ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สมเด็จพระที่นั่งท้ายสระ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Armonthap (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 69: บรรทัด 69:
* พระราชทานท้องพระโรงแก่[[สมเด็จพระสังฆราชแตงโม (ทอง)]] ซึ่งเป็นพระอาจารย์ของพระองค์โดยล่องเรือจากอยุธยาไปเพชรบุรีแล้วไปสร้างที่[[วัดใหญ่สุวรรณาราม]] (วัดสุวรรณาราม บ้างก็เรียกวัดใหญ่) จึงทำให้คงเหลือพระราชวัง ท้องพระโรงที่แสดงถึงศิลปกรรมของอยุธยาที่เหลือรอดจากการเผาของ[[พม่า]]เมื่อคราวเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 อยู่ที่จังหวัดเพชรบุรี
* พระราชทานท้องพระโรงแก่[[สมเด็จพระสังฆราชแตงโม (ทอง)]] ซึ่งเป็นพระอาจารย์ของพระองค์โดยล่องเรือจากอยุธยาไปเพชรบุรีแล้วไปสร้างที่[[วัดใหญ่สุวรรณาราม]] (วัดสุวรรณาราม บ้างก็เรียกวัดใหญ่) จึงทำให้คงเหลือพระราชวัง ท้องพระโรงที่แสดงถึงศิลปกรรมของอยุธยาที่เหลือรอดจากการเผาของ[[พม่า]]เมื่อคราวเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 อยู่ที่จังหวัดเพชรบุรี


== พงศาวลี ==
== ราชตระกูล ==
<center>
<center>
'''พระราชตระกูลในสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 9 '''
'''พระราชตระกูลในสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 9 '''

รุ่นแก้ไขเมื่อ 16:32, 4 มีนาคม 2560

สมเด็จพระที่นั่งท้ายสระ
พระมหากษัตริย์ไทย
พระมหากษัตริย์แห่งอาณาจักรอยุธยา
ครองราชย์พ.ศ. 2251-พ.ศ. 2275
รัชสมัย23 ปี
ก่อนหน้าสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8
ถัดไปสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ
ประสูติพ.ศ. 2221
สวรรคตพ.ศ. 2275
มเหสีกรมหลวงราชานุรักษ์ (พระนามเดิม เจ้าฟ้าทองสุก)[1]
พระราชบุตรเจ้าฟ้าพระนเรนทร กรมขุนสุเรนทรพิทักษ์
เจ้าฟ้าหญิงเทพ
เจ้าฟ้าหญิงประทุม
เจ้าฟ้าชายอภัย
เจ้าฟ้าชายปรเมศร์
เจ้าฟ้าชายทับ
พระองค์เจ้าชายเสฏฐา
พระองค์เจ้าชายปริก
พระองค์เจ้าหญิงสมบุญคง
พระนามเต็ม
สมเด็จพระภูมินทรมหาราชา
ราชวงศ์ราชวงศ์บ้านพลูหลวง
พระราชบิดาสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8

สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 9 หรือ สมเด็จพระที่นั่งท้ายสระ[2] หรือ พระเจ้าท้ายสระ[3] หรือ พระเจ้าภูมินทราชา[4] หรือ พระเจ้าบรรยงก์รัตนาสน์ เป็นพระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 30 แห่งอาณาจักรอยุธยา และเป็นพระองค์ที่สามแห่งราชวงศ์บ้านพลูหลวง ราชวงศ์สุดท้ายของอาณาจักรอยุธยา ทรงครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. 2251 - พ.ศ. 2275

พระราชประวัติ

สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 9 มีพระนามเดิมว่าเจ้าฟ้าเพชร เป็นพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ในสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 เมื่อพระราชบิดาสวรรคตในปี พ.ศ. 2252 จึงขึ้นครองราชย์ เฉลิมพระนามว่า สมเด็จพระภูมินทรมหาราชา โดยพระนามที่เป็นที่รู้จักกันคือพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ แล้วสถาปนาพระบัณฑูรน้อย เจ้าฟ้าพร พระราชอนุชาเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล

สวรรคต

สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 9 เสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 2275 รวมระยะเวลาครองราชย์ 23 ปี

ในขณะที่สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 9 ทรงพระประชวรหนักนั้น พระองค์ตัดสินพระทัยทรงมอบราชสมบัติให้แก่เจ้าฟ้าอภัย แต่กรมพระราชวังบวรสถานมงคลไม่ทรงยินยอม จึงเกิดเป็นสงครามแย่งชิงราชบัลลังก์ ที่สุดกรมพระราชวังบวรสถานมลคลเป็นฝ่ายชนะ ทรงสำเร็จโทษเจ้าฟ้าอภัย แล้วจึงครองราชย์เป็นสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ

พระนาม

  • สมเด็จพระที่นั่งท้ายสระ มาจากนามพระที่นั่งบรรยงก์รัตนาสน์ ซึ่งพระองค์ใช้เป็นประทับอันอยู่ข้างสระน้ำท้ายพระบรมมหาราชวัง
  • สมเด็จพระที่นั่งบรรยงก์รัตนาสน์
  • สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 9
  • สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ
  • สมเด็จพระภูมินทราธิราช
  • ขุนหลวงทรงปลา

พระราชกรณียกิจ

ในรัชสมัยของพระองค์ มีการขุดคลองสำคัญอันเป็นเส้นทางคมนาคม คือ "คลองมหาไชย" และ "คลองเกร็ดน้อย" มีการแข่งกันสร้างวัด ระหว่างพระองค์กับพระอนุชา คือ วัดมเหยงค์และวัดกุฏีดาว มีการเคลื่อนย้ายพระนอนองค์ใหญ่ของวัดป่าโมกเพื่อให้พ้นจากการถูกน้ำเซาะตลิ่ง เป็นต้น

ในด้านการต่างประเทศ มีการส่งราชทูตไปเจริญทางพระราชไมตรีกับประเทศจีนถึงสี่ครั้ง ทำให้การค้าขายระหว่างสยามกับจีน ขยายตัวเพิ่มมากขึ้น ในปี พ.ศ. 2244 เกิดความวุ่นวายในประเทศกัมพูชา อันเนื่องจากการแย่งราชสมบัติกันระหว่างนักเสด็จกับนักแก้วฟ้าสะจอง นักเสด็จขอเข้ามาอยู่ภายใต้พระบรมโพธิสมภาร ส่วนพระแก้วฟ้านักสะจองผู้เป็นอนุชาฝักใฝ่อยู่กับฝ่ายญวน ซึ่งพยายามแผ่อำนาจเข้าไปในเขมร พระองค์ได้ส่งกองทัพกรุงศรีอยุธยาเข้าไปถึงเมืองอุดงมีชัย ราชธานีของเขมร และได้เกลี้ยกล่อมให้นักแก้วฟ้าสะจองกลับมาอ่อนน้อมต่ออยุธยา เขมรจึงมีฐานะเป็นประเทศราชของอาณาจักรเช่นแต่ก่อน

ในช่วงรัชสมัยนี้ มิชชันนารีคาทอลิกคือมุขนายกหลุยส์ ลาโน ได้พิมพ์เผยแพร่หนังสือชื่อ “ปุจฉาวิสัชนา” มีเนื้อหาเปรียบเทียบศาสนาคริสต์ – ศาสนาพุทธ ชี้ให้เห็นความเหนือกว่าของศาสนาคริสต์ ดูหมิ่นพุทธศาสนา ทันทีหนังสือเล่มนี้ถูกเผยแพร่เป็นครั้งแรกก็สร้างความไม่พอใจให้กับราชการไทย สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระทรงเรียกบาทหลวง 3 คนขึ้นศาลไต่สวน ที่สุดมีพระราชโองการห้ามไม่ให้ใช้ภาษาไทยในการเผยแพร่ศาสนา ห้ามคนไทย มอญ และลาวเข้ารีตศาสนาคริสต์ และห้ามมิให้มิชชันนารีติเตียนศาสนาของคนไทย มิชชันนารีที่ไม่ปฏิบัติตามจะถูกเฆี่ยนแล้วเนรเทศ[5]

พระราชโอรส-ธิดา

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระมีพระราชโอรสธิดารวมกัน 9 พระองค์ เป็นพระราชโอรส 6 พระองค์ เป็นพระราชธิดา 3 พระองค์ ดังนี้[6]

กรมหลวงราชานุรักษ์

มีพระโอรสธิดา 6 พระองค์ คือ

พระสนม

มีพระโอรสธิดา 3 พระองค์ คือ

  • พระองค์เจ้าชายเสฏฐา
  • พระองค์เจ้าชายปริก
  • พระองค์เจ้าหญิงสมบุญคง

เกร็ดที่น่าสนใจ

  • พระองค์โปรดเสวยปลาตะเพียนมาก โดยออกพระราชกำหนดห้ามราษฎรจับหรือรับประทานปลาตะเพียน หากผู้ใดฝ่าฝืน มีบทลงโทษคือปรับเป็นเงิน 5 ตำลึง หรือ 20 บาท
  • พระราชทานท้องพระโรงแก่สมเด็จพระสังฆราชแตงโม (ทอง) ซึ่งเป็นพระอาจารย์ของพระองค์โดยล่องเรือจากอยุธยาไปเพชรบุรีแล้วไปสร้างที่วัดใหญ่สุวรรณาราม (วัดสุวรรณาราม บ้างก็เรียกวัดใหญ่) จึงทำให้คงเหลือพระราชวัง ท้องพระโรงที่แสดงถึงศิลปกรรมของอยุธยาที่เหลือรอดจากการเผาของพม่าเมื่อคราวเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 อยู่ที่จังหวัดเพชรบุรี

พงศาวลี

พระราชตระกูลในสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 9

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
สมเด็จพระนารายณ์มหาราช
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
พระราชเทวีสิริกัลยาณี
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 (พระเจ้าเสือ)
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
พระแสนเมือง (พระเจ้าเชียงใหม่)
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
พระนางกุสาวดี
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ไม่ทราบ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 9
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ไม่ทราบ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

อ้างอิง

เชิงอรรถ
  1. เล็ก พงษ์สมัครไทย. เฉลิมพระยศ เจ้านายฝ่ายในในรัชกาลที่ 1-9. กรุงเทพฯ:ฐานบุ๊คส์, 2552. หน้า 16
  2. พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม), หน้า 347
  3. นามานุกรมพระมหากษัตริย์ไทย, หน้า 165
  4. คำให้การชาวกรุงเก่า, พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) และเอกสารอื่น, หน้า 547-548
  5. แก่นแท้ศาสนาคริสต์ที่หายไป, หน้า 120
  6. คำให้การชาวกรุงเก่า, พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) และเอกสารอื่น, หน้า 622-623
บรรณานุกรม
  • พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม). นนทบุรี : ศรีปัญญา, 2553. 800 หน้า. ISBN 978-616-7146-08-9
  • มาโนช พุ่มไพจิตร. แก่นแท้ศาสนาคริสต์ที่หายไป. เชียงใหม่ : หน่วยงานเผยแพร่ข่าวประเสริฐ, 2548.
  • มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา. นามานุกรมพระมหากษัตริย์ไทย. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา, 2554. 264 หน้า. หน้า 165-166. ISBN 978-616-7308-25-8

ดูเพิ่ม


ก่อนหน้า สมเด็จพระที่นั่งท้ายสระ ถัดไป
สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8
(ราชวงศ์บ้านพลูหลวง)

(พ.ศ. 2246 - พ.ศ. 2252)

พระมหากษัตริย์แห่งอาณาจักรอยุธยา
(ราชวงศ์บ้านพลูหลวง)

(พ.ศ. 2252 - พ.ศ. 2275)
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ
(ราชวงศ์บ้านพลูหลวง)

(พ.ศ. 2275 - พ.ศ. 2301)