ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระเจ้าโคจง"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 5: บรรทัด 5:
| สีอักษร = #8f5f12
| สีอักษร = #8f5f12
| ภาพ = ไฟล์:Korea-Portrait of Emperor Gojong-01.jpg
| ภาพ = ไฟล์:Korea-Portrait of Emperor Gojong-01.jpg
| ชื่อ = จักรพรรดิควางมู<br> {{small|พระเจ้าโกจง}}
| ชื่อ = จักรพรรดิควางมู<br> {{small|สมเด็จพระเจ้าโกจง}}
| พระบรมนามาภิไธย = ลี มยองบอก
| พระบรมนามาภิไธย = ลี มยองบอก
| พระปรมาภิไธย =
| พระปรมาภิไธย =
| วันพระราชสมภพ = [[25 กรกฎาคม]] [[พ.ศ. 2395]] <br> [[พระราชวังอันฮย็อนกุง]], [[โซล|กรุงฮันซอง]], [[ราชวงศ์โชซ็อน|อาณาจักรโชซ็อน]]
| วันพระราชสมภพ = [[25 กรกฎาคม]] [[พ.ศ. 2395]] <br> [[พระราชวังอันฮย็อนกุง]], [[โซล|กรุงฮันซอง]], [[ราชวงศ์โชซ็อน|อาณาจักรโชซ็อน]]
| วันสวรรคต = [[21 มกราคม]] [[พ.ศ. 2462]] <br> [[พระราชวังต๊อกซูกุง]], [[โซล|นครเคโจ]], [[เกาหลีภายใต้การปกครองของญี่ปุ่น|จักรวรรดิญี่ปุ่น]] (67 พรรษา)
| วันสวรรคต = [[21 มกราคม]] [[พ.ศ. 2462]] <br> [[พระราชวังต๊อกซูกุง]], [[โซล|นครเคโจ]], [[เกาหลีภายใต้การปกครองของญี่ปุ่น|จักรวรรดิญี่ปุ่น]] (67 พรรษา)
| พระอิสริยยศ = สมเด็จพระจักรพรรดิแห่งเกาหลี
| พระอิสริยยศ = จักรพรรดิแห่งเกาหลี
| พระราชบิดา = [[องค์ชายแทวอน ฮึงซอน|เจ้าชายแทวอนฮึงซอน]]
| พระราชบิดา = [[องค์ชายแทวอน ฮึงซอน|เจ้าชายแทวอนฮึงซอน]]
| พระราชมารดา = เจ้าหญิงมิน ตระกูลมิน แห่ง ยอฮึง
| พระราชมารดา = เจ้าหญิงมิน ตระกูลมิน แห่ง ยอฮึง
บรรทัด 37: บรรทัด 37:
}}
}}


'''จักรพรรดิควางมู''' ([[ภาษาเกาหลี|เกาหลี]]:광무제, 光武帝) หรือ '''พระเจ้าโกจง''' ({{lang-ko|고종 광무제}} , [[อักษรฮันจา|ฮันจา]]:高宗光武帝, {{lang-en|Gojong of Korea}}) ([[25 กรกฎาคม]] [[พ.ศ. 2395]]–[[21 มกราคม]] [[พ.ศ. 2462]]) เป็นพระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรโชซอน ลำดับที่ 26 และสมเด็จพระจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิเกาหลีพระองค์แรก
'''จักรพรรดิควางมู''' ([[ภาษาเกาหลี|เกาหลี]]:광무제, 光武帝) หรือ สมเด็จ'''พระเจ้าโกจง''' ({{lang-ko|고종 광무제}} , [[อักษรฮันจา|ฮันจา]]:高宗光武帝, {{lang-en|Gojong of Korea}}) ([[25 กรกฎาคม]] [[พ.ศ. 2395]]–[[21 มกราคม]] [[พ.ศ. 2462]]) เป็นพระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรโชซอน ลำดับที่ 26 และสมเด็จพระจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิเกาหลีพระองค์แรก


== การขึ้นครองราชย์ ==
== การขึ้นครองราชย์ ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 20:55, 26 มีนาคม 2560

จักรพรรดิควางมู
สมเด็จพระเจ้าโกจง

ลี มยองบอก
จักรพรรดิแห่งเกาหลี
รัชสมัยพ.ศ. 2406 - พ.ศ. 2450 (44 ปี)
รัชกาลก่อนหน้าพระเจ้าชอลจง
รัชกาลถัดไปพระเจ้าซุนจง
ประสูติ25 กรกฎาคม พ.ศ. 2395
พระราชวังอันฮย็อนกุง, กรุงฮันซอง, อาณาจักรโชซ็อน
สวรรคต21 มกราคม พ.ศ. 2462
พระราชวังต๊อกซูกุง, นครเคโจ, จักรวรรดิญี่ปุ่น (67 พรรษา)
พระอัครมเหสีสมเด็จพระจักรพรรดินีเมียงซอง
พระราชบุตรจักรพรรดิซุนจง
เจ้าชายอุย
มกุฎราชกุมารอุยมิน
เจ้าหญิงด็อกฮเย
ราชวงศ์ราชวงศ์ลี
พระราชบิดาเจ้าชายแทวอนฮึงซอน
พระราชมารดาเจ้าหญิงมิน ตระกูลมิน แห่ง ยอฮึง
พระเจ้าโคจง
ฮันกึล
[고종 광무제 (short ) ] ข้อผิดพลาด: {{Lang}}: ข้อความมีมาร์กอัปตัวเอียง (ช่วยเหลือ)
ฮันจา
[高宗光武帝 (short ) ] ข้อผิดพลาด: {{Lang}}: ข้อความมีมาร์กอัปตัวเอียง (ช่วยเหลือ)
อาร์อาร์Gojong Gwangmuje (short Gojong)
เอ็มอาร์Kojong Kwangmuje (short Kojong)
ชื่อเกิด
ฮันกึล
이명복
ฮันจา
李命福
อาร์อาร์I Myeong-bok
เอ็มอาร์Yi Myŏng-bok

จักรพรรดิควางมู (เกาหลี:광무제, 光武帝) หรือ สมเด็จพระเจ้าโกจง (เกาหลี: 고종 광무제 , ฮันจา:高宗光武帝, อังกฤษ: Gojong of Korea) (25 กรกฎาคม พ.ศ. 239521 มกราคม พ.ศ. 2462) เป็นพระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรโชซอน ลำดับที่ 26 และสมเด็จพระจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิเกาหลีพระองค์แรก

การขึ้นครองราชย์

พระเจ้าโกจง เป็นพระโอรสพระองค์ที่สองในเจ้าชายแทวอนฮึงซอน กับเจ้าหญิงโยฮุง มีพระนามเดิมว่า ลี มยองบอก (李命福 이명복 Yi Myeong-bok)

ปี พ.ศ. 2407 เมื่อพระเจ้าชอลจง พระมหากษัตริย์ลำดับที่ 25 แห่งราชอาณาจักรโชซอนสรรคตโดยที่ยังมิได้แต่งตั้งรัชทายาทสืบราชบัลลังก์ เนื่องจากพระองค์ไม่มีพระราชโอรสสายพระโลหิตของพระองค์เอง ดังนั้น สิทธิในการสืบราชบัลลังก์จึงต้องตกเป็นของเชื้อพระวงศ์ลำดับถัดไป ซึ่งในช่วงเวลานั้นอำนาจในราชสำนักทั้งหมดตกอยู่ในสาย ตระกูลคิมแห่งเมืองอันดง เสียเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งตระกูลคิมนี้เป็นสายตระกูลเดิมของพระมเหสีโชริน (พระมเหสีของพระเจ้าชอลจง) เมื่อสิ้นรัชสมัย ขุนนางฝ่ายอื่นๆ โดยเฉพาะตระกูลโจ (ตระกูลของพระเจ้ายองโจ พระมหากษัตริย์ลำดับที่ 20 แห่งราชอาณาจักรโชซอน) จึงได้พยายามลิดรอนอำนาจของฝ่ายตระกูลคิมลง โดยได้ร่วมมือกับเชื้อพระวงศ์ในราชตระกูลลีพระองค์หนึ่งคือ องค์ชาย ลี แฮอุง จนสามารถแย่งชิงตราพระมหากษัตริย์มาไว้ในครอบครองได้ จึงถือสิทธิในการสรรหาผู้สืบราชบัลลังก์กษัตริย์เอง โดยฝ่ายตระกูลโจและองค์ชาย ลี แฮอุง ได้เลือกโอรสขององค์ชายลี แฮอุงขึ้นครองราชย์ โดยองค์ชายนี้มีพระนามว่า ลี เมียงบอก ซึ่งในขณะนั้นมีพระชนมายุเพียง 12 พรรษา โดยมีองค์ชาย ลีแฮอุง เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ เมื่อองค์ชาย ลี เมียงบอค ชึ้นสืบราชบัลลังก์เองได้แล้วจึงได้ทรงพระนามว่า พระเจ้าโกจง ส่วนองค์ชาย ลีแฮอุง ผู้เป็นพระบิดาเมื่อขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ก็จึงดำรงพระยศเป็นองค์ชายแดวอน

สถานการณ์ในราชสำนักตอนต้นรัชกาล

ประวัติศาสตร์ของเกาหลีในช่วงรัชสมัยของพระเจ้าโกจงนี้เอง เป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญของประเทศเกาหลี หลังจากที่ตระกูลโจขึ้นมามีอำนาจแทน ก็ได้ร่วมมือกับองค์ชายแดวอน ปฏิรูปกฎและระเบียบต่างๆ ภายในราชสำนักเสียใหม่และสิ่งที่แน่นอนก็คือการล้มล้างกลุ่มอำนาจเก่าของตระกูลคิมแห่งเมืองอันดงที่เคยมีอย่างมากล้นในสมัยพระเจ้าชอลจงออกไปทั้งหมดด้วย การคอรัปชั่นเบียดบังเงินหลวงที่ฝังรากลึกในราชสำนักมาอย่างยาวนาน จึงเป็นข้ออ้างสำคัญในการกำจัดกลุ่มอำนาจเก่าครั้งนี้ ซึ่งก็เป็นข้ออ้างที่ตรงใจประชาชนอย่างมาก ที่ประชาชนไม่พอใจต่อการกดขี่ข่มเหงของขุนนางซึ่งสะสมมายาวนาน และเป็นนิมิตหมายอันดีที่กลุ่มอำนาจใหม่จะซักฟอกระบบที่ไม่เป็นธรรมนี้เสีย

อย่างไรก็ตาม เมื่อกลุ่มอำนาจใหม่นี้ขึ้นมามีอำนาจโดยสมบูรณ์กลับไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงใดๆ เลย ในความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของประชาชน กลุ่มอำนาจใหม่นี้กลับอาศัยช่องทางเบียดบังทรัพย์สินหนักขึ้นไปอีก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในขณะที่พระเจ้าโกจงยังทรงพระเยาว์ และสิ่งที่เห็นได้อย่างชัดเจนก็คือการตั้งงบประมาณจำนวนมหาศาลสำหรับการปฏิรูประบบกองทัพและความมั่นคงของประเทศ ทั้งๆ ที่ไม่เกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างใดอย่างเป็นรูปเป็นธรรม โดยข้ออ้างที่กลุ่มอำนาจใหม่ต้องการปฏิรูประบบกองทัพและยุทโธปกรณ์ให้เป็นไปตามยุคสมัยมากขึ้น จึงได้จัดการกับวิธีเก็บภาษีใหม่ และนำพระราชทรัพย์จากพระคลังมาใช้จ่าย แต่กลับเป็นการใช้จ่ายที่ฟุ่มเฟือยเพื่อให้เหล่าขุนนางและเชื้อพระวงศ์ได้อยู่อย่างหรูหราสุขสบายเท่านั้น ซึ่งจากจุดนี้เองที่เริ่มนำพาประเทศเกาหลีเข้าสู่กับดักของศัตรูที่กำลังคิดจู่โจม

สถานการณ์ในราชสำนักตอนกลางรัชกาล

เมื่อพระเจ้าโกจงทรงเจริญพระชนมพรรษาจนสามารถบริหารราชการแผ่นดินด้วยพระองค์เองได้แล้ว องค์ชายแดวอน จึงต้องลงจากตำแหน่งผู้สำเร็จราชการ ในช่วงนี้พระมเหสีมิน จึงเข้ามาบริหารบ้านเมืองแทนซึ่งพระนางทรงงานได้ดี จนเหล่าขุนนางเริ่มไม่ไว้วางใจ พระนางทรงต่อต้านการใช้จ่ายฟุ่มเฟือยในราชสำนักเพื่อให้ราชนิกุลและราชวงศ์อยู่อย่างสุขสบายจนเป็นต้นเหตุแห่งการทุจริตให้ขุนนางยักยอกเงินหลวง ซึ่งเป็นสิ่งที่ขุนนางได้ปฏิบัติมายาวนานทุกยุคทุกสมัยจนเป็นเชื้อร้าย ในขณะนี้ราษฎรภายนอกอยู่อย่างอดอยาก ซึ่งพระราชวังเองก็กลายเป็นตัวอย่างให้กับคนภายนอกตามอย่างในการเบียดบังและฉ้อโกงเงินทองกันอย่างเป็นเอิกเกริก และทำให้เกิด ข้อพิพาทระหว่างมเหสีมินและองค์ชายแดวอน ขึ้นและเป็นสงครามการเมืองที่ยาวนานมากในประวัติศาสตร์เกาหลี

สถานการณ์ในราชสำนักตอนปลายรัชกาล

Emperor Gojong and the Crown Prince

ภายหลังจากพระมเหสีมินจายองสิ้นพระชนม์ด้วยการบุกลอบปลงพระชนม์โดยทหารจักรวรรดิญี่ปุ่นในพระตำหนักของพระนางภายในพระราชวังเคียงบก พระเจ้าโกจง ทรงเศร้าโศกโทมนัสอย่างยิ่ง พระองค์ทรงลี้ภัยเข้าไปอยู่ในสถานทูตรัสเซีย และทรงเก็บตัวอยู่แต่ในห้องโดยไม่พบปะใคร ซึ่งจากนั้นเป็นต้นมาพระองค์ก็อยู่ความอารักขาของจักรวรรดิรัสเซีย ที่พยายามเข้ามามีบทบาทเพื่อคานอำนาจจักรวรรดิญี่ปุ่นที่นับวันจะยิ่งเข้มแข็งมากขึ้น

เมื่อจักรวรรดิญี่ปุ่นได้รับชัยชนะในสงครามกับจักรวรรดิชิง (ราชวงศ์ชิงของจีน) ซึ่งได้ยึดดินแดนส่วนคาบสมุทรเหลียวตงหรือทางตอนเหนือของราชอาณาจักรโชซอน ทำให้จักรวรรดิรัสเซียเริ่มหวาดระแวงในอำนาจของจักรวรรดิญี่ปุ่นด้วยเกรงว่าจะมายึดโชซอนไปโดยง่ายและทำให้การขยายอิทธิพลของรัสเซียยากเย็นมากขึ้น รัสเซียจึงต้องการช่วยเหลือโชซอนโดยการรับรองความปลอดภัยของพระเจ้าโกจงและช่วยให้พระองค์กลับสู่โชซอนโดยปลอดภัยเมื่อปี ค.ศ. 1897 และยังช่วยวางแผนให้พระองค์ยกสถานะของราชอาณาจักรโชซอน เป็นจักรวรรดิเกาหลี โดยมีพระองค์เป็นสมเด็จพระจักรพรรดิพระองค์แรก ซึ่งพระองค์ทรงเรียกพระองค์เองว่า สมเด็จพระจักรพรรดิควางมูแห่งจักรวรรดิเกาหลี รวมทั้งสถาปนาพระอิสริยยศให้พระมเหสีผู้ล่วงลับ (พระมเหสีมินจายอง) เป็น สมเด็จพระจักรพรรดินีเมียงซองแห่งจักรวรรดิเกาหลี อีกด้วย ทั้งนี้ เพื่อการจัดระเบียบของประเทศใหม่และเป็นเกมการเมืองที่รัสเซียทำขึ้นเพื่อเป็นกำแพงต้านอำนาจญี่ปุ่น ซึ่งสร้างความไม่พอใจให้กับญี่ปุ่นอย่างมาก

Germany military uniform(1904)

จนในที่สุดจักรวรรดิญี่ปุ่นก็แสดงความกระหายอำนาจที่จะยึดจักรวรรดิเกาหลีอย่างชัดเจนในปี ค.ศ. 1904 โดยการประกาศสงครามกับจักรวรรดิรัสเซีย หลังสงครามครั้งนี้ ญี่ปุ่นเป็นฝ่ายชนะและได้ขับไล่รัสเซียไปจากจักรวรรดิเกาหลี และจักรวรรดิเกาหลีจึงต้องยอมมาเป็นประเทศในอารักขาจักรวรรดิญี่ปุ่นในปี ค.ศ. 1905 ด้วยเหตุนี้ สมเด็จพระจักรพรรดิควางมูจึงไม่สามารถทำอะไรได้เลย พระองค์ทรงถูกบีบคั้นในทุกด้าน จนในที่สุด องค์ชายแดวอน จึงสมรู้ร่วมคิดกับญี่ปุ่นขึ้นมามีอำนาจแทนเพื่อรวบอำนาจอย่างเบ็ดเสร็จ การบีบคั้นต่อพระองค์รุนแรงขึ้นเรื่อยๆ จนพระองค์อาศัยเวทีประชุมสันติภาพโลกที่จัดขึ้นที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ เป็นการประจานถึงสิ่งต่างๆ ที่จักรวรรดิญี่ปุ่นได้ทำไว้กับจักรวรรดิเกาหลีให้ชาวโลกได้รู้ และเมื่อข่าวแพร่ออกไป จักรวรรดิญี่ปุ่นถือเป็นเรื่องขายหน้ามาก จึงได้บีบบังคับให้สมเด็จพระจักรพรรดิควางมูสละราชบัลลังก์ แล้วให้โอรสของพระองค์ขึ้นครองราชย์แทนเป็น สมเด็จพระจักรพรรดิซุนจง แต่พระองค์ก็เป็นเพียงสมเด็จพระจักรพรรดิในนามเท่านั้น ไม่มีพระราชอำนาจใดๆ เพราะอำนาจต่างๆ ตกอยู่ในมือของผู้สำเร็จราชการชาวญี่ปุ่นและองค์ชายแทวอนคนทรยศไปจนหมดสิ้น การที่จักรวรรดิญี่ปุ่นให้ขึ้นครองราชย์ก็เพื่อเป็นหุ่นเชิดรอเวลาที่จะกลืนเกาหลีได้โดยสมบูรณ์เท่านั้นซึ่งก็เป็นเช่นนั้น

ในอีก 2 ปีต่อมาในปี ค.ศ. 1910 สมเด็จพระจักรพรรดิซุนจงแห่งจักรวรรดิเกาหลี (พระเจ้าซุนจง) ได้ต้องถูกถอดออกจากตำแหน่งสมเด็จพระจักรพรรดิโดยดำรงพระอิสริยยศเพียงกษัตริย์เท่านั้น และจักรวรรดิญี่ปุ่นก็ได้ล้มล้างสถาบันจักรพรรดิของเกาหลีลงในปีเดียวกัน โดยผนวกเข้าเป็นมณฑลหนึ่งของญี่ปุ่นและควบคุมเชื้อสายราชวงศ์ลีทั้งหมดไปไว้ที่ญี่ปุ่น เพื่อเป็นตัวประกันไม่ให้สามารถคืนสู่อำนาจได้อีก เกาหลีจึงปิดฉากยุคสมัยจักรวรรดิรวมทั้งยุคสมัยแห่งราชวงศ์อันยาวนานกว่า 2,000 ปี

พระบรมวงศานุวงศ์

(โอรสขององค์ชายนัมยองซึ่งเป็นโอรสบุญธรรมขององค์ชายอึนชินซึ่งเป็นโอรสขององค์ชายซาโดซึ่งเป็นโอรสของพระเจ้ายองโจ)

  • พระราชมารดา: องค์หญิงยอฮึง ตระกูลมิน แห่งยอฮึง (여흥부대부인 민씨)
พระมเหสี
พระชายา
  • เจ้าหญิงซุนฮอน ตระกูลออม (귀비 엄씨, 5 January 1854 – 20 July 1911) พระนามเดิมว่า ออม ซอนยอง (엄선영)
  • พระชายาควีอิน ตระกูลลี แห่งยองโพ (영보당귀인 이씨, 1847–1928)
  • พระชายาควีอิน ตระกูลจาง (귀인 장씨)
  • พระชายาควีอิน ตระกูลลี แห่งควางฮวาง (광화당귀인 이씨, 1887–1970) พระนามเดิมว่า ลี วานฮึง (이완흥)
  • พระชายาควีอิน ตระกูลจอง แห่งโพฮย็อน (보현당귀인 정씨)
  • พระชายาควีอิน ตระกูลยาง แห่งพุกนยอง (복녕당귀인 양씨, 1882–1929)
  • พระชายาควีอิน ตระกูลลี แห่งแนอัน (내안당귀인 이씨)
  • ซึงอีนซังกุง ตระกูลคิม แห่งซัมชุก (삼축당상궁 김씨, 1890–1972) นามเดิมว่า คิม อ๊กกี (김옥기)
  • ซึงอึนซังกุง ตระกูลคิม แห่งจองฮวา (정화당상궁 김씨, 1871-?)
  • ซึงอึนซังกุง ตระกูลยอม (상궁 염씨)
  • ซึงอึนซังกุง ตระกูลซอ (상궁 서씨)
  • ซึงอึนซังกุง ตระกูลคิม (상궁 김씨) นามเดิมว่า คิม ชองยอน (김충연)
พระโอรส
  • เจ้าชาย(ไม่ทราบนาม) เป็นพระโอรสองค์แรกที่ประสูติจาก สมเด็จพระจักรพรรดินีเมียงซอง จาก ตระกูลมิน
  • เจ้าชายลีช็อก เป็นพระโอรสองค์ที่สองที่ประสูติจาก สมเด็จพระจักรพรรดินีเมียงซอง จาก ตระกูลมิน
  • เจ้าชาย(ไม่ทราบนาม) เป็นพระโอรสองค์ที่สามที่ประสูติจาก สมเด็จพระจักรพรรดินีเมียงซอง จาก ตระกูลมิน
  • เจ้าชาย(ไม่ทราบนาม) เป็นพระโอรสองค์ที่สี่ที่ประสูติจาก สมเด็จพระจักรพรรดินีเมียงซอง จาก ตระกูลมิน
  • เจ้าชายอุยมิน เป็นพระโอรสองค์แรกที่ประสูติจาก เจ้าหญิงซุนฮอน จาก ตระกูลออม
  • เจ้าชายวานฮวา เป็นพระโอรสองค์แรกที่ประสูติจาก พระชายาควีอิน 1 จาก ตระกูลลี
  • เจ้าชายอึยฮวา เป็นพระโอรสองค์แรกที่ประสูติจาก พระชายาควีอิน จาก ตระกูลยาง
  • เจ้าชายลียอก เป็นพระโอรสองค์แรกที่ประสูติจาก พระชายาควีอิน 2 จาก ตระกูลลี
  • เจ้าชายลีวู เป็นพระโอรสองค์แรกที่ประสูติจาก พระชายาควีอิน จาก ตระกูลจอง
พระธิดา
  • องค์หญิง(ไม่ทราบนาม) เป็นพระธิดาองค์แรกที่ประสูติจาก สมเด็จพระจักรพรรดินีเมียงซอง จาก ตระกูลมิน
  • องค์หญิง(ไม่ทราบนาม) เป็นพระธิดาองค์แรกที่ประสูติจาก พระชายาควีอิน 1 จาก ตระกูลลี
  • องค์หญิงด็อกฮเย เป็นพระธิดาองค์แรกที่ประสูติจาก พระชายาควีอิน จาก ตระกูลยาง
  • องค์หญิง(ไม่ทราบนาม) เป็นพระธิดาองค์แรกที่ประสูติจาก พระชายาควีอิน 3 จาก ตระกูลลี
  • องค์หญิงลีมุนยอง เป็นพระธิดาองค์แรกที่ประสูติจาก ยอมซังกุง จาก ตระกูลยอม

ดูเพิ่ม

ก่อนหน้า พระเจ้าโคจง ถัดไป
พระเจ้าชอลจง ไฟล์:Coat of arms of Joseon Korea.gif
พระมหากษัตริย์แห่งโชซอน
(พ.ศ. 2406 - พ.ศ. 2440)
ยกเลิกพระราชอิสริยยศนี้
สถาปนาพระราชอิสริยยศใหม่
สมเด็จพระจักรพรรดิแห่งเกาหลี
(พ.ศ. 2440 - พ.ศ. 2450)
จักรพรรดิยุงฮี
(พระเจ้าซุนจง)
|}