ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระกุมารชีพ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
[[ไฟล์:Kumarajiva at Kizil Caves, Kuqa.jpg|thumb|อนุสาวรีย์ของพระกุมารชีพ หน้าทางเข้าถ้ำคีซิล ใน[[คูชา|เมืองคูชา]] [[เขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์]] [[ประเทศจีน]]]]
[[ไฟล์:Kumarajiva at Kizil Caves, Kuqa.jpg|thumb|อนุสาวรีย์ของพระกุมารชีพ หน้าทางเข้าถ้ำคีซิล ใน[[คูชา|เมืองกุฉา]] [[เขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์]] [[ประเทศจีน]]]]
'''พระกุมารชีพ''' ([[อักษรจีนตัวย่อ|จีนตัวย่อ]]: 鸠摩罗什; [[อักษรจีนตัวเต็ม|จีนตัวเต็ม]]: 鳩摩羅什; [[พินยิน]]: ''Jiūmóluóshí'') เป็นพระ[[ภิกษุ]]ชาวอินเดีย เกิดเมื่อ พ.ศ. 887 ที่แคว้น[[กุฉา]] บิดาชื่อกุมารยณะ มารดาชื่อชีพะ เมื่ออายุเจ็ดขวบได้ไปศึกษาธรรมของฝ่าย[[เถรวาท]]กับพระผันโถวต๋าต้าที่แคว้นโกเผน จากนั้นจึงไปศึกษาธรรมฝ่าย[[มหายาน]]กับพระซิลี่เหยียสั่วหมอ จากนั้นจึงกลับแคว้นกุฉามาเรียนกับพระเปยเหมยหลัวอี้ แล้วได้เผยแผ่ธรรมที่แคว้นกุฉาเรื่อยมา
'''พระกุมารชีพ''' ([[อักษรจีนตัวย่อ|จีนตัวย่อ]]: 鸠摩罗什; [[อักษรจีนตัวเต็ม|จีนตัวเต็ม]]: 鳩摩羅什; [[พินยิน]]: ''Jiūmóluóshí'') เป็นพระ[[ภิกษุ]]ชาวอินเดีย เกิดเมื่อ พ.ศ. 887 ที่แคว้น[[กุฉา]] บิดาชื่อกุมารยณะ มารดาชื่อชีพะ เมื่ออายุเจ็ดขวบได้ไปศึกษาธรรมของฝ่าย[[เถรวาท]]กับพระผันโถวต๋าต้าที่แคว้นโกเผน จากนั้นจึงไปศึกษาธรรมฝ่าย[[มหายาน]]กับพระซิลี่เหยียสั่วหมอ จากนั้นจึงกลับแคว้นกุฉามาเรียนกับพระเปยเหมยหลัวอี้ แล้วได้เผยแผ่ธรรมที่แคว้นกุฉาเรื่อยมา



รุ่นแก้ไขเมื่อ 22:58, 13 กุมภาพันธ์ 2560

อนุสาวรีย์ของพระกุมารชีพ หน้าทางเข้าถ้ำคีซิล ในเมืองกุฉา เขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ ประเทศจีน

พระกุมารชีพ (จีนตัวย่อ: 鸠摩罗什; จีนตัวเต็ม: 鳩摩羅什; พินยิน: Jiūmóluóshí) เป็นพระภิกษุชาวอินเดีย เกิดเมื่อ พ.ศ. 887 ที่แคว้นกุฉา บิดาชื่อกุมารยณะ มารดาชื่อชีพะ เมื่ออายุเจ็ดขวบได้ไปศึกษาธรรมของฝ่ายเถรวาทกับพระผันโถวต๋าต้าที่แคว้นโกเผน จากนั้นจึงไปศึกษาธรรมฝ่ายมหายานกับพระซิลี่เหยียสั่วหมอ จากนั้นจึงกลับแคว้นกุฉามาเรียนกับพระเปยเหมยหลัวอี้ แล้วได้เผยแผ่ธรรมที่แคว้นกุฉาเรื่อยมา

ต่อมา พระเจ้าฝูเจี้ยน กษัตริย์ราชวงศ์ฉินสมัยที่หนึ่งได้ส่งนายพลหลวี่กวงออกมาปราบแคว้นกุฉา เมื่อนายพลผู้นี้ได้รับชัยชนะได้นิมนต์พระกุมารชีพกลับไปเหลียวโจวด้วย แต่ระหว่างทางทราบว่าพระเจ้าฝูเจี้ยนพ่ายแพ้แก่ข้าศึกจึงตั้งตัวเป็นเอกราชที่เหลียวโจว จนกระทั่งพระเจ้าเหยาซิงแห่งราชวงศ์ฉินสมัยที่สองกรีธาทัพมาปราบและนิมนต์พระกุมารชีพให้ไปอยู่ที่ฉางอัน

เมื่อมาอยู่ที่ฉางอัน พระกุมารชีพได้แปลพระไตรปิฎกและคัมภีร์มหายานหลายเล่ม เช่น วัชรปรัชญาปารมิตาสูตร เป็นภาษาจีน ทำให้ได้สมญานามเป็นภาษาจีนว่าพระซำจั๋งหรือซันจั้ง(พระไตรปิฏกาจารย์) ท่านมรณภาพเมื่อ พ.ศ. 956 รวมอายุได้ 74 ปี

อ้างอิง

  • อมร ทองสุก, แปล. วัชรปรัชญาปารมิตาสูตร พระสงฆ์จี้กงอรรถาธิบาย. พิมพ์ครั้งที่ 2. ชุณหวัตร. 2550.