ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เขตบางกอกใหญ่"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Armonthap (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 147: บรรทัด 147:


{{เขตในกทม.}}
{{เขตในกทม.}}
{{สถานศึกษาในเขตบางกอกใหญ่}}

[[หมวดหมู่:เขตบางกอกใหญ่]]
[[หมวดหมู่:เขตบางกอกใหญ่]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 22:38, 1 มีนาคม 2560

เขตบางกอกใหญ่
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันKhet Bangkok Yai
คำขวัญ: 
บางกอกใหญ่เมืองหลวงไทยในอดีต ป้อมวิไชยประสิทธิ์พระราชวังเดิม เฉลิมพระนามพระเจ้ากรุงธน งามน่ายลพระปรางค์วัดอรุณ เทิดพุทธคุณหลวงพ่อเกษร นามขจรสมเด็จวัดพลับ เลิศกิตติศัพท์หลวงปู่โต๊ะวัดประดู่ งามน่าดูสองฝั่งคลองบางหลวง
แผนที่กรุงเทพมหานคร เน้นเขตบางกอกใหญ่
แผนที่กรุงเทพมหานคร เน้นเขตบางกอกใหญ่
พิกัด: 13°43′22″N 100°28′35″E / 13.72278°N 100.47639°E / 13.72278; 100.47639
ประเทศ ไทย
เขตปกครองพิเศษกรุงเทพมหานคร
พื้นที่
 • ทั้งหมด6.18 ตร.กม. (2.39 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2558)
 • ทั้งหมด69,349[1] คน
 • ความหนาแน่น11,221.52 คน/ตร.กม. (29,063.6 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์10600
รหัสภูมิศาสตร์1016
ที่อยู่
สำนักงาน
เลขที่ 1 ถนนรัชดาภิเษก แขวง
วัดท่าพระ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร 10600
เว็บไซต์http://203.155.220.239/subsite/index.php?strOrgID=001040
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

เขตบางกอกใหญ่ เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงธนบุรี ซึ่งถือเป็นเขตอนุรักษ์เมืองเก่า แหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรมทางฝั่งธนบุรี

ที่ตั้งและอาณาเขต

ตั้งอยู๋ริมฝั่งขวาของแม่น้ำเจ้าพระยา (ฝั่งธนบุรี) มีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้

ประวัติศาสตร์

ชื่อของเขตบางกอกใหญ่นั้น มีที่มาจากคลองบางกอกใหญ่ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า คลองบางหลวง ซึ่งเคยเป็นแม่น้ำเจ้าพระยาเดิม แต่เปลี่ยนเส้นทางกลายเป็นคลองในปี พ.ศ. 2095 เขตบางกอกใหญ่เคยเป็นที่ตั้งของกรุงธนบุรี เมื่อแรกเริ่มใน ปี พ.ศ. 2458 ได้ถูกเรียกว่า อำเภอหงสาราม ปีต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น อำเภอบางกอกใหญ่ ในปี พ.ศ. 2481 อำเภอบางกอกใหญ่ถูกยุบลงเป็น กิ่งอำเภอบางกอกใหญ่ ขึ้นกับ อำเภอบางยี่ขัน จนในปี พ.ศ. 2501 มีพระราชกฤษฎีกาตั้งกิ่งอำเภอบางกอกใหญ่ เป็น อำเภอบางกอกใหญ่ และในปี พ.ศ. 2515 มีประกาศคณะปฏิวัติ ให้อำเภอในเขตนครหลวงกรุงเทพธนบุรีมีฐานะเป็นเขต อำเภอบางกอกใหญ่จึงมีฐานะเป็น เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร ตั้งแต่นั้น

การแบ่งเขตการปกครอง

เขตบางกอกใหญ่แบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 2 แขวง (khwaeng) ได้แก่

อักษรไทย อักษรโรมัน พื้นที่
(ตร.กม.)
จำนวนประชากร
(พฤศจิกายน 2559)
จำนวนบ้าน
(พฤศจิกายน 2559)
ความหนาแน่นประชากร
(พฤศจิกายน 2559)
วัดอรุณ Wat Arun
0.834
13,937
4,163
16,711.03
วัดท่าพระ Wat Tha Phra
5.346
54,025
25,696
10,105.68
ทั้งหมด
6.180
67,962
29,859
10,997.08

ประชากร

สถิติประชากรตามทะเบียนราษฎร
เขตบางกอกใหญ่[2]
ปี (พ.ศ.) ประชากร การเพิ่มและการลด
2535 100,466 ไม่ทราบ
2536 100,408 -58
2537 98,895 -1,513
2538 96,364 -2,531
2539 94,975 -1,389
2540 93,859 -1,116
2541 91,584 -2,275
2542 89,763 -1,821
2543 88,809 -954
2544 87,201 -1,608
2545 86,134 -1,067
2546 85,075 -1,059
2547 82,676 -2,399
2548 81,727 -949
2549 80,863 -864
2550 79,637 -1,226
2551 78,307 -1,330
2552 76,608 -1,699
2553 75,621 -987
2554 73,864 -1,757
2555 72,241 -1,623
2556 71,087 -1,154
2557 70,003 -1,084

การคมนาคม

ทางน้ำ

  • แม่น้ำเจ้าพระยา
  • คลองบางกอกใหญ่
  • คลองมอญ

สถานที่สำคัญ

วัดอรุณราชวราราม

อ้างอิง

  1. สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย,กองปกครองและทะเบียน สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร. สถิติประชากรและบ้าน - จำนวนประชากรแยกรายอายุ [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก: http://stat.dopa.go.th/stat/statnew/statTDD/. สืบค้น 8 มกราคม 2559.
  2. สำนักบริหารการทะเบียน. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "จำนวนประชากรและบ้าน." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.dopa.go.th/xstat/popyear.html 2556. สืบค้น 3 เมษายน 2556.

แหล่งข้อมูลอื่น