ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีไทย พ.ศ. 2557"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Khampirat (คุย | ส่วนร่วม)
อิกคิวซัง (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: เครื่องมือแก้ไขต้นฉบับปี 2560
บรรทัด 38: บรรทัด 38:
| ก่อนหน้า = [[การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีไทย พ.ศ. 2554]]
| ก่อนหน้า = [[การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีไทย พ.ศ. 2554]]
| จำนวนก่อนหน้า =
| จำนวนก่อนหน้า =
| ถัดไป = [[การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีไทย พ.ศ. 2561]]
| ถัดไป = -
| จำนวนถัดไป =
| จำนวนถัดไป =
| ช่วงเวลา =
| ช่วงเวลา =

รุ่นแก้ไขเมื่อ 17:49, 22 เมษายน 2560

การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีไทย เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2557 เป็นการลงมติของสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2557 ภายหลังจากรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 โดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งประธานและรองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติแล้ว[1]

ขั้นตอน

ขั้นตอนการเลือกนายกรัฐมนตรีเริ่มตั้งแต่การเสนอร่างข้อบังคับการประชุม เฉพาะหลักเกณฑ์เรื่องการเลือกนายกรัฐมนตรีให้ที่ประชุมเห็นชอบ จากนั้น จะพิจารณาเลือกโดยให้สมาชิกเสนอชื่อบุคคล ผู้ได้รับการเสนอชื่อต้องมีสมาชิกอย่างน้อย 1 ใน 5 (39.4 จาก 197 คน) รับรอง โดยใช้วิธีเสียบบัตรลงคะแนนแทนการยกมือรับรอง เพื่อป้องกันการรับรองชื่อซ้ำซ้อนหากมีการเสนอชื่อนายกรัฐมนตรีมากกว่า 1 คน

หลังรับรองครบถ้วนแล้ว ให้เลขาธิการวุฒิสภาขานรายชื่อสมาชิกทีละคนเพื่อให้ลงมติโดยเปิดเผยว่าเห็นชอบ ไม่เห็นชอบหรืองดออกเสียง ผู้ถูกเสนอชื่อต้องได้รับคะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่งของสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติที่มีอยู่ (98.5 จาก 197 คน) และผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรีไม่ต้องอยู่ในห้องประชุม ไม่ต้องแสดงวิสัยทัศน์ เพียงแต่ผู้นั้นต้องตรวจสอบคุณสมบัติว่าไม่มีคุณสมบัติต้องห้าม[2]

การรักษาความปลอดภัย

พลตำรวจโท อำนวย นิ่มมะโน ปฏิบัติราชการรองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล เรียกหน่วยงานความมั่นคงทั้งทหารตำรวจประชุมเตรียมมาตรการความปลอดภัยระหว่างการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติวันที่ 21 สิงหาคม โดยอ้างอิงถึงเหตุการณ์โปรยใบปลิวหน้าศาลปกครองและศูนย์ราชการ แจ้งวัฒนะที่ผ่านมา เบื้องต้นจัดเตรียมกำลังทหารและตำรวจรอบรัฐสภา หากสถานการณ์รุนแรงจะใช้กำลังสำรองจากสวนสัตว์ดุสิตเข้าช่วย นอกจากนี้ยังมีการตั้งด่านตรวจหน้ารัฐสภาตั้งแต่เวลา 02.00-05.00 น. ทั้งให้กรุงเทพมหานครปรับปรุงกล้องวงจรปิดรอบรัฐสภา พร้อมเตรียมแผนอพยพ[3]

การประชุม

การประชุมเริ่มเมื่อเวลา 10 นาฬิกา ตวง อันทะไชย สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติซึ่งได้รับมอบหมายจากมติวิปสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ให้เป็นผู้เสนอชื่อ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และผู้บัญชาการทหารบก เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 29 โดยมีผู้รับรอง 188 คน และไม่ลงคะแนน 1 คน หลังจากใช้เวลาประมาณ 30 นาที การออกเสียงจึงเสร็จสิ้น ประธานสภานิติบัญัติแห่งชาติ(พรเพชร)ได้ประกาศผลการลงคะแนนออกเสียงมีผู้เห็นชอบให้ พล.อ.ประยุทธ์เป็นนายกรัฐมนตรี 191 เสียง เท่ากับว่า พล.อ.ประยุทธ์ได้เป็นว่าที่นายกรัฐมนตรีคนที่ 29 ของประเทศไทย โดยมีสมาชิกงดออกเสียง 3 เสียง คือ พรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ สุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย และพีระศักดิ์ พอจิต รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ นอกจากนี้มีสมาชิกลาป่วย 3 คน ประกอบด้วย กาญจนารัตน์ ลีวิโรจน์, คุณพรทิพย์ จาละ และ พลเอก สุรวัช บุตรวงษ์[4][5]

ผลการลงมติ

ผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อ เห็นชอบ ไม่เห็นชอบ งดออกเสียง ไม่เข้าร่วมประชุม รวม
ประยุทธ์ จันทร์โอชา 191 - 3 3 197
รวม 191 0 3 3 197

อ้างอิง


ก่อนหน้า การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีไทย พ.ศ. 2557 ถัดไป
การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีไทย พ.ศ. 2554 ไฟล์:Seal Prime Minister of Thailand.png
การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีไทย
การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีไทย พ.ศ. 2561