ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ประเทศเอธิโอเปีย"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ชาวไทย (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 44: บรรทัด 44:
| GDP_nominal_year=2553
| GDP_nominal_year=2553
| GDP_nominal_per_capita = 350 ดอลลาร์สหรัฐ<ref name=imf2/>
| GDP_nominal_per_capita = 350 ดอลลาร์สหรัฐ<ref name=imf2/>
| HDI_year= 2553
| HDI_year= 2558
| HDI={{increase}} 0.328
| HDI={{steady}} 0.448
| HDI_rank=อันดับที่ 157
| HDI_rank= 174th
| HDI_category=<span style="color:red">ต่ำ</span>
| HDI_category=<span style="color:red">ต่ำ</span>
| FSI=95.3 {{increase}} 3.4
| FSI=95.3 {{increase}} 3.4

รุ่นแก้ไขเมื่อ 13:29, 5 เมษายน 2560

สหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเอธิโอเปีย

ตราแผ่นดินของเอธิโอเปีย
ตราแผ่นดิน
คำขวัญไม่มี
เพลงชาติMarch Forward, Dear Mother Ethiopia: เดินก้าวไปข้างหน้า เอธิโอเปียที่รัก
ที่ตั้งของเอธิโอเปีย
เมืองหลวง
และเมืองใหญ่สุด
อาดดิสอาบาบา
ภาษาราชการภาษาอามฮารา
การปกครองสาธารณรัฐ
• ประธานาธิบดี
กีร์มา โวลเด-กีออร์กิส
• นายกรัฐมนตรี
Haile Mariam Desalegne
การก่อตั้ง
980 ปีก่อนคริสต์ศักราช
พ.ศ. 2534 (ค.ศ. 1991)
พื้นที่
• รวม
1,127,127 ตารางกิโลเมตร (435,186 ตารางไมล์) (อันดับที่ 16)
0.7
ประชากร
• 2554 ประมาณ
82,101,998 คน[1] (อันดับที่ 14)
• สำมะโนประชากร 2550
73,918,505 คน
74 ต่อตารางกิโลเมตร (191.7 ต่อตารางไมล์) (อันดับที่ 123)
จีดีพี (อำนาจซื้อ) 2553 (ประมาณ)
• รวม
86.123 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[2]
1,015 ดอลลาร์สหรัฐ[2]
จีดีพี (ราคาตลาด) 2553 (ประมาณ)
• รวม
29.717 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[2]
350 ดอลลาร์สหรัฐ[2]
จีนี (2542–2543)30
ปานกลาง
เอชดีไอ (2558)Steady 0.448
ข้อผิดพลาด: ค่า HDI ไม่ถูกต้อง · 174th
สกุลเงินเบอร์ (ETB)
เขตเวลาUTC+3 (EAT)
• ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)
UTC+3 (ไม่ใช้)
ขับรถด้านขวามือ
รหัสโทรศัพท์251
โดเมนบนสุด.et

เอธิโอเปีย (อังกฤษ: Ethiopia; อามฮารา: ኢትዮጵያ) หรือชื่อทางการคือ สหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเอธิโอเปีย (Federal Democratic Republic of Ethiopia; อามฮารา: የኢትዮጵያ ፌዴራላዊ ዲሞክራሲያዊ ሪፐብሊክ) เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลที่ตั้งอยู่ในส่วนแหลมของทวีปแอฟริกา (Horn of Africa) เป็นหนึ่งในชาติที่มีประวัติศาสตร์อันต่อเนื่องยาวนานที่สุดบนทวีปนี้ ในฐานะชาติอิสระ เอธิโอเปียเป็นประเทศเดียวในแอฟริกาที่ยังคงเอกราชระหว่างยุคล่าอาณานิคมในแอฟริกา (Scramble for Africa) และยังคงเอกราชไว้จนถึง พ.ศ. 2479 ซึ่งกองทัพอิตาลีในสมัยของเบนิโต มุสโสลินีได้เข้ายึดครองประเทศนี้ อังกฤษและเอธิโอเปียปราบกองทัพอิตาลีในพ.ศ. 2484 แต่เอธิโอเปียไม่ได้รับเอกราชใหม่จนถึงการลงนามในสนธิสัญญาระหว่างอังกฤษกับเอธิโอเปีย (Anglo-Ethiopian Agreement) เมื่อธันวาคม พ.ศ. 2487

ประวัติศาสตร์

ยุคก่อนประวัติศาสตร์

เอธิโอเปียเป็นดินแดนที่ได้รับอารยธรรมจากอียิปต์และกรีกตั้งแต่สมัยเก่า

ประวัติศาสตร์

ยุคกลาง

สุลต่านอัซซา

ธงสุลต่านอัซซา.

จักรวรรดิ

จักรพรรดิเมเนลิคถึงอัดวา

จักรพรรดิเฮลี เซลาสซี

ราชอาณาจักรอิตาลีโจมตีเอธิโอเปียเมื่อ พ.ศ. 2479 และเข้าครอบครองได้สำเร็จใน พ.ศ. 2484 จักรพรรดิองค์สุดท้ายของเอธิโอเปีย เฮลี เซลาสซีที่ 1 เป็นผู้จัดตั้งระบบรัฐสภาเมื่อ พ.ศ. 2474

คอมมิวนิสต์

ตั้งแต่ พ.ศ. 2515 เกิดความแห้งแล้งอย่างต่อเนื่องจนเกิดความวุ่นวายภายในประเทศ จักรพรรดิเซลาสซีสละราชบัลลังก์เมื่อ พ.ศ. 2517 เปลี่ยนการปกครองเป็นระบอบสาธารณรัฐเมื่อ พ.ศ. 2518 นอกจากนั้นยังเกิดสงครามภายในระหว่างกลุ่มการเมืองและเผ่าต่าง ๆ ที่ได้รับการสนับสนุนจากซูดานและโซมาเลีย พ.ศ. 2521 เอธิโอเปียได้รับความช่วยเหลือจากสหภาพโซเวียตจนรบชนะทหารโซมาเลีย และมีการลงนามในสนธิสัญญาสันติภาพระหว่างกันเมื่อ พ.ศ. 2531

สาธารณรัฐประชาธิปไตย

การเมือง

เอธิโอปียปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบสหพันธรัฐ มีประธานาธิบดีเป็นประมุข แบ่งการปกครองเป็น 9รัฐ และ2เขตเป็นการปกครองพิเศษ ได้แก่ อาดดิสอาบาบาและเขตปกครองพิเศษ ไดร์ดาวา แม้เดิมเอธิโอเปียระบอบกษัตริย์ ในปี 2517 มีการปฏิวัติรัฐประหารยึดอำนาจรัฐบาลและโค่นล้มระบอบกษัตริย์ในปีต่อมาจากนั้นได้ปกครองประเทศด้วยสังคมนิยมและเปลี่ยนเป็นประชาธิปไตยในปี พศ 2534 แต่อย่างนั้นก็ยังเกิดความวุ่นวายทางการเมืองอยู่เสมอ โดยรัฐบาลถูกกล่าวหาจากฝ่ายค้านว่าทุจริตการเลือกตั้ง

  • ฝ่ายบริหารได้แก่
  • ประธานาธิบดี เป็นประมุขประเทศมาจากการเลือกตั้งโดยสภาผู้แทนราษฏร มีวาระการดำรงตำแหน่ง 6ปี
  • นายกรัฐมนตรี เป็นหัวหน้ารัฐบาล มาจากการเสนอชื่อของพรรครัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง
  • ฝ่ายนิติบัญญัติประกอบด้วย2สภา ได้แก่
  • สภาแห่งสหพันธรัฐมีลักษณะเดียวกับวุฒิสภา มี 112ที่นั่ง
  • สภาผู้แทนราษฏร มี 547ที่นั่ง

การแบ่งเขตการปกครอง

ประเทศเอธิโอเปียแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 9 เขตบริหาร (administrative countries-kililoch) แบ่งย่อยออกมาเป็น 68 เขต และ 2 นครอิสระ (chartered cities-astedader akababiwoch) ได้แก่

สภาพทางภูมิศาสตร์

มีสภาพเป็นหุบเขาสูงชันและที่ราบสูง ที่ตั้ง อยู่ในทวีปแอฟริกาตะวันออกบริเวณที่เรียกว่า จะงอยแอฟริกา (Horn of Africa)

พื้นที่ 1,221,900 ตร.กม. (มีขนาดเป็น 2 เท่าของประเทศไทย)

เศรษฐกิจ

เศรษฐกิจเอธิโอเปียยังพึ่งพารายได้จากภาคกสิกรรมเป็นหลัก แม้รัฐบาลจะได้ปฏิรูปที่ดินเพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร แต่เท่าที่ผ่านมายังไม่ประสบผลสำเร็จ เนื่องจากขาดการวางแผนที่ดี และการเพาะปลูกยังพึ่งพาแหล่งน้ำฝนตามธรรมชาติอยู่เกือบทั้งหมด มีปัญหาการชลประทานรวมทั้งวิธีการเพาะปลูกที่ล้าสมัย ในขณะเดียวกันภาคบริการของเอธิโอเปียก็เติบโตอย่างรวดเร็วจนกระทั่งปัจจุบันมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 40 ของรายได้ประชาชาติ โดยภาคส่วนที่มีอัตราการเติบโตสูงได้แก่การบริการที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยว การก่อสร้างที่อยู่อาศัยและการคมนาคม รัฐบาลเอธิโอเปียมีนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยว เนื่องจากมีแหล่งท่องเที่ยวมากมายทั้งสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ รวมทั้งสัตว์ป่า แต่อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของเอธิโอเปียยังไม่มีการบริหารจัดการที่ดีเท่าใดนัก และยังล้าหลังเคนยาอยู่มาก ปัจจุบันมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามาเอธิโอเปียประมาณปีละ 2 แสนคน

นับตั้งแต่ปี 2534 เป็นต้นมา รัฐบาลได้ดำเนินนโยบายเศรษฐกิจแบบเสรีโดยอิงแนวทางของธนาคารโลก (World Bank) และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ภายใต้กรอบนโยบาย Sustainable Development and Poverty Reduction Programme (SDPRP) ตามเงื่อนไขของ IMF และประเทศผู้บริจาคต่างๆ ซึ่งถือได้ว่าประสบผลสำเร็จในระดับหนึ่ง แต่ก็ยังไม่เป็นที่พอใจของนักลงทุน และบรรดาประเทศผู้บริจาคต่างๆ เนื่องจากการปฏิรูปเศรษฐกิจนำไปสู่ระบบเสรีเป็นไปอย่างค่อยเป็นค่อยไป การแปรรูปรัฐวิสาหกิจยังมีน้อย และโครงสร้างทางเศรษฐกิจ เช่น ถนน และระบบสาธารณูปโภค ยังไม่เอื้อต่อการลงทุนขนาดใหญ่

ความสำเร็จของการปฏิรูปเศรษฐกิจของเอธิโอเปียขึ้นอยู่กับความช่วยเหลือที่ได้รับจากประเทศผู้บริจาคเป็นสำคัญ ซึ่งในช่วงเวลา 12 เดือนที่ผ่านมา ได้มีหลายเหตุการณ์ที่ทำให้ประเทศผู้บริจาคมีความห่วงกังวล เช่น การปราบปรามผู้ประท้วงฝ่ายค้านอย่างรุนแรง สงครามกับกลุ่มมุสลิมหัวรุนแรงในโซมาเลีย และปัญหาชายแดนกับเอริเทรีย นอกจากนี้ กลุ่มกบฏ Ogaden National Liberation Front (ONLF) ยังได้โจมตีฐานขุดเจาะน้ำมันของจีนที่เมือง Ogaden เมื่อเดือนเมษายน 2550 ทำให้ผู้ลงทุนต่างชาติในเอธิโอเปียขาดความมั่นใจ ทั้งนี้ นักวิเคราะห์คาดว่า เศรษฐกิจเอธิโอเปียจะเติบโตในอัตราร้อยละ 7.5 ในปี 2550-2551 มีบริษัทต่างชาติใหม่ๆ เข้าไปลงทุนในเอธิโอเปีย เช่น Starbucks รวมทั้งการลงทุนการผลิตพลังงานชีวภาพก็เพิ่มขึ้นด้วย



ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (GDP)

103.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555)

GDP รายหัว (GDP per Capita)

1,200 ดอลลาร์สหรัฐ (ค่าประมาณ พ.ศ. 2553)

อัตราการเติบโตของ GDP

7% (ค่าประมาณพ.ศ. 2555) GDP แยกตามภาคการผลิต

ภาคการเกษตร 46.6% ภาคอุตสาหกรรม 14.6% ภาคการบริการ 38.8% (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555) อัตราการว่างงาน

ไม่มีข้อมูล

อัตราเงินเฟ้อ (Consumer Prices)

21.7% (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555)

หนี้สาธารณะ

44.4% จาก GDP (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555)

ผลผลิตทางการเกษตร

ธัญพืช ถั่ว กาแฟ เมล็ดน้ำมัน ฝ้าย น้ำตาลก้อน มันสำปะหลัง ต้นแกต ดอกไม้สด หนังสัตว์ โค กระบือ แกะ แพะ ปลา

อุตสาหกรรม

อาหาร เครื่องดื่ม สิ่งทอ หนัง เคมีภัณฑ์ การผลิตโลหะ ซีเมนต์

ดุลบัญชีเดินสะพัด

-2.95 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555)

มูลค่าการส่งออก

3.163 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555)

สินค้าส่งออกที่สำคัญ

กาแฟ ต้นแกต ทอง ผลิตภัณฑ์จากหนัง สิ่งมีชีวิต และต้นน้ำมัน

ประเทศคู่ค้า (ส่งออก) ที่สำคัญ

  1. จีน 12.2%
  2. เยอรมัน 14.2%
  3. เบลเยี่ยม 7.8%
  4. ซาอุดิอาระเบีย 6.8%
  5. สหรัฐอเมริกา 6.3%
  6. อิตาลี 5.1% (พ.ศ. 2554)

มูลค่าการนำเข้า

10.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555)

สินค้านำเข้าที่สำคัญ

อาหารและสิ่งมีชีวิต ปิโตรเลียมและผลิตภัณฑ์จากปิโตรเลียม เคมีภัณฑ์ เครื่องจักร เครื่องยนต์ยานพาหนะ ธัญพืช และสิ่งทอ

ประเทศคู่ค้า (นำเข้า) ที่สำคัญ

  1. จีน 9.9%
  2. สหรัฐอเมริกา 7.6%
  3. ซาอุดิอาระเบีย 10%
  4. อินเดีย 4.6% (พ.ศ. 2554)

สกุลเงิน

เอธิโอเปีย เบีย (Ethiopian Birr)

สัญลักษณ์เงิน

ETB

อัตราการแลกเปลี่ยนเงินตรา

(ตรวจสอบอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราได้ที่นี่)

ประชากร

กลุ่มชาติพันธุ์

และชาติพันธุ์อื่น ๆ อีกร้อยละ 11[3][4]

ศาสนา

จากการสำรวจสำมะโนประชากรปี พ.ศ. 2550 พบว่าชาวเอธิโอเปียร้อยละ 62.8 นับถือศาสนาคริสต์ (ในจำนวนนี้เป็นผู้นับถือนิกายเอธิโอเปียนคอปติกออร์ทอดอกซ์ร้อยละ 43.5 และนิกายอื่น ๆ ร้อยละ 19.3), ร้อยละ 33.9 นับถือศาสนาอิสลาม, ร้อยละ 2.6 นับถือความเชื่อดั้งเดิม และร้อยละ 0.6 นับถือศาสนาอื่น ๆ [3]

วัฒนธรรม

ใน่วนที่เป็นชนเผ่าจมีความเป็นเอกลักษณ์ซึ่งดูได้จากหลังคาที่นำมาทำขอหมู่บ้านต่างๆ เอธิโอเปียเป็นหล่งกำเนิดมนุษย์ยุคแรกแต่ไม่ใช่อาณาจักรแรกเพราะยังคงไม่มีความเจริญทางปัญญา แต่มีเครื่องมือเครื่องใช้ที่ประดิษฐ์ขึ้นเก่าแก่ที่สุดในโลก การตั้งชื่อคนแบบเอธิโอเปียนำมาใช้เช่นเดียวกับในประเทศพม่าคือ ใช้ ชื่อพ่อ หรือ ปู่แทนนามสกุล(ในเอธิโอเปียไม่มีการล้อชื่อพ่อ แม่จึงใช้แทนนามสกุลได้) การนับวันในเอธิโอเปียใช้ปฏิทินแบบเอธิเปีย ภาษาประจำชาติของเอธิโอเปียคือ[[1]]ซึ่งเป็นภาษาแรกๆที่มีระบบการเขียนในแอฟริกา

อ้างอิง

  1. "Ethiopia". The World Factbook. CIA. สืบค้นเมื่อ 18 January 2013.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 "Ethiopia". International Monetary Fund. สืบค้นเมื่อ 2011-04-21.
  3. 3.0 3.1 Berhanu Abegaz, Ethiopia: A Model Nation of MinoritiesPDF (51.7 KB) . Retrieved 6 April 2006. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่สมเหตุสมผล มีนิยามชื่อ "bx" หลายครั้งด้วยเนื้อหาต่างกัน
  4. Embassy of Ethiopia, Washington, DC. Retrieved 6 April 2006.