ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สะพานข้ามแม่น้ำแคว"

พิกัด: 14°02′31″N 99°30′14″E / 14.041899°N 99.503822°E / 14.041899; 99.503822
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขด้วยแอปสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 10: บรรทัด 10:
== การท่องเที่ยว ==
== การท่องเที่ยว ==
[[ไฟล์:Railway bridge over the river kwai.JPG|thumb|250px|right|มุมมองภายในสะพานข้ามแม่น้ำแคว นักท่องเที่ยวสามารถเดินเที่ยวชมบนสะพานได้]]
[[ไฟล์:Railway bridge over the river kwai.JPG|thumb|250px|right|มุมมองภายในสะพานข้ามแม่น้ำแคว นักท่องเที่ยวสามารถเดินเที่ยวชมบนสะพานได้]]

uvuvwefdgsdgasdhqdthtrtttttttttttttttttttttttttttttt


-
-

รุ่นแก้ไขเมื่อ 20:14, 8 กุมภาพันธ์ 2560

สะพานข้ามแม่น้ำแคว (ถ่ายเมื่อปี พ.ศ. 2552)

สะพานข้ามแม่น้ำแคว (อังกฤษ: The Bridge of the River Kwai) ตั้งอยู่ที่ตำบลท่ามะขาม อำเภอเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี ห่างจากตัวเมืองไปทางทิศเหนือ ตามทางหลวงหมายเลข 323 ประมาณ 4 กิโลเมตร แยกซ้ายประมาณ 400 เมตร มีป้ายบอกทางชัดเจน

ประวัติ

สะพานข้ามแม่น้ำแควเป็นสถานที่ทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญยิ่งแห่งหนึ่ง เป็นสะพานที่สำคัญที่สุดของเส้นทางรถไฟสายมรณะ สร้างขึ้นสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยกองทัพญี่ปุ่นได้เกณฑ์เชลยศึกฝ่ายสัมพันธมิตร ได้แก่ ทหารอังกฤษ อเมริกัน ออสเตรเลีย ฮอลันดา และนิวซีแลนด์ประมาณ 61,700 คน สมทบด้วยกรรมกรชาวจีน ญวน ชวา มลายู ไทย พม่า และอินเดีย อีกจำนวนมาก มาก่อสร้างทางรถไฟสายยุทธศาสตร์ เพื่อเป็นเส้นทางผ่านไปสู่ประเทศพม่า ซึ่งเส้นทางช่วงหนึ่งจะต้องข้ามแม่น้ำแควใหญ่ จึงต้องมีการสร้างสะพานขึ้น การสร้างสะพานและทางรถไฟสายนี้ เต็มไปด้วยความยากลำบาก ความทารุณของสงครามและโรคภัย ตลอดจนการขาดแคลนอาหาร ทำให้เชลยศึกหลายหมื่นคนต้องเสียชีวิตลง

สะพานข้ามแม่น้ำแควใช้เวลาสร้างเพียง 1 เดือน โดยนำเหล็กจากมลายูมาประกอบเป็นชิ้น ๆ ตอนกลางทำเป็นสะพานเหล็ก 11 ช่วง หัวและโครงสะพานเป็นไม้ มีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2486 ต่อมาในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2487 ได้ถูกทิ้งระเบิดหลายครั้งจนสะพานหักท่อนกลาง ภายหลังสงครามสิ้นสุดลง รัฐบาลไทยได้ซ่อมแซมใหม่ด้วยเหล็กรูปเหลี่ยม เมื่อปี พ.ศ. 2489 จนสามารถใช้งานได้ ปัจจุบัน มีการยกย่องให้เป็น สัญลักษณ์แห่งสันติภาพ

การท่องเที่ยว

มุมมองภายในสะพานข้ามแม่น้ำแคว นักท่องเที่ยวสามารถเดินเที่ยวชมบนสะพานได้

uvuvwefdgsdgasdhqdthtrtttttttttttttttttttttttttttttt

-

งานสัปดาห์สะพานข้ามแม่น้ำแคว

การเดินทาง

ทางรถยนต์

  • จากกรุงเทพฯ ใช้ถนนเพชรเกษม (ทางหลวงหมายเลข 4) มุ่งหน้าสู่จังหวัดนครปฐม จากนั้นขับตรงไปมุ่งหน้าสู่จังหวัดราชบุรี
  • จากกรุงเทพฯ ใช้ถนนสายปิ่นเกล้า - นครชัยศรี (ทางหลวงหมายเลข 338) มุ่งหน้าสู่นครปฐม จากนั้นขับตรงไปมุ่งหน้าสู่จังหวัดราชบุรี
  • ทั้งสองเส้นทางด้านบนจะต้องผ่านแยกนครชัยศรี
  • จากแยกนครชัยศรี ขับตรงไป โดยจะผ่านสะพานไปบ้านแพ้ว ประมาณ 8.5 กิโลเมตร ผ่านสะพานไปตัวเมืองนครปฐม ประมาณ 0.5 กิโลเมตร ผ่านแยกไปจังหวัดสุพรรณบุรี ประมาณ 6.4 กิโลเมตร จากนั้นจะถึงสะพานไปจังหวัดกาญจนบุรี ประมาณ 9 กิโลเมตร รวมระยะทางประมาณ 24.4 กิโลเมตร

ทางรถโดยสารประจำทาง

  • จากสถานีขนส่งสายใต้ใหม่ กรุงเทพฯ - กาญจนบุรี ใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง โดยสามารถนั่งรถปรับอากาศสายกรุงเทพฯ-กาญจนบุรี แล้วไปลงที่สถานีขนส่งจังหวัดกาญจนบุรี
  • จากขนส่งกาญจนบุรีนั่งรถสายกาญจนบุรี - เอราวัณ หรือรถสายกาญจนบุรี - ทองผาภูมิ - สังขละบุรี ไปลงตรงแยกซ้ายมือเข้าสะพานข้ามแม่น้ำแคว จากนั้นนั่งมอเตอร์ไซต์รับจ้างเข้าไปประมาณ 700 เมตร

ทางรถไฟ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ ป้ายหยุดรถไฟสะพานแควใหญ่

โดยสารขบวนรถไฟประจำ ธนบุรี - น้ำตก หรือขบวนรถนำเที่ยวพิเศษ กรุงเทพ (หัวลําโพง) - น้ำตก (เฉพาะเสาร์ - อาทิตย์) ลงที่ สะพานแควใหญ่ ซึ่งอยู่ที่เชิงสะพานข้ามแม่น้ำแควพอดี

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

14°02′31″N 99°30′14″E / 14.041899°N 99.503822°E / 14.041899; 99.503822