ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ปรางค์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Jadenarong (คุย | ส่วนร่วม)
หน้าใหม่: thumb|right|240px|[[นครวัด กัมพูชา]] '''พระปรางค์''' หรือ ปรางค์ เ...
 
Jadenarong (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 34: บรรทัด 34:
ภาพ:Watpsrattanamahathat.jpg|วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ศรีสัญชนาลัย
ภาพ:Watpsrattanamahathat.jpg|วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ศรีสัญชนาลัย
ภาพ:Phraprangwatpho1.jpg|พระปรางค์ วัดโพธิ์ กรุงเทพ ฯ
ภาพ:Phraprangwatpho1.jpg|พระปรางค์ วัดโพธิ์ กรุงเทพ ฯ
ภาพ:Phimai Prang.jpg|ปรางค์ปราสาทหินพิมาย นครราชสีมา
ภาพ:Watpichayart.jpg|วัดพิชัยญาติ ธนบุรี กรุงเทพ ฯ
</gallery>
</gallery>



รุ่นแก้ไขเมื่อ 13:50, 23 สิงหาคม 2550

นครวัด กัมพูชา


พระปรางค์ หรือ ปรางค์ เป็นสิ่งก่อสร้างประเภทหนึ่งในงานสถาปัตยกรรมไทย เป็นหลักประธานในวัดเช่นเดียวกับพระเจดีย์ แต่เดิมถือว่าเป็นงานสถาปัตยกรรมที่มีรูปแบบลักษณะเฉพาะของขอม โดยมีคติความเชื่อในศาสนาฮินดู ว่าเป็นสัญลักษณ์ของ เขาพระสุเมรุ

ลักษณะและรูปทรงของพระปรางค์

พระปรางค์ในประเทศไทยได้รับอิทธิพลจากศิลปะสถาปัตยกรรมของขอม มีลักษณะจำแนกเป็น 4 แบบ คือ

  1. ทรงศิขร เป็นปรางค์รูปแบบดั้งเดิม สร้างขึ้นตามแบบแผนเดิมของขอม เน้นคติความเชื่อว่าเป็นการ จำลองภูเขา และ สวรรค์ชั้นฟ้า ตัวอย่างได้แก่ ปราสาทนครวัด ประเทศกัมพูชา ปราสาทหินพนมรุ้ง บุรีรัมย์ เป็นต้น
  2. ทรงงาเนียม มีลักษณะคล้ายงาช้าง ลักษระใหญ่แต่สั้น ตอนปลายโค้งและค่อนข้างเรียวแหลม ถือเป็นประดิษฐกรรมของช่างไทย โดยมีการพัฒนาจากรูปแบบเดิมจนมีลักษณะเฉพาะของตนเองในสมัยอยุธยาตอนต้น ตัวอย่างได้แก่ ปรางค์เหนือปราสาทพระเทพบิดร วัดพระศรีรัตศาสดาราม กรุงเทพฯ พระปรางค์วัดพระศรีมหาธาตุเมืองเชลียง สุโขทัย เป็นต้น
  3. ทรงฝักข้าวโพด มีลักษณะ ผอมบางและตรงยาวคล้ายฝักข้าวโพด ส่วนยอดนั้นจะค่อยๆเรียวเล็กลง ก่อนรวบเป็นเส้นโค้งที่ปลาย เป็นลักษณะเฉพาะของพระปรางค์สมัยต้นรัตนโกสินทร์ ตัวอย่างเช่น วัดเทพธิดาราม กรุงเทพฯ วัดมหาธาตุฯ กรุงเทพฯ เป็นต้น
  4. ทรงจอมแห มีลักษณะคล้ายแหที่ถูกยกขึ้น ตัวอย่างได้แก่ วัดอรุณราชวราราม ธนบุรี

องค์ประกอบของพระปรางค์

  1. นภศูล คือส่วนยอดปลายสุดของพระปรางค์ ทำด้วยโลหะหล่อเป็นรูป 4 แฉกคล้ายปลายดาบ ต่อซ้อนกัน 2-3 ชั้น ระหว่างกลางแทรกด้วยแกนคล้ายปลายหอก
  2. บัวกลุ่ม คือส่วนของอาคารที่อยู่บนยอดสุดของพระปรางค์ ทำเป็นรูปกลีบบัวแย้ม ตั้งรับนภศูล
  3. ชั้นรัดประคด คือส่วนชั้นของยอดพระปรางค์ที่มีลักษณะโค้งเข้า คล้ายรูปเอวพระภิกษุที่คอดเข้าอันเนื่องมาจากการนุ่งสบงที่รัดด้วยสายรัดประคด
  4. กลีบขนุน คือส่วนตกแต่งที่ประดับแทรกเข้าไปใต้ ชั้นรัดประคด ตรงตำแหน่งมุมที่ย่อของแต่ละชั้น
  5. บัณแถลง คือส่วนตกแต่งที่ทำเป็นรูปหน้าจั่วอาคารขนาดเล็ก ประดับอยู่ระหว่างกลางของกลีบขนุน คู่ในของ ชั้นรัดประคด แต่ละชั้นของพระปรางค์
  6. ชั้นอัสดง คือส่วนของเรือนยอดพระปรางค์ส่วนที่ตั้งอยู่เหนือเรือนธาตุ
  7. เรือนธาตุ คือส่วนที่เป็นตัวเรือนประธานของพระปรางค์
  8. ซุ้มจระนำ หรือ ซุ้มคูหา หรือ ซุ้มทิศ หรือ ซุ้มประตู คือส่วนที่ทำขึ้นประกอบเข้ากับองค์พระปรางค์หรือพระเจดีย์บริเวณภายนอกอาคารส่วนที่เป็นเรือนธาตุ เพื่อใช้เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป มี 4 ด้าน เรียกว่า ซุ้มทิศ ถ้าพระปรางค์นั้นกลวงมีทางเข้าออก จะเรียกและทำหน้าที่เป็น ซุ้มประตู
  9. ชุดฐานสิงห์ คือส่วนที่ทำเป็นฐานสิงห์ 3 ชั้น เทินเหนือ “ฐานปัทม์” เพื่อรับองค์ “เรือนธาตุ”
  10. ฐานปัทม์ คือส่วนที่เป็นฐานอาคาร ใช้ตั้งรับองค์เรือนธาตุอาคาร
  11. ฐานเขียง คือส่วนของโครงสร้างที่เป็นฐานชั้นล่างสุด

หนังสืออ่านเพิ่ม

  • สมคิด จิระทัศนกุล วัด: พุทธศาสนสถาปัตยกรรมไทย โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2544. ISBN 974-6006-81-9

แหล่งข้อมูลอื่น