ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จำกัด พลางกูร"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
คำผิด ติืดต่อ เป็น ติดต่อ
บรรทัด 8: บรรทัด 8:


== วีรกรรมในขบวนการเสรีไทย ==
== วีรกรรมในขบวนการเสรีไทย ==
จำกัด พลางกูร เป็นปัญญาชนที่เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงสำคัญในการต่อต้านญี่ปุ่น จึงได้รับความไว้วางใจจากนาย[[ปรีดี พนมยงค์]] ผู้นำขบวนการเสรีไทยในประเทศไทย ให้เดินทางไปใน[[ประเทศจีน]] เพื่อประกาศท่าทีของประเทศไทยต่อจีนว่า การประกาศสงครามกับสัมพันธมิตรของรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงครามนั้น เป็นโมฆะ เพราะคนไทยส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วย และขอทราบท่าทีของจีนรวมถึงชาติสัมพันธมิตรอื่น ๆ จำกัดได้เดินทางเข้าประเทศจีนพร้อมกับ นายไพศาล ตระกูลลี้ ล่ามภาษาจีน ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2486 ได้มีจดหมายถึงประเทศไทยว่า เดินทางถึง[[คุนหมิง]]โดยปลอดภัยแล้ว แต่ต่อมาก็ขาดการติืดต่อไป ซึ่งจำกัดได้เข้าพบกับ[[จอมพลเจียงไคเช็ค]] ผู้นำจีนในขณะนั้น ซึ่งจอมพลเจียงไคเช็คได้สัญญาว่าเมื่อสงครามสงบ รัฐบาลจีนจะประกัน[[เอกราช]]ให้กับประเทศไทย
จำกัด พลางกูร เป็นปัญญาชนที่เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงสำคัญในการต่อต้านญี่ปุ่น จึงได้รับความไว้วางใจจากนาย[[ปรีดี พนมยงค์]] ผู้นำขบวนการเสรีไทยในประเทศไทย ให้เดินทางไปใน[[ประเทศจีน]] เพื่อประกาศท่าทีของประเทศไทยต่อจีนว่า การประกาศสงครามกับสัมพันธมิตรของรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงครามนั้น เป็นโมฆะ เพราะคนไทยส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วย และขอทราบท่าทีของจีนรวมถึงชาติสัมพันธมิตรอื่น ๆ จำกัดได้เดินทางเข้าประเทศจีนพร้อมกับ นายไพศาล ตระกูลลี้ ล่ามภาษาจีน ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2486 ได้มีจดหมายถึงประเทศไทยว่า เดินทางถึง[[คุนหมิง]]โดยปลอดภัยแล้ว แต่ต่อมาก็ขาดการติดต่อไป ซึ่งจำกัดได้เข้าพบกับ[[จอมพลเจียงไคเช็ค]] ผู้นำจีนในขณะนั้น ซึ่งจอมพลเจียงไคเช็คได้สัญญาว่าเมื่อสงครามสงบ รัฐบาลจีนจะประกัน[[เอกราช]]ให้กับประเทศไทย


== ชีวิตในจุงกิงและมรณกรรม ==
== ชีวิตในจุงกิงและมรณกรรม ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 19:01, 3 มีนาคม 2560

ไฟล์:จำกัด พลางกูร-1.jpg
พันตรี จำกัด พลางกูร เลขาธิการขบวนการเสรีไทยสายในประเทศ

พันตรี จำกัด พลางกูร (30 ตุลาคม พ.ศ. 2457 - 7 ตุลาคม พ.ศ. 2486) สมาชิกและเลขาธิการเสรีไทยสายในประเทศ และ ผู้แทนขบวนการเสรีไทยผู้มีอำนาจเต็มเดินทางไปแจ้งข่าวและเจรจากับฝ่ายสัมพันธมิตรที่เมืองฉงชิ่ง ประเทศจีน ระหว่างปลายเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2486 - 7 ตุลาคม พ.ศ. 2486 ซึ่งเป็นวันที่ จำกัด พลางกูร เสียชีวิตที่เมืองฉงชิ่ง

ประวัติ

จำกัด พลางกูร เป็นบุตรคนโตสุดของพระยาผดุงวิทยาเสริม (กำจัด พลางกูร พ.ศ. 2426 - พ.ศ. 2497) และคุณหญิงเหรียญ สกุลเดิม นิโครธานนท์ มีพี่น้องรวมทั้งสิ้น 9 คนได้แก่ ศาสตราจารย์ ดร. กำแหง พลางกูร แพทย์หญิงคุณหญิงตระหนักจิตร (หริณสุต) ดร. บรรเจิด พลางกูร นางลำเพา (สุทธเสถึยร) พลตรีเกรียงเดช รองศาสตราจารย์สลวย (กรุแก้ว) ศาสตราจารย์เกียรติคุณ น.พ. กัมปนาท และนางเสาวรส (ทองปาน)

ทั้งปู่และบิดาของจำกัดจบการศึกษาจากประเทศอังกฤษ บิดารับราชการเป็นครูและดำรงตำแหน่งเจ้ากรมแต่งตำราและเจ้ากรมสามัญศึกษา เมื่อเยาว์วัย จำกัดศึกษาที่โรงเรียนวัดบวรนิเวศ โรงเรียนเทพศิรินทร์และเข้าศึกษาต่อระดับมหาวิทยาลัยในคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและได้ทุนไปศึกษาต่อที่ประเทศอังกฤษเมื่อ พ.ศ. 2474 เข้าเรียนที่โรงเรียน Bromsgrove School เมือง Worcestershire และเข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดเมื่อ พ.ศ. 2478 ศึกษาวิชาปรัชญาการเมืองและเศรษฐศาสตร์ เรียนจบได้รับปริญญาตรีเกียรตินิยม (B.A. Hons.) และเดินทางกลับถึงประเทศไทยเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2481 (เท่ากับ พ.ศ. 2482 เนื่องจากปีใหม่เริ่มนับวันที่ 1 เดือนเมษายน)

วีรกรรมในขบวนการเสรีไทย

จำกัด พลางกูร เป็นปัญญาชนที่เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงสำคัญในการต่อต้านญี่ปุ่น จึงได้รับความไว้วางใจจากนายปรีดี พนมยงค์ ผู้นำขบวนการเสรีไทยในประเทศไทย ให้เดินทางไปในประเทศจีน เพื่อประกาศท่าทีของประเทศไทยต่อจีนว่า การประกาศสงครามกับสัมพันธมิตรของรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงครามนั้น เป็นโมฆะ เพราะคนไทยส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วย และขอทราบท่าทีของจีนรวมถึงชาติสัมพันธมิตรอื่น ๆ จำกัดได้เดินทางเข้าประเทศจีนพร้อมกับ นายไพศาล ตระกูลลี้ ล่ามภาษาจีน ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2486 ได้มีจดหมายถึงประเทศไทยว่า เดินทางถึงคุนหมิงโดยปลอดภัยแล้ว แต่ต่อมาก็ขาดการติดต่อไป ซึ่งจำกัดได้เข้าพบกับจอมพลเจียงไคเช็ค ผู้นำจีนในขณะนั้น ซึ่งจอมพลเจียงไคเช็คได้สัญญาว่าเมื่อสงครามสงบ รัฐบาลจีนจะประกันเอกราชให้กับประเทศไทย

ชีวิตในจุงกิงและมรณกรรม

จำกัด พลางกูร ขณะอยู่ที่ฉงชิ่ง (ในขณะนั้นเรียกว่า "จุงกิง") ซึ่งสรุปภารกิจได้ 4 ประการ ได้แก่ 1. เสนอแผนการของขบวนการเสรีไทยอย่างเป็นทางการต่ออังกฤษ และได้รับคำตอบจากอังกฤษในวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2486 2. การพบกับจอมพลเจียงไคเช็คนั้น ทำให้ทราบถึงท่าทีของจีนที่มีต่อไทย 3. การพบกันระหว่างจำกัด กับ หม่อมเจ้าศุภสวัสดิ์วงศ์สนิท สวัสดิวัตน์ ผู้นำเสรีไทยในอังกฤษ ได้รับทราบถึงท่าทีของอังกฤษที่มีต่อเสรีไทยในประเทศ 4. การมาถึงของนายสงวน ตุลารักษ์ เพื่อสานงานต่อจากจำกัด

ระหว่างที่จำกัดพำนักอยู่ฉงชิ่งนั้น ได้เขียนบันทึกส่วนตัวเป็นจำนวนกว่า 900 หน้า ที่ีบันทึกเรื่องราวของตัวเองในปี พ.ศ. 2486 โดยทางการจีนอนุญาตให้จำกัดจัดตั้งรัฐบาลพลัดถิ่นขึ้นที่นั่น แต่จำกัดได้ไตร่ตรองแล้วเกรงว่าจะทำให้ชาติอื่น ๆ ที่สนับสนุนเสรีไทยแคลงใจ จึงไม่ได้มีการจัดตั้งรัฐบาลพลัดถิ่นขึ้น

จำกัด พลางกูร ถึงแก่กรรมในวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2486 ซึ่งแพทย์ชาวแคนาดาลงความเห็นว่าเป็นมะเร็งตับและกระเพาะอาหาร แต่ก็ยังมีข้อกังขาจากเจ้า่หน้าที่สืบราชการลับของอังกฤษและสหรัฐอเมริกาว่า อาจถูกวางยาพิษโดยทางการจีนเอง แต่ทาง ศ.ดร.ฉัตรทิพย์ นาถสุภา ผู้เขียนหนังสือชีวประวัติของจำกัด พลางกูร มีความเห็นส่วนตัวว่าน่าจะเป็นฝีมือของฝ่ายญี่ปุ่นมากกว่า เนื่องจากผู้ดูแลจำกัดคนหนึ่งในปีถัดมา ถูกจับได้ว่าเป็นสายลับให้ฝ่ายญี่ปุ่น[1]

อ้างอิง

  1. หน้า 4 วาไรตี้, จำกัด พลางกูร กุญแจสำคัญ 'ขบวนการเสรีไทย'. เดลินิวส์ฉบับที่ 23,366: พฤหัสบดีที่ 3 ตุลาคม 2556 แรม 14 ค่ำ เดือน 10 ปีมะเส็ง
  • ฉัตรทิพย์ นาถสุภา ศ.ดร., เพื่อชาติ เพื่อ humanity: ภารกิจของวีรบุรุษเสรีไทย จำกัด พลางกูร ในการเจรจากับสัมพันธมิตร, สำนักพิมพ์สร้างสรรค์ กรุงเทพฯ, 2549