ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จังหวัดกาฬสินธุ์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Phonpalakorn (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Phonpalakorn (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 752: บรรทัด 752:


===ปราชญ์ชาวบ้าน===
===ปราชญ์ชาวบ้าน===
* [[เปลื้อง ฉายรัศมี|ครูเปลื้อง ฉายรัศมี]] ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีพื้นบ้าน)ผู้เป็นต้นกำเนิดเครื่องดนตรี "โปงลาง" เครื่องดนตรีประจำจังหวัดกาฬสินธุ์
* [[เปลื้อง ฉายรัศมี|ครูเปลื้อง ฉายรัศมี]] ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีพื้นบ้าน) ประจำปี 2529 ผู้พัฒนาเครื่องดนตรี '''โปงลาง''' เครื่องดนตรีประจำจังหวัดกาฬสินธุ์
* [[คำสอน สระทอง]] ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (ประณีตศิลป์–ทอผ้า) ประจำปี 2559 ผู้นำกลุ่มทอผ้าไหมแพรวา
* [[คำสอน สระทอง]] ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (ประณีตศิลป์–ทอผ้า) ประจำปี 2559 ผู้นำกลุ่มทอผ้าไหมแพรวา
* [[อลงกต คำโสภา]] ผู้ก่อตั้งวงดนตรีโปงลางหนองสอ อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์
* [[อลงกต คำโสภา]] ผู้ก่อตั้งวงดนตรีโปงลางหนองสอ อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์

รุ่นแก้ไขเมื่อ 11:19, 5 มีนาคม 2560

จังหวัดกาฬสินธุ์
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันChangwat Kalasin
คำขวัญ: 
หลวงพ่อองค์ดำลือเลื่อง เมืองฟ้าแดดสงยาง
โปงลางเลิศล้ำ วัฒนธรรมผู้ไท
ผ้าไหมแพรวา ผาเสวยภูพาน
มหาธารลำปาว ไดโนเสาร์สัตว์โลกล้านปี
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดกาฬสินธุ์เน้นสีแดงประเทศมาเลเซียประเทศพม่าประเทศลาวประเทศเวียดนามประเทศกัมพูชาจังหวัดนราธิวาสจังหวัดยะลาจังหวัดปัตตานีจังหวัดสงขลาจังหวัดสตูลจังหวัดตรังจังหวัดพัทลุงจังหวัดกระบี่จังหวัดภูเก็ตจังหวัดพังงาจังหวัดนครศรีธรรมราชจังหวัดสุราษฎร์ธานีจังหวัดระนองจังหวัดชุมพรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์จังหวัดเพชรบุรีจังหวัดราชบุรีจังหวัดสมุทรสงครามจังหวัดสมุทรสาครกรุงเทพมหานครจังหวัดสมุทรปราการจังหวัดฉะเชิงเทราจังหวัดชลบุรีจังหวัดระยองจังหวัดจันทบุรีจังหวัดตราดจังหวัดสระแก้วจังหวัดปราจีนบุรีจังหวัดนครนายกจังหวัดปทุมธานีจังหวัดนนทบุรีจังหวัดนครปฐมจังหวัดกาญจนบุรีจังหวัดสุพรรณบุรีจังหวัดพระนครศรีอยุธยาจังหวัดอ่างทองจังหวัดสิงห์บุรีจังหวัดสระบุรีจังหวัดลพบุรีจังหวัดนครราชสีมาจังหวัดบุรีรัมย์จังหวัดสุรินทร์จังหวัดศรีสะเกษจังหวัดอุบลราชธานีจังหวัดอุทัยธานีจังหวัดชัยนาทจังหวัดอำนาจเจริญจังหวัดยโสธรจังหวัดร้อยเอ็ดจังหวัดมหาสารคามจังหวัดขอนแก่นจังหวัดชัยภูมิจังหวัดเพชรบูรณ์จังหวัดนครสวรรค์จังหวัดพิจิตรจังหวัดกำแพงเพชรจังหวัดตากจังหวัดมุกดาหารจังหวัดกาฬสินธุ์จังหวัดเลยจังหวัดหนองบัวลำภูจังหวัดหนองคายจังหวัดอุดรธานีจังหวัดบึงกาฬจังหวัดสกลนครจังหวัดนครพนมจังหวัดพิษณุโลกจังหวัดอุตรดิตถ์จังหวัดสุโขทัยจังหวัดน่านจังหวัดพะเยาจังหวัดแพร่จังหวัดเชียงรายจังหวัดลำปางจังหวัดลำพูนจังหวัดเชียงใหม่จังหวัดแม่ฮ่องสอน
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดกาฬสินธุ์เน้นสีแดง
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดกาฬสินธุ์เน้นสีแดง
ประเทศ ไทย
การปกครอง
 • ผู้ว่าราชการ ณัฐภัทร สุวรรณประทีป
(ตั้งแต่ พ.ศ. 2559)
พื้นที่
 • ทั้งหมด6,946.746 ตร.กม. ตร.กม. (Formatting error: invalid input when rounding ตร.ไมล์)
อันดับพื้นที่อันดับที่ 28
ประชากร
 (พ.ศ. 2557)
 • ทั้งหมด984,907 คน[1] คน
 • อันดับอันดับที่ 23
 • อันดับความหนาแน่นอันดับที่ 29
รหัส ISO 3166TH-46
ชื่อไทยอื่น ๆเมืองน้ำดำ
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด
 • ต้นไม้มะหาด
 • ดอกไม้พะยอม
ศาลากลางจังหวัด
 • ที่ตั้งถนนกาฬสินธุ์ ตำบลกาฬสินธุ์ อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ 46000
 • โทรศัพท์0 4381 3215
 • โทรสาร0 4381 1620
เว็บไซต์http://www.kalasin.go.th/
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

กาฬสินธุ์ เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลางหรือตอนบนของประเทศไทย อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 510 กิโลเมตร เป็นจังหวัดที่มีความอุดมสมบูรณ์จังหวัดหนึ่งในภาคอีสาน จากหลักฐานทางโบราณคดีบ่งบอกว่าเคยเป็นที่อยู่อาศัยของเผ่าละว้า ซึ่งมีความเจริญทางด้านอารยธรรมประมาณ 1,600 ปี

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ต่อมาได้รับพระกรุณาโปรดเกล้า ยกฐานะบ้านแก่งสำโรงขึ้นเป็นเมือง และพระราชทานนามว่า “เมืองกาฬสินธุ์” หรือ “เมืองน้ำดำ” ซึ่งเป็นเมืองที่สำคัญทางประวัติศาสตร์มาตั้งแต่สมัยโบราณกาล “กาฬ” แปลว่า “ดำ” “สินธุ์” แปลว่า “น้ำ” กาฬสินธุ์จึงแปลว่า “น้ำดำ” และยังมีแหล่งซากไดโนเสาร์หลายแห่งด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอำเภอสหัสขันธ์ นอกจากนี้ยังมีชื่อเสียงด้านโปงลาง

อาณาเขตติดต่อ

จังหวัดกาฬสินธุ์มีอาณาเขตติดกับจังหวัดอื่น ๆ ดังนี้

ประวัติ

ตามบันทึกประวัติศาสตร์ร่วมสมัย ในปี พ.ศ. 2336 บ้านแก่งสำโรงได้รับการสถาปนาเป็นเมืองกาฬสินธุ์ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช หลังจากเจ้าโสมพะมิตรเข้าเฝ้าฯ ถวายสวามิภักดิ์ โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณแต่งตั้งขึ้นเป็น "พระยาไชยสุนทร" เจ้าเมืองท่านแรกโดยให้รั้งเมืองสืบไป

เมื่อ พ.ศ. 2437 เมื่อพระยาชัยสุนทร (ท้าวเก) เป็นเจ้าเมือง มีการเปลี่ยนรูปแบบการปกครองแบบให้เจ้าเมืองปกครองขึ้นตรงต่อกรุงเทพมหานคร มาเป็นรูปการปกครองแบบเทศาภิบาล มีมณฑล จังหวัด อำเภอ ตำบล และมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ตั้งให้เมืองร้อยเอ็ดเป็นจังหวัดร้อยเอ็ด บรรดาหัวเมืองต่าง ๆ ให้ยุบเป็นอำเภอ คือ เมืองกาฬสินธุ์ เป็นอำเภออุทัยกาฬสินธุ์

เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2456 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ยกฐานะจังหวัดร้อยเอ็ดขึ้นเป็นมณฑล ยกฐานะอำเภออุทัยกาฬสินธุ์เป็นจังหวัดกาฬสินธุ์ ขึ้นต่อมณฑลร้อยเอ็ด และมีอำนาจปกครองอำเภออุทัยกาฬสินธุ์ อำเภอสหัสขันธ์ อำเภอกุฉินารายณ์ อำเภอกมลาไสย อำเภอยางตลาด โดยให้พระภิรมย์บุรีรักษ์เป็นปลัดมณฑลประจำจังหวัดกาฬสินธุ์

ต่อมาเกิดข้าวยากหมากแพง เศรษฐกิจของประเทศตกต่ำ การเงินฝืดเคือง จำเป็นต้องยุบจังหวัดต่าง ๆ ลงเพื่อให้สมดุลกับรายได้ของประเทศ จังหวัดกาฬสินธุ์จึงถูกยุบเป็นอำเภอขึ้นกับจังหวัดมหาสารคาม เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2474 และโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งอรรถเปศลสรวดี เป็นข้าหลวงประจำจังหวัดมหาสารคาม (แทนพระยามหาสารคามคณาภิบาลซึ่งออกรับบำนาญ) ครั้นเมื่อมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติระเบียบบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2476 จึงได้ยกเลิกมณฑล

วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2490 ได้ยกฐานะเป็น "จังหวัดกาฬสินธุ์" จัดตั้งขึ้นโดย พระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดกาฬสินธุ์ พ.ศ. 2490 อันมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2490 จนถึงปัจจุบัน[2]


การปกครองส่วนภูมิภาค

การปกครองแบ่งออกเป็น 18 อำเภอ 135 ตำบล 1584 หมู่บ้าน

  1. อำเภอเมืองกาฬสินธุ์
  2. อำเภอนามน
  3. อำเภอกมลาไสย
  4. อำเภอร่องคำ
  5. อำเภอกุฉินารายณ์
  6. อำเภอเขาวง
  7. อำเภอยางตลาด
  8. อำเภอห้วยเม็ก
  9. อำเภอสหัสขันธ์
  10. อำเภอคำม่วง
  11. อำเภอท่าคันโท
  12. อำเภอหนองกุงศรี
  13. อำเภอสมเด็จ
  14. อำเภอห้วยผึ้ง
  15. อำเภอสามชัย
  16. อำเภอนาคู
  17. อำเภอดอนจาน
  18. อำเภอฆ้องชัย
แผนที่อำเภอในจังหวัดกาฬสินธุ์

การปกครองส่วนท้องถิ่น

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้งหมด 151 แห่ง คือ องค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 แห่ง เทศบาลเมือง 2 แห่ง และเทศบาลตำบล 67 แห่ง และองค์การบริหารส่วนตำบล 81 แห่ง มีรายชื่อดังนี้

อำเภอเมืองกาฬสินธุ์

อำเภอกุฉินารายณ์

อำเภอกมลาไสย

อำเภอเขาวง

อำเภอคำม่วง

อำเภอฆ้องชัย

อำเภอดอนจาน

อำเภอท่าคันโท

อำเภอนาคู

อำเภอนามน

อำเภอยางตลาด

อำเภอร่องคำ

อำเภอสมเด็จ

อำเภอสหัสขันธ์

อำเภอหนองกุงศรี

อำเภอห้วยผึ้ง

อำเภอห้วยเม็ก

ประชากรในจังหวัด

      หมายถึงจำนวนประชากรได้เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน
      หมายถึงจำนวนประชากรได้ลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อน
อันดับ
(ปีล่าสุด)
อำเภอในจังหวัดกาฬสินธุ์ พ.ศ. 2558[3] พ.ศ. 2557[4] พ.ศ. 2556[5] พ.ศ. 2555[6] พ.ศ. 2554[7] พ.ศ. 2553[8] พ.ศ. 2552[9] พ.ศ. 2551[10]
1 เมืองกาฬสินธุ์ 146,194 146,355 146,394 146,546 146,120 146,643 146,287 146,166
2 ยางตลาด 129,465 129,563 129,790 130,123 129,806 129,718 129,302 129,022
3 กุฉินารายณ์ 101,481 101,399 101,398 101,490 101,169 101,493 101,410 101,184
4 กมลาไสย 69,722 69,858 69,944 70,253 70,018 69,946 69,700 69,475
5 หนองกุงศรี 66,794 66,764 66,595 66,675 66,352 66,204 65,959 65,671
6 สมเด็จ 62,409 62,317 62,170 62,045 61,894 61,928 61,829 62,117
7 ห้วยเม็ก 51,272 51,203 51,030 51,025 50,734 50,605 50,435 50,270
8 คำม่วง 48,823 48,728 48,572 48,636 48,421 48,377 48,176 48,033
9 สหัสขันธ์ 42,845 42,783 42,616 42,621 42,386 42,275 42,069 41,879
10 ท่าคันโท 37,839 37,734 37,583 37,588 37,500 37,542 37,376 37,214
11 นามน 36,640 36,255 36,041 35,968 35,796 35,887 35,750 35,584
12 เขาวง 34,583 34,698 34,847 34,956 34,912 35,110 35,138 35,035
13 นาคู 31,378 31,365 31,340 31,378 31,301 31,431 31,513 31,515
14 ห้วยผึ้ง 30,595 30,642 30,594 30,666 30,512 30,651 30,667 30,608
15 ฆ้องชัย 27,156 27,183 27,246 27,288 27,199 27,225 27,168 27,132
16 ดอนจาน 25,856 25,888 25,784 25,823 25,738 25,743 25,696 25,720
17 สามชัย 25,670 25,656 25,607 25,513 25,403 25,374 25,292 25,622
18 ร่องคำ 16,472 16,516 16,479 16,490 16,394 16,426 16,391 16,336
รวม 985,203 984,907 984,030 985,084 981,655 982,578 980,158 978,583

สัญลักษณ์จังหวัด

รายนามเจ้าเมืองและผู้ว่าราชการจังหวัด

รายนามเจ้าเมืองและผู้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์
รายนาม วาระการดำรงตำแหน่ง
1. พระยาชัยสุนทร (เจ้าโสมพะมิตร) ผู้ก่อตั้งเมืองและเจ้าเมืององค์แรก พ.ศ. 2336 - 2349
2. พระยาชัยสุนทร (หมาแพง) พ.ศ. 2349 - 2369
3. พระยาชัยสุนทร (เจียม) พ.ศ. 2371 - 2382
4. พระยาชัยสุนทร (หล้า) พ.ศ. 2383 - 2388
5. พระยาชัยสุนทร (ทอง) พ.ศ. 2389 - 2394
6. พระยาชัยสุนทร (จารย์ละ) พ.ศ. 2394 - 2395
7. พระยาชัยสุนทร (กิ่ง) พ.ศ. 2395 - 2411
8. พระยาชัยสุนทร (หนู) พ.ศ. 2411 - 2420
9. พระยาชัยสุนทร (นนท์) พ.ศ. 2420 - 2425
10. พระยาชัยสุนทร (พั้ว) พ.ศ. 2425 - 2433
11. พระยาชัยสุนทร (เก ณ กาฬสินธุ์) พ.ศ. 2433 - 2437
12. พระยาชัยสุนทรเทพกิจจารักษ์ (ทอง จันทรางศุ) พ.ศ. 2437 - 2444
13. หลวงอภัย พ.ศ. 2444 - 2455
14. พระยาชัยสุนทร (ปุย อินทรตุล) พ.ศ. 2455 - 2461
15. พระยาชัยสุนทรภักดี พ.ศ. 2461 - 2474
16. พระเสน่หามนตรี (ชื่น สุคนธหงษ์)[11] [12] พ.ศ. 2474 - 2483
17. พระอรรถเปศลสรวดี (เจริญ ทรัพยสาร) [13] พ.ศ. 2483 - 2490
18. ขุนบริบาลบรรพตเขต พ.ศ. 2490 - 2492
19. ขุนรัตนวรพงศ์ พ.ศ. 2492 - 2493
20. นายปลั่ง ทัศนประดิษฐ์ พ.ศ. 2493 - 2496
21. ขุนบุรราษฎรนราภัย พ.ศ. 2496 - 2497
22. นายเชวง ไสยสุต พ.ศ. 2497 - 2499
23. นายพร บุญยประสพ [14] พ.ศ. 2500 - 2502
24. นายเลื่อน ไขแสง พ.ศ. 2502 - 2509
25. นายบุรี พรหมลักขโณ พ.ศ. 2509 - 2513
26. นายสง่า จันทรสาขา พ.ศ. 2513 - 2515
27. นายวิเชียร เวชสวรรค์ พ.ศ. 2515 - 2516
28. นายดำรง วชิโรดม พ.ศ. 2516 - 2519
29. นายอรุณ ปุสเทพ พ.ศ. 2519 - 2521
30. นายกรี รอดคำดี พ.ศ. 2521 - 2523
31. นายประกิต พิณเจริญ พ.ศ. 2523 - 2527
32. นายสนอง รอดโพธิ์ทอง พ.ศ. 2527 - 2528
33. ร.ต.ปฏิภาณ จูฑะพุทธิ พ.ศ. 2528 - 2531
34. ร.ต.วัฒนา สูตรสุวรรณ พ.ศ. 2531 - 2533
35. พ.ต.ดาวเรือง นิชรัตน์ พ.ศ. 2533 - 2535
36. นายสนิทวงศ์ อุเทศนันทน์ พ.ศ. 2535 - 2538
37. นายชวพงษ์ วัฒนสินธุ์ พ.ศ. 2538 - 2540
38. นายประสิทธิ์ พรรณพิสุทธิ์ พ.ศ. 2540 - 2541
39. นายวีระ เสรีรัตน์ พ.ศ. 2541 - 2542
40. นายชัยรัตน์ มาประณีต พ.ศ. 2542 - 2546
41. นายวรสิทธิ์ โรจนพานิช พ.ศ. 2546 - 2547
42. นายนิรันดร์ จงวุฒิเวศย์ พ.ศ. 2547 - 2548
43. นายกวี กิตติสถาพร พ.ศ. 2548 - 2550
44. นายประชา จิตสุทธิผล พ.ศ. 2550 - 2551
45. นายเดชา ตันติยวรงค์ พ.ศ. 2551 - 2552
46. นายวิโรจน์ จิวะรังสรรค์ 1 ต.ค. 2552 - 27 พ.ย. 2554
47. นายสมศักดิ์ สุวรรณสุจริต 28 พ.ย. 2554 - 28 ต.ค. 2555
48. นายสุวิทย์ สุบงกฎ 12 พ.ย. 2555 - 2 มิ.ย. 2557
49. นายภุชงค์ โพธิกุฎสัย 2 มิ.ย. 2557 - 30 ก.ย. 2558
50. นายวินัย วิทยานุกูล 1 ต.ค. 2558 - 30 ก.ย. 2559
51. นายณัฐภัทร สุวรรณประทีป 1 ต.ค. 2559 - ปัจจุบัน

การศึกษา

ระดับอุดมศึกษา

สถาบันอาชีวศึกษา

โรงเรียน

ผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับการเกษตร

อาหารพื้นเมือง

อนุสาวรีย์พระยาไชยสุนทร (ท้าวโสมพะมิต) เจ้าเมืองคนแรก
พระพรหมภูมิปาโล ประดิษฐานบนภูสิงห์

สถานที่ท่องเที่ยวและพักผ่อน

น้ำตกผานางคอย,น้ำตกผาระแงง (อำเภอนาคู) อ่างเก็บน้ำลำพะยังตอนบน อ่างวังคำ (อำเภอเขาวง) วัดป่าโพนวิมาน (วัดป่าพุทธบุตร) พิพิธภัณฑ์ไม้กลายเป็นหิน ฟอสซิลปลาโบราณ (อำภอเขาวง)


การคมนาคม

ทางรถยนต์:จังหวัดกาฬสินธุ์อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 510 กิโลเมตร โดยใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 1 (พหลโยธิน) กรุงเทพฯ-สระบุรี แล้วเลี้ยวขวาเข้าสู่ถนนมิตรภาพ (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2) ปากช่อง-นครราชสีมา-บ้านไผ่ เลี้ยวขวาเข้าสู่ถนนแจ้งสนิท (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 23 ) บ้านไผ่-บรบือ-สารคาม เลี้ยวซ้ายเข้าสู่ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 291 (เลี่ยงเมืองสารคาม) จากนั้นเลี้ยวซ้ายเข้าสู่ถนนถีนานนท์ (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 213) มหาสารคาม-ยางตลาด ต่อด้วยทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 ยางตลาด-กาฬสินธุ์

ทางรถโดยสารประจำทาง: โดยที่สถานีขนส่งจังหวัดกาฬสินธุ์ ตั้งอยู่บริเวณใกล้ๆ กับสวนสาธารณะกุดน้ำกิน โดยมีหลายบริษัทที่บริการเที่ยวรถจากรุงเทพฯ สู่ กาฬสินธุ์ เช่น

  • บริษัท ขนส่ง จำกัด ให้บริการด้วยรถ ม.4ค (ป.2) 2 ชั้น 55 ที่นั่ง / ม.4ข (ป.1) 2 ชั้น 50 ที่นั่ง / ม.4ก (VIP) 2 ชั้น 24 ที่นั่ง
  • บริษัท นครชัยแอร์ จำกัด ให้บริการด้วยรถ Silver Class (ป.1) 40 ที่นั่ง / Gold Class (VIP) 32 ที่นั่ง

รถไฟ : จังหวัดกาฬสินธุ์ไม่มีสถานีรถไฟ ต้องเดินทางจากกรุงเทพฯ-สถานีรถไฟขอนแก่น แล้วต่อรถประจำทางเข้าสู่จังหวัดกาฬสินธุ์อีก 75 กม. สำหรับกรุงเทพฯ-ขอนแก่นนั้น การรถไฟแห่งประเทศไทยเปิดบริการทั้งขบวนรถเร็ว รถด่วน และรถดีเซลรางปรับอากาศ รายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อสอบถามได้ที่หน่วยบริการเดินทางของการรถไฟแห่งประเทศไทย โทร. 02-223-7010, 02-223-7020


เทศกาลและงานประเพณี

เวทีประกวด


อุทยาน

  • จังหวัดกาฬสินธุ์มีพื่นที่ป่าทั้งหมดประมาณ ๑,๑๕๐,๐๐๐ ไร่ คิดเป็นร้อยละ ๒๗ ของพื่นที่ในจังหวัด
  • อุทยานแห่งชาติภูพาน ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของป่าสงวน ฯ ป่าแก้งกะอาม และบางส่วนของป่าดงห้วยผา อยู่ในเขตอำเภอสมเด็จ และอำเภอห้วยผึ้ง มีพื้นที่ในเขตจังหวัดกาฬสินธุ์ ประมาณ ๕๗,๕๐๐ ไร่ ประกาศเป็นอุทยาน ฯ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๘ และปี พ.ศ. ๒๕๒๕
  • อุทยานแห่งชาติภูผาเหล็ก ครอบคลุมพื้นที่ อ.คำม่วง อ.สมเด็จ บางส่วน
  • วนอุทยานภูพระ อยู่ในตำบลนาตาล อำเภอท่าคันโท มีพื้นที่ประมาณ ๖,๐๐๐ ไร่ อยู่ในเขตป่าสงวน ฯ ป่าดงมูล
  • วนอุทยานภูแฝก อยู่ที่บ้านน้ำคำ ตำบลภูแล่นช้าง กิ่งอำเภอนาคู มีพื้นที่ประมาณ ๔,๐๐๐ ไร่ อยู่ในเขตป่าสงวน ฯ ป่าดงห้วยผา
  • วนอุทยานภูผาวัว อยู่ในตำบลกุดหว้า อำเภอกุฉินารายณ์ มีพื้นที่ประมาณ ๔,๐๐๐ ไร่ อยู่ในเขตป่าสงวน ฯ ป่าดงด่านแย้
  • เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูสีฐาน อยู่ในเขตอำเภอกุฉินารายณ์ และอำเภอเขาวง มีพื้นที่ประมาณ ๒๘,๐๐๐ ไร่ ครอบคลุมพื้นที่ป่าสงวน ฯ ป่าดงด่านแย้ และป่าตอห่ม
  • เขตห้ามล่าสัตว์ป่าลำปาว อยู่ในเขตอำเภอสหัสขันธ์ อำเภอหนองกุงศรี อำเภอท่าคันโท และอำเภอเมือง ฯ มีพื้นที่ประมาณ ๒๐๐,๐๐๐ ไร่เศษ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่น้ำของเขื่อนลำปาว
  • เขตห้ามล่าสัตว์ป่าผาน้ำทิพย์ อยู่ในเขตอำเภอกุฉินารายณ์ มีพื้นที่ประมาณ ๓,๐๐๐ ไร่ อยู่ในเขตป่าสงวน ฯ ป่าดงบังอี แปลงที่ ๒
  • ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าดงระแนง อยู่ในเขตอำเภอยาวตลาด และอำเภอห้วยเม็ก มีพื้นที่ประมาณ ๖๙,๕๐๐ ไร่ ประกาศเป็นป่าสงวน เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๙
  • ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าดงแม่แฝด อยู่ในเขตอำเภอนามน อำเภอห้วยผึ้ง อำเภอกุฉินารายณ์และอำเภอเมือง ฯ มีพื้นที่ประมาณ ๑๑๙,๕๐๐ ไร่ ประกาศเป็นป่าสงวน เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๔
  • ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าดงบังอี่แปลงที่ ๑ อยู่ในเขตอำเภอกุฉินารายณ์ มีพื้นที่ประมาณ ๑๒,๐๐๐ ไร่ ประกาศเป็นป่าสงวน เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๑
  • ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าดงหมู อยู่ในเขตอำเภอเขาวง และอำเภอนาดู มีพื้นที่ประมาณ ๘๘,๐๐๐ ไร่ ประกาศเป็นป่าสงวน ฯ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๘
  • ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าดงห้วยผา อยู่ในเขตอำเภอห้วยผึ้ง และกิ่งอำเภอนาดู มีพื้นที่ประมาณ ๑๑๐,๕๐๐ ไร่ ประกาศเป็นป่าสงวนเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๘
  • ป่าสงวนแห่งชาติ ป่านาจาร - ดงขวาง อยู่ในเขตอำเภอสมเด็จ อำเภอสหัสขันธ์ และอำเภอเมือง ฯ มีพื้นที่ประมาณ ๓๗,๕๐๐ ไร่ ประกาศเป็นป่าสงวน เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๖
  • ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าโคกกลางหมื่น อยู่ในเขตอำเภอเมือง ฯ มีพื้นที่ประมาณ ๑๕,๐๐๐ ไร่ ประกาศเป็นป่าสงวน ฯ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๙
  • ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าดงนามน อยู่ในเขตอำเภอกมลาไสย อำเภอร่องคำ และอำเภอเมือง ฯ มีพื้นที่ประมาณ ๑๒,๕๐๐ ไร่ ประกาศเป็นป่าสงวน ฯ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๙
  • ป่าสงวนแห่งชาติ ป่ากังกะอวม อยู่ในเขตอำเภอสมเด็จ มีพื้นที่ประมาณ ๘๘,๕๐๐ ไร่ ประกาศเป็นป่าสงวน ฯ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๙
  • ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าดงด่านแย้ อยู่ในเขตอำเภอคำม่วง กิ่งอำเภอสามชัย และอำเภอเขาวง มีพื้นที่ประมาณ ๗๖,๕๐๐ ไร่ ประกาศเป็นป่าสงวน ฯ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๐
  • ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าภูพาน อยู่ในเขตอำเภอคำม่วง กิ่งอำเภอสามชัย และอำเภอสมเด็จ มีพื้นที่ประมาณ ๒๑๕,๐๐๐ ไร่ ประกาศเป็นป่าสงวน ฯ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๑
  • ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าดงมูล อยู่ในเขตอำเภอห้วยเม็ก อำเภอหนองกุงศรี และอำเภอท่าคันโท มีพื้นที่ประมาณ ๒๕๙,๐๐๐ ไร่ ประกาศเป็นป่าสงวน ฯ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๘
  • ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าดงบังอี่ แปลงที่ ๒ อยู่ในเขตอำเภอกุฉินารายณ์ มีพื้นที่ประมาณ ๓,๐๐๐ ไร่ ประกาศเป็นป่าสงวน ฯ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๗
  • สถานีพัฒนาและส่งเสริมการอนุรักษ์สัตว์ป่า มีอยู่แห่งเดียวคือ สถานี ฯ ลำปาว มีพื้นที่ประมาณ ๑,๕๐๐ ไร่ อยู่ในเขตอำเภอเมืองกาฬสินธุ์
  • ป่าชุมชน คือ กิจการของป่าที่ประชาชนมีส่วนร่วม เป็นแนวทางการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ อีกรูปแบบหนึ่ง ในปี พ.ศ. ๒๕๔๑ มีป่าชุมชนอยู่ ๑๕ หมู่บ้าน เช่น ป่าชุมชนบ้านหนองผ้าอ้อม และป่าชุมชนบ้านสูงเนิน เป็นต้น

บุคคลที่มีชื่อเสียง

เจ้าเมืองสมัยกรุงรัตนโกสินทร์

พระ

ปราชญ์ชาวบ้าน

  • ครูเปลื้อง ฉายรัศมี ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีพื้นบ้าน) ประจำปี 2529 ผู้พัฒนาเครื่องดนตรี โปงลาง เครื่องดนตรีประจำจังหวัดกาฬสินธุ์
  • คำสอน สระทอง ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (ประณีตศิลป์–ทอผ้า) ประจำปี 2559 ผู้นำกลุ่มทอผ้าไหมแพรวา
  • อลงกต คำโสภา ผู้ก่อตั้งวงดนตรีโปงลางหนองสอ อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์

นักร้อง - นักแสดง

นักกีฬา

ข้าราชการประจำ

นักการเมือง

อื่นๆ

นามสกุลพระราชทานที่เกี่ยวข้องกับจังหวัดกาฬสินธุ์

อ้างอิง

  1. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/pk/pk_57.pdf 2558. สืบค้น 1 มีนาคม 2558.
  2. ราชกิจจานุเบกษา,พระราชบัญญาบัติ จัดตั้งจังหวัดกาฬสินธุ์ พ.ศ. 2490ตอนที่ ๓๑ เล่ม ๖๔ ๑๒ สิงหาคม ๒๔๙๐
  3. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/pk/pk_57.pdf 2558. สืบค้น 1 มีนาคม 2558.
  4. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/pk/pk_57.pdf 2558. สืบค้น 1 มีนาคม 2558.
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเนกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่างๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๖, เล่ม ๑๓๑, ตอน ๔๑ ง , ๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๗, หน้า ๑
  6. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2555." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat55.html 2555. สืบค้น 3 เมษายน 2556.
  7. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat54.html 2555. สืบค้น 6 เมษายน 2555.
  8. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2553." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.dopa.go.th/stat/y_stat53.html 2553. สืบค้น 30 มกราคม 2554.
  9. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552."203.113.86.149/stat/y_stat.htmlสืบค้น 30 มีนาคม 2553
  10. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dopa.go.th/stat/y_stat51.html 2552. สืบค้น 30 มกราคม 2552.
  11. ราชกิจจานุเบกษา,แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ปลด ย้าย ตั้งผู้ว่าราชการจังหวัด,เล่ม ๔๔ หน้า ๑๑๖๐ วันที่ ๑๐ กรกฎาคม ๒๔๗๐
  12. ราชกิจจานุเบกษา,เรื่องเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์,เล่ม ๔๕ หน้า ๑๕๐๘ วันที่ ๑๙ สิงหาคม ๒๔๗๑
  13. ราชกิจจานุเบกษา,แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ปลด ตั้ง ย้าย ผู้ว่าราชการจังหวัด วันที่ ๒๑ เมษายน ๒๔๗๒ เล่ม ๔๖ หน้า ๒๓๒
  14. ราชกิจจานุเบกษา,แจ้งความมหาดไทย เรื่องแต่งตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดเล่ม ๗๔ ตอน ๑๑ ๒๙ มกราคม ๑๕๐๐

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น