ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (อัมพร อมฺพโร)"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ย้อนการแก้ไขของ Thai.2016 (พูดคุย) ไปยังรุ่นก่อนหน้าโดย G doodee
Thai.2016 (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่ 6852709 สร้างโดย พุทธามาตย์ (พูดคุย)
บรรทัด 12: บรรทัด 12:
| succession = [[สมเด็จพระสังฆราช]] พระองค์ที่ 20
| succession = [[สมเด็จพระสังฆราช]] พระองค์ที่ 20
| ดำรงพระยศ = 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 – ปัจจุบัน
| ดำรงพระยศ = 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 – ปัจจุบัน
| พรรษา = {{อายุ|2491|5|9}}
| พรรษา = {{อายุ|2491|5|9}} ปี
| สถาปนา = 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560
| สมณุตตมาภิเษก = 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560
| สถานที่สถาปนา = [[วัดพระศรีรัตนศาสดาราม]]
| สถานที่ = [[วัดพระศรีรัตนศาสดาราม]]
| สถานที่สิ้นพระชนม์ =
| สถานที่สิ้นพระชนม์ =
| ก่อนหน้า = [[สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ สุวฑฺฒโน)]]
| ก่อนหน้า = [[สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ สุวฑฺฒโน)]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 13:01, 19 กุมภาพันธ์ 2560

สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ
(อัมพร อมฺพโร)
สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
ไฟล์:สมเด็จพระสังฆราช (อัมพร อมฺพโร).jpg
สมเด็จพระสังฆราช พระองค์ที่ 20
ดำรงพระยศ12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 – ปัจจุบัน
สมณุตตมาภิเษก12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560
วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
ก่อนหน้าสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ สุวฑฺฒโน)
พรรษา75 ปี
สถิตวัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร
นิกายธรรมยุติกนิกาย
ประสูติ26 มิถุนายน พ.ศ. 2470 (พระชันษา 96 ปี)
พระชนกนับ ประสัตถพงศ์
พระชนนีตาล ประสัตถพงศ์

สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก พระนามเดิม อัมพร ประสัตถพงศ์ ฉายา อมฺพโร เป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 20 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์[1] โดยทรงเริ่มดำรงตำแหน่งในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 และทรงเป็นเจ้าอาวาสวัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร กรรมการมหาเถรสมาคม[2] แม่กองงานพระธรรมทูต

พระประวัติ

สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ ขณะยังเป็นพระมหาอัมพร อมฺพโร
สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ ขณะยังเป็นพระมหาอัมพร อมฺพโร ออกบิณฑบาตติดตามพระมหาบัว ญาณสมฺปนฺโน ที่บ้านตาด จังหวัดอุดรธานี เมื่อ พ.ศ. 2508

ชาติกำเนิด

สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก มีพระนามเดิมว่า อัมพร ประสัตถพงศ์ ประสูติเมื่อวันอาทิตย์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2470 ตรงกับแรม 12 ค่ำ เดือน 7 ปีเถาะ ณ ตำบลบางป่า อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี พระชนกชื่อนับ ประสัตถพงศ์ พระชนนีชื่อตาล ประสัตถพงศ์ เป็นบุตรคนที่ 2 จากพี่น้องทั้งหมด 9 คน มีพระอนุชาหนึ่งในนั้นคือ พระเทพสุเมธี (ไสว วฑฺฒโน) เจ้าอาวาสวัดศรีสุริยวงศาราม จังหวัดราชบุรี ครอบครัวประกอบอาชีพค้าขาย เรียนชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนเทวานุเคราะห์ กองบินน้อยที่ 4 ตำบลโคกกระเทียม อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี จนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 แล้วมาศึกษาต่อที่โรงเรียนประชาบาลวัดพเนินพลูจนจบชั้น ป. 4 ในปี พ.ศ. 2480

การบรรพชาอุปสมบท

เมื่อ พ.ศ. 2483 พระองค์บรรพชาเป็นสามเณรวัดสัตตนารถปริวัตรวรวิหาร ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี โดยมีพระธรรมเสนานี (เงิน นนฺโท) เป็นพระอุปัชฌาย์[3] แล้วย้ายไปอยู่วัดตรีญาติเพื่อศึกษาพระปริยัติธรรม

ต่อมาได้ทรงเข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2491 ณ พัทธสีมาวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม โดยมีสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (วาสน์ วาสโน) เป็นพระอุปัชฌาย์ และพระจินดากรมุนี (ทองเจือ จินฺตากโร) เป็นพระกรรมวาจาจารย์

การศึกษาพระปริยัติธรรม

ขณะจำพรรษาที่วัดตรีญาติ ตำบลพงสวาย สามเณรอัมพร ประสัตถพงศ์ สามารถสอบได้นักธรรมชั้นตรีในปี พ.ศ. 2483 สอบได้นักธรรมชั้นโทในปีต่อมา ถึงปี พ.ศ. 2486 สามารถสอบได้นักธรรมชั้นเอกและเปรียญธรรม 3 ประโยค และสอบได้เปรียญธรรม 4 ประโยคในปี พ.ศ. 2488

เมื่อ พ.ศ. 2490 ทรงย้ายมาอยู่จำพรรษา ณ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม โดยสมเด็จพระพุทธปาพจนบดี (ทองเจือ จินฺตากโร) เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่พระจินดากรมุนี นำมาฝากกับสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (วาสน์ วาสโน) สกลมหาสังฆปริณายก ภายหลังอุปสมบท ท่านศึกษาพระปริยัติธรรมต่อในสำนักเรียนวัดราชบพิธฯ จน พ.ศ. 2491 สามารถสอบได้เปรียญธรรม 5 ประโยค และ พ.ศ. 2493 สามารถสอบได้เปรียญธรรม 6 ประโยค

หลังเป็นเปรียญ 5 ประโยค พระองค์ได้ศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย เป็นนักศึกษารุ่นที่ 5 จบศาสนศาสตรบัณฑิต เมื่อปี พ.ศ. 2500 และได้เดินทางไปศึกษาต่อระดับปริญญาโท ณ มหาวิทยาลัยพาราณสี (Banaras Hindu University) ประเทศอินเดีย จบการศึกษาเมื่อปี พ.ศ. 2512 ด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดี

ปี พ.ศ. 2552 สภามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ถวายศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาพุทธศาสตร์

ปี พ.ศ. 2553 สภามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ถวายปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาธรรมนิเทศ[4]

สมเด็จพระสังฆราช

ไฟล์:The Establish Ceremony of 20th Sangharaja of Thailand.jpg
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ทรงประกอบพระราชพิธีสมณุตตมาภิเษกสมเด็จพระมหามุนีวงศ์ขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 20 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม

วันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดสถาปนาสมเด็จพระมหามุนีวงศ์ขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 20 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และได้เสด็จไปประกอบพระราชพิธีสถาปนาเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม[5]

ตำแหน่งปัจจุบัน

  • สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
  • เจ้าอาวาสวัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร[6]
  • กรรมการมหาเถรสมาคม
  • กรรมการคณะธรรมยุต
  • กรรมการเถรสมาคมคณะธรรมยุต
  • ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 14–15 (ธรรมยุต)[7]
  • แม่กองงานพระธรรมทูต

สมณศักดิ์

ธรรมเนียมพระยศของ
สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ
สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
ไฟล์:ตรา ออป.jpg
ตราประจำพระองค์
การทูลใต้ฝ่าพระบาท
การแทนตนเกล้ากระหม่อม/เกล้ากระหม่อมฉัน
การขานรับเกล้ากระหม่อม
พะย่ะค่ะ/เพคะ
  • พ.ศ. 2514 ทรงเป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระปริยัติกวี[8]
  • พ.ศ. 2524 ทรงเป็นพระราชาคณะชั้นราชที่ พระราชสารสุธี ศรีปริยัติวราทร ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[9]
  • พ.ศ. 2533 ทรงเป็นพระราชาคณะชั้นเทพที่ พระเทพเมธาภรณ์ สุนทรธรรมานุนายก วิสุทธิสาธกสาธุกิจ ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[10]
  • พ.ศ. 2538 ทรงเป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่ พระธรรมเมธาภรณ์ สุนทรวาสนวงศวิวัฒ ศรีปริยัติกิจจานุกิจ ปาพจนวิภูษิตคุณาลงกรณ์ ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[11]
  • พ.ศ. 2543 ทรงเป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรองที่ พระสาสนโสภณ วิมลญาณอดุลสุนทรนายก ตรีปิฎกธรรมาลังการภูษิต ธรรมนิตยสาทร ศาสนกิจจานุกร ธรรมยุติกคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[12]
  • พ.ศ. 2552 ทรงเป็นสมเด็จพระราชาคณะที่ สมเด็จพระมหามุนีวงศ์ พิพัฒนพงศ์วิสุต พุทธปาพจนานุศาสน์ วาสนวรางกูร วิบูลศีลสมาจารวัตรสุนทร ตรีปิฎกธรรมวราลงกรณวิภูษิต ธรรมยุตติกคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี อรัณยวาสี[13]
  • พ.ศ. 2560 ทรงเป็นสมเด็จพระสังฆราชที่ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สุขุมธรรมวิธานธำรง สกลมหาสงฆปริณายก ตรีปิฎกธราจารย อัมพราภิธานสังฆวิสุต ปาพจนุตตมสาสนโสภณ กิตตินิรมลคุรุฐานียบัณฑิต วชิราลงกรณนริศรปสันนาภิสิตประกาศ วิสารทนาถธรรมทูตาภิวุฒ ทศมินทรสมมุติปฐมสกลคณาธิเบศร ปวิธเนตโยภาสวาสนวงศวิวัฒ พุทธบริษัทคารวสถาน วิบูลสีลสมาจารวัตรวิปัสสนสุนทร บวรธรรมบพิตร สมเด็จพระสังฆราช[5]

อ้างอิง

  1. โปรดเกล้าฯ “สมเด็จพระมหามุนีวงศ์” เป็นสังฆราช องค์ที่ 20
  2. "กรรมการมหาเถรสมาคม". มหาเถรสมาคม. 25 สิงหาคม 2553. สืบค้นเมื่อ 17 พฤษภาคม 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. กรมศิลปากร. เรื่องตั้งพระราชาคณะผู้ใหญ่ในกรุงรัตนโกสินทร์ เล่ม ๒. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2545. 450 หน้า. หน้า 248-9. ISBN 974-417-530-3
  4. "พิธีบำเพ็ญกุศลสมโภชสุพรรณบัฏและถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ แด่ สมเด็จพระมหามุนีวงศ์". มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. 25 สิงหาคม 2553. สืบค้นเมื่อ 17 พฤษภาคม 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. 5.0 5.1 "พระราชโองการ ประกาศสถาปนาสมเด็จพระสังฆราช [สมเด็จพระมหามุนีวงศ์]" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 12 กุมภาพันธ์ 2560. สืบค้นเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. "เสนอแต่งตั้ง พระสาสนโสภณ ให้ดำรงตำแหน่ง เจ้าอาวาสวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม" (PDF). มหาเถรสมาคม. 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2552. สืบค้นเมื่อ 10 กันยายน 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  7. "เสนอขอแต่งตั้ง พระสาสนโสภณ ให้เป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค ๑๔ - ๑๕ (ธรรมยุต)" (PDF). มหาเถรสมาคม. 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2550. สืบค้นเมื่อ 10 กันยายน 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  8. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 88, ตอนที่ 151, วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2514, หน้า 7
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 98, ตอนที่ 206, วันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2524, หน้า 3
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 107, ตอนที่ 242, วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2533, หน้า 2-3
  11. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 112, ตอนพิเศษ 47ง, 13 ธันวาคม 2538, หน้า 3
  12. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศสถาปนาสมณศักดิ์, เล่ม 117, ตอนที่ 28 ข, 28 ธันวาคม 2543, หน้า 7-9
  13. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศสถาปนาสมณศักดิ์, เล่ม 127, ตอนที่ 7 ข, 9 กรกฎาคม 2553, หน้า 1-3

แหล่งข้อมูลอื่น

ก่อนหน้า สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (อัมพร อมฺพโร) ถัดไป
สมเด็จพระญาณสังวร
สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ สุวฑฺฒโน)
ไฟล์:ฉัตรสามชั้น.jpg
สมเด็จพระสังฆราชแห่งกรุงรัตนโกสินทร์
(พ.ศ. 2560–ปัจจุบัน)
อยู่ในตำแหน่ง
สมเด็จพระพุทธปาพจนบดี (ทองเจือ จินฺตากโร)
เจ้าอาวาสวัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร
(พ.ศ. 2551–ปัจจุบัน)
ยังอยู่ในตำแหน่ง