ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ลิขิต เอกมงคล"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขด้วยแอปสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 7: บรรทัด 7:
| birthname = ลิขิต ศุกรเสพย์
| birthname = ลิขิต ศุกรเสพย์
| nickname = แด็ค
| nickname = แด็ค
| birthdate = {{วันเกิด-อายุ|2501|1|15}}
| birthdate = {{วันเกิด-อายุ|2501|1|15}}
| location = [[จังหวัดอ่างทอง]]
| location = [[จังหวัดอ่างทอง]]
| deathdate =
| deathdate =

รุ่นแก้ไขเมื่อ 22:58, 15 มกราคม 2560

ลิขิต เอกมงคล
ลิขิต เอกมงคล จากปก Hello ปี 2526
ลิขิต เอกมงคล จากปก Hello ปี 2526
สารนิเทศภูมิหลัง
เกิด15 มกราคม พ.ศ. 2501 (66 ปี)
ลิขิต ศุกรเสพย์
ThaiFilmDb

ลิขิต เอกมงคล (แด็กซ์) นามสกุลเดิมคือ ศุกรเสพย์ เกิดเมื่อวันที่ เกิด 15 มกราคม พ.ศ. 2501 ที่จังหวัดอ่างทอง เป็นนักแสดงชาวไทย

ประวัติ

ลิขิต เอกมงคลเป็นชาวอำเภอวิเศษ ชัยชาญ จ.อ่างทอง เป็นลูกคนที่ 4 ในจำนวนพี่น้อง 5 คน[1] พ่อแม่ส่งมาเรียนหนังสือที่กรุงเทพฯ เริ่มเรียนที่โรงเรียนทหาร (กองทัพบกอุปถัมภ์วิทยา) ซึ่งอยู่ในกรมวิทยาศาสตร์การทหารบางเขน กรุงเทพฯ ตั้งแต่ชั้น ป.4 จนถึงมัธยมต้น ต่อมัธยมปลายที่โรงเรียนผะดุงศิษย์พิทยา เดิมทีฝันอยากเป็นตำรวจอุตส่าห์มุ่งมั่นจนสอบข้อเขียนติดโรงเรียนนายร้อยสามพรานแต่ก็พลาด เพราะตาบอดสี เลยหันเหไปเรียนคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง[2] แต่ไม่จบเพราะเข้าวงการแสดงเสียก่อน ได้เล่นละครเรื่องแรกคือ จดหมายจากเมืองไทย ของ ม.จ.ชาตรีเฉลิม ยุคล ออกอากาศทางช่อง 7 สี มีบทไม่มากนัก ต่อมาได้เป็นหนุ่มแพรว ประจำปี 2527 เริ่มอาชีพจากการเป็นนายแบบ จากนั้นคิด สุวรรณศร ชักชวนมาเล่นภาพยนตร์เรื่องแรกคือ "ปล.ผมรักคุณ" คู่ อรพรรณ พานทอง เมื่อปลายปี 2526 หลังจากนั้นก็ได้เล่นหนังมาเรื่อยๆ ในเครือสหมงคลฟิล์ม เช่น เพลิงพิศวาส, ฉันผู้ชาย (นะยะ) ฯ ต่อมาก็เริ่มซาลง รับบทรองหลายเรื่องเช่น สะใภ้ (พระรอง) , ฟ้าสีทอง (ผู้ร้าย)

ช่วงที่พอมีเวลาว่างบ้างก็หันไปเล่นการเมือง เป็น สจ.อ่างทอง ก็กลับเข้าสู่วงการบัเทิง พอปลายปี 2530 ได้รับตุ๊กตาทองดารานำชายจากเรื่อง"ครั้งเดียวก็เกินพอ" แล้วหันกลับมาเล่นบทพระเอกเต็มตัวเรื่องแรกสำหรับละครโทรทัศน์ คือเรื่อง "จำเลยรัก" คู่กับสาวิตรี สามิภักดิ์ เป็นละครที่ได้รับความนิยมอย่างมาก และมีผลงานละครเรื่อยมา เช่น เชลยศักดิ์ (พบจินตหราครั้งแรกและครั้งเดียว) ส่วนใหญ่เป็นละครของช่อง 7 ไปเล่นให้ช่องอื่น ก็มีเรื่อง ท่าฉลอม ของวิทยา สุขดำรงค์ (ช่อง 9) และยังมีอีกหลายเรื่องเช่น อุบัติเหตุ, เสราดารัล, นางทาส, สารวัตรใหญ่ (กันตนา) ทางด้านผลงานภาพยนตร์เช่น ช่างมันฉันไม่แคร์, ฉันรักผัวเขา, อุบัติโหด, หัวใจห้องที่ 5, แม่เบี้ย

นอกจากนี้ได้รับตุ๊กตาทองดารานำชายเป็นตัวที่ 2 จากเรื่อง "ขยี้" ปลายปี พ.ศ. 2534 โดยรับร่วมกับสามารถ พยัคฆ์อรุณ เป็นครั้งเดียวในประวัติศาสตร์ที่ดารานำชายมี 2 คนและจากเรื่องเดียวกันและหนังเรื่องนี้ก็ยังไม่เคยเข้าฉายในโรง ในช่วงที่ภาพยนตร์ไทยเริ่มซบเซา จึงหันมาเล่นหนังบู๊ภูธรเกรดบี ต่อมาบทบาททางการการแสดงก็ยุติลงเนื่องจากเป็นงูสวัดและทำตา รับเล่นละครเรื่องสุดท้ายคือ เพชรตัดเพชร[3] และประกาศออกมาว่าจะไม่ออกรายการทีวีอีก แต่เมื่อหลายปีก่อนได้ออกรายการทไวไลท์โชว์ บอกว่าทำธุรกิจส่วนตัว เปิดมินิมาร์ท[4]

ผลงานภาพยนตร์

  • เพลิงพิศวาท (2527)
  • ปล.ผมรักคุณ (2527)
  • สะใภ้ (2529)
  • ไฟเสน่หา (2529)
  • นางนวล (2530)
  • ฉันรักผัวเขา (2530)
  • ฟ้าสีทอง (2530)
  • บาปสวาท (2530)
  • ฉันผู้ชายนะยะ (2531)
  • เรือมนุษย์ (2531)
  • ทายาทคนใหม่ (2531)
  • ช่างมันฉันไม่แคร์ (2531)
  • เหยื่ออารมณ์ (2531)
  • ครั้งเดียวก็เกินพอ (2531)
  • อุบัติโหด (2531)
  • ทอง 3 (2532)
  • กลกามแห่งความรัก (2532)
  • ปล้น เช็คบิล (2532)
  • แม่เบี้ย (2532)
  • รักเธอเท่าฟ้า (2532)
  • ทะนง (2532)
  • แด่เพื่อนพ้องและตัวกู (2532)
  • รักคืนเรือน (2532)
  • 3 อันตราย (2533)
  • ข้ามากับปืน (2533)
  • ดอกฟ้าในมือมาร (2533)
  • ดอกแก้วดำ, ลายแทงมหาภัย (2533)
  • นางฟ้าอีดิน (2533)
  • บ่อเพลิงที่โพธิ์ทะเล (2533)
  • กว่าจะถึงสวรรค์ (2533)
  • เพลิงอารมณ์ (2533)
  • ก่อนจะสิ้นแสงตะวัน (2533)
  • ก้อนหินในดินทราย (2533)
  • หัวใจห้องที่ 5 (2533)
  • มายาเพชรฆาต (2533)
  • แม่นาคคืนชีพ (2533)
  • ข้ามฟ้ามาหารัก (2533)
  • แผนกับดัก (2534)
  • เลือดเข้าตา (2534)
  • สงครามเมีย (2534)
  • สองฝั่งโขง (2535)
  • นักฆ่า (ปีศาจ) (2537)
  • นักฆ่าตาปีศาจ (2537)
  • เสือล่าเสือ (2537)
  • รำปืนลำเพลิน (2538)
  • วิมานเสน่หา
  • ชื่นชีวานาวี
  • ข้ามฟ้ามาหารัก
  • ยากูซ่า

ผลงานละครโทรทัศน์

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น