ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (อยู่ ญาโณทโย)"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Thai.2016 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Thai.2016 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 3: บรรทัด 3:
|พระนามเดิม = อยู่
|พระนามเดิม = อยู่
|ภาพ = สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (อยู่ ญาโณทโย).jpg
|ภาพ = สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (อยู่ ญาโณทโย).jpg
|ดำรงพระยศ = [[4 พฤษภาคม]] [[พ.ศ. 2506]] - [[15 พฤษภาคม]] [[พ.ศ. 2508]] ({{อายุปีและวัน|2506|5|4|2508|5|15}})
|ดำรงพระยศ = [[4 พฤษภาคม]] [[พ.ศ. 2506]] - [[15 พฤษภาคม]] [[พ.ศ. 2508]] (2 พรรษา 11 วัน)
|ฉายา = ญาโณทโย
|ฉายา = '''ญาโณทโย'''
|พระชนก = ตรุษ ช้างโสภา
|พระชนก = '''ตรุษ ช้างโสภา'''
|succession = [[สมเด็จพระสังฆราช]] พระองค์ที่ 15
|succession = [[สมเด็จพระสังฆราช]] พระองค์ที่ 15
|ประสูติ = {{วันเกิด|2417|12|1|mf=y}}
|ประสูติ = [[1 ธันวาคม]] [[พ.ศ. 2417]]
|วันบวช = พ.ศ. 2437
|วันบวช = [[พ.ศ. 2437]]
|สิ้นพระชนม์ = 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2508 ({{อายุปีและวัน|2417|12|1|2508|5|15}})
|สิ้นพระชนม์ = [[15 พฤษภาคม]] [[พ.ศ. 2508]] (90 พรรษา 166 วัน)
|พรรษา = 71 พรรษา
|พรรษา = 71 พรรษา
|ก่อนหน้า = [[สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ปลด กิตฺติโสภโณ)]]
|ก่อนหน้า = [[สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ปลด กิตฺติโสภโณ)]]
บรรทัด 16: บรรทัด 16:
|สมณุตตมาภิเษก = [[4 พฤษภาคม]] [[พ.ศ. 2506]]
|สมณุตตมาภิเษก = [[4 พฤษภาคม]] [[พ.ศ. 2506]]
|สถานที่ = [[วัดพระศรีรัตนศาสดาราม]]
|สถานที่ = [[วัดพระศรีรัตนศาสดาราม]]
|พระชนนี = จันทน์ ช้างโสภา
|พระชนนี = '''จันทน์ ช้างโสภา'''
|สังกัด = มหานิกาย
|สังกัด = [[มหานิกาย]]
|วุฒิ = ป.ธ.๙
|วุฒิ = ป.ธ.๙
|พระอิสริยยศ = สกลมหาสังฆปริณายก
|พระอิสริยยศ = สกลมหาสังฆปริณายก
}}
}}
'''สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช''' พระนามเดิม '''อยู่ ช้างโสภา''' ฉายา '''{{ญ}}าโณทโย''' เป็น[[สมเด็จพระสังฆราช]]พระองค์ที่ 15 แห่ง[[กรุงรัตนโกสินทร์]] สถิต ณ [[วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร]] ดำรงตำแหน่งเมื่อปี [[พ.ศ. 2506]] ในรัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช]] ทรงดำรงตำแหน่งอยู่ 2 ปี สิ้นพระชนมเมื่อวันที่ [[15 พฤษภาคม]] [[พ.ศ. 2508]] สิริพระชันษา 90 ปีเศษ<ref name="เรื่องตั้ง ๒">{{อ้างหนังสือ|ผู้แต่ง = กรมศิลปากร|ชื่อหนังสือ = เรื่องตั้งพระราชาคณะผู้ใหญ่ในกรุงรัตนโกสินทร์ เล่ม ๒|URL = |จังหวัด = กรุงเทพฯ|พิมพ์ที่ = กรมศิลปากร|ปี = 2545|ISBN = 974-417-530-3|จำนวนหน้า = 450|หน้า = 61-70}}</ref>
'''สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช''' พระนามเดิม '''อยู่ ช้างโสภา''' ฉายา '''{{ญ}}าโณทโย''' เป็น[[สมเด็จพระสังฆราช]]พระองค์ที่ 15 แห่ง[[กรุงรัตนโกสินทร์]] สถิต ณ [[วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร]] ดำรงตำแหน่งเมื่อปี [[พ.ศ. 2506]] ในรัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช]] ทรงดำรงตำแหน่งอยู่ 2 ปี สิ้นพระชนมเมื่อวันที่ [[15 พฤษภาคม]] [[พ.ศ. 2508]] สิริพระชันษา 90 พรรษาเศษ<ref name="เรื่องตั้ง ๒">{{อ้างหนังสือ|ผู้แต่ง = กรมศิลปากร|ชื่อหนังสือ = เรื่องตั้งพระราชาคณะผู้ใหญ่ในกรุงรัตนโกสินทร์ เล่ม ๒|URL = |จังหวัด = กรุงเทพฯ|พิมพ์ที่ = กรมศิลปากร|ปี = 2545|ISBN = 974-417-530-3|จำนวนหน้า = 450|หน้า = 61-70}}</ref>


== พระประวัติ ==
== พระประวัติ ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 03:16, 13 กุมภาพันธ์ 2560

สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ
สมเด็จพระสังฆราช (อยู่ ญาโณทโย)
สกลมหาสังฆปริณายก
สมเด็จพระสังฆราช พระองค์ที่ 15
ดำรงพระยศ4 พฤษภาคม พ.ศ. 2506 - 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2508 (2 พรรษา 11 วัน)
สมณุตตมาภิเษก4 พฤษภาคม พ.ศ. 2506
วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
ก่อนหน้าสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ปลด กิตฺติโสภโณ)
ถัดไปสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (จวน อุฏฐายี)
พรรษา71 พรรษา
สถิตวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร
ประสูติ1 ธันวาคม พ.ศ. 2417
อยู่
สิ้นพระชนม์15 พฤษภาคม พ.ศ. 2508 (90 พรรษา 166 วัน)
พระชนกตรุษ ช้างโสภา
พระชนนีจันทน์ ช้างโสภา

สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช พระนามเดิม อยู่ ช้างโสภา ฉายา ญาโณทโย เป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 15 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สถิต ณ วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร ดำรงตำแหน่งเมื่อปี พ.ศ. 2506 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงดำรงตำแหน่งอยู่ 2 ปี สิ้นพระชนมเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2508 สิริพระชันษา 90 พรรษาเศษ[1]

พระประวัติ

พระกำเนิด

พระองค์มีพระนามเดิมว่า อยู่ ช้างโสภา (นามสกุลเดิม "แซ่ฉั่ว")[2] ประสูติเมื่อวันอังคารที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2417 ที่เรือนแพหน้าวัดกัลยาณมิตร อำเภอบางกอกใหญ่ ธนบุรี พระชนกชื่อตรุษ พระชนนีชื่อจันทน์[1] ทรงรับการศึกษาเบื้องต้นในสำนักของบิดา และพระอาจารย์ช้างที่วัดสระเกศ

อุปสมบท

สมเด็จพระสังฆราช (อยู่) ทรงบรรพชาเป็นสารเณรอยู่วัดสระเกศ จนถึงปีมะเมีย พ.ศ. 2437 จึงทรงอุปสมบทเป็นพระภิกษุ โดยสมเด็จพระวันรัต (แดง สีลวฑฺฒโน) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระธรรมทานาจารย์ (จุ่น) และพระธรรมกิตติ (เม่น) เป็นพระกรรมวาจาจารย์[3]

การศึกษา

หลังจากบรรพชาเป็นสามเณร จึงได้ศึกษาภาษาบาลีตามคัมภีร์มูลกัจจายน์กับพระอาจารย์ช้าง และศึกษาในสำนักของพระธรรมกิตติ (เม่น) สำนักสมเด็จพระวันรัตน์ (แดง สีลวฑฺฒโน) และสำนักของพระยาธรรมปรีชา (ทิม) ด้วย

เมื่อได้เปรียญธรรม 9 ประโยคแล้ว พระองค์ก็ทรงดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการสนามหลวง สอบไล่พระปริยัติธรรมตลอดมา

สมณศักดิ์

  • พ.ศ. 2451 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะที่ พระปิฎกโกศล[4]
  • พ.ศ. 2464 เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่ พระราชเวที ตรีปิฎกภูสิต ธรรมบัณฑิต ยติคณิศร บวรสังฆาราม คามวาสี[5]
  • พ.ศ. 2466 เป็นพระราชาคณะชั้นเทพที่ พระเทพเวที ตรีปิฎกคุณสุนทรธรรมภูสิต ยติคณิศร บวรสังฆาราม คามวาสี[6]
  • พ.ศ. 2470 เป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่ พระธรรมเจดีย์ กวีวงศนายก ตรีปิฏกบัณฑิตมหาคณฤศร บวรสังฆารามคามวาสี[7]
  • พ.ศ. 2488 ได้รับสถาปนาสมณศักดิ์เป็นรองสมเด็จพระราชาคณะที่ พระธรรมวโรดม บรมญาณอดุลย์ สุนทรนายก ตรีปิฎกคุณาลังการภูสิต สุทธิกิจสาทร มหาคณฤศร บวรสังฆาราม คามวาสี[8]
  • พ.ศ. 2496 ได้รับสถาปนาสมณศักดิ์เป็นสมเด็จพระราชาคณะที่ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ญาณอดุลสุนทรนายก ตรีปิฎกวิทยาคุณ วิบุลคัมภีรญาณสุนทร มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี อรัณยวาสี[9]
  • พ.ศ. 2506 ได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช มีราชทินนามว่า สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สุขุมวิธานธำรง สกลมหาสงฆปริณายก ตรีปิฎกโกศล วิมลคัมภีรญาณ ญาโณทยาภิธานสังฆวิสุต พุทธบริษัทคารวสถาน ธรรมปฏิภาณญาณสุนทร บวรธรรมบพิตร สมเด็จพระสังฆราช[10]

ตำแหน่ง

พระกรณียกิจ

พระองค์ทรงอุปถัมภ์ส่งเสริมการศึกษาพระปริยัติธรรม ทั้งแผนกบาลี และนักธรรม ให้เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น เป็นองค์อุปภัมภ์กิตติมศักดิ์ของมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตั้งแต่เริ่มเปิดการศึกษาเมื่อปี พ.ศ. 2490 ตลอดมา ทรงบูรณปฏิสังขรณ์ พระบรมบรรพต (ภูเขาทอง วัดสระเกศ) จนสำเร็จเรียบร้อยดังที่เห็นอยู่ปัจจุบัน เป็นปูชนียสถานที่เริ่มสร้างมาแต่ต้นกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นศรีสง่าแก่กรุงเทพมหานครมาจวบถึงปัจจุบัน

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 กรมศิลปากร. เรื่องตั้งพระราชาคณะผู้ใหญ่ในกรุงรัตนโกสินทร์ เล่ม ๒. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2545. 450 หน้า. หน้า 61-70. ISBN 974-417-530-3
  2. http://www.dhammathai.org/thailand/sangkharaja15.php
  3. สมมอมรพันธุ์, พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระ. เรื่องตั้งพระราชาคณะผู้ใหญ่ในกรุงรัตนโกสินทร์ เล่ม ๑. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2545. 428 หน้า. ISBN 974-417-530-3, หน้า 266-7
  4. ราชกิจจานุเบกษา, การตั้งพระราชาคณะแลพระครู, เล่มที่ 25, ตอนที่ 15, 12 กรกฎาคม 2454, หน้า 454
  5. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศสถาปนาสมเด็จพระราชาคณะและพระราชาคณะ, เล่มที่ 38, ตอนที่ 0 ง, 2 ตุลาคม 2464, หน้า 1833
  6. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศสถาปนาสมณะศักดิ์, เล่มที่ 40, ตอนที่ 0 ง, 25 พฤศจิกายน 2466, หน้า 2596
  7. ราชกิจจานุเบกษา, รายนามพระสงฆ์ที่ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรสมณศักดิ์, เล่มที่ 44, ตอนที่ 0 ก, วันที่ 13 พฤศจิกายน 2470, หน้า 2525-6
  8. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศสถาปนาสมณศักดิ์, เล่มที่ 62, ตอนที่ 72, 25 ธันวาคม 2488, หน้า 716-7
  9. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศสถาปนาสมณศักดิ์, เล่มที่ 70, ตอนที่ 78, 22 ธันวาคม 2496, หน้า 1537
  10. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการประกาศสถาปนาสมเด็จพระสังฆราช และ สมเด็จพระราชาคณะ, เล่มที่ 80, ตอนที่ 45, 13 พฤษภาคม 2506, หน้า 1-5


ก่อนหน้า สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (อยู่ ญาโณทโย) ถัดไป
สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ
สมเด็จพระสังฆราช
(ปลด กิตฺติโสภโณ)
ไฟล์:ฉัตรสามชั้น.jpg
สมเด็จพระสังฆราชแห่งกรุงรัตนโกสินทร์
(พ.ศ. 2506 - พ.ศ. 2508)
สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ
สมเด็จพระสังฆราช
(จวน อุฏฐายี)
พระธรรมปิฎก (น่วม จนฺทสุวณฺโณ)
เจ้าอาวาสวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร
(พ.ศ. 2467 - พ.ศ. 2508)
พระธรรมเจดีย์ (เทียบ ธมฺมธโร)