ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จักรวรรดิเกาหลี"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Thai.2016 (คุย | ส่วนร่วม)
→‎การฟื้นฟูสถาบันจักรพรรดิ: พงศาวดารเกาหลีบัญญัติไว้ว่า พระมหากษัตริย์พระองค์ใดก็ตามที...
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 136: บรรทัด 136:
สถาบันจักรพรรดิแห่งเกาหลีได้ถูกฟื้นฟูอีกครั้งเมื่อวันที่ [[29 กันยายน]] [[พ.ศ. 2549]] โดยเจ้าหญิงเฮวอน (พระอิสริยยศในขณะนั้น) ทรงประกาศฟื้นฟูสถาบันจักรพรรดิแห่งเกาหลีอย่างเป็นทางการ โดยพระนางทรงเรียกพระองค์เองว่า ''จักรพรรดินีแห่งเกาหลี'' ทำให้เกาหลีมีประมุขแห่งราชวงศ์ลีและสถาบันจักรพรรดิเกิดขึ้นอีกครั้งหลังจากที่ปิดฉากไปเป็นเวลานานกว่า 97 ปี (พ.ศ. 2453) ด้วยการที่จักรวรรดิญี่ปุ่น (ด้วยความร่วมมือขอพระราชบิดาของสมเด็จพระจักรพรรดิควางมู หรือพระเจ้าโกจง) บุกยึดเกาหลีและล้มล้างสถาบันจักรพรรดิจนราบคาบ แต่เนื่องจากรัฐบาลของสาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) ยังมิได้ให้การรับรองหรือเข้ามายุ่งเกี่ยวใดๆ จึงทำให้พระนางยังคงขาดสถานะความเป็นประมุขแห่งรัฐ
สถาบันจักรพรรดิแห่งเกาหลีได้ถูกฟื้นฟูอีกครั้งเมื่อวันที่ [[29 กันยายน]] [[พ.ศ. 2549]] โดยเจ้าหญิงเฮวอน (พระอิสริยยศในขณะนั้น) ทรงประกาศฟื้นฟูสถาบันจักรพรรดิแห่งเกาหลีอย่างเป็นทางการ โดยพระนางทรงเรียกพระองค์เองว่า ''จักรพรรดินีแห่งเกาหลี'' ทำให้เกาหลีมีประมุขแห่งราชวงศ์ลีและสถาบันจักรพรรดิเกิดขึ้นอีกครั้งหลังจากที่ปิดฉากไปเป็นเวลานานกว่า 97 ปี (พ.ศ. 2453) ด้วยการที่จักรวรรดิญี่ปุ่น (ด้วยความร่วมมือขอพระราชบิดาของสมเด็จพระจักรพรรดิควางมู หรือพระเจ้าโกจง) บุกยึดเกาหลีและล้มล้างสถาบันจักรพรรดิจนราบคาบ แต่เนื่องจากรัฐบาลของสาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) ยังมิได้ให้การรับรองหรือเข้ามายุ่งเกี่ยวใดๆ จึงทำให้พระนางยังคงขาดสถานะความเป็นประมุขแห่งรัฐ


อย่างไรก็ตาม [[สมเด็จพระจักรพรรดินีเฮวอน]]ทรงดำรงพระยศเป็น ''ประมุขแห่งราชตระกูลจักรพรรดิเกาหลี'' และ ''ประมุขคริสตจักรเกาหลี''
อย่างไรก็ตาม [[สมเด็จพระจักรพรรดินีเฮวอน]]ทรงดำรงพระยศเป็น ''ประมุขแห่งราชตระกูลจักรพรรดิเกาหลี'' และ ''ประมุขศาสนาพุทธนิกายมหายานเกาหลี''


== รายพระนามจักรพรรดิและผู้อ้างสิทธิแห่งราชบัลลังก์ ==
== รายพระนามจักรพรรดิและผู้อ้างสิทธิแห่งราชบัลลังก์ ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 19:49, 17 กุมภาพันธ์ 2560

จักรวรรดิโชซ็อน

대한제국
(大韓帝國)
แดฮัน-เจกุก
ค.ศ. 1897–1910
ราชลัญจกรของKorean Empire
ราชลัญจกร
คำขวัญ광명천지(光明天地) "ให้แสงสาดส่องทั่วทั้งแดนดิน"
เพลงชาติแอกุกกา (เพลงสรรเสริญพระจักรพรรดิ)
อาณาเขตของจักรวรรดิ
อาณาเขตของจักรวรรดิ
เมืองหลวงฮันซอง
ภาษาทั่วไปภาษาเกาหลี
การปกครองราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ
จักรพรรดิ 
• ค.ศ. 1897 - 1907
จักรพรรดิควางมู
• ค.ศ. 1907 - 1910
จักรพรรดิยุงฮี
นายกรัฐมนตรีb 
• ค.ศ. 1894 - 1896
คิม ฮง-จิบ
• ค.ศ. 1896 - 1905
ฮัน กยู-ซุล
• ค.ศ. 1906
พัก เจ-ซุน
• ค.ศ. 1906 - 1910
เย วัน-ยง
ยุคประวัติศาสตร์ยุคจักรวรรดินิยมใหม่
• สถาปนาจักรวรรดิ
13 ตุลาคม ค.ศ. 1897
17 สิงหาคม ค.ศ. 1899
17 พฤศจิกายน ค.ศ. 1905
ค.ศ. 1907
29 สิงหาคม 1910
ประชากร
• 1907
13,000,000
สกุลเงินวอน (원; 圓)
ก่อนหน้า
ถัดไป
ราชวงศ์โชซ็อน
เกาหลีภายใต้การปกครองของญี่ปุ่น
รัฐบาลผลัดถิ่นแห่งสาธารณรัฐเกาหลี
a อย่างไม่เป็นทางการ    b 총리대신 (總理大臣) ภายหลังเปลี่ยนเป็น 의정대신 (議政大臣)

จักรวรรดิโชซ็อน (อังกฤษ: The Greater Korean Empire หรือ ประเทศโชซ็อน (เกาหลี대한제국; ฮันจา大韓帝國) คือราชอาณาจักรโชซ็อนที่ประกาศยกสถานะของรัฐจากราชอาณาจักรเป็นจักรวรรดิ ตามพระบรมราชโองการของพระเจ้าโกจง พร้อมกับการเปลี่ยนพระอิสริยยศจาก กษัตริย์ เป็น จักรพรรดิ โดยพระองค์มีพระนามว่า จักรพรรดิควางมูแห่งเกาหลี เพื่อให้ประเทศเอกราชจากจักรวรรดิชิง และยกสถานะของประเทศมีความเท่าเทียมกับจักรวรรดิชิง และ จักรวรรดิญี่ปุ่น แม้ว่าโดยพฤติการณ์แล้วสถานะของเกาหลีไม่ได้เข้าข่ายการเป็นจักรวรรดิเลยก็ตาม จนกระทั่งถูกจักรวรรดิญี่ปุ่นยึดครองในปี ค.ศ. 1910

ประวัติศาสตร์

การสถาปนาจักรวรรดิ

ราชอาณาจักรโชซ็อนตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของจีนและญี่ปุ่น ซึ่งกำลังพัฒนาประเทศให้ทันสมัยตามแบบชาวตะวันตก ขณะที่เกาหลียึดมั่นในความสันโดษอย่างแข็งกร้าว ในปี พ.ศ. 2437 (ค.ศ. 1894) เป็นปีแห่งความวุ่นวายของเกาหลี ไม่ว่าจะเป็นการยึดอำนาจปีคัปชิน ทำให้ฝ่ายหัวก้าวหน้ามีอำนาจ หรือกบฏทงฮัก ซึ่งทั้งจีน (ตามคำขอของพระมเหสีมินจายอง) และญี่ปุ่นต่างส่งทัพมาปราบ และทำสงครามกัน ผลลงเอยด้วยญี่ปุ่นได้ชัยชนะเกิดสนธิสัญญาชิโมะโนะเซะกิ ซึ่งจักรวรรดิชิงรับรองว่าเกาหลีเป็นประเทศเอกราชตามสนธิสัญญาดังกล่าว

แต่จักรวรรดิรัสเซียเห็นว่าการขยายอำนาจในตะวันออกไกลของญี่ปุ่นจะเป็นภัย ด้วยความช่วยเหลือของเยอรมนีและฝรั่งเศส การบังคับยึดเอาพอร์ตอาเธอร์ในคาบสมุทรเหลียวตงมาจากจีนกลายเป็นภัยโดยตรงต่อญี่ปุ่น พระมเหสีมินจายองทรงเป็นผู้นำในการต่อต้านอิทธิพลของญี่ปุ่นในเกาหลี จึงทรงถูกทหารญี่ปุ่นลอบสังหารในปี พ.ศ. 2438 (ค.ศ. 1895) ทำให้พระเจ้าโกจงทรงหลบหนีไปสถานกงสุลรัสเซีย ญี่ปุ่นเข้าควบคุมการปกครองเกาหลี ทำการปรับปรุงประเทศต่างๆ ยกเลิกประเพณีเก่าแก่ เช่น ยกเลิกการใช้นามปีนับศักราชแบบจีน และให้ใช้ปฏิทินเกรกอเรียนแทน รวมทั้งการตัดจุกของผู้ชาย ซึ่งขัดกับหลักขงจื้อที่ห้ามตัดผมตลอดชีวิต ทำให้ประชาชนเล็งเห็นถึงภัยจากต่างชาติที่กำลังคุกคามเกาหลี อย่างหนัก จึงรวมตัวกันเป็นสมาคมเอกราช รบเร้าให้พระเจ้าโกจงทรงกลับมาต่อต้านอิทธิพลของญี่ปุ่น

ในปี พ.ศ. 2440 (ค.ศ. 1897) พระเจ้าโกจงทรงกลับมาประทับที่พระราชวังต๊อกซูกุง ประกาศเปลี่ยนให้อาณาจักรโชซ็อนเป็นจักรวรรดิเกาหลี และพระองค์เองทรงเลื่อนสถานะเป็นสมเด็จจักรพรรดิควางมู (광무제; 光武帝) (รวมทั้งเลื่อนสถานะพระมเหสีมินจายองเป็นสมเด็จจักรพรรดินีเมียงซอง) ทรงเลือกใช้คำว่า"ฮัน"มาเป็นชื่อประเทศจากอาณาจักรสามฮันในสมัยโบราณ

การแทรกแซงของรัสเซีย

หลังจากที่จีนสิ้นอำนาจไปแล้วจักรวรรดิรัสเซียก็เริ่มที่จะมีอิทธิพลในตะวันออกไกลแทน รัสเซียสร้างทางรถไฟในแมนจูเรียจากฮาร์บินผ่านมุกเดนมาถึงพอร์ตอาเธอร์ แต่กบฏนักมวยได้เผาทางรถไฟของรัสเซียในแมนจูเรียในพ.ศ. 2442 (ค.ศ. 1899)ทำให้รัสเซียยกทัพเข้ายึดครองแมนจูเรีย อ้างว่าเพื่อปกป้องทางรถไฟของตน และบรรลุข้อตกลงกับญี่ปุ่น ว่ารัสเซียจะไม่ยุ่งกับเกาหลี และญี่ปุ่นจะไม่ยุ่งกับแมนจูเรีย แต่ทั้งสองประเทศต่างก็รู้ดีว่าอีกฝ่ายจ้องจะยึดครองอาณานิคมของอีกฝ่ายอยู่

จนญี่ปุ่นทำข้อตกลงพันธมิตรกับอังกฤษในพ.ศ. 2445 (ค.ศ. 1902) ทำให้รัสเซียไม่อาจดึงชาติตะวันตกอื่นๆมาร่วมได้ เพราะจะต้องเป็นปฏิปักษ์กับอังกฤษ ขณะเดียวกันรัสเซียก็เริ่มเคลื่อนไหวที่ริมฝั่งแม่น้ำยาลูฝั่งแมนจูเรีย ในพ.ศ. 2446 (ค.ศ. 1903) ทูตญี่ปุ่นที่เซนต์ปีเตอร์สเบิร์กได้พยายามเจรจาอีกครั้ง แต่ไม่ประสบผล ในพ.ศ. 2447 (ค.ศ. 1904) สงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่นจึงเริ่มขึ้น โดยรบกันที่พอร์ตอาเธอร์และแม่น้ำยาลูเป็นส่วนใหญ่ ญี่ปุ่นนำกองทัพเคลื่อนผ่านเกาหลีไปมาโดยที่ขุนนางเกาหลีไม่สามารถทำอะไรได้เลย เพราะแม้พระเจ้าโกจงทรงอุตสาหะเลื่อนสถานะของประเทศเป็นจักรวรรดิ แต่ก็ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของญี่ปุ่นอยู่ดี

การเข้ายึดครองของญี่ปุ่น

ญี่ปุ่นยึดพอร์ตอาเธอร์ได้ในที่สุดในพ.ศ. 2448 (ค.ศ. 1905) การชนะสงครามกับรัสเซียในครั้งนี้ ทำให้ญี่ปุ่นเป็นเจ้าแห่งเอเชียบูรพา และสามารถขอการสนับสนุนจากชาติตะวันตกในการยึดครองเกาหลีได้ เช่น สหรัฐอเมริกายินยอมให้ญี่ปุ่นแผ่อิทธิพลสู่เกาหลีในข้อตกลงทาฟต์-คะสึระ จนบังคับเกาหลีลงนามใน สนธิสัญญาอึลซา ให้เกาหลีตกเป็นรัฐในอารักขาของจักรวรรดิญี่ปุ่น โดยมีเพียงรัฐมนตรีเกาหลีบางคนเท่านั้นที่ลงนามยอมรับ แต่ตัวจักรพรรดิควางมูเองมิได้ทรงลงนามด้วย แต่อย่างไรก็ตาม เกาหลีก็ได้หมดสภาพในการติดต่อสัมพันธ์กับต้างประเทศ และการค้ากับต่างประเทศผ่านท่าเรือทุกแห่งญี่ปุ่นจะเข้าควบคุมดูแล รวมทั้งเข้ายึดครองระบบขนส่งและสื่อสารทั้งหมดของประเทศ

แต่จักรพรรดิควางมูก็ยังไม่ทรงหมดความหวัง โดยแอบส่งทูตไปยังการประชุมอนุสัญญากรุงเฮกในปีพ.ศ. 2450 (ค.ศ. 1907) เพื่อเรียกร้องความยุติธรรมจากการกระทำของญี่ปุ่นในสภาโลก แต่บรรดามหาอำนาจทั้งหลายไม่ยอมรับโชซ็อนเป็นรัฐเอกราช และไม่ยอมให้ผู้แทนเกาหลีเข้าร่วมการประชุม เมื่อญี่ปุ่นทราบเหตุการณ์จึงกล่าวโทษเกาหลีว่าละเมิดข้อสัญญาในสนธิสัญญาอึลซา จึงบังคับให้เกาหลีทำสนธิสัญญาญี่ปุ่น-เกาหลีฉบับที่ 3 ในปี พ.ศ. 2450 (ค.ศ. 1907) และให้จักรพรรดิควางมูสละบัลลังก์ให้พระโอรสขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดิยุงฮึย ชาวญี่ปุ่นได้เข้าเป็นผู้บริหารประเทศ จักรพรรดิควางมูสิ้นพระชนม์ในปีเดียวกัน

จนในพ.ศ. 2453 (ค.ศ. 1910) การลงนามในสนธิสัญญาผนวกดินแดนญี่ปุ่น-เกาหลี ทำให้ญี่ปุ่นเข้ายึดครองเกาหลีอย่างสมบูรณ์ ในสนธิสัญญามีตราตั้งพระราชลัญจกร และมีพระนามของจักรพรรดิยุงฮีที่ลงนามโดยลีวานยง นายกรัฐมนตรีแทน ดังนั้นตลอดเวลาและหลังการยึดครองของญี่ปุ่น จึงมีคำถามโดยเฉพาะกับชาวเกาหลีว่าสนธิสัญญาฉบับนี้มีความถูกต้องมากเพียงใด ซึ่งแน่นอนว่าชาวเกาหลีในปัจจุบันจะต้องไม่ยอมรับสัญญาฉบับนี้ และประกาศให้สัญญาฉบับนี้เป็นโมฆะในพ.ศ. 2548 แต่ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม เกาหลีก็ตกเป็นอาณานิคมของญี่ปุ่นไป 30 กว่าปี จนกระทั่งญี่ปุ่นแพ้สงครามโลกครั้งที่สอง เกาหลีจึงถูกแบ่งเป็นเหนือและใต้

การเมืองการปกครอง

นิติบัญญัติ

บริหาร

ตุลาการ

นโยบายต่างประเทศ

กองทัพ

เศรษฐกิจ

โครงสร้างพื้นฐาน

ประชากรศาสตร์

การฟื้นฟูสถาบันจักรพรรดิ

สถาบันจักรพรรดิแห่งเกาหลีได้ถูกฟื้นฟูอีกครั้งเมื่อวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2549 โดยเจ้าหญิงเฮวอน (พระอิสริยยศในขณะนั้น) ทรงประกาศฟื้นฟูสถาบันจักรพรรดิแห่งเกาหลีอย่างเป็นทางการ โดยพระนางทรงเรียกพระองค์เองว่า จักรพรรดินีแห่งเกาหลี ทำให้เกาหลีมีประมุขแห่งราชวงศ์ลีและสถาบันจักรพรรดิเกิดขึ้นอีกครั้งหลังจากที่ปิดฉากไปเป็นเวลานานกว่า 97 ปี (พ.ศ. 2453) ด้วยการที่จักรวรรดิญี่ปุ่น (ด้วยความร่วมมือขอพระราชบิดาของสมเด็จพระจักรพรรดิควางมู หรือพระเจ้าโกจง) บุกยึดเกาหลีและล้มล้างสถาบันจักรพรรดิจนราบคาบ แต่เนื่องจากรัฐบาลของสาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) ยังมิได้ให้การรับรองหรือเข้ามายุ่งเกี่ยวใดๆ จึงทำให้พระนางยังคงขาดสถานะความเป็นประมุขแห่งรัฐ

อย่างไรก็ตาม สมเด็จพระจักรพรรดินีเฮวอนทรงดำรงพระยศเป็น ประมุขแห่งราชตระกูลจักรพรรดิเกาหลี และ ประมุขศาสนาพุทธนิกายมหายานเกาหลี

รายพระนามจักรพรรดิและผู้อ้างสิทธิแห่งราชบัลลังก์

ไฟล์:Coat of arms of Joseon Korea.gif
ตราประจำราชวงศ์ลี (ราชวงศ์โชซ็อนเดิม)

จักรพรรดิแห่งจักรวรรดิเกาหลี

พระนามจริง พระนามเต็ม นามปี ปีที่ครองราชย์ (ค.ศ.)
ลี เมียงบก สมเด็จพระจักรพรรดิควางมู ควางมู 1897 - 1907
ลี ชอก สมเด็จพระจักรพรรดิยุงฮี ยุงฮี 1907 - 1910

ผู้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์จักรพรรดิแห่งจักรวรรดิเกาหลี

พระนามจริง พระนามเต็ม นามปี ปีที่อยู่ในตำแหน่ง (ค.ศ.)
ลี อุยมิน เจ้าชายอุยมิน มกุฎราชกุมารแห่งเกาหลี อุยมิน 1910 - 1970
ลี กู เจ้าชายโฮอุนแห่งเกาหลี โฮอุน 1970 - 2005
ลี วอน เจ้าชายวอน รัชทายาทแห่งเกาหลี - 2006 - ปัจจุบัน
ลี เฮวอน เจ้าหญิงแฮวอนแห่งเกาหลี - 2006 - ปัจจุบัน

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น