ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โน้ต เชิญยิ้ม"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
Kasio (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 104: บรรทัด 104:
* ''[[ผยอง (ละครโทรทัศน์) | ผยอง]]'' ปี 2536 ช่อง 7
* ''[[ผยอง (ละครโทรทัศน์) | ผยอง]]'' ปี 2536 ช่อง 7
* ''[[แม่จอมยุ่ง]]'' ปี 2536 ช่อง 3 ''รับเชิญ''
* ''[[แม่จอมยุ่ง]]'' ปี 2536 ช่อง 3 ''รับเชิญ''
* ''[[นางฟ้าหลงทาง]]'' ปี 2537 ช่อง 3
* ''[[โสมส่องแสง]]'' ปี 2537 ช่อง 3
* ''[[โสมส่องแสง]]'' ปี 2537 ช่อง 3
* ''[[เรือมนุษย์]]'' ปี 2538 ช่อง 3 ''รับเชิญ''
* ''[[เรือมนุษย์]]'' ปี 2538 ช่อง 3 ''รับเชิญ''

รุ่นแก้ไขเมื่อ 17:14, 13 กุมภาพันธ์ 2560

โน้ต เชิญยิ้ม
หน้าปกหนังสือ ชีวิตโคตรตลก โดย โน้ต เชิญยิ้ม
หน้าปกหนังสือ ชีวิตโคตรตลก โดย โน้ต เชิญยิ้ม
สารนิเทศภูมิหลัง
เกิด7 มิถุนายน พ.ศ. 2497 (69 ปี)
บำเรอ ผ่องอินทรกุล
อาชีพนักแสดง, นักแสดงตลก, ผู้กำกับภาพยนตร์, นักร้อง, นักแต่งเพลง
ผลงานเด่นนักแสดงตลก
ผู้กำกับภาพยนตร์ หลวงพี่เท่ง
แต่งเพลง ทวงรักฝากลม
โทรทัศน์ทองคำพ.ศ. 2535 - รางวัลดาราสนับสนุนชายดีเด่น
จากเรื่อง เมืองโพล้เพล้
ฐานข้อมูล
IMDb
ThaiFilmDb

โน้ต เชิญยิ้ม ชื่อจริง บำเรอ ผ่องอินทรกุล ชื่อสกุลเดิมคือ ผ่องอินทรีย์[1] (7 มิถุนายน พ.ศ. 2497 เป็นนักแสดงตลกผู้ก่อตั้งคณะเชิญยิ้ม ร่วมกับเป็ด เชิญยิ้ม (ธัญญา โพธิ์วิจิตร) สรายุทธ สาวยิ้ม สีหนุ่ม เชิญยิ้ม (บุญธรรม ฮวดกระโทก) เมื่อปี พ.ศ. 2523

ประวัติ

โน้ต เชิญยิ้ม เคยเป็นนักแสดงลิเก เหมือนบิดาที่เป็นตัวตลกคณะลิเก และมารดาที่เป็นนางเอกคณะลิเก ต้องออกจากโรงเรียนมาแสดงลิเกตั้งแต่เด็ก และจบการศึกษาเพียงชั้น ป.3 ประมาณปี 2522 มาเจอดอน จมูกบาน ตอนนั้นโน้ตกำลังเล่นลิเกของบรรหาร ศิษย์หอมหวล ที่ตลาดพลู ดอน จมูกบานก็ชวนว่าไปเล่นตลกกัน โน้ต บอกว่า "พี่ผมเล่นด้วย" สมัยก่อนดอน จมูกบานจะนั่งเป็นลิเกแล้วโน้ต จะนั่งไขว่ห้าง ใส่ถุงเท้าคาร์สัน จึงเล่นกับคณะ 4 สลึง ทำท่าจะดี เพชร โพธิ์ทอง ก็ชวนโน้ตไปอยู่ วงดนตรี สายัณห์ ครรชิต ซึ่งเป็นวงดนตรีดารา และต่อโน้ต สรายุทธ สาวยิ้ม เพชร โพธิ์ทองและสีหนุ่ม ตั้งตลกคณะแกงปลาไหล ต่อมาเปลี่ยนเป็นคณะเชิญยิ้ม ประมาณปี 2523 ประกอบด้วย สรายุทธ สาวยิ้ม โน้ต เชิญยิ้ม เป็ด เชิญยิ้ม และ สีหนุ่ม เชิญยิ้ม ต่อมาสรายุทธโดนยิง ได้อ้วน เชิญยิ้มเข้ามา จนกลายเป็นเชิญยิ้มยุคอวกาศ ประกอบด้วย โน้ต เชิญยิ้ม เป็ด เชิญยิ้ม สีหนุ่ม เชิญยิ้ม อ้วน เชิญยิ้ม ภายหลังมี จเร ชูษี เชิญยิ้ม จนแยกย้ายกันปี 2530 โน้ต ตั้งตลกคณะ โน้ต เชิญยิ้ม ประกอบด้วยสมาชิก คือ จเร จอร์จ เต๋อ กล้วย เต่า เชิญยิ้ม ต่อมา กล้วย เชิญยิ้มออก จึงได้ถั่วแระ เชิญยิ้ม เข้ามา พอเต่า เชิญยิ้มออกไป จึงนำปลาคราฟและกระรอก เชิญยิ้ม ซึ่งเป็นนักดนตรีมาเล่น จนชูษี เชิญยิ้ม เข้ามาอยู่ด้วย จนในที่สุด ถั่วแระ ชูษี ขอลาไปตั้งคณะ และช่วงหนึ่งโน้ตหันไปตั้งคณะดนตรีลูกทุ่ง แต่ไม่ประสบความสำเร็จถึงกับหมดเนื้อหมดตัว ก่อนจะได้กลับมารับบทพระเอกละคร อาจารย์โกย [2] ละครสร้างใหม่ฉบับปี 2544 จากละครที่ล้อต๊อกเคยแสดงมาก่อน ทางไทยทีวีสีช่อง 3 ด้วยความช่วยเหลือของนพพร วาทิน และเป็ด เชิญยิ้ม

โน้ต มีน้องชายที่ร่วมแสดงคณะเชิญยิ้มด้วยกัน คือ จเร เชิญยิ้ม (จเร ผ่องอินทรกุล) และ จ๊อด เชิญยิ้ม

คณะโน้ต เชิญยิ้ม

คณะโน้ต เชิญยิ้ม เป็นคณะตลกกลุ่มหนึ่งของไทย ก่อตั้งโดยโน้ต เมื่อราวปี พ.ศ. 2530 ภายหลังจากการประกาศยุบคณะเชิญยิ้ม โดยสมาชิกยุคแรกของคณะประกอบไปด้วย จเร เชิญยิ้ม น้องชายคนรอง ซึ่งโน้ตได้ดึงเข้ามาร่วมคณะเชิญยิ้มในช่วงยุคท้าย ๆ ก่อนยุบคณะ , จ๊อด เชิญยิ้ม น้องชายคนเล็กของโน้ต , กล้วย เชิญยิ้ม , เต่า เชิญยิ้ม และ เต๋อ เชิญยิ้ม ต่อมาเมื่อกล้วยได้ขอลาออกจากคณะเพื่อไปก่อตั้งคณะของตัวเองโน้ตจึงได้ดึง ปาน บิ๊กโจ๊ก ตลกผู้มีความสามารถทางด้านมายากลจาก คณะบิ๊กโจ๊ก ของ ต้อย บิ๊กโจ๊ก เข้ามาร่วมคณะพร้อมกับเปลี่ยนชื่อเป็น ถั่วแระ เชิญยิ้ม เนื่องจากเคราของถั่วแระคล้ายกับฝักของถั่วแระ

หลังจากนั้นเมื่อเต๋อและเต่าได้ขอลาออกไปเพื่อก่อตั้งคณะของตัวเองทำให้โน้ตต้องดึง ปลาคาร์ฟ เชิญยิ้ม มือกลองหน้านิ่งและ กระรอก เชิญยิ้ม มือคีย์บอร์ดผมยาวขึ้นมาเล่นแทน ต่อมาโน้ตได้ดึง ชูษี เชิญยิ้ม อีกหนึ่งสมาชิกของคณะเชิญยิ้มในยุคท้าย ๆ ที่เพิ่งจะยุบคณะของตัวเองไปเข้ามาร่วมคณะทำให้สมาชิกในยุคที่ 4 เพิ่มขึ้นมาเป็น 7 คน หลังจากนั้นโน้ตได้ดึงตลกอีก 2 คนเข้ามาร่วมคณะคือ ศรเพชร เชิญยิ้ม จากคณะดี๋ ดอกมะดัน และ บุญไหล เชิญยิ้ม จาก คณะแฉ่ง ช่อมะดัน ทำให้สมาชิกในยุคที่ 5 ของคณะมีทั้งสิ้น 9 คน

ในช่วงปี พ.ศ. 2540 โน้ตได้จับมือกับ เบียร์สิงห์ ก่อตั้งวงดนตรี ลูกทุ่ง ในนาม ลูกทุ่งไทยหัวใจสิงห์ แต่ไม่ประสบความสำเร็จจึงต้องยุบวงไปและกลับมาเล่นตลกดังเดิม ต่อมาถั่วแระและชูษีได้ขอลาออกไปเพื่อตั้งคณะตลกของตัวเองหลังจากนั้นไม่นานศรเพชรและบุญไหลได้ขอลาออกจากคณะไปอีกทำให้สมาชิกในยุคที่ 6 เหลือ 5 คน จากนั้นเต่าและเต๋อได้กลับเข้ามาร่วมคณะอีกครั้ง แต่หลังจากนั้นเต่าได้ขอลาออกไปเพื่อก่อตั้งคณะตลกของตัวเองอีกครั้งทำให้ในช่วงนั้นมักจะมีตลกรับเชิญเข้ามาร่วมสร้างสีสันอยู่เสมอ ต่อมาด้วยโน้ตได้ผันตัวไปเป็น ผู้กำกับภาพยนตร์ และนักแสดงทำให้ไม่มีเวลามาร่วมแสดงและในช่วงเวลานั้นเป็นช่วงยุคเสื่อมของคาเฟ่ในเมืองไทยอันเป็นผลมาจากการจัดระเบียบสังคม ทำให้โน้ตได้ตัดสินใจยุบคณะเมื่อราวปี 2546 - 2547

ผลงาน

ผลงานการแสดง

ภาพยนตร์

ละครโทรทัศน์

ละครซิทคอม

ผลงานสร้างและกำกับภาพยนตร์

กำกับภาพยนตร์

โปรดิวเซอร์

พิธีกรโทรทัศน์

แต่งเพลง

เพลง

พ.ศ เพลง คำร้อง ทำนอง เรียบเรียงเสียงประสาน หมายเหตุ
2559 หนุ่ม ต.จ.ว สถาพร แก้วสุโพธิ์ สถาพร แก้วสุโพธิ์ จิระวัฒน์ ปานพุ่ม

เดิมทีเพลงนี้อยู่ในอัลบั้ม บำเรอ ลาติน ของโน้ต เชิญยิ้ม ซึ่งไม่ได้ออกจัดจำหน่าย ต่อมา เอกชัย ศรีวิชัย ได้นำไปขับร้อง หลังจากนั้นใน พ.ศ. 2559 โน้ต เชิญยิ้ม ได้นำเพลงนี้กลับมาทำใหม่ โดยได้ เจสซี่ เมฆวัฒนา ร่วมเล่นดนตรีประกอบเพลงนี้ด้วย[8]

อยากให้เธอเข้าใจ สลา คุณวุฒิ สลา คุณวุฒิ อยู่ในอัลบั้ม เพลงครูยังอยู่ในใจ ต้นฉบับโดย ไมค์ ภิรมย์พร
เทวดากลับฟ้า โน้ต เชิญยิ้ม โน้ต เชิญยิ้ม เพลงถวายความอาลัย พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

อื่น ๆ

  • เป็นนักแสดงตลกยุคแรก ๆ ของรายการก่อนบ่ายคลายเครียดร่วมกับเต่า เชิญยิ้ม นก วนิดา ฯลฯ
  • เคยออกอัลบั้มเพลง ชุด หาบเร่-แผงลอย ในนาม "Note & Hot to Trot" โดยวงดนตรี Hot to Trot รับหน้าที่ทำดนตรี บรรเลง และดูแลการผลิตทั้งหมด สังกัดห้องอัดเสียงทอง (2530)
  • เคยออกอัลบั้มเพลงชุด "โน้ตตัวโด" (2540)
  • เคยออกอัลบั้มเพลงคู่กับ นก วนิดา ในชุด "น.โน้ต น.นก" สังกัดมาสเตอร์เทป
  • บันทึกการแสดงสดร่วมกับชาวคณะ ในรายการ จี้เส้นคอนเสิร์ต สังกัดเอสทีวิดีโอ โดยใช้ชื่อชุดประจำคณะว่า โครงการฮา

หนังสือ

รางวัล

  • โทรทัศน์ทองคำ พ.ศ. 2535 รางวัลดาราสนับสนุนชายดีเด่น จากเรื่อง เมืองโพล้เพล้
  • รางวัล เทพทอง ครั้งที่ 8 ประจำปี 2549 สาขาผู้แทนองค์กรและบุคคลดีเด่น ด้านวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ จากบทบาทการเป็นพิธีกรรายการชิงช้าสวรรค์[9]

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น