ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ประเทศซิมบับเว"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขด้วยแอปสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 36: บรรทัด 36:
|GDP_PPP_per_capita_rank = 129
|GDP_PPP_per_capita_rank = 129
|HDI_year = 2558
|HDI_year = 2558
|HDI = 0.509
|HDI = {{increase}} 0.516
|HDI_rank = 155
|HDI_rank = 154th
|HDI_category = <font color="#330000">ต่ำ</font>
|HDI_category = <font color="#FF0000">ต่ำ</font>
|sovereignty_type = [[เอกราช|ประกาศเอกราช]]
|sovereignty_type = [[เอกราช|ประกาศเอกราช]]
|established_event1 = โรดีเชีย
|established_event1 = โรดีเชีย

รุ่นแก้ไขเมื่อ 13:02, 5 เมษายน 2560

สาธารณรัฐซิมบับเว

Republic of Zimbabwe (อังกฤษ)
ตราแผ่นดินของซิมบับเว
ตราแผ่นดิน
คำขวัญUnity, Freedom, Work
(ภาษาอังกฤษ: เอกภาพ, อิสรภาพ, การงาน
เพลงชาติเพลงชาติซิมบับเว
Simudzai Mureza wedu WeZimbabwe หรือ Kalibusiswe Ilizwe leZimbabwe
("โปรดประทานพรแก่ดินแดนแห่งซิมบับเว")
ที่ตั้งของซิมบับเว
เมืองหลวง
และเมืองใหญ่สุด
ฮาราเร
ภาษาราชการภาษาอังกฤษ
การปกครองสาธารณรัฐระบอบกึ่งประธานาธิบดี
โรเบิร์ต มูกาเบ
มอร์แกน แชงกิไร
ประกาศเอกราช
• โรดีเชีย
11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2508
• ซิมบับเว
18 เมษายน พ.ศ. 2523
พื้นที่
• รวม
390,757 ตารางกิโลเมตร (150,872 ตารางไมล์) (60)
1%
ประชากร
• 2551 ประมาณ
13,349,000 (68)
• สำมะโนประชากร -
-
33 ต่อตารางกิโลเมตร (85.5 ต่อตารางไมล์) (170)
จีดีพี (อำนาจซื้อ) พ.ศ. 2548 (ประมาณ)
• รวม
30.581 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (94)
2,607 ดอลลาร์สหรัฐ (129)
เอชดีไอ (2558)เพิ่มขึ้น 0.516
ข้อผิดพลาด: ค่า HDI ไม่ถูกต้อง · 154th
สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ
สกุลเงินอย่างเป็นทางการของรัฐบาลและยังมีสกุลเงินอย่างไม่เป็นทางการจำนวนมากa, e.g. รูปีอินเดีย, เหรินหมินปี้ แรนด์ของแอฟริกาใต้ และ Zimbabwe Bond coins ฯลฯ
เขตเวลาUTC+2 (เวลาแอฟริกากลาง (CAT))
• ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)
UTC+2 (ไม่มี)
รหัสโทรศัพท์263
โดเมนบนสุด.zw

ซิมบับเว (อังกฤษ: Zimbabwe) มีชื่อทางการคือ สาธารณรัฐซิมบับเว (อังกฤษ: Republic of Zimbabwe) เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลที่ตั้งอยู่ทางตอนใต้ทวีปแอฟริกา อยู่ระหว่างแม่น้ำซัมเบซีและแม่น้ำลิมโปโป มีอาณาเขตทิศเหนือติดกับประเทศแซมเบีย ทิศตะวันออกติดกับประเทศโมซัมบิก ทิศตะวันตกติดกับประเทศบอตสวานา และทิศใต้ติดกับประเทศแอฟริกาใต้ มีพื้นที่ประเทศ 390,580 ตารางกิโลเมตร เมืองหลวงคือ กรุงฮาราเร[ต้องการอ้างอิง]

ชื่อประเทศ

ชื่อซิมบับเวมาจากคำว่า "Dzimba dza mabwe" ซึ่งแปลว่าบ้านหินใหญ่ในภาษาโชนา[1] ชื่อนี้ถูกนำมาจากเกรตซิมบับเวซึ่งเป็นอดีตเมืองหลวงของอาณาจักรเกรตซิมบับเว

ภูมิศาสตร์

ซิมบับเวเป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล ถูกล้อมรอบด้วยประเทศแอฟริกาใต้ทางใต้โดยมีแม่น้ำลิมโปโปกั้นอยู่ บอตสวานาทางตะวันตก แซมเบียทางตะวันตกเฉียงเหนือ และโมซัมบิคทางตะวันออกและตะวันออกเฉียงเหนือ ซิมบับเวยังมีจุดที่ติดต่อกับประเทศนามิเบียทางตะวันตกอีกด้วย จุดที่สูงที่สุดของประเทศคือภูเขาเนียนกานี ซึ่งสูง 2,592 เมตร[2]

ประวัติศาสตร์


ยุคก่อนประวัติศาสตร์

มีหลักฐานว่ามีผู้คนอาศัยอยู่ในของซิมบับเวตั้งแต่ห้าแสนปีก่อน ช่วงสองร้อยปีหลังคริสตกาล ชาวกอยเซียนได้เข้ามาตั้งรกรากที่พื้นที่แถบนี้ นอกจากนั้นมีชาวบันตู ชาวโชนา ชาวงูนี และชาวซูลู

อาณานิคมสหราชอาณาจักร

นักสำรวจชาวอังกฤษได้เข้ามาในซิมบับเวช่วงปลายศตวรรษที่ 19 และเริ่มการล่าอาณานิคมขึ้น ดินแดนแซมเบเซียต่อมาได้เป็นที่รู้จักกันในนามโรดีเซียในพ.ศ. 2435 หลังจากนั้นได้แบ่งเป็นโรดีเซียเหนือและในที่สุดได้กลายมาเป็นแซมเบีย ใน พ.ศ. 2441 ตอนใต้ของพื้นที่ แซมเบเซีย ถูกเรียกว่าโรดีเซียใต้ ต่อมาได้กลายมาเป็นซิมบับเวในอีกหลายปีหลังจากนั้น

สงครามกลางเมือง

หลังการประกาศเอกราช

หลังจากผ่านการขัดแย้งกันทางสีผิว รวมไปถึงบทบาทจากสหประชาชาติ และการต่อสู้ของกองโจรในช่วงพ.ศ. 2503 ในที่สุดซิมบับเวได้รับอิสรภาพในพ.ศ. 2523 ในปีเดียวกันนั้น โรเบิร์ต มูกาเบ ได้รับเลือกเป็นนายกรัฐมนตรีของประเทศ

การเมืองการปกครอง

บริหาร

นิติบัญญัติ

ตุลาการ

การบังคับใช้กฎหมาย

สิทธิมนุษยชน

การแบ่งเขตการปกครอง

กองทัพ

กองทัพบก

กองทัพอากาศ

กองกำลังกึ่งทหาร

เศรษฐกิจ

โครงสร้างเศรษฐกิจ

การส่งออกของประเทศซิมบับเวในปี 2549
ผลผลิตทางการเกษตรในซิมบับเวลดลงอย่างมาในระยะหลายปีที่ผ่านมา

การส่งออกแร่ธาตุ การเกษตร และการท่องเที่ยว เป็นธุรกิจที่นำเงินตราต่างประเทศเข้าสู่ซิมบับเว[3] การทำเหมืองแร่ยังคงเป็นธุรกิจที่ให้กำไรมาก ซิมบับเวมีแหล่งทรัพยากรแพลทินัมที่ใหญ่เป็นอันดับสองของโลก[4] ซิมบับเวเป็นประเทศคู่ค้าที่ใหญ่ที่สุดในทวีปของแอฟริกาใต้[5]

ซิมบับเวมีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ดีตลอดคริสต์ทศวรรษ 1980 (อัตราการเติบโตของจีดีพีร้อยละ 5.0 ต่อปี) และ 1990 (ร้อยละ 4.3 ต่อปี) อย่างไรก็ตามเศรษฐกิจเริ่มถดถอยลงตั้งแต่ปี 2000 โดยลดลงร้อยละ 5 ในปี 2000, ร้อยละ 8 ในปี 2001, ร้อยละ 12 ในปี 2002, และร้อยละ 18 ในปี 2003[6] รัฐบาลซิมบับเวประสบปัญหาทางเศรษฐกิจหลายอย่างหลังจากล้มเลิกความตั้งใจที่จะพัฒนาเศรษฐกิจแบบตลาด เช่นปัญหาการขาดแคลนเงินตราต่างประเทศ อัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นสูงมาก และการขาดแคลนอุปทานของสินค้าต่าง ๆ การที่ซิมบับเวมีส่วนร่วมกับสงครามในสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก ระหว่างปี 1998 ถึง 2002 ทำให้ต้องสูญเสียหลายร้อยล้านดอลลาร์ออกจากระบบเศรษฐกิจ[7]

เศรษฐกิจที่ดิ่งลงเหวนี้มีสาเหตุหลักมาจากการบริหารที่ล้มเหลวและการคอร์รัปชันของรัฐบาลมูกาเบ และการขับไล่ชาวไร่ผิวขาวกว่า 4,000 คนในระหว่างการจัดสรรที่ดินที่เต็มไปด้วยความขัดแย้งในปี 2000[8][9][10] ซึ่งทำให้ซิมบับเวซึ่งเคยเป็นผู้ส่งออกข้าวโพดกลับกลายเป็นผู้นำเข้าแทน[4] ปริมาณการส่งออกยาสูบก็ลดลงอย่างมาก จากรายงานในเดือนมิถุนายน 2007 ของหน่วยปฏิบัติการเพื่อการอนุรักษ์ซิมบับเว ประมาณว่าซิมบับเวสูญเสียสัตว์ป่าไปถึงร้อยละ 60 ตั้งแต่ปี 2000 ในรายงานยังได้กล่าวเตือนอีกว่าการสูญเสียพันธุ์สัตว์ป่าและการทำลายป่าไม้อย่างกว้างขวางนั้นเป็นอันตรายอย่างยิ่งต่อธุรกิจท่องเที่ยว[11]

ปลายปี 2006 ท่ามกลางสถานการณ์เศรษฐกิจที่เลวร้าย รัฐบาลเริ่มประกาศอนุญาตให้ชาวไร่ผิวขาวกลับมาสู่ที่ดินของตนอีกครั้ง[12] มีชาวไร่ผิวขาวเหลืออยู่ในประเทศประมาณ 400-600 คน แต่ที่ดินที่ถูกยึดคืนส่วนใหญ่นั้นกลายเป็นที่ดินเสื่อมสภาพและไม่สามารถทำการเพาะปลูกได้อีกต่อไป[12][13] ในเดือนมกราคม 2007 รัฐบาลยอมให้ชาวไร่ผิวขาวเซ็นสัญญาเช่าที่ดินระยะยาว[14] แต่แล้วในปีเดียวกันรัฐบาลก็กลับขับไล่ชาวไร่ผิวขาวออกจากประเทศอีกครั้ง[15][16]

อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 32 ต่อปีในปี 1998[17] จนถึงร้อยละ 231,000,000 ตามสถิติของทางการในเดือนกรกฎาคม 2008[17] ซึ่งแสดงให้เห็นถึงภาวะเงินเฟ้อรุนแรง และทำให้ธนาคารต้องออกธนบัตรใบละ 1 แสนล้านดอลลาร์มาใช้[18] [19] ในเดือนพฤศจิกายน 2008 ตัวเลขอย่างไม่เป็นทางการรายงานว่าอัตราเงินเฟ้อของซิมบับเวพุ่งขึ้นสูงถึงร้อยละ 516 ล้านล้านล้านต่อปี และราคาจะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าทุก ๆ 1.3 วัน[20] และนับเป็นภาวะเงินเฟ้อรุนแรงที่เลวร้ายเป็นอันดับสองในประวัติศาสตร์โลก รองจากวิกฤติเงินเฟ้อในฮังการีในปี 1946 ซึ่งราคาจะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าทุก ๆ 15.6 ชั่วโมง[20]

การท่องเที่ยว

โครงสร้างพื้นฐาน

การคมนาคม และ โทรคมนาคม

การศึกษา

สาธารณสุข

ประชากรศาสตร์

ในปี 2008 ซิมบับเวมีประชากรประมาณ 11.4 ล้านคน[21] จากรายงานขององค์การอนามัยโลก อายุคาดหมายเฉลี่ยสำหรับผู้ชายชาวซิมบับเวคือ 37 ปี และสำหรับผู้หญิงคือ 34 ปี ซึ่งเป็นสถิติต่ำสุดของปี 2004[22] อัตราการติดเชื้อเอดส์ ในประชากรระหว่างอายุ 15-49 ปี ถูกประมาณไว้ที่ร้อยละ 20.1 ในปี 2006[23]

เชื้อชาติ

ประชากรประมาณร้อยละ 98 เป็นชาวพื้นเมืองผิวดำ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวโชนา (ประมาณร้อยละ 80-84) รองลงมาคือชาวเดเบเล (ประมาณร้อยละ 10-15)[24][25] ซึ่งสืบเชื้อสายมาจากซูลูที่อพยพมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 19 นอกจากนี้ยังมีคนผิวขาวซึ่งส่วนใหญ่สืบเชื้อสายมาจากชาวอังกฤษ

ศาสนา

ภาษา

ภาษาทางการคือภาษาอังกฤษ[21] แต่ภาษาที่ใช้มากได้แก่ภาษาโชนา และภาษาเดเบเล[26]

วัฒนธรรม

ภาษาที่ใช้ ภาษาอังกฤษเป็นภาษาทางการ และมีภาษาพื้นเมืองอื่น ๆ คือ Shona Sindebele ศาสนา ลัทธิผสม (ระหว่างศาสนาคริสต์และความเชื่อดั้งเดิม) 50% ศาสนาคริสต์ 25% ความเชื่อดั้งเดิม 24% ศาสนาอิสลามและอื่น ๆ 1%

อาหาร

ดนตรี

กีฬา

ฟุตบอล

มวยสากล

วันหยุด

อ้างอิง

  1. "Zimbabwe - big house of stone". Somali Press. สืบค้นเมื่อ 2008-12-14.
  2. "Zimbabwe Parks and Wildlife Management Authority". สืบค้นเมื่อ 2007-11-13.
  3. "Country Profile – Zimbabwe". Foreign Affairs and International Trade Canada. สืบค้นเมื่อ 2007-12-02. ประเทศมีทรัพยากรธรรมชาติมากมายเช่นแร่ธาตุ ที่ดิน และสัตว์ป่า ยังมีโอกาสมากมายที่ซ่อนอยู่ในธุรกิจที่มีทรัพยากรเป็นพื้นฐาน เช่นการทำเหมืองแร่ การเกษตร และการท่องเที่ยว และธุรกิจที่ต่อเนื่องจากธุรกิจเหล่านี้
  4. 4.0 4.1 "No quick fix for Zimbabwe's economy". BBC. 2008-04-14. สืบค้นเมื่อ 2009-03-01.
  5. "Zimbabwe-South Africa economic relations since 2000". Africa News. 2007-10-31. สืบค้นเมื่อ 2007-12-03.
  6. Richardson, C.J. 2005. The loss of property rights and the collapse of Zimbabwe. Cato Journal, 25, 541-565. [1]
  7. Organised Violence and Torture in Zimbabwe in 1999, 1999. Zimbabwe Human Rights NGO Forum.
  8. Robinson, Simon. "A Tale of Two Countries"Time Magazine — Monday, February 18, 2002
  9. "Zimbabwe forbids white farmers to harvest"USA Today — 06/24/2002
  10. "White farmers under siege in Zimbabwe"BBC — Thursday, 15 August, 2002
  11. Nick Wadhams (2007-08-01). "Zimbabwe's Wildlife Decimated by Economic Crisis". Nairobi: National Geographic News. สืบค้นเมื่อ 2007-08-05.
  12. 12.0 12.1 "Desperate Mugabe allows white farmers to come back". The Independent. 2006-12-17. สืบค้นเมื่อ 2009-03-08.
  13. Meldrum, Andrew (2005-05-21). "As country heads for disaster, Zimbabwe calls for return of white farmers". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 2009-03-08.
  14. Timberg, Craig (2007-01-06). "White Farmers Given Leases In Zimbabwe". Washington Post. สืบค้นเมื่อ 2009-03-08.
  15. "Zimbabwe threatens white farmers". Washington Post. 2007-02-05.
  16. Chinaka, Cris (2007-08-08). "Zimbabwe threatens white farmers on evictions". Reuters. สืบค้นเมื่อ 2009-03-08.
  17. 17.0 17.1 "Zimbabwe inflation hits 11,200,000". CNN.com. 2008-08-19. สืบค้นเมื่อ 2008-08-19.
  18. "Zimbabwe introduces $100 billion banknotes". CNN.com. 2008-07-19. สืบค้นเมื่อ 2009-03-08.
  19. "A worthless currency". The Economist. 2008-07-17. สืบค้นเมื่อ 2008-09-05.
  20. 20.0 20.1 "Hyperinflation in Zimbabwe". Telegraph.co.uk. 2008-11-13.
  21. 21.0 21.1 "Zimbabwe". The World Factbook. Central Intelligence Agency. 2008-05-15. สืบค้นเมื่อ 2008-05-26.
  22. The World Health Organization. "Annex Table 1—Basic indicators for all Member States". The World Health Report 2006 (PDF). สืบค้นเมื่อ 2009-03-10.
  23. "Zimbabwe". UNAIDS. สืบค้นเมื่อ 2007-12-03.
  24. "The People of Zimbabwe". สืบค้นเมื่อ 2007-11-13.
  25. "Ethnicity/Race of Zimbabwe". สืบค้นเมื่อ 2008-01-06.
  26. "Languages of Zimbabwe". สืบค้นเมื่อ 2009-03-18.

แหล่งข้อมูลอื่น

ข้อมูลทั่วไป
รัฐบาล
ท่องเที่ยว
การศึกษา