ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พูนสวัสดิ์ กระทิงแดงยิม"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขด้วยแอปสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขด้วยแอปสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 35: บรรทัด 35:
==เกียรติประวัติ==
==เกียรติประวัติ==
* แชมป์ PABA รุ่นแบนตั้มเวท (2544-2548)
* แชมป์ PABA รุ่นแบนตั้มเวท (2544-2548)
** ชิง, 12 ต.ค. 2544 ชนะคะแนน [[ลี เอสโคปิโด]] ({{PHI}}) ที่ ห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์ [[งามวงศ์วาน]] ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี
** ชิง, 12 ต.ค. 2544 ชนะคะแนน [[ลี เอสโคปิโด]] ({{PHI}}) ที่ ห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์ [[งามวงศ์วาน]] ต.บางเขน อ.เมืองนนทบุรี จ.นนทบุรี
** ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 1, 12 ธันวาคม 2544 ชนะน็อค ยก 3 [[อเล็กซานเดอร์ เอสคาสเนอร์]] (ฟิลิปปินส์) ที่ จ.[[เชียงใหม่]]
** ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 1, 12 ธันวาคม 2544 ชนะน็อค ยก 3 [[อเล็กซานเดอร์ เอสคาสเนอร์]] (ฟิลิปปินส์) ที่ จ.[[เชียงใหม่]]
** ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 2, 13 กุมภาพันธ์ 2545 ชนะน็อค ยก 4 [[พีเดอริโต ลอเรนเต้]] (ฟิลิปปินส์) ที่ [[ถนนเยาวราช]]
** ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 2, 13 กุมภาพันธ์ 2545 ชนะน็อค ยก 4 [[พีเดอริโต ลอเรนเต้]] (ฟิลิปปินส์) ที่ [[ถนนเยาวราช]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 09:05, 17 มีนาคม 2560

พูนสวัสดิ์ กระทิงแดงยิม
ไฟล์:Poonsawat.jpg
ชื่อจริงเฉลิมวงศ์ อุดมนา
ฉายาไอ้รถถังจูเนียร์
ไอ้รถถัง
ไทยพูน (THAIPOON)
(สื่อมวลชนไอร์แลนด์เป็นผู้ตั้งให้)
เด็กสมบูรณ์
(สร้อย มั่งมี เป็นผู้ตั้งให้)[1]
รุ่นแบนตั้มเวท
ซูเปอร์แบนตั้มเวท
เฟเธอร์เวท
เกิด20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2523 (43 ปี)
อำเภอภูพาน จังหวัดสกลนคร
ชกทั้งหมด50
ชนะ48
ชนะน็อก33
แพ้2
เสมอ0
ผู้จัดการนิวัฒน์ เหล่าสุวรรณวัฒน์
ค่ายมวยแกแล็คซี่บ็อกซิ่งโปรโมชั่น
เทรนเนอร์วินัย สิงห์เสน่ห์
อนันต์ ตัวลือ
เขาทราย แกแล็คซี่
สุเทพ ณ นคร
เก๋า โตเกียว

พูนสวัสดิ์ กระทิงแดงยิม มีชื่อจริงว่า เฉลิมวงศ์ อุดมนา (ชื่อเดิม: ประกอบ อุดมนา, ชื่อเล่น: โต้) เกิดวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2523 ที่อำเภอภูพาน จังหวัดสกลนคร มีฉายาว่า "ไอ้รถถังจูเนียร์" หรือ "ไอ้รถถัง" ด้านชีวิตส่วนตัว สมรสกับ นางเอื้อการย์ อุดมนา (พร) และมีบุตรสาวหนึ่งคน ชื่อ ธมลวรรรณ อุดมนา (พั๊นซ์)

พูนสวัสดิ์เป็นลูกชายของ พูนสวัสดิ์ ศิษย์ศรทอง อดีตแชมป์มวยไทยเวทีราชดำเนิน รุ่น 126 ปอนด์ เคยชกมวยไทยมาก่อนในชื่อ พูนสวัสดิ์ ว.สิงห์เสน่ห์ [1] ชกมวยสากลครั้งแรกเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2544 ชนะน็อค รามิค ลทอม นักมวยชาวฟิลิปปินส์ไปแค่ยกแรกจากการชก กำหนด 6 ยก ต่อจากนั้น ชกชนะอีกสองครั้ง จึงได้ชิงแชมป์สมาคมมวยแห่งเอเชียในรุ่นแบนตัมเวท และป้องกันตำแหน่งได้หลายครั้ง ก่อนจะขึ้นชิงแชมป์โลกเฉพาะกาล WBA กับ ริคาร์โด คอร์โดบา นักมวยชาวปานามา และป้องกันไว้ได้หนึ่งครั้ง ก่อนจะต้องมาชกเพื่อชิงแชมป์จริงกับ วลาดิเมียร์ ไซโดเรนโก นักมวยชาวยูเครน อดีตคู่ชกของวิจารณ์ พลฤทธิ์ ในการแข่งขันโอลิมปิก 2000 ที่ซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย แต่ไม่ประสบความสำเร็จเมื่อเป็นฝ่ายแพ้คะแนนไป

พูนสวัสดิ์ได้เลื่อนรุ่นขึ้นไปชกในรุ่นซูเปอร์แบนตั้มเวท และประสบความสำเร็จเมื่อเป็นฝ่ายชนะน็อก เบอร์นาร์ด ดันน์ เพียงแค่ยกที่ 3 ที่ประเทศไอร์แลนด์ ในถิ่นของดันน์เอง เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2552 ซึ่งในครั้งนี้พูนสวัสดิ์มีความสมบูรณ์ทางร่างกายมาก จนทางสื่อมวลชนท้องถิ่นตั้งฉายาให้ว่า "ไทยพูน" อีกทั้งในการชกพูนสวัสดิ์ก็ทำให้ดั้งจมูกของดันน์แตกเป็นแผลฉกรรจ์ได้

เมื่อได้แชมป์โลกมาแล้ว พูนสวัสดิ์มีท่าทางว่าจะสามารถป้องกันแชมป์ได้อย่างยาวนาน เพราะเป็นนักมวยหมัดหนัก ฝีมือดี แต่ในการป้องกันตำแหน่ง 3 ที่ประเทศญี่ปุ่น กับ เรียว ลิลี นักมวยชาวเกาหลีเหนือสัญชาติญี่ปุ่น เรียว ลิลี ใช้รูปแบบการชกที่ตีหัวเข้าบ้าน ด้วยการเข้าชกแล้วหนี พูนสวัสดิ์พยายามไล่ตามแต่ไม่ทัน ครบ 12 ยก ก็เสียแชมป์โลกไปเมื่อเป็นฝ่ายแพ้คะแนนอย่างเป็นเอกฉันท์ เมื่อปี พ.ศ. 2553

จากนั้นพูนสวัสดิ์ก็ยังคงชกเคลื่อนไหว ด้วยการกลับมาเป็นแชมป์ PABA ในรุ่นเฟเธอร์เวท จนกระทั่งในปลายปี พ.ศ. 2555 พูนสวัสดิ์มีโอกาสชิงแชมป์โลกอีกครั้ง กับ กิลเลอร์โม ริกอนเดอ๊อกซ์ นักมวยชาวคิวบา ผู้ไม่เคยแพ้หรือเสมอใคร เจ้าของเหรียญทองโอลิมปิก 2 สมัย (โอลิมปิก 2000, โอลิมปิก 2004) ซึ่งเป็นคู่ชิงชนะเลิศในรุ่นแบนตั้มเวทของ วรพจน์ เพชรขุ้ม ซึ่งกำหนดจะมีขึ้นที่โตโยต้า เซนเตอร์ เมืองฮุสตัน รัฐเท็กซัส สหรัฐอเมริกา ในเช้าวันที่ 16 ธันวาคม ตามเวลาในประเทศไทย ร่วมรายการเดียวกับ โนนิโต โดแนร์ นักมวยระดับซูเปอร์สตาร์ชาวฟิลิปปินส์ป้องกันตำแหน่งแชมป์โลกด้วย พูนสวัสดิ์และคณะได้เดินทางไปถึงที่สถานที่ชกตั้งแต่วันที่ 8 ธันวาคม แต่ทว่าผลการตรวจเลือดก่อนการชกจริงแค่วันเดียว ปรากฏว่าเลือดของพูนสวัสดิ์หลังจากการตรวจแล้วถึง 3 ครั้ง ปรากฏว่าเป็นเลือดบวก (เลือดติดเชื้อธาลัสซีเมียและไวรัสตับอักเสบ บี) ไม่อาจขึ้นชกได้ตามกฎของคณะกรรมาธิการมวยรัฐเท็กซัส ทำให้ต้องเดินทางกลับทันที ซึ่งทางพูนสวัสดิ์มีความผิดหวังเป็นอย่างมาก[2]

หลังจากนั้นไม่นาน พูนสวัสดิ์จึงต้องแขวนนวมไปในที่สุด[3]

เกียรติประวัติ

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 [1], คำอธิบายเพิ่มเติม.
  2. "ตะลึง 'พูนสวัสดิ์ อดชิงแชมป์โลก'" หน้า 19, เดลินิวส์ ฉบับที่ 23,073: วันศุกร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2555 ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 1 ปีมะโรง
  3. พูนสวัสดิ์แขวนนวมแล้ว! หลังพบโรคธาลัสซีเมีย-ไวรัสตับอักเสบ บี
  4. "พูนสวัสดิ์ได้คิวเคาะสนิม'" หน้า 13, ข่าวสด ฉบับที่ : วันศุกร์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2550

แหล่งข้อมูลอื่น