ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย"

พิกัด: 13°44′18″N 100°31′56″E / 13.738354°N 100.532188°E / 13.738354; 100.532188
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Payajam (คุย | ส่วนร่วม)
รหัสไปรษณีย์
BunBn (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 8: บรรทัด 8:
| ชื่อย่อ = จุฬาฯ / Chula , CU
| ชื่อย่อ = จุฬาฯ / Chula , CU
| คำขวัญ = * ความรู้คู่คุณธรรม {{เทาเล็ก|(ทางการ)}}
| คำขวัญ = * ความรู้คู่คุณธรรม {{เทาเล็ก|(ทางการ)}}
* เกียรติภูมิจุฬาฯ คือเกียรติแห่งการรับใช้ประชาชน<ref>จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ชาวจุฬาฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 26 มีนาคม 2549. http://w3.chula.ac.th/about/cupeople/index.htm (7 กรกฎาคม 2559 ที่เข้าถึง)</ref>
* เกียรติภูมิจุฬาฯ คือเกียรติแห่งการรับใช้ประชาชน{{เทาเล็ก|(ไม่เป็นทางการ)}}<ref>จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ชาวจุฬาฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 26 มีนาคม 2549. http://w3.chula.ac.th/about/cupeople/index.htm (7 กรกฎาคม 2559 ที่เข้าถึง)</ref>
* เสาหลักแห่งแผ่นดิน
| established = {{เทาเล็ก|ตามปฏิทินสากล}}<br>{{วันเกิด-อายุ|2460|3|26}}<br />
| established = {{เทาเล็ก|ตามปฏิทินสากล}}<br>{{วันเกิด-อายุ|2460|3|26}}<br />
{{เทาเล็ก|ตามปฏิทินแบบไทยและราชกิจจานุเบกษา}}<br>26 มีนาคม พ.ศ. 2459<ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2460/A/21.PDF ประกาศกระทรวงธรรมการ เรื่อง รวมโรงเรียนราชแพทยาลัยเข้ากับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย], เล่มที่ 34, หน้า 21, วันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2460.</ref>
{{เทาเล็ก|ตามปฏิทินแบบไทยและราชกิจจานุเบกษา}}<br>26 มีนาคม พ.ศ. 2459<ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2460/A/21.PDF ประกาศกระทรวงธรรมการ เรื่อง รวมโรงเรียนราชแพทยาลัยเข้ากับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย], เล่มที่ 34, หน้า 21, วันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2460.</ref>

รุ่นแก้ไขเมื่อ 23:56, 12 มกราคม 2560

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ชื่อย่อจุฬาฯ / Chula , CU
คติพจน์
  • ความรู้คู่คุณธรรม (ทางการ)
  • เกียรติภูมิจุฬาฯ คือเกียรติแห่งการรับใช้ประชาชน(ไม่เป็นทางการ)[1]
ประเภทสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ
สถาปนาตามปฏิทินสากล
26 มีนาคม พ.ศ. 2460 (107 ปี)
ตามปฏิทินแบบไทยและราชกิจจานุเบกษา
26 มีนาคม พ.ศ. 2459[2]
อธิการบดีศ. ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์
อธิการบดีศ. ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์
นายกสภาฯศ.กิตติคุณ คุณหญิง ดร.สุชาดา กีระนันทน์
ผู้ศึกษา37,273 คน[3] พฤศจิกายน 2559
ที่ตั้ง
ผู้สถาปนาพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
สี███ สีชมพู[4]
เครือข่ายAPRU, AUN, ASAIHL
เว็บไซต์www.chula.ac.th

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นมหาวิทยาลัยและสถาบันอุดมศึกษาแห่งแรกของประเทศไทย[5] ตั้งอยู่ที่เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร ถือกำเนิดจาก "โรงเรียนสำหรับฝึกหัดวิชาข้าราชการฝ่ายพลเรือน" ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งขึ้นภายในพระบรมมหาราชวัง เมื่อวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2442 พร้อมทั้งพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้อัญเชิญ "พระเกี้ยว" มาเป็นเครื่องหมายประจำโรงเรียน การดำเนินงานของโรงเรียนมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเป็นลำดับ จนกระทั่ง เมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2459 (นับแบบเก่า) พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงประดิษฐานขึ้นเป็นมหาวิทยาลัย และพระราชทานนามว่า "จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" เพื่อเป็นพระบรมราชานุสาวรีย์เฉลิมพระเกียรติแห่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระบรมชนกนาถของพระองค์[6] นับตั้งแต่ พ.ศ. 2460 ถึงปัจจุบัน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีผู้บัญชาการและอธิการบดีมาแล้ว 17 คน อธิการบดีคนปัจจุบัน คือ ศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติที่ได้รับการรับรองมาตรฐานการศึกษาในระดับดีมากจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) เป็นสมาชิกเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน (AUN)[7] และเป็นมหาวิทยาลัยเพียงแห่งเดียวในประเทศไทยที่เป็นสมาชิกของสมาคมมหาวิทยาลัยภาคพื้นแปซิฟิก (APRU)[8][9] ในส่วนของการรับบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษานั้นพบว่า ผู้สมัครสอบที่ทำคะแนนรวมสูงสุดในแต่ละปีส่วนใหญ่เลือกเข้าศึกษาต่อในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[10][11][12][13]

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกที่ใช้คำว่า "นิสิต" เรียกผู้เข้าศึกษาในสังกัดของสถาบัน เพราะเมื่อแรกก่อตั้ง ที่ตั้งของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยถือว่าอยู่ห่างไกลจากเขตพระนครซึ่งเป็นศูนย์กลางความเจริญในสมัยนั้นอย่างมาก ทำให้การเดินทางมาศึกษาเป็นไปอย่างยากลำบาก จึงมีการสร้างหอพักเพื่อให้ผู้เข้าศึกษาสามารถพักอาศัยในบริเวณมหาวิทยาลัยได้ และใช้คำว่า "นิสิต" ที่แปลว่า "ผู้อาศัย" เรียกผู้เข้าศึกษา คำนี้มีความเป็นมาคือ ในอดีตนักเรียนจะเรียนวิชาใด ต้องไปฝากตัวเป็นศิษย์ในสำนักอาจารย์ต่าง ๆ เช่น ในยุโรปไปฝากตัวที่สำนักของบาทหลวง ในประเทศไทยไปฝากตัวที่วัดเป็นศิษย์ของพระและอาศัยวัดเป็นสถานที่ศึกษา ด้วยเหตุนี้ มหาวิทยาลัยในประเทศอังกฤษจึงใช้คำว่า "Matriculated Student"[14] ที่แปลว่า "นักศึกษาที่ได้รับเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยแล้ว" เรียกผู้เข้าศึกษา เช่นเดียวกับคำว่า "นิสิต"[15] ทั้งนี้ ในอดีต โรงเรียนสำหรับฝึกหัดวิชาข้าราชการฝ่ายพลเรือนใช้คำว่า "นิสิต" เรียกผู้จบการศึกษาประโยคมัธยมศึกษาตอนปลายและเรียนเพื่อสอบวิชาเป็นบัณฑิต[16] และแม้ว่าในปัจจุบันการเดินทางจะสะดวกขึ้นเป็นอันมาก เขตปทุมวันซึ่งเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยเปลี่ยนแปลงไปเป็นย่านธุรกิจการค้าใจกลางเมือง ทำให้นิสิตไม่มีความจำเป็นต้องพักในหอพักนิสิตทุกคนอีกต่อไป แต่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยยังคงใช้คำว่า "นิสิต" เรียกผู้เข้าศึกษา เพื่อเป็นที่รำลึกถึงความเป็นมาของสถาบันเช่นเดิม

เมื่อกล่าวถึงคำว่า "สามย่าน" สามารถอนุมานถึงจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ เพราะอาณาเขตของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยติดต่อกับสี่แยก 2 แห่ง คือแยกสามย่านและแยกปทุมวัน ทั้งสองแห่งเป็นพื้นที่เศรษฐกิจสำคัญของกรุงเทพมหานครและประเทศไทย[17] เป็นที่ตั้งของอาคารสำนักงานขนาดใหญ่ สถาบันการเงิน พิพิธภัณฑ์ หอศิลป์และห้างสรรพสินค้าหลายแห่ง[18] จนกลายเป็นภาพลักษณ์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและใช้ในการแปรอักษรของงานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ–ธรรมศาสตร์ ที่จัดขึ้นทุกปีระหว่างสองมหาวิทยาลัยเก่าแก่ของประเทศไทยคือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่สนามศุภชลาศัย กรีฑาสถานแห่งชาติ

พิธีพระราชทานปริญญาบัตรครั้งแรกของประเทศไทยเกิดขึ้นที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2473 ถือเป็นพิธีสำเร็จการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่มีขึ้นครั้งแรกในประเทศ บุคคลสำคัญจากหลายสาขาอาชีพได้รับเชิญให้เข้าร่วมพิธีเป็นจำนวนมาก อาทิ เอกอัครราชทูตจากนานาประเทศ ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่และตัวแทนองค์กรระหว่างประเทศ ในการนี้พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีเสร็จพระราชดำเนินพระราชทานปริญญาบัตร ทำให้พิธีพระราชทานปริญญาบัตรเป็นการหน้าที่นั่งของพระมหากษัตริย์ไทยทุกพระองค์นับแต่นั้นเป็นต้นมา[19] กล่าวคือหากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไม่สามารถเสด็จได้ ก็จะเป็นการถวายปฏิญญาต่อพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์และรับพระราชทานปริญญาบัตรจากผู้แทนพระองค์ ธรรมเนียมนี้ได้ใช้ปฏิบัติในสถาบันอุดมศึกษาอื่น ๆ ในเวลาต่อมา ทั้งนี้ปริญญาบัตรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีผลทางกฎหมายก่อนที่จะมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2477[20] ถึง 4 ปี เพราะมีพระบรมราชโองการประดิษฐานจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2459 เป็นกฎหมายที่ให้สิทธิ์และอำนาจอันชอบธรรมแก่มหาวิทยาลัย ในการประสาทปริญญาแก่นิสิตผู้สำเร็จการศึกษาอยู่ก่อนแล้ว[21]

ปัจจุบัน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยประกอบไปด้วย 19 คณะวิชา 1 สำนักวิชา ครอบคลุมทั้งสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิทยาศาสตร์สุขภาพ สังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ และมีหน่วยงานประเภท วิทยาลัย 3 แห่ง บัณฑิตวิทยาลัย 1 แห่ง สถาบัน 14 แห่ง และสถาบันสมทบอีก 2 สถาบัน จำนวนหลักสูตรรวมทั้งสิ้น 506 หลักสูตร ประกอบด้วย ระดับปริญญาตรี 113 หลักสูตร ระดับบัณฑิตศึกษา 393 หลักสูตร ในจำนวนนี้เป็นหลักสูตรนานาชาติและหลักสูตรภาษาอังกฤษ 87 หลักสูตร

ประวัติ

พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระปิยมหาราชและสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถือกำเนิดจาก “โรงเรียนสำหรับฝึกหัดวิชาข้าราชการฝ่ายพลเรือน” ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2442 (นับวันขึ้นปีใหม่แบบไทยคือ พ.ศ. 2441) ณ ตึกยาว ข้างประตูพิมานชัยศรี ในพระบรมมหาราชวัง ด้วยมีพระราชปรารภที่จะทรงจัดการปกครองพระราชอาณาจักรให้ทันกาลสมัย จึงจัดตั้งโรงเรียนเพื่อฝึกหัดนักเรียนสำหรับรับราชการปกครองขึ้นในกระทรวงมหาดไทย ซึ่งนักเรียนที่จบการศึกษาจากโรงเรียนแห่งนี้ จะได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กรับราชการใกล้ชิดพระองค์ และด้วยประเพณีโบราณที่ข้าราชการจะถวายตัวเข้าศึกษางานในกรมมหาดเล็ก ก่อนที่จะออกไปรับตำแหน่งในกรมอื่น ๆ ดังนั้น พระองค์จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนนามโรงเรียนเป็น “โรงเรียนมหาดเล็ก” เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2445[22] เพื่อเป็นรากฐานของสถาบันการศึกษาขั้นสูงต่อไปในอนาคต ดังจะเห็นได้จากพระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ได้พระราชทานแก่พระราชวงศ์ และข้าราชการซึ่งเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทในงานของโรงเรียนราชกุมารในพระบรมมหาราชวัง ความตอนหนึ่งดังนี้[23]


...เมื่อได้กล่าวถึงโรงเรียนนี้ ว่าจะเปนการสงเคราะห์แต่ตระกูลเจ้านายดังนี้ ใช่ว่าจะลืมตระกูลข้าราชการและราษฎรเสียเมื่อไร โรงเรียนที่มีอยู่แล้วแลที่จะตั้งขึ้นต่อไปภายน่า โดยมากได้คิดจัดการโดยอุส่าห์เต็มกำลังที่จะให้เป็นการเรียบร้อย พร้อมเพรียงเหมือนอย่างโรงเรียนนี้ แลคิดจะให้แพร่หลายกว้างขวาง เปนคนที่ได้เรียนมากขึ้นกว่าแต่ก่อน ทั้งจะมีโรงเรียนวิชาอย่างสูงขึ้นไปอีกซึ่งกำลังคิดจัดอยู่บัดนี้ เจ้านายตั้งแต่ลูกฉันเปนต้นไป ตลอดจนถึงราษฎรที่ต่ำสุด จะให้ได้มีโอกาสเล่าเรียนได้เสมอกัน ไม่ว่าเจ้าว่าขุนนางว่าไพร่ เพราะฉะนั้นจึ่งขอบอกได้ว่า การเล่าเรียนในบ้านเมืองเรานี้จะเปนข้อสำคัญที่หนึ่ง ซึ่งฉันจะอุส่าห์จัดให้เจริญขึ้นจงได้[24]

— พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ไฟล์:CivilServiceSchoollogo.jpg
ตราสัญลักษณ์โรงเรียนข้าราชการพลเรือน[25]

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำริที่จะขยายการจัดการศึกษา เพื่อผลิตนักเรียนไปรับราชการในกระทรวง ทบวง กรมอื่น ๆ ไม่เฉพาะกระทรวงมหาดไทยเท่านั้น จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกโรงเรียนมหาดเล็กเป็นโรงเรียนข้าราชการพลเรือน โดยใช้วังวินด์เซอร์เป็นสถานที่ประกอบการเรียนการสอน และสถาปนาขึ้นเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2453 พร้อมทั้ง พระราชทานนามโรงเรียนแห่งนี้ว่า “โรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว” เนื่องจากเป็นโรงเรียนที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีพระราชดำริจัดตั้งขึ้น และได้ใช้เงินคงเหลือจากการที่ราษฎรเรี่ยรายกันเพื่อสร้างพระบรมรูปทรงม้า เป็นเงินจำนวน 982,672 บาท 47 สตางค์ มากกว่ามูลค่าการก่อสร้างพระบรมรูปทรงม้าถึงห้าเท่าตัว[26] มาใช้เป็นทุนของโรงเรียนแห่งนี้[27] นอกจากนี้ ยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กำหนดที่ดินพระคลังข้างที่รวมเนื้อที่ทั้งสิ้น 1,309 ไร่เป็นเขตโรงเรียน[28] โดยมีการจัดการศึกษาใน 5 โรงเรียน (คณะในปัจจุบัน) ได้แก่ โรงเรียนรัฎฐประศาสนศาสตร์ โรงเรียนคุรุศึกษา (โรงเรียนฝึกหัดครู) โรงเรียนราชแพทยาลัย โรงเรียนเนติศึกษา (โรงเรียนกฎหมาย) และโรงเรียนยันตรศึกษา[29]


ต่อมา พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริเห็นสมควรที่จะขยายการศึกษาในโรงเรียนข้าราชการพลเรือนฯ ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น คือ ไม่เฉพาะสำหรับผู้ที่จะเล่าเรียนเพื่อรับราชการเท่านั้น แต่ผู้ใดที่มีความประสงค์จะศึกษาขั้นสูงก็สามารถเข้าเรียนได้ทั่วถึงกัน จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประดิษฐานโรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขึ้นเป็นมหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2459 พร้อมทั้งพระราชทานนามว่า “จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” เพื่อเป็นพระบรมราชานุสาวรีย์เฉลิมพระเกียรติแห่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยให้มหาวิทยาลัยแห่งนี้สังกัดอยู่ในกระทรวงธรรมการ[30] ซึ่งเป็นไปตามพระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวที่พระราชทานแก่ผู้มาร่วมงานพระราชพิธีวางศิลาพระฤกษ์ตึกบัญชาการโรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ในปัจจุบัน) เมื่อวันจันทร์ที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2458 ดังนี้

วันนี้เรายินดีที่ได้รับอัญเชิญให้มาวางศิลาฤกษ์สำหรับมหาวิทยาลัยนี้ เพราะเป็นกิจอันหนึ่งซึ่งเราปรารถนาอยู่นานแล้ว ที่จะยังให้เป็นผลสำเร็จตามพระราชประสงค์ ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ได้ทรงพระราชปรารถนามานานแล้ว ในเรื่องที่จะให้มีมหาวิทยาลัยขึ้นสำหรับเป็นสถานอุดมศึกษาของชาวสยาม แต่ในรัชสมัยของพระองค์ ยังมีเหตุติดขัด ซึ่งการจะยังดำเนินไม่ได้ตลอดปลอดโปร่ง ตัวเราเป็นรัชทายาทจึ่งรู้สึกเป็นหน้าที่อันหนึ่ง ที่จะต้องทำการนั้นให้สำเร็จตามพระราชประสงค์โดยรู้ว่าเมื่อทำได้สำเร็จแล้ว จะเป็นเครื่องเพิ่มพูนพระเกียรติยศ เป็นราชานุสาวรีย์เป็นที่คำนึงถึงพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระปิยมหาราชของชาติไทยเรา เป็นการสมควรยิ่งนักที่จะสร้างพระราชานุสาวรีย์อันใหญ่และถาวรเช่นนี้ ทั้งจะได้เป็นเครื่องที่จะทำให้บังเกิดประโยชน์แก่ชาติไทยไม่มีเวลาเสื่อมสูญด้วย[31] เรามีความยินดีที่ได้เห็นการดำเนินล่วงมาได้มากแล้ว ในบัดนี้เราจะได้วางศิลาฤกษ์ด้วยความหวังที่แลเห็นความดีงามในอนาคตกาลแห่งมหาวิทยาลัยนี้ส่วนการที่ดำเนินไปได้จนเป็นรูปถึงเพียงนี้แล้ว ก็ต้องอาศัยความอุตสาหะของกรรมการผู้ได้รับมอบเป็นหน้าที่ผู้อำนวยการ ประกอบกับความอุตสาหะแห่งบรรดาผู้มีหน้าที่เป็นครู อาจารย์สั่งสอนในโรงเรียนนี้ ของกรรมการที่ได้รับมอบหน้าที่ไปจากเราให้เป็นผู้อำนวยการโรงเรียนจงได้รับความขอบใจของเราแล้ว และขอให้แสดงความขอบใจของเรานี้แก่ครู อาจารย์ทั้งหลายที่พยายามทำการตามหน้าที่อย่างสามารถด้วย ขอจงมีความเจริญสิริสวัสดิ์พิพัฒน์มงคลทั่วกัน ความมุ่งหมายและกิจการซึ่งต่างก็ตั้งหน้าพยายาม เพื่อจะให้เป็นความดีความงามแก่มหาวิทยาลัยในเบื้องหน้านั้น ก็ขอให้ได้ผลสำเร็จ สมปรารถนาโดยเร็วเทอญฯ[32]

— พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

ในระยะแรกจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยการจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยอยู่เพียงระดับประกาศนียบัตรพร้อมกับเตรียมการเรียนการสอนในระดับปริญญา โดยจัดการศึกษาออกเป็น 2 วิทยาเขต คือ วิทยาเขตปทุมวันและวิทยาเขตโรงพยาบาลศิริราช จัดการเรียนการสอนออกเป็น 4 คณะ ได้แก่ คณะรัฐประศาสนศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ในปัจจุบัน) คณะวิศวกรรมศาสตร์ และ คณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ส่วนโรงเรียนฝึกหัดครูย้ายกลับไปสังกัดกรมศึกษาธิการ กระทรวงธรรมการ และโรงเรียนกฎหมายย้ายกลับไปสังกัดกระทรวงยุติธรรม[33]

ไฟล์:Rockefeller Foundation logo.png
สัญลักษณ์มูลนิธิร็อกเกอะเฟลเลอร์

ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2465 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนสงขลานครินทร์ (สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก) ทรงเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยในการติดต่อขอความร่วมมือจากมูลนิธิร็อกเกอะเฟลเลอร์เพื่อปรับปรุงมาตรฐานการศึกษาของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[34] เป็นผลให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยสามารถจัดการศึกษาในระดับปริญญาได้[35][36]

หลังจากนั้น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ขยายการจัดการศึกษาโดยจัดตั้งคณะและแผนกอิสระเพิ่มขึ้นอีกหลายแห่ง ได้แก่ คณะนิติศาสตร์ (โดยการรวมโรงเรียนกฎหมาย กระทรวงยุติธรรมและแผนกวิชาข้าราชการพลเรือน (คณะรัฐประศาสนศาสตร์เดิม) เข้าไว้ด้วยกัน)[37][38] แผนกอิสระเภสัชกรรมศาสตร์ แผนกอิสระสัตวแพทยศาสตร์ แผนกอิสระสถาปัตยกรรมศาสตร์ และแผนกอิสระทันตแพทยศาสตร์[39] นอกจากนี้ ยังเริ่มเน้นการเรียนการสอนอันเป็นพื้นฐานของวิชาชีพในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยจัดตั้งโรงเรียนเตรียมมหาวิทยาลัย คือ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาในปัจจุบัน)

ระหว่างปี พ.ศ. 2476–2486 การจัดการศึกษาของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเกิดการเปลี่ยนแปลงอีกครั้ง โดยมีการโอนย้ายส่วนราชการออกจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยบางส่วนเพื่อจัดตั้งเป็นมหาวิทยาลัยแห่งใหม่ขึ้น กล่าวคือ เมื่อ พ.ศ. 2476 มีการโอนคณะนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ไปขึ้นตรงกับมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในปัจจุบัน)[40] และ พ.ศ. 2486 มีการโอนย้ายคณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาล แผนกอิสระทันตแพทยศาสตร์ แผนกอิสระสัตวแพทยศาสตร์ และแผนกอิสระเภสัชกรรมศาสตร์ เพื่อตั้งเป็นมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ (มหาวิทยาลัยมหิดลในปัจจุบัน)[41] อย่างไรก็ตาม คณะเภสัชศาสตร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ และคณะสัตวแพทยศาสตร์ ยังคงใช้สถานที่ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเพื่อจัดการศึกษาอยู่ ดังนั้น ทั้ง 3 คณะจึงโอนกลับมาเป็นคณะวิชาในสังกัดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอีกครั้งในระยะต่อมา[42][43]

เมื่อจอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี มีการเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงด้านภาษาและหนังสือหลายประการ เช่น ยกเลิกการใช้อักษร "" ให้ใช้ ", " แทน และ ยกเลิกการใช้ "" ให้ใช้ "" แทน[44] ดังนั้น จึงได้ปรากฏการเขียนชื่อมหาวิทยาลัยในรูปแบบอื่นอีก ได้แก่ "จุลาลงกรน์มหาวิทยาลัย"[45] ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงไปตามสมัยนิยม อย่างไรก็ตาม เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลใหม่ ในปี พ.ศ. 2487 ก็มีการประกาศยกเลิกการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว และให้กลับไปใช้การเขียนภาษาในรูปแบบเดิม การเขียนชื่อมหาวิทยาลัยจึงกลับเป็นแบบเดิม หลังจากนั้น ในช่วง พ.ศ. 2497 - พ.ศ. 2514 ยังสามารถพบการเขียนนามมหาวิทยาลัยว่า "จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย" ซึ่งไม่มีเครื่องหมายทัณฑฆาตที่ "" เช่น พระราชบัญญัติจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย ฉบับที่ 4, 5 และ 6[46]

ระหว่างปี พ.ศ. 2486–2503 มหาวิทยาลัยก็ได้ขยายการศึกษาไปยังสาขาต่าง ๆ ให้กว้างขวางขึ้นโดยเน้นการศึกษาในระดับปริญญาตรีเป็นหลัก โดยมีการจัดตั้งคณะขึ้นใหม่หลายสาขา และตั้งแต่ พ.ศ. 2504 ถึงปัจจุบัน มหาวิทยาลัยได้ขยายการศึกษาระดับปริญญาตรีอย่างกว้างขว้าง พร้อมกับพัฒนาการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา และก่อตั้งหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนและงานบริการทางวิชาการแก่สังคม

สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย

พระเกี้ยวองค์จำลอง ณ หอประวัติจุฬาฯ
ต้นจามจุรีบริเวณลานจามจุรี

พื้นสำรด "สีเหลือง" สำหรับฉลองพระองค์ครุยพระบรมราชูปถัมภก เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบรมราชจักรีวงศ์
พื้นสำรด "สีดำ" สำหรับระดับบัณฑิตและมหาบัณฑิต เพื่อเป็นพระบรมราชานุสรณ์แด่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งมีพระบรมราชสมภพในวันเสาร์
พื้นสำรด "สีแดงชาด" สำหรับระดับดุษฎีบัณฑิต เพื่อเป็นพระบรมราชานุสรณ์แด่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งมีพระบรมราชสมภพในวันอังคาร

  • จามจุรี เป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย ในวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2505 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้เสด็จพระราชดำเนินไปยังจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พร้อมพระราชทานต้นจามจุรีแก่มหาวิทยาลัย จำนวน 5 ต้น ซึ่งพระองค์ทรงนำมาจากวังไกลกังวล ทรงปลูกด้วยพระองค์เอง บริเวณด้านหน้าหอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในครั้งนั้น พระองค์ท่านได้พระราชทานพระราชดำรัสถึงความผูกพันระหว่างชาวจุฬาฯ กับจามจุรี ทรงเน้นว่าดอกสีชมพูเป็นสัญลักษณ์สูงสุดอย่างหนึ่งของจุฬาฯ ทรงเล่าว่าทรงปลูกต้นไม้ที่พระตำหนักไกลกังวล จามจุรีงอกขึ้นที่บริเวณต้นไม้ซึ่งทรงปลูกไว้ จึงทรงถือว่าทรงปลูกจามจุรีเหล่านั้นด้วย เมื่อจามจุรีโตขึ้นแล้วเห็นว่าควรเข้ามหาวิทยาลัยเสียที สถานที่เรียนนั้นไม่มีที่ใดเหมาะเท่าจุฬาฯ จึงทรงนำมาปลูกไว้ที่จุฬาฯ และจบกระแสพระราชดำรัสว่า[52]

    ...จึงขอฝากต้นไม้ไว้ห้าต้นให้เป็นเครื่องเตือนใจตลอดกาล[53]

    — พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
  • สีชมพู เป็นสีประจำมหาวิทยาลัย โดยศาสตราจารย์ ม.ร.ว.สุมนชาติ สวัสดิกุล ได้เสนอว่าชื่อของมหาวิทยาลัย คือ พระปรมาภิไธยเดิมของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งมีพระบรมราชสมภพในวันอังคารและโปรดเกล้าฯ ให้ใช้สีชมพูเป็นสีประจำพระองค์ จึงสมควรอัญเชิญสีประจำพระองค์เป็นสีประจำมหาวิทยาลัยเพื่อเป็นเกียรติและสิริมงคล[54][55]

ทำเนียบผู้บัญชาการและอธิการบดี

นับตั้งแต่เริ่มก่อตั้งจนถึงปัจจุบัน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีผู้บัญชาการและอธิการบดี ดังรายพระนามและรายนาม ต่อไปนี้[56]

ผู้บัญชาการ
ลำดับ รายนามผู้บัญชาการ วาระการดำรงตำแหน่ง อ้างอิง
1
มหาอำมาตย์ตรี พระยาอนุกิจวิธูร (สันทัด เทพหัสดิน ณ อยุธยา) 6 เมษายน พ.ศ. 2460 – 31 มีนาคม พ.ศ. 2468 [57]
2
มหาอำมาตย์ตรี พระยาภะรตราชา (หม่อมหลวงทศทิศ อิศรเสนา) 10 ธันวาคม พ.ศ. 2472 – 1 กันยายน พ.ศ. 2475 [58]
อธิการบดี
ลำดับ รายนามอธิการบดี วาระการดำรงตำแหน่ง อ้างอิง
3
ศาสตราจารย์อุปการคุณ นายแพทย์แอลเลอร์ กัสติน เอลลิส 21 ตุลาคม พ.ศ. 2478 – 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2479 [59]
4
จอมพล แปลก พิบูลสงคราม 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2479 – 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2481 (วาระที่ 1) [60]
24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2481 – 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2483 (วาระที่ 2) [61]
24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2483 – 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2485 (วาระที่ 3)
24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2485 – 1 สิงหาคม พ.ศ. 2487 (วาระที่ 4)
21 ตุลาคม พ.ศ. 2492 – 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2493 (วาระที่ 5) [62]
5
ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้ารัชฎาภิเศก โสณกุล
1 กันยายน พ.ศ. 2487 – 31 สิงหาคม พ.ศ. 2489 (วาระที่ 1) [63]
1 กันยายน พ.ศ. 2489 – 31 สิงหาคม พ.ศ. 2491 (วาระที่ 2) [64]
1 กันยายน พ.ศ. 2491 – 5 กันยายน พ.ศ. 2492 (วาระที่ 3) [65]
6
พลอากาศโท มุนี มหาสันทนะ เวชยันตรังสฤษฎ์
17 สิงหาคม พ.ศ. 2493 – 16 สิงหาคม พ.ศ. 2495 (วาระที่ 1) [66]
17 สิงหาคม พ.ศ. 2495 – 16 สิงหาคม พ.ศ. 2497 (วาระที่ 2) [67]
17 สิงหาคม พ.ศ. 2497 – 16 สิงหาคม พ.ศ. 2499 (วาระที่ 3) [68]
17 สิงหาคม พ.ศ. 2499 – 16 สิงหาคม พ.ศ. 2501 (วาระที่ 4) [69]
29 สิงหาคม พ.ศ. 2501 – 28 สิงหาคม พ.ศ. 2503 (วาระที่ 5) [70]
29 สิงหาคม พ.ศ. 2503 – 6 กันยายน พ.ศ. 2504 (วาระที่ 6) [71]
7
จอมพล ประภาส จารุเสถียร
7 กันยายน พ.ศ. 2504 – 6 กันยายน พ.ศ. 2506 (วาระที่ 1) [72]
7 กันยายน พ.ศ. 2506 – 6 กันยายน พ.ศ. 2508 (วาระที่ 2) [73]
7 กันยายน พ.ศ. 2508 – 6 กันยายน พ.ศ. 2510 (วาระที่ 3) [74]
7 กันยายน พ.ศ. 2510 – 26 มีนาคม พ.ศ. 2512 (วาระที่ 4) [75]
8
ศาสตราจารย์อุปการคุณ ดร.แถบ นีละนิธิ
27 มีนาคม พ.ศ. 2512 – 3 มิถุนายน พ.ศ. 2512 (รักษาการ)
4 มิถุนายน พ.ศ. 2512 – 3 มิถุนายน พ.ศ. 2514 [76]
9
ศาสตราจารย์อุปการคุณ ดร.อรุณ สรเทศน์
4 มิถุนายน พ.ศ. 2514 – 3 มิถุนายน พ.ศ. 2516 (วาระที่ 1) [77]
4 มิถุนายน พ.ศ. 2516 – 3 มิถุนายน พ.ศ. 2518 (วาระที่2) [78]
10
ศาสตราจารย์กิตติคุณเติมศักดิ์ กฤษณามระ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2518 – 3 มิถุนายน พ.ศ. 2520 [79]
11
ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.เกษม สุวรรณกุล
4 มิถุนายน พ.ศ. 2520 – 3 มิถุนายน พ.ศ. 2522 (วาระที่ 1) [80]
4 มิถุนายน พ.ศ. 2522 – 1 เมษายน พ.ศ. 2524 (วาระที่ 2)
1 เมษายน พ.ศ. 2524 – 1 เมษายน พ.ศ. 2528 (วาระที่ 3) [81]
1 เมษายน พ.ศ. 2528 – 2 มกราคม พ.ศ. 2532 (วาระที่ 4) [82]
12
ศาสตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์จรัส สุวรรณเวลา
2 มกราคม พ.ศ. 2532 – 2 มกราคม พ.ศ. 2536 (วาระที่ 1) [83]
2 มกราคม พ.ศ. 2536 – 31 มีนาคม พ.ศ. 2539 (วาระที่ 2) [84]
13
ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.เทียนฉาย กีระนันทน์ 1 เมษายน พ.ศ. 2539 – 31 มีนาคม พ.ศ. 2543 [85]
14
รองศาสตราจารย์ ดร.ธัชชัย สุมิตร 1 เมษายน พ.ศ. 2543 – 31 มีนาคม พ.ศ. 2547 [86]
15
ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร. คุณหญิงสุชาดา กีระนันทน์ 1 เมษายน พ.ศ. 2547 – 31 มีนาคม พ.ศ. 2551 [87]
16
ศาสตราจารย์ นายแพทย์ภิรมย์ กมลรัตนกุล
1 เมษายน พ.ศ. 2551 – 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 (วาระที่ 1) [88]
18 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 – 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 (วาระที่ 2) [89]
17
ศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 – ปัจจุบัน [90]

หมายเหตุ คำนำหน้าพระนามหรือนามของผู้ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการหรืออธิการบดี เป็นคำนำหน้าพระนามหรือนามในขณะดำรงตำแหน่ง

การศึกษา

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเรียนและสอนครอบคลุมทั้งสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิทยาศาสตร์สุขภาพ สังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ รวมทั้งสิ้น 19 คณะ 1 สำนักวิชา 3 วิทยาลัย บัณฑิตวิทยาลัย สถาบัน 2 สถาบัน และยังมีสถาบันสมทบอีก 2 สถาบัน ในปีการศึกษา 2556 เปิดสอนด้วยจำนวนหลักสูตรทั้งหมด 506 สาขาวิชา โดยจำแนกเป็นระดับปริญญาตรี 113 สาขาวิชา, หลักสูตรระดับประกาศนียบัตรบัณฑิต 9 สาขาวิชา หลักสูตรระดับปริญญาโท 230 สาขาวิชา หลักสูตรระดับประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูง 39 สาขาวิชา และหลักสูตรระดับปริญญาเอก 115 สาขาวิชา[91] ในจำนวนนี้เป็นหลักสูตรนานาชาติและหลักสูตรภาษาอังกฤษ 87 หลักสูตร[92] ปัจจุบันประกอบด้วยส่วนงานทางวิชาการที่จัดการเรียนการสอน ได้แก่[93][94]

คณะกลุ่มสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์

คณะกลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

คณะกลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ

หลักสูตรนานาชาติ

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดสอนหลักสูตรนานาชาติทั้งหมด 87 หลักสูตร[95]

ส่วนที่จัดการสอนและงานวิจัยเฉพาะระดับบัณฑิตศึกษา

สถาบันสมทบ

งานวิจัย

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีส่วนงานที่มีวัตถุประสงค์หลักในการก่อตั้งเพื่อเป็นสถาบันวิจัยในศาสตร์สาขาต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

หน่วยงานที่สนับสนุนการทำวิจัยที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ อีก ได้แก่ ศูนย์บริการวิชาการ (Unisearch)[98] มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้คณาจารย์และนักวิจัยของมหาวิทยาลัยนำผลการศึกษาวิจัยออกสู่สังคมและหน่วยงานนอกมหาวิทยาลัย ส่วนหน่วยงานสถาบันทรัพย์สินทางปัญญาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้ผลงานศึกษาวิจัยได้พัฒนาและนำไปสู่การจดสิทธิบัตรประเภทต่าง ๆ นอกจากนี้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยยังสนับสนุนทุนสำหรับการสร้างหน่วยปฏิบัติการวิจัย (RU) และศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทาง (CE) ปัจจุบัน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีหน่วยปฏิบัติการวิจัยมากกว่า 100 หน่วย และมีศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางทั้งในระดับชาติและมหาวิทยาลัยมากกว่า 20 ศูนย์[99]

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้กำหนดให้มีกลุ่มวิจัยหลักซึ่งเป็นการรวมศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางและนักวิชาการที่มีเฉพาะเรื่องเข้ามาบูรณาการให้เป็นการวิจัยแบบสหศาสตร์ รวมทั้ง เน้นการบริหารจัดการการวิจัยที่เป็นองค์รวม มีการติดตามและประเมินผลแบบอัตโนมัติ[99] โดยแบ่งออกเป็น 10 กลุ่มวิจัยหลัก[100] ได้แก่

ปี พ.ศ 2559 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับการจัดอันดับเป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 1 ของประเทศไทยจากการจัดอันดับของ Nature Index ซึ่งจัดโดยวารสารในเครือ Nature Publishing Group ซึ่งเป็นวารสารทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีชื่อเสียงชั้นนำของโลก[101]

ในปี พ.ศ. 2558 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีผลงานตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติในฐานข้อมูล Web of Science ของสถาบัน ISI บริษัท Thomson Reuters จำนวน 1,567 เรื่อง[102] และผลงานตีพิมพ์ฐานข้อมูล Scopus ของบริษัท Elsevier B.V. จำนวน 1988 เรื่อง[103]

ทรัพยากรวิชาการ

ระบบการให้บริการทางวิชาการของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีสำนักงานวิทยทรัพยากรเป็นหน่วยงานหลักในการบริหารจัดการในหลายลักษณะ นอกจากนี้ยังมีหน่วยงานอื่นที่ทำหน้าที่ให้บริการทางวิชาการ เช่น สถานีวิทยุจุฬาฯ FM 101.5 MHz และโครงข่ายสารสนเทศที่เปิดให้บริการต่อสาธารณะ

สำนักงานวิทยทรัพยากร

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเริ่มมีการให้บริการทางวิชาการขึ้นในมหาวิทยาลัยแก่บุคลากร นิสิตและประชาชนทั่วไปตั้งแต่เริ่มมีการก่อตั้งห้องสมุดโรงเรียนข้าราชการพลเรือนขึ้นในปี พ.ศ. 2453 และมีพัฒนาการด้านการบริการไปพร้อมกับการวิวัฒน์ขึ้นของโรงเรียนข้าราชการพลเรือน[104] เพื่อเป็นการรองรับกิจการที่กว้างขวางขึ้นของโรงเรียนข้าราชการพลเรือน ในปี พ.ศ. 2458 ห้องสมุดโรงเรียนข้าราชการพลเรือนจึงเปลี่ยนชื่อเป็นหอสมุดกลางและขยายการบริการทางวิชาการให้กว้างขวางขึ้น โดยตั้งอยู่ที่คณะอักษรศาสตร์ จนกระทั่ง วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2460 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ประดิษฐานโรงเรียนข้าราชการพลเรือนขึ้นเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[105] ต่อมา มีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้ง สถาบันวิทยบริการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2521 โดยการรวมหน่วยงานหลัก 3 หน่วยงาน คือ หอสมุดกลาง ศูนย์เอกสารประเทศไทย และศูนย์โสตทัศนศึกษากลาง เมื่อสถาบันวิทยบริการมีการขยายงานบริการที่หลากหลายขึ้นจึงได้เปลี่ยนชื่อเป็นสำนักงานวิทยทรัพยากรพร้อมทั้งปรับการบริหารภายในองค์กร สำนักงานวิทยทรัพยากรตั้งอยู่ที่อาคารมหาธีรราชานุสรณ์ บนพื้นที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยฝั่งตะวันตกของถนนพญาไท

อาคารมหาธีรราชานุสรณ์

ปัจจุบัน สำนักงานวิทยทรัพยากรประกอบด้วย 1 ฝ่าย และ 8 ศูนย์ดังนี้

  • ฝ่ายบริหาร (Administrative Division)
  • ศูนย์พัฒนาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ (Collection Development & Information Resource Analysis Center)
  • ศูนย์เครือข่ายห้องสมุดดิจิทัลจุฬาฯ (CU Digital Library Center)
  • ศูนย์มรดกภูมิปัญญา จุฬาฯ (CU Intellectual Heritage Center)
  • ศูนย์พัฒนาสื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยี (Center for Media Development Innovation and Technology)
  • ศูนย์บริการสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้และวิจัย (Information Service for Learning and Research Center)
  • ศูนย์จัดการทรัพยากรสารสนเทศ (Information Resources Management Center)
  • ศูนย์สารสนเทศนานาชาติ (International Information Center)
  • ศูนย์เอกสารประเทศไทย (Thailand Information Center)

หอสมุดกลาง

หอสมุดกลาง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรือ "หอกลาง" ตั้งอยู่ภายในอาคารมหาธีรราชานุสรณ์ เป็นอาคารสูง 7 ชั้น แต่ละชั้นประกอบด้วยห้องสมุดสาขาวิชาและหน่วยงานอื่น ๆ ดังนี้[106]

  • ชั้น 1 เป็นชั้นอำนวยการบริการต่าง ๆ เช่น บริการยืม-คืน บริการถ่ายเอกสาร บรรณารักษ์
  • ชั้น 2 เป็นชั้นจัดเก็บวิทยานิพนธ์ หนังสืออ้างอิง
  • ชั้น 3 ศูนย์พัฒนาสื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยี ศูนย์สัมผัสวัฒนธรรมจีน สถาบันขงจื่อศึกษา
  • ชั้น 4 ห้องหนังสือมนุษยศาสตร์และวรรณกรรม ห้องหนังสือวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  • ชั้น 5 ห้องหนังสือสังคมศาสตร์ ศูนย์สารสนเทศนานาชาติ ศูนย์รัสเซียศึกษา
  • ชั้น 6 ศูนย์มรดกภูมิปัญญา ห้องหนังสือหายาก ศูนย์เอกสารประเทศไทย ห้องสิ่งพิมพ์พิเศษ
  • ชั้น 7 หอศิลปวิทยนิทรรศน์

ระบบสารสนเทศ

ด้านนอกอาคารมหาธีรราชานุสรณ์

ในวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2535 สถาบันวิทยบริการ(สำนักงานวิทยทรัพยากร) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นหน่วยงานแรกของประเทศไทย[107] ที่เชื่อมต่อระบบอินเทอร์เน็ตเต็มรูปแบบตลอด 24 ชั่วโมง[108][109] สร้างความสะดวกในการเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศและองค์ความรู้ทุก ๆ แขนงแก่บุคลากร นิสิต และประชาชนทั่วไปที่สนใจอีกทั้งเป็นการสร้างรากฐานที่สำคัญของการศึกษาวิจัยในองค์กร[110] ด้วยการเข้าถึงของอินเทอร์เน็ต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจึงสามารถขยายบริหารทางวิชาออกไปได้อย่างกว้างขวาง อาทิ

  • เครือข่ายสารสนเทศห้องสมุดในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย(Chulalinet) เครือข่ายสารสนเทศห้องสมุดเป็นระบบเครือข่ายห้องสมุดบนอินเทอร์เน็ตแห่งแรกของประเทศไทย หรืออาจเรียกได้ว่าเป็นห้องสมุดอัตโนมัติแห่งแรกของประเทศไทย ระบบนี้ทำให้กิจกรรมต่าง ๆ ของห้องสมุดทุกแห่งภายในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเชื่อมโยงเข้าด้วยกัน ช่วยให้บุคลากร นิสิตและประชาชนสามารถเข้าถึงองค์ความรู้ได้ทันทีที่เชื่อมต่อระบบอินเทอร์เน็ต
  • คลังปัญญาจุฬาฯ เพื่อประเทศไทย (CUIR – Chulalongkorn University Intellectual Repository) คลังปัญญาจุฬาฯ เพื่อประเทศไทยเป็นแหล่งจัดเก็บและให้บริการสารสนเทศบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตอันเป็นภูมิปัญญาของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในรูปแบบดิจิตอล จำพวกผลงานวิจัยทางวิชาการของคณาจารย์ นักวิจัย และนิสิตบัณฑิตศึกษาของมหาวิทยาลัย รวมถึงการเข้าถึงหนังสือทุกประเภทที่ได้รับการจัดเก็บเป็นสื่อดิจิตอลด้วย[111] เนื่องจากคลังปัญญาจุฬาฯ เพื่อประเทศไทย ให้บริการผ่านเครื่อข่ายอินเทอร์เน็ตจึงเป็นแหล่งพึ่งพาทางวิชาการที่สำคัญของประชาชน
  • ฐานข้อมูลเพื่อการค้นคว้าวิจัย (CU Reference Databases) เป็นแหล่งรวบฐานข้อมูลวิชาการสาขาต่าง ๆ จำนวนมากโดยกำหนดให้ใช้งานฐานข้อมูลที่บอกรับผ่านเครือค่ายของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย(CUNet) บุคคลภายนอกสามารถใช้งานได้ที่คอมพิวเตอร์ที่ต่อกับเครื่อข่ายของมหาวิทยาลัยเท่านั้น[112]
  • ฐานข้อมูลศูนย์เอกสารประเทศไทย (Thailand Information Center Database) เป็นแหล่งสืบค้นข้อมูลเอกสาร บทความ วิทยานิพนธ์และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทย เปิดให้ประชาชนทั่วไปได้เข้าใช้บริการผ่านระบบอินเทอร์เน็ต โดยสามารถเข้าถึงต้นฉบับเอกสารทางวิชาการที่ได้ศึกษาแง่มุมต่าง ๆ ของประเทศไทย และสามารถเข้าสืบค้นด้วยตนเองที่อาคารมหาธีรราชานุสรณ์
  • จุฬาวิทยานุกรม (Chulapedia) จุฬาวิทยานุกรมเป็นระบบสารานุกรมออนไลน์ สามารถสืบค้นเนื้อหาด้วยคำสำคัญ(Keyword) ซึ่งแก้ไขพัฒนาบทความโดยคณาจารย์และนักวิจัยของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเปิดให้ประชาชนใช้บริการสืบค้นได้แต่ไม่สามารถร่วมแก้ไขพัฒนาบทความได้[113]

ในส่วนของศูนย์พัฒนาสื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยี สำนักงานวิทยทรัพยากรยังมีหน้าที่ผลิตสื่อวิดีทัศน์ สื่อผสมรูปแบบสื่อใหม่ สื่อภาพถ่ายดิจิทัล สื่อเสียง สื่อกราฟิก ให้แก่มหาวิทยาลัย นอกจากนี้ศูนย์พัฒนาสื่อยังมีหน่วยผลิตสื่อเคลื่อนที่ (Mobile Unit) เพื่อไปบันทึกกิจกรรมตามสถานที่ต่าง ๆ และส่งสัญญาณภาพและเสียงนำมาถ่ายทอดรายการ ผ่านระบบเครือข่าย ทำให้ผู้ชมสามารถรับชมรายการสำคัญ ๆ ได้ทุกที่ที่มีสัญญาณเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยไม่จำกัดสถานที่ หรือสามารถรับชมผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่ต่าง ๆ (Mobile Device) ไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต เช่น พิธีพระราชทานปริญญาบัตร งานดนตรีไทยอุดมศึกษา ครั้งที่ 42 และงานศิลปวัฒนธรรมอุดมศึกษา ครั้งที่ 16 หรืองานวิศิษฏศิลปินสรรพศิลป์สโมสร เป็นต้น[114]

สถานีวิทยุแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยยังให้บริการทางวิชาการแก่ประชาชนทั่วไปผ่านการออกอากาศทางสถานีวิทยุแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถานีวิทยุจุฬาฯ FM 101.5 MHz อีกหนึ่งช่องทางด้วย โดยสถานีวิทยุจุฬาฯ เป็นสถานีวิทยุเพื่อการศึกษา มีการเผยแพร่เอกสารสื่อการสอนบนเว็บไซต์ของสถานีเป็นจำนวนมาก และมีการจัดรายการข่าวสารเชิงวิชาการ ให้ความรู้แก่ผู้ฟังตลอดช่วงเวลา 06.00-23.59 น. และยังเป็นหน่วยงานที่ส่งเสริมการให้ความรู้กับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาเพื่อการสอบเข้าเรียนในระดับอุดมศึกษา ในทุก ๆ ปี สถานีวิทยุจุฬาฯ จะจัดสอนพิเศษให้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายและถ่ายทอดภาพและเสียงไปทั่วประเทศ ภายใต้รายการชื่อว่า "เปิดประตูสู่มหาวิทยาลัย" โดยจัดขึ้นที่หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[115]

อันดับและมาตรฐานของมหาวิทยาลัย

อันดับมหาวิทยาลัย
อันดับในประเทศ(อันดับนานาชาติ)
สถาบันที่จัด อันดับ
CWTS (2016) 1 (432)
CWUR (2016) 1 (320)
Nature Index (2016) 1 (-)
QS (Asia) (2016) 1 (45)
QS (World) (2016) 1 (252)
RUR (2016) 1 (424)
RUR Reputation (2016) 1 (182)
RUR Research (2016) 1 (424)
SIR (2016) 2 (475)
THE (Asia) (2016) 4 (151-160)
THE (World) (2017) 2 (601-800)
THE (BRICS) (2017) 3 (117)
URAP (2016) 2 (478)
U.S. News (2017) 2 (581)

การประเมินคุณภาพมหาวิทยาลัย

เมื่อปี พ.ศ. 2549 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับการจัดอันดับให้เป็นมหาวิทยาลัยระดับดีเลิศ ทั้งในด้านการเรียนการสอนและการวิจัย จากการจัดอันดับมหาวิทยาลัยของไทยโดยสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา อีกทั้งยังเป็น 1 ใน 9 มหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ จากการจัดอันดับมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย[116] นอกจากนี้สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) ได้เข้าประเมินคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยได้รับรองมาตรฐานในระดับดีมากแก่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[117]

ส่วนการประเมินคุณภาพผลงานวิจัยเชิงวิชาการโดย สกว. ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทยครั้งที่ 3 ในปีพ.ศ. 2554 พบว่า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับการประเมินในระดับ 5 หรือในระดับดีเยี่ยมในกลุ่มสาขาวิศวกรรมศาสตร์ กลุ่มสาขาเทคโนโลยี กลุ่มสาขาแพทยศาสตร์และทันตแพทยศาสตร์ กลุ่มสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ กลุ่มสาขาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีการเกษตร และสัตวแพทยศาสตร์ และกลุ่มสาขาวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ[118][119]

อันดับมหาวิทยาลัย

นอกจากการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโดยหน่วยงานในประเทศไทยแล้ว ยังมีหน่วยงานจัดอันดับมหาวิทยาลัยจากต่างประเทศอีกหลายหน่วยงาน ซึ่งแต่ละหน่วยงานมีเกณฑ์การจัดอันดับและการให้คะแนนที่แตกต่างกัน ได้แก่

การจัดอันดับโดย Centrum voor Wetenschap en Technologie Studies

การจัดอันดับมหาวิทยาลัยโดย Centrum voor Wetenschap en Technologie Studies หรือ CWTS Leiden University ประจำปี 2016 ของประเทศเนเธอร์แลนด์ โดยใช้เกณฑ์พิจารณาจากผลงานวิจัยตีพิมพ์ในวารสารที่ปรากฏชื่ออยู่ในฐานข้อมูล Web of Science database จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 1 ของประเทศไทย และอันดับที่ 432 ของโลก[120]

การจัดอันดับโดย Center for World University Rankings

การจัดอันดับโดย Center for World University Rankings หรือ CWUR ที่มีเกณฑ์การจัดอันดับคือ คุณภาพงานวิจัย ศิษย์เก่าที่จบไป คุณภาพการศึกษา คุณภาพของอาจารย์ และภาควิชาต่าง ๆ ประจำปี พ.ศ. 2559 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยลเป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 1 ของประเทศไทย และอยู่ในอันดับที่ 320 ของโลก[121]

การจัดอันดับโดย Nature Index

Nature Index ซึ่งจัดโดยวารสารในเครือ Nature Publishing Group ซึ่งเป็นวารสารทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีชื่อเสียงชั้นนำของโลก โดยการนับจำนวนบทความที่ตีพิมพ์ต่อปีในวารสารที่ในเครือ Nature Publishing Group สำหรับปี 2016 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับการจัดอันดับเป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 1 ของประเทศไทย [101][122]

การจัดอันดับโดย Quacquarelli Symonds[123]

แควกเควเรลลี ไซมอนด์ส หรือ British Quacquarelli Symonds (QS) เป็นบริษัทจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกที่มีชื่อเสียงและเป็นที่ยอมรับมากที่สุดแห่งหนึ่ง มีการจัดอันดับครอบคลุมในหลายมิติ เช่น การจัดอันดับเป็นระดับโลก(QS World University Rankings) ระดับทวีปเอเชีย(QS University Rankings: Asia) การจัดอันดับแยกตามคณะ (QS World University Rankings by Faculty) การจัดอันดับแยกตามรายวิชา(QS World University Rankings by Subject) การจัดอันดับคุณภาพบัณฑิต(QS Graduate Employability Rankings 2017) เป็นต้น [124]

QS World

  1. ชื่อเสียงทางวิชาการ จากการสำรวจมหาวิทยาลัยทั่วโลก ผลของการสำรวจคัดกรองจาก สาขาที่ได้รับการตอบรับว่ามีความเป็นเลิศโดยมหาวิทยาลัยสามารถส่งสาขาให้ได้รับการคัดเลือกตั้งแต่ 2 สาขาขึ้นไป โดยจะมีผู้เลือกตอบรับเพียงหนึ่งสาขาจากที่มหาวิทยาลัยเลือกมา
  2. การสำรวจผู้ว่าจ้าง เป็นการสำรวจในลักษณะคล้ายกับในด้านชื่อเสียงทางวิชาการแต่จะไม่แบ่งเป็นคณะหรือสาขาวิชา โดยนายจ้างจะได้รับการถามให้ระบุ 10 สถาบันภายในประเทศ และ 30 สถาบันต่างประเทศที่จะเลือกรับลูกจ้างที่สำเร็จการศึกษาจากสถาบันนั้น ๆ รวมถึงคุณสมบัติสำคัญที่ต้องการ 2 ข้อ
  3. งานวิจัยที่อ้างต่อ 1 ชิ้นรายงาน โดยข้อมูลที่อ้างอิงจะนำมาจาก Scopus ในระยะ 5 ปี
  4. H-index ซึ่งคือการชี้วัดจากทั้งผลผลิต และ อิทธิพลจากการตีพิมพ์ผลงานทั้งจากนักวิทยาศาสตร์และศาสตร์อื่น ๆ

โดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับการจัดให้เป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 1 ของประเทศไทย และเป็นอันดับที่ 252 ของโลก[125][124]

น้ำหนักการชี้วัด การแบ่งคะแนนจะต่างกันในแต่ละสาขาวิชา เช่น ทางด้านการแพทย์ ซึ่งเป็นสาขาที่มีอัตราการเผยแพร่งานวิจัยสูง การวัดการอ้างอิงและh-index ก็จะคิดเป็น 25 เปอร์เซนต์ สำหรับแต่ละมหาวิทยาลัย ในทางกลับกันสาขาที่มีการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการที่น้อยกว่า เช่น สาขาประวัติศาสตร์ จะคิดเป็นร้อยละที่ต่ำกว่าคือ 15 เปอร์เซนต์ จากคะแนนทั้งหมด ในขณะเดียวกันสาขาศิลปะและการออกแบบ ซึ่งมีผลงานตีพิมพ์น้อยก็จะใช้วิธีการวัดจากผู้ว่าจ้างและการสำรวจด้านวิชาการ[126]

QS Asia

  1. ชื่อเสียงทางวิชาการ (30 เปอร์เซนต์) เป้าหมายของตัวชี้วัดนี้เพื่อจะบอกว่ามหาวิทยาลัยใดมีชื่อเสียงในในระดับนานาชาติ
  2. การสำรวจผู้จ้างงาน (20 เปอร์เซนต์)
  3. อัตราส่วนของคณะต่อนักศึกษา (15 เปอร์เซนต์) วัดจากอัตราส่วนของบุคลากรทางการศึกษาต่อจำนวนนักศึกษา และการติดต่อและให้การสนับสนุนของบุคลากรที่มีต่อนักศึกษา
  4. การอ้างอิงในรายงาน (10 เปอร์เซนต์) และผลงานของคณะ (10 เปอร์เซนต์) เป็นการรวมทั้งงานที่อ้างอิงใน scopusและ การตีพิมพ์ผลงานโดยคณะนั้นๆเอง
  5. บุคลากรระดับดุษฎีบัณฑิต (5 เปอร์เซนต์)
  6. สัดส่วนคณะที่เป็นหลักสูตรนานาชาติ (2.5 เปอร์เซนต์) และนักศึกษาต่างชาติ (2.5 เปอร์เซนต์)
  7. สัดส่วนของรับนักศึกษาและเปลี่ยนที่เข้ามาศึกษา (2.5 เปอร์เซนต์) และการส่งนักศึกษาออกไปแลกเปลี่ยน (2.5 เปอร์เซนต์)[127]

โดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับการจัดให้เป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 1 ของประเทศไทย และเป็นอันดับที่ 45 ของเอเชีย[128][124]

การจัดอันดับโดย QS World University Rankings by Subject[129]
การจัดอันดับโดย QS World University Rankings by Subject
อันดับที่ 51 – 100 ของโลก
  • Chemical Engineering
อันดับที่ 101 – 150 ของโลก
  • Modern Languages
  • Chemistry
  • Accounting & Finance
อันดับที่ 151 – 200 ของโลก
  • Linguistics
  • Business & Management
  • CiviI & Structural Engineering
  • Electrical Engineering
  • Mechanical, Aeronautical & Manufacturing Engineering
  • Medicine
  • Pharmacy & Pharmacology
  • Environmental Sciences
  • Geography
  • Materials Sciences
อันดับที่ 201 – 300 ของโลก
  • Computer Science
  • Biological Sciences
  • Economics & Econometrics
อันดับที่ 301 – 400 ของโลก
  • Mathematics

การจัดอันดับมหาวิทยาลัยของ QS World University Rankings by Subject ประจำปี พ.ศ. 2559 มีสาขาวิชาที่ติดอันดับโลก ดังนี้ อันดับที่ 51 – 100 สาขา Chemical Engineering, อันดับที่ 101 – 150 สาขา Modern Languages, Chemistry, Accounting & Finance, อันดับที่ 151 – 200 สาขา Linguistics, Business & Management, CiviI & Structural Engineering, Electrical Engineering, Mechanical, Aeronautical & Manufacturing Engineering, Medicine, Pharmacy & Pharmacology, Environmental Sciences, Geography, Materials Sciences, อันดับที่ 201 – 300 สาขา Computer Science, Biological Sciences, Economics & Econometrics และอันดับที่ 301 – 400 สาขา Mathematics[124]

ทั้งนี้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยติดอันดับ 1 ของประเทศไทย 27 สาขาวิชา ประกอบด้วย[130]

Arts & Humanities: Anthropology, English Language & Literature, History, Modern Languages, Linguistics, Philosophy
Engineering & Technology: Chemical Engineering, Computer Science, Electrical Engineering, Mechanical, Aeronautical & Manufacturing Engineering, Mineral & Mining Engineering
Life Sciences & Medicine: Biological Sciences, Dentistry, Psychology, Veterinary Science
Natural Sciences: Physics & Astronomy, Mathematics, Environmental Sciences, Earth & Marine Sciences, Chemistry, Materials Sciences, Geography
Social Sciences & Management: Accounting & Finance, Communication & Media Studies, Social Policy & Administration, Economics & Econometrics, Politics & International Studies

อันดับ 2 ของประเทศไทย 9 สาขาวิชา ประกอบด้วย

Arts & Humanities: Architecture / Built Environment
Engineering & Technology: Engineering – Civil & Structural
Life Sciences & Medicine: Medicine, Nursing, Pharmacy & Pharmacology
Social Sciences & Management: Education, Business & Management, Sociology, Statistics & Operational Research

อันดับ 3 ของประเทศไทย 3 สาขาวิชา ประกอบด้วย

Arts & Humanities: Performing Arts
Social Sciences & Management: Development Studies, Law
การจัดอันดับโดย QS Graduate Employability Rankings 2017

เป็นการจัดอันดับคุณภาพการจ้างงานของบัณฑิต โดยพิจารณาจาก ชื่อเสียงและความเชื่อมั่นของผู้จ้างงาน ผลผลิตของบัณฑิต อัตราการจ้างงานบัณฑิต เป็นต้น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับการจัดอันดับเป็นอันดับ 1 ในประเทศไทยและอยู่ในช่วงอันดับ 151-200 ของโลก[131][124]

การจัดอันดับโดย Round University Rankings

การจัดอันดับมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก Round University Rankings 2016 โดย RUR Rankings Agency ของประเทศรัสเซีย เป็นการจัดอันดับมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก (a ranking of leading world universities) ในปี ค.ศ. 2016 มีเกณฑ์ที่ใช้ในการจัดอันดับโดยการพิจารณาตามพันธกิจหลักของมหาวิทยาลัยในระดับสากล 4 ด้าน 20 ตัวชี้วัด คือด้านการสอน (Teaching) 5 ตัวชี้วัด คิดเป็น 40% การวิจัย (Research) 5 ตัวชี้วัด 40% ด้านความเป็นนานาชาติ (International Diversity) 5 ตัวชี้วัด 10% และด้านความยั่งยืนทางการเงิน (Financial Sustainability) 5 ตัวชี้วัด 10% จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 1 ของประเทศไทย และอันดับที่ 424 ของโลก[132]

การจัดอันดับ RUR Reputation Rankings 2016 ซึ่งเป็นการจัดอันดับชื่อเสียงของมหาวิทยาลัยพบว่า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 1 ของประเทศไทย และอันดับที่ 182 ของโลd[133]

การจัดอันดับ RUR Research Performance World University Rankings 2016 ซึ่งเน้นไปที่ศักยภาพการทำวิจัยพบว่า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 1 ของประเทศไทย และอันดับที่ 424 ของโลก[134]

การจัดอันดับโดย SCImago Institutions Ranking

อันดับมหาวิทยาลัยโดย SCImago Institutions Ranking หรือ SIR ซึ่งเป็นการจัดอันดับสถาบันที่มีผลงานวิจัยในระดับนานาชาติ ซึ่งจะไม่ใด้นับเฉพาะมหาวิทยาลัย แต่จะนับสถาบันเฉพาะทางด้วย เช่น สถาบันเทคโนโลยี วิทยาลัย โรงพยาบาล ในปี พ.ศ. 2559 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับการจัดให้อยู่ในอันดับที่ 475 ของโลก และเป็นอันดับ 2 ของประเทศไทย [135]

การจัดอันดับโดย The Times Higher Education

การจัดอันดับโดย The Times Higher Education หรือ THE ที่จัดอันดับ มหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก มีเกณฑ์การจัดอันดับในด้าน คุณภาพการสอน สภาพแวดล้อมในการเรียนรู้ของผู้เรียน คุณภาพงานวิจัย ปริมาณ รายได้ และชื่อเสียงของงานวิจัย การอ้างอิงในงานวิจัย การนำงานวิจัยของสถาบันไปใช้อ้างอิง ความเป็นนานาชาติ และ รายได้ทางอุตสาหกรรม ในปี พ.ศ. 2559 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับการจัดอันดับอยู่ที่ช่วงอันดับที่ 601-800 เป็นอันดับ 2 ของประเทศไทย [136][137]

การจัดอันดับโดย University Ranking by Academic Performance

อันดับที่จัดโดย University Ranking by Academic Performance หรือ URAP ปี พ.ศ. 2558 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับการจัดอันดับให้เป็นอันดับ 2 ของประเทศไทย และอันดับ 478 ของโลก[138] โดยมีพื้นฐานทางด้านวิชาการตรงตามกฎเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คุณภาพและปริมาณของบทความตีพิมพ์ทางวิชาการ บทความวิจัย การเผยแพร่ และการอ้างอิง

การจัดอันดับโดย U.S. News & World Report

U.S. News & World Report นิตยสารการจัดอันดับมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงและได้รับการยอมรับของสหรัฐอเมริกา ได้ประกาศผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกล่าสุด “Best Global Universities Rankings 2017” จากการสำรวจมหาวิทยาลัย 60 ประเทศทั่วโลก และมีเกณฑ์จัดอันดับหลายด้าน เช่น ชื่อเสียงการวิจัยในระดับโลก และระดับภูมิภาค สื่อสิ่งพิมพ์ การถูกนำไปอ้างอิง ความร่วมมือระหว่างประเทศ จำนวนบุคลากรระดับปริญญาเอก เป็นต้น โดยมีมหาวิทยาลัยของไทยติดอันดับ 6 แห่ง และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยถูกจัดอันดับให้เป็นอันดับที่ 2 ของประเทศไทย และอันดับที่ 581 ของโลก[139]

อันดับมหาวิทยาลัย
อันดับในประเทศ(อันดับนานาชาติ)
สถาบันที่จัด อันดับ
QS GER (2017) 1(151-200)
UI Green (Overall) (2016) 3(109)
UI Green (City Center) (2016) 1(15)
Webometrics (2016) 3(407)

การจัดอันดับโดย UI Green Metric World University Ranking

เป็นการจัดอันดับมหาวิทยาลัยสีเขียวที่จัดโดยมหาวิทยาลัยอินโดนีเซีย ประเทศอินโดนีเซีย เพื่อสนับสนุนการเป็นมหาวิทยาลัยยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมทั่วโลก ในรอบปี พ.ศ. 2559 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับการจัดอันดับให้เป็นมหาวิทยาลัยสีเขียวอันดับ 3 ของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย และเป็นอันดับที่ 109 ของโลก[140]

การจัดอันดับโดย Webometrics

การจัดอันดับมหาวิทยาลัยของเว็บโอเมตริกซ์ ประจำปี พ.ศ. 2559 จัดทำขึ้นเพื่อแสดงความตั้งใจของสถาบันต่าง ๆ ในการเผยแพร่ความรู้สู่เว็บ และเป็นความริเริ่มเพื่อส่งเสริมการเข้าถึงความรู้อย่างเปิดกว้าง (Open Access) ทั่วโลก อันดับ Webometrics จะบอกถึงปริมาณและคุณภาพของสิ่งตีพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ในเว็บไซต์ของสถาบัน โดยพิจารณาจากจำนวน Link ที่เชื่อมโยงเข้าสู่เว็บนั้น ๆ จากเว็บภายนอกโดยวัดจากการสืบค้นด้วยSearch Engine และนับจำนวนเอกสารตีพิมพ์ออนไลน์ในกลุ่มของไฟล์ .pdf .ps .ppt และ .doc และจำนวนเอกสารที่มีการอ้างอิง (Citation) แบบออนไลน์ผ่านกูเกิลสกอลาร์ (Google Scholar) โดยจะจัดอันดับปีละ 2 ครั้ง ได้แก่ เดือนมกราคม และ เดือนกรกฎาคม โดยล่าสุดการจัดอันดับรอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ. 2559 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับการจัดอันดับให้เป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 3 ของประเทศไทย และอยู่ในอันดับที่ 407 ของโลก[141]

พื้นที่มหาวิทยาลัย

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีพื้นที่ทั้งหมด 1,153 ไร่ โดยแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ตามลักษณะการใช้พื้นที่ ได้แก่ พื้นที่เขตการศึกษา 595 ไร่ พื้นที่ส่วนราชการเช่าใช้ 184 ไร่ และพื้นที่เขตพาณิชย์ 374 ไร่[142] โดยแต่เดิมพื้นที่ทั้งหมดมี 1,309 ไร่ แต่ในปัจจุบันวัดได้ 1,153 ไร่ เพราะตัดที่ดินส่วนที่ใช้เป็นถนนและซอยต่าง ๆ ในเขตที่ดินของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยออกไป[143][144]

พื้นที่การศึกษา

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีพื้นที่การศึกษา 595 ไร่ แบ่งออกเป็น 6 ส่วน[145] ซึ่งอยู่บริเวณ แขวงวังใหม่และแขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร ได้แก่

ภูมิทัศน์บริเวณประตูใหญ่ฝั่งตะวันออกของถนนพญาไท

ส่วนที่ 1 ฝั่งตะวันออกของถนนพญาไท ตั้งอยู่ในแขวงปทุมวัน ประกอบด้วย สระน้ำ สนามรักบี้ พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระปิยมหาราชและสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ อาคารมหาวชิราวุธ ศาลาพระเกี้ยว ศูนย์หนังสือจุฬาฯ (สาขาศาลาพระเกี้ยว) ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (สาขาศาลาพระเกี้ยว) หอประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ตึกจักรพงษ์) อาคารจุลจักรพงษ์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี วิทยาลัยประชากรศาสตร์ สถาบันภาษา สถาบันวิจัยสังคม สถาบันเอเชียศึกษา และสถาบันการขนส่ง พื้นที่ส่วนนี้เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานคร สถานีสามย่าน

พื้นที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยฝั่งตะวันตกของถนนพญาไท(ฝั่งสำนักงานมหาวิทยาลัย)

ส่วนที่ 2 ฝั่งตะวันตกของถนนพญาไท ตั้งอยู่ในแขวงวังใหม่ ประกอบด้วย สำนักงานมหาวิทยาลัย (กลุ่มอาคารจามจุรี 1-5, 8-9) บัณฑิตวิทยาลัย สนามกีฬาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อาคารเฉลิมราชสุดากีฬาสถาน (อาคารศูนย์กีฬาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) ฟิตเนสเซ็นเตอร์ คณะนิเทศศาสตร์ คณะครุศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี สถาบันวิจัยโลหะและวัสดุ ศูนย์วิทยทรัพยากร สถานีวิทยุจุฬาฯ โรงพิมพ์จุฬาฯ ธรรมสถาน สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์ หอพักนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อาคารวิทยพัฒนา อาคารแว่นแก้ว อาคารเฉลิมราชกุมารี 60 พรรษา(อาคารจามจุรี 10) หอพักศศนิเวศ อาคารศศปาฐศาลา ซึ่งเป็นที่ตั้งของสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์

ส่วนที่ 3 ตั้งอยู่ในฝั่งตะวันนออกของถนนพญาไท ทิศใต้ของถนนพระรามที่ 1 ด้านหลังสยามสแควร์ อยู่ในแขวงปทุมวัน ประกอบด้วย คณะทันตแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลสัตว์เล็ก คณะสัตวแพทยศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ โอสถศาลาหรือสถานปฏิบัติการเภสัชกรรมชุมชนของคณะเภสัชศาสตร์ วิทยาลัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข อาคารวิทยกิตติ์ ซึ่งเป็นที่ตั้งของศูนย์หนังสือจุฬาฯและสำนักวิชาทรัพยากรการเกษตร พื้นที่ส่วนนี้เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าบีทีเอส สถานีสยามด้านถนนพระรามที่ 1

ส่วนที่ 4 ทิศตะวันออกของถนนอังรีดูนังต์ ตั้งอยู่ในแขวงปทุมวัน บริเวณตั้งแต่สี่แยกศาลาแดง จนถึงสี่แยกอังรีดูนังต์ ซึ่งเป็นพื้นที่ของสภากาชาดไทย โดยมีคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาสภากาชาดไทยและวิทยาลัยพยาบาลสภากาชาดไทย ซึ่งเป็นหนึ่งในสถาบันสมทบของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยตั้งอยู่[146] พื้นที่ส่วนนี้เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าบีทีเอส สถานีศาลาแดงและรถไฟฟ้ามหานคร(MRT) สถานีสีลม

ส่วนที่ 5 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับพื้นที่ส่วนนี้คืนจากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (พลศึกษา) และกรมพลศึกษา ตั้งอยู่ในแขวงวังใหม่ คือ พื้นที่บริเวณระหว่างห้างมาบุญครอง และสนามกีฬาแห่งชาติ ในส่วนนี้เป็นกลุ่มอาคารจุฬาพัฒน์ ซึ่งเป็นที่ตั้งของคณะวิทยาศาสตร์การกีฬา คณะสหเวชศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ คณะจิตวิทยา ศูนย์วิทยาศาตร์ฮาลาล และอาคารบรมราชชนนีศรีศตพรรษ ซึ่งเป็นที่ตั้งของศูนย์บริการวิทยาศาสตร์สุขภาพ พื้นที่ส่วนนี้เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าบีทีเอส สถานีสนามกีฬาแห่งชาติ

ส่วนที่ 6 คือ พื้นที่ภายในโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา และโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน (ได้รับคืนจากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน) ในส่วนนี้เป็นกลุ่มอาคารจุฬาวิชช์ อันเป็นส่วนขยายของคณะศิลปกรรมศาสตร์ คณะจิตวิทยา และโครงการขยายโอกาสอุดมศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พื้นที่ส่วนนี้ตั้งอยู่ฝั่งตะวันออกของถนนพญาไทจึงอยู่ในแขวงปทุมวัน

ในส่วนพื้นที่การศึกษานี้ มีต้นไม้สำคัญของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยรวม 6 ต้น ได้แก่ ต้นจามจุรีพระราชทาน 5 ต้น ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเสด็จพระราชดำเนินมาทรงปลูกไว้บริเวณเสาธง หน้าหอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยซึ่งอยู่ในพื้นที่ฝั่งตะวันออกของถนนพญาไท และต้นพระศรีมหาโพธิ์ ตั้งอยู่บริเวณระหว่างอาคารมหาธีรราชานุสรณ์ (หอสมุดกลาง) และอาคารจามจุรี 5 ใกล้คณะครุศาสตร์ ทางฝั่งตะวันตกของถนนพญาไท นอกจากนี้ บริเวณพื้นที่ลานจอดรถหน้าศาลาพระเกี้ยว ทุก ๆ วันศุกร์ (หรือตามแต่กรรมการสโมสรอาจารย์เป็นผู้กำหนด) จะจัดเป็นตลาดนัดตั้งแต่เช้าจรดเย็น เรียกกันว่า "ตลาดพิกุล" เนื่องจากพื้นที่นั้นมีต้นพิกุล กิจกรรมดังกล่าวดำเนินการโดยสโมสรอาจารย์

กลุ่มอาคารจามจุรี ที่ตั้งของศูนย์กลางการบริหารงานของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

พื้นที่ให้ส่วนราชการเช่าใช้

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้จัดสรรพื้นที่ไว้สำหรับให้หน่วยงานราชการเช่าใช้ เป็นจำนวน 184 ไร่ ได้แก่

พื้นที่พาณิชยกรรม

เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวสถาปนาโรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในเวลาต่อมา) พระองค์มีพระราชประสงค์ให้ใช้ที่ดินส่วนหนึ่งเพื่อเป็นที่ปลูกสร้างสถานศึกษาและอีกส่วนหนึ่งให้ใช้จัดหาผลประโยชน์เพื่อนำมาปรับปรุงพัฒนาการศึกษาของโรงเรียนซึ่งจะต้องเติบโตขึ้นในอนาคต โดยไม่ต้องพึ่งพางบประมาณแผ่นดินแต่เพียงอย่างเดียว โดยพื้นที่ของมหาวิทยาลัยในเขตปทุมวัน มีการแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ตามลักษณะการใช้พื้นที่ ได้แก่ พื้นที่เขตการศึกษา 595 ไร่ พื้นที่ส่วนราชการเช่าใช้ 184 ไร่ และพื้นที่เขตพาณิชย์ 374 ไร่ รวม 1,153 ไร่[147] โดยแต่เดิมพื้นที่ทั้งหมดมี 1,309 ไร่ แต่ในปัจจุบันวัดได้ 1,153 ไร่ เพราะตัดที่ดินส่วนที่ใช้เป็นถนนและซอยต่าง ๆ ในเขตที่ดินของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยออกไป[148][144]

สยามสแควร์
เอ็มบีเคเซ็นเตอร์

พื้นที่พาณิชย์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนั้นแยกออกจากพื้นที่การศึกษาเป็นสัดส่วนอย่างชัดเจน[149] โดยพื้นที่เขตพาณิชย์จะเป็นส่วนมุมของที่ดินซึ่งมีถนนสายสำคัญตัดผ่านเพื่อเป็นประโยชน์แก่การเดินทางและการค้าขาย โดยมีพื้นที่พาณิชย์ทั้งหมด 374 ไร่[150] ปัจจุบันสำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นหน่วยงานที่ดำเนินงานพัฒนาพื้นที่เขตพาณิชย์เหล่านี้[151]

พื้นที่ต่างจังหวัด

นอกจากพื้นที่ในกรุงเทพมหานครแล้ว จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยยังมีพื้นที่การศึกษาในจังหวัดต่าง ๆ (ไม่ใช่วิทยาเขต) ได้แก่

  • พื้นที่จังหวัดนครปฐม

พื้นที่จังหวัดนครปฐมเกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2511 หลังจากการโอนย้ายคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ส่วนที่ตั้งอยู่บนพื้นที่ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกลับคืนมาเป็นคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยพลเอก ประภาส จารุเสถียร อดีตอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ปรารภว่า "การโอนคณะสัตวแพทยศาสตร์โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้น การโอนก็ไม่มีความหมาย" ดังนั้น จึงได้โอนที่ดินของกระทรวงมหาดไทยที่ขณะนั้นว่างเปล่าอยู่ 79 ไร่ ในเขตตำบลบ่อพลับ อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม เพื่อจัดเป็นไร่ฝึกแก่นิสิตใช้ฝึกปฏิบัติวิชาสัตวบาลจนพัฒนาเป็น "ศูนย์ฝึกนิสิตคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" และ "โรงพยาบาลปศุสัตว์" ดังนั้น มหาวิทยาลัยจึงขอใช้ชื่อว่า "ไร่ฝึกนิสิตจารุเสถียร" นอกจากจะใช้พื้นที่สำหรับสนับสนุนการเรียนการสอน การค้นคว้าวิจัย และตรวจรักษาปศุสัตว์และสัตว์เลี้ยงของประชาชนแล้ว คณะสัตวแพทยศาสตร์ยังใช้ผลผลิตฟาร์มเป็นผลพลอยได้จำหน่ายเป็นสวัสดิการให้อาจารย์-บุคลากรของคณะและมหาวิทยาลัย[159]

  • พื้นที่จังหวัดน่าน

พื้นที่จังหวัดน่านเป็นที่ตั้งของ "ศูนย์การเรียนรู้และบริการวิชาการเครือข่ายแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" สำหรับให้บริการการศึกษาเรียนรู้สำหรับนิสิตโดยเฉพาะในหลักสูตรศิลปศาสตรบัณทิต สาขาวิชาการบริหารจัดการทรัพยากรการเกษตร ประกอบด้วย อาคารวิชชาคาม 1 อาคารวิชชาคาม 2 และกลุ่มอาคารชมพูภูคา[160]

พื้นที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในจังหวัดสระบุรี
  • พื้นที่จังหวัดสระบุรี

การพัฒนาที่ดินจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่เขตอำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี เริ่มขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. 2532 โดยมีพื้นที่ทั้งหมดรวม 3,364 ไร่ แบ่งเป็นพื้นที่ที่กรมป่าไม้อนุญาตให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยใช้ประโยชน์ 2,632 ไร่ และพื้นที่ที่มูลนิธินิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยให้ใช้ประโยชน์ 732 ไร่ โดยมีการแบ่งเขตพื้นที่ออกเป็น 5 เขต ได้แก่ เขตพื้นที่อนุรักษ์ธรรมชาติ เขตศูนย์วิจัยเฉพาะทาง เขตโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-สระบุรี เขตบริการวิชาการและการศึกษา และเขตบริหารจัดการ โดยได้รับความร่วมมือจาก 6 คณะที่จะเข้าไปจัดทำโครงการในเขตพื้นที่ดังกล่าว ได้แก่ คณะเภสัชศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะครุศาสตร์ และคณะวิศวกรรมศาสตร์[161]

พื้นที่การศึกษาเหล่านี้เป็นเพียงพื้นที่ใช้สนับสนุนการสอนและการวิจัยเท่านั้น มิได้มีสถานะเป็นวิทยาเขต เพราะมหาวิทยาลัยมีนโยบายที่ชัดเจนไม่จัดตั้งวิทยาเขต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยต้องเป็นหนึ่งเดียว[162] นอกจากนี้ยังมีพื้นที่ในความดูแลของมหาวิทยาลัยแห่งอื่น เช่น พระตำหนักดาราภิรมย์ จังหวัดเชียงใหม่, พระจุฑาธุชราชฐานและพิพิธภัณฑ์ชลทัศนสถาน เกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี[163]

สถาปัตยกรรมที่สำคัญในมหาวิทยาลัย

ภายในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีพัฒนาการทางด้านกายภาพมาเป็นเวลายาวนาน นับตั้งแต่เป็นโรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทำให้เขตมหาวิทยาลัยมีอาคารและกลุ่มอาคารที่แสดงถึงแต่ละยุคสมัยได้เป็นอย่างดี มีลักษณะทางสถาปัตยกรรมที่โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ ศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต จุลาสัย กรรมการสภาสถาปนิกและอดีตคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเคยกล่าวว่า[164]

...ผมคิดว่าตึกในจุฬาฯ บ่งบอกถึงยุคสมัยของตัวเอง ตึกเป็นตัวแทนอธิบายยุคสมัยของสถาปัตยกรรมไปแล้วด้วยซ้ำ... จุฬาฯ ก็เป็นโรงเรียนสถาปัตย์ คือ ตึกในมหาวิทยาลัยอธิบายสถาปัตยกรรมได้เลย

กลุ่มอาคารสถาปัตยกรรมไทยที่มีชื่อเสียงในจุฬาฯ

อาคารมหาจุฬาลงกรณ์[165] เป็นอาคารที่มีเอกลักษณ์ทางสถาปัตยกรรมไทย ก่อสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2457 เพื่อเป็นตึกบัญชาการของโรงเรียนข้าราชการพลเรือนในช่วงแรกสถาปนาและเป็นอาคารเรียนของคณะวิศวกรรมศาสตร์และคณะรัฏฐประศาสนศาสตร์ เมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2459 จึงได้ใช้เป็นอาคารเรียนของคณะอักษรศาสตร์ อาคารนี้ได้รับรางวัลอาคารอนุรักษ์ดีเด่นจากสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ เมื่อปี พ.ศ. 2530[166]

อาคารมหาวชิราวุธ ก่อสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2496 โดยถอดแบบจากอาคารมหาจุฬาลงกรณ์ทุกประการและมีการสร้างทางเดินเชื่อมกับอาคารมหาจุฬาลงกรณ์ด้วยสถาปัตยกรรมไทยเช่นเดียวกับตัวอาคารทั้งสอง อาคารทั้งสองจึงเรียกว่า "เทวาลัย" ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของสำนักคณบดีคณะอักษรศาสตร์ สำนักงานเลขานุการคณะอักษรศาสตร์ สมาคมนิสิตเก่าคณะอักษรศาสตร์ ศูนย์สารนิเทศมนุษยศาสตร์ นอกจากนี้ยังเป็นที่ตั้งของห้องพิพิธพัสดุ์ไท-กะไดและห้องโครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการคณะอักษรศาสตร์[167]

หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สร้างขึ้นในสมัย จอมพล แปลก พิบูลสงคราม เป็นอธิการบดี โดยมีความมุ่งหวังให้เป็นที่รับรองพระบรมวงศานุวงศ์ที่เสด็จมาประกอบพระกรณียกิจที่มหาวิทยาลัย และใช้เป็นสถานที่ประกอบกิจกรรมต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย ตัวอาคารมีลักษณะคล้ายกับพระอุโบสถของวัดราชาธิวาสราชวรวิหาร ที่สมเด็จฯ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงออกแบบ หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับรางวัลอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรมดีเด่นประจำ พ.ศ. 2545 จากสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมป์[168]

เรือนภะรตราชา สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวตั้งแต่สมัยก่อตั้งมหาวิทยาลัย เพื่อเป็นที่พักของผู้บริหาร อาจารย์ชาวต่างประเทศ และข้าราชการของมหาวิทยาลัย หลังจากเกิดการชำรุดตามกาลเวลา เรือนหลังนี้จึงได้รับการบูรณะเพื่อเป็นอนุสรณ์สถานและเป็นการระลึกถึงพระยาภะรตราชา (หม่อมหลวงทศทิศ อิศรเสนา) อดีตผู้บัญชาการมหาวิทยาลัย ที่เคยพำนักอยู่ ณ เรือนแห่งนี้ เรือนภะรตราชาได้รับรางวัลอาคารอนุรักษ์ดีเด่นจากสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ เมื่อปี พ.ศ. 2540[169][170]

เรือนไทย สร้างขึ้นในโอกาสครบรอบ 70 ปีแห่งการสถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อปี พ.ศ. 2530 โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานในพิธียกเสาเอก ประกอบด้วย เรือน 5 หลัง โดยเรือนประธานเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปพระราชทาน ศีรษะครูเทพเจ้าทางดนตรีไทย เครื่องดนตรีไทยปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ และระนาดทรงของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เรือนที่เหลือจัดแสดงเครื่องใช้และวัตถุโบราณ เครื่องจักสานไทยของภาคต่าง ๆ และมีศาลากลางน้ำสำหรับจัดกิจกรรมต่าง ๆ[171]

ศาลาพระเกี้ยว เริ่มการก่อสร้างในปี พ.ศ. 2508 แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2509 ในสมัย จอมพล ประภาส จารุเสถียร ดำรงตำแหน่งอธิการบดี ออกแบบให้มีโครงสร้างคล้ายพระเกี้ยวเพื่อควบคุมคุณภาพเสียงอีกทั้งยังสื่อถึงสัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัย มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นสถานที่ทำกิจกรรมของนิสิตเช่น การลงทะเบียนแรกเข้าของนิสิตชั้นปีที่ 1 งานจุฬาฯ วิชาการ แต่ในระหว่างการก่อสร้างได้มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขในส่วนชั้นใต้ดินให้เป็นที่ทำการต่าง ๆ เช่น ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สาขาศาลาพระเกี้ยว, ร้านสหกรณ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งในระยะแรกนั้นมีแผนที่จะทำเป็นสถานที่จอดรถ[172] ในปี พ.ศ. 2559 ศาลาพระเกี้ยวได้รับรางวัลอาคารอนุรักษ์ศิลปะสถาปัตยกรรมดีเด่น ประเภทอาคารสถาบันและอาคารสาธารณะ[173]

ในพื้นที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยยังมีสถาปัตยกรรมสำคัญอีกหลายแห่ง แต่ละแห่งมีเอกลักษณ์เป็นที่จดจำของนิสิตและบุคลากรรวมทั้งผู้เข้ามาเยือน อาคารที่มีสถาปัตยกรรมแบบไทย เช่น อาคารสำราญราษฎร์บริรักษ์ คณะรัฐศาสตร์ เรือนภะรตราชา และยังมีอาคารที่เป็นสถาปัตยกรรมร่วมสมัย เช่น อาคารวิศวกรรมศาสตร์ 1 อาคารวิศวกรรมศาสตร์ 2 และลานเกียร์ และอาคารนารถ โพธิประสาท คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์

พื้นที่ฝั่งตะวันออกของถนนพญาไท กลางภาพคือพระบรมราชานุสาวรีย์สองรัชกาลและหอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เป็นการจัดภูมิทัศน์ตามผังแม่บทภูมิสถาปัตยกรรม จุฬาฯ 100 ปี[174]

พิพิธภัณฑ์และหอศิลป์

ดูบทความหลักที่ พิพิธภัณฑ์ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีทางภาพ
ตึกชีววิทยา 1
ภายในหอประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ภายในพื้นที่ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนอกจากเป็นที่ตั้งของคณะวิชาและหน่วยงานต่าง ๆ แล้ว ยังประกอบด้วยพิพิธภัณฑ์และหอศิลป์ที่ตั้งอยู่ทั้งภายในพื้นที่ของมหาวิทยาลัยเพื่อเป็นแหล่งถ่ายทอดความรู้ทั้งในเชิงวิชาการและการอนุรักษ์ แบ่งพิพิธภัณฑ์ตามที่ตั้งได้ดังนี้

พื้นที่ส่วนกลางของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คณะวิทยาศาสตร์

คณะแพทยศาสตร์

คณะทันตแพทยศาสตร์

คณะเภสัชศาสตร์

คณะสัตวแพทยศาสตร์

คณะอักษรศาสตร์

  • พิพิธพัสดุ์ไท-กะได ชั้น 1 ปีกซ้าย อาคารมหาวชิราวุธ คณะอักษรศาสตร์

หอศิลป์ภายในมหาวิทยาลัย

  • หอศิลปวิทยนิทรรศน์ ตั้งอยู่บริเวณ ชั้น 7 อาคารมหาธีรราชานุสรณ์หรือหอสมุดกลาง
  • หอศิลป์จามจุรี ตั้งอยู่ที่อาคารจามจุรี 8 ด้านข้างสมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์

นอกจากนี้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยยังมีพิพิธภัณฑ์ที่อยู่ในความดูแล ตั้งอยู่ในจังหวัดต่าง ๆ ได้แก่ พิพิธภัณฑ์พระตำหนักดาราภิรมย์ จังหวัดเชียงใหม่[189], พิพิธภัณฑ์พระจุฑาธุชราชฐาน[190]และพิพิธภัณฑ์ชลทัศนสถานเกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี[191]

ชีวิตนิสิต

การเรียนในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจะใช้เวลาใกล้เคียงกับการเรียนในมหาวิทยาลัยอื่น โดยทั่วไปจะใช้เวลา 4 ปีในการเรียน แต่สำหรับคณะครุศาสตร์และคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ใช้เวลา 5 ปี ในขณะที่ คณะแพทยศาสตร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ และคณะสัตวแพทยศาสตร์จะใช้เวลา 6 ปี ตลอดระยะเวลาการเรียน มีทั้งการเรียนในคณะของตนเอง และการเรียนวิชานอกคณะ ได้พบปะกับบุคคลและบรรยากาศการเรียนการสอนที่แตกต่างออกไปของคณะอื่น นอกจากนี้ ยังมีการร่วมกิจกรรมในมหาวิทยาลัยหลายอย่าง ไม่ว่าการเข้าชมรมของมหาวิทยาลัย การเข้าชมรมของคณะ การเล่นกีฬา การร่วมเป็นอาสาสมัครในงานสำคัญต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยที่ทางองค์การบริหารสโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย(อบจ.) ประชาสัมพันธ์ขอความร่วมมือและสร้างการมีส่วนร่วมให้กับนิสิตเสมอ การเข้าร่วมกิจกรรมระหว่างมหาวิทยาลัยที่มีมากมายในทุก ๆ คณะ หรือการพบปะกับเพื่อนหรือรุ่นพี่ที่มาจากโรงเรียนเดียวกันที่โต๊ะโรงเรียน[192]

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นมหาวิทยาลัยที่นิสิตเดินทางเข้ามาเรียนจากหลายภาคของประเทศไทย ทำให้ความแตกต่างของรูปแบบการดำเนินชีวิตมีมาก หอพักนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยก็เป็นอีกที่หนึ่งที่ทำให้นิสิตได้เรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม เคารพความแตกต่างของแต่ละบุคคลในทุกด้าน ช่วยเสริมสร้างให้นิสิตผู้ที่จะเป็นบัณฑิตในอนาคตเป็นบัณฑิตที่สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น

การพักอาศัยของนิสิตจุฬาฯ

หอชวนชมที่สร้างขึ้นใหม่ในบริเวณเดิม
อาคารเอนกประสงค์และหอพักจำปี

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีหอพักภายในมหาวิทยาลัย เรียกว่า "หอพักนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" หรือชื่อที่นิสิตหอพักเรียกกันมายาวนานกว่า 70 ปี ว่า "ซีมะโด่ง"[193] เปิดดำเนินการในปี พ.ศ. 2461 มีพื้นที่อยู่ทางทิศตะวันตกของถนนพญาไท ตรงข้ามกับโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา

เนื่องจากหอพักมีจำนวนจำกัดและราคาถูกกว่าหอพักภายนอกที่ตั้งอยู่ใกล้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หอพักนิสิตฯ จึงมีขั้นตอนการคัดกรองนิสิตที่สมัครหลายด้าน เช่น รายได้และภาระหนี้สินของครอบครัว ประวัติการเข้าร่วมกิจกรรมและที่พักในกรุงเทพมหานครของนิสิต โดยหอจะแบ่งออกเป็น

หอพักนิสิตหญิง
  • หอพุดตาน (อาคารสูง 14 ชั้น สีน้ำตาล) เป็นหอพักแบบอาคารสูงหลังแรกของของหอพักนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นิสิตพักได้ 4 คนต่อหนึ่งห้อง
  • หอพุดซ้อน (อาคารสูง 14 ชั้น สีขาว) เป็นหอพักหญิงล้วนหลังใหม่ที่สุด นิสิตพักได้ 4 คนต่อหนึ่งห้อง ชั้นสองของอาคารหอพุดซ้อนเป็นที่ตั้งของสำนักงานหอพักนิสิตฯ
  • หอพักจำปา (อาคารสูง 5 ชั้น สีขาว อยู่ถัดจากหอจำปี ) เมื่อแรกสร้างหอจำปาเคยเป็นหอพักชาย ปรับเปลี่ยนเป็นหอพักหญิง แบ่งชั้นให้พักทั้งหญิงและชายจนใน ปีการศึกษา 2557 หอพักจำปาจึงกลับมามีสถานะเป็นหอพักหญิงล้วน นิสิตพักได้ 4 คนต่อหนึ่งห้อง
หอพักนิสิตชาย
  • หอจำปี (อาคารสีขาว สูง 14 ชั้น) นิสิตพักได้ 4 คนต่อหนึ่งห้อง
หอพักแบบแยกชั้นนิสิตชาย-หญิง
  • หอชวนชม (อาคารหลังใหม่สูง 17 ชั้นใกล้ทางเข้าด้านถนนพญาไท) นิสิตพักได้ 2 คนต่อหนึ่งห้อง ห้องพักนิสิตหญิงจะอยู่ชั้นที่ 2-12 ส่วนห้องพักนิสิตชายจะอยู่ชั้น 13-17

หอพักนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยก่อตั้งขึ้นพร้อมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2459 แต่เดิมหอพักตั้งอยู่ในบริเวณวังวินด์เซอร์ ปัจจุบันพื้นที่นั้นได้เปลี่ยนแปลงไปเป็นที่ตั้งของกรีฑาสถานแห่งชาติ หอพักนิสิตฯ มีพัฒนาการขึ้นตามลำดับจนกระทั่งย้ายมาอยู่ในที่ตั้งปัจจุบัน ถือเป็นหอพักภายในมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศไทย นอกจากนี้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยยังมีหอพักพวงชมพู หรือเรียกว่า หอ U-center ตั้งอยู่บริเวณหลังตลาดสามย่านแห่งเดิมซึ่งตั้งอยู่บริเวณมุมแยกสามย่าน ด้านข้างคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สร้างเสร็จในปี พ.ศ. 2546[194]

ชมรม

การเข้าร่วมกิจกรรมชมรมในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยไม่มีการจำกัดชั้นปี โดยชมรมของมหาวิทยาลัยนั้นเปิดให้นิสิตในแต่ละคณะรวมกัน และเจอกับนิสิตคณะอื่น พบปะสังสรรค์และแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และมีชมรมที่จัดขึ้นเฉพาะคณะต่าง ๆ โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่ตึกจุลจักรพงษ์ โดยชมรมต่าง ๆ แบ่งเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่[195]

  1. ชมรมสังกัดฝ่ายวิชาการ เช่น ชมรมพุทธศาสตร์และประเพณี ชมรมวาทศิลป์และมนุษยสัมพันธ์ ชมรมประดิษฐ์และออกแบบ ชมรมคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
  2. ชมรมสังกัดฝ่ายพัฒนาสังคมและบำเพ็ญประโยชน์ เช่น ชมรมค่ายอาสาพัฒนาชาวไทยภูเขา ชมรมสลัม ชมรมโรตาแรคท์ เป็นต้น
  3. ชมรมสังกัดฝ่ายศิลปและวัฒนธรรม เช่น ชมรมอีสาน ชมรมล้านนา ชมรมจุฬา-ทักษิน ชมรมนักร้องประสานเสียง ชมรมศิลปการถ่ายภาพ เป็นต้น
  4. ชมรมฝ่ายกีฬา เช่น ชมรมฟุตบอล ชมรมบริดจ์และหมากกระดาน เป็นต้น

กิจกรรมในมหาวิทยาลัย

เวทีกลางงานจุฬาวิชาการ 2555
งานลอยกระทง
งานลอยกระทงจัดขึ้นทุกทุกปีในวันลอยกระทง จัดขึ้นโดยในงานมีจัดทำกระทงของแต่ละคณะ ขบวนพาเหรด และนางนพมาศจากแต่ละคณะมาประชันกัน และในตัวงานได้มีการจัดงานรื่นเริง พร้อมเกมการละเล่นโดยรอบบริเวณสระน้ำหน้าลานพระบรมราชานุสาวรีย์สองรัชกาล เปิดให้บุคคลภายนอกเข้ามาลอยกระทงและร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ที่นิสิตจัดขึ้นทุกปี[196]
การประชุมเชียร์
คือ กิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อประสานความสัมพันธ์ของนิสิตปี 1 จุดประสงค์ของงานเพื่อให้นิสิตเรียนรู้เพลง ประเพณี และธรรมเนียมปฏิบัติที่สืบต่อกันมายาวนานของมหาวิทยาลัย โดยมักจัดขึ้นในห้องเชียร์ของแต่ละคณะ เพื่อให้นิสิตได้รู้จักเพื่อนในรุ่น งานรับน้องจัดโดยนิสิตรุ่นพี่ในคณะ ซึ่งเป็นแนวปฏิบัติของนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยต่อเนื่องกันมาทุกรุ่น[197]
จุฬาฯ วิชาการ
งานวิชาการที่จัดขึ้นทุก ๆ 3 ปี จัดขึ้นในตัวมหาวิทยาลัยโดยมีจุดประสงค์เพื่อให้บุคคลภายนอก รวมทั้งนักเรียนจากระดับประถมถึงมัธยม ได้เรียนรู้ รวมทั้งเปิดให้นักศึกษาจากต่างมหาวิทยาลัย และบุคคลอื่นอื่นได้มาเรียนรู้เทคโนโลยีที่เกิดขึ้นและพัฒนาในมหาวิทยาลัย โดยครั้งล่าสุดจะจัดขึ้นในวันที่ 14-18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555[198]
รับน้องก้าวใหม่
งานก้าวใหม่จัดขึ้นทุกปี ช่วงก่อนเปิดการศึกษาภาคเรียนที่ 1 จัดขึ้นโดยมีจุดประสงค์เพื่อแนะนำนิสิตให้รู้จักมหาวิทยาลัย รวมทั้งฝึกให้นิสิตเข้าใหม่ได้มีการปรับตัวให้เข้ากับระบบการศึกษาระดับมหาวิทยาลัย กิจกรรมส่วนใหญ่เน้นการละลายพฤติกรรมเข้าหากันระหว่างเพื่อน พี่ น้อง เป็นการรับน้องใหญ่ของมหาวิทยาลัยซึ่งนิสิตชั้นปีที่ 1 จะได้รู้จักเพื่อนต่างคณะและทำกิจกรรมร่วมกันตลอดระยะเวลาที่กำหนด โดยทั่วไปงานรับน้องก้าวใหม่จะจัดทั้งหมด 3 วัน[199]
สนามกีฬาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นสถานที่จัดพิธีเปิดและปิดกีฬาเฟรชชี่
กีฬาเฟรชชี่
งานกีฬาระหว่างคณะจัดขึ้นช่วงสองเดือนแรกของการเปิดเทอม 1 ระหว่างนิสิตชั้นปี 1 ของแต่ละคณะ กีฬาแต่ละชนิดจัดขึ้นกระจายไปตามแต่ละที่ในมหาวิทยาลัย รวมทั้ง สนามกีฬาในร่ม อาคารเฉลิมราชสุดากีฬาสถาน(Sport Complex) และสนามกีฬาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรือที่เรียกกันติดปากในหมู่นิสิตว่า "สนามจุ๊บ"[200]
กีฬา 5 หมอ
งานกีฬาเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างคณะทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ ได้แก่ คณะแพทยศาสตร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ และคณะสหเวชศาสตร์[201]
ซียู อินเตอร์ เกม
งานกีฬาเชื่อมความสัมพันธ์ของนิสิตระดับปริญญาตรี หลักสูตรนานาชาติและหลักสูตรภาษาอังกฤษ ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้แก่ หลักสูตร BBA คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี, หลักสูตร EBA คณะเศรษฐศาสตร์, หลักสูตร INDA คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์, หลักสูตร COMMDE คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์, หลักสูตรภาษาอังกฤษ คณะนิเทศศาสตร์ (COMM'ARTS), หลักสูตร JIPP คณะจิตวิทยา, หลักสูตร ISE คณะวิศวกรรมศาสตร์, หลักสูตร BSAC คณะวิทยาศาสตร์, และ หลักสูตร BALAC คณะอักษรศาสตร์[202]

กิจกรรมระหว่างมหาวิทยาลัย

ดูเพิ่มเติม กิจกรรมระหว่างมหาวิทยาลัยในประเทศไทย

กิจกรรมระหว่างมหาวิทยาลัยที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ร่วม มีความหลากหลาย ส่วนใหญ่จะเป็นการแข่งขันกีฬา งานด้านวิชาการ ทั้งกิจกรรมระดับมหาวิทยาลัย กิจกรรมระดับคณะ หรือกิจกรรมระดับภาควิชา เช่น

ระดับมหาวิทยาลัย
ระดับคณะและระดับภาควิชา

คือกิจกรรมที่แต่ละคณะได้จัดการแข่งขันกับคณะหรือภาควิชาเดียวกันในมหาวิทยาลัยอื่น เช่น เกียร์เกมส์, กีฬาสามเส้า, กีฬาวิศวกรรมเคมีสัมพันธ์, อะตอมเกมส์, กีฬาเคมีสัมพันธ์, กีฬาเคมีสัมพันธ์, กีฬาสัมพันธภาพฟิสิกส์, กีฬาคณิตศาสตร์สัมพันธ์, กีฬาสิ่งแวดล้อมนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย, งานกีฬา-วิชาการจุลชีววิทยาสัมพันธ์แห่งประเทศไทย(โคโลนีเกมส์), กีฬาเข็มสัมพันธ์, กีฬาสองเข็ม, กีฬาเภสัชสัมพันธ์, งานกอล์ฟประเพณีสัตวแพทย์จุฬาฯ - เกษตร, กีฬาสหเวชศาสตร์-เทคนิคการแพทย์สัมพันธ์, กีฬาเศรษฐสัมพันธ์, กีฬานิติสัมพันธ์, กีฬาสิงห์สัมพันธ์, กิจกรรมประเพณีสัมพันธ์ สิงห์ดำ-สิงห์แดง, งานจ๊ะเอ๋ลูกนก, ไม้เรียวเกมส์, วิทยาศาสตร์การกีฬาสัมพันธ์, งานวันอาร์ทส์, กีฬาสถิติสัมพันธ์, งานโลจิสติกส์สัมพันธ์, กีฬาเปิดกระป๋อง เป็นต้น[203]

การเดินทาง

สถานีรถไฟฟ้ามหานครสามย่าน
รถโดยสารภายในจุฬาฯ หน้าศาลาพระเกี้ยว

นิสิต บุคลากร และบุคคลทั่วไปสามารถเดินทางมาจุฬาฯ ได้หลายเส้นทาง ทั้งทางรถยนต์ส่วนตัว รถไฟฟ้าบีทีเอส รถไฟฟ้ามหานคร และรถโดยสารประจำทาง

รถไฟฟ้า

สามารถเดินทางมาจุฬาฯ ด้วยรถไฟฟ้าบีทีเอส สามารถลงได้สองสถานี คือ สถานีสยามและสถานีสนามกีฬาแห่งชาติ ส่วนรถไฟฟ้ามหานคร สามารถลงได้สองสถานีเช่นเดียวกัน คือ สถานีสามย่าน ทางออกที่ 2 เชื่อมต่อกับพื้นที่ฝั่งตะวันออกของถนนพญาไท และสถานีสีลมเชื่อมต่อกับคณะแพทยศาสตร์

รถโดยสารประจำทาง

  • ถนนพระรามที่ 1 สายรถประจำทางที่ผ่านมหาวิทยาลัย ได้แก่ สาย 11 (ผ่านช่วงสนามกีฬาแห่งชาติ) 15 16 25 40 48 54 73 73ก 79 204 501 และ 508[204]
  • ถนนพระรามที่ 4 สายรถประจำทางที่ผ่านมหาวิทยาลัย ได้แก่ สาย 4 21 45 46 47 50 67 93 109 141 172 และ 177[205]
  • ถนนพญาไท สายรถประจำทางที่ผ่านมหาวิทยาลัย ได้แก่ สาย 21 25 29 34 36 40 47 50 93 113 141 172 177 187 501 529 และ 542[206]
  • ถนนอังรีดูนังต์ สายรถประจำทางที่ผ่านมหาวิทยาลัย ได้แก่ สาย 16 21 และ 141[207][208]
จอแสดงตำแหน่งรถโดยสารภายในจุฬาฯ(หน้า) และป้ายหยุดรถศาลาพระเกี้ยว(หลัง)

รถโดยสารภายในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

การเดินทางในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีรถโดยสารปรับอากาศขนาดเล็กหรือที่เรียกว่า "รถ ปอพ." ให้บริการแก่นิสิต บุคลากร และผู้มาติดต่อภายในพื้นที่การศึกษาและพื้นที่พาณิชยกรรมของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยโดยไม่คิดค่าบริการใด ๆ รถโดยสารนี้ใช้พลังงานไฟฟ้าซึ่งเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วย 6 สาย ดังนี้[209][210]

สายที่ 1
ศาลาพระเกี้ยว คณะรัฐศาสตร์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน คณะสัตวแพทยศาสตร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ แยกเฉลิมเผ่า โรงภาพยนตร์ลิโด้ คณะเภสัชศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์
สายที่ 2
ศาลาพระเกี้ยว คณะวิทยาศาสตร์ คณะครุศาสตร์ อาคารจามจุรี 9 สนามกีฬาจุฬาลงกรณ์ อาคารวิทยพัฒนา คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา (ถึงเวลา 17.00 น.) หอพักนิสิต สำนักงานมหาวิทยาลัย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์
สายที่ 3
ศาลาพระเกี้ยว คณะรัฐศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี คณะวิทยาศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์
สายที่ 4
ศาลาพระเกี้ยว คณะรัฐศาสตร์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน คณะสัตวแพทยศาสตร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ แยกเฉลิมเผ่า โรงภาพยนตร์ลิโด้ คณะเภสัชศาสตร์ คณะครุศาสตร์ อาคารจามจุรี 9 U-CENTER คณะนิติศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์[211]
สายที่ 5
ระเบียงจามจุรี (หน้า 7-11) ธรรมสถาน สำนักงานจัดการทรัพย์สิน สถาปัตยกรรมศาสตร์ ศิลปกรรมศาสตร์ อักษรศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ ศาลาพระเกี้ยว
สายที่ 5A
ระเบียงจามจุรี (หน้า 7-11) ธรรมสถาน หลังอาคารวิทยทรัพยากร สาธิตจุฬาฯ ฝ่ายประถม สาธิตจุฬาฯ ฝ่ายมัธยม หอยูเซนเตอร์ นิติศาสตร์ ถนนพญาไท สถาปัตยกรรมศาสตร์ ศิลปกรรมศาสตร์ อักษรศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ ศาลาพระเกี้ยว. (สาย 5A ให้บริการเฉพาะช่วงเปิดภาคเรียนของโรงเรียนสาธิตจุฬาฯ)[212]

รถโดยสารภายในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยให้บริการทุกวันจันทร์-ศุกร์ และวันเสาร์จะให้บริการเพียงสาย 1 และสาย 2 เท่านั้น ผู้ใช้บริการสามารถเรียกดูตำแหน่งของรถแต่ละสาย ประกาศกำหนดการเดินรถในงานพิธีต่าง ๆ ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและข้อมูลปลีกย่อยได้จากโปรแกรมประยุกต์(application software) CU Popbus บนอุปกรณ์เคลื่อนที่ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์และไอโอเอส[213] และจอแสดงตำแหน่งรถโดยสารภายในจุฬาฯ ที่ป้ายหยุดรถศาลาพระเกี้ยว

จักรยานสาธารณะ

CU Bike

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีจักรยานสาธารณะให้บริการแก่นิสิตและบุคลากรที่สมัครเป็นสมาชิก มีชื่อที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า " CU BIKE " มีศูนย์บริการอยู่ที่ชั้น 1 อาคารมหิตลาธิเบศร และตั้งสถานีจักรยานอยู่หลายจุดทั่วพื้นที่ส่วนการศึกษาของจุฬาฯ ดังนี้

  • ประตูทางเชื่อมจัตุรัสจามจุรี
  • ลานจักรพงษ์
  • อาคารบรมราชกุมารี
  • หอพักนิสิต
  • อาคารจามจุรี 9

ระบบยืม-คืนจักรยานเป็นระบบที่ทันสมัย สามารถบันทึกสถานะการใช้งานของสมาชิก ระยะทางที่ปั่น และต้องมีการใส่รหัสผ่านทุกครั้งที่จะยืมหรือคืน สถานีจักรยานทุกจุดใช้พลังงานแสงอาทิตย์ ในจักรยานแต่ละคันยังมีเครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาดเล็กสำหรับให้พลังงานแก่ไฟส่องสว่างทั้งด้านหน้า ด้านหลังและเลี้ยงกล่องควบคุม โดยแปลงพลังงานกลจากการปั่นจักรยานเป็นพลังงานไฟฟ้า หากจำเป็นต้องจอดจักรยานชั่วคราวนอกสถานี สามารถดึงสายคล้องเพื่อล็อกตัวจักรยานไว้กับจุดจอดได้[214]

พิธีพระราชทานปริญญาบัตร

ไฟล์:พระราชทานปริญญาบัตรครั้งแรก.jpg
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ในการพระราชทานปริญญาบัตร ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อ พ.ศ. 2473
หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจัดให้มีพิธีพระราชทานปริญญาบัตรขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2473 ณ ตึกบัญชาการ (อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ ในปัจจุบัน) โดยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วย สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี มาพระราชทานปริญญาบัตรแก่เวชบัณฑิต (แพทยศาสตรบัณฑิต)[215] ของมหาวิทยาลัย ซึ่งนับได้ว่าเป็นพิธีพระราชทานปริญญาบัตรครั้งแรกของประเทศไทย ในการนี้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยยังได้ทูลเกล้าฯ ถวายฉลองพระองค์ครุยบัณฑิตพิเศษแด่พระองค์ด้วย[216][217] หลังจากพิธีพระราชทานปริญญาบัตรในครั้งนั้นเสร็จสิ้นแล้ว สภามหาวิทยาลัยได้เสนอให้กระทรวงธรรมการกราบบังคมทูลขอพระบรมราชานุญาตสงวนธรรมเนียมนี้ไว้ กล่าวคือ "ถือว่าการพระราชทานปริญญาบัตรเป็นการหน้าที่นั่ง หากเสด็จไม่ได้ก็จะเป็นการถวายปฏิญญาต่อพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ และรับพระราชทานปริญญาบัตรจากผู้แทนพระองค์" เมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงทราบก็พระราชทานพระบรมราชานุญาตตามที่มหาวิทยาลัยกราบบังคมทูลขอ ดังนั้น พิธีพระราชทานปริญญาบัตรจึงเป็นธรรมเนียมที่สืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน[218]

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร พระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินมาพระราชทานปริญญาบัตร ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2489 ซึ่งเป็นการเสด็จพระราชดำเนินมาพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยครั้งแรกและครั้งเดียวของพระองค์[219]

ต่อมา ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระองค์เสด็จพระราชดำเนินมาในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยครั้งแรกเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2493[220] และได้เสด็จพระราชดำเนินมาในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรด้วยพระองค์เองเรื่อยมา อย่างไรก็ตาม ในบางปีนั้นพระองค์จะเสด็จพระราชดำเนินมาพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตในระดับปริญญาตรีด้วยพระองค์เอง ส่วนมหาบัณฑิตและดุษฎีบัณฑิตนั้นจะเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรต่อหน้าพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครุยพระบรมราชูปถัมภกแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[221]

พิธีพระราชทานปริญญาบัตรในวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ทูลเกล้าฯ ถวายปริญญารัฐศาสตร์ดุษฎีกิตติมศักดิ์แด่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช นับเป็นปริญญาดุษฎีกิตติมศักดิ์ใบแรกในรัชสมัยของพระองค์ ในการนี้พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้พระราชทานพระปฐมบรมราโชวาทแก่บัณฑิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยไว้ดังนี้[222]

...สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาได้รับปริญญาและอนุปริญญาในวันนี้ ข้าพเจ้าขอแสดงความยินดีด้วย เพราะการที่จะบรรลุถึงผลขั้นสุดท้ายของการศึกษา เช่นที่ได้ปฏิบัติมานั้น เป็นสิ่งที่ทำได้ยาก และน่าสรรเสริญ แต่ขอให้นึกอยู่เสมอว่า เมื่อท่านสำเร็จการศึกษาออกไปแล้ว ยังมีคนเป็นจำนวนมากที่เอาใจใส่เฝ้าดูการกระทำของท่านอยู่ต่อไป ใครทำดีก็ได้รับคำชมเชยและสรรเสริญ ใครทำไม่ดีเขาก็จะพากันติ และพลอยติชมถึงสถานศึกษาของท่านด้วย ชื่อมหาวิทยาลัยของท่านคือ "จุฬาลงกรณ์" จะติดตัวท่านไปด้วยเสมอ ไม่ว่าจะประพฤติดีหรือประพฤติชั่ว ฉะนั้นทุก ๆ ครั้งที่ท่านจะกระทำการสิ่งใดลงไป จงคิดแล้วคิดอีก ทบทวนดูทั้งทางได้ทางเสียให้แน่ชัดเสียก่อน "จุฬาลงกรณ์" หาได้เป็นแต่เพียงชื่อของมหาวิทยาลัยนี้เท่านั้นไม่ ยังเป็นนามของผู้พระราชทานกำเนิดของสถานที่แห่งนี้ด้วย ฉะนั้นจึงเป็นการจำเป็นอย่างยิ่ง ที่ท่านจะต้องปฏิบัติตนให้เหมาะสมกับเป็นผู้ที่ได้รับการอบรมสั่งสอนไปจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนี้...

ปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิต มหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิตของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นประจำทุกปี ณ หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

วันสำคัญที่เกี่ยวกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ไฟล์:วันปิยมหาราช-จุฬาฯ.jpg
พิธีถวายบังคมของนิสิตเนื่องในวันปิยมหาราช
วันคล้ายวันสถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ตรงกับวันที่ 26 มีนาคม ของทุกปี โดยมีกิจกรรมต่อเนื่องกันหลายวัน เช่น พิธีบำเพ็ญกุศลน้อมเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ตลอดจนบูรพาจารย์และผู้มีอุปการคุณแก่มหาวิทยาลัย, พิธีตักบาตรในตอนเช้าวันที่ 26 มีนาคม, พิธีถวายชัยมงคลแด่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันพระราชสมภพ 2 เมษายน, การแสดงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์, งานคืนเหย้าของนิสิตเก่าจุฬาฯ ณ ลานหน้าพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระปิยมหาราชและสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า ฯลฯ[223]

วันอานันทมหิดล

ตรงกับวันที่ 9 มิถุนายน ของทุกปี เป็นวันคล้ายวันเสด็จสวรรคต พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร "พระผู้พระราชทานกำเนิดคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงจัดงานขึ้นด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์[224]

วันภาษาไทยแห่งชาติ

ตรงกับวันที่ 29 กรกฎาคม ของทุกปี เป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเสด็จพระราชดำเนินมาทรงอภิปรายเรื่อง "ปัญหาการใช้คำไทย" ร่วมกับผู้ทรงคุณวุฒิที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะกรรมการรณรงค์เพื่อภาษาไทยแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจึงได้เสนอต่อรัฐบาลให้กำหนดวันที่ 29 กรกฎาคม เป็น "วันภาษาไทยแห่งชาติ"[225][226]

วันทรงดนตรี

ตรงกับวันที่ 20 กันยายน ของทุกปี พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถเสด็จพระราชดำเนินมาทรงดนตรี และทรงสังสรรค์ร่วมกับนิสิตเป็นการส่วนพระองค์ในระหว่างปี 2500-2516 โดยจุฬาฯ จัดงานรำลึกวันทรงดนตรีขึ้นเป็นประจำทุกปี[227]

วันปิยมหาราช

ตรงกับวันที่ 23 ตุลาคม ของทุกปี เป็นวันคล้ายวันสวรรคต พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว "พระผู้พระราชทานกำเนิดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" ซึ่งคณะผู้บริหารและนิสิต จุฬาฯ จะเข้าร่วมถวายบังคมที่พระบรมรูปทรงม้า รวมทั้งจัดพิธีบำเพ็ญกุศลน้อมเกล้าฯ ถวาย และจัดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณต่อพระองค์ เช่น งานปิยมหาราชานุสรณ์ หารายได้สมทบเป็นทุนการศึกษาแก่นิสิต เป็นประจำทุกปี[228]

วันมหาธีรราชเจ้า

ตรงกับวันที่ 25 พฤศจิกายน ของทุกปี เป็นวันที่ระลึกวันคล้ายวันสวรรคตพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว[229] "พระผู้ทรงสถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" โดยในวันนี้ คณะผู้บริหารและนิสิตจุฬาฯ จะเข้าร่วมถวายบังคม ณ ลานหน้าพระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ 6 บริเวณสวนลุมพินี รวมทั้งจัดพิธีบำเพ็ญกุศลน้อมเกล้าฯ ถวาย และจัดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณต่อพระองค์ เช่น งานมหาธีรราชเจ้าคอนเสิร์ต ณ หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นประจำทุกปี[230]

วันภูมิพล

เป็นวันที่นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยร่วมกันประกอบกิจกุศล โดยการบริจาคทุนทรัพย์และสิ่งของนำไปแจกจ่ายแก่เด็กอนาถาตามสถานสงเคราะห์ต่าง ๆ บรรดานิสิตอาสาสมัครจะไปแสดงดนตรี และให้ความสนุกสนานรื่นเริงแก่เด็ก ๆ การบำเพ็ญประโยชน์ มีวัตถุประสงค์ เพื่อการน้อมเกล้าฯ รำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ และโดยเสด็จพระราชกุศลในดิถีอันเป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษา

นายสงคราม สมบูรณ์ นายกสโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประจำปี 2509 ได้ทำหนังสือ ที่ 32/2509 ลงวันที่ 29 พฤศจิกายน 2509 ไปยังสำนักราชเลขาธิการ เพื่อขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตใช้นาม “วันภูมิพล” สำหรับการบำเพ็ญประโยชน์ของนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในวันที่ 5 ธันวาคม ตลอดไป ซึ่งหม่อมเจ้าวงศานุวัตร เทวกุล รองเลขาธิการ กองการในพระองค์ ได้ทำหนังสือแจ้งตอบ ที่ ร ล 0002 /3478 ว่า “ได้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณาทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทแล้ว ได้รับ พระราชทานพระบรมราชานุญาต และทรงอนุโมทนาในกุศลเจตนาของบรรดานิสิตที่ร่วมกันบำเพ็ญประโยชน์นี้”

บุคคลสำคัญจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ดูบทความหลักที่ รายนามบุคคลจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คณาจารย์ ศิษย์เก่าและบุคลากร

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยสามารถประสาทปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาได้เป็นแห่งแรกในประเทศไทย นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2473 ผู้สำเร็จการศึกษาและคณาจารย์รวมถึงบุคลากรจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เข้าไปปฏิบัติหน้าที่ขับเคลื่อนประเทศในภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนและองค์กรอิสระเป็นจำนวนมาก

เจ้าฟ้าอาจารย์

สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก

ตลอดระยะเวลานับแต่ก่อตั้งมหาวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบรมวงศ์หลายพระองค์ เสด็จพระราชดำเนินมาพระราชทานการสอน ดังนี้

คณาจารย์

ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ยง ภู่วรวรรณ

บุคลากร

จอมพล ป.พิบูลสงคราม

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีบุคลากรที่ไม่ใช่นิสิตเก่าและเป็นบุคคลสำคัญของประเทศหลายคน อาทิ

นอกจากนี้ยังมีนิสิตเก่า คณาจารย์และบุคลากรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งสำคัญต่าง ๆ เช่น นายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีประจำกระทรวงต่าง ๆ ปลัดกระทรวง ข้าราชการระดับสูง นักวิจัยระดับนานาชาติ คณะองคมนตรีไทย ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย รวมถึงพระบรมวงศานุวงศ์ เช่น สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์ นอกจากนี้ ยังมีผู้ได้รับรางวัลแมกไซไซ 8 คน นักเขียนผู้ได้รับรางวัลซีไรต์ 3 คน นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ (พ.ศ. 2427-2555) อีก 87 คน[250][251] นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น 13 คน (2525-2557)  เมธีวิจัยอาวุโส สกว. 55 คน ศิลปินแห่งชาติ 13 คน (2528-2549) นิสิตเก่าและบุคลากรผู้ได้รับรางวัลแพทย์ดีเด่นของแพทยสภาแห่งประเทศไทย 12 คน[252][253][254][255] และแพทย์เกียรติยศแพทยสภา 2 คน[256] นักกีฬาโอลิมปิค[257][258] รวมถึงเจ้าของธุรกิจขนาดใหญ่ ศิลปิน นักแสดง นักดนตรีของประเทศไทยอีกเป็นจำนวนมาก

การเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียวและมหาวิทยาลัยที่ยั่งยืน

นโยบายมหาวิทยาลัยสีเขียว

พื้นที่สีเขียวบริเวณเรือนภะรตราชา
พื้นที่สีเขียวในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยสีเขียวเป็นนโยบายที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ดำเนินการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547- พ.ศ. 2551 โดยเริ่มตั้งแต่การจัดทำโครงการผังแม่บทจุฬาฯ 100 ปี ให้มีแนวแกนสีเขียว ทั้งแกนด้านทิศตะวันออก-ตะวันตก และแนวแกนเหนือ-ใต้ เพื่อให้มีพื้นที่สีเขียวที่จะรับน้ำ และเพิ่มความร่มรื่นให้มหาวิทยาลัย จำกัดพื้นที่ก่อสร้างให้อยู่ในขอบเขตที่กำหนด นอกจากนั้นยังมีการริเริ่มโครงการรถประจำทางไฟฟ้าภายในมหาวิทยาลัย เพื่อลดการสัญจรด้วยรถยนต์และลดมลภาวะ โครงการนำใบไม้ไปหมักเป็นปุ๋ยได้มีการดำเนินงานและใช้ผลผลิตนั้นกับต้นไม้ในมหาวิทยาลัยมาจนปัจจุบัน[259]

ในช่วงปี พ.ศ. 2551 – พ.ศ. 2555 นโยบายมหาวิทยาลัยได้ดำเนินการต่อเนื่อง มีการสร้างอาคารจอดรถริมถนนใหญ่สาธารณะเพื่อลดปริมาณรถยนต์ที่จะวิ่งเข้ามาภายใน ขยายโครงการรถประจำทางไฟฟ้าโดยเพิ่มจำนวนรถให้มากขึ้น และให้บริการฟรี ซึ่งเป็นที่นิยมของนิสิต บุคลากร และผู้มาติดต่อจำนวนสนับสนุนการเดินเท้าโดยสร้างหลังคาคลุมทางเดินไปตามถนนหลายสายในมหาวิทยาลัย มีโครงการจุฬารักษ์โลกสนับสนุนการใช้จักรยานแทนรถยนต์ และรณรงค์ชาวจุฬาฯร่วมกันปลูกต้นไม้ให้ร่มรื่น เพิ่มบรรยากาศร่มเย็นให้มากขึ้น รื้ออาคารเก่าที่ทรุดโทรมโดยการปลูกต้นไม้ทดแทนเพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวสำหรับซึมซับน้ำในมหาวิทยาลัย ขยายโครงการรีไซเคิลขยะหลายประเภท ใบไม้ กระดาษ พลาสติก เศษอาหาร และงดการใช้โฟมเป็นภาชนะใส่อาหาร เพิ่มโครงการประหยัดพลังงานด้วยการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ไฟฟ้าและระบบปรับอากาศ พร้อมด้วยการรณรงค์ให้นิสิตและบุคลากร ร่วมมือกันประหยัดพลังงานอย่างเป็นรูปธรรม[260]

ต่อมาในปี พ.ศ. 2555 - พ.ศ. 2559 มหาวิทยาลัยมีนโยบายนำ "มหาวิทยาลัยสีเขียว" ไปสู่ "มหาวิทยาลัยที่ยั่งยืน" สานต่อโครงการในสี่ปีก่อนให้เข้มแข็ง และดำเนินโครงการวิจัยเพื่อกำหนดมาตรฐานอาคารเขียวในมหาวิทยาลัยรวมถึงเพิ่มการปรับปรุงอาคารเดิม เพื่อการประหยัดการใช้พลังงาน เริ่มโครงการวิจัยหาแนวทางดำเนินการลดคาร์บอนไดออกไซด์ในมหาวิทยาลัย เพิ่มพื้นที่รับน้ำเพื่อเก็บน้ำสำหรับรีไซเคิลให้มีปริมาณมากขึ้น[261]

ในปี พ.ศ. 2558 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับการจัดอันดับโดย UI Green Metric World University Ranking ให้เป็นมหาวิทยาลัยสีเขียวอันดับ 1 ของมหาวิทยาลัยในไทย ติดต่อกันสองปี ในระดับโลก จุฬาฯ ไดรับการจัดอันดับให้เป็นที่ 30 ของโลก และเป็นอันดับที่ 4 ของโลกในประเภทมหาวิทยาลัยที่ตั้งอยู่ใจกลางเมือง (City Center University) จุฬาฯ เป็นมหาวิทยาลัยไทยแห่งเดียวที่ติดอยู่ใน 30 อันดับแรกของโลก[262]

อ้างอิง

  1. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ชาวจุฬาฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 26 มีนาคม 2549. http://w3.chula.ac.th/about/cupeople/index.htm (7 กรกฎาคม 2559 ที่เข้าถึง)
  2. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกระทรวงธรรมการ เรื่อง รวมโรงเรียนราชแพทยาลัยเข้ากับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, เล่มที่ 34, หน้า 21, วันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2460.
  3. จำนวนนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2558. สถิติจำนวนนิสิตทั้งหมด. ข้อมูลล่าสุดเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2559
  4. Chulalongkorn University. CU at a Glance: Chulalongkorn University . april 30, 2016. http://www.chula.ac.th/en/about/cu-at-a-glance (accessed july 7, 2016).
  5. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ประวัติจุฬาฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 26 มีนาคม 2550. http://www.chula.ac.th/about/history (7 กรกฎาคม 2559 ที่เข้าถึง).
  6. เว็บไชต์ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศ เรื่อง ประดิษฐานโรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขึ้นเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและโอนไปขึ้นอยู่ในกระทรวงธรรมการ . เข้าถึงวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2559
  7. สมาชิกเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน, ไซต์อย่างเป็นทางการของเครื่อข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน, AUN Member, เข้าถึงวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559
  8. Chulalongkorn University, APRU, Member University , เข้าถึงวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559
  9. "Chulalongkorn University". Association of Pacific Rim Universities. 2013-01-10. Retrieved 2016-12-10.
  10. http://www.cuas.or.th/document/58D_stat_rpass_web.pdf
  11. http://www.cuas.or.th/document/57D_stat_rpass_web.pdf
  12. http://www.cuas.or.th/document/56D_stat_rpass_web.pdf
  13. http://www.cuas.or.th/document/55D_stat_rpass_web.pdf
  14. "Matriculation | University of Oxford". www.ox.ac.uk. Retrieved 2016-12-10.
  15. ประวัติความเป็นมาของหอพักนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  16. บทความ ๑๑๒ ปีพระราชทานกำเนิดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สืบค้นเมื่อ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2558
  17. "Siam Square - Siam-Square.com". Siam-Square.com. Retrieved 2016-12-10.
  18. ชฎาทิพ จูตระกูล,Positioning Magazine. ชฏาทิพ-จูตระกูล-“สี่แยกปทุมวันทรงพลังที่สุด” เข้าถึงวันที่ 06 มกราคม พ.ศ. 2559
  19. หอประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. พิธีพระราชทานปริญญาบัตรครั้งแรกแห่งกรุงสยาม. 7 พฤศจิกายน 2552. http://www.memocent.chula.ac.th/article/พิธีพระราชทานปริญญาบัตรครั้งแรกแห่งกรุงสยาม/ (2 ตุลาคม 2559 ที่เข้าถึง).
  20. ราชกิจจานุเบกษา. พระราชบัญญัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พุทธศักราช ๒๔๗๗. 21 เมษายน 2478. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2478/A/82.PDF (2 ตุลาคม 2559 ที่เข้าถึง).
  21. ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศ เรื่อง ประดิษฐานโรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขึ้นเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและโอนไปขึ้นอยู่ในกระทรวงธรรมการ . 15 เมษายน 2460. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2460/A/20.PDF (2 ตุลาคม 2559 ที่เข้าถึง).
  22. พระบรมราชโองการประกาศตั้งโรงเรียนมหาดเล็ก
  23. http://www.memohall.chula.ac.th/article/112-ปีพระราชทานกำเนิดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หอประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 112 ปีพระราชทานกำเนิดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  24. http://www.memohall.chula.ac.th/article/พระบรมราชานุสาวรีย์/ หอประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง พระบรมราชานุสาวรีย์
  25. ราชกิจจานุเบกษา, http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2457/D/414.PDF แจ้งความ กระทรวงมุรธาธร พระราชทานพระบรมราชานุญาตใช้ตราสำหรับตำแหน่ง, เล่ม 31, ตอน 0ง, 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2457, หน้า 414
  26. ศิลาพระฤกษ์ตึกบัญชาการโรงเรียนข้าราชการพลเรือนหรืออาคารมหาจุฬาลงกรณ์
  27. พระบรมราชโองการประกาศตั้งโรงเรียนข้าราชการพลเรือน ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
  28. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกระแสพระบรมราชโองการ บรรจุในศิลาพระฤกษ์โรงเรียนข้าราชการพลเรือน ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, เล่ม 32, ตอน 0ง, 23 มกราคม พ.ศ. 2458, หน้า 2562
  29. สวัสดิ์ จงกล, จุฬาสาระ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, หอประวัติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  30. พระบรมราชโองการประดิษฐานโรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขึ้นเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  31. http://www.memocent.chula.ac.th/article/ประราชดำรัสตอบ/ หอประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย : บทความเรื่อง ประราชดำรัสตอบของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว
  32. ฉลอง 94 ปี "จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" ม.แห่งแรกของไทย, [1]
  33. ประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2459-2509 พิมพ์เป็นที่ระลึกในวันครบห้าสิบปีของการสถาปนา วันที่ 26 มีนาคม พุทธศักราช 2510, หน้า 37
  34. William H. Becker. “Assets: Rockefellerfoundation.” Rockefellerfoundation. 2013. https://assets.rockefellerfoundation.org/app/uploads/20131001203515/Innovative-Partners.pdf (29 November 2106 ที่เข้าถึง).
  35. วิวัฒนาการของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, หอประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  36. Becker, W. H. (2013). Innovative Partners The Rockefeller Foundation and Thailand. New York, New York, United States of America: The Rockefeller Foundation .
  37. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความกระทรวงธรรมการ เรื่อง การศึกษาวิชาข้าราชการพลเรือนแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, เล่ม 48, ตอน 0 ง, 31 มกราคม พ.ศ. 2474, หน้า 4459
  38. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ โอนโรงเรียนกฎหมายไปขึ้นแก่จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย, เล่ม 50, ตอน 0 ก, 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2476, หน้า 144
  39. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พุทธศักราช 2477, เล่ม 52, ตอน 0 ก, 21 เมษายน พ.ศ. 2478, หน้า 82
  40. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง พุทธศักราช 2476, เล่ม 50, ตอน 0ก, 20 มีนาคม พ.ศ. 2476, หน้า 1007
  41. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ พุทธศักราช 2486, เล่ม 60, ตอน 7 ก, 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2486, หน้า 212
  42. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 121 มีสถานะเทียบเท่าพระราชบัญญัติ กำหนดให้โอนกิจการ ทรัพย์สิน หนี้ สิทธิ ข้าราชการ ลูกจ้าง นักศึกษาและเงินงบประมาณของมหาวิทยาลัยมหิดลเฉพาะที่เกี่ยวกับราชการของคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ไปเป็นของคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, เล่ม 89, ตอน 60 ก ฉบับพิเศษ, 14 เมษายน พ.ศ. 2515, หน้า 9
  43. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติโอนกิจการ ทรัพย์สิน หนี้สิน ข้าราชการ ลูกจ้างและเงินงบประมาณของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เฉพาะที่เกี่ยวกับราชการของคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งตั้งอยู่ ณ ตำบลวังใหม่ อำเภอปทุมวัน จังหวัดพระนคร ไปเป็นของ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย พ.ศ. 2510, เล่ม 84, ตอน 126 ก ฉบับพิเศษ, 28 ธันวาคม พ.ศ. 2510, หน้า 1
  44. ตามรอยโบราณ "ค้นคว้าอักขระโบราณ" ตัวหนังสือไทย ตอน 2
  45. พระราชบัญญัติ จุลาลงกรน์มหาวิทยาลัย พุทธสักราช2486
  46. พระราชบัญญัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2522
  47. เว็บไซต์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หัวข้อ สัญลักษณ์มหาวิทยาลัย สืบค้นเมื่อ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2558
  48. เว็บไซต์หอประวัติจุฬาฯ บทความเรื่อง พระเกี้ยวจุลมงกุฏ สืบค้นเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2558
  49. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย : เพลงมหาจุฬาลงกรณ์
  50. พระราชกำหนดเสื้อครุยบัณฑิตของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พุทธศักราช 2473
  51. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย : เสื้อครุยพระราชทาน
  52. รายละเอียดต้นจามจุรี
  53. บทความหอประวัติจุฬาฯ เรื่อง ในหลวงกับลานจามจุรี
  54. รายละเอียดสีชมพูจุฬา
  55. Prasongbundit, สุชิน ประสงค์บัณฑิต, Suchin. "เหตุใดจุฬาฯ จึงใช้สีชมพูเป็นสีประจำมหาวิทยาลัย และใช้มาตั้งแต่เริ่มก่อตั้งหรือไม่ ถ้าไม่ใช่ ใช้สีใด และเพราะเหตุใดจึงใช้สีนั้น | หอประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย". www.memocent.chula.ac.th. Retrieved 2016-12-18.
  56. รายนามผู้บัญชาการ และอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  57. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งอธิบดีกรมมหาวิทยาลัยและตั้งผู้บัญชาการจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, เล่ม 34, ตอน 0 ก, 15 เมษายน พ.ศ. 2460, หน้า 23
  58. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความกระทรวงธรรมการ เรื่อง ตั้งผู้รั้งตำแหน่งปลัดทูลฉลอง ผู้บัญชาการจุฬาลงกรณ์และผู้ช่วยปลัดทูลฉลอง, เล่ม 46, ตอน 0 ง, 15 ธันวาคม พ.ศ. 2472, หน้า 3350
  59. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศตั้งอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, เล่ม 52, ตอน 0 ง, 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2478, หน้า 2327
  60. ราชกิจจานุเบกษา, เรื่อง ตั้งอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, เล่ม 53, ตอน 0 ง, 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2479, หน้า 2271
  61. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ตั้งอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, เล่ม 56, ตอน 0 ง, 18 ธันวาคม พ.ศ. 2482, หน้า 2702
  62. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, เล่ม 66, ตอน 60 ง, 25 ตุลาคม พ.ศ. 2492, หน้า 4969
  63. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ตั้งอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, เล่ม 61, ตอน 54 ง, 5 กันยายน พ.ศ. 2487, หน้า 1722
  64. ราชกิจจานุเบกษา, เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, เล่ม 63, ตอน 58 ง, 3 กันยายน พ.ศ. 2489, หน้า 1230
  65. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, เล่ม 65, ตอน 48 ง, 24 สิงหาคม พ.ศ. 2491, หน้า 2473
  66. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, เล่ม 67, ตอน 48 ง, 12 กันยายน พ.ศ. 2493, หน้า 3832
  67. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, เล่ม 69, ตอน 54 ง, 9 กันยายน พ.ศ. 2495, หน้า 2914
  68. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, เล่ม 71, ตอน 47 ง, 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2497, หน้า 1630
  69. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, เล่ม 73, ตอน 76 ง, 25 กันยายน พ.ศ. 2499, หน้า 2730
  70. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, เล่ม 75, ตอน 82 ง, 21 ตุลาคม พ.ศ. 2501, หน้า 2793
  71. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย, เล่ม 77, ตอน 73 ง, 6 กันยายน พ.ศ. 2503, หน้า 1982
  72. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, เล่ม 78, ตอน 72 ง ฉบับพิเศษ, 8 กันยายน พ.ศ. 2504, หน้า 6
  73. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, เล่ม 80, ตอน 100 ง ฉบับพิเศษ, 11 ตุลาคม พ.ศ. 2506, หน้า 1
  74. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, เล่ม 82, ตอน 89 ง ฉบับพิเศษ, 14 ตุลาคม พ.ศ. 2508, หน้า 13
  75. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, เล่ม 84, ตอน 92 ง ฉบับพิเศษ, 1 ตุลาคม พ.ศ. 2510, หน้า 5
  76. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย, เล่ม 86, ตอน 56 ง ฉบับพิเศษ, 20 มิถุนายน พ.ศ. 2512, หน้า 4
  77. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย, เล่ม 88, ตอน 83 ง ฉบับพิเศษ, 6 สิงหาคม พ.ศ. 2514, หน้า 2
  78. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย, เล่ม 90, ตอน 92 ง ฉบับพิเศษ, 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2516, หน้า 5
  79. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, เล่ม 92, ตอน 109 ง, 10 มิถุนายน พ.ศ. 2518, หน้า 1379
  80. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, เล่ม 94, ตอน 55 ง ฉบับพิเศษ, 22 มิถุนายน พ.ศ. 2520, หน้า 4
  81. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (นายเกษม สุวรรณกุล), เล่ม 98, ตอน 95 ง ฉบับพิเศษ, 15 มิถุนายน พ.ศ. 2524, หน้า 5
  82. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, เล่ม 102, ตอน 48 ง ฉบับพิเศษ, 17 เมษายน พ.ศ. 2528, หน้า 23
  83. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, เล่ม 105, ตอน 236 ง, 29 ธันวาคม พ.ศ. 2531, หน้า 9594
  84. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (นายจรัส สุวรรณเวลา), เล่ม 110, ตอน 11 ง, 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2536, หน้า 2
  85. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ศาสตราจารย์เทียนฉาย กีระนันทน์ แทนนายจรัส วรรณเวลา ซึ่งลาออก), เล่ม 113, ตอน 20 ง, 7 มีนาคม พ.ศ. 2539, หน้า 8
  86. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (นายธัชชัย สุมิตร แทน ศาสตราจารย์เทียนฉาย กีระนันท์ซึ่งครบวาระ), เล่ม 117, ตอน 29 ง, 11 เมษายน พ.ศ. 2543, หน้า 2
  87. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, เล่ม 212, ตอน 30 ง, 13 เมษายน พ.ศ. 2547, หน้า 14
  88. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (นายภิรมย์ กมลรัตนกุล), เล่ม 125, ตอน 36 ง, 27 มีนาคม พ.ศ. 2551, หน้า 3
  89. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (นายภิรมย์ กมลรัตนกุล), เล่ม 129, ตอนพิเศษ 84 ง, 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2555, หน้า 5
  90. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (นายบัณฑิต เอื้ออาภรณ์), เล่ม 133, ตอนพิเศษ 90 ง, 20 เมษายน พ.ศ. 2559, หน้า 2
  91. Programs Offered at Chulalongkorn University
  92. หลักสูตรนานาชาติ/หลักสูตรภาษาอังกฤษ
  93. ประกาศจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง ส่วนงานของมหาวิทยาลัย พ.ศ. 2552
  94. [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2557/E/049/3.PDF ประกาศจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง ส่วนงานของมหาวิทยาลัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2557
  95. http://www.academic.chula.ac.th/Curriculum/Curr_inter50.html สำนักบริหารวิชาการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2556
  96. ราชกิจจานุเบกษา. “พระราชกฤษฎีการับวิทยาลัยพยาบาล สภากาชาดไทย เข้าสมทบเป็นสถาบันวิชาการชั้นสูงในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๑๔.” ราชกิจจานุเบกษา. 14 กันยายน 2514. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2514/A/098/610.PDF (22 พฤษภาคม 2559 ที่เข้าถึง).
  97. ราชกิจจานุเบกษา. “ พระราชกฤษฎีการับวิทยาลัยพยาบาลตำรวจ กรมตำรวจ เข้าสมทบในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๓๐.” ราชกิจจานุเบกษา. 28 ธันวาคม 2530. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2530/A/269/84.PDF (22 พฤษภาคม 2559 ที่เข้าถึง).
  98. "Chulalongkorn University". www.nectec.or.th. Retrieved 2016-12-10.
  99. 99.0 99.1 จุฬาฯ มุ่งพัฒนางานวิจัยเน้น 8 คลัสเตอร์กลุ่มวิจัย เพื่อเป็นมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ, เข้าถึงวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2557
  100. คลัสเตอร์วิจัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, เข้าถึงวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2557
  101. 101.0 101.1 http://www.natureindex.com/annual-tables/2016/institution/all/all/countries-Thailand
  102. https://webofknowledge.com
  103. www.scopus.com
  104. ข้อมูลองค์กรของสำนักงานวิทยทรัพยากร,2558
  105. ประกาศประดิษฐานโรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ.เอกสารหอประวัติจุฬาฯ.หอประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2558
  106. ข้อมูลอาคารมหาธีรราชานุสรณ์. เข้าถึงวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2559.
  107. "ความก้าวหน้าของอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย". สืบค้น 2259-12-15
  108. "อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย - krupratum". sites.google.com. Retrieved 2016-12-14.
  109. "page3". pirun.ku.ac.th. Retrieved 2016-12-14.
  110. สถาบันวิทยบริการ 2543 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2558
  111. ข้อมูลเบื้องต้นของ CUIR,2558
  112. คู่มือการใช้งาน CURef,2558
  113. ข้อมูลเบื้องต้นของจุฬาฯ วิทยานุกรม,2558
  114. บริการผลิตสื่อ. สำนักงานวิทยทรัพยากร,2558
  115. 101.5 MHz, สถานีวิทยุแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (CU Radio) FM 101.5. "รายการเปิดประตูสู่มหาวิทยาลัย ทุกวัน เวลา 19.30 - 21.30 น. : ห้องเรียน On Air คลังความรู้ Admissions ที่ใหญ่ที่สุด". www.curadio.chula.ac.th. Retrieved 2016-12-10.
  116. จุฬาฯ 1 ใน 9 มหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ
  117. [2]
  118. จุฬาฯ : มหาวิทยาลัยที่มีจำนวนหน่วยงานได้รับการประเมินคุณภาพผลงานวิจัยเชิงวิชาการระดับดีเยี่ยมมากที่สุดจาก สกว. ใน 3 กลุ่มสาขาวิชา, เข้าถึงวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2557
  119. ประเมินงานวิจัยวิทย์ สกว.จัดประชุมถกคุณภาพ, ข่าวสด, วันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2556 ปีที่ 22 ฉบับที่ 8142
  120. [3]
  121. [4]
  122. http://www.natureindex.com/institution-outputs/thailand/chulalongkorn-university-cu/513906bb34d6b65e6a000175
  123. http://www.topuniversities.com/
  124. 124.0 124.1 124.2 124.3 124.4 QS Quacquarelli Symonds Limited. “Chulalongkorn University.” เว็บไซต์ QS Quacquarelli Symonds . http://www.topuniversities.com/universities/chulalongkorn-university#331315 (1 ธันวาคม 2559 ที่เข้าถึง).
  125. http://www.topuniversities.com/university-rankings/world-university-rankings/2016?utm_source=Facebook&utm_medium=SM%20Post&utm_campaign=QSWorldUniveresityRankings
  126. QS. QS World University Rankings: Methodology. September 11, 2015. http://www.topuniversities.com/university-rankings-articles/world-university-rankings/qs-world-university-rankings-methodology (accessed june 29, 2016).
  127. QS. QS University Rankings: Asia methodology. 13 June 2016. http://www.topuniversities.com/asia-rankings/methodology (accessed 29 June 2016).
  128. http://www.topuniversities.com/university-rankings/asian-university-rankings/2016#sorting=rank+region=+country=+faculty=+stars=false+search=
  129. http://www.chula.ac.th/th/archive/40031
  130. http://www.chula.ac.th/th/archive/40031
  131. http://www.topuniversities.com/university-rankings/employability-rankings/2017
  132. [5]
  133. http://roundranking.com/ranking/reputation-rankings.html
  134. http://roundranking.com/ranking/performance-rankings.html
  135. [6]
  136. https://www.timeshighereducation.com/world-university-rankings/2016/world-ranking#!/page/0/length/25/sort_by/rank_label/sort_order/asc/cols/rank_only
  137. the Times Higher Education . “Chulalongkorn University.” เว็บไซต์ times Higher Education. https://www.timeshighereducation.com/world-university-rankings/chulalongkorn-university#ranking-dataset/600172 (1 ธันวาคม 2559 ที่เข้าถึง).
  138. [7]
  139. [8]
  140. http://greenmetric.ui.ac.id/ranking-by-campus-setting-city-center2016/
  141. http://www.webometrics.info/en/Asia/thailand
  142. ความเป็นมาขององค์กร:สำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, เข้าถึงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
  143. [9] วิดีโอวันสถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ใต้ร่มพระราชปณิธานพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว, เข้าถึงวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2558
  144. 144.0 144.1 ราชกิจจานุเบกษา. “พระราชบัญญัติโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินอันเป็นทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ตำบลปทุมวัน อำเภอปทุมวัน จังหวัดพระนคร ให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พุทธศักราช 2482.” เว็บไซต์ ราชกิจจานุเบกษา. 30 ตุลาคม 2482. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2478/D/549.PDF (1 ธันวาคม 2559 ที่เข้าถึง).
  145. แผนที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  146. ราชกิจจานุเบกษา. “พระราชกฤษฎีการับวิทยาลัยพยาบาล สภากาชาดไทย เข้าสมทบเป็นสถาบันวิชาการชั้นสูงในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๑๔.” ราชกิจจานุเบกษา. 14 กันยายน 2514. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2514/A/098/610.PDF (22 พฤษภาคม 2559 ที่เข้าถึง).
  147. ความเป็นมาขององค์กร:สำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, เข้าถึงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
  148. [10] วิดีโอวันสถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ใต้ร่มพระราชปณิธานพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว, เข้าถึงวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2558
  149. [11] ข้อเท็จจริงกรณีที่ดินจุฬาฯ, เข้าถึงวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2558
  150. http://www.property.chula.ac.th/web/sites/default/files/area-map-04-10-56-zoom.jpg แผนผังที่ดินเชิงพาณิชย์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  151. http://www.property.chula.ac.th/web/units หน่วยธุรกิจในความรับผิดชอบของสำนักงานจัดการทรัพย์สิน
  152. http://www.property.chula.ac.th/web/node/1375 ศูนย์การค้าสยามสแควร์
  153. http://mbkgroup.co.th/th/business/shopping/mbk-center
  154. http://www.property.chula.ac.th/web/node/1372 จัตุรัสจามจุรี
  155. http://www.property.chula.ac.th/web/node/1371 ตลาดสามย่าน
  156. http://www.property.chula.ac.th/web/node/1378 สยามสแควร์วัน
  157. http://marketeer.co.th/2015/06/centerpoint-of-siam-square/ เซนเตอร์พอยท์ ออฟ สยามสแควร์
  158. http://www.property.chula.ac.th/web/about/แผนผังพื้นที่เขตจัดการผลประโยชน์บริเวณเขตปทุมวัน
  159. ประวัติการจัดการศึกษาด้านสัตวแพทยศาสตร์และคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สืบค้นข้อมูลวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554
  160. ศูนย์การเรียนรู้และบริการวิชาการ เครือข่ายแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สืบค้นข้อมูลวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554
  161. โครงการพัฒนาที่ดินจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สืบค้นข้อมูลวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554
  162. http://www.olnr.chula.ac.th/page1_1_n.html#P
  163. หอประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (7 พฤศจิกายน 2552). พิพิธภัณฑ์พระจุฑาธุชราชฐาน. เรียกใช้เมื่อ 25 พฤศจิกายน 2559 จาก เว็บไซต์ หอประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย: http://www.memocent.chula.ac.th/article/พิพิธภัณฑ์พระจุฑาธุชราชฐาน/
  164. บัณฑิต จุลาสัย. “อาคารสำคัญในมหาวิทยาลัย.” ใน 9 ทศวรรษ พัฒนาการทางกายภาพ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, โดย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 184. กรุงเทพ: บริษัท แปลนพริ้นติ้ง จำกัด, 2552.
  165. http://www.prm.chula.ac.th/cen67.html อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ หรือ ตึกบัญชาการ หรือ อาคารอักษรศาสตร์ 1 (เดิม)
  166. http://www.asa.or.th/01about/c2530/2530h.htm รางวัลอาคารอนุรักษ์ดีเด่น : ตึกอักษรศาสตร์ 1 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]
  167. http://www.arts.chula.ac.th/06about/tour.html ท่องแดนเทวาลัย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ
  168. http://www.prm.chula.ac.th/cen28.html หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  169. รางวัลอาคารอนุรักษ์ดีเด่น : เรือนภะรตราชา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  170. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย : เรือนภะรตราชา
  171. ศูนย์ส่งเสริมวัฒนธรรมแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; เรือนไทยแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  172. http://www.prm.chula.ac.th/cen31.html ศาลาพระเกี้ยว. สำนักบริหารระบบกายภาพ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  173. สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์. ประกาศผลการคัดเลือก รางวัลอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรม ประจำปี 2559. 27 เมษายน 2559. http://www.asa.or.th/th/node/140800 (30 เมษายน 2559 ที่เข้าถึง).
  174. โครงการผังแม่บทภูมิสถาปัตยกรรม, Sustainability at Chulalongkorn University Official site. โครงการผังแม่บทภูมิสถาปัตยกรรม. เข้าถึงวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559.
  175. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. อาคารพิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัย. 2558. http://www.chula.ac.th/th/archive/museum/3577 (1 กันยายน 2559 ที่เข้าถึง).
  176. หอประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ที่ตั้ง. 2558. http://www.memocent.chula.ac.th/knowus/ที่ตั้ง (1 กันยายน 2559 ที่เข้าถึง).
  177. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. พิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2558. http://www.chula.ac.th/th/archive/museum/3601 (1 กันยายน 2559 ที่เข้าถึง).
  178. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. พิพิธภัณฑสถานธรณีวิทยา. 2558. http://www.chula.ac.th/th/archive/museum/3609 (1 กันยายน 2559 ที่เข้าถึง).
  179. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. พิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีทางภาพ. 2558. http://museum.stkc.go.th/cu/photo.php (1 กันยายน 2559 ที่เข้าถึง).
  180. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. พิพิธภัณฑสถานพืชศาสตราจารย์กสิน สุวะตะพันธุ์. 2558. http://www.chula.ac.th/th/archive/museum/3594 (1 กันยายน 2559 ที่เข้าถึง).
  181. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. พิพิธภัณฑ์หอยทากของไทย. 2558. http://www.chula.ac.th/th/archive/museum/3587 (1 กันยายน 2559 ที่เข้าถึง).
  182. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. พิพิธภัณฑสถานออร์โธปิดิกส์. 2558. http://www.chula.ac.th/th/archive/museum/3593 (1 กันยายน 2559 ที่เข้าถึง).
  183. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. พิพิธภัณฑสถานกุมารศัลยศาสตร์. 2558. http://www.chula.ac.th/th/archive/museum/3619 (1 กันยายน 2559 ที่เข้าถึง).
  184. หอประวัติคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. เกี่ยวกับเรา. 2558. http://mdcu.flexiplan.co.th/th/about (1 กันยายน 2559 ที่เข้าถึง).
  185. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. พิพิธภัณฑสถานวาจวิทยาวัฑฒน์. 2558. http://www.chula.ac.th/th/archive/museum/3595 (1 กันยายน 2559 ที่เข้าถึง).
  186. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. พิพิธภัณฑ์ร่างกายมนุษย์. 2558. http://www.chula.ac.th/th/archive/museum/3627 (1 กันยายน 2559 ที่เข้าถึง).
  187. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. พิพิธภัณฑสถานเครื่องยาไทยและประวัติเภสัชกรรมไทย. 2558. http://www.chula.ac.th/th/archive/museum/3618 (1 กันยายน 2559 ที่เข้าถึง).
  188. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. พิพิธภัณฑสถานปรสิตวิทยาในสัตว์. 2558. http://www.chula.ac.th/th/archive/museum/3596 (1 กันยายน 2559 ที่เข้าถึง).
  189. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. พิพิธภัณฑ์พระตำหนักดาราภิรมย์. 2558. http://www.chula.ac.th/th/archive/museum/3628 (1 กันยายน 2559 ที่เข้าถึง).
  190. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. พิพิธภัณฑ์พระจุฑาธุชราชฐาน. 2558. http://www.chula.ac.th/th/archive/museum/3629 (1 กันยายน 2559 ที่เข้าถึง).
  191. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. พิพิธภัณฑ์ชลทัศนสถาน. 2558. http://www.chula.ac.th/th/archive/museum/3586 (1 กันยายน 2559 ที่เข้าถึง).
  192. [12] ไทยรัฐออนไลน์ รำลึกวันวานยังหวานอยู่"ซีมะโด่ง"
  193. สวัสดิ์ จงกล. (7 พฤศจิกายน 2552). ซีมะโด่งเยือนจุฬาฯ. เรียกใช้เมื่อ 25 พฤศจิกายน 2559 จาก เว็บไซต์ หอประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย: http://www.memocent.chula.ac.th/article/ซีมะโด่ง/
  194. [13] ประวัติความเป็นมาของหอพักนิสิตจุฬาฯ, สืบค้นเมื่อ 18 มิถุนยน พ.ศ. 2558
  195. คู่มือนิสิตใหม่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประจำปีการศึกษา 2557: หน้า 117 กิจกรรมชมรม
  196. คู่มือนิสิตใหม่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประจำปีการศึกษา 2557: หน้า 120 กิจกรรมที่นิสิตควรเข้าร่วม
  197. คู่มือนิสิตใหม่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประจำปีการศึกษา 2557: หน้า 120 กิจกรรมที่นิสิตควรเข้าร่วม
  198. คู่มือนิสิตใหม่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประจำปีการศึกษา 2557: หน้า 120 กิจกรรมที่นิสิตควรเข้าร่วม
  199. คู่มือนิสิตใหม่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประจำปีการศึกษา 2557: หน้า 120 กิจกรรมที่นิสิตควรเข้าร่วม
  200. คู่มือนิสิตใหม่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประจำปีการศึกษา 2557: หน้า 120 กิจกรรมที่นิสิตควรเข้าร่วม
  201. คู่มือนิสิตใหม่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประจำปีการศึกษา 2557: หน้า 120 กิจกรรมที่นิสิตควรเข้าร่วม
  202. คู่มือนิสิตใหม่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประจำปีการศึกษา 2557: หน้า 120 กิจกรรมที่นิสิตควรเข้าร่วม
  203. คู่มือนิสิตใหม่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประจำปีการศึกษา 2557: หน้า 120 กิจกรรมที่นิสิตควรเข้าร่วม
  204. http://www.chula.ac.th/about/map-and-direction/bmta-public-buses สายรถโดยสารประจำทาง ขสมก. ที่ผ่านจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถนนพระราม 1
  205. http://www.chula.ac.th/about/map-and-direction/bmta-public-buses สายรถโดยสารประจำทาง ขสมก. ที่ผ่านจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถนนพระราม 4
  206. http://www.chula.ac.th/about/map-and-direction/bmta-public-buses สายรถโดยสารประจำทาง ขสมก. ที่ผ่านจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถนนพญาไท
  207. http://www.chula.ac.th/about/map-and-direction/bmta-public-buses สายรถโดยสารประจำทาง ขสมก. ที่ผ่านจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถนนอังรีดูนังต์
  208. ขสมก
  209. "ข่าวดี! สำหรับชาวจุฬาฯ รถปอ.พ. บริการฟรี เริ่ม 2 พ.ค. 54". 27 เมษายน 2554. สืบค้นเมื่อ 10 กรกฎาคม 2554. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  210. [14] Shuttle Bus
  211. [15]รถโดยสารภายในจุฬาฯ (CU Shuttle Bus), สืบค้นเมื่อ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2558
  212. [16] โครงการเดินรถโดยสารภายในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สายทดลอง 5 และ5A, สืบค้นเมื่อ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2558
  213. Thinc. กลุ่มนิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ผู้พัฒนาโปรแกรมประยุกต์ CU Popbus,2558
  214. CU Bike, Transportation, Sustainability at Chulalongkorn University. CU Bike.http://www.green.chula.ac.th/transport58-01.html . เข้าถึงเมื่อวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2559
  215. ราชกิจจานุเบกษา.“ ประกาศจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง เทียบชั้นปริญญาเวชบัณฑิต หมายความเช่นเดียวกับปริญญาแพทยศาสตร์บัณฑิต.” เว็บไซต์ ราชกิจจานุเบกษา. 2 มิถุนายน 2478. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2478/D/549.PDF (1 ธันวาคม 2559 ที่เข้าถึง).
  216. พิธีพระราชทานปริญญาบัตรครั้งแรกแห่งกรุงสยาม
  217. พระบรมราโชวาท ในการพระราชทานประกาศนียบัตรแก่เวชบัณฑิตของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วันที่ 25 ตุลาคม พุทธศักราช 2473
  218. พิธีพระราชทานปริญญาบัตรครั้งแรกแห่งกรุงสยาม, หอประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  219. หอประวัติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย : พระบรมราโชวาท พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล. เข้าถึงวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2559.
  220. พิธีพระราชทานปริญญาบัตรครั้งแรกในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
  221. ประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของพิธีพระราชทานปริญญาบัตรดุษฎีบัณฑิต และมหาบัณฑิตแห่งจุฬาฯ ปีการศึกษา 2540
  222. หอประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (7 พฤศจิกายน 2552). พิธีพระราชทานปริญญาบัตรครั้งแรกในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช. เรียกใช้เมื่อ 25 พฤศจิกายน 2559 จาก เว็บไซต์ หอประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย: http://www.memocent.chula.ac.th/article/พิธีพระราชทานปริญญาบัตรครั้งแรกในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช/
  223. [17] ตารางกิจกรรมในวันสถาปนาจุฬาฯ ครบรอบ 98 ปี
  224. http://www.dailynews.co.th/women/323319 เดลินิวส์ รวมน้ำใจสร้างกุศล วันอานันทมหิดล 2558 | เดลินิวส์ รวมน้ำใจสร้างกุศล วันอานันทมหิดล 2558 อ่านต่อที่ : http://www.dailynews.co.th/women/323319
  225. การจัดตั้งวันภาษาไทยแห่งชาติ
  226. Prasongbundit, สุชิน ประสงค์บัณฑิต, Suchin. "วันภาษาไทยแห่งชาติตรงกับวันที่เท่าไร มีกำเนิดมาจากเหตุการณ์ใด | หอประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย". www.memocent.chula.ac.th. Retrieved 2016-12-18.
  227. [18] สารนิเทศ จุฬาฯ : จาก “วันทรงดนตรี” ถึง “วันที่ระลึกวันทรงดนตรี” ความสุขความทรงจำที่ประทับใจ, สืบค้นเมื่อ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2558
  228. [19] วิดิโอยูทูป :ปิยมหาราช 23 ตุลาคม 2554 จุฬาฯ, สืบค้นเมื่อ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2558
  229. พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชประสงค์กำหนดให้วันที่ 25 พฤศจิกายน เป็นวันเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องจากเสด็จสวรรคตเมื่อเวลาประมาณ 1 นาฬิกา 45 นาที ซึ่งล่วงเข้าวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 มาไม่กี่นาที และทรงกำหนดให้วันที่ 26 พฤศจิกายน เป็นวันเถลิงถวัลยราชสมบัติของพระองค์ จาก โฮมเพจเพื่อเผยแพร่พระเกียรติคุณของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
  230. [20] จุฬาฯจัดกิจกรรมเนื่องในวันมหาธีรราชเจ้า 25 พย. 2556, สืบค้นเมื่อ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2558
  231. หอประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (24 พฤษภาคม 2553). เล่าเรื่องจุฬาฯ สมเด็จเจ้าฟ้าอาจารย์. เรียกใช้เมื่อ 27 พฤศจิกายน 2559 จาก เว็บไซต์ หอประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย: http://www.memocent.chula.ac.th/history/สมเด็จเจ้าฟ้าอาจารย์/
  232. http://phrachudadhuj.com/chudadhuj.htm
  233. ราชกิจจานุเบกษา. “ แจ้งความกระทรวงธรรมการ เรื่อง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้พระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราไชย เสด็จเข้ารับราชการเป็นอาจารย์ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.” เว็บไซต์ ราชกิจจานุเบกษา. 13 กันยายน 2461. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2461/D/1480.PDF (1 ธันวาคม 2559 ที่เข้าถึง).
  234. ราชกิจจานุเบกษา. “ แจ้งความอนุโมทนา เรื่อง "เงินทุนบำรุงแผนกแพทย์ศาสตร์" แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ของ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนสงขลานครินทร์.” เว็บไซต์ ราชกิจจานุเบกษา. 5 กันยายน 2463. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2463/D/1775.PDF (1 ธันวาคม 2559 ที่เข้าถึง).
  235. Becker, William H. Innovative Partners The Rockefeller Foundation and Thailand. New York, New York: The Rockefeller Foundation , 2013. William H. Becker. “Assets: Rockefellerfoundation.” Rockefellerfoundation. 2013. https://assets.rockefellerfoundation.org/app/uploads/20131001203515/Innovative-Partners.pdf (29 November 2106 accessed).
  236. "Thailand's "Father of Modern Medicine"". News. 2014-01-23. Retrieved 2016-12-10.
  237. หอประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (24 พฤษภาคม 2553). เล่าเรื่องจุฬาฯ สมเด็จเจ้าฟ้าอาจารย์. เรียกใช้เมื่อ 27 พฤศจิกายน 2559 จาก เว็บไซต์ หอประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย: http://www.memocent.chula.ac.th/history/สมเด็จเจ้าฟ้าอาจารย์/
  238. หอประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (17 มีนาคม 2554). เล่าเรื่องจุฬาฯ หอประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. เรียกใช้เมื่อ 27 พฤศจิกายน 2559 จาก ผู้มีคุณูปการต่อจุฬาฯ: http://www.memocent.chula.ac.th/history/ผู้มีคุณูปการต่อจุฬาฯ/ หอประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (24 พฤษภาคม 2553).
  239. มูลนิธิสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก. “สมเด็จฯ พระบรมราชชนก กับการพัฒนาการศึกษาแพทย์ไทย.” เว็บไซต์ มูลนิธิสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก. http://www.princemahidolfoundation.com/education/education.html (30 พฤศจิกายน 2259 ที่เข้าถึง).
  240. มูลนิธิสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก. “พระราชประวัติ” เว็บไซต์ มูลนิธิสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก. http://www.princemahidolfoundation.com/education/history.html (30 พฤศจิกายน 2259 ที่เข้าถึง).
  241. หอประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (24 พฤษภาคม 2553). เล่าเรื่องจุฬาฯ สมเด็จเจ้าฟ้าอาจารย์. เรียกใช้เมื่อ 27 พฤศจิกายน 2559 จาก เว็บไซต์ หอประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย: http://www.memocent.chula.ac.th/history/สมเด็จเจ้าฟ้าอาจารย์/
  242. หอประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (24 พฤษภาคม 2553). เล่าเรื่องจุฬาฯ สมเด็จเจ้าฟ้าอาจารย์. เรียกใช้เมื่อ 27 พฤศจิกายน 2559 จาก เว็บไซต์ หอประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย: http://www.memocent.chula.ac.th/history/สมเด็จเจ้าฟ้าอาจารย์/
  243. คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (n.d.). อาจารย์และบุคลากร ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ . Retrieved พฤศจิกายน 27, 2559, from เว็บไซต์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย:http://www2.pharm.chula.ac.th/dept7/index.php?main_id=3&sub_id=3&staff_id=6
  244. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (24 พฤศจิกายน 2559). ข่าวจุฬาฯ ในหน้าหนังสือพิมพ์. เรียกใช้เมื่อ 27 พฤศจิกายน 2559 จาก เว็บไซต์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย: http://www.chula.ac.th/th/archive/15431/
  245. "Pornanong Aramwit". ResearchGate. Retrieved 2016-12-10.
  246. ราชกิจจานุเบกษา. (29 พฤศจิกายน 2479). ประกาศ เรื่อง ตั้งอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. เรียกใช้เมื่อ 27 พฤศจิกายน 2559 จาก เว็บไซต์ ราชกิจจานุเบกษา: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2479/D/2271.PDF
  247. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ตั้งอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, เล่ม 61, ตอน 54 ง, 5 กันยายน พ.ศ. 2487, หน้า 1722. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2487/D/054/1722.PDF
  248. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศตั้งอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, เล่ม 52, ตอน 0 ง, 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2478, หน้า 2327
  249. Becker, W. H. (2013). Innovative Partners The Rockefeller Foundation and Thailand. New York, New York, United States of America: The Rockefeller Foundation .
  250. [21] รายชื่อนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ปี พ.ศ. 2427- 2554
  251. [22] นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติปี พ.ศ. 2555
  252. เว็บไซต์แพทยสภา หน้าแพทย์ดีเด่น ปี พ.ศ 2539-2557. http://www.tmc.or.th/gooddoctor.php
  253. เว็บไซต์แพทยสภา หน้าแพทย์ดีเด่น ปี พ.ศ 2539-2557 อย่างละเอียด. http://www.tmc.or.th/gooddoctor_51.php
  254. สำนักข่าว hfocus. (5 ธันวาคม 2557). แพทย์ดีเด่นแพทยสภาประจำปี 2556-2558. เรียกใช้เมื่อ 28 พฤศจิกายน 2559 จาก hfocus: https://www.hfocus.org/content/2014/12/8782 
  255. แพทยสภา (5 พฤศจิกายน 2559). แพทย์ดีเด่นแพทยสภาประจำปี 2559. เรียกใช้เมื่อ 28 พฤศจิกายน 2559 จาก เว็บไซต์ แพทยสภา : http://tmc.or.th/halloffame/mdexcellence.html
  256. แพทยสภา (5 พฤศจิกายน 2559). แพทย์เกียรติยศแพทยสภา. เรียกใช้เมื่อ 28 พฤศจิกายน 2559 จาก เว็บไซต์ แพทยสภา : http://tmc.or.th/halloffame/mdhonor.html
  257. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. "สองนิสิตจุฬาฯ นักกีฬาเทควันโดทีมชาติไทย คว้ามาได้ 2 เหรียญจากกีฬาโอลิมปิก 2016". สำนักบริหารกิจการนิสิต (in Thai). Retrieved 2016-12-10.
  258. "Two taekwondo athletes win medals for Thailand |". englishnews.thaipbs.or.th. Retrieved 2016-12-10.
  259. "Chulalongkorn University | HESD - Higher Education for Sustainable Development portal". www.iau-hesd.net. Retrieved 2016-12-10.
  260. 15 สถาบันไทยติดอันดับโลก “มหาวิทยาลัยสีเขียว” ประจำปี 2014
  261. จุฬาฯ มหาวิทยาลัยยั่งยืน
  262. จุฬาฯ อันดับ 1 มหาวิทยาลัยไทย อันดับ 30 ของโลก “มหาวิทยาลัยสีเขียว ปี 2015

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

13°44′18″N 100°31′56″E / 13.738354°N 100.532188°E / 13.738354; 100.532188