ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โบสถ์กาลหว่าร์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Supanut Arunoprayote (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
คำผิด กงศุล เป็น กงศุล,อย่ เป็น อยู่,ก่ออิฐถือปืน เป็น ก่ออิฐถือปูน,ประมาฯ เป็น ประมาณ
บรรทัด 55: บรรทัด 55:
ต่อมาชาวโปรตุเกสจากค่ายแม่พระลูกประคำได้อพยพโยกย้ายไปทำมาหากินตามที่ต่าง ๆ ทำให้ลดจำนวนลงเรื่อยๆ จนแทบไม่หลงเหลืออยู่อีกต่อไป มีบาทหลวงชาวไทยมาทำมิสซาบ้างเป็นบางโอกาส
ต่อมาชาวโปรตุเกสจากค่ายแม่พระลูกประคำได้อพยพโยกย้ายไปทำมาหากินตามที่ต่าง ๆ ทำให้ลดจำนวนลงเรื่อยๆ จนแทบไม่หลงเหลืออยู่อีกต่อไป มีบาทหลวงชาวไทยมาทำมิสซาบ้างเป็นบางโอกาส


ในปี [[ค.ศ. 1820]] พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้พระราชทานที่ดินแปลงหนึ่งตั้งอยู่ใต้โบสถ์กาลหว่าร์ลงไปเล็กน้อย เพื่อตั้งกงศุลโปรตุเกส และในภายหลังได้กลายเป็น สถานเอกอัครราชทูตโปรตุเกส ในปัจจุบัน<ref>วัดกาลหว่าร์ - Holy Rosary Church, หน้า 20</ref>
ในปี [[ค.ศ. 1820]] พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้พระราชทานที่ดินแปลงหนึ่งตั้งอยู่ใต้โบสถ์กาลหว่าร์ลงไปเล็กน้อย เพื่อตั้งกงสุลโปรตุเกส และในภายหลังได้กลายเป็น สถานเอกอัครราชทูตโปรตุเกส ในปัจจุบัน<ref>วัดกาลหว่าร์ - Holy Rosary Church, หน้า 20</ref>


=== โบสถ์หลังที่สอง (1838-1890) ===
=== โบสถ์หลังที่สอง (1838-1890) ===
บรรทัด 68: บรรทัด 68:
คุณพ่อดาเนียล ชาวฝรั่งเศส เข้ามาปกครองสืบต่อจากคุณพ่อดีอปองค์ ในปี ค.ศ. 1864 และในปีนี้เองเกิดเพลิงไหม้บ้านพักบาทหลวง ซึ่งได้ทำให้เกิดความเสียหายอย่างมากต่อเอกสารต่างๆ ของโบสถ์<ref>วัดกาลหว่าร์ - Holy Rosary Church, หน้า 23</ref> ภายหลังเหตุการณ์ได้ 10 ปีคุณพ่อดาเนียลก็กลับฝรั่งเศส
คุณพ่อดาเนียล ชาวฝรั่งเศส เข้ามาปกครองสืบต่อจากคุณพ่อดีอปองค์ ในปี ค.ศ. 1864 และในปีนี้เองเกิดเพลิงไหม้บ้านพักบาทหลวง ซึ่งได้ทำให้เกิดความเสียหายอย่างมากต่อเอกสารต่างๆ ของโบสถ์<ref>วัดกาลหว่าร์ - Holy Rosary Church, หน้า 23</ref> ภายหลังเหตุการณ์ได้ 10 ปีคุณพ่อดาเนียลก็กลับฝรั่งเศส


คุณพ่อซาลาแด็ง ได้รับหน้าที่ต่อจากคุณพ่อดาเนียล ในปี ค.ศ. 1874 นับเป็นคุณพ่ออธิการโบสถ์องค์ที่ 4 ประจำอย่ 4 ปี แล้วย้ายไปเป็นอธิการโบสถ์บางช้าง ([[อาสนวิหารแม่พระบังเกิด บางนกแขวก]] [[จังหวัดราชบุรี]]) จากนั้นก็มีคุณพ่อราบาร์แดล และคุณพ่อโฟก มารับช่วงตำแหน่งติดต่อกันองค์ละ 2 เดือน ตามลำดับ
คุณพ่อซาลาแด็ง ได้รับหน้าที่ต่อจากคุณพ่อดาเนียล ในปี ค.ศ. 1874 นับเป็นคุณพ่ออธิการโบสถ์องค์ที่ 4 ประจำอยู่ 4 ปี แล้วย้ายไปเป็นอธิการโบสถ์บางช้าง ([[อาสนวิหารแม่พระบังเกิด บางนกแขวก]] [[จังหวัดราชบุรี]]) จากนั้นก็มีคุณพ่อราบาร์แดล และคุณพ่อโฟก มารับช่วงตำแหน่งติดต่อกันองค์ละ 2 เดือน ตามลำดับ


ในโบสถ์หลังที่ 2 นี่เอง เจ้าหน้าที่สถานทูตโปรตุเกสจะมีที่นั่งสงวนไว้สำหรับพวกเขา เพราะเขาถือความสัมพันธ์ที่พวกเขามีอยู่อย่างแน่นแฟ้นกับชุมชนนี้ และธรรมเนียมนี้ก็ยังคงมีต่อมาแม้ในโบสถ์หลังที่ 3 คือหลังปัจจุบันก็ตาม และเป็นเช่นนี้จนกระทั่ง [[ภาษาไทย]] และ[[ภาษาจีน]] เข้ามาแทนที่ภาษาละติน จึงเลิกธรรมเนียมนี้ไป<ref>วัดกาลหว่าร์ - Holy Rosary Church, หน้า 23</ref>
ในโบสถ์หลังที่ 2 นี่เอง เจ้าหน้าที่สถานทูตโปรตุเกสจะมีที่นั่งสงวนไว้สำหรับพวกเขา เพราะเขาถือความสัมพันธ์ที่พวกเขามีอยู่อย่างแน่นแฟ้นกับชุมชนนี้ และธรรมเนียมนี้ก็ยังคงมีต่อมาแม้ในโบสถ์หลังที่ 3 คือหลังปัจจุบันก็ตาม และเป็นเช่นนี้จนกระทั่ง [[ภาษาไทย]] และ[[ภาษาจีน]] เข้ามาแทนที่ภาษาละติน จึงเลิกธรรมเนียมนี้ไป<ref>วัดกาลหว่าร์ - Holy Rosary Church, หน้า 23</ref>
บรรทัด 81: บรรทัด 81:
นอกจากนั้นตามผนังยังมีรูปปั้นนักบุญต่างๆ และรูป 14 ภาค แขวนไว้โดยรอบด้านหน้าโบสถ์ใกล้ประตูมีรูปทูตสวรรค์ ถือเปลือกหอย บรรจุน้ำเสก สำหรับผู้เข้า-ออกโบสถ์ ใช้ทำ สำคัญมหากางเขน ตั้งอยู่ทั้ง 2 ข้าง บริเวณเหนือหน้าต่างทุกบานจะมีกระจกสีช่องแสงสวยงาม เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับพระคัมภีร์เก่าและใหม่ ควบคู่กันไป มองจากภายนอกจะเห็นยอดสูง ซึ่งเป็นหอระฆัง บนยอดปักรูปกางเขนไว้ให้แลดูสง่างาม
นอกจากนั้นตามผนังยังมีรูปปั้นนักบุญต่างๆ และรูป 14 ภาค แขวนไว้โดยรอบด้านหน้าโบสถ์ใกล้ประตูมีรูปทูตสวรรค์ ถือเปลือกหอย บรรจุน้ำเสก สำหรับผู้เข้า-ออกโบสถ์ ใช้ทำ สำคัญมหากางเขน ตั้งอยู่ทั้ง 2 ข้าง บริเวณเหนือหน้าต่างทุกบานจะมีกระจกสีช่องแสงสวยงาม เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับพระคัมภีร์เก่าและใหม่ ควบคู่กันไป มองจากภายนอกจะเห็นยอดสูง ซึ่งเป็นหอระฆัง บนยอดปักรูปกางเขนไว้ให้แลดูสง่างาม


โบสถ์หลังนี้ก่อสร้างด้วยการก่ออิฐ ถือปืนซึ่งเป็นลักษณะวิธีการก่อสร้างในสมัยนั้น มิใช่การทำเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กเช่นปัจจุบันนัยว่า ใช้เวลาก่อสร้างทั้งสิ้น 7 ปี เงินในการก่อสร้าง 7 หมื่น 7 พันบาท ได้ทำการเสกเมื่อเดือนตุลาคม [[ค.ศ. 1897]] ซึ่งในขณะนั้นมีสัตบุรุษ ชาย หญิงทั้งสิ้น ประมาฯ 600 คน<ref>วัดกาลหว่าร์ - Holy Rosary Church, หน้า 24</ref>
โบสถ์หลังนี้ก่อสร้างด้วยการก่ออิฐถือปูนซึ่งเป็นลักษณะวิธีการก่อสร้างในสมัยนั้น มิใช่การทำเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กเช่นปัจจุบันนัยว่า ใช้เวลาก่อสร้างทั้งสิ้น 7 ปี เงินในการก่อสร้าง 7 หมื่น 7 พันบาท ได้ทำการเสกเมื่อเดือนตุลาคม [[ค.ศ. 1897]] ซึ่งในขณะนั้นมีสัตบุรุษ ชาย หญิงทั้งสิ้น ประมาณ 600 คน<ref>วัดกาลหว่าร์ - Holy Rosary Church, หน้า 24</ref>


== ชื่อโบสถ์ ==
== ชื่อโบสถ์ ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 13:25, 25 กุมภาพันธ์ 2560

โบสถ์กาลหว่าร์
Holy Rosary Church
บริเวณด้านหน้าวัด มุมหันออกสู่แม่น้ำเจ้าพระยา
แผนที่
ที่ตั้งซอยวานิช 2 แขวงตลาดน้อย เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร
ประเทศไทย ประเทศไทย
นิกายโรมันคาทอลิก
ชื่อเดิมวัดแม่พระลูกประคำ
สถานะโบสถ์คริสต์
เหตุการณ์เป็นหนึ่งในโบสถ์กอทิกที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งที่สร้างขึ้นในกรุงเทพมหานคร
สถาปนิกนักบวชชาวโปรตุเกส
ประเภทสถาปัตย์กางเขนโรมัน
รูปแบบสถาปัตย์กอทิก[1][2]
ปีสร้างพ.ศ. 2330
ขนาดอื่น ๆยาว 50.65 เมตร กว้าง 23.03 เมตร[1]
วัสดุผนังรับน้ำหนัก

โบสถ์กาลหว่าร์ หรือ วัดแม่พระลูกประคำ (อังกฤษ: Holy Rosary Church) เป็นโบสถ์คริสต์นิกายโรมันคาทอลิก ทรงกอทิก ตั้งอยู่ที่ซอยวานิช 2 แขวงตลาดน้อย เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร โบสถ์แห่งนี้ไม่ใช่โบสถ์หลังแรก หากแต่เป็นโบสถ์หลังที่สาม ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อทดแทนโบสถ์หลังเดิมที่ถูกทิ้งร้างภายหลังเพลิงไหม้ใหญ่ในปี พ.ศ. 2407 โบสถ์ในปัจจุบันได้สร้างขึ้นโดยคุณพ่อแดซาลส์ ชาวฝรั่งเศส ในปี พ.ศ. 2434 ปัจจุบันโบสถ์มีอายุรวมแล้ว 132 ปี ถือเป็นโบสถ์ที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์

โบสถ์ได้รับการบูรณะใหญ่ในปี พ.ศ. 2500 ในสมัยที่คุณพ่ออาแมสตอย เป็นอธิการโบสถ์ และถือเป็นการฉลองครบ 60 ปีของโบสถ์กาลหว่าร์อีกด้วย การบูรณะครั้งล่าสุดคือในช่วงปี พ.ศ. 2526 - 2532 โดยมีบาทหลวงประวิทย์ พงษ์วิรัชไชย เป็นอธิการโบสถ์ในขณะนั้น[3] ปัจจุบัน โบสถ์กาลหว่าร์ได้ขึ้นทะเบียนอนุรักษ์เป็นโบราณสถานโดยกรมศิลปากรเป็นที่เรียบร้อยแล้ว[4]

โบสถ์แห่งนี้มีจุดเด่นที่สำคัญคือ รูปปั้น 2 รูปซึ่งเป็นสมบัติเก่าแก่ตั้งแต่การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง ได้แก่ "รูปแม่พระลูกประคำ" และ "รูปพระศพของพระเยซูเจ้า" โดยทั้งหมดนี้ยังคงเก็บรักษาและใช้ในพิธีกรรมทางศาสนาจนถึงปัจจุบันนี้[5]

อธิการโบสถ์องค์ปัจจุบันคือ บาทหลวงไพทูรย์ หอมจินดา[6]

ประวัติ

โบสถ์หลังแรก (1787-1837)

ชาวโปรตุเกสที่อยู่ ณ ค่ายแม่พระลูกประคำ ได้ทำการสร้างโบสถ์หลังแรกเสร็จในปี ค.ศ. 1787 ลักษณะเป็นแบบบ้านไม้หลังใหญ่ ยกพื้นสูงเพราะน้ำท่วมอยู่เสมอ ภายในเป็นห้องประชุมใหญ่ มีห้องชาคริสเตีย แและด้านข้างมีบ้านพักบาทหลวงขนาดน้อยหลังหนึ่ง[7] และในโบสถ์หลังนี้เอง ชาวโปรตุเกสได้นำรูปแม่พระลูกประคำที่นำมาด้วยจากกรุงศรีอยุธยา ประดิษฐานไว้ด้านหลังพระแท่น ส่วนรูปพระศพของพระเยซูเจ้านั้น ถูกเก็บไว้ในตู้ ปิดกุญแจ วางไว้ในห้องชาคริสเตีย (ห้องหลังโบสถ์) และจากพระรูปนี้เอง จึงเป็นที่มาของชื่อ "วัดกาลหว่าร์"[8]

ขณะนั้นมีคริสตังชาวโปรตุเกส 137 คน แต่ไม่มีบาทหลวงมาอยู่ประจำ มีเพียงบาทหลวงชาวฝรั่งเศสมาถวายมิสซาบ้างเป็นบางครั้ง เมื่อไม่มีบาทหลวงโปรตุเกสมาประจำอยู่ พวกเขาค่อย ๆ ยอมรับมุขนายกชาวฝรั่งเศสซึ่งได้รับการแต่งตั้งอย่างถูกต้องจากสมเด็จพระสันตะปาปา ดังนั้นพระคุณเจ้าฟลอรังส์ จึงเข้าปกครองโบสถ์กาลหว่าร์ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1822 เป็นต้นมา[9]

ต่อมาชาวโปรตุเกสจากค่ายแม่พระลูกประคำได้อพยพโยกย้ายไปทำมาหากินตามที่ต่าง ๆ ทำให้ลดจำนวนลงเรื่อยๆ จนแทบไม่หลงเหลืออยู่อีกต่อไป มีบาทหลวงชาวไทยมาทำมิสซาบ้างเป็นบางโอกาส

ในปี ค.ศ. 1820 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้พระราชทานที่ดินแปลงหนึ่งตั้งอยู่ใต้โบสถ์กาลหว่าร์ลงไปเล็กน้อย เพื่อตั้งกงสุลโปรตุเกส และในภายหลังได้กลายเป็น สถานเอกอัครราชทูตโปรตุเกส ในปัจจุบัน[10]

โบสถ์หลังที่สอง (1838-1890)

คุณพ่อ อัลบรังค์ มาถึงกรุงเทพฯ ในปี ค.ศ. 1815 ประจำอยู่ที่โบสถ์อัสสัมชัญ ท่านได้ติดต่อกับชาวจีนกลุ่มหนึ่ง และท่านได้ไปโปรดศีลล้างบาปให้ชาวจีนกลุ่มนั้นที่โบสถ์อัสสัมชัญ ต่อมาในปี ค.ศ. 1837 ท่านได้ย้ายไปอยู่ที่บ้านพักบาทหลวง ที่โบสถ์กาลหว่าร์ เพื่อความสะดวกในการดูแลคริสตังชาวจีน ที่ทำมาค้าขายอยู่ในบริเวณนี้ และ ณ ที่นี้เอง ท่านได้สร้างศาลาใหญ่ ทำด้วยไม้ไผ่มุงแฝก เพื่อเป็นที่สอนคำสอน แก่คริสตังใหม่ด้วย

ฯพณฯ กูรเวอซี่ ได้สั่งให้รื้อโบสถ์หลังแรก เพราะไม่สามารถซ่อมแซมได้แล้วและให้สร้างโบสถ์หลังที่ 2 เป็นเครื่องอิฐครึ่งไม้กำแพงอิฐสูงเท่าตัวคน ปิดชั้นบนด้วยเสาไม้เรียงกัน และได้ทำหอระฆังด้วยอิฐ ตั้งอยู่ใกล้ๆ แยกจากตัวโบสถ์ พระคุณเจ้าปาลกัว ซึ่งเป็นมุขนายกผู้ช่วยมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1833 ได้ทำพิธีเสกในวันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 1839 ซึ่งเป็นวันฉลองแม่พระลูกประคำ และตั้งชื่ออย่างเป็นทางการว่า "วัดแม่พระลูกประคำ"[11] ทำให้ชาวโปรตุเกสพอใจเป็นอย่างมาก เพราะรูปแม่พระลูกประคำของพวกเขาได้รับเกียรติให้เป็นอุปถัมภ์โบสถ์สืบมาจนทุกวันนี้

ส่วนรูปพระศพของพระเยซูเจ้านั้นก็ได้รับการเก็บรักษาไว้อย่างดี โดยจะนำมาแห่รอบโบสถ์ปีละ 1 ครั้ง ในวันศุกร์ศักดิ์สิทธิ์ เพื่อให้บรรดาสัตบุรุษได้กราบไหว้นมัสการ[12] และพิธีนี้ก็ยังคงกระทำติดต่อกันมาตลอดทุกปี จวบจนถึงปัจจุบัน

คุณพ่อดีอปองค์ รับหน้าที่แทนคุณพ่อ อัลบรังค์ ท่านออกไปประกาศศาสนาตามเมืองเล็กเมืองน้อยอยู่ประจำ และท่านปกครองดูแลทำงานเทศน์สอน อยู่ประมาณ 18 ปีก็ได้รับอภิเษกเป็นมุขนายกปกครองมิสซังในประเทศไทย

คุณพ่อดาเนียล ชาวฝรั่งเศส เข้ามาปกครองสืบต่อจากคุณพ่อดีอปองค์ ในปี ค.ศ. 1864 และในปีนี้เองเกิดเพลิงไหม้บ้านพักบาทหลวง ซึ่งได้ทำให้เกิดความเสียหายอย่างมากต่อเอกสารต่างๆ ของโบสถ์[13] ภายหลังเหตุการณ์ได้ 10 ปีคุณพ่อดาเนียลก็กลับฝรั่งเศส

คุณพ่อซาลาแด็ง ได้รับหน้าที่ต่อจากคุณพ่อดาเนียล ในปี ค.ศ. 1874 นับเป็นคุณพ่ออธิการโบสถ์องค์ที่ 4 ประจำอยู่ 4 ปี แล้วย้ายไปเป็นอธิการโบสถ์บางช้าง (อาสนวิหารแม่พระบังเกิด บางนกแขวก จังหวัดราชบุรี) จากนั้นก็มีคุณพ่อราบาร์แดล และคุณพ่อโฟก มารับช่วงตำแหน่งติดต่อกันองค์ละ 2 เดือน ตามลำดับ

ในโบสถ์หลังที่ 2 นี่เอง เจ้าหน้าที่สถานทูตโปรตุเกสจะมีที่นั่งสงวนไว้สำหรับพวกเขา เพราะเขาถือความสัมพันธ์ที่พวกเขามีอยู่อย่างแน่นแฟ้นกับชุมชนนี้ และธรรมเนียมนี้ก็ยังคงมีต่อมาแม้ในโบสถ์หลังที่ 3 คือหลังปัจจุบันก็ตาม และเป็นเช่นนี้จนกระทั่ง ภาษาไทย และภาษาจีน เข้ามาแทนที่ภาษาละติน จึงเลิกธรรมเนียมนี้ไป[14]

โบสถ์หลังที่ 3 (1897 -)

ในปี ค.ศ. 1879 คุณพ่อเดสซาลส์ มาปกครองโบสถ์กาลหว่าร์ ได้พยายามบูรณะซ่อมแซมโบสถ์หลังที่ 2 แต่ก็สุดที่จะกระทำได้ เพราะชำรุดทรุดโทรมมาก จึงได้ทำการรื้อเมื่อปี ค.ศ. 1890 และย้ายไปทำมิสซาที่ตึกบริเวณโบสถ์แทน ระหว่างนั้นเองคุณพ่อได้พยายามวิ่งเต้นเพื่อหาเงินจัดสร้างใหม่ขึ้นแทน

ความพยายามของท่านก็สัมฤทธิ์ผลเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม ค.ศ. 1891 ตรงกับวันฉลองแม่พระลูกประคำ มีพระคุณเจ้าฌอง หลุยส์ เวย์ ได้กระทำพิธีเสกศิลาฤกษ์

การก่อสร้างโบสถ์หลังใหม่ ซึ่งวางโครงสร้างอย่างถาวร มีความโออ่า ด้วยสถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอทิก เป็นรูปกางเขนโรมันหันหน้าลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณพระแท่นหรือสถานที่ศักดิ์สิทธิ์นั้นอยู่ด้านในสุดของโบสถ์ เป็นที่ตั้งของพระแท่นหินอ่อน เหนือพระแท่นมีพระรูปจำลองขนาดใหญ่ของแม่พระและพระกุมาร และกำลังมอบสายประคำให้นักบุญดอมินิก และนักบุญกาเตรีนาแห่งซีเอนา ถัดมาทางมุขด้านหน้าบริเวณพระแท่นนั้นมีพระแท่นเล็กตั้งไว้ตรงกันในมุข 2 ด้าน โดยบริเวณเหนือพระแท่นเล็กด้านใต้ เป็นพระรูปพระหฤทัยของพระเยซู และด้านเหนือเป็นรูปนักบุญโยเซฟ

นอกจากนั้นตามผนังยังมีรูปปั้นนักบุญต่างๆ และรูป 14 ภาค แขวนไว้โดยรอบด้านหน้าโบสถ์ใกล้ประตูมีรูปทูตสวรรค์ ถือเปลือกหอย บรรจุน้ำเสก สำหรับผู้เข้า-ออกโบสถ์ ใช้ทำ สำคัญมหากางเขน ตั้งอยู่ทั้ง 2 ข้าง บริเวณเหนือหน้าต่างทุกบานจะมีกระจกสีช่องแสงสวยงาม เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับพระคัมภีร์เก่าและใหม่ ควบคู่กันไป มองจากภายนอกจะเห็นยอดสูง ซึ่งเป็นหอระฆัง บนยอดปักรูปกางเขนไว้ให้แลดูสง่างาม

โบสถ์หลังนี้ก่อสร้างด้วยการก่ออิฐถือปูนซึ่งเป็นลักษณะวิธีการก่อสร้างในสมัยนั้น มิใช่การทำเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กเช่นปัจจุบันนัยว่า ใช้เวลาก่อสร้างทั้งสิ้น 7 ปี เงินในการก่อสร้าง 7 หมื่น 7 พันบาท ได้ทำการเสกเมื่อเดือนตุลาคม ค.ศ. 1897 ซึ่งในขณะนั้นมีสัตบุรุษ ชาย หญิงทั้งสิ้น ประมาณ 600 คน[15]

ชื่อโบสถ์

"กาลหว่าร์" น่าจะมาจากคำว่า กัลวารีโอ เนินเขาที่ทำการตรึงพระเยซูที่กางเขนนั่นเอง[16]

ระเบียงภาพ

ด้านหน้าทางเข้าโบสถ์ ยามดึก
มุมข้าง
ด้านหน้าโบสถ์
โบสถ์ในช่วงอุทกภัยประเทศไทย
ภายในโบสถ์เมื่อมองจากทางเข้า
ภายในโบสถ์เมื่อมองสู่ทางเข้า

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 โบสถ์คาทอลิกในภาคกลางและภาคตะวันออกของประเทศไทย ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ถึงพุทธศักราช 2547, วัลย์ แสงลิ้มสุวรรณ
  2. โบสถ์แม่พระลูกประคำ (กาลหว่าร์) กรุงเทพมหานคร
  3. วัดแม่พระลูกประคำ กาลหว่าร์
  4. โบสถ์กาลหว่าร์ (Unseen in Bangkok)
  5. โบสถ์แม่พระลูกประคำ (กาลหว่าร์) กรุงเทพมหานคร
  6. วัดแม่พระลูกประคำ กาลหว่าร์
  7. วัดกาลหว่าร์ - Holy Rosary Church, หน้า 18
  8. วัดกาลหว่าร์ - Holy Rosary Church, หน้า 19
  9. วัดกาลหว่าร์ - Holy Rosary Church, หน้า 20
  10. วัดกาลหว่าร์ - Holy Rosary Church, หน้า 20
  11. วัดกาลหว่าร์ - Holy Rosary Church, หน้า 21
  12. วัดกาลหว่าร์ - Holy Rosary Church, หน้า 22
  13. วัดกาลหว่าร์ - Holy Rosary Church, หน้า 23
  14. วัดกาลหว่าร์ - Holy Rosary Church, หน้า 23
  15. วัดกาลหว่าร์ - Holy Rosary Church, หน้า 24
  16. วัดกาลหว่าร์ - Holy Rosary Church, หน้า 22

ดูเพิ่ม