ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ประเทศโมซัมบิก"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขด้วยแอปสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 38: บรรทัด 38:
| GDP_PPP_per_capita_rank = 158
| GDP_PPP_per_capita_rank = 158
| HDI_year = 2558
| HDI_year = 2558
| HDI = 0.406
| HDI = {{increase}} 0.418
| HDI_rank = 160
| HDI_rank = 181st
|HDI_category = <font color="#E0584E">ต่ำ</font>
|HDI_category = <font color="#E0584E">ต่ำ</font>
| sovereignty_type = [[เอกราช|ประกาศเอกราช]]
| sovereignty_type = [[เอกราช|ประกาศเอกราช]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 13:36, 5 เมษายน 2560

สาธารณรัฐโมซัมบิก

República de Moçambique (โปรตุเกส)
ตราแผ่นดินของโมซัมบิก
ตราแผ่นดิน
คำขวัญไม่มี
เพลงชาติPátria Amada (เดิมคือ Viva, Viva a FRELIMO)
ที่ตั้งของโมซัมบิก
เมืองหลวง
และเมืองใหญ่สุด
มาปูโต
ภาษาราชการภาษาโปรตุเกส
ภาษาสวาฮีลี, ภาษามาคูวา, ภาษาเซนา
การปกครองสาธารณรัฐ
• ประธานาธิบดี
ฟิลิปเป งิวซี
• นายกรัฐมนตรี
คาร์ลอส อะกอสติโญ่ โด โรซาริโอ
ประกาศเอกราช
• จาก โปรตุเกส
25 มิถุนายน พ.ศ. 2518
พื้นที่
• รวม
801,590 ตารางกิโลเมตร (309,500 ตารางไมล์) (35)
2.2%
ประชากร
• พ.ศ. 2548 ประมาณ
19,792,000 (54)
• สำมะโนประชากร พ.ศ. 2540
16,099,246
25 ต่อตารางกิโลเมตร (64.7 ต่อตารางไมล์) (178)
จีดีพี (อำนาจซื้อ) พ.ศ. 2548 (ประมาณ)
• รวม
27,013 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (100)
1,389 ดอลลาร์สหรัฐ (158)
เอชดีไอ (2558)เพิ่มขึ้น 0.418
ข้อผิดพลาด: ค่า HDI ไม่ถูกต้อง · 181st
สกุลเงินเมตีกาล (Mt) (MZM)
เขตเวลาUTC+2 (เวลาแอฟริกากลาง (CAT))
• ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)
UTC+2 (ไม่มี)
ขับรถด้านซ้ายมือ
รหัสโทรศัพท์258
โดเมนบนสุด.mz

โมซัมบิก (อังกฤษ: Mozambique; โปรตุเกส: Moçambique) มีชื่อเป็นทางการว่า สาธารณรัฐโมซัมบิก (อังกฤษ: Republic of Mozambique; โปรตุเกส: República de Moçambique) เป็นประเทศที่อยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปแอฟริกา โดยมีมหาสมุทรอินเดียอยู่ทางตะวันออก ประเทศแทนซาเนียอยู่ทางเหนือ ประเทศมาลาวีและแซมเบียอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือ ประเทศซิมบับเวอยู่ทางตะวันตก และมีประเทศสวาซิแลนด์และแอฟริกาใต้อยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้

ประวัติศาสตร์

โมซัมบิกเป็นที่อาศัยอยู่ครั้งแรกของชนเผาพรานซาน สืบเชื้อสายมาจากคน Khoisani คนที่พูดภาษา Bantu ย้ายมายัง แม่น้ำ Zambezi น้ำท่วมเริ่มเข้าสู่พื้นที่ตั้งแต่ศตวรรษที่ 1 เป็นต้นไป ต่อมาประเทศที่เป็นที่นิยมในการทำการค้ากับอาหรับและได้ตั้งชื่อหลังจากที่มีการปกครองโดย Arab Sheikh ในเวลานั้นว่า “Musa bin Ba’ik”ในปี 1498 นักสำรวจชาวโปรตุเกส นามว่า “Vasco de Gama” ถึงชายฝั่งของประเทศโมซัมบิกและภูมิภาคนี้ก็ได้กลายเป็นฐานสำหรับการค้าอย่างช้า ๆ สำหรับนักค้าโปรตุเกส โมซัมบิกตกเป็นอาณานิคมของโปรตุเกส ในปี 2503 (ค.ศ. 1960) รัฐบาลโปรตุเกสใช้กำลังปราบปรามคนท้องถิ่นที่ไม่ยอมอยู่ใต้อำนาจ นำไปสู่สงครามและเหตุการณ์สังหารหมู่ (Mueda Massacre) ในปี 2504 (ค.ศ. 1961) ต่อมานายเอดูอาร์โด มอนเลน (Eduardo Mondlane) ผู้นำท้องถิ่นที่มีอิทธิพลสูงได้ก่อตั้งแนวร่วมเพื่อการปลดปล่อยโมซัมบิก (Liberation Front of Mozamibique - FRELIMO) จนกระทั่ง ในปี 2512 (ค.ศ. 1969) นายมอนเลน ถูกฆาตกรรม และนายซาโมรา มาเชล (Samora Machel) ผู้นำทางทหารของ FRELIMO ได้ขึ้นเป็นผู้นำแนวร่วมแทน และใช้ความรุนแรงในการต่อต้านรัฐบาลโปรตุเกส จนได้รับชัยชนะและประกาศเอกราชจากการเป็นอาณานิคมของโปรตุเกส ในวันที่ 25 มิถุนายน 2518 (ค.ศ. 1975) โดย FRELIMO ได้กลายเป็นพรรครัฐบาลและนายมาเชลเป็นประธานาธิบดีคนแรก นาย Machel ใช้นโยบายการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองอย่างรุนแรง (radical social change) ปกครองประเทศแบบสังคมนิยม ยึดทรัพย์สินเอกชนทั้งหมดเป็นของรัฐ และมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับประเทศคอมมิวนิสต์ในยุโรป

โมซัมบิกกลายเป็นประเทศสัญลักษณ์ที่ประเทศคอมมิวนิตส์ใช้เชิดชูความสำเร็จของการปกครองระบอบสังคมนิยม การเมืองภายในของโมซัมบิกได้รับผลกะทบจากสงครามเย็นอย่างมาก ในทศวรรษที่ 1980 ประเทศเสรีตะวันตกและแอฟริกาใต้เข้าแทรกแซง โดยสนับสนุนกลุ่ม Mozambique National Resistance (Renamo) ก่อสงครามกลางเมือง ทำลายสาธารณูปโภคพื้นฐาน สะพาน ทางรถไฟ โรงเรียน สถานพยาบาล ทำให้การพัฒนาประเทศหยุดชะงัก ปลายทศวรรษที่ 1980 สหภาพโซเวียตล่มสลาย สงครามเย็นสิ้นสุดลง รัฐบาลแอฟริกาใต้ยุติการสนับสนุน Renamo ใน ค.ศ. 1986 นาย Machel เสียชีวิตอย่างมีเงื่อนงำ และนาย Joaquim Chissano ขึ้นเป็นผู้นำประเทศแทน

นาย Chissano เปลี่ยนนโยบายเศรษฐกิจจากมาร์กซิสเป็นเศรษฐกิจการตลาด และลงนามในสนธิสัญญาสันติภาพยุติสงครามกลางเมืองกับ Renamo ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1992 และจัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปและการเลือกตั้งประธานาธิบดีครั้งแรกของโมซัมบิกในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1994 ซึ่งนาย Chissano ชนะการเลือกตั้งเข้าดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี

การเมืองการปกครอง

สาธารณรัฐโมซัมบิกปกครองในระบบสาธารณรัฐ ประธานาธิบดีเป็นประมุขของประเทศ นายกรัฐมนตรีเป็นผู้นำรัฐบาล ฝ่ายบริหารประกอบด้วยประธานาธิบดีซึ่งมาจากการเลือกตั้ง อยู่ในตำแหน่งคราวละ 5 ปี และสามารถดำรงตำแหน่งได้ 2 สมัย

ประเทศโมซัมบิกแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 10 จังหวัด (province-provincias) และ 1 เมืองหลวง (capital city-cidade capital) โดยแต่ละจังหวัดแบ่งย่อยออกเป็น 129 เขต (district-distritos) ได้แก่

  1. จังหวัดคาโบเดลกาโด
  2. จังหวัดกาซา
  3. จังหวัดอินฮัมมาเน
  4. จังหวัดมานีคา
  5. มาปูโต (เมือง)
  6. จังหวัดมาปูโต
  7. จังหวัดนัมปูลา
  8. จังหวัดเนียสซา
  9. จังหวัดโซฟาลา
  10. จังหวัดเทเต
  11. จังหวัดแซมเบเซีย

เศรษฐกิจ

ในปี 2555 (ค.ศ. 2012) โมซัมบิกมี GDP มูลค่า 13.6 พันล้าน USD และมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจร้อยละ 7.4 อุตสาหกรรมที่สำคัญของโมซัมบิก ได้แก่ การทำเหมืองถ่านหิน การเกษตร ประมง เครื่องดื่ม เคมีภัณฑ์ อะลูมินั่ม ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม สิ่งทอ ซีเมนต์ แก้ว และยาสูบ สินค้าหลักที่โมซัมบิกส่งออก ได้แก่ ถ่านหิน อะลูมินั่ม เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ กุ้ง น้ำตาล และฝ้าย โดยประเทศที่โมซัมบิกส่งสินค้าออก เป็นลำดับต้น ๆ ได้แก่เบลเยี่ยม แอฟริกาใต้ สเปน และเนเธอร์แลนด์ ส่วนสินค้าที่โมซัมบิกนำเข้า ได้แก่ เครื่องจักรและอุปกรณ์ ยานพาหนะ ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ โดยนำเข้าจากประเทศต่าง ๆ ได้แก่ แอฟริกาใต้ ออสเตรเลีย จีน และโปรตุเกส สินค้านำเข้าหลักของโมซัมบิก คือ เครื่องจักร เคมีภัณฑ์ อาหารและเครื่องนุ่งห่ม โดยภาพรวม ประเทศคู่ค้าที่สำคัญของโมซัมบิกคือ แอฟริกาใต้ เนเธอร์แลนด์ และโปรตุเกส


ประธานาธิบดีคือ ท่านพลเอก ฟิลิบปี นูสซ์ ครับ Filipe Nyusi