ผลต่างระหว่างรุ่นของ "คณะเยสุอิต"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
→‎คณะเยสุอิตในประเทศไทย: ประวัติศาสตร์คณะเยสุอิตสมัยอยุทธยา
JBot (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนเนื้อหาอาจละเมิดลิขสิทธิ์ หรือไม่เป็นสารานุกรม ไม่ใช่? แจ้งที่นี่
บรรทัด 28: บรรทัด 28:


สมาชิกในกลุ่มนั้นจึงทำการรับศีลเป็นนักบวชที่[[เวนิส]]โดย[[บิชอป]]แห่งอาร์บเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน หลังจากนั้นนักบวชกลุ่มก็อุทิศตัวให้กับการเทศนาและการช่วยงานการกุศลในประเทศอิตาลึ เพราะไม่สามารถเดินทางไปกรุงเยรูซาเลมได้ตามที่ตั้งใจ เพราะขณะนั้นระหว่างปี ค.ศ. 1535 ถึงปี ค.ศ. 1538 เป็นระยะเวลาสงครามระหว่าง[[จักรพรรดิคาร์ลที่ 5 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์]] เวนิส และ[[รัฐสันตะปาปา]] กับ[[จักรวรรดิออตโตมัน]] ทำให้การเดินทางไปกรุงเยรูซาเลมเป็นไปไม่ได้
สมาชิกในกลุ่มนั้นจึงทำการรับศีลเป็นนักบวชที่[[เวนิส]]โดย[[บิชอป]]แห่งอาร์บเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน หลังจากนั้นนักบวชกลุ่มก็อุทิศตัวให้กับการเทศนาและการช่วยงานการกุศลในประเทศอิตาลึ เพราะไม่สามารถเดินทางไปกรุงเยรูซาเลมได้ตามที่ตั้งใจ เพราะขณะนั้นระหว่างปี ค.ศ. 1535 ถึงปี ค.ศ. 1538 เป็นระยะเวลาสงครามระหว่าง[[จักรพรรดิคาร์ลที่ 5 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์]] เวนิส และ[[รัฐสันตะปาปา]] กับ[[จักรวรรดิออตโตมัน]] ทำให้การเดินทางไปกรุงเยรูซาเลมเป็นไปไม่ได้

=== 160 ปี แห่งการทำงานของคณะเยสุอิตในกรุงศรีอยุธยา ===
3 ปีหลังการสถาปนาคณะ ภายใต้การรับรองของ สมเด็จพระสันตะปาปาเปาโลที่ 3 แผ่นดินสยามได้ถูกกล่าวถึงเป็นครั้งแรก ผ่านจดหมายทั้ง 4 ฉบับ ของท่าน นักบุญฟรังซิส เซเวียร์ แต่ตัวท่านเองเพียงแต่ผ่านไปยังประเทศญี่ปุ่น

                ในรัชสมัยของสมเด็จพระเอกาทศรถ เยสุอิตท่านแรกได้ถูกส่งมาในสยาม เพื่อสังเกตุการณ์การแพ่ธรรมในอยุธยา คือ คุณพ่อ บัลธาซาร์ เซเกรีอา ชาวเมืองลิสบอน ที่เดินทางมายังเอเชียพร้อมกับคุณพ่อมัทเทโอ ริชชี่ ภายใต้การอุปถัมภ์ของกษัตริย์โปรตุเกส (ระบบปาโดรอาโด) โดยช่วงแรกคุณพ่อบัลธาซาร์ เซเกอีราก็ได้เดินทางมาทำงานธรรมทูตที่ประเทศอินเดีย หลังจากนั้นอีก 28 ปี สมเด็จพระเอกสทศรถได้ทรงส่งพระราชสาสน์ไปหาพระสหายชาวโปรตุเกสในประเทศอินเดีย นามว่า ติสดาวโกลาโย โดยชายผู้นี้เองได้เสนอให้ เซเกรีอา เดินทางมายังอยุธยา

                ประมาณวันที่ 19-26 มีนาคม พ.ศ. 2150 (ค.ศ.1607) ในช่วงสัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์  คุณพ่อบัลธาซาร์ เซเกรีอา ก็เดินทางมาถึงกรุงศรีอยุธยา โดยท่านได้พำนักอยู่ในอยุธยา 2 ปีครึ่ง และได้ขอกลับไปพักรักษาตัวที่อินเดีย เมี่อได้รับการอนุญาตแล้ว คุณพ่อก็ได้เดินทางลงทางตอนใต้ของสยาม แต่เนื่องจากสุขภาพของท่านไม่แข็งแรง ท่านก็ได้เสียชีวิตที่เขตเมืองเพชรบุรี

                ต่อมา ก็มีเยสุอิตอีกหลายท่านผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนเข้ามาพำนักที่อยุธยา บ้างก็ผ่านมาเพื่อผ่านไปยังดินแดนอื่นๆ  เช่น เขมร ลาว หรือ ญี่ปุ่น

                ในเดือนสิงหาคม พ.ศ.2170 (ค.ศ.1627) บ้านพักแห่งแรกของคณะเยสุอิตได้ถูกสร้างขึ้น และคุณพ่อยูลีโอ มาร์ยีโก ชาวอิตาเลียน ได้ถูกส่งตัวมายังสยามเพื่อเป็นอธิการ ซึ่งบ้านหลังนี้ได้ตั้งอยู่ในบริเวณค่ายของชาวญี่ปุ่น สมเด็จพระเจ้าทรงธรรมทรงต้อนรับท่านเป็นอย่างดี

                โดยร่วมกับคุณพ่ออันโตนิโอ การ์ดิม และเยสุอิตชาวญี่ปุ่นนามว่าคุณพ่อโรมาโน นิชิ คุณพ่อยูลีโอ มาร์ยีโก ได้สร้างวัดที่สวยงามหลังหนึ่ง เพื่อใช้ประกอบพิธีกรรมต่างๆ แก่คริสตชนชาวญี่ปุ่น 400 คนที่อพยพลี้ภัย การเบียดเบียนศาสนา ของรัฐบาลโชกุน โตกุกาวา เข้ามาอาศัยในสยาม อีกทั้งทหารโปรตุเกสจำนวนหนึ่ง และขุนนางชาวสยาม 2 คน ที่มาเป็นคริสตชน

                แต่ภายหลังการเสด็จสวรรคตของสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม ก็เกิดวิกฤติขึ้นแก่คณะเยสุอิตในแผ่นดินอยุธยาจนต้องออกไปจากสยาม เพราะสมเด็จพระเชษฐาธิราชได้ทรงฟังการใส่ความของล่ามชาวสยาม จึงทรงมีพระบรมราชโองการให้จับคุณพ่อมาร์ยีโกและคุณพ่อนิชิเข้าคุก แม้ว่าต่อมาคุณพ่อนิชิจะถูกชาวญี่ปุ่นช่วยออกมาได้ แต่คุณพ่อมาร์ยีโกกลับถูกลอบวางยาพิษอย่างน่าเศร้าภายในคุก ราวฤดูฝน พ.ศ. 2173 (ค.ศ. 1630)  ทำให้ไม่มีนักบวชและธรรมทูตในอยุธยาเป็นเวลาอีกหลายปี

แต่แล้วเยสุอิตก็กลับเข้ามาอีกครั้ง ในปี พ.ศ. 2198 (ค.ศ.1655) โดยผู้ได้รับเกียรติให้เป็นผู้ตั้งบ้านของคณะขึ้นเป็นรอบที่สองหลังจากที่ห่างหายไปหลายปี คือคุณพ่อโทมัสโซ วัลกวาเนรา ชาวอิตาเลียน ท่านมาอยู่ในกรุงศรีอยุธยา โดยการขอร้องของคริสตชนญี่ปุ่นในสยาม โดยบ้านและโบสถ์ของคณะเยสุอิตอยู่ที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ตรงข้ามกับค่ายของชาวญี่ปุ่น เยื้องห่างออกไปจากหมู่บ้านโปรตุเกส (อยู่ในความรับผิดชอบของคณะโดมินิกัน) ประมาณ 1กิโลเมตร (ปัจจุบันบริเวณดังกล่าวไม่ได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์ คงเป็นเพียงซากโบราณเท่านั้น และอยู่ในย่านชุมชนของชาวมุสลิม)

                งานของคณะเยสุอิตในช่วงนี้ ส่วนหนึ่งยังคงเป็นการอภิบาลชาวญี่ปุ่นดังเดิม และคุณพ่อวัลกวาเนราก็ได้ก่อตั้งโรงเรียนแห่งหนึ่งขึ้นในบ้านของคณะ และได้มีการก่อตั้งสถาบันการศึกษาของเยสุอิตขึ้น โดยให้ชื่อว่า วิทยาลัยซานซัลวาดอร์ ในระหว่างปี พ.ศ. 2203 – 2213 (ค.ศ. 1660 -1670) ในระยะแรกสถาบันนี้เป็นวิทยาลัยเล็กๆซึ่งมีตัวคุณพ่อวัลกวาเนราประจำอยู่เพียงท่านเดียวเท่านั้น แต่ภายหลังไดขยายใหญ่ขึ้น

                สมัยนั้นเป็นช่วงรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช โดยพระองค์ท่านได้ทรงไว้วางพระราชหฤทัยในคุณพ่อวัลกวาเนราให้เป็นที่ปรึกษาด้านการก่อสร้างต่างๆของพระองค์ เพราะพระองค์ทรงได้ยินกิตติศัพท์ของคุณพ่อวัลกวาเนราในด้านวิศวกรรม พระองค์จึงทรงมอบให้ท่านก่อสร้างป้อมกำแพงเมืองใหม่ขึ้นที่เมืองบางกอก นนทบุรี และอีกบางเมือง เพื่อป้องกันข้าศึก ทั้งซ่อมบางส่วนของกำแพงเมืองกรุงศรีอยุธยาด้วย นอกนั้นท่านยังช่วยออกแบบแนะนำการก่อสร้างพระราชวังที่ลพบุรีอีกด้วย ทำให้คุณพ่อวัลกวาเนราเป็นที่โปรดปรายของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชมากเลยทีเดียว เมื่อเกิดดพลิงไหม้วัดน้อยที่คุณพ่อวัลกวาเนราได้สร้างจากหินที่นำเข้ามาจากมาเก๊าและปิดทองหน้ามุขอย่างสวยงาม สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงทราบจึงได้ทรงพระราชทานที่ดินแปลงที่ดีกว่าเพื่อสร้างโบสถ์หลังใหม่

                เนื่องจากงานด้านการก่อสร้างที่คุณพ่อวัลกวาเนราได้รับ ทำให้ท่านไม่สามารถทำหน้าที่ธิการของวิทยาลัยซานซัลวาดอร์ได้ จึงมอบหน้าที่อธิการวิทยาลัยแก่คุณพ่อยวง การ์โดโซ และคุณพ่อท่านี้เองที่ได้ทำการต้อนรับกลุ่มธรรมทูติแห่งสมณกระทรวงเผยแพร่ความเชื่อ (Propaganda Fidei) จากสันตะสำนักที่กรุงโรม คือ พระสังฆราชปิแอร์ ลัมแบรต เดอ ลา มอต ที่ได้เดินทางผ่านตะนาวศรี ที่คุณพ่อการ์โดโซได้เป็นพ่อเจ้าวัดก่อนที่จะเดินทางมาเป็นอธิการที่อยุธยา

                ในแผ่นดินของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช คณะเยสุอิตนับได้ว่ามีความรุ่งเรืองอย่างมาก และในสมัยนั้นสยามเริ่มมีความสัมพันธ์กับอาณาจักรทางตะวันตกมากขึ้น หนึ่งในนั้นคือ ฝรั่งเศส และในสัมพันธภาพระหว่างสยามและฝรั่งเศสนี้ คณะเยสุอิตก็ได้มีบทบาทอยู่ด้วย

                ในวันที่ 22 กันยายน พ.ศ.2228 (ค.ศ.1685) คณะทูตของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส เดินทางมาถึงปากแม่น้ำเจ้าพระยา และได้เข้าเฝ้าสมเด็จพระนารายณืมหาราช อันเป็นการเปิดความสัมพันธ์ทางการทูตครั้งแรกของสยามและฝรั่งเศส โดยหนึ่งในคณะทูตนั้นมีคุณพ่อจากคณะเยสุอิตอยู่ด้วย คือ คุณพ่อกีย์ ตาซาร์ด ท่านเป็นผู้ฟังแก้บาปของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ท่านได้จดบันทึกเรื่องราวไว้ใน “จดหมายเหตุการเดินทางสู่ประเทศสยามของบาทหลวงตาชาร์ต” และท่านก็ได้นับหน้าที่เป็นล่ามพิเศษ ให้สำหรับคณะทูตจากสยามเข้าเฝ้าพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ณ พระราชวังแวร์ซายน์ ในปี พ.ศ. 2229 (ค.ศ. 1686) และท่านได้รับความไว้วางพระราชหฤทัยจากสมเด็จพระนารายณ์มหาราชให้รับหน้าที่เจริญความสัมพันธ์ทางการทูตถึง 3 ครั้งด้วยกัน

                โดยในการเดินทางของคณะราชทูตจากสยามครั้งที่ 2 คุณพ่อตาวาร์ตได้มีโอกาสนำคณะทูตเข้าเฝ้าสมเด็จพระสันตะปาปาอินโนเซนต์ที่ 11 ณ พระราชวังวาติกัน กรุงโรม เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2232 (ค.ศ. 1689) เป็นการเปิดสะพานของพระศาสนจักรคาทอลิกสู่สยามขึ้น

                จากความสัมพันธ์เหล่านี้ ปรากฏว่ามีการต่อรองเจรจา เพื่อขอใหส่งเยสุอิต 14 ท่านที่เป็นนักคณิตศาสตร์และนักดาราศาสตร์ จากราชสำนักฝรั่งเศส เพื่อมาประจำที่หอดูดาวซึ่งสมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงโปรดให้สร้างขึ้นที่อยุธยาและลพบุรี โดยคุณพ่อกีย์ ตาซาร์ตเป็นผู้เจรจา

                บรรดาเยสุอิตทั้ง 14 ท่านเดินทางมาถึงสยามในปี พ.ศ. 2230 (ค.ศ. 1687) โดยเจ้าพระยาวิชเยนทร์ (คอนสแตนติน ฟอลคอน) ได้จัดการให้ทั้งหมดไปเรียนภาษาไทยกับพระภิกษุที่เมืองลพบุรี

                ภายหลังสิ้นรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช บ้านเมืองมีความผันผวนทางการเมืองอยู่ตลอดเวลา และส่งผลต่อพระศาสนจักรในประเทศไทยรวมทั้งคณะเยสุอิตด้วย ทำให้การทำงานของเยสุอิตในอยุธยาปั้นไปอย่างลุ่มๆดอนๆ เนื่องจากผู้มาอยู่ประจำมีจำนวนน้อย แต่งานที่จะต้องทำนั้นมีมาก ส่าวนใหญ่แล้วมีกจะมาพักเพียงชั่วคราวเท่านั้น ทำให้การทำงานไม่ต่อเนื่อง จนกระทั่งปีสุดท้ายที่ชื่อของคณะเยสุอิตจางหายไปจากสยาม เมื่อกองทัพของอาณาจักรพม่าได้ตีกรุงศรีอยุธยาและเผาทำลายเมืองไปบางส่วน วิทยาลัยและโบสถ์ของคณะเยสุอิตก็ถูกทำลายลงไปด้วย นักบวชของคณะถูกจับเป็นเชลยและเสียชีวิตระหว่างเดินทางไปพม่าเป็นการสิ้นสุดการทำงานกว่า 160 ปี ของคณะเยสุอิตในแผ่นดินสยาม


== สมาชิกที่มีชื่อเสียง ==
== สมาชิกที่มีชื่อเสียง ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 17:41, 12 เมษายน 2560

คณะแห่งพระเยซูเจ้า
ชื่อย่อSJ
คําขวัญAd maiorem Dei gloriam
ก่อตั้ง15 สิงหาคม 1534; 489 ปีก่อน (1534-08-15)
ประเภทคณะนักบวชคาทอลิก
สํานักงานใหญ่โบสถ์เจซู
ที่ตั้ง
บาทหลวงอดัลโฟ นีโกลัส
พนักงาน
17,287 คน
เว็บไซต์http://www.sjweb.info/

คณะเยสุอิต[1][2] (Jesuits) มีชื่อเต็มว่า คณะแห่งพระเยซูเจ้า[3] (อังกฤษ: Society of Jesus; ละติน: Societas Iesu ใช้ชื่อย่อว่า “S.J.” หรือ “S.I.”) เป็นคณะนักบวชคาทอลิกที่นักบุญอิกเนเชียสแห่งโลโยลา (St.Ignatius of Loyola) ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1540 นักบวชในคณะนี้มีสมญาว่า “ทหารของพระคริสต์” (Soldiers of Christ) หรือ “ทหารราบของพระสันตะปาปา” (Foot soldiers of the Pope) เพราะนักบุญอิกเนเชียสผู้ก่อตั้งเคยเป็นอัศวินมาก่อนที่จะบวช

ในปัจจุบันนักบวชเยสุอิตทำงานสอนศาสนาใน 112 ประเทศและมีชื่อเสียงในทางการศึกษา การค้นคว้า และการส่งเสริมวัฒนธรรม นอกจากนั้นยังมีส่วนร่วมในการต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนด้วย

การก่อตั้ง

เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม ค.ศ. 1534 อิกเนเชียสแห่งโลโยลา นักบวชชาวสเปนและนักเรียนอีก 6 คนจากมหาวิทยาลัยปารีส ซึ่งเป็นชาวแคว้นบาสก์ ประเทศสเปน ประกอบด้วย ฟรันซิสโก คาเบียร์ (Francisco Xavier) อัลฟอนโซ ซาลเมรอน (Alfonso Salmeron) ดีเอโก ลาอีเนซ (Diego Laínez) นิโคลัส โบบาดิลลา (Nicolás Bobadilla)) ปีแยร์ ฟาฟวร์ (Pierre Favre) จากซาวอย ประเทศฝรั่งเศส และซิเมา โรดริเกซ (Simão Rodrigues) จากประเทศโปรตุเกส พบกันที่มงมาทร์ ภายในห้องเก็บศพใต้โบสถ์นักบุญเดนิส นอกเมืองปารีส ผู้ร่วมในกลุ่มนี้ตั้งคำปฏิญาณถือความความยากจนและพรหมจรรย์ เพื่อ “เข้าทำงานกับโรงพยายาลและการเผยแพร่ศาสนาที่กรุงเยรูซาเลม หรือเพื่อไปยังที่ใด ๆ ที่พระสันตะปาปามึความประสงค์จะส่งไปโดยไม่ทักท้วง”

กลุ่มนี้เรียกตนเองว่า “กองกำลังพระเยซู” (Company of Jesus) เพราะผู้เป็นสมาชิกมีความรู้สึกว่าที่มาพบปะกันได้ก็เป็นเพราะอำนาจของพระเยซู คำว่า “กองกำลัง” เป็นนัยมาจากศัพท์ที่ใช้ในการเรียกกองทหาร และยังแสดงถึงความเป็นสาวกหรือผู้ติดตามพระเยซู คำว่า “Company” มาจากภาษาละติน “cum” และ “pane” ซึ่งแปลว่า “bread with” หรือผู้ที่กินอาหารด้วยกัน

การพบกันครั้งนี้นำไปสู่การก่อตั้งกลุ่มที่ต่อมาในปี ค.ศ. 1540 เรียกตนเองว่า “Society of Jesus” คำว่า “societas” ในภาษาละตินมาจากคำว่า “socius” หรือ “ผู้ร่วม” หรือ “สหาย” ในปี ค.ศ. 1537 กลุ่มนี้ก็เดินทางไปประเทศอิตาลีเพื่อยึ่นคำขออนุมัติการตั้งคณะใหม่ต่อพระสันตะปาปา สมเด็จพระสันตะปาปาปอลที่ 3 ทรงอนุมัติและอนุญาตให้สมาชิกในกลุ่มนั้นรับศีลอนุกรม

สมาชิกในกลุ่มนั้นจึงทำการรับศีลเป็นนักบวชที่เวนิสโดยบิชอปแห่งอาร์บเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน หลังจากนั้นนักบวชกลุ่มก็อุทิศตัวให้กับการเทศนาและการช่วยงานการกุศลในประเทศอิตาลึ เพราะไม่สามารถเดินทางไปกรุงเยรูซาเลมได้ตามที่ตั้งใจ เพราะขณะนั้นระหว่างปี ค.ศ. 1535 ถึงปี ค.ศ. 1538 เป็นระยะเวลาสงครามระหว่างจักรพรรดิคาร์ลที่ 5 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ เวนิส และรัฐสันตะปาปา กับจักรวรรดิออตโตมัน ทำให้การเดินทางไปกรุงเยรูซาเลมเป็นไปไม่ได้

สมาชิกที่มีชื่อเสียง

นักบุญ
  1. นักบุญอิกเนเชียสแห่งโลโยลา
  2. นักบุญฟรังซิสโก คาเบียร์
  3. นักบุญโรแบร์โต เบลลาร์มีโน
  4. นักบุญเปาโล มิกิ
  5. นักบุญลุยจี กอนซากา
พระสันตะปาปา
  1. สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

อ้างอิง

  1. ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 274
  2. คณะเยสุอิตประเทศไทย. คณะเยสุอิตประเทศไทย. เรียกข้อมูลวันที่ 19 ต.ค. พ.ศ. 2553.
  3. คณะแห่งพระเยซูเจ้า (เยสุอิต). หอจดหมายเหตุ อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ. เรียกข้อมูลวันที่ 19 ต.ค. พ.ศ. 2553.