ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ซีเกมส์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Kheamjid (คุย | ส่วนร่วม)
Kheamjid (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 123: บรรทัด 123:
|12||N/A||6||518
|12||N/A||6||518
|align=center| [http://www.seagfoffice.org/games.php?y=1]
|align=center| [http://www.seagfoffice.org/games.php?y=1]
|- bgcolor="#DCDCDC"
|- brcolor="#DCDCDC"
|2 || [[กีฬาแหลมทอง 1961|กีฬาแหลมทอง 1961]] ([[พ.ศ. 2504]]) ||[[ย่างกุ้ง]]|| {{flagicon|Burma|1948}} [[พม่า]] || {{flagicon|Burma|1948}} [[พม่า]] (35) || {{THA}} (21) || {{flagicon|Malaya}} [[มลายา]] (16)
|2 || [[กีฬาแหลมทอง 1961|กีฬาแหลมทอง 1961]] ([[พ.ศ. 2504]]) ||[[ย่างกุ้ง]]|| {{flagicon|Burma|1948}} [[พม่า]] || {{flagicon|Burma|1948}} [[พม่า]] (35) || {{THA}} (21) || {{flagicon|Malaya}} [[มลายา]] (16)
|13||N/A||7|| 623
|13||N/A||7|| 623
|align=center| [http://www.seagfoffice.org/games.php?y=2]
|align=center| [http://www.seagfoffice.org/games.php?y=2]
|- bgcolor="#DCDCDC"
| || [[กีฬาแหลมทอง 1963]] ([[พ.ศ. 2506]]) || [[พนมเปญ]] || {{CAM}} ||colspan=8 align="center"|
|-
|-
| || [[กีฬาแหลมทอง 1963]] ([[พ.ศ. 2506]]) || [[กัวลาลัมเปอร์]] || {{CAM}} ||colspan=8 align="center"|
| || [[กีฬาแหลมทอง 1963]] ([[พ.ศ. 2506]]) || [[กัวลาลัมเปอร์]] || {{CAM}} ||colspan=8 align="center"|

รุ่นแก้ไขเมื่อ 04:05, 22 กุมภาพันธ์ 2560

แหลมทอง
ชื่อย่อSEAP Games
ก่อตั้งครั้งที่ 1 ที่กรุงเทพมหานคร
ไทย ประเทศไทย
จัดขึ้นทุก2 ปี
ครั้งล่าสุดครั้งที่ 8 ที่ ไทย กรุงเทพมหานคร
วัตถุประสงค์กีฬาสำหรับภูมิภาค
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ซีเกมส์
สัญลักษณ์การแข่งขันซีเกมส์ โดยในปัจจุบันมี 11 ห่วง ซึ่งหมายถึง 10 ประเทศในสมาชิกอาเซียน และ 1 ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ชื่อย่อSEA Games
ก่อตั้งครั้งที่ 9 ที่กัวลาลัมเปอร์
มาเลเซีย ประเทศมาเลเซีย
จัดขึ้นทุก2 ปี
ครั้งล่าสุดครั้งที่ 28 ที่ สิงคโปร์ สิงคโปร์
วัตถุประสงค์กีฬาสำหรับภูมิภาค
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เว็บไซต์ซีเกมส์
สมาพันธ์กีฬาแห่ง
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
South-East Asian
Games Federation
ไฟล์:Seagf.png
ธงของสมาพันธ์ซีเกมส์
ประเทศสมาชิกแสดงด้วยสีเขียวบนแผนที่
ชื่อย่อSEAGF
ก่อตั้ง26 มิถุนายน พ.ศ. 2504
(ค.ศ. 1961; 62 ปีมาแล้ว)
ประเภทสมาพันธ์กีฬา
วัตถุประสงค์จัดแข่งขันกีฬาสำหรับภูมิภาค
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
สํานักงานใหญ่154 สนามกีฬาแห่งชาติ
ถนนพระรามที่ 1 แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
ภูมิภาคที่รับผิดชอบ
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
สมาชิก
11 คณะกรรมการ
โอลิมปิกแห่งชาติ
ภาษาทางการ
อังกฤษ อังกฤษ
ประธาน
พลเอก ยุทธศักดิ์ ศศิประภา
องค์กรปกครอง
คณะกรรมการโอลิมปิกสากล
สภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย
เว็บไซต์สมาพันธ์ซีเกมส์

ซีเกมส์ (อังกฤษ: South-East Asian Games; ชื่อย่อ: SEA Games) เป็นการแข่งขันกีฬาระหว่างกลุ่มประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งมีการจัดขึ้นในทุกสองปี (ปีเว้นปี) ดำเนินการแข่งขันโดยสมาพันธ์กีฬาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (South-East Asian Games Federation; SEAGF) ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการโอลิมปิกสากล (International Olympic Committee; IOC) และสภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย (Olympic Council of Asia; OCA)

ประวัติ

เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2501 (ค.ศ. 1958) องค์กรการกีฬา ของประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 3 ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงโตเกียวของญี่ปุ่น ร่วมกันจัดการประชุม เพื่อก่อตั้งองค์กรการกีฬาในระดับภูมิภาค โดยหลวงสุขุมนัยประดิษฐ์ อดีตรองประธานคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทย และผู้ก่อตั้งองค์การส่งเสริมกีฬาแห่งประเทศไทย (ปัจจุบันคือ การกีฬาแห่งประเทศไทย) เสนอว่าควรจัดการแข่งขันกีฬา ระหว่างประเทศในกลุ่มเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อสนับสนุนความเข้าใจ และความสัมพันธ์อันดีต่อกัน

สหพันธ์กีฬาแหลมทอง (SEAP Games Federation) จึงถือกำเนิดขึ้น โดยมีคณะกรรมการสมาชิกผู้ก่อตั้งประกอบด้วย ไทย ประเทศไทย สหพันธรัฐมาลายา มลายา เวียดนาม เวียดนามใต้ ลาว ราชอาณาจักรลาว ประเทศพม่า พม่า และ กัมพูชา ราชอาณาจักรกัมพูชา (หลังจากนั้น สิงคโปร์ สิงคโปร์ เข้าร่วมเป็นสมาชิกด้วย) โดยตกลงร่วมกันว่า จะจัดการแข่งขันกีฬาระหว่างภูมิภาคขึ้นในทุกสองปี คือกีฬาแหลมทอง (Southeast Asian Peninsular Games) หรือ เซียปเกมส์ (SEAP Games) ครั้งที่ 1 จัดขึ้นที่กรุงเทพมหานครของไทย ระหว่างวันที่ 12 - 17 ธันวาคม พ.ศ. 2502 (ค.ศ. 1959) โดยมีเจ้าหน้าที่และนักกีฬา จากประเทศไทย มลายา สิงคโปร์ เวียดนามใต้ ลาว และพม่า เข้าร่วมการแข่งขันกีฬา 12 ชนิด รวมทั้งสิ้น 527 คน สำหรับกัมพูชา เข้าร่วมการแข่งขันเป็นครั้งแรก ในกีฬาแหลมทอง ครั้งที่ 2 เมื่อปี พ.ศ. 2504 (ค.ศ. 1961)

จากนั้นในปี พ.ศ. 2520 (ค.ศ. 1977) สมาพันธ์กีฬาแหลมทองประกาศเปลี่ยนชื่อเป็น สมาพันธ์กีฬาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเปลี่ยนชื่อการแข่งขันเป็น ซีเกมส์ ดังที่ใช้มาจนถึงปัจจุบัน พร้อมทั้งมีมติให้ อินโดนีเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ฟิลิปปินส์ และ บรูไน บรูไน เข้าเป็นสมาชิกและกรรมการสมาพันธ์อย่างเป็นทางการ จึงได้สิทธิเข้าร่วมการแข่งขันครั้งที่ 9 ที่กัวลาลัมเปอร์ของมาเลเซีย เป็นครั้งแรกด้วย และในปี พ.ศ. 2546 (ค.ศ. 2003) สมาพันธ์ฯ มีมติให้ ติมอร์-เลสเต ติมอร์-เลสเต เข้าร่วมการแข่งขันเป็นครั้งแรกในซีเกมส์ครั้งที่ 22 ที่ฮานอยของเวียดนาม

สำนักงาน

สมาพันธ์กีฬาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีสำนักงานตั้งอยู่เลขที่ 154 กรีฑาสถานแห่งชาติ ถนนพระรามที่ 1 แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย และประกอบพิธีเปิดเมื่อปี พ.ศ. 2552 (ค.ศ. 2009) ในวาระครบรอบ 48 ปีของซีเกมส์ โดยนับตั้งแต่การแข่งขันกีฬาแหลมทองเป็นต้นมา

ประเทศสมาชิก

ประเทศ/ชื่อตั้งโดยไอโอซี พ.ศ.ที่เข้าร่วม รหัสไอโอซี หมายเหตุ
ธงของประเทศกัมพูชา กัมพูชา
2504
CAM
กัมพูชา 2513 - 2518
กัมพูชา 2518 - 2522
กัมพูชา 2522 - 2532
กัมพูชา 2532 - 2534
กัมพูชา 2535 - 2536
ธงของประเทศลาว ลาว (ชื่อตั้งโดยไอโอซี: สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว)
2504
LAO
ลาว 2495 - 2518
ธงของประเทศมาเลเซีย มาเลเซีย
2504
MAS
สหพันธรัฐมาลายา 2493 - 2506
ธงของประเทศพม่า พม่า
2504
MYA
ประเทศพม่า 2491 - 2517
ประเทศพม่า 2517 - 2553
ประเทศพม่า 2491 - 2535
ธงของประเทศสิงคโปร์ สิงคโปร์
2504
SIN
สิงคโปร์ 2489 - 2502
 ไทย
2504
THA
-
ธงของประเทศเวียดนาม เวียดนาม
2504
VIE
เวียดนาม 2489 - 2519
ธงของประเทศบรูไนดารุสซาลาม บรูไน (ชื่อตั้งโดยไอโอซี: บรูไนดารุสซาลาม)
2520
BRU
-
ธงของประเทศอินโดนีเซีย อินโดนีเซีย
2520
INA
อินโดนีเซีย (2495)
รหัสฟีฟ่า: อินโดนีเซีย
ธงของประเทศฟิลิปปินส์ ฟิลิปปินส์
2520
PHI
ฟิลิปปินส์ 2462 - 2524 / 2529 - 2541
ฟิลิปปินส์ 2524 - 2529
 ติมอร์-เลสเต
2546
TLS
นักกีฬาโอลิมปิกเฉพาะบุคคล
ในโอลิมปิกฤดูร้อน 2000

ชนิดกีฬา

แม่แบบ:กีฬาในซีเกมส์

การจัดแข่งขัน

เมืองที่เป็นเจ้าภาพสูงสุดถึง 2 ครั้งคือ กรุงกัวลาลัมเปอร์ของมาเลเซีย ในปี พ.ศ. 2508 และ 2514 โดยนครหลวงที่เป็นเจ้าภาพมาแล้ว 4 ครั้งมีถึง 3 เมืองคือ กรุงเทพมหานครของไทย (พ.ศ. 2502, 2510 และ 2518), สิงคโปร์ (พ.ศ. 2516) และ ส่วนกรุงย่างกุ้งของพม่า เคยเป็นเจ้าภาพมาสองครั้ง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2504 และ 2512 กรุงพนมเปญของกัมพูชา เคยได้รับเลือกเป็นเจ้าภาพเมื่อปี พ.ศ. 2506 แต่เนื่องจากปัญหาภายในประเทศ ก่อนแข่งขันจึงต้องประกาศยกเลิกไป

ครั้งที่ การแข่งขัน เจ้าภาพ จำนวนเหรียญทอง ชนิดกีฬา นักกีฬา (คน) ชาติเข้าร่วม รอบแข่งขัน อ้างอิง
เมือง ประเทศ อันดับ 1 อันดับ 2 อันดับ 3
กีฬาแหลมทอง (SEAP Games)
1 กีฬาแหลมทอง 1959 (พ.ศ. 2502) กรุงเทพมหานคร  ไทย  ไทย (35) ประเทศพม่า พม่า (11) สหพันธรัฐมาลายา มลายา (8) 12 N/A 6 518 [1]
2 กีฬาแหลมทอง 1961 (พ.ศ. 2504) ย่างกุ้ง ประเทศพม่า พม่า ประเทศพม่า พม่า (35)  ไทย (21) สหพันธรัฐมาลายา มลายา (16) 13 N/A 7 623 [2]
กีฬาแหลมทอง 1963 (พ.ศ. 2506) พนมเปญ ธงของประเทศกัมพูชา กัมพูชา
กีฬาแหลมทอง 1963 (พ.ศ. 2506) กัวลาลัมเปอร์ ธงของประเทศกัมพูชา กัมพูชา
3 กีฬาแหลมทอง 1965 (พ.ศ. 2508) กัวลาลัมเปอร์ ธงของประเทศมาเลเซีย มาเลเซีย  ไทย (38) ธงของประเทศมาเลเซีย มาเลเซีย (33)  สิงคโปร์ (18) 14 N/A 6 963 [3]
4 กีฬาแหลมทอง 1967 (พ.ศ. 2510) กรุงเทพมหานคร  ไทย  ไทย (77)  สิงคโปร์ (28) ธงของประเทศมาเลเซีย มาเลเซีย (23) 16 N/A 6 984 [4]
5 กีฬาแหลมทอง 1969 (พ.ศ. 2512) ย่างกุ้ง ประเทศพม่า พม่า ประเทศพม่า พม่า (57)  ไทย (32)  สิงคโปร์ (31) 15 N/A 6 920 [5]
6 กีฬาแหลมทอง 1971 (พ.ศ. 2514) กัวลาลัมเปอร์ ธงของประเทศมาเลเซีย มาเลเซีย  ไทย (44) ธงของประเทศมาเลเซีย มาเลเซีย (41)  สิงคโปร์ (32) 15 N/A 7 957 [6]
7 กีฬาแหลมทอง 1973 (พ.ศ. 2516) สิงคโปร์ ธงของประเทศสิงคโปร์ สิงคโปร์  ไทย (47)  สิงคโปร์ (45) ธงของประเทศมาเลเซีย มาเลเซีย (30) 16 N/A 7 1632 [7]
8 กีฬาแหลมทอง 1975 (พ.ศ. 2518) กรุงเทพมหานคร  ไทย  ไทย (80)  สิงคโปร์ (38) ประเทศพม่า พม่า (28) 18 N/A 4 1142 [8]

เมืองที่เป็นเจ้าภาพสูงสุดถึง 4 ครั้งคือ กรุงกัวลาลัมเปอร์ของมาเลเซีย ในปี พ.ศ. 2520, 2532, 2544 และ 2560 โดยนครหลวงที่เป็นเจ้าภาพมาแล้ว 1 ครั้งมีถึง 7 เมืองคือ กรุงเทพมหานครของไทย (พ.ศ. 2528), กรุงจาการ์ตาของอินโดนีเซีย (พ.ศ. 2522, 2530, 2540 และ 2554 ร่วมกับเมืองปาเล็มบัง), สิงคโปร์ (พ.ศ. 2526, 2536 และ 2558), กรุงฮานอยของเวียดนาม (พ.ศ. 2564 ร่วมกับเมืองนครโฮจิมินห์) และกรุงมะนิลาของฟิลิปปินส์ (พ.ศ. 2524, 2534, 2548 และ 2562) ส่วนกรุงย่างกุ้งของพม่า เคยเป็นเจ้าภาพมาสองครั้ง ตั้งแต่ส่วนการแข่งขันในปี พ.ศ. 2556 เมียนมายังคงจัดที่นครหลวง แต่หลังจากประกาศย้ายไปยังกรุงเนปยีดอ และเปลี่ยนชื่อประเทศไปเมื่อปี พ.ศ. 2553

ขณะที่เวียดนามให้กรุงฮานอยและนครโฮจิมินห์ เป็นเจ้าภาพร่วมกันเมื่อปี พ.ศ. 2546 อนึ่ง ส่วนกรุงบันดาร์เซอรีเบอกาวันของบรูไน (พ.ศ. 2542), กรุงพนมเปญของกัมพูชา (พ.ศ. 2566) และนครหลวงเวียงจันทน์ของ สปป.ลาว (พ.ศ. 2552) เคยเป็นเจ้าภาพมาแล้วเมืองละหนึ่งครั้ง สำหรับกรณีประเทศไทย การแข่งขันในปี พ.ศ. 2538 จัดขึ้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นซีเกมส์ครั้งแรก ที่จัดแข่งขันนอกนครหลวง เมื่อปี พ.ศ. 2550 จัดขึ้นที่จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งเป็นซีเกมส์ครั้งที่สอง

ครั้งที่ การแข่งขัน เจ้าภาพ จำนวนเหรียญทอง ชนิดกีฬา นักกีฬา (คน) ชาติเข้าร่วม รอบแข่งขัน อ้างอิง
เมือง ประเทศ อันดับ 1 อันดับ 2 อันดับ 3
ซีเกมส์ (SEA Games)
9 ซีเกมส์ 1977 (พ.ศ. 2520) กัวลาลัมเปอร์ ธงของประเทศมาเลเซีย มาเลเซีย ธงของประเทศอินโดนีเซีย อินโดนีเซีย (62)  ไทย (37) ฟิลิปปินส์ ฟิลิปปินส์ (31) 18 N/A 7 N/A [9]
10 ซีเกมส์ 1979 (พ.ศ. 2522) จาการ์ตา ธงของประเทศอินโดนีเซีย อินโดนีเซีย ธงของประเทศอินโดนีเซีย อินโดนีเซีย (92)  ไทย (50) ประเทศพม่า พม่า (26) 18 N/A 7 N/A [10]
11 ซีเกมส์ 1981 (พ.ศ. 2524) มะนิลา ฟิลิปปินส์ ฟิลิปปินส์ ธงของประเทศอินโดนีเซีย อินโดนีเซีย (85)  ไทย (62) ฟิลิปปินส์ ฟิลิปปินส์ (55) 18 N/A 7 ≈1800 [11]
12 ซีเกมส์ 1983 (พ.ศ. 2526) สิงคโปร์ ธงของประเทศสิงคโปร์ สิงคโปร์ ธงของประเทศอินโดนีเซีย อินโดนีเซีย (64) ฟิลิปปินส์ ฟิลิปปินส์ (49)  ไทย (49) 18 N/A 8 N/A [12]
13 ซีเกมส์ 1985 (พ.ศ. 2528) กรุงเทพมหานคร  ไทย  ไทย (92) ธงของประเทศอินโดนีเซีย อินโดนีเซีย (62) ฟิลิปปินส์ ฟิลิปปินส์ (43) 18 N/A 8 N/A [13]
14 ซีเกมส์ 1987 (พ.ศ. 2530) จาการ์ตา ธงของประเทศอินโดนีเซีย อินโดนีเซีย ธงของประเทศอินโดนีเซีย อินโดนีเซีย (183)  ไทย (63) ฟิลิปปินส์ ฟิลิปปินส์ (59) 26 N/A 8 N/A [14]
15 ซีเกมส์ 1989 (พ.ศ. 2532) กัวลาลัมเปอร์ ธงของประเทศมาเลเซีย มาเลเซีย ธงของประเทศอินโดนีเซีย อินโดนีเซีย (102) ธงของประเทศมาเลเซีย มาเลเซีย (67)  ไทย (62) 24 N/A 9 ≈2800 [15]
16 ซีเกมส์ 1991 (พ.ศ. 2534) มะนิลา ฟิลิปปินส์ ฟิลิปปินส์ ธงของประเทศอินโดนีเซีย อินโดนีเซีย (92) ฟิลิปปินส์ ฟิลิปปินส์ (90)  ไทย (72) 28 N/A 9 N/A [16]
17 ซีเกมส์ 1993 (พ.ศ. 2536) สิงคโปร์ ธงของประเทศสิงคโปร์ สิงคโปร์ ธงของประเทศอินโดนีเซีย อินโดนีเซีย (88)  ไทย (63) ฟิลิปปินส์ ฟิลิปปินส์ (57) 29 N/A 9 ≈3000 [17]
18 ซีเกมส์ 1995 (พ.ศ. 2538) เชียงใหม่ 1  ไทย  ไทย (157) ธงของประเทศอินโดนีเซีย อินโดนีเซีย (77) ฟิลิปปินส์ ฟิลิปปินส์ (33) 28 N/A 10 3262 [18]
19 ซีเกมส์ 1997 (พ.ศ. 2540) จาการ์ตา ธงของประเทศอินโดนีเซีย อินโดนีเซีย ธงของประเทศอินโดนีเซีย อินโดนีเซีย (194)  ไทย (83) ธงของประเทศมาเลเซีย มาเลเซีย (55) 36 490 10 5179 [19]
20 ซีเกมส์ 1999 (พ.ศ. 2542) บันดาร์เซอรีเบอกาวัน ธงของประเทศบรูไนดารุสซาลาม บรูไน  ไทย (65) ธงของประเทศมาเลเซีย มาเลเซีย (57) ธงของประเทศอินโดนีเซีย อินโดนีเซีย (44) 21 490 10 ≈5000 [20]
21 ซีเกมส์ 2001 (พ.ศ. 2544) กัวลาลัมเปอร์ ธงของประเทศมาเลเซีย มาเลเซีย ธงของประเทศมาเลเซีย มาเลเซีย (111)  ไทย (103) ธงของประเทศอินโดนีเซีย อินโดนีเซีย (72) 32 490 10 4165 [21]
22 ซีเกมส์ 2003 (พ.ศ. 2546) ฮานอยและนครโฮจิมินห์ 2 ธงของประเทศเวียดนาม เวียดนาม ธงของประเทศเวียดนาม เวียดนาม (158)  ไทย (90) ธงของประเทศอินโดนีเซีย อินโดนีเซีย (55) 33 N/A 11 ≈5000 [22]
23 ซีเกมส์ 2005 (พ.ศ. 2548) มะนิลา3 ธงของประเทศฟิลิปปินส์ ฟิลิปปินส์ ธงของประเทศฟิลิปปินส์ ฟิลิปปินส์ (113)  ไทย (87) ธงของประเทศเวียดนาม เวียดนาม (71) 40 393 11 5336 [23]
24 ซีเกมส์ 2007 (พ.ศ. 2550) นครราชสีมา4  ไทย  ไทย (183) ธงของประเทศมาเลเซีย มาเลเซีย (68) ธงของประเทศเวียดนาม เวียดนาม (64) 43 436 11 5282 [24]
25 ซีเกมส์ 2009 (พ.ศ. 2552) เวียงจันทน์ ธงของประเทศลาว ลาว  ไทย (86) ธงของประเทศเวียดนาม เวียดนาม (83) ธงของประเทศอินโดนีเซีย อินโดนีเซีย (43) 29 372 11 3100 [25]
26 ซีเกมส์ 2011 (พ.ศ. 2554) ปาเล็มบังและจาการ์ตา ธงของประเทศอินโดนีเซีย อินโดนีเซีย ธงของประเทศอินโดนีเซีย อินโดนีเซีย (182)  ไทย (109) ธงของประเทศเวียดนาม เวียดนาม (96) 44 545 11 ≈5000 [26]
27 ซีเกมส์ 2013 (พ.ศ. 2556) เนปยีดอ ธงของประเทศพม่า พม่า  ไทย (107) ธงของประเทศพม่า พม่า (86) ธงของประเทศเวียดนาม เวียดนาม (73) 37 460 11 4730 [27]
28 ซีเกมส์ 2015 (พ.ศ. 2558) สิงคโปร์ ธงของประเทศสิงคโปร์ สิงคโปร์  ไทย (95) ธงของประเทศสิงคโปร์ สิงคโปร์ (84) ธงของประเทศเวียดนาม เวียดนาม (73) 36 402 11 4370 [28]
29 ซีเกมส์ 2017 (พ.ศ. 2560) กัวลาลัมเปอร์ ธงของประเทศมาเลเซีย มาเลเซีย ยังไม่แข่งขัน
30 ซีเกมส์ 2019 (พ.ศ. 2562) มะนิลา ธงของประเทศฟิลิปปินส์ ฟิลิปปินส์ ยังไม่แข่งขัน
31 ซีเกมส์ 2021 (พ.ศ. 2564) ฮานอย ธงของประเทศเวียดนาม เวียดนาม ยังไม่แข่งขัน
32 ซีเกมส์ 2023 (พ.ศ. 2566) พนมเปญ ธงของประเทศกัมพูชา กัมพูชา ยังไม่แข่งขัน
33 ซีเกมส์ 2025 (พ.ศ. 2568) อุบลราชธานี หรือ สงขลา  ไทย ยังไม่แข่งขัน
หมายเหตุ

จำนวนเหรียญรางวัลรวม

 อันดับ  ประเทศ ทอง เงิน ทองแดง รวม
1  ไทย 2089 1742 1727 5558
2 ธงของประเทศอินโดนีเซีย อินโดนีเซีย 1714 1558 1580 4852
3 ธงของประเทศมาเลเซีย มาเลเซีย 1109 1120 1533 3762
4 ธงของประเทศฟิลิปปินส์ ฟิลิปปินส์ 894 1041 1295 3230
5  สิงคโปร์ 828 881 1189 2898
6 ธงของประเทศเวียดนาม เวียดนาม 772 729 829 2330
7 ธงของประเทศพม่า พม่า 546 697 906 2149
8 ธงของประเทศลาว ลาว 66 87 267 420
9 ธงของประเทศกัมพูชา กัมพูชา 47 88 192 327
10 ธงของประเทศบรูไนดารุสซาลาม บรูไน 11 41 132 184
11  ติมอร์-เลสเต 3 5 18 26

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น