ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ละครจักร ๆ วงศ์ ๆ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Kheamjid (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 21: บรรทัด 21:


[[หมวดหมู่:ละครโทรทัศน์ไทย]]
[[หมวดหมู่:ละครโทรทัศน์ไทย]]
[[หมวดหมู่:รายชื่อละครจักร ๆ วงศ์ ๆ]]
[[หมวดหมู่:ละครจักร ๆ วงศ์ ๆ| ]]
[[หมวดหมู่:ละครจักร ๆ วงศ์ ๆ| ]]
{{โครงบันเทิง}}
{{โครงบันเทิง}}

รุ่นแก้ไขเมื่อ 04:30, 22 กุมภาพันธ์ 2560

พระสุธน-มโนราห์

ละครจักร ๆ วงศ์ ๆ เป็นชื่อเรียกละครโทรทัศน์ไทย ที่ว่ากันว่าเกือบทั้งหมดมาจากนิทานพื้นบ้าน เล่ากันแบบปากต่อปากหรือมุขปาฐะ จะแตกต่างกันในรายละเอียดที่คนเล่าสอดแทรกสิ่งที่ตัวเองรู้ในแต่ละท้องถิ่น มักมีโครงเรื่องคล้าย ๆ กัน เช่น เจ้าชาย พลัดพรากจากบ้านเมือง ต้องออกเดินทางผจญภัย พบนางเอก และต่อสู่กับตัวร้ายซึ่งส่วนมากก็คือยักษ์ หรืออาจมีเนื้อหาประมาณ พระเอกถูกใส่ร้ายเป็นตัวกาลีบ้านกาลีเมือง จำเป็นต้องถูกเนรเทศเข้าป่า ได้ไปเรียนวิชากับพระอาจารย์หรือฤๅษี เจอกับนางเอก กลับมากอบกู้บ้านเมือง[1] กล่าวคือมีเนื้อหา "เรียนวิชา-ฆ่ายักษ์-ลักนาง" เป็นส่วนใหญ่[2]

ในสมัยก่อนจะทำเป็นภาพยนตร์ เรียกว่า หนังจักร ๆ วงศ์ ๆ ใช้ฟิล์ม 16 มม. แต่ต่อมาเปลี่ยนมาเป็นการอัดวิดีโอ และเปลี่ยนมาเป็นละครจักร ๆ วงศ์ ๆ ทางโทรทัศน์ แล้วจึงมาเป็นละครพื้นบ้าน ซึ่งเป็นละครลักษณะเดียวกัน ละครจักร ๆ วงศ์ ๆ ที่มีชื่อเสียงเช่น สิงหไกรภพ, สังข์ทอง, จันทโครพ, แก้วหน้าม้า, ขวานฟ้าหน้าดำ, หลวิชัย-คาวี, สี่ยอดกุมาร, สุพรรณหงส์, นกกระจาบ, พระรถเมรี, นางสิบสอง, บัวแก้วบัวทอง, เกราะเพชรเจ็ดสี, ดาบเจ็ดสี มณีเจ็ดแสง, มณีนพเก้า, พิกุลทอง, โสนน้อยเรือนงาม, เทพศิลป์ อินทรจักร, กุลาแสนสวย, เกราะกายสิทธิ์, บัวแก้วจักรกรด, เทพสามฤดู, โกมินทร์, เทพสังวาลย์, ปลาบู่ทอง, โกมินทร์ ตุ๊กตาทอง ฯลฯ[1]

ในปัจจุบัน ดีด้า วิดีโอ โปรดักชั่น เป็นผู้ผลิตละครค่ายเดียวเท่านั้นที่ผลิตละครจักร ๆ วงศ์ ๆ ผ่านทางช่อง 7 โดยผลิตในนามของสามเศียร มีนักแสดงเช่น โฟน ฆธาวุธ ปิ่นทอง, แยม ศิริวัฒนา เบญจมาธิกุล (ปัจจุบัน เปลี่ยนชื่อเป็น รุ้งรดา เบญจมาธิกุล , ธมลพรรณ์ ภานุชิตพุทธิวงศ์), เจมส์ เลอสรรค์ คงเจริญ, อ้อม ประถมาภรณ์ รัตนภักดี, อ้น รติพงษ์ ภู่มาลี, ต้น วรนันท์ พร้อมมูล, มายด์ ธารธารา รุ่งเรือง, การ์ตูน กนกวรรณ งามทรัพย์มณี[1] [3]

ในสมัยนั้นในช่วงที่มีการแข่งขันในด้านละครจักร ๆ วงศ์ ๆ มีคู่แข่งทั้ง 7 ช่องรายการ เช่น สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 สถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย สถานีโทรทัศน์ไอทีวี สถานีโทรทัศน์ทีไอทีวี และ สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส มักจะแข่งขันกันที่เวลา ฐานการรับชม และ การออกอากาศ เป็นส่วนใหญ่ ในปัจจุบันนี้ ช่อง 3 ช่อง 5 ช่อง 9 ช่อง 11 ช่อง NBT ไอทีวี ทีไอทีวี และ ไทยพีบีเอส ยุติการออกอากาศละคร จักร์ ๆ วงศ์ ๆ แล้วสาเหตุมาจากฐานการรับชมมีน้อย

เกร็ดข้อมูล

  • นักแสดงละครจักร ๆ วงศ์ ๆ ที่สร้างสีสันให้กับละครทุกเรื่อง คือ น้าผี ซึ่งจะพบได้เป็นบางเรื่อง และเสียงประจำตัวละครคือ เสียงระนาด ซึ่งเป็นเสียงการขยับของโครงกระดูกจนมีเสียงระนาดขึ้น นอกจากนั้น น้าผีมักจะใช้ใบบัวใบใหญ่แทนการใช้ร่ม เป็นตัวละครให้เพิ่มสีสันให้ผู้ชม[ต้องการอ้างอิง]

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 1.2 40 ปี ละครจักร ๆ วงศ์ ๆ บนเส้นทางที่แปรเปลี่ยน
  2. ปรากฏการณ์"พระทิณวงศ์" ละครจักร ๆ วงศ์ ๆ ที่เริ่มจะไม่ใช่นิทาน matichon.co.th
  3. แต่เดิมการผลิตละครจักร ๆ วงศ์ ๆ ของสามเศียร จะผลิตโดยดาราวิดีโอ โดยละครจักร ๆ วงศ์ ๆ เรื่องสุดท้ายที่ดาราวิดีโอผลิตในนามสามเศียรคือละครเรื่อง ดาบเจ็ดสี มณีเจ็ดแสง หลังจากนั้นดีด้า วิดีโอ โปรดักชั่นจึงได้เข้ามาผลิตละครจักร ๆ วงศ์ ๆ ต่อ โดยผลิตละครเรื่องแรกออกมาออกคือเรื่อง เทพศิลป์ อินทรจักร ซึ่งการโอนการผลิตครั้งนี้เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2542

แหล่งข้อมูลอื่น