ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อัครบิดร"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
'''อัครบิดร'''<ref name="พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน">ราชบัณฑิตยสถาน, ''พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน'', ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 375-6</ref> ({{lang-en|patriarch}}) ชาว[[อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ในประเทศไทย]] เรียกว่า '''สมเด็จพระอัครสังฆราช''' และ ชาว[[โปรเตสแตนต์ในประเทศไทย]]เรียกว่า'''อัครปิตา''' ส่วนชาว[[โรมันคาทอลิกในประเทศไทย]]เรียกว่า'''พระอัยกา''' ถือเป็นตำแหน่ง[[มุขนายก]]ชั้นสูงสุดใน[[คริสตจักร]][[อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์]] และอื่นๆ เช่น[[ออเรียนทัลออร์ทอดอกซ์]] [[โรมันคาทอลิก]] และ[[อัสซีเรียนแห่งตะวันออก]]
'''อัครบิดร'''<ref name="พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน">ราชบัณฑิตยสถาน, ''พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน'', ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 375-6</ref> ({{lang-en|patriarch}}) ชาว[[อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ในประเทศไทย]]เรียกว่า '''พระสังฆราช''' และ ชาว[[โปรเตสแตนต์ในประเทศไทย]]เรียกว่า'''อัครปิตา''' ส่วนชาว[[โรมันคาทอลิกในประเทศไทย]]เรียกว่า'''พระอัยกา''' ถือเป็นตำแหน่ง[[มุขนายก]]ชั้นสูงสุดใน[[คริสตจักร]][[อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์]] และอื่นๆ เช่น[[ออเรียนทัลออร์ทอดอกซ์]] [[โรมันคาทอลิก]] และ[[อัสซีเรียนแห่งตะวันออก]]


แต่เดิม[[คัมภีร์ไบเบิล]]ช้คำนี้เพื่อหมายถึง [[อับราฮัม]] [[อิสอัค]] และ[[ยาโคบ]] ผู้เป็น[[ปฐมบรรพบุรุษ]]ของ[[วงศ์วานอิสราเอล]] และเรียกยุคที่ทั้งสามคนนี้มีชีวิตอยู่ว่า[[ยุคอัครบิดร]]
แต่เดิม[[คัมภีร์ไบเบิล]]ช้คำนี้เพื่อหมายถึง [[อับราฮัม]] [[อิสอัค]] และ[[ยาโคบ]] ผู้เป็น[[ปฐมบรรพบุรุษ]]ของ[[วงศ์วานอิสราเอล]] และเรียกยุคที่ทั้งสามคนนี้มีชีวิตอยู่ว่า[[ยุคอัครบิดร]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 22:13, 28 มีนาคม 2560

อัครบิดร[1] (อังกฤษ: patriarch) ชาวอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ในประเทศไทยเรียกว่า พระสังฆราช และ ชาวโปรเตสแตนต์ในประเทศไทยเรียกว่าอัครปิตา ส่วนชาวโรมันคาทอลิกในประเทศไทยเรียกว่าพระอัยกา ถือเป็นตำแหน่งมุขนายกชั้นสูงสุดในคริสตจักรอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ และอื่นๆ เช่นออเรียนทัลออร์ทอดอกซ์ โรมันคาทอลิก และอัสซีเรียนแห่งตะวันออก

แต่เดิมคัมภีร์ไบเบิลช้คำนี้เพื่อหมายถึง อับราฮัม อิสอัค และยาโคบ ผู้เป็นปฐมบรรพบุรุษของวงศ์วานอิสราเอล และเรียกยุคที่ทั้งสามคนนี้มีชีวิตอยู่ว่ายุคอัครบิดร

ประวัติ

อัครบิดรสากลบาร์โธโลมิวที่ 1 อัครบิดรแห่งคอนสแตนติโนเปิลองค์ปัจจุบัน

หลังการสังคายนาไนเซียครั้งที่หนึ่งในปี ค.ศ. 325 ได้มีการแบ่งเขตการปกครองภายในคริสตจักรออกเป็น 3 เขต ได้แก่ โรม อะเล็กซานเดรีย และแอนติออก แต่ละเขตมีอัครบิดรเป็นประมุข โดยถือเอาอัครบิดรแห่งกรุงโรมเป็นพระสันตะปาปาหรือประมุขสูงสุดในคริสตจักรสากล ต่อมามีการประชุมสภาสังคายนาแห่งแคลซีดันกำหนดให้มีเขตอัครบิดรเยรูซาเลมและเขตอัครบิดรคอนสแตนติโนเปิล แยกออกมาจากเขตอัครบิดรแอนติออก ทำให้ได้เขตอัครบิดร 5 เขต และมีอัครบิดร 5 คนในคริสตจักร โดยอัครบิดรแห่งโรมยังคงเป็นประมุขสูงสุดในคริสตจักรสากล (Ecumenical church) และอัครบิดรแห่งคอนสแตนติโนเปิลเป็นรอง แต่ถือว่าเป็นใหญ่สุดในคริสตจักรตะวันออกซึ่งใช้ภาษากรีก ทำให้ในทางปฏิบัติอัครบิดรแห่งคอนสแตนติโนเปิลมีอิทธิพลมากกว่า[2]

ต่อมาเขตอัครบิดรแอนติออกยังถูกแบ่งออกเป็น 3 เขตตามภาษาพิธีกรรม คือ เขตอัครบิดรเมลไคต์ (Melkite) เขตอัครบิดรมาโรไนต์ (Maroniite) และเขตอัครบิดรซีเรียน เขตอัครบิดรกรุงโรมก็แบ่งเป็นอีก 3 เขตพิเศษ คือ เขตอัครบิดรเวนิส เขตอัครบิดรลิสบอน และเขตอัครบิดรกัว[1]

เมื่อคริสตจักรแบ่งออกเป็น 2 นิกาย คือฝ่ายตะวันตกกลายเป็นนิกายโรมันคาทอลิก ส่วนฝ่ายตะวันออกเป็นนิกายอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ เมื่อนิกายออร์ทอดอกซ์แพร่หลายไปยังท้องที่อื่นในภูมิภาคตะวันออก จึงเกิดเขตอัครบิดรต่าง ๆ มากขึ้น เช่น กรีก อาร์มีเนีย รัสเซีย เซอร์เบีย โรมาเนีย เป็นต้น โดยให้เกียรติอัครบิดรแห่งคอนสแตนติโนเปิลเป็นบุคคลอันดับหนึ่งในบรรดาผู้ที่เท่าเทียมกัน แต่ไม่ใช่เป็นประมุขสูงสุด

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 375-6
  2. กีรติ บุญเจือ, แก่นปรัชญายุคกลาง, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550, หน้า 164