ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ทองอินทร์ ภูริพัฒน์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขด้วยแอปสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
[[ไฟล์:Thong_in_01.jpg|thumb|200px|รองอำมาตย์ตรี ทองอินทร์ ภูริพัฒน์]]
[[ไฟล์:Thong_in_01.jpg|thumb|200px|รองอำมาตย์ตรี ทองอินทร์ ภูริพัฒน์]]
'''นายทองอินทร์ ภูริพัฒน์''' เป็นนักการเมือง [[ภาคอีสาน]] [[จังหวัดอุบลราชธานี]] ผู้เป็นที่รู้จักกันดีในช่วงระหว่าง[[สงครามโลกครั้งที่ 2]] ในกรณี "พระราชบัญญัติปักป้ายข้าวเหนียว" ต่อมาได้ดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการ[[กระทรวงอุตสาหกรรม]] ในรัฐบาล [[ปรีดี พนมยงค์|นายปรีดี พนมยงค์]]
'''นายทองอินทร์ ภูริพัฒน์''' เป็นนักการเมือง [[ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ]] [[จังหวัดอุบลราชธานี]] ผู้เป็นที่รู้จักกันดีในช่วงระหว่าง[[สงครามโลกครั้งที่ 2]] ในกรณี "พระราชบัญญัติปักป้ายข้าวเหนียว" ต่อมาได้ดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการ[[กระทรวงอุตสาหกรรม]] ในรัฐบาล [[ปรีดี พนมยงค์|นายปรีดี พนมยงค์]]


นายทองอินทร์ ภูริพัฒน์ เป็น 1 ใน 4 อดีตรัฐมนตรีที่ถูกสังหารโหด ที่ ทุ่งบางเขน เมื่อปี [[พ.ศ. 2492]] ในสมัยรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ด้วยสาเหตุทางการเมือง ท่านได้รับการยกย่องว่าเป็น นักการเมืองผู้ต่อสู้เพื่อชาวอิสานอย่างแท้จริงคนหนึ่ง
นายทองอินทร์ ภูริพัฒน์ เป็น 1 ใน 4 อดีตรัฐมนตรีที่ถูกสังหารโหด ที่ ทุ่งบางเขน เมื่อปี [[พ.ศ. 2492]] ในสมัยรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ด้วยสาเหตุทางการเมือง ท่านได้รับการยกย่องว่าเป็น นักการเมืองผู้ต่อสู้เพื่อชาวอิสานอย่างแท้จริงคนหนึ่ง

รุ่นแก้ไขเมื่อ 03:06, 15 มกราคม 2560

ไฟล์:Thong in 01.jpg
รองอำมาตย์ตรี ทองอินทร์ ภูริพัฒน์

นายทองอินทร์ ภูริพัฒน์ เป็นนักการเมือง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดอุบลราชธานี ผู้เป็นที่รู้จักกันดีในช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ในกรณี "พระราชบัญญัติปักป้ายข้าวเหนียว" ต่อมาได้ดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในรัฐบาล นายปรีดี พนมยงค์

นายทองอินทร์ ภูริพัฒน์ เป็น 1 ใน 4 อดีตรัฐมนตรีที่ถูกสังหารโหด ที่ ทุ่งบางเขน เมื่อปี พ.ศ. 2492 ในสมัยรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ด้วยสาเหตุทางการเมือง ท่านได้รับการยกย่องว่าเป็น นักการเมืองผู้ต่อสู้เพื่อชาวอิสานอย่างแท้จริงคนหนึ่ง

ประวัติ

ไฟล์:ทองอินทร์ ภูริพัฒน์ - เจ้าศิริบังอร ณ จำปาศักดิ์.jpg
นายทองอินทร์ ภูริพัฒน์ ถ่ายกับเจ้าศิริบังอร และบุตรทั้ง 9 คน ที่บ้านพักจังหวัดอุบลราชธานี

นายทองอินทร์ ภูริพัฒน์เกิดเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2449 ที่บ้านหนองยาง ตำบลหัวเรือ อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี มีคู่สมรส 1 คน คือเจ้าศิริบังอร ณ จำปาศักดิ์ นายทองอินทร์ ภูริพัฒน์ จึงมีความเกี่ยวดองเป็นเขยของตระกูลเจ้าผู้ครองนครจำปาศักดิ์ ในประเทศลาวด้วย

ประวัติการศึกษา

  • ประกาศนียบัตรชุดครูมัธยม
  • เนติบัณฑิตไทย

ประวัติการรับราชการ

ผลงาน

  • ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ทำหน้าที่ หัวหน้าขบวนการเสรีไทย เขตอุบลราชธานี
  • เป็นผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานี โดยได้รับคัดเลือกทุกสมัยที่ลงสมัคร สามารถปฏิบัติหน้าที่อย่างกล้าหาญเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งแนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนา แม่น้ำโขง แม่น้ำชี และแม่น้ำมูล
  • เป็นรัฐมนตรี 6 สมัย
  • ตั้งโรงเรียนศรีทองวิทยาและวิไลวัฒนา ซึ่งเป็นโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา ของเอกชนที่สำคัญใน จังหวัดอุบลราชธานี ในอดีต
  • ผลงานเด่นคือ การพยายามเสนอร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองค่าใช้จ่ายประชาชนในภาวะคับขัน หรือที่เรียกกันในเวลานั้นว่า "พระราชบัญญัติปักป้ายข้าวเหนียว" เพื่อคุ้มครองป้องกันไม่ให้พ่อค้าเอารัดเอาเปรียบผู้บริโภค ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 แม้ฝ่ายรัฐบาล นายควง อภัยวงศ์ ในเวลานั้นจะไม่เห็นด้วยกับหลักการในร่าง พ.ร.บ. ดังกล่าว เพราะเห็นว่าไม่มีมาตรการที่จะควบคุมราคา แต่ในที่สุดฝ่ายรัฐบาล ก็แพ้โหวตในสภาฯ ที่รับหลักการด้วยคะแนน 65 ต่อ 63 เสียง และทำให้รัฐมนตรีลาออกทั้งคณะ หลังจากนั้น นายปรีดี พนมยงค์ได้ดำรงตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี

ถึงแก่กรรม

ไฟล์:เตียง ศิริขันธ์ - ทองอินทร์ ภูริพัฒน์.jpg
นายทองอินทร์ ภูริพัฒน์ (คนขวา) กับนายเตียง ศิริขันธ์

ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 นายทองอินทร์ ภูริพัฒน์ได้สมัครเข้าเป็นสมาชิก พรรคสหชีพ ซึ่งเป็นกลุ่มการเมืองของฝ่ายนายปรีดี พนมยงค์ ภายหลังการ รัฐประหารใน พ.ศ. 2490 และเหตุการณ์ กบฏวังหลวง นักการเมืองฝ่ายนายปรีดี ที่อยู่ในประเทศก็ถูกฝ่ายรัฐบาล ดำเนินการกวาดล้างอย่างหนัก ซึ่งรวมถึงนายทองอินทร์ด้วย

นายทองอินทร์ ภูริพัฒน์ ถูกจับกุมพร้อมกับ อดีตรัฐมนตรีอีสานอีก 2 คน คือ นายถวิล อุดล นายจำลอง ดาวเรือง รวมทั้ง ดร.ทองเปลว ชลภูมิ (หนึ่งในสมาชิกคณะราษฎรสายปรีดีที่ถูกจับมาในอีกคดีหนึ่ง) ก็ถูกนำตัวไปสังหารที่บริเวณทุ่งบางเขน ถนนพหลโยธิน กิโลเมตรที่ 11 ในวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2492 โดย กรมตำรวจ ในเวลานั้นอ้างเหตุว่า มีโจรคอมมิวนิสต์มลายู มาชิงตัว 4 อดีตรัฐมนตรี และเกิดการต่อสู้ขึ้น จนทำให้ทั้ง 4 คน ถูกลูกหลงเสียชีวิตทั้งหมด แต่ไม่ใคร่จะมีใครเชื่อข้ออ้างดังกล่าวนัก เนื่องจากไม่มีตำรวจเสียชีวิตหรือบาดเจ็บแม้แต่รายเดียว ในเวลาที่นายทองอินทร์เสียชีวิตนั้น มีอายุได้เพียง 43 ปี

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น