ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จณิสตา ลิ่วเฉลิมวงศ์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
จณิสตา ลิ่วเฉลิมวงศ์
บรรทัด 7: บรรทัด 7:
| birthname = จณิสตา ลิ่วเฉลิมวงศ์
| birthname = จณิสตา ลิ่วเฉลิมวงศ์
| nickname = แบม
| nickname = แบม
| birthdate = {{วันเกิดและอายุ|2515|10|6}}
| birthdate = {{วันเกิดและอายุ|2515|10|6}}
| location =
| location =
| deathdate =
| deathdate =
| deathplace =
| deathplace =
| spouse = [[บุตรรัตย์ จรูญสมิทธิ์ ]]
| spouse = [[บุตรรัตย์ จรูญสมิทธิ์]]
| othername = จณิสตา จรูญสมิทธิ์
| othername = จณิสตา จรูญสมิทธิ์
| occupation = นักการเมือง, [[พิธีกร]], นางแบบ
| occupation = นักการเมือง, พิธีกร, นางแบบ
| yearsactive =
| yearsactive =
| notable role =
| notable role =

รุ่นแก้ไขเมื่อ 14:21, 1 มีนาคม 2560

จณิสตา ลิ่วเฉลิมวงศ์ จรูญสมิทธิ์
สารนิเทศภูมิหลัง
เกิด6 ตุลาคม พ.ศ. 2515 (51 ปี)
จณิสตา ลิ่วเฉลิมวงศ์
คู่สมรสบุตรรัตย์ จรูญสมิทธิ์
อาชีพนักการเมือง, พิธีกร, นางแบบ

จณิสตา ลิ่วเฉลิมวงศ์ เกิดเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2515 มีชื่อเล่นว่า แบม หรือที่นิยมเรียกกันติดปากว่า น้องแบม โฆษกพรรค และรองเลขาธิการพรรคชาติไทย และ รองโฆษกรัฐบาล พิธีการรายการโทรทัศน์ที่เคยรับงานพิธีกรรายการตีสิบ โดยภายหลังจึงลาออกมาทำงานการเมือง

ประวัติ

จณิสตา ลิ่วเฉลิมวงศ์ เกิดเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2515 มีชื่อเล่นว่า แบม เป็นบุตรของนายอาคม ลิ่วเฉลิมวงศ์ กับหม่อมราชวงศ์สิริมาดา วรวรรณ เป็นหลานตาของพันตำรวจโท หม่อมเจ้าหัชชากร วรวรรณ โอรสใน พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ มีน้องสาวคือ ชญาดา ลิ่วเฉลิมวงศ์ หรือ โบ

วันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2552 จณิสตา ลิ่วเฉลิมวงศ์ และบุตรรัตย์ จรูญสมิทธิ์ หรือ โบ้ท กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซิลค์สแปน จำกัด เข้ารับพระราชทานน้ำสังข์ โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระตำหนักวังไกลกังวล จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในหลวงพระราชทานถุงทองเป็นของขวัญแก่คู่บ่าวสาว ในการนี้สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงอวยพรแก่คู่บ่าวสาวว่าให้รักกันนานๆ ครองรักด้วยความเข้าใจและใช้ความอดทน[1] ทั้งคู่มีบุตรดังนี้

1. ลูกสาวชื่อ วณิสตา จรูญสมิทธิ์ หรือน้องเวนิส เกิดเมื่อวันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2553 ที่โรงพยาบาลสมิติเวช[2]

2. ลูกชายชื่อ นราธิปพงศ์ จรูญสมิทธิ์ หรือน้องวินซ์ เกิดเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 ที่โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์[3]

ประวัติการศึกษา

จณิสตา จบการศึกษาชั้นประถมศึกษาจาก โรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนเวนต์ จบชั้นมัธยมศึกษาจาก โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน จบการศึกษาระดับปริญญาตรีรัฐศาสตร์ สาขาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และปริญญาโท สาขาการพัฒนาภูมิภาคและเมือง จาก London School of Economics & Political Science (LSE) มหาวิทยาลัยลอนดอน ประเทศอังกฤษ

ประวัติการทำงาน

จณิสตา เคยทำงานในตำแหน่ง เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน ระดับ 5 สังกัด ศูนย์วิเคราะห์ และประสานแผนปฏิบัติการ ของ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ขณะเดียวกันเริ่มมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จัก จากการเป็นนางแบบถ่ายโฆษณา ก่อนจะรับเป็นพิธีกร รายการ ตีสิบ ทางช่อง 3 คู่กับ นายวิทวัส สุนทรวิเนตร ซึ่งทำให้จณิสตา มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักโดยทั่วไปอย่างกว้างขวาง

งานการเมือง

ในการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2544 ได้เข้าร่วมงานการเมืองกับพรรคชาติไทย โดยลงสมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ คนที่ 6 ของพรรค และได้รับเลือกตั้งเข้ามาเป็นคนสุดท้าย นอกจากดำรงตำแหน่ง ส.ส.บัญชีรายชื่อ น.ส.จณิสตา ยังดำรงตำแหน่ง โฆษกพรรคชาติไทย อีกตำแหน่งหนึ่งด้วย

ในการเลือกตั้งทั่วไปปี พ.ศ. 2548 น.ส.จณิสตา ได้เปลี่ยนมาลงสมัคร ส.ส.เขต ในพื้นที่เขตดอนเมือง แทนที่ นายการุณ โหสกุล ซึ่งเป็นสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (สก.) ของพรรคชาติไทย ที่ย้ายไปสังกัดพรรคไทยรักไทยอย่างกะทันหัน และลงเลือกตั้งในเขตดอนเมือง แข่งกับพรรคชาติไทย ซึ่งผลการเลือกตั้งในครั้งนั้น น.ส.จณิสตา ได้รับการเลือกตั้งเป็น ส.ส.เขตดอนเมือง และเป็น ส.ส.เพียงคนเดียวของพรรคชาติไทยที่ชนะการเลือกตั้งในกรุงเทพมหานคร ต่อมาในกลางปี พ.ศ. 2550 มีข่าวลือว่า นายบรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทยไม่พอใจในพฤติกรรมของ น.ส.จณิสตา ถึงขนาดจะตัดสิทธิ ไม่ให้ลงเลือกตั้งในคราวหน้า พร้อมกับมีข่าวว่า น.ส.จณิสตา จะย้ายไปสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ แต่ต่อมาทั้ง นายบรรหาร น.ส.จณิสตา และทางพรรคประชาธิปัตย์ ได้แถลงว่าทั้งหมดเป็นเพียงข่าวปล่อยที่ไม่เป็นความจริง[4][5]

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทย พ.ศ. 2550 ได้ลงสมัคร ส.ส.กรุงเทพมหานคร เขต 5 (บางเขน สายไหม ดอนเมือง) สังกัดพรรคพรรคชาติไทยอีกครั้ง แต่ไม่ได้รับเลือก จากนั้นในปี พ.ศ. 2551 ถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรคชาติไทย[6]

สรุปประวัติการดำรงตำแหน่ง

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น