดิการด้วยการปรับปรุงบางอย่างเพื่อจะทำให้ลดการว่างงาน และทำให้เศรษฐกิจเติบโตต่อไป ซึ่งไม่มีพรรคการเมืองสำคัญพรรคใดในสวีเดนที่มีนโยบายที่จะค่อย ๆ ยกเลิกรัฐสวัสดิการ เนื่องจากจะทำให้ไม่ได้รับความนิยมจากประชาชนที่มีสิทธิออกเสียงทั้งกลุ่ม ที่สนับสนุนพรรคที่นิยมฝ่ายซ้ายและพรรคที่นิยมฝ่ายขวา ปัจจุบันประเทศสวีเดนมี GDP ต่อหัวต่ำกว่าประเทศสแกนดิเนเวียอื่น ๆ อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจยังคงเป็นปัญหาสำคัญในปัจจุบัน[13][14]

ตัวอย่างของระบบรัฐสวัสดิการของประเทศสวีเดน

* การศึกษา ในประเทศสวีเดนเรื่องของการศึกษาถือว่าเป็นเรื่องที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง โดยรัฐจะมีการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เข้ามาเรียนฟรีตั้งแต่ชั้นประถมศึกษากระทั่งจบการศึกษาในระดับปริญญาเอก โดยไม่มีการคิดค่าหน่วยกิตหรือการเรียกเก็บค่าเทอม ในส่วนของการศึกษาระดับมหาวิทยาลัยนั้น จะมีการเรียกเก็บเฉพาะ “ค่าบำรุงองค์การนักศึกษา” เท่านั้นที่มีการบังคับ ให้นักศึกษาต้องจ่าย นอกจากนี้ระบบการศึกษาของประเทศสวีเดนยังเน้นการสอนไปที่ความเป็นไปตามระดับพัฒนาการของเด็กในแต่ละช่วงวัย และนอกจากการเรียนฟรีแล้ว อุปกรณ์ในการเรียนรวมถึงอาหารกลางวันทุกอย่างก็ฟรีทั้งหมดอีกด้วย

* การประกันสุขภาพ รัฐจะมีการช่วยค่ารักษาพยาบาล ช่วยค่าการรักษาสุขภาพฟัน จ่ายค่านอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล จ่ายค่ายา รวมถึงมีการชดเชยรายได้ระหว่างเจ็บป่วยด้วย แต่ทั้งนี้ก็ไม่ได้หมายความรัฐจะมีการช่วยจ่ายให้ทั้งหมด 100% ของค่าใช้จ่าย การที่รัฐเข้ามาช่วยนั้นจะมีเงื่อนไขที่ระบุไว้ในกฎหมายด้วย เช่น การรักษาฟัน กรณีผู้มีอายุต่ำกว่า 17 ปีรักษาฟรีทั้งหมด ส่วนผู้ที่อายุเกิน 17 ปี ต้องมีการจ่ายค่ารักษาส่วนหนึ่ง คือ ถ้ารักษาไม่เกิน 1,000 โครนเนอร์ รัฐจะจ่าย 50% แต่ถ้าเกิน 1,000 โครนเนอร์ รัฐจ่ายให้ 75% ซึ่งอัตราการคิดเงินนี้รัฐบาลจะกำหนดไว้อย่างชัดเจน แพทย์จะคิดเงินเกินกว่าที่กำหนดไม่ได้ แต่อาจคิดต่ำกว่าได้ เป็นต้น[15]

อ้างอิง

  1. กองแผนงานและสารสนเทศ สำนักงานประกันสังคม, ประเทศไทยกับการก้าวไปสู่…รัฐสวัสดิการ, ครั้งที่ 1, ไซเบอร์ ร็อก เอเยนซี่ กรุ๊ป จำกัด, 2550, 978-974-7894-43-1
  2. Paul K. Edwards and Tony Elger, The global economy, national states and the regulation of labour (1999) p, 111
  3. "Welfare state." Encyclopedia of Political Economy. Ed. Phillip Anthony O'Hara. Routledge, 1999. p. 1245
  4. Pickett and Wilkinson, The Spirit Level: Why More Equal Societies Almost Always Do Better, 2011
  5. The Economics of Welfare| Arthur Cecil Pigou
  6. Andrew Berg and Jonathan D. Ostry, 2011, "Inequality and Unsustainable Growth: Two Sides of the Same Coin?" IMF Staff Discussion Note SDN/11/08, International Monetary Fund
  7. คำนูณ สิทธิสมาน, “รัฐสวัสดิการทางเลือกใหม่ของการเมืองไทย” , 2008-07-11
  8. จตุรงค์ บุณยรัตนสุนทร, "รัฐสวัสดิการกับสังคมสวัสดิการ:มุมมองทางทฤษฎี", ค้นเมื่อ 2017-03-17
  9. บุญส่ง ชเลธร, รัฐสวัสดิการสวีเดน, ครั้งที่ 1, บพิธการพิมพ์ จำกัด, 2553, 987-974-345-262-8
  10. แบ๊งค์ งานอรุณโชติ, "กลุ่มศึกษารัฐสวัสดิการ ตอนที่1: รัฐสวัสดิการ รูปแบบ และตัวกำหนดพัฒนาการ", 2012-11-27,ค้นเมื่อ 2017-03-31
  11. อนุสรณ์ ธรรมใจ, "บทบาทของรัฐต่อระบบสวัสดิการสังคมภายใต้สำนักคิดทางเศรษฐกิจการเมืองต่างๆ", 2013-11-15, ค้นเมื่อ 2017-03-31
  12. กองแผนงานและสารสนเทศ สำนักงานประกันสังคม, ประเทศไทยกับการก้าวไปสู่…รัฐสวัสดิการ, ครั้งที่ 1, ไซเบอร์ ร็อก เอเยนซี่ กรุ๊ป จำกัด, 2550, 978-974-7894-43-1
  13. โสภณ พรโชคชัย, “สนทนาเรื่องรัฐสวัสดิการกับอาจารย์บุญส่ง ชเลธร”,ค้นเมื่อ 2017-03-31
  14. กองแผนงานและสารสนเทศ สำนักงานประกันสังคม, ประเทศไทยกับการก้าวไปสู่…รัฐสวัสดิการ, ครั้งที่ 1, ไซเบอร์ ร็อก เอเยนซี่ กรุ๊ป จำกัด, 2550, 978-974-7894-43-1
  15. คำนูณ สิทธิสมาน, “รัฐสวัสดิการทางเลือกใหม่ของการเมืองไทย” , 2008-07-11

แหล่งข้อมูลอื่น